คลังเก็บป้ายกำกับ: ARDUINO

Arduino เปิดตัวบอร์ด ‘Portenta H7’ สนับสนุน Low-code Platform

Arduino ได้ประกาศเปิดตัวบอร์ดรุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า ‘Portenta H7’ เพื่อสนับสนุนให้องค์กรขนาดเล็กให้สามารถนำไปพัฒนาโซลูชัน IoT ของตัวเองได้ง่ายขึ้นเขียนโค้ดให้น้อยลง

credit : Techcrunch

Portenta H7 มีส่วนประกอบทุกอย่างที่จำเป็นในการเริ่มพัฒนา IoT มาให้แล้วเช่น ชิปเข้ารหัส โมดูล Wi-Fi Bluetooth Low Energy (BLE) และ LTE แม้กระทั่ง NB-IoT นอกจากนี้ยังใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์จาก ARM รุ่น Cortex-M7 หรือ M4 ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ในระดับอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ หรือการประมวลผลระดับ Edge รวมถึงรองรับ Mbed Os โค้ดของ Arduino แม้กระทั่ง Python หรือ JavaScript โดยคาดว่าจะออกวางจำหน่ายในเดือนหน้า

ที่มา :  https://techcrunch.com/2020/01/07/arduino-launches-a-new-modular-platform-for-iot-development/

from:https://www.techtalkthai.com/arduino-debuts-portenta-h7-support-low-code-platform/

Arduino เปิดตัว Arduino Portenta H7 รองรับ Wi-Fi/Bluetooth สำหรับงานอุตสากรรม ราคา 99.90 ดอลลาร์

Arduino เปิดตัวบอร์ดตระกูลใหม่ Arduino Portenta สำหรับงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการความทนทานสูง โดยบอร์ดรุ่นแรกในตระกูลคือ Arduino Portenta H7 ที่ใช้ซีพียู Cortex-M7 สัญญาณนาฬิกา 480MHz และ Cortex-M4 สัญญาณนาฬิกา 240MHz นับเป็นบอร์ดประสิทธิภาพสูง

ตัวชิปเป็น STM32H747XI และใช้ชิปสัญญาณวิทยุเป็น Murata 1DX รองรับทั้ง Wi-Fi และ Bluetooth 5.1 พร้อมชิปเก็บข้อมูลเข้ารหัส MXP SE0502

การเชื่อมต่อ มีอินเทอร์เฟซ SD แต่ไม่มีช่องใส่มาบนบอร์ด, ขาต่อ GPIO และอินเทอร์เฟซอื่นรวม 80 ขา, ต่อกล้องและจอภาพได้ ตัวพอร์ต USB-C รองรับทั้งเป็น USB Host, DisplayPort, ส่งข้อมูล, และรับไฟแบบ USB-PD

เริ่มสั่งล่วงหน้าได้แล้ว และของส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์นี้ ราคา 99.90 ดอลลาร์

ที่มา – Arduino

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/114006

Arduino ปล่อย Arduino Pro IDE: ทำงานร่วมกับ Git, มี dark mode, ทำงานแบบไฟล์

Arduino เปิดตัว Arduino Pro IDE โปรแกรมสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่รองรับ Arduino IDE แต่ต้องการฟีเจอร์การพัฒนาแบบเดียวกับ IDE ระดับจริงจังอื่นๆ โดยรองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น

  • Pro Mode มองโครงการเป็นไฟล์แทนที่จะเห็นเป็น Sketch
  • ทำงานร่วมกับ Git
  • dark mode หน้าจอสีดำ

ตัว IDE หลักพัฒนาจาก Eclipse Theia, Electron, และ Arduino CLI การปรับเทคโนโลยีเบื้องหลังเช่นนี้ทำให้ Pro IDE สามารถเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ในอนาคต เช่น Debugger ในตัว, ปลั๊กอินขยายความสามารถตัว IDE, และการรองรับภาษาเขียนโปรแกรมอื่นๆ

ตอนนี้ตัวโปรแกรมยังเป็นระดับอัลฟ่า บั๊กยังมีจำนวนมาก ไม่พร้อมสำหรับการใช้งานจริงจังนัก แต่หากสมบูรณ์เราก็น่าจะพัฒนาคอมพิวเตอร์ฝังตัวกันได้จริงจังบน Arduino IDE

ที่มา – Arduino Blog ผ่านทาง CNX Software

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/112899

ไม่น่าเชื่อ! คอมพิวเตอร์ตัวนี้ราคาประมาณ 1,000 บาทไทยเท่านั้น

Raspberry Pi Foundation ได้ประกาศถึงผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ Raspberry Pi 4 โดยเริ่มต้นที่ราคาแค่ 35 ดอลลาร์ หรือประมาณ 1,000 บาทไทย เรียกได้ว่าเป็นราคาที่น่าจับต้องพร้อมใช้งานได้จริงๆ

ในคุณสมบัติของ Raspberry Pi 4 (รุ่น Model B) นั้น มีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้

– ตัวซีพียููแบ 1.5 GHz quad-core 64-bit ARM Cortex-A72 CPU (~3× performance)
– แรมขนาด 1GB, 2GB, หรือ 4GB of LPDDR4 SDRAM
– ระบบเน็ตเวิร์กแบบ Full-throughput Gigabit Ethernet
– ระบบไร้สาย Dual-band 802.11ac wireless networking
– มี Bluetooth 5.0
– USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต และ USB 2.0 อีก 1 พอร์ต
– สนับสนุน Dual monitor ความละเอียดสูงถึงระดับ 4K
– ระบบปฏฺบัติการ

สำหรับรุ่นนี้ไม่มีจอภาพน่ะไปหาจอมาใส่ได้เองเลย ส่วนใครสนใจลองเข้าไปหาซื้อได้ที่นี่ https://www.raspberrypi.org/raspberry-pi-store/

from:https://www.enterpriseitpro.net/raspberry-pi-4-on-sale-now-from-35/

Arduino เปิดขายซิมรองรับ 100 ประเทศ ค่าเชื่อมต่อ 5MB เดือนละ 48 บาท

Arduino ประกาศขาย Arduino SIM สำหรับการเชื่อมต่อบอร์ด Arduino MKR GSM 1400 เข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยมีราคารายเดือนเพียงเดือนละ 1.5 ดอลลาร์ สามารถใช้งานได้ 100 ประเทศรวมถึงประเทศไทย อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกจะซื้อได้เฉพาะผู้อยู่ในสหรัฐฯ เท่านั้น

Arduino SIM ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วไปได้ แต่ต้องเชื่อมต่อเข้า Arduino IoT Cloud เท่านั้น โดยในปีนี้บริการคลาวด์จะมี API และ webhook สำหรับการนำข้อมูลออกไปใช้ภายนอกอีกครั้ง

ตอนนี้ตัวซิมยังจำกัดกับบอร์ด MKR GSM 1400 และจะรองรับบอร์ด MKR NB 1500 ต่อไป ก่อนจะเปิดให้ผู้ผลิตบอร์ดยี่ห้ออื่นใช้งานได้อิสระ

ที่มา – Arduino

No Description

from:https://www.blognone.com/node/109848

Arduino เปิดตัวบอร์ด Nano ชุดใหม่ รองรับ Wi-Fi, ฺBLE

Arduino เปิดตัวบอร์ด Aruino Nano ชุดใหม่พร้อมกันสี่รุ่น โดย 3 รุ่นสามารถเชื่อมต่อไร้สายได้ผ่านทาง Wi-Fi หรือ Bluetooth LE ทั้ง 4 รุ่นได้แก่

  • Arduino Nano Every: รุ่นเล็กที่สุดเริ่มต้น 9.99 ดอลลาร์ ใช้ชิป ATMega4809 สถาปัตยกรรม AVR ใช้ชิป ATSAMD11D14A ที่เป็น Cortex-M0+ สำหรับแปลง USB เป็น UART และสามารถโปแกรมเพิ่มเติมเองได้ บอร์ด Every เป็นรุ่นเดียวในชุดนี้ที่รองรับไฟ 5V ราคา 9.9 ดอลลาร์
  • Arduino Nano 33 IoT: ใช้ชิป SAMD21G18A ที่เป็น Cortex-M0+ เป็นชิปหลัก พร้อมโมดูล UBLOX NINA W102 ที่ภายในเป็น ESP32 สำหรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi มีชิป ATECC608A สำหรับการเข้ารหัสมาบนบอร์ด มีเซ็นเซอร์เคลื่อนไหว 9 แกนในตัว รองรับไฟ 3.3V เท่านั้น ทนไฟ 5V ไม่ได้ ราคา 18 ดอลลาร์
  • Arduino Nano 33 BLE: ใช้ชิป nRF52480 ที่เป็น Cortex-M4F เป็นชิปหลักแทน มีเซ็นเซอร์เคลื่อนไหว 9 แกนในตัว รองรับไฟ 3.3V เท่านั้น ทนไฟ 5V ไม่ได้ ราคา 19 ดอลลาร์
  • Arduino Nano 33 BLE Sense: รุ่นสูงสุด เหมือนรุ่น Nano 33 BLE แต่เพิ่มเซ็นเซอร์เข้ามา เช่น ความกดอากาศ, อุณหภูมิ, ความชื้น, แสงสว่าง, ไมโครโฟน ราคา 29.50 ดอลลาร์

ทุกรุ่นเริ่มส่งมอบกลางเดือนกรกฎาคมนี้

ที่มา – Arduino

No Description

from:https://www.blognone.com/node/109847

เปิดตัว Arduino IoT Cloud แบบ Public Beta สร้างและจัดการ IoT Application ได้เองง่ายๆ

Arduino นั้นรู้ดีว่าผลิตภัณฑ์ของตนเองนั้นถูกนำไปใช้เพื่อสร้างระบบ Internet of Things (IoT) สำหรับแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั่วโลกมากมาย จึงได้ทำการเปิดตัว Arduino IoT Cloud ขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานกันได้แบบ Public Beta แล้ว

Credit: Arduino

บริการนี้เปิดตัวในแบบ Public Beta หลังจากที่ทำการทดสอบแบบ Private Beta มาเป็นเวลากว่า 6 เดือน โดยภายในบริการ Cloud ดังกล่าวนั้นจะประกอบไปด้วยความสามารถต่างๆ ดังนี้

  • ระบบสร้าง Dashboard โดยอัตโนมัติ
  • การรองรับ HTTP REST API, MQTT, Javascript, Websocket
  • การรองรับ Webhook
  • การเข้ารหัส Traffic ด้วย TLS
  • มีระบบ Command Line

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมหรือต้องการทดสอบบริการดังกล่าว สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://create.arduino.cc/iot/ ครับ

ที่มา: https://blog.arduino.cc/2019/02/06/announcing-the-arduino-iot-cloud-public-beta/

from:https://www.techtalkthai.com/arduino-iot-cloud-public-beta-is-announced/

Arduino เปิดตัว Arduino PRO Gateway for LoRa รับข้อมูลจากระยะไกลพร้อมกัน 8 ช่องสัญญาณ

Arduino เปิดตัวเกตเวย์สำหรับอุปกรณ์ IoT ในชื่อ Arduino PRO Gateway for LoRa โดยเป็นบอร์ด Raspberry Pi 3B+ มาพร้อมกับโมดูล Embit EMB-LR1301 ที่รองรับข้อมูลได้พร้อมกัน 8 ช่อง และเคสแบบความทนทานสูง

ผู้ซื้อเกตเวย์จะได้เข้าถึงบริการ Arduino IoT Cloud ในช่วงเบต้าก่อนเปิดตัวจริง โดยบริการนี้ทำให้การเซ็ตอัพเกตเวย์ทำได้ง่ายขึ้น

ตัวเกตเวย์นี้เข้ากันได้กับบอร์ด Arduino MKR WAN 1300 ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีรุ่นแยกสำหรับคลื่น 915MHz สำหรับสหรัฐฯ และ 868MHz สำหรับยุโรป

เกตเวย์เริ่มเปิดรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าแล้ว ราคา 350 ยูโร เริ่มส่งมอบเดือนมกราคม 2019

ที่มา – Arduino

No Description

from:https://www.blognone.com/node/106565

ลองเล่นบอร์ด Devio NB-Shield I ทางเริ่มต้นใช้เครือข่าย IoT ทั่วประเทศของ AIS

บอร์ด AIS NB-IoT นั้นเริ่มประกาศวางจำหน่ายมากตั้งแต่งาน AIS Vision 2018 ที่ผ่านมา และเพิ่งเริ่มส่งมอบบอร์ดจริงเมื่อเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากที่ประกาศเปิดเครือข่ายทั่วประเทศเรียบร้อยแล้ว

ทาง Blognone ได้รับบอร์ดทดสอบจาก AIS มาระยะหนึ่งแล้ว จึงมารายงานกัน

บอร์ด Devio NB-Shield I ไม่ใช่แค่บอร์ดอย่างเดียว แต่มาพร้อมกับ eSIM ในตัว และไลบรารี Arduino โดยตัวไลบรารีนั้นอยู่ใน Library Manager ของ Arduino IDE เรียบร้อย อันนี้ถือว่าตั้งใจทำดี

No Description

ตัว Shield คือการวางโมดูล Quectel BC95 ลงเป็น shield ของ Arduino โมดูลตัวนี้เชื่อมต่อกับชิปอื่นๆ ด้วย UART ที่ความเร็ว 9600bps ดังนั้นหากใครเห็นสเปค NB-IoT ที่ dl/up 24kbps/15.625kbps แล้วคิดว่ายังต่ำไปก็อาจจะพบว่าความเร็วจริงที่ได้ต่ำกว่านั้นเสียอีก เพราะติดความเร็วของตัว UART เอง

คำสั่งของ Quectel BC95 นั้นใช้คำสั่งแบบ AT มีเอกสารจาก Quectel ให้ดาวน์โหลด แสดงคำสั่งที่รองรับไว้ครบถ้วน แต่ผมเองไม่แน่ใจนักเครือข่ายของ AIS เปิดให้ใช้งานหมดหรือไม่ เช่นตัวผมเองลองพยายามส่ง SMS แล้วพบว่าไม่สำเร็จแต่อย่างใด (แต่อาจจะเป็นเพราะผมสร้างคำสั่งผิดเองก็ได้

ไลบรารี AIS_NB_BC95 บังคำสั่ง AT ของตัว BC95 ไว้ให้ ทำให้เรียกใช้งานโดยไม่ต้องส่งคำสั่ง AT เอง คำสั่งที่ไลบรารีรองรับมีดังนี้

  • ping ไอพีที่ระบุ
  • รับและส่งแพ็กเก็ต UDP ได้ อย่างไรก็ดี ขนาดแพ็กเก็ตสูงสุดคือ 512 ไบต์
  • เปิด/ปิด การเชื่อมต่อ
  • อ่านเวอร์ชั่นเฟิร์มแวร์
  • อ่าน IMEI หรือหมายเลขประจำโมดูล
  • อ่าน IMSI หรือหมายเลขประจำ SIM
  • อ่านค่าไอพีที่ได้รับจากเครือข่าย
  • อ่านความแรงสัญญาณ

ที่จริงแล้วคำสั่งที่น่าสนใจอีก 2 คำสั่งของ BC95 คงเป็นการอ่านค่าเวลา ที่ทำให้โมดูลไม่ต้องพึ่ง real-time clock (หรือหากมีอยู่แล้วก็ใช้นาฬิกาจากเสาสัญญาณโทรศัพท์เพิ่มความแม่นยำได้) แะคำสั่งส่ง SMS

ตัวบอร์ดออกแบบให้รองรับได้ทั้งบอร์ดที่มีพอร์ต serial เพียงช่องเดียว เช่น Arduino Uno โดยบอร์ดจะคอนฟิกให้ใช้ขาหมายเลข 8 และ 9 เป็น serial เพื่อเชื่อมต่อกับ Arduino แทนขา 0 และ 1 แต่มีจัมป์เปอร์ให้กลับมาใช้ขา O และ 1 ได้ด้วย โดยเลือกเสียบจัมป์เปอร์ฝั่ง HW จากเดิมที่ออกมาจากโรงงานจะเสียบฝั่ง SW ไว้

No Description

แพตช์เพิ่มไปอีกหน่อย เพื่อใช้งานกับ Arduino Leonardo

อย่างไรก็ตาม ตัวไลบรารีนั้นดูจะออกแบบให้ใช้งานกับบอร์ด Uno โดยเฉพาะ โดยไม่มีโค้ดรองรับบอร์ดอื่นแต่อย่างใด ผมเองได้ fork ไลบรารีออกมาเพื่อแก้ไขให้ใช้งานกับบอร์ด Leonardo ได้

No Description

สำหรับตัวเน็ตเวิร์ค NB-IoT ของ AIS ยังเป็นแบบ IPv4 และ NAT เอาไว้ ทำให้การส่งข้อมูลโดยตรง โดยไม่ต้องรอตัวบอร์ดส่งแพ็กเก็ตออกไปนั้นทำไ้ดยาก ผมเองพยายามดู IP และพอร์ตที่บอร์ดใช้ยิงแพ็กเก็ตออกมา แล้ว UDP ตรงเข้าไปก็ยังไม่สำเร็จแต่อย่างใด เราคงต้องรอ NB-IoT รองรับ IPv6 เพื่อให้สามารถสื่อสารกันโดยตรงได้ในอนาคต

ข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ latency ของเครือข่ายค่อนข้างสูง ผมทดลอง ping ไปยังเซิร์ฟเวอร์บน Google Cloud สิงคโปร์ พบว่าได้ระยะเวลา 900-1000ms ระยะเวลาขนาดนี้อาจจะทำให้งานบางอย่างที่ต้องการระยะเวลาตอบสนองสั้นๆ เช่น การควบคุมทางเข้าออกพนักงาน อาจจะไม่เหมาะนัก

บทสรุปหลังการใช้งาน

หลังได้ลองใช้งานบอร์ดนี้มาระยะหนึ่ง ผมพบว่าบอร์ด BC95 นั้นยังคงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับการเข้าใช้งานเครือข่าย NB-IoT การที่เราสามารถใช้เครือข่ายที่กินพลังงานต่ำ และมีค่าเชื่อมต่อไม่ราคาแพงสำหรับการใช้งานต่อเนือง จะเปิดโอกาสให้เราสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ได้มากมาย

อย่างไรก็ดี บอร์ด Devio NB-Shield I และเครือข่าย NB-IoT ในตอนนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง ทำให้แอปพลิเคชั่นแม้จะเหมาะกับเครือข่ายความเร็วต่ำๆ แต่หากพบกับข้อจำกัดของตัวบอร์ดก็อาจจะทำให้การพัฒนาทำได้ยากขึ้น เช่นการล็อกข้อมูลขนาดใหญ่เกิน 512 ไบต์ ในแต่ละรอบ หรือการส่งข้อมูลที่ต้องการเข้ารหัส และแม้ว่าทาง AIS จะให้ไลบรารีมาที่ดูจะช่วยให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นแต่ผู้ใช้งานก็ต้องทำความเข้าใจและอาจจะต้องแก้ไขโค้ดกันเองบ้าง ดังนั้นก่อนสั่งบอร์ดนี้จึงควรตระหนักว่ามันเป็นบอร์ดสำหรับนักพัฒนา

from:https://www.blognone.com/node/102652

Arduino เปิดตัวบอร์ด FPGA ใช้ชิปอินเทล พร้อมบอร์ด Uno รุ่นใหม่รองรับ Wi-Fi

Arduino เปิดตัวบอร์ดเพิ่มอีกสองรุ่นในงาน Maker Faire Bay Area ได้แก่บอร์ด MKR Vidor 4000 และ Uno WiFi Rev 2

MKR Vidor 4000 เป็นบอร์ด FPGA รุ่นแรกของ Arduino โดยใช้ชิป Inte Cyclone-10 ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์เป็น SAMD21 เช่นเดิม และยังต่อ Wi-Fi ด้วย u-blox W102 พร้อมชิปเข้ารหัส ECC508 การที่มีชิป FPGA ในตัวทำให้สามารถสร้างวงจรเฉพาะทางได้แทบไม่จำกัด ทาง Arduino จึงมองว่ามันเป็นเหมือนมีดพับสำหรับงานพัฒนา

Uno WiFi Rev 2 เป็นบอร์ด Uno ที่เปลี่ยนใหม่แทบทั้งหมด โดยใช้ชิป ATmega4809 แทนที่ แม้จะเป็นชิป 8 บิตเหมือนเดิมแต่ก็มีแรม 6KB และหน่วยความจำแฟลช 48KB พร้อม I/O เพิ่มขึ้น เช่น UART มีสามชุด, ADC ความเร็วสูง, และหน่วยตอบสนองต่ออินพุต (Core Independent Peripherals – CIPs) โมดูล Wi-Fi เป็น u-blox W102 พร้อมชิปเข้ารหัส ECC608

ราคายังไม่แจ้งทั้งสองรุ่น น่าสนใจว่า Arduino ออกบอร์ดรุ่นใหม่แทบทั้งหมดโดยอาศัยโมดูล u-blox แทบทั้งหมด ตัวโมดูลนี้ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง การสร้างบอร์ดเลียนแบบราคาถูกคงทำได้ยาก

ที่มา – Arduino

No Description

from:https://www.blognone.com/node/102414