คลังเก็บป้ายกำกับ: ANTIVIRUS

Lookout ขายธุรกิจคอนซูเมอร์ให้คู่แข่ง F-Secure, จากนี้มุ่งสาย Enterprise อย่างเดียว

บริษัทความปลอดภัย Lookout ตกลงขายธุรกิจฝั่งคอนซูเมอร์ให้กับคู่แข่ง F-Secure ในราคา 223 ล้านดอลลาร์ ทำให้จากนี้ไป Lookout จะเหลือแต่ธุรกิจฝั่งความปลอดภัยองค์กรเพียงอย่างเดียว

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ Lookout ในฐานะแอพแอนตี้ไวรัสบนมือถือ (Lookout Mobile ปัจจุบันชื่อ Mobile Security & Antivirus หรือ Lookout Life) แต่จริงๆ แล้ว Lookout ยังมีธุรกิจฝั่งองค์กรคือ Mobile Endpoint Security (MES), Security Services Edge (SSE), Lookout Cloud Security Platform ซึ่งบริษัทจะนำเงินจากการขายธุรกิจคอนซูเมอร์มาลงทุนกับธุรกิจฝั่งองค์กรต่อไป

ส่วน F-Secure เพิ่งแยกบริษัทเป็น 2 ส่วนเมื่อปี 2022 เช่นกัน โดยธุรกิจฝั่งองค์กรใช้ชื่อว่า WithSecure และธุรกิจคอนซูเมอร์ยังใช้ชื่อ F-Secure ต่อไป (มีทั้งแอนตี้ไวรัสและ VPN)

ข่าวนี้คือ F-Secure เข้าซื้อกิจการของ Lookout Mobile เพื่อเพิ่มช่องทางสร้างรายได้จากแอพแอนตี้ไวรัส 2 ตัวพร้อมกัน โดย F-Secure ซึ่งเป็นบริษัทจากฟินแลนด์ จะได้ฐานลูกค้าของ Lookout จากฝั่งอเมริกาเพิ่มเติม

ที่มา – Lookout, F-Secure

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133578

ClamAV โปรแกรมป้องกันไวรัสแบบโอเพนซอร์สออกเวอร์ชั่น 1.0 หลังพัฒนามา 20 ปี

ClamAV โครงการพัฒนาโปรแกรมป้องกันไวรัสแบบโอเพนซอร์ส เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2002 ก่อนที่ผู้พัฒนาจะขายสิทธิ์ขาดในซอร์สโค้ดให้ Sourcefire และสุดท้ายไปรวมกับซิสโก้เมื่อปี 2013 ล่าสุดทางโครงการก็ประกาศออกเวอร์ชั่น 1.0 เป็นเวอร์ชั่นซัพพอร์ตระยะยาวตัวที่สอง หลังจากปล่อยเวอร์ชั่น 0.103 เป็น LTS ตัวแรกเมื่อปีที่แล้ว

เวอร์ชั่นนี้มีความเปลี่ยนแปลงคือการถอดรหัสไฟล์ XLS ที่เข้ารหัสด้วยรหัสผ่านตั้งต้นได้, ปรับปรุงตัวตรวจจับแบบ all-match ให้ดูแลรักษาในระยะยาวได้ง่ายขึ้น และ ABI เปลี่ยนไปจาก 0.103 ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อไฟล์ .so ในลินุกซ์เสียใหม่ให้เลขเวอร์ชั่นเปลี่ยนไป

การแก้ไขอื่นๆ เช่น แยกโครงการสำหรับอิมเมจ Docker ออกไปจากโครงการหลัก แก้ไขบั๊กจำนวนมากโดยเฉพาะที่ได้คำเตือนจากโครงการ OSS-Fuzz ของกูเกิล

ที่มา – CalmAV

from:https://www.blognone.com/node/131713

UK อนุมัติดีล NortonLifeLock เข้าซื้อกิจการ Avast ระบุจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ Microsoft Defender

ระยะหลังเห็นข่าวกิจการระดับโลกควบรวมกันบ่อยขึ้น ไม่เว้นแม้แต่บริษัทซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยอย่าง NortonLifeLock กับ Avast ซึ่งได้ประกาศดีลควบรวมกันไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2021 ที่ผ่านมา เป็นมูลค่ากว่า 8,100 ล้านเหรียญ

ล่าสุดผ่านมาได้ 1 ปี ทางหน่วยงานกำกับดูแลการค้าของสหราชอาณาจักร หรือ Competition and Markets Authority (CMA) ได้ประกาศอนุมัติการควบรวมดังกล่าวแล้ว โดยให้ข้อสรุปว่าดีลครั้งนี้ไม่กระทบต่อการแข่งขัน เพราะ NortonLifeLock ยังมีคู่แข่งหลักคือ McAfee อยู่

ยิ่งกว่านั้นทาง CMA มองว่าระยะหลังตลาดแอนตี้ไวรัสเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในอดีตเคยแข่งกันที่โซลูชันแบบเสียเงินอย่างเดียว แต่ปัจจุบันมีบริการฟรีอย่าง Microsoft Defender เข้ามาแข่งขันด้วย ซึ่งปัจจุบันแทบจะดีเทียบเท่ากับแบบเสียเงินแล้ว ดังนั้นต่อให้ NortonLifeLock ไม่เจอ McAfee ก็ยังมี Microsoft เป็นคู่แข่งสำคัญอีกเจ้าอยู่ดี

ก่อนหน้านี้ NortonLifeLock เคยเข้าซื้อกิจการร่มแดง Avira สำเร็จแล้วครั้งหนึ่งตอนปี 2020 ขณะที่ฝั่ง Avast ก็ซื้อ AVG ไว้เช่นกันตอนปี 2016 ดังนั้นหากดีลครั้งนี้สำเร็จอีก ทั้งคู่จะกลายเป็นเจ้าแห่งซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยรายใหญ่ที่มีผู้ใช้งานรวมกันถึง 500 ล้านคนเลยทีเดียว

 

 

ที่มา : GOV.UK, TechCrunch

from:https://droidsans.com/nortonlifelock-avast-merger-to-be-approved-by-uk/

ทำไมแอป Antivirus บนมือถือไม่สามารถป้องกัน Spyware อย่าง Pegasus ได้

ในช่วงเวลาแบบนี้ ถ้าพูดถึง Spyware ที่อันตรายและน่ากลัวที่สุดสำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนก็คงไม่พ้นชื่อ Pegasus ของ NGO Group ที่สามารถเข้าถึงการทำงานในระดับของ Mobile OS ได้เลย ไม่ว่าจะเป็น Android หรือ iOS ก็ตาม โดยใช้ช่องโหว่ในระดับ Zero-day Exploit และเป็น Zero-click จึงทำให้ผู้ใช้ทุกคนบนโลกใบนี้ไม่สามารถหลบเลี่ยง Spyware ตัวนี้ได้เลย

Zero Day , Zero Click คืออะไร

  • Zero-day Exploit คือช่องโหว่ที่มีอยู่ แต่ยังไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ จึงทำให้ยังไม่มีวิธีแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว เพราะยังไม่รู้ว่าเป็นช่องโหว่แบบไหน
  • Zero-click คือ Spyware ที่ทำงานบนอุปกรณ์ได้ทันที โดยผู้ใช้ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการสุ่มเสี่ยงเลย ซึ่งจะต่างจาก Spyware ทั่วไปที่ต้องหลอกให้ผู้ใช้เปิดไฟล์หรือโหลดแอปที่สอดไส้ Spyware ไว้ข้างใน

ด้วยความสามารถที่น่ากลัวแบบนี้จึงทำให้ผู้ใช้ทั่วไปเกิดคำถามกันมากมายว่าจะมีวิธีไหนที่จะป้องกัน Pegasus ได้บ้าง ที่น่าเศร้าคือต้องบอกว่าในตอนนี้ยังไม่มีวิธีป้องกันใด ๆ และบทความนี้จะเจาะจงไปที่คำถามยอมนิยมอย่าง “ลงแอป Antivirus จะช่วยป้องกัน Pegasus ได้หรือไม่”

และนี่คือเหตุผลว่าทำไมแอป Antivirus ก็ช่วยอะไรไม่ได้

แอปถูกออกแบบมาให้ทำงานอยู่ภายใต้ Sandbox

เพื่อความปลอดภัยจากการใช้งานแอปบน Android และ iOS ทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการณ์จึงออกแบบสิ่งที่เรียกว่า “Sandbox” ขึ้นมา และบังคับว่าแอปทุกตัวที่จะทำงานในอุปกรณ์เหล่านี้ จะต้องทำงานอยู่ภายใต้ Sandbox ที่ระบบปฏิบัติการณ์ได้เตรียมไว้ให้เท่านั้น

ที่ต้องทำแบบนี้ก็เพราะว่าทีมพัฒนาต้องการควบคุมและจำกัดการทำงานของแอปได้ง่าย ทำงานในขอบเขตที่เหมาะสม และไม่สามารถแทรกแซงการทำงานของแอปตัวอื่น ๆ ภายในเครื่องได้

และเมื่อแอปใด ๆ ภายในเครื่องต้องการเข้าถึงการทำงานของ OS ก็จะต้องติดต่อผ่านสิ่งที่เรียกว่า Framework API แทน และการทำงานบางอย่างที่สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยภายในเครื่องก็จะถูกควบคุมด้วยการทำงานที่แต่ละ OS ได้ออกแบบไว้ ซึ่งการทำงานหลาย ๆ อย่างบน Android และ iOS ในปัจจุบันก็จะมีความเหมือนกัน เช่น

  • การใช้งานกล้องจะต้องขออนุญาต (Permission) จากผู้ใช้ก่อน ถึงจะเรียกใช้งานได้
  • แอปทั่วไปจะไม่สามารถดึงข้อมูลอย่าง Serial Number, IMEI หรือแม้กระทั่ง Mac Address ของ Bluetooth และ WiFi ได้
  • การเข้าถึงไฟล์ข้อมูลภายในเครื่อง ถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่อยู่ในพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสาธารณะ ก็จะต้องขออนุญาต (Permission) จากผู้ใช้ก่อนเสมอ
  • แอปภายในเครื่องไม่สามารถแทรกแซงการทำงานระหว่างกันได้โดยตรง อาจจะส่งข้อมูลให้แอปที่ต้องการได้ (แต่ถ้าแอปปลายทางไม่ได้เปิดรับข้อมูลจากภายนอก ก็จะไม่สามารถส่งไปได้อยู่ดี) รับรู้ว่าแอปเหล่านั้นคือแอปอะไร แต่ควบคุมการทำงานของแอปเหล่านั้นโดยตรงไม่ได้

แอป Antivirus ก็ทำงานอยู่ใน Sandbox เหมือนกับแอปทั่ว ๆ ไป

นั่นหมายความว่าแอป Antivirus ก็ไม่ได้มีความสามารถที่พิเศษกว่าแอปตัวอื่น ๆ เพราะการทำงานใด ๆ ก็จะต้องเรียกผ่าน Framework API ที่ OS เตรียมไว้ให้อยู่ดี หรือพูดง่าย ๆ ก็คือถ้าแอป Antivirus ทำอะไรได้บ้าง แอปตัวอื่น ๆ ก็สามารถทำแบบนั้นได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แอป Antivirus บน Android และ iOS มีข้อจำกัดมากกว่าแอปที่อยู่บน Windows, macOS หรือ Linux แบบที่หลาย ๆ คนคุ้ยเคยกัน

เช่น ตรวจสอบแอปภายในเครื่องและสามารถบอกได้ว่าแอปไหนที่มีโอกาสเป็น Spyware แต่ไม่สามารถบล็อคการทำงานหรือลบแอปตัวนั้น ๆ ทิ้งในทันทีได้ (เพราะไม่มีคำสั่งแบบนั้นให้ใช้งานใน Framework API ไม่ว่าจะเป็น Android หรือ iOS ก็ตาม)

ช่องโหว่ที่ Pegasus ใช้เป็นเทคนิคในระดับสูง

อย่างที่เรารู้กันว่า Pegasus ไม่ได้มาในรูปแบบของแอปที่ต้องติดตั้งก่อนถึงจะทำงานได้เหมือนกับ Spyware ทั่ว ๆ ไป แต่อาศัยช่องโหวดในระดับ OS เพื่อแทรกแซงการทำงานโดยตรง และหนึ่งในเทคนิคที่ว่าคือการใช้ช่องโหว่ใน iMessage ของ iOS ที่ตอนนี้ทาง Apple อุดช่องโหว่ไปแล้ว (อ่านรายละเอียดเชิงลึกได้ใน Project Zero วิเคราะห์มัลแวร์ของ NSO Group พบสามารถสร้างระบบรันสคริปต์จากตัวบีบอัดภาพ [Blognon])

เมื่อดูรายละเอียดของช่องโหว่ดังกล่าวก็จะพบว่าเป็นเทคนิคที่ซับซ้อนมาก (ต้องใช้เทคนิคหลายแบบผสมกันเพื่อทำให้เกิดช่องโหว่ตัวนี้ขึ้นมาได้) เรียกได้ว่าแม้กระทั่งนักพัฒนาแอปบนแอนดรอยด์อย่างผู้เขียนเองก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าจะเทคนิคแบบนี้เพื่อทำให้เกิดช่องโหว่ในระดับ OS ได้ จนกว่าจะถูกตรวจพบและถูกวิเคราะห์ย้อนกลับโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเพื่อดูว่าทำได้อย่างไร

ดังนั้นการที่ Pegasus เจาะการทำงานของ Sandbox เพื่อทะลุเข้าไปทำงานในระดับเดียวกับการทำงานอื่น ๆ ของ OS จึงเรียกได้ว่าเป็น Spyware ระดับสูงอันดับต้น ๆ ของโลกก็ว่าได้ และเป็นความน่ากลัวที่ NGO Group หรือทีมพัฒนา Pegasus ที่ยังมี Zero-day Exploit รูปแบบอื่นถือเก็บไว้อยู่ ซึ่งรวมไปถึงเทคนิคที่เป็น Zero-click ด้วย เราจึงไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเมื่อเราตกเป็นเป้าหมายของ Spyware ตัวนี้ แล้วเราจะรอดพ้นได้อย่างไร

นั่นคือที่มาว่าทำไมแอป Antivirus จึงช่วยอะไรไม่ได้

ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Sandbox ที่ทำให้ OS อย่าง Android และ iOS สามารถควบคุมและจำกัดการทำงานของแอปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเทคนิคช่องโหวที่ใช้ใน Pegasus ที่ใช้เทคนิคขั้นสูง จึงทำให้ Spyware อย่าง Pegasus อยู่นอกเหนือขอบเขตที่แอป Antivirus จะช่วยเหลือได้นั่นเอง

ซึ่งแน่นอนว่านี่ไม่ใช่ข่าวดีซักเท่าไรสำหรับผู้ใช้งาน Android และ iOS ทุกคนบนโลกใบนี้อย่างแน่นอน 😢

from:https://droidsans.com/antivirus-app-can-not-protect-your-device-from-pegasus-spyware/

[Guest Post] แคสเปอร์สกี้พาส่องเทรนด์กลุ่มแรนซัมแวร์หน้าใหม่ 2022 – ยืดหยุ่น ใช้เทคนิคขั้นสูง และจับประเด็นการเมือง

ปฏิบัติการของกลุ่มแรนซัมแวร์ดำเนินการมาอย่างยาวนาน จากจุดเริ่มต้นที่ค่อนข้างลับและเป็นมือสมัครเล่น กลายเป็นธุรกิจที่มีแบรนด์และสไตล์โดดเด่น และแข่งขันกันในดาร์กเว็บ โดยรวมแล้ว กลุ่มอาชญากรไซเบอร์ยังคงพัฒนาและประสบความสำเร็จต่อไป แม้ว่าจะมีการปิดตัวครั้งใหญ่ของกลุ่มที่โด่งดังที่สุดบางกลุ่ม กลุ่มอาชญากรไซเบอร์พบวิธีที่ผิดปกติในการโจมตีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหรือหันไปใช้ประเด็นข่าวเพื่อให้การโจมตีมีความเกี่ยวข้องมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้คอยจับตาดูกิจกรรมของกลุ่มแรนซัมแวร์อยู่เสมอ และเนื่องในวัน Anti-Ransomware Day จึงได้ออกรายงานซึ่งครอบคลุมแนวโน้มใหม่ของแรนซัมแวร์ที่พบในปี 2022 นี้

แนวโน้มแรกคือการใช้ความสามารถข้ามแพลตฟอร์ม ปัจจุบันกลุ่มแรนซัมแวร์ตั้งเป้าที่จะสร้างความเสียหายให้กับระบบให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ด้วยมัลแวร์ตัวเดียวกัน โดยการเขียนโค้ดที่สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการหลายระบบพร้อมกัน กลุ่ม Conti ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มแรนซัมแวร์ที่ดำเนินการมากที่สุดได้พัฒนาตัวแปร ซึ่งเผยแพร่ผ่านบริษัทในเครือที่เลือกและกำหนดเป้าหมายไปที่ Linux ในช่วงปลายปี 2021 ภาษา Rust และ Golang ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมข้ามแพลตฟอร์มเริ่มแพร่หลายมากขึ้น กลุ่ม BlackCat ที่ประกาศตัวเองว่าเป็นแก๊งมัลแวร์รุ่นใหม่ ซึ่งมีรายงานว่าโจมตีองค์กรมากกว่า 60 แห่งตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 ได้เขียนมัลแวร์ในภาษา Rust ส่วนภาษา Golang ถูกใช้ในแรนซัมแวร์โดย DeadBolt ซึ่งเป็นกลุ่มที่โจมตี QNAP

แนวโน้มที่สอง ตลอดช่วงปลายปี 2021 และต้นปี 2022 กลุ่มแรนซัมแวร์ได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการทางธุรกิจ รวมถึงการรีแบรนด์เป็นประจำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากหน่วยงานและอัปเดตเครื่องมือการกรองข้อมูล บางกลุ่มพัฒนาและใช้งานชุดเครื่องมือที่สมบูรณ์ซึ่งคล้ายกับชุดเครื่องมือของบริษัทซอฟต์แวร์ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย แรนซัมแวร์ Lockbit เป็นตัวอย่างที่น่าทึ่งของวิวัฒนาการของกลุ่มแรนซัมแวร์ องค์กรมีการปรับปรุงมากมายเมื่อเทียบกับคู่แข่ง รวมถึงการอัปเดตและซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานเป็นประจำ อีกทั้งยังเปิดตัว StealBIT เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเครื่องมือการกรองแรนซัมแวร์แบบกำหนดเองที่ช่วยให้สามารถขโมยข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่เคยมีมา

แนวโน้มที่สามที่ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ได้เห็นเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางภูมิศาสตร์การเมืองที่อิงความขัดแย้งในยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อภูมิทัศน์ของแรนซัมแวร์ แม้ว่าการโจมตีดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับผู้ก่อภัยคุกคามแบบต่อเนื่องขั้นสูง (APT) แต่แคสเปอร์สกี้ตรวจพบกิจกรรมสำคัญบางอย่างในฟอรัมอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตและการดำเนินการโดยกลุ่มแรนซัมแวร์เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ ไม่นานหลังจากความขัดแย้งเริ่มต้น กลุ่มแรนซัมแวร์ก็เลือกข้างสนับสนุนรัสเซียหรือยูเครน ซึ่งนำไปสู่การโจมตีทางการเมือง หนึ่งในมัลแวร์ที่ถูกค้นพบใหม่ระหว่างความขัดแย้งคือ Freeud ซึ่งพัฒนาโดยผู้สนับสนุนชาวยูเครน มีคุณสมบัติในการลบ หากมัลแวร์มีรายการไฟล์ มัลแวร์จะล้างไฟล์ออกจากระบบแทนการเข้ารหัส

นายดิมิทรี กาลอฟ นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาวุโสทีม GReAT แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า หากปีที่เป็นปีที่แรนซัมแวร์กำลังเฟื่องฟู ปีนี้มันเบ่งบานเต็มที่ แม้ว่ากลุ่มแรนซัมแวร์รายใหญ่จากปีที่แล้วจะถูกบังคับให้หยุดดำเนินการ แต่อาชญากรหน้าใหม่ก็โผล่ขึ้นมาพร้อมกับเทคนิคที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อภัยคุกคามจากแรนซัมแวร์มีวิวัฒนาการและขยายตัวทั้งในด้านเทคโนโลยีและภูมิศาสตร์ ก็ทำให้คาดการณ์ภัยคุกคามได้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้เราตรวจจับและป้องกันได้ดีขึ้นเช่นกัน”

รายงานแนวโน้มแรนซัมแวร์ในปัจจุบันฉบับสมบูรณ์ https://securelist.com/new-ransomware-trends-in-2022/106457/

เนื่องในวัน Anti-Ransomware Day แคสเปอร์สกี้ขอสนับสนุนให้องค์กรปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยปกป้ององค์กรของคุณจากแรนซัมแวร์

  • อัปเดตซอฟต์แวร์อยู่เสมอบนอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้เพื่อป้องกันผู้โจมตีจากการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่และแทรกซึมเครือข่าย
  • เน้นกลยุทธ์การป้องกันในการตรวจจับการเคลื่อนไหวและการขโมยข้อมูลไปยังอินเทอร์เน็ต ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการรับส่งข้อมูลขาออกเพื่อตรวจจับการเชื่อมต่อของอาชญากรไซเบอร์กับเครือข่าย ตั้งค่าการสำรองข้อมูลออฟไลน์ที่ผู้บุกรุกไม่สามารถปลอมแปลงได้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วเมื่อจำเป็นหรือในกรณีฉุกเฉิน
  • เปิดใช้งานการป้องกันแรนซัมแวร์สำหรับเอนด์พอยต์ทั้งหมด มีเครื่องมือฟรี Kaspersky Anti-Ransomware Tool for Business ที่ปกป้องคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์จากแรนซัมแวร์และมัลแวร์ประเภทอื่นๆ ป้องกันการบุกรุก และเข้ากันได้กับโซลูชันความปลอดภัยที่ติดตั้งไว้แล้ว
  • ติดตั้งโซลูชันต่อต้าน APT และ EDR ซึ่งช่วยให้สามารถค้นหาและตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูง สอบสวนและแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ทีม SOC ควรเข้าถึงข้อมูลภัยคุกคามล่าสุด (threat intelligence) และเพิ่มทักษะอย่างสม่ำเสมอด้วยการฝึกอบรมอย่างมืออาชีพ ข้อมูลทั้งหมดข้างต้นมีอยู่ใน Kaspersky Expert Security framework
  • Kaspersky Threat Intelligence Portal เป็นจุดในการเข้าถึงข้อมูลภัยคุกคามล่าสุด (threat intelligence) ของแคสเปอร์สกี้ ให้ข้อมูลการโจมตีทางไซเบอร์และข้อมูลเชิงลึกที่รวบรวมโดยทีมงานของเรามากว่า 20 ปี เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถป้องกันภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ แคสเปอร์สกี้ได้ประกาศการให้เข้าถึงข้อมูลที่เป็นอิสระ อัปเดตอย่างต่อเนื่อง และเป็นข้อมูลจากทั่วโลกเกี่ยวกับการโจมตีและภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถขอการเข้าถึงได้ที่ https://go.kaspersky.com/uchub#form

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-kaspersky-ransomware-trends/

แนะนำ 10 โปรแกรมสแกนไวรัสฟรี ใช้ง่าย ไม่หนักเครื่อง

10 โปรแกรมสแกนไวรัสฟรี ที่ควรมีติดเครื่องไว้

หลายคนคงเคยได้ยินข่าวการที่หน่วยงานหรือบริษัทถูกโจมตีด้วยไวรัสคอมพิวเตอร์ Ransomware, Trojan ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก หลายที่ถูกล็อคระบบ ล็อคไฟล์และมีการเรียกค่าไถ่จากผู้พัฒนาไวรัส ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดการป้องกันที่ไม่แน่นหนา ซึ่งวิธีเริ่มต้นการป้องกันที่ง่ายที่สุดนั่นก็คือการวางแผนหา โปรแกรมสแกนไวรัสฟรี สักตัวมาใช้งาน ซึ่งก็มีให้เลือกมากมายในท้องตลาด ทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงิน โดยที่ความสามารถในการป้องกันไวรัสก็จะแตกต่างกันไป วันนี้มาดูว่า โปรแกรมสแกนไวรัส 10 ตัวที่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพ พร้อมที่จะป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณในปี 2022 มีตัวไหนบ้าง มาดูกัน

โปรแกรมสแกนไวรัสฟรี

Bitdefender Antivirus

สุดยอดโปรแกรมสแกนไวรัสและซอฟท์แวร์ด้านความปลอดภัยอื่นๆ ที่ได้รับรางวัลมากมายจากสื่อชื่อดังจากต่างประเทศทั้ง Techradar, AV-Comparatives, PC MAG ทำให้มั่นใจได้เลยว่าคอมพิวเตอร์สุดที่รักของคุณจะปลอดภัยจากไวรัสแน่นอน

จุดเด่น 

  • ใช้งานง่าย
  • มีเวอร์ชั่นฟรีให้ทดลองใช้
  • มีหน้าเว็บภาษาไทยให้เราได้ศึกษาก่อนตัดสินใจ
  • มีหลากหลายรุ่นให้เลือก

ตัวอย่างโปรแกรมที่ขาย

  • Bitdefender Antivirus Plus แบบ 1 ปี 1,699 บาท 
  • Bitdefender Internet Security แบบ 1 ปี 2,299 บาท
  • Bitdefender Total Security แบบ 1 ปี  2,599

OS ที่รองรับ : Windows, macOS, Android, iOS

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.bitdefender.com/ https://www.bitdefender.co.th/ 

 

Norton AntiVirus

หนึ่งในโปรแกรมสแกนไวรัสสีเหลืองที่หลายคนคุ้นชื่อ ใช้งานได้หลาย OS รวมถึงราคาก็ไม่แพง เวอร์ชั่นฟรีก็ใช้งานได้อย่างไม่กินทรัพยากรเครื่อง ทำให้กลายเป็นในโปรแกรมสแกนไวรัสที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก

จุดเด่น 

  • ใช้งานง่าย
  • ไม่กินทรัพยากรมาก
  • โปรโมชันลดราคาบ่อย ราคาลดเยอะ
  • ซื้อครั้งเดียวใช้งานได้สูงสุด 10 เครื่อง

ตัวอย่างโปรแกรมที่ขาย

  • Norton Antivirus Plus แบบรายปี $59.99 
  • Norton 360 Standard แบบรายปี $84.89
  • Norton 360 Deluxe แบบรายปี $104.89
  • Norton 360 Premium แบบรายปี $124.89

OS ที่รองรับ : Windows, macOS, Android, iOS

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://us.norton.com/ 

 

Kaspersky

อีกหนึ่งโปรแกรมสแกนไวรัสยอดนิยมที่หลายคนให้การยอมรับเป็นอย่างดี ด้วยราคาที่ไม่สูงมาก และมีหน้าเว็บภาษาไทยให้อ่าน รวมถึงร้านคอมพิวเตอร์หลายร้านวางขายโปรแกรมตัวนี้ ทำให้ Kaspersky กลายเป็นหนึ่งในโปรแกรมสแกนไวรัสยอดนิยมของคนไทยด้วย 

จุดเด่น 

  • มีวางจำหน่ายตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป 
  • มีหลายแพ็คเกจราคาให้เลือกตั้งแต่รายเดือน รายปี ต่ออายุอัตโนมัติ
  • มีบริการหลังการขายเป็นภาษาไทย

ตัวอย่างโปรแกรมที่ขาย

  • Kaspersky Anti-Virus  1PC 1 ปี 594 บาท
  • Kaspersky Internet Security  1PC 1 ปี 744 บาท
  • Kaspersky Total Security 1PC 1 ปี 763 บาท

OS ที่รองรับ : Windows, macOS, Android

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.kaspersky.co.th/ 

 

Trend Micro Antivirus

อีกหนึ่งโปรแกรมสแกนไวรัสที่มาแรง ได้รางวัลการันตีจาก AV-Test.org และมีหน้าเว็บภาษาไทยเพื่อประกอบการตัดสินใจอีกด้วย นอกจากคอมพิวเตอร์แล้วก็ยังมีเวอร์ชันสำหรับ iOS โดยเฉพาะด้วยเพื่อความปลอดภัยที่ตรงจุด

จุดเด่น 

  • มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ให้เลือกตาม device ของเรา
  • มีหน้าเว็บภาษาไทย
  • ราคาไม่แพง

ตัวอย่างโปรแกรมที่ขาย

  • Trend Micro Maximum Security 3 Devices 1 ปี ราคา 1,740 บาท
  • Trend Micro Internet Security 2 Devices (Windows) 1 ปี ราคา 912 บาท
  • Trend Micro Antivirus For Mac 1 Device 1 ปี ราคา 780 บาท

OS ที่รองรับ: Windows, macOS, Android, iOS

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.trendmicro.com/th_th/forHome.html 

 

Avast

โปรแกรมสแกนไวรัสที่ได้รับความนิยมสูงอีกหนึ่งตัวที่ฟีเจอร์ค่อนข้างเยอะตั้งแต่เวอร์ชันฟรี และถ้าอยากได้การปกป้องที่ครบถ้วนการซื้อเวอร์ชัน Premium ก็เป็นราคาที่ไม่แพงมาก และถ้าซื้อถูกจังหวะก็อาจจะได้ส่วนลดอีกด้วย

จุดเด่น 

  • ฟีเจอร์ค่อนข้างเยอะตั้งแต่ตัวฟรี
  • มีหน้าเว็บภาษาไทย
  • ราคาไม่แพง มีส่วนลดในบางช่วงเวลา
  • รับประกันคืนเงินภายใน 30 วัน

ตัวอย่างโปรแกรมที่ขาย

  • Avast Premium Security  10 Devices 1 ปี ราคา 1,590 บาท
  • Avast Ultimate 10 Devices 1 ปี ราคา 2,190 บาท

OS ที่รองรับ : Windows, macOS, Android,iOS

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.avast.com/ 

 

Microsoft Defender

สำหรับคนที่ใช้ Windows คงไม่มีใครไม่รู้จักโปรแกรมสแกนไวรัสตัวนี้เพราะมันติดมากับเครื่องตั้งแต่แรก ไม่ต้องไปหามาติดตั้งเอง แถมการปกป้องจากไวรัสก็ถือว่าทำได้ดีเลยทีเดียว ทำให้หลายคนชื่นชอบและใช้เจ้าตัว Microsoft Defender เป็นตัวหลักของเครื่องไปเลย

จุดเด่น 

  • ฟรี
  • มากับการติดตั้ง Windows อยู่แล้ว
  • ป้องกันภัยคุกคามได้ดีพอๆ กับยี่ห้ออื่นๆ ที่เป็นรุ่นฟรี

OS ที่รองรับ : Windows เท่านั้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.microsoft.com/th-th/windows/comprehensive-security 

 

Avira antivirus

เป็นตำนานที่ยังมีลมหายใจอีกหนึ่งโปรแกรมสำหรับ Avira หรือที่เราเรียกกันติดปากว่าร่มแดง โดยที่หลายคนไม่รู้ว่ามีเวอร์ชั่น Pro ด้วย แถมราคาก็ไม่แพง มีรางวัลการันตีจากสื่อชื่อดังมากมายอีกด้วย

จุดเด่น 

  • ตัวฟรีใช้งานค่อนข้างดี
  • รองรับหลาย Devices 
  • ราคาตัว Pro ไม่แพง

ตัวอย่างโปรแกรมที่ขาย

  • Avira Antivirus Pro 1 Device 1 ปี $31.99
  • Avira Prime: Antivirus, VPN, and more 5 Devices 1 ปี $41.99

OS ที่รองรับ : Windows, macOS, Android,iOS

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.avira.com/ 

 

McAfee antivirus

อีกหนึ่งโปรแกรมสแกนไวรัสที่หลายคนคุ้นเคย ปกป้องคอมพิวเตอร์คุณด้วยฟีเจอร์มากมายและเลือกจำนวน Devices ได้มากถึง 10 Devices ตั้งแต่เวอร์ชั่นเริ่มต้น และไม่จำกัดเครื่องที่ใช้งานในเวอร์ชั่น Ultimate

จุดเด่น 

  • ราคาเริ่มต้นไม่แพง
  • ใช้งานได้มากสุด 10 เครื่องจากการซื้อเพียงครั้งเดียว
  • โปรโมชันค่อนข้างดี

ตัวอย่างโปรแกรมที่ขาย

  • McAfee AntiVirus Plus 10 Devices 1 ปี  $29.99 
  • McAfee Ultimate Unlimited Devices 1 ปี  $74.99 

OS ที่รองรับ : Windows, macOS, Android,iOS

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.mcafee.com/ 

 

Webroot SecureAnywhere AntiVirus

โปรแกรมสแกนไวรัสที่ชื่ออาจะไมีคุ้นหูแต่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก และได้รับคะแนนรีวิวจาก PC MAG สูงถึง 4.5 เต็ม 5 คะแนน ด้วยความเร็วสูงในการสแกนหาและกำจัดไวรัส ทำให้กลายเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่น่าจับตามองเลยทีเดียว

จุดเด่น 

  • ได้คะแนนรีวิวจากสื่อต่างประเทศค่อนข้างดี
  • สแกนและกำจัดไวรัสได้อย่างรวดเร็ว ค่าเฉลี่ยการค้นหาสูงกว่าหลายโปรแกรม

ตัวอย่างโปรแกรมที่ขาย

  • Webroot AntiVirus 1 Device 1 ปี $29.99
  • Webroot WiFi Security + AntiVirus 3 Devices 1 ปี $84.98

OS ที่รองรับ : Windows, macOS

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.webroot.com/ 

 

Sophos Home

ปิดท้ายด้วยโปรแกรมสแกนไวรัสตัวนี้ ที่แม้จะไม่ได้เป็นที่นิยมมากในไทยแต่ก็ทำคะแนนการทดสอบจากสื่อต่างประเทศไว้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว 

จุดเด่น 

  • คะแนนจากการรีวิวค่อนข้างสูง
  • แม้จะเป็นเวอร์ชันฟรีแต่ก็ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้งานได้สูงสุด 10 Devices

ตัวอย่างโปรแกรมที่ขาย

  • Webroot AntiVirus 10 Devices 1 ปี 1666.18 บาท

OS ที่รองรับ : Windows, macOS

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://home.sophos.com/en-us 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post แนะนำ 10 โปรแกรมสแกนไวรัสฟรี ใช้ง่าย ไม่หนักเครื่อง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/top-10-free-antivirus-program/

นักวิจัยเผยช่องโหว่ที่มีมานานหลายปี ในแอนติไวรัสฟรีชื่อดังทั้ง Avast และ AVG

พบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยร้ายแรงสองรายการที่ซ่อนอยู่ในไดรเวอร์ทางการของโซลูชั่นแอนติไวรัสอย่าง Avast และ AVG มานานหลายปี ซึ่งเปิดให้ผู้โจมตียกระดับสิทธิ์การเข้าถึงสำหรับปิดการทำงานของผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยเหล่านี้ได้

ยังไม่พอ ยังสามารถใช้ในการเขียนข้อมูลระบบทับ ใช้ทำลายระบบปฏิบัติการ หรือแม้แต่การโจมตีรูปแบบอื่นที่สร้างความเสียหายหนักได้ โดยทางนักวิจัยของ SentinelOne คุณ Kasif Dekel ระบุในรายงานที่แชร์ให้กับสำนักข่าว The Hacker News

ช่องโหว่ทั้งคู่นี้อยู่ภายใต้รหัส CVE-2022-26522 และ CVE-2022-26523 ฝังอยู่ในไดรเวอร์เคอร์เนลสำหรับแอนติรูทคิตที่มาจากผู้ผลิตโดยตรงชื่อ aswArPot.sys ที่มาพร้อมกับ Avast ตั้งแต่เวอร์ชั่น 12.1 ที่ปล่อยออกมาให้ใช้งานตั้งแต่มิถุนายนปี 2016

จุดอ่อนนี้อยู่ในส่วนที่ดูแลการเชื่อมต่อซ็อกเก็ตของไดรเวอร์เคอร์เนลที่เปิดให้ยกระดับสิทธิ์ได้ด้วยการรันโค้ดในเคอร์เนลจากผู้ใช้ที่ไม่ใช่แอดมิน ส่งผลให้ทำระบบปฏิบัติการล่มจนแสดงหน้าจอสีฟ้ามหาภัยหรือ BSoD ได้ รวมทั้งใช้ต่อยอดการโจมตีหรือหลบหนีจากแซนด์บ็อกซ์ได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – THN

//////////////////

สมัครสมาชิก Enterprise ITPro เพื่อรับข่าวสารด้านไอที

form#sib_signup_form_4 {
padding: 5px;
-moz-box-sizing:border-box;
-webkit-box-sizing: border-box;
box-sizing: border-box;
}
form#sib_signup_form_4 input[type=text],form#sib_signup_form_4 input[type=email], form#sib_signup_form_4 select {
width: 100%;
border: 1px solid #bbb;
height: auto;
margin: 5px 0 0 0;
}
form#sib_signup_form_4 .sib-default-btn {
margin: 5px 0;
padding: 6px 12px;
color:#fff;
background-color: #333;
border-color: #2E2E2E;
font-size: 14px;
font-weight:400;
line-height: 1.4285;
text-align: center;
cursor: pointer;
vertical-align: middle;
-webkit-user-select:none;
-moz-user-select:none;
-ms-user-select:none;
user-select:none;
white-space: normal;
border:1px solid transparent;
border-radius: 3px;
}
form#sib_signup_form_4 .sib-default-btn:hover {
background-color: #444;
}
form#sib_signup_form_4 p{
margin: 10px 0 0 0;
}form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message {
padding: 6px 12px;
margin-bottom: 20px;
border: 1px solid transparent;
border-radius: 4px;
-webkit-box-sizing: border-box;
-moz-box-sizing: border-box;
box-sizing: border-box;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-error {
background-color: #f2dede;
border-color: #ebccd1;
color: #a94442;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-success {
background-color: #dff0d8;
border-color: #d6e9c6;
color: #3c763d;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-warning {
background-color: #fcf8e3;
border-color: #faebcc;
color: #8a6d3b;
}

from:https://www.enterpriseitpro.net/researchers-disclose-years-old-vulnerabilities-in-avast-and-avg-antivirus/

คำชี้แจงของแคสเปอร์สกี้เรื่องประกาศสาธารณะที่ออกโดยคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ผิดหวังกับการตัดสินใจของคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission) ในการห้ามหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารโทรคมนาคมไม่ให้ซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของแคสเปอร์สกี้ การตัดสินใจนี้ไม่ได้อ้างอิงจากการประเมินทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์แคสเปอร์สกี้ซึ่งบริษัทได้สนับสนุนมาตลอด แต่เกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางการเมือง

แคสเปอร์สกี้ยืนยันว่าข้อห้ามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในปี 2017 ที่ระบุห้ามหน่วยงานและผู้รับเหมาของรัฐบาลกลางในการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของแคสเปอร์สกี้นั้นเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยอ้างอิงตามข้อกล่าวหาที่ปราศจากมูลฐาน และไม่มีหลักฐานสาธารณะใดๆ เกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายของบริษัท เนื่องจากไม่มีหลักฐานสาธารณะที่ชี้ชัดถึงการกระทำเหล่านั้นตั้งแต่ปี 2017 และการประกาศของ FCC ได้อ้างเฉพาะการตัดสินใจของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิในปี 2017 เป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจในวันนี้ แคสเปอร์สกี้เชื่อว่าการขยายข้อห้ามดังกล่าวสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารโทรคมนาคมของ FCC นั้นไม่มีมูล และเป็นการตอบสนองต่อสภาพภูมิรัฐศาสตร์มากกว่าการประเมินความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์และบริการของแคสเปอร์สกี้

แคสเปอร์สกี้จะยังคงยืนยันให้ความมั่นใจกับคู่ค้าและลูกค้าในด้านคุณภาพและความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ และยังคงพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขข้อกังวลของ FCC และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ

แคสเปอร์สกี้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการชั้นนำของอุตสาหกรรมแก่ลูกค้าทั่วโลกเพื่อปกป้องลูกค้าจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทุกประเภท และระบุไว้อย่างชัดเจนว่าไม่มีความผูกพันกับรัฐบาลใด ๆ รวมถึงรัสเซีย บริษัทเชื่อว่าความโปร่งใสและการดำเนินการตามมาตรการที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องจะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่ยั่งยืนต่อความซื่อสัตย์สุจริตและความน่าเชื่อถือต่อลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

//////////////////

สมัครสมาชิก Enterprise ITPro เพื่อรับข่าวสารด้านไอที

form#sib_signup_form_4 {
padding: 5px;
-moz-box-sizing:border-box;
-webkit-box-sizing: border-box;
box-sizing: border-box;
}
form#sib_signup_form_4 input[type=text],form#sib_signup_form_4 input[type=email], form#sib_signup_form_4 select {
width: 100%;
border: 1px solid #bbb;
height: auto;
margin: 5px 0 0 0;
}
form#sib_signup_form_4 .sib-default-btn {
margin: 5px 0;
padding: 6px 12px;
color:#fff;
background-color: #333;
border-color: #2E2E2E;
font-size: 14px;
font-weight:400;
line-height: 1.4285;
text-align: center;
cursor: pointer;
vertical-align: middle;
-webkit-user-select:none;
-moz-user-select:none;
-ms-user-select:none;
user-select:none;
white-space: normal;
border:1px solid transparent;
border-radius: 3px;
}
form#sib_signup_form_4 .sib-default-btn:hover {
background-color: #444;
}
form#sib_signup_form_4 p{
margin: 10px 0 0 0;
}form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message {
padding: 6px 12px;
margin-bottom: 20px;
border: 1px solid transparent;
border-radius: 4px;
-webkit-box-sizing: border-box;
-moz-box-sizing: border-box;
box-sizing: border-box;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-error {
background-color: #f2dede;
border-color: #ebccd1;
color: #a94442;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-success {
background-color: #dff0d8;
border-color: #d6e9c6;
color: #3c763d;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-warning {
background-color: #fcf8e3;
border-color: #faebcc;
color: #8a6d3b;
}

from:https://www.enterpriseitpro.net/kaspersky-fcc-antivirus/

Norton 360 อัพเดตใหม่ ใส่ตัวขุดคริปโตมาด้วย เลือกเปิด-ปิดได้ แต่ลบไม่ได้

Norton ออกอัพเดตให้ Norton 360 เพิ่มตัวเสริม Norton Crypto โปรแกรมจะใช้ชิปกราฟิกในเครื่องเพื่อขุดเหรียญ Ethereum ในช่วงที่เครื่องไม่ได้ใช้งานมาเก็บไว้บน Norton Crypto Wallet โดย Norton จะกินส่วนแบ่ง 15%แต่โปรแกรมไม่ได้รันเองอัตโนมัติผู้ใช้ต้องเปิดใช้งานด้วยตัวเอง และหากเปลี่ยนใจก็สามารถเลือกเปิด-ปิดได้ตามต้องการ

ปัญหาคือมีผู้ใช้บางส่วนที่ไม่ต้องการตัวเสริมนี้ และไม่พอใจที่ Norton เลือกลงตัวโปรแกรมขุดคริปโตให้โดยไม่ถามผู้ใช้ นอกจากนี้ Norton ยังไม่มีตัวเลือกในโปรแกรม Norton 360 เพื่อลบตัวเสริมนี้ออก และผู้ใช้ต้องขุดโฟลเดอร์เพื่อลบตัวเสริมที่ใช้รันโปรแกรมชื่อ NCrypt.exe ออกเอง โดยไม่แน่ชัดว่าตัวเสริมนี้จะกลับมาอีกครั้งหากมีอัพเดตหรือไม่

ไม่แปลกที่ผู้ใช้จะไม่ไว้ใจโปรแกรมขุดคริปโตที่ตนไม่ได้ลงไว้ในเครื่องเอง แม้จะเลือกเปิดปิดได้ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีทั้งมัลแวร์ หรือแม้แต่สคริปต์เว็บไซต์ ที่แอบขุดเหรียญคริปโตมาก่อนแล้ว ซึ่งการขุดเหรียญคริปโตใช้ประสิทธิภาพของเครื่องสูง อาจทำให้การทำงานอื่นช้าลง และทำให้ฮาร์ดแวร์เสื่อมไวขึ้นได้ คงต้องรอดูว่า Norton จะมีการปรับปรุงส่วนเสริมนี้หรือไม่

No Description

ที่มา – Digital Trends, Norton

from:https://www.blognone.com/node/126555

Microsoft เตรียมเปิดตัว Defender for Business แบบ Preview

Microsoft เตรียมเปิดตัว Defender for Business แบบ Preview ให้ลูกค้าได้ทดลองใช้งานแล้ว

Credit: Microsoft

Microsoft Defender for Business จะรองรับการใช้งานสำหรับองค์กรที่มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 300 คน โดยจะเน้นประสิทธิภาพต่อราคาเป็นหลัก มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 3 เหรียญต่อผู้ใช้งานต่อเดือน โดยตัวโซลูชันสามารถทำงานได้มากกว่า Antivirus ทั่วไป ครอบคลุมตั้งแต่ รองรับการทำ Automated investigation และ Remediation, มีระบบ Endpoint detection and response, Threat and vulnerability management และ Attack surface reduction โดยจะเน้นการบริหารจัดการที่ง่าย เพื่อช่วยป้องกัน Malware และ Ransomware บนอุปกรณ์ Windows, macOS, iOS และ Android

นอกจากนี้ Microsoft จะใส่ Defender for Business ลงในชุด Microsoft 365 Business Premium อีกด้วย และจะรองรับการทำงานร่วมกับ Microsoft 365 Lighthouse สำหรับรุ่น Preview จะเปิดให้ใช้งานในเร็วๆนี้

ที่มา: https://www.zdnet.com/article/microsoft-to-release-defender-for-business-platform/

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-plans-to-release-defender-for-business/