คลังเก็บป้ายกำกับ: โปรแกรมทดสอบ

โปรแกรมเทส การ์ดจอ 7 ตัวทดสอบความแรง เฟรมเรต ดูสเปค เช็คความร้อน Burn-In ปี 2022

โปรแกรมเทส การ์ดจอ 7 แบบเพื่อคอเกม 2022 ทดสอบความแรง เช็คสเปค ดูอุณหภูมิ พร้อม Burn-In ครบ

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

โปรแกรมเทส การ์ดจอ ในปี 2022 นี้ ก็ยังคงมีหลายโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากมาย มีทั้งใช้ทดสอบเฟรมเรต ที่คอเกมมักจะนิยมกัน หรือจะใช้ทดสอบเสถียรภาพ เมื่อมีการโอเวอร์คล็อกหรือปรับแต่งความเร็ว รวมถึงการทดสอบเพื่อดูเรื่องความร้อน ซึ่งจะใช้โปรแกรมในการมอนิเตอร์ เพื่อเช็คความเร็วสัญญาณนาฬิกา ทั้งในส่วนของ Core clock และ Memory clock รวมถึงการทดสอบอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งในแต่ละส่วนนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน วันนี้เรามาดูกันว่า โปรแกรมที่ใช้ทดสอบการ์ดจอ มีสิ่งไหนน่าสนใจ และใช้ในด้านใดกันบ้าง มาอัพเดตกันในปี 2022 นี้ พร้อมลิงก์ในการดาวน์โหลดที่เตรียมมาให้พร้อมแล้ว

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

  1. GPUz
  2. OCCT
  3. 3DMark
  4. PerformanceTest
  5. MSI Afterburner
  6. FurMark
  7. Dying Light2

1.GPUz

ต้องเรียกว่าเป็นโปรแกรมเทส การ์ดจอ แต่ไม่ได้เป็นกลุ่มของ Benchmark ครับ แต่เป็นโปรแกรมที่ใช้ตรวจเช็คสเปคของการ์ดจอ และเป็นตัวยืนยันการ์ดจอที่ถูกต้อง ว่าตัวการ์ดและชิป GPU ตรงตามที่ระบุหรือไม่ เพราะถ้าเราดูจาก Device Manager บน Windows เราจะเห็นแค่ Process และชื่อรุ่น รวมถึงจำนวน VRAM เป็นพื้นฐาน ซึ่งหากคุณได้การ์ดจอมาสักรุ่น หรือซื้อการ์ดจอมือสองมา หลายครั้งก็ควรตรวจสอบสัญญาณนาฬิกา ชิปกราฟิกและเมมโมรีให้ชัดเจน ระบบสามารถรายงานการ์ดจอที่มีความผิดปกติ ซึ่งหากเป็น GPUz นี้ จะช่วยอธิบายในส่วนต่างๆ ให้ได้ทราบแบบครบถ้วน ซึ่งหากใครยังไม่เคยใช้ และเพิ่มจะซื้อการ์ดจอใหม่ หรือได้โน๊ตบุ๊คใหม่หรือมือสองมา รวมถึงคอมประกอบ อาจจะใช้โปรแกรมนี้ในการเช็คความถูกต้องได้เลย ในหน้าโปรแกรมจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน แต่หลักๆ เราจะใช้กันอยู่ 2 ส่วนนี้ ประกอบด้วย

Advertisementavw

Graphic card: ในหน้านี้จะบอกรายละเอียดทั้ง ชื่อ โค๊ตเนม กระบวนการผลิต วันผลิต ไบออส ไปจนถึง รุ่น ค่ายของชิปกราฟิก เมมโมรี แบนด์วิทธิ์ และส่วนสำคัญอื่นๆ ที่เราอาจจะหาดูได้ยากบนโปรแกรมอื่นๆ รวมถึงการรายงานในแบบเรียลไทม์อีกด้วย สิ่งเหล่านี้สำคัญอย่างไร หากคุณได้การ์ดจอแบบที่ไม่มั่นใจหรือกำลังจะซื้อขายกัน ก็สามารถใช้โปรแกรม GPUz นี้มาทดสอบได้ จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นกราฟิการ์ดบนพีซี หรือการ์ดจอแบบติดตั้งมาภายในซีพียู ทั้ง nVIDIA และ AMD ระบบก็ตรวจเช็คสเปคข้อมูลได้อย่างชัดเจน

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

Sensor: เป็นอีกฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจบน GPUz นี้ เพราะนอกจากคุณควรจะทราบสเปคและรายละเอียดของตัวกราฟิกการ์ดที่ชัดเจนแล้ว เรื่องของอุณหภูมิ ความร้อน และการทำงาน ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะคุณจะเช็คการทำงานของตัวการ์ดจอได้อย่างชัดเจนในหน้านี้ เพราะจะบอกถึงสัญญาณนาฬิกา Core clock, Memory clock, GPU Temp. และบรรดา Workload ต่างๆ ข้อดีของสิ่งนี้คือ คุณสามารถเทียบได้ว่าการ์ดจอที่ได้มาตรงสเปคหรือไม่ หรือหากผิดเพี้ยนก็ควรจะไม่มาก ชุดระบายความร้อนยังดีอยู่หรือเปล่า ยังลดความร้อนของ GPU และเมมโมรีได้ตามปกติ และ GPU load ก็ไม่ควรสูง หากไม่ได้เล่นเกม หรืออาจเช็คได้ว่า มีโปรแกรมที่ดึงเอาการ์ดจอเราไปขุด Crypto ด้วยหรือไม่ หรือบางคนอาจเอาไว้เช็ค เมื่อใช้งานโปรแกรมร่วมกันหลายจอ จะได้ดูโหลดว่าจะสามารถแชร์การทำงานได้ดีที่สุดอย่างไร

ดาวน์โหลดได้ที่ GPUz

จุดเด่น ข้อสังเกต
เช็คสเปคการ์ดจอและรายละเอียดครบ ไม่มีฟังก์ชั่น Benchmark
ดูอุณหภูมิ แรงดันไฟได้

2.OCCT

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

เป็นโปรแกรมที่เรียกว่ามีความอเนกประสงค์อย่างมากในปัจจุบัน เพราะตอบโจทย์การใช้งานในหลายๆ ด้าน ทำหน้าที่คล้ายกับ GPUz แต่เพิ่มเติมคุณสมบัติอีกหลากหลายเข้ามาให้ โดยเฉพาะ การทดสอบเสถียรภาพ (Stability) ด้วยการ Burn-in และการทดสอบ Performance เพื่อเช็คประสิทธิภาพในการทำงานเข้ามาด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้จะมีเพียงการทดสอบซีพียูเท่านั้น แต่เวอร์ชั่นอัพเกรดในปัจจุบัน มาพร้อมการทดสอบกราฟิกการ์ด และแรมเพิ่มเติมเข้ามาด้วย ทำให้ดูครบเครื่องมากยิ่งขึ้น

หน้าตาในการทำงานของโปรแกรมเทส การ์ดจอ OCCT นี้จะแบ่งออกเป็น 4 โซนด้วยกันคือ แถบเมนูหลักทางด้านซ้าย ประกอบด้วย Benchmark, Test, Monitor, SysInfo และ Settings ส่วนเมนูด้านบน จะแบ่งเป็นฮาร์ดแวร์และองค์ประกอบต่างๆ เช่น System, CPU, VGA, RAM และอื่นๆ ส่วนแถบด้านขวา เมนูจะเปลี่ยนไปตามหัวข้อที่เราเลือก และถัดมาด้านล่าง หน้าต่างด้านขวามือ จะบอกสถานะเป็นกราฟ และตัวเลข ซึ่งจะมีค่าต่างๆ รายงานอย่างละเอียดเลยทีเดียว

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

จากตัวอย่างของภาพด้านบนนี้แสดงให้เห็นถึงการทำงานของกราฟิกการ์ดที่ติดตั้งอยู่ในระบบ ซึ่งบอกถึงสถานะ GPU clock, GPU Memory และรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย และภาพด้านล่างนี้ ก็เป็นการทดสอบ Burn-In กราฟิกการ์ดแบบ 100% ซึ่งมีทั้งการทดสอบ Duration หรือความทนทาน โดยทดสอบแบบวนลูป รวมถึงมีให้เลือก Error Detection หรือตรวจเช็คเมื่อเกิดความผิดพลาดและเลือก GPU Usage ได้อีกด้วย เมื่อทำการทดสอบหน้าต่างทางด้านขวาจะรายงานอุณหภูมิ แรงดันไฟและสิ่งอื่นๆ ให้ได้ทราบ เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ฟรี แต่ก็แนะนำว่า หากถูกใจก็ donate หรือบริจาค เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้พัฒนาต่อไปนะครับ ซึ่งระบบจะปลดล็อคฟีเจอร์พิเศษให้กับคุณได้ใช้งานคล่องตัวขึ้น

จุดเด่น ข้อสังเกต
มีฟังก์ชั่นการทดสอบ Stress Test ไม่ได้เป็นการทดสอบกราฟิกโดยตรง
รายงานข้อมูลทั้งระบบได้อย่างละเอียด

ดาวน์โหลดได้ที่ OCCT


3.3DMark

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

โปรแกรมเทส การ์ดจอ ที่อยู่คู่กับเหล่าเกมเมอร์และ Tester กันมาอย่างยาวนาน โดยในการทดสอบจะครอบคลุมฟีเจอร์ต่างๆ ที่อยู่บนกราฟิกการ์ดและเทคโนโลยีของ GPU อย่างมากมายเลยทีเดียว มีเวอร์ชั่นฟรี! ให้ทดลองใช้สามารถเข้าไปติดตั้งได้ใน STEAM จะมี Benchmark ให้ 3 ตัวคือ Time Spy, Night Raid และ Fire Strike แต่จะปรับแต่งไม่ได้มากนักในเวอร์ชั่นนี้

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

ส่วนถ้าจะใช้เต็มรูปแบบ ในแง่ของการเป็น User นั้น ก็มี Advanced Edition ให้เลือกใช้ในราคา 29.99USD ตีเป็นเงินไทยราวๆ พันกว่าบาท แต่จะได้ตัว Benchmark มากมายเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่น Extreme ในการทดสอบที่สูงกว่า 1080p และเพิ่มการทดสอบซีพียู และใช้ฟังก์ชั่น GPU Stress Test ที่ทดสอบความอึดทนและเสถียรภาพของ GPU ได้ และที่สำคัญยังทดสอบในส่วนของ Raytracing และ PCI Express รวมไปถึงฟีเจอร์ nVIDIA DLSS ได้อีกด้วย พร้อมทั้งเปิดให้ปรับแต่งการทดสอบ และบันทึกการทดสอบในแบบ Offline ได้อีกด้วย

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์การอัพเดตและเพิ่มเติมชุดบันเดิลพิเศษเข้าไป อย่างเช่น ในเวอร์ชั่นแบบจัดเต็ม ก็จะมีทั้ง 3DMark + PCMark 10 + VRMark ในราคาประมาณ 59.99USD ให้ใช้งานได้แบบครบครันแล้ว แทบไม่ต้องไปเติมอะไรเพิ่ม

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

แต่ใครที่อยากจะทดสอบ ให้ลองดูสเปคแนะนำที่ทาง 3DMark แนะนำมาดังนี้ครับ

  • OS Windows 10 (64-bit) or Windows 11
  • Processor 1.8 GHz dual-core CPU with SSSE3
  • Memory 4 GB of system memory
  • Graphics DirectX 12 with 3 GB graphics memory
  • Storage 8.7 GB free space to install all tests
จุดเด่น ข้อสังเกต
ทดสอบด้านกราฟิกเต็มรูปแบบ ไม่มีฟีเจอร์มอนิเตอร์ฮาร์ดแวร์
รองรับเทคโนโลยีใหม่ ให้ผลทดสอบชัดเจน

ดาวน์โหลดได้ที่ 3DMark


4.PerformanceTest

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

โปรแกรมเทสการ์ดจอ ที่อาจจะดูเก่าไปบ้างเล็กน้อย แต่ก็มีการอัพเดตอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้รองรับกับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ได้ดี เช่นเดียวกับระบบที่ตรวจเช็คการ์ดจอ Radeon RX6500XT ในปัจจุบันนี้ได้ รวมถึงให้การทดสอบการ์ดจอได้หนักหน่วงอีกตัวหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งโดยพื้นฐานโปรแกรมนี้ จะใช้การทดสอบอุปกรณ์ในหลายๆ ด้าน คล้ายคลึงกับ PCMark แต่เน้นไปที่การประมวลผลเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรมและ Storage ซึ่งจะแยกย่อยการทดสอบลงไปในแต่ละชิ้น จะทดสอบแบบเหมารวมที่เดียวก็ได้ หรือจะเลือกทดสอบรายฮาร์ดแวร์ก็ได้เช่นกัน อย่างเช่นในการทดสอบด้าน 3D Graphic Mark ของเราในครั้งนี้

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

ในการทดสอบนั้น จะมีทั้ง 2D และ 3D Graphic หากเราเลือก 3D ระบบจะทำการทดสอบ ร่วมกับ API ในระดับต่างๆ ตั้งแต่กราฟิกยุคเก่า DirectX 9, 10, 11 และ DirectX 12 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ก็ยังมี GPU Compute ที่น่าจะใช้ GPU ตัวหลักที่เป็น Compute unit มาใช้ในการทดสอบร่วมด้วย การใช้งานก็ค่อนข้างง่ายทีเดียว ต้องการทดสอบตัวใด ให้คลิ๊กที่ปุ่ม Run บนตัวทดสอบนั้นๆ ได้เลย และรอระบบทดสอบจนเสร็จสิ้น อย่างเช่นตัวอย่างด้านบนนี้ จะเป็นภาพกราฟิก ที่เป็นหนึ่งในรายการทดสอบทั้งหมดของระบบ และรายงาน Resolution, frame rate และ Scroll มาให้เราได้ทราบ

และผลที่ได้จะปรากฏขึ้นเมื่อระบบทดสอบเสร็จสิ้น จะมีทั้งตัวเลขรวมของ 3D Graphic Mark และตัวเลขที่แยกย่อยไปตาม API ต่างๆ รวมถึงเปรียบเทียบค่าคะแนนของบรรดากราฟิกที่นำมาใช้ในการทดสอบของทั้งโลก โดยจะบอกเป็นเปอร์เซนต์และค่าคะแนน ให้เราได้ทราบประสิทธิภาพตัวการ์ดที่เราใช้กันอยู่นี้

จุดเด่น ข้อสังเกต
ทดสอบประสิทธิภาพการ์ดจอได้ดี ไม่รองรับเทคโนโลยีใหม่มากนัก
มีภาพกราฟิกชัดเจนเข้าใจง่าย

ดาวน์โหลดได้ที่ HWINFO64


5.MSI Afterburner

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่โลดแล่นอยู่ในวงการเกม การเล่นเกม เช็คเฟรมเรต และการปรับแต่ง เชื่อว่าโปรแกรมเทส การ์ดจออย่าง MSI Afterburner ต้องเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมติดเครื่องคอมหรือโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งของคุณเอาไว้ตลอดเวลา เพราะให้การใช้งานที่ครอบคลุมในด้านต่างๆ มากมาย เช่น การตรวจเช็คสถานะ และรายงานความเร็ว อุณหภูมิของการ์ดจอ การปรับแต่งเพิ่มความเร็ว หรือจัดการกับรอบพัดลมให้เหมาะสม รวมไปถึงการ OC หรือเพิ่มความเร็วให้กับสัญญาณนาฬิกาของ GPU และ Memory ไปจนถึงฟีเจอร์ข้างเคียง ที่มาในแพ๊คเกจด้วยกัน นั่นคือ การเช็คอัตราเฟรมเรต ในขณะที่เล่นเกมได้อีกด้วย

MSI Afterburner มีหน้าต่างโปรแกรมที่แบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยกันคือ

  • ด้านบนจะรายงานความเร็วสัญญาณนาฬิกา GPU, Memory, Voltage และ Temp.
  • ด้านล่างเป็นส่วนการปรับแต่ง สามารถเพิ่มความเร็ว Core clock, Mem clock รวมถึงรอบพัดลมการ์ดจอและแรงดันไฟ ด้วยการปรับเลื่อนสไลด์บาร์ได้ง่าย
  • ด้านขวาที่เป็นตัวเลข จะใช้ในการบันทึกเป็นโพรไฟล์ได้ 5 โพรไฟล์ เพื่อการใช้งานที่สะดวกมากยิ่งขึ้น
  • ด้านซ้ายมือจะเป็นการตั้งค่าใช้งานของตัวโปรแกรม

จากภาพตัวอย่างด้านบนนี้ จะเป็นกราฟของ Hardware Monitor ที่รายงานสถานะสัญญาณนาฬิกา ความเร็ว Memory, GPU Usage รวมไปถึงแรงดันไฟ และสิ่งต่างๆ ที่บอกเป็นกราฟิกให้เห็นได้ง่ายขึ้น

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

และฟีเจอร์ที่โดดเด่นของโปรแกรมนี้ คงหนีไม่พ้นโปรแกรมเล็กๆ อย่าง Riva tuner ที่ติดตั้งเป็นแพ๊คเกจมาด้วยกัน สำหรับการรายงานสถานะของระบบได้แบบเรียลไทม์ และตั้งค่าให้แจ้งการทำงานขณะที่เราเล่นเกมได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเฟรมเรต หรือ Process ของซีพียู การ์ดจอ แรมและอื่นๆ ทำให้ผู้ใช้ที่สนใจในเรื่องของเฟรมเรตหรือโอเวอร์คล็อกแล้วได้ผลดีแค่ไหน หรือวัดประสิทธิภาพในการทำงานว่ามีความร้อนสูงขึ้นหรือไม่ รวมถึงซีพียูและการ์ดจอทำงานอยู่ในระดับใด ฟีเจอร์พิเศษจาก MSI Afterburner นี้ตอบโจทย์คุณได้ครบ

จุดเด่น ข้อสังเกต
ฟังก์ชั่นสำหรับการตรวจเช็คการ์ดจอทำได้ดี เหมาะกับการเป็นซอฟต์แวร์เสริมการทดสอบ
ปรับแต่งและรายงานข้อมูลครบถ้วน

ดาวน์โหลดได้ที่ MSI Afterburner


6.FurMark

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

โปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบการ์ดจออย่างจริงจังอีกตัวหนึ่ง เรียกว่าเป็นแนว Stress test เช่นเดียวกับบน OCCT แต่ปรับความโหดหินได้หลายระดับ ว่ากันตั้งแต่ Resolution และระดับของการลบรอยหยัก Anti-Aliasing เพื่อให้ระบบสามารถผลักดันการทำงานของการ์ดจอไปแบบสุดๆ และยังมี Preset ของการ Benchmark อยู่หลายระดับ ตั้งแต่ HD 720p ไปจนถึงระดับ 4K 2160p ขึ้นอยู่กับว่าระบบของคุณพร้อม หรือต้องการเช็คตัวการ์ดจอของคุณแบบพิเศษหรือไม่ เพราะจะอยู่ที่ VRAM ที่ติดตั้งอยู่บนการ์ดจอด้วยเช่นกัน

โดยระบบจะตรวจเช็คตัวการ์ดจอที่ติดตั้งอยู่ภายใน จากนั้นจะให้คุณตั้งค่า Resolution และเลือก AA จากนั้นเลือก GPU Stress test ได้เลย หรือจะเลือก Preset ก็ได้ การแสดงผลกราฟิกของการ Benchmark นี้ จะเป็นกราฟิกวงกลมที่มีคล้ายขน Fur นุ่มๆ หมุนวนไปเรื่อยๆ แต่ถ้าใครกังวลว่าการ์ดจอจะร้อนจนเกินระดับการทำงาน แล้วอาจจะทำให้การ์ดรับไม่ไหว สามารถเข้าไปใน Furmark settings แล้วเลือก GPU temperature alarm ใส่ตัวเลขระดับอุณหภูมิที่ให้ระบบขึ้นเตือนเมื่อความร้อนสูงได้อีกด้วย จะช่วยให้ผู้ใช้ได้ทราบว่า ควรลดสัญญาณนาฬิกาลง เป็นผลดีต่อการโอเวอร์คล็อก หรืออาจจะเช็คความผิดปกติ จากซิลิโคนที่ทา GPU แห้ง รวมถึงพัดลมหยุดทำงาน หรือไม่ปกติ เกิดความเสียหายนั่นเอง

จุดเด่น ข้อสังเกต
สามารถ Burn-In การ์ดจอได้อย่างหนักหน่วง ปรับรายละเอียดการทดสอบได้ไม่มากนัก
มีฟีเจอร์ทดสอบซีพียู และ GPUz ในตัว

ดาวน์โหลดได้ที่ Furmark


7.Dying Light2

โปรแกรมเทส การ์ดจอ

เป็นโปรแกรมหรือเกมที่ใช้เทสการ์ดจอ ที่เหมาะสมและใหม่ที่สุดในปี 2022 นี้ เพราะรองรับเทคโนโลยีที่บรรดาค่ายการ์ดจอต่างๆ สนับสนุนได้ เช่น DLSS และ Ray-tracing จัดเป็นแนวเกม Action survival ที่เป็นภาคต่อของคนที่ชื่นชอบแนวซอมบี้ ที่จะต้องเดินทางไปทำภารกิจต่างๆ กับเรื่องราวที่เข้มข้น ให้คุณเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ เหมือนกับเกม Open world มีภารกิจให้เราทำ รวมถึงเรื่องของกราฟิก ที่ระบบแนะนำก็คือ การ์ดจอ GeForce RTX 2060 6GB หรือ AMD Vega 56 8GB ขึ้นไป หรืออย่างน้อยสุดคือ GeForce GTX1050Ti หรือ Radeon RX560 VRAM 4GB รวมถึงตัวเกมยังรองรับเทคโนโลยี Ray-tracing และมี Benchmark มาในตัวอีกด้วย ดังนั้น ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีในการทดสอบ GPU ในฐานะของเกมปี 2022 ได้เป็นอย่างดี เคาะราคาอยู่ที่ประมาณ 1,899 บาท ทั้งบน STEAM และ EPIC Game

จุดเด่น ข้อสังเกต
เป็นเกมทดสอบที่รองรับเทคโนโลยีใหม่ ไม่ได้มีฟีเจอร์ฮาร์ดแวร์มอนิเตอร์มาด้วย
มี Benchmark มาด้วย

ดาวน์โหลดได้ที่ Dying Light2


Conclusion

ในการทดสอบด้วยการใช้โปรแกรมเทส การ์ดจอ บางครั้งอาจจะไม่สามารถจบได้ในซอฟต์แวร์เพียงตัวเดียว ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ต้องการทดสอบสิ่งใดเป็นหลัก เนื่องจากบางกรณี เช่น การโอเวอร์คล็อก ก็อาจจะต้องอาศัยการทดสอบด้าน 3D แบบจริงจัง เช่นการใช้ 3DMark หรือเกมมาเป็นตัวช่วย และเสริมด้วยโปรแกรมที่ช่วยในการตรวจเช็คความร้อน แรงดันไฟและการปรับรอบพัดลม เพื่อช่วยให้การปรับแต่งไหลลื่นและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น หรือถ้าต้องการให้ GPU ทำงานอย่างจริงจัง มีโหลดระดับ 100% เพื่อเช็คเสถียรภาพ ก็ยังมี OCCT เป็นทางเลือก ซึ่งทำให้ผู้ใช้เช็ค Process และ Monitor ค่าต่างๆ ได้ในตัว แต่ถ้าจะเช็คสเปค ก็ใช้ GPUz ได้ ให้ความแม่นยำในการตรวจสอบได้ดีทีเดียว โปรแกรมเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งานกราฟิกการ์ด โอกาสหน้าจะนำซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจอื่นๆ มาแนะนำกันครับ

from:https://notebookspec.com/web/642026-7-software-test-graphic-card-2022

แรม DDR5 หรือ DDR4 ประกอบคอม Intel Gen 12 ปี 2022 เลือกแบบไหนดี?

แรม DDR5 หรือ DDR4 ประกอบคอมใหม่ จะใช้แบบใดดี? ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานและการเล่นเกมในปี 2022

แรม DDR5

เชื่อว่าในเวลานี้ การมาของซีพียูและแพลตฟอร์มทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เมนบอร์ด ชิปเซ็ต และการสนับสนุนฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ ก็เรียกว่าใกล้จะมีครบทุกสิ่งในท้องตลาด โดยเฉพาะเมนบอร์ดที่มีชิปเซ็ตให้เลือกตั้งแต่ราคาประหยัด เกมเมอร์ ไปจนถึงไลน์ Performance นั่นก็ทำให้ผู้ที่กำลังจะจัดสเปคคอมประกอบคอมใหม่ มีทางเลือกในการใช้งานมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ต้องขบคิดอย่างหนักนั่นคือ จะเลือกใช้เมนบอร์ดแรม DDR5 ที่เป็นรุ่นใหม่ เกิดมาเพื่อซีพียู Intel Alder Lake นี้โดยตรง หรือจะใช้แรม DDR4 ที่มีความประหยัด หาได้ง่าย ตัวเลือกเยอะ แบบไหนจะดีกว่ากัน วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน ด้วยเมนบอร์ด MSI MAG B660M MORTAR WiFi ซึ่งมีทั้งแบบ DDR4 และ DDR5 ดูกันว่า เมื่อประกอบคอมแล้ว แบบไหน จะเหมาะกับคุณ เผื่อไว้เป็นอีกหนึ่งแนวทางของผู้ที่กำลังจัดสเปคคอมใหม่ในช่วงเวลาต่อไป

แรม DDR5 หรือ DDR4 ประกอบคอมใหม่ แบบไหนดี

รุ่น ราคาแรม DDR5 และ DDR4

DDR5
ADATA XPG LANCER DDR5 5200 32GB (16GB x2) 10,400 บาท
Kingston FURY BEAST DDR5 5200 32GB (16GB x2) 11,800 บาท
APACER NOX DDR5 5200 32GB (16GB x2) 12,600 บาท
DDR4
KLEVV Bolt X DDR4 3200 32GB (16GB x2) 4,490 บาท
Kingston FURY BEAST DDR4 3200 32GB (16GB x2) 5,990 บาท
Kingston FURY RENEGADE DDR4 3200 32GB (16GB x2) 6,590 บาท
CORSAIR VENGEANCE PRO SL 3200 32GB (16GB x2) 7,490 บาท
*ราคาวันที่ 28/1/65
แรม DDR5

ราคาจากตารางด้านบนนี้ เป็นราคาของแรม DDR5 และ DDR4 โดยเป็นแรมความเร็วพื้นฐาน สำหรับแพลตฟอร์มใหม่ในปัจจุบันด้วยกันทั้งคู่ นั่นคือ DDR4 3200 และ DDR5 5200 เป็นการอ้างอิงถึงความจุของแรมเท่านั้น ไม่ได้เป็นการนำมาเปรียบเทียบกัน เนื่องจากเทคโนโลยีของแรมทั้งคู่นั้นต่างกัน โดยราคาที่ต่างกันของแรมทั้ง 2 รูปแบบนี้ ย่อมมีผลต่อการประกอบคอม Intel Gen 12 ด้วยไม่น้อย ซึ่งหากผู้ใช้ที่มีงบประมาณจำกัด ทางเลือกของ DDR4 ก็น่าสนใจ แต่ถ้ามองว่าต้องการศักยภาพในการทำงาน และลงทุนกับระบบครั้งเดียว ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมในภายหลังมากนัก เพราะจะใช้แรมแบบใด ก็ต้องเลือกเมนบอร์ดสำหรับแรมนั้นๆ เพราะถ้าจะเปลี่ยนแรมในภายหลัง ก็ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการอัพเกรดสูงขึ้น โดยราคาแรมที่ปรากฏนี้ จะสังเกตได้ว่า แรม DDR4 3200 นั้น ราคาต่ำกว่า DDR5 5200 บนความจุที่เท่าๆ กันอยู่ไม่น้อยทีเดียว

Advertisementavw

สเปคแรม DDR5 และ DDR4

DDR5 DDR4
โมเดล DDR5 4800-6400 DDR4 2400-4400
Transfer rate 41600 MB/s – 19200 MB/s – 35200 MB/s
ความเร็ว 4,800MT/s – 6,400MT/s 2400MT/s – 4400MT/s
ความจุพื้นฐาน 16GB 4GB
แพลตฟอร์ม (2022) Intel LGA1700 Intel and AMD
XMP 3.0 2.0

เมนบอร์ด MSI B660M MORTAR WiFi

แรม DDR5
MSI B660M MORTAR WiFi

ก่อนที่จะไปสู่การทดสอบ เรามาดูเมนบอร์ดที่นำมาใช้ในวันนี้กันก่อน นั่นคือ MSI MAG B660M MORTAR WiFi ซึ่งมีทั้งแบบที่ใช้กับแรม DDR5 และรุ่นที่ใช้ร่วมกับแรม DDR4 ให้เลือก โดยที่เมนบอร์ดนี้ มาพร้อมชิปเซ็ต Intel B660 รุ่นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นชิปเซ็ตตัวกลาง ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานและการสนับสนุนฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้มากมาย บนเมนบอร์ดไซส์ mATX มีภาคจ่ายไฟขนาดใหญ่ มีสล็อตแรมถึง 4 สล็อตด้วยกัน โดดเด่นด้วย Armor ที่เป็นฮีตซิงก์ช่วยระบายความร้อนมากมาย ตั้งแต่บน Back I/O และชิปเซ็ต ไปจนถึงบนสล็อต M.2 เพื่อช่วยการระบายความร้อนให้กับ SSD ที่เรียกว่า M.2 Shield FROZR

แรม DDR5

เมนบอร์ด MSI นี้ สนับสนุนกราฟิกการ์ดบนสล็อต PCIe 4.0 X16 โดยมีพอร์ตต่อพ่วงความเร็วสูงอย่าง Lightning 20G มาให้อีกด้วย สนับสนุน WiFi 6E และ 2.5G LAN เพิ่มความบันเทิงด้วยระบบเสียง 7.1 และอย่างที่กล่าวเอาไว้คือ เมนบอร์ดรุ่นนี้ มีให้เลือก 2 โมเดล ความต่างกันมีเพียงการสนับสนุนแรมเท่านั้น โดยรุ่น DDR5 จะรองรับ DDR5 ได้สูงสุดที่ 6200MHz (OC) ส่วนรุ่นที่เป็น DDR4 จะรองรับ DDR4 4800MHz นั่นเอง

แรม DDR5

แรมที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้ มีด้วยกัน 2 แบบคือ แรม DDR5 จากทาง Kingston FURY BEAST DDR5 5200 32GB เป็นแบบ 16GB x2 และแรม DDR4 ในรุ่น HyperX FURY DDR4 3200 16GB ซึ่งเป็นแบบ 8GB x2

ระบบที่ใช้ในการทดสอบ

DDR5 DDR4
ซีพียู Intel Core i5-12400 Intel Core i5-12400
Cooling MSI MAG CORELIQUID C240 MSI MAG CORELIQUID 360R
เมนบอร์ด MSI MAG B660M Mortar WiFi MSI MAG B660M Mortar WiFi DDR4
แรม Kingston FURY BEAST DDR5 5200 32GB HyperX FURY DDR4 3200 16GB
Storage WD SN550 1TB WD SN550 1TB
Graphic GeForce RTX 3070Ti GeForce RTX 3070Ti
PSU MSI MPG A850GF MSI MPG A850GF
OS Windows 10 Pro Windows 10 Pro

ทดสอบประสิทธิภาพ

MSI B660 MORTAR DDR4 DDR5 7

ในการทดสอบประสิทธิภาพครั้งนี้ จะใช้ซีพียูเดียวกันคือ Intel Core i5-12400 และเมนบอร์ด MSI B660M MORTAR ซึ่งมี่ทั้ง 2 แพลตฟอร์มคือ รุ่นที่ใช้กับ DDR5 และอีกรุ่นจะเป็นแบบ DDR4 ส่วนแรมจะต่างกันคือ DDR4 3200 16GB และ DDR5 5200 32GB โดยมี Storage เป็น SSD M.2 NVMe PCIe 512GB จาก WD SN550 พร้อมกับกราฟิกการ์ด GeForce RTX 3070Ti GDDR6 8GB บนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro

CPUz

แรม DDR5

ซีพียูที่นำมาใช้ในการทดสอบครั้งนี้ Intel Core i5-12400 ทำงานในแบบ 6 core/ 12 thread ความเร็วสูงสุด 4.4GHz Boost เป็นซีพียู Intel Gen 12 รองรับการทำงานร่วมกับแรม DDR5 ได้ตามมาตรฐาน คู่กับเมนบอร์ด MSI MAG B660M MORTAR WiFi

RAM

แรม DDR5
Kingston FURY DDR4 3200 16GB (8GB x2)

แรมที่นำมาใช้กับระบบ DDR4 จากทาง Kingston FURY DDR4 3200 บน Intel XMP 2.0 ค่า CL 16-18-18 ความจุ 16GB (8GB x2) ในแบบ Dual-channel

แรม DDR5
Kingston FURY BEAST DDR5 5200 32GB (16GB x2)

ส่วนแรมที่นำมาใช้กับระบบ DDR5 จากทาง Kingston FURY BEAST DDR5 5200 บนการตั้งค่า XMP 3.0 ความจุ 32GB มีค่า CL 40-40-40 ทำงานในแบบ Dual-channel เช่นเดียวกัน

PCMark10

แรม DDR5

การทดสอบบน PCMark10 วัดประสิทธิภาพบนการทำงานในรูปแบบต่างๆ เป็นการทดสอบทั้งระบบ และผลที่ได้ คะแนนในภาพแทบจะไม่ต่างกันมากนัก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะฮาร์ดแวร์เกือบทั้งหมดอยู่ในระดับเดียวกัน ยกเว้นแรม ซึ่งมีในแพลตฟอร์ม DDR5 ที่มีคะแนนมากกว่าในบางจุด

AIDA64

แรม DDR5

เป็นโปรแกรมทดสอบยอดนิยม ที่ใช้ในการทดสอบระบบได้ชัดเจน รวมถึงความแตกต่างของ memory ที่เราใช้ในการทดสอบครั้งนี้ ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับที่เราเคยได้ทดสอบไปก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่ได้จาก DDR5 นั้นมีตัวเลขประสิทธิภาพในการอ่าน, เขียน และ Copy เหนือกว่า DDR4 อย่างชัดเจน

SpecviewPerf 11

แรม DDR5

เป็นอีกหนึ่งตัวแทนของการทดสอบการคำนวณในด้านโครงสร้างและการสร้างภาพกราฟิกในด้านงานออกแบบ ซึ่งจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพของซีพียูมากกว่า แต่ก็ต้องอาศัยหน่วยความจำ ในการส่งข้อมูลสำหรับประมวลผล โดยตัวเลขส่วนใหญ่จะออกมาใกล้เคียงกัน จะมีเพียงพาร์ทที่เป็น maya-03 เท่านั้น ที่ DDR5 สามารถทำตัวเลขได้โดดเด่น เหนือกว่า DDR4 อยู่ไม่น้อยเลย

UserBenchmark

แรม DDR5

เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบระบบโดยรวมเช่นกัน ซึ่งเราเจาะไปที่การทดสอบ Memory และให้ผลเป็น GB/s และเป็นอีกครั้งที่ DDR5 ร่วมกับการทำงานของซีพียู สามารถเร่งประสิทธิภาพในส่วนของ Multi Core ไปด้วยตัวเลขที่น่าประทับใจ

PASSMARK-Performance Test 9.0

แรม DDR5
Higher is Better

PASSMARK ในส่วนของ Performance ซึ่งเราดึงผลการทดสอบเฉพาะ Memory มาเท่านั้น และก็เป็นอีกครั้ง ที่ DDR4 สามารถทำผลคะแนนได้เบียดบี้กับแรม DDR5 เลยทีเดียว และบางส่วนก็ทำตัวเลขได้เหนือกว่า ส่วนที่ DDR5 ทำได้ดีกว่า ก็จะมีในส่วน Overall score และ Read-cache แต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างมากนัก

Blender

แรม DDR5
Less is Better

DOTA2

แรม DDR5

มาดูที่การทดสอบด้วยเกมกันบ้าง เริ่มกันที่ DOTA2 ซึ่งเราใช้ความละเอียดที่เป็น Native ของจอภาพ 2560 x 1440p หรือ 2K แล้วเลือกการตั้งค่าแบบ Best Look ที่เน้นความสวยงาม ที่ได้ทั้งความละเอียดและสวยงาม เฟรมเรตเฉลี่ยของชุดทดสอบ DDR5 อยู่ที่ประมาณ 150fps. เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของ DDR4 อยู่เล็กน้อย ส่วนที่เป็น Fastest ที่เน้นความลื่นไหล ส่วนของชุดทดสอบ DDR4 ก็ทำได้ดี แต่ที่เป็น DDR5 ทำได้ดีกว่า เพราะไปได้เกือบ 190fps. เลยทีเดียว

PUBG

แรม DDR5

มาที่เกม Battle Royal ยอดนิยมแห่งยุคเกมนี้กันบ้าง เริ่มต้นจากการทดสอบบน 1080p ซึ่งหากดูจากการเรียกใช้ทรัพยากรแล้ว ก็ดูเหมือนว่าไม่ได้หนักหนาเหมือนกับในหลายๆ เกม เช่น ซีพียูใช้ประมาณ 30% กว่าๆ ส่วนกราฟิกการ์ดก็แค่ 70% โดยประมาณ และแรมใช้ไปประมาณ 10-11GB เท่านั้น ซึ่งชุดที่เป็น DDR4 ก็ยังมีเรี่ยวแรงเหลือเฟือ ตัวเลขที่เป็นเฟรมเรต จึงค่อนข้างจะเบียดบี้กันพอสมควร สำหรับการทดสอบทั้ง DDR4 และ DDR5 แม้บนความละเอียด 1440p ในแบบ Ultra ที่ยังให้ผลไปในทางเดียวกับ 1080p โดยชุดทดสอบ DDR5 ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย

Horizon Zero Dawn

แรม DDR5

เกมนี้โหดขึ้นมาอีกนิด เพราะเราใช้ความละเอียดสำหรับการเล่น เล่นในโหมด Full-HD หรือ 1080p และปรับความสวยงามแบบจัดเต็ม ทำให้ซีพียูทำงานไปที่ 50-60% และใช้ GPU ไปเกือบ 80% โดยที่ดึงทรัพยากรแรมไปเกือบ 11GB เลยทีเดียว ซึ่งความลื่นไหลและเฟรมเรตนั้น DDR5 มีมากกว่า แต่ไม่มากนัก หากดูในภาพรวม แต่ในการทดสอบบนความละเอียดที่สูง เช่น 1440p ขึ้นไป เริ่มมีผลให้เห็นอยู่บ้าง สำหรับเฟรมเรตบนชุดทดสอบ DDR5 ที่ทำได้ดีมากขึ้น

Battlefield V

แรม DDR5

สุดท้ายกับการทดสอบบนเกมที่เราใช้เป็นประจำอย่าง Battlefield V กับการเล่นเกมในโหมด 1080p Ultra settings ซึ่งเฟรมเรตเฉลี่ยของชุดทดสอบ DDR5 ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย เช่นเดียวกับในโหมด 1440p ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งโดยปกติการทดสอบ 1080p ในเบื้องต้น ตัวเกมเรียกใช้แรมไปมากถึง 12GB ด้วยกัน และค่อนข้างชัดเจนว่า หากเล่นบนความละเอียดที่มากกว่านั้น และตั้งค่า Ultra แนวโน้มของชุดทดสอบแรม DDR5 ก็ดูจะให้ผลที่ดีกว่า ซึ่งก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากับการเล่นเกม ที่ใช้สเปคโหดหินในวันข้างหน้าได้ดี


เลือกใช้แบบใดดี DDR5 vs DDR4

แรม DDR5

ในการทดสอบสิ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนก็คึอ หากเป็นการใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ทั่วไป ดูเหมือนว่าผลของแรมที่ออกมา ดูจะไม่ต่างกันมากนัก อาจเป็นเพราะโปรแกรมพื้นฐาน ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียกใช้แรมมากมายนัก และในหลายครั้งใช้แรมประมาณ 6-8GB ซึ่งทำให้แรมที่เรามีอยู่ทั้ง DDR4 16GB หรือ DDR5 32GB ทำงานได้อย่างสบายๆ เรื่องของความเร็ว ที่วัดกันเป็นหน่วยเวลา ออกมาได้ตัวเลขที่ใกล้เคียงกันมากๆ นั่นอาจจะหมายถึง DDR4 3200 ก็ตอบโจทย์ในการใช้งานในกลุ่มนี้ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งรวมไปถึงเกม ที่ส่วนใหญ่จะอิงกับ VRAM เป็นหลัก ในการประสานงานกับ GPU และ CPU ผลออกมาในเกมที่เรานำมาทดสอบนั้น แม้ชุดแรม DDR5 จะดูว่ามีเฟรมเรตเหนือกว่าอยู่นิดๆ แต่ก็เรียกว่าน้อยมาก แต่ถ้าในกรณีเล่นเกมบนความละเอียดสูง และมีหลายจอต่อกัน หรือเปิดใช้หลายหน้าต่าง อย่างเช่น การเปิดบอทในเกมต่างๆ ผ่านโปรแกรมอย่าง NOX เป็นต้น หรือจะเป็นการเปิด Bomb crypto หลายๆ จอ ทั้งในแง่ของแบนด์วิทธิ์และความเร็ว ก็อาจมีผลต่อการทำงานอยู่ไม่น้อยทีเดียว

แรม DDR5

ดังนั้นหากจะแนะนำก็คึอ ถ้าคุณแค่เน้นเล่นเกมเป็นหลัก และงบประมาณไม่สูงมากนัก รวมถึงต้องการใช้งานซีพียู Intel Gen 12 เมนบอร์ด LGA1700 ที่ใช้ชิปเซ็ต B660 และทำงานร่วมกับแรม DDR4 16GB ขึ้นไป การ์ดจอระดับกลาง ก็ให้ประสิทธิภาพได้ดีพอ แต่ถ้าคุณต้องการเล่นเกม ที่ใช้ทรัพยากรสูง หรือเกมในกลุ่ม AAA ที่มีโปรดักส์ชั่นฟอร์มยักษ์ ซึ่งบางเกมใช้ทรัพยากรหนักหน่วง คัตซีนขั้นเทพ หรือมี Recommended Spec ที่โหดหิน ส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่เรียกข้อมูลจำนวนมาก รวมไปถึงแนว Open world ที่บางทีต้องโหลดข้อมูลจำนวนมาก นอกจากเครือข่ายที่รวดเร็ว SSD ที่ตอบสนองไว แรมก็มีส่วนไม่น้อยเลย ทางเลือกเมนบอร์ด B660 และแรม DDR5 ก็ดูจะคุ้มค่าไม่น้อยสำหรับคอเกมกลุ่มนี้

แรม DDR5

แต่ถ้าคุณเป็นคนที่มีงานหลักเป็นโปรเจกท์ใหญ่ งานวีดีโอที่มีความซับซ้อน ต้องใช้งานร่วมกับไฟล์ขนาดใหญ่ หรือเล่นเกมในความละเอียดที่สูง เช่น ในระดับ 2K หรือ 4K และมี รวมถึงการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก เช่น การตัดต่อวีดีโอ ที่มีไฟล์วีดีโอ footage จำนวนมาก รวมถึงใส่ ไฟล์ภาพ เสียงและเอฟเฟกต์ รวมถึง Superimposed และเรนเดอร์เป็นไฟล์วีดีโอ ที่มีเฟรมเรตสูง รวมไปถึงทำงานด้านภาพ เช่น ช่างภาพ ที่ต้องเปิดไฟล์ขนาดใหญ่ แต่งภาพและเรนเดอร์ไฟล์หลายๆ ภาพพร้อมกัน การใช้แรม DDR4 ความจุมากๆ ก็ตอบสนองการใช้งานเหล่านี้ได้ แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนแพลตฟอร์มยกชุดใหม่ การเปลี่ยนมาใช้ DDR5 ก็น่าลงทุนไม่น้อยเลย เพราะทั้งความเร็วและแบนด์วิทธิ์ที่กว้างมากกว่า ก็จะช่วยให้งานและการเปิดไฟล์จำนวนมาก ไหลลื่นมากขึ้นและถ้าต้องการช่องทางติดต่อข้อมูลที่กว้าง เมนบอร์ด Z690 เป็นทางออกที่คุ้มค่า แม้สนนราคาจะสูงขึ้นกว่า B660 พอสมควร แต่ถ้าเปรียบเทียบกับ Productivity ที่ได้กลับมาแล้ว การลดเวลาในการทำงาน ให้ผลที่เป็นที่น่าพอใจได้มากกว่า

แรม DDR5

สุดท้ายหากคุณเป็นคนที่ชอบความสดใหม่ และไม่ได้ซื้อคอมบ่อยนัก ซื้อครั้งหนึ่ง ก็ใช้ไปยาวๆ หลายปี เน้นประสิทธิภาพที่ดี เทคโนโลยีใหม่ ไม่ได้ติดขัดในแง่งบประมาณ การเลือกแรม DDR5 ในความเร็วเริ่มต้น เช่น DDR5 4800 หรือ 5200 และเลือกความจุที่มากที่สุด เท่าที่จะลงทุนไหว ก็ช่วยให้คุณสามารถใช้งานที่ต้องการต่างๆ ไปได้อีกนานพอสมควร เพราะเทรนด์ในวันข้างหน้าอีกอย่างน้อย 2 ปี ก็ยังเป็น DDR5 และจะมีโมเดลความเร็วสูงเพิ่มมากขึ้น รวมถึงรองรับแอพพิลเคชั่นต่างๆ ได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น การเล่นเกมใหม่ๆ ทำงานวีดีโอ หรืองานซอฟต์แวร์เฉพาะต่างๆ เช่น การออกแบบ 3D, Animation ไปจนถึง Content Creator อย่างเช่น งาน NFT เป็นต้น เมื่อรวมกับแพลตฟอร์มอย่างเมนบอร์ดชิปเซ็ต Z690 มาคู่กับกราฟิกการ์ดตัวแรงๆ และ SSD M.2 NVMe PCIe 4.0 ก็จะดูลงตัวมากขึ้น

จากผลทดสอบและข้อมูลที่เป็นตัวเลขต่างๆ ที่ออกมาเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยในการตัดสินใจของคุณสำหรับการเลือกใช้แพลตฟอร์มสำหรับประกอบคอม Intel Gen12 ในช่วงเวลาอันใกล้นี้ และอย่าลืมเลือกเมนบอร์ดให้เหมาะกับการใช้งานของคุณให้มากที่สุด เพื่อความคุ้มค่าในการใช้งาน

แรม DDR5

ขอขอบคุณ MSI เป็นอย่างสูง ที่ส่งเมนบอร์ด MSI MAG B660M MORTAR WiFi มาให้เราได้ทดสอบ ทั้งในรุ่นที่สนับสนุน DDR4 และ DDR5 มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

from:https://notebookspec.com/web/635727-ram-ddr5-ddr4-msi-2022

คอมกินไฟเท่าไหร่ 5 เว็บคำนวณเลือกเพาเวอร์ซัพพลาย และค่าไฟแต่ละเดือน 2021

คอมกินไฟเท่าไหร่ เว็บคำนวณค่าไฟเกมมิ่งพีซี ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน และใช้เลือกเพาเวอร์ซัพพลาย

คอมกินไฟเท่าไหร่

คอมกินไฟเท่าไหร่ หลายคนกำลังจะซื้อคอมใหม่ หรือเลือกจะประกอบคอมเองสักชุดหนึ่ง เพาเวอร์ซัพพลายก็เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่เลือกฮาร์ดแวร์แรงๆ ก็ดูจะให้ความสนใจไม่น้อยเลย รวมไปถึงคนที่จะอัพเกรดคอมใหม่ เพิ่มซีพียู และการ์ดจอตัวแรงๆ เข้าไป ก็ไม่แน่ใจว่าเพาเวอร์ตัวเดิมจะจ่ายไฟให้ไหวหรือไม่ เพราะหลายครั้งก็มีโอกาสใช้งานแล้ววูบเวลาที่เล่นเกมหรือเรนเดอร์ไฟล์ เพราะระบบจ่ายไฟในระดับ Peak แบบมีข้อจำกัด เมื่อเจอกับโหลดหนักๆ มักไปไม่ไหว จะได้ถือโอกาสในการเปลี่ยนหรืออัพเกรด PSU ใหม่ไปในตัว ไหนๆ ก็แกะคอมออกมาแล้ว ก็ถอดเปลี่ยนไปในทีเดียว ไม่ต้องมารื้อสายไฟทีหลัง ซึ่งจะทำให้เสียเวลามากกว่า ซึ่งการที่จะประเมินการใช้พลังงานหรือจะดูว่าคอมที่จะอัพเกรดนั้น กินไฟเท่าไร อาจใช้วิธีคำนวณได้แบบคร่าวๆ จากตัวเลขบนอุปกรณ์แต่ละชิ้น หรือจะใช้ซอฟต์แวร์ในการประเมินได้เช่นกัน

คอมกินไฟเท่าไหร่ เลือกเพาเวอร์ซัพพลาย คำนวณค่าไฟ

วิธีคำนวณเลือกเพาเวอร์ซัพพลาย

โดยปกติเราสามารถประเมินคอมกินไฟเท่าไหร่ได้จากการดูข้อมูล Label บนฮาร์ดแวร์แต่ละชิ้นหรือเข้าไปดูใน Specification ของเว็บไซต์ผู้ผลิตได้ แต่นั่นก็อาจจะทำให้เสียเวลาในการค้นหา เพราะในปัจจุบันมีผู้ผลิตเพาเวอร์ซัพพลายหลายค่าย ออกเอนจิ้นในการคำนวณการใช้พลังงาน เพื่อให้เราเข้าถึงและเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น และมีตัวเลือกให้กับผู้ใช้ได้ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อนมากเกินไป เพียงแค่เลือกฮาร์ดแวร์ที่คุณจะใช้หรือใช้อยู่ แล้วให้ระบบทำการตรวจเช็ค บอกระดับการใช้พลังงาน แล้วคุณแค่ไปเลือกโมเดลในแบบที่เหมาะกับคุณเท่านั้น ดังเช่นตัวอย่างที่เรานำมาให้ดูกันในวันนี้ มีด้วยกัน 5 ค่าย

1.CoolerMaster

สามารถเข้าไปใช้งานได้ที่: coolermaster.com

คอมกินไฟเท่าไหร่

เป็นเว็บไซต์ช่วยคำนวณคอมกินไฟเท่าไหร่และการใช้วัตต์ของ PSU ที่มีอินเทอร์เฟสดูง่าย ไม่ซับซ้อนมากมายนัก เหมาะกับมือใหม่ ที่พอจะรู้รายละเอียดสเปคที่ใช่อยู่บ้าง และมีตัวเลือกของฮาร์ดแวร์เกือบครบทีเดียว จะมีแค่เพียงซีพียู อาจจะขาดไปบ้างในบางโมเดลใหม่ๆ แต่ก็พอให้ใช้งานได้สะดวก โดยจะคำนวณออกมาให้เราได้ทราบ รวมถึงแนะนำเพาเวอร์ซัพพลายที่เหมาะสมในการใช้งานให้

คอมกินไฟเท่าไหร่

ตัวอย่างที่เราได้ทดลองใส่ข้อมูลฮาร์ดแวร์เข้าไปเป็น AMD Ryzen 5 3600x เมนบอร์ด ATX Standard และมีแรม DDR4 16GB รวมถึง SSD 512GB – 1TB และเพิ่มฮาร์ดดิสก์ 1TB 7,200rpm เข้าไป ระบบคำนวณได้ 507 Watts และมีโมเดล PSU ของ CoolerMaster มาให้ เริ่มต้นที่ 550W ขึ้นไป แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้ยังเลือกได้ว่า จะเป็นแบบ Modular หรือ Full-Modular ซึ่งเป็นตัวกรองเพิ่มเติมมาให้อีกด้วย


2.BeQuiet

สามารถเข้าไปใช้งานได้ที่: bequiet.com

คอมกินไฟเท่าไหร่

สำหรับการคำนวณของค่ายนี้ ถือว่าใช้ง่ายเลยทีเดียว ตัวเลือกไม่ซับซ้อน เน้นที่จำนวนและรูปแบบเป็นหลัก ที่น่าสนใจคือ มีรายละเอียดตัวเลขของฮาร์ดแวร์เกือบครบทุกโมเดล เท่าที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น AMD Ryzen 5000 series หรือ Intel Gen 11 ก็ตาม รวมไปถึงบรรดากราฟิกการ์ด ที่มีตัวเลือก AMD Radeon หรือ nVIDIA GeForce แบบครบครัน มีฐานข้อมูลแน่น จึงทำให้การเลือกใช้มีความแม่นยำมากขึ้น แต่ในส่วนของอุปกรณ์ประเภท Storage จะให้บอกจำนวนของการเชื่อมต่อเท่านั้น ว่าเป็นแบบใด เช่น SATA, M.2 รวมถึงแรม ที่ระบุเป็นโมดูล เช่น 8GB x1 หรือ 16GB x2 เป็นต้น

ตัวอย่างที่เราใช้ในการทดสอบ เราเลือกซีพียู Intel Core i9-11900KF และเมนบอร์ด ATX ระบุด้วยว่าเป็นแบบ Overclocking ส่วนกราฟิกการ์ดเป็น nVIDIA GeForce RTX3060Ti ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน อยู่ในระดับ Mid-end และมีพัดลมเคส 2 ตัวด้วยกัน ระบบสามารถคำนวณมาได้ที่ 782Watts ในแบบ Maximum และเมื่อคำนวณให้แล้ว ก็จะมีโมเดลของ Bequiet มาแนะนำ พร้อมกับ Load และราคาที่เหมาะสม ซึ่งตัวเลือกที่เป็นเพาเวอร์สูงๆ ก็จะมี Load ที่เบาลง ลดภาระเมื่อใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ


3.SeaSonic

สามารถเข้าไปใช้งานได้ที่: seasonic.com

คอมกินไฟเท่าไหร่

มาถึงอีกค่ายหนึ่ง ซึ่งถือเป็นค่ายที่มีเพาเวอร์ซัพพลายระดับตำนาน และได้การยอมรับจากผู้ใช้ทั่วโลก รวมถึงมีจำหน่ายในบ้านเราด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะระบุเป็น Beta ในแบบทดลองใช้ แต่ก็ให้รายละเอียดของฮาร์ดแวร์ไว้อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียูค่าย Intel หรือ AMD ก็ตาม เช่นเดียวกับกราฟิกการ์ด ก็มีตัวเลือกมาให้แบบครบๆ จึงตรวจเช็คได้ใกล้เคียงกับความจริงมากเลยทีเดียว ส่วนการเลือกอุปกรณ์อื่นๆ นั้น อาจจะไม่ได้ละเอียดสุด แต่ก็สามารถกำหนดจำนวนได้

ส่วนตัวอย่างที่เราได้เลือกใส่ลงไปเพื่อคำนวณนั้น ใช้ซีพียู AMD Ryzen 7 5800X คู่กับกราฟิกการ์ด Radeon RX 6600 XT และแรม DDR4 16GB รวมถึง SSD และ HDD อีกอย่างละตัว ซึ่งผลที่ได้ระบบไม่ได้แจ้งข้อมูล Watts มาให้ แต่ระบุเป็นโมเดลของเพาเวอร์ซัพพลายเป็นรุ่นและซีรีส์มาให้ โดยเริ่มต้นที่ 650 Watts พร้อมตัวกรองที่มีให้เลือก ทั้งที่เป็น Modular และ 80 Plus


4.Newegg

สามารถเข้าไปใช้งานได้ที่: newegg.com

คอมกินไฟเท่าไหร่

มาดูในส่วนของ Newegg กันบ้าง ซึ่งค่ายนี้จะเป็นเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าไอทีออนไลน์รายใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ด้วยความที่มีความชำนาญในด้านผลิตภัณฑ์และข้อมูลจำนวนมาก จึงทำให้มีฐานข้อมูลฮาร์ดแวร์ให้ได้เลือกครบถ้วน ภายใต้อินเทอร์เฟสที่ดูเป็นมิตร ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ซึ่งใครที่เป็นมือใหม่ หรืออยากได้แบบที่ดูง่ายๆ ใช้งานสะดวก แนะนำใช้ที่นี่เลย เพราะมีตัวเลือกที่ครบ สลับและเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ในการตรวจเช็คได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งระบบจะทำการคำนวณออกมาให้ทันที ไม่ต้องไป Submit หรือกด Ok ให้เสียเวลา

คอมกินไฟเท่าไหร่

ตัวอย่างที่เราได้ลองใช้นั้น เราเลือกเป็นซีพียู Intel Core i7-11700F เมนบอร์ดเป็นแบบ ATX และใช้กราฟิกการ์ด nVIDIA GeForce RTX3090 ที่เป็นตัวท็อปสุด โดยมีแรม 16GB x2 รวม 32GB และใส่ SSD M.2 และฮาร์ดดิสก์อย่างละ 1 ตัว ไม่ได้มีตัวเลือกอย่างพัดลมหรือชุดน้ำ AIO มาให้ โดยคำนวณออกมาอยู่ที่ประมาณ 548 Watts เป็นขนาดแนะนำ ซึ่งจากนั้นจะให้เราคลิ๊กต่อที่ Shop PSUs เพื่อเข้าไปดูเพาเวอร์ซัพพลายระดับที่เหมาะสมต่อไป ก็ถือว่าน่าใช้งานไม่น้อยเลย


5.PC-Builds

สามารถเข้าไปใช้งานได้ที่: pc-builds.com

คอมกินไฟเท่าไหร่

แต่ถ้าใครที่ชอบความละเอียดมากขึ้น เว็บไซต์อย่าง PC-Builds เค้าก็มีตัวเลือกในการคำนวณคอมกินไฟเท่าไหร่และ Watts การใช้งานให้เช่นกัน ซึ่งถ้าดูจากตัวเลือกต่างๆ แล้ว จัดว่าเป็นรายที่ให้ความละเอียดในการคำนวณอยู่มากทีเดียว รวมถึงสามารถจำเพาะเจาะจง ไปถึงอุปกรณ์แต่ละชิ้น และจำนวน รวมถึงพัดลม ที่มีให้เลือกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพัดลมฮีตซิงก์ ชุดน้ำ หรือพัดลมในขนาดต่างๆ เช่นเดียวกับอุปกรณ์ต่อพ่วง เมาส์ คีย์บอร์ด ก็มีให้เลือกอย่างครบครันอีกด้วย เรามาทดลองใช้งานกัน

คอมกินไฟเท่าไหร่

ในหัวข้อซีพียู มีให้เลือกเพียบ เลือกได้เลยว่าจะเป็น Intel หรือ AMD และยังแยกย่อยไปยังโมเดลต่างๆ ที่มีจำหน่ายในเวลานี้อย่างครบถ้วน ซึ่งเราเลือกเป็น Intel Core i7-10700K

คอมกินไฟเท่าไหร่

ถัดมาเป็นตัวเลือกของกราฟิกการ์ด เช่นเดียวกัน มีให้เลือกทุกซีรีส์ ตั้งแต่ nVIDIA GT ไปจนถึง GTX และ RTX 3000 series ในปัจจุบัน โดยเราเลือกเป็น GeForce GTX1660Ti

คอมกินไฟเท่าไหร่

ในส่วนของ Storage ก็เช่นกัน มีตั้งแต่ SSD/ HDD ตัวเลือกจะเป็น SATA หรือ PCIe ก็มี โดยสามารถระบุเป็นความจุ มากหรือน้อยกว่า 500GB รวมถึงรอบการทำงานของฮาร์ดดิสก์ ที่มีตั้งแต่ 5,400rpm – 10,000rpm เช่น WD Black เป็นต้น โดยในครั้งนี้เราเลือกเป็น SSD PCIe มากกว่า 500GB ขึ้นไป

คอมกินไฟเท่าไหร่

นอกจากนี้ยังมีให้เราระบุว่า เราใช้การ์ดในแบบ PCIe อื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เช่นที่มีให้เลือก ก็จะเป็น ซาวด์การ์ดทั่วไป, ซาวด์การ์ดระดับไฮเอนด์ หรือจะเป็น RAID card และ SCSI card เป็นต้น

คอมกินไฟเท่าไหร่

ในหัวข้อของ RAM จะมีให้เลือกตั้งแต่แรมเก่า เช่น DDR2 มาจนถึงปัจจุบันที่เป็น DDR4 ซึ่งหากเราดูตามรูปแบบของแรม นัยสำคัญน่าจะอยู่ที่จำนวน เพราะแรงดันไฟที่ใช้ในแรมตั้งแต่ยุคก่อนๆ จะต่างกันเพียง 0.1v เท่านั้น โดยในครั้งนี้เราเลือก DDR4 8GB จำนวน 2 โมดูล

คอมกินไฟเท่าไหร่

ขยับมาที่ Fan หรือพัดลมที่ใช้ในระบบกันบ้าง เราเลือกเป็นพัดลมขนาด 120mm จำนวน 2 ตัว เป็นแบบพื้นฐาน ดูเข้าด้านหน้า และเป่าออกทางด้านหลังอย่างละตัว แต่จุดเด่นของเครื่องมือนี้อยู่ที่ การเลือกรายละเอียดของพัดลมได้เยอะ ตั้งแต่พัดลมขนาด 60mm ไปจนถึง 140mm ใส่จำนวนตัวแยกกันได้อีกด้วย จึงถือว่าให้ความแม่นยำได้มากขึ้น

คอมกินไฟเท่าไหร่

ส่วนที่เหลือจะเป็นเมาส์และคีย์บอร์ด มีให้เลือกว่าจะใช้เป็น Standard keyboard หรือจะเป็น Gaming mouse-keyboard ซึ่งก็จะมีความต่างกัน ในแง่ของชุดคอนโทรลและแสงไฟ RGB ที่เสริมเข้ามานั่นเอง โดยเราเลือกเป็น Gaming ทั้ง 2 อุปกรณ์

คอมกินไฟเท่าไหร่
คอมกินไฟเท่าไหร่

และเมื่อเลือกครบ ระบบจะให้เราคลิ๊ก Calculate อีกครั้งหนึ่ง เพื่อระบบจะคำนวณมาให้เราได้ทราบ ซึ่งผลที่ออกมานั้น ทั้งระบบที่เราเลือกฮาร์ดแวร์ต่างๆ จะอยู่ที่ 301 Watts เท่านั้น และแนะนำเพาเวอร์ในระดับ 400W มาให้ โดยระบบจะเลือก PSU ในรุ่นต่างๆ ที่วางจำหน่ายมาให้เราเป็นตัวเลือกในการสั่งซื้อนั่นเอง ก็จัดว่าเป็นเอนจิ้นที่ค่อนข้างสะดวก และตอบโจทย์การใช้งานได้ดี

คำนวณค่าไฟ คอมที่คุณใช้ ค่าไฟต่อเดือนเท่าไร?

หลายคนอาจจะได้คำตอบในเรื่องของตัวเลขที่ใช้ในการเลือกเพาเวอร์ซัพพลายกันไปแล้ว แต่บางคนก็อาจจะให้ความสำคัญกับเรื่องของค่าไฟ คอมกินไฟเท่าไหร่ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนด้วย เพราะบางครั้งจะเป็นคำตอบให้กับผู้ปกครองหรือเพื่อน หรือบางคนต้องแชร์ค่าไฟกันกับเพื่อนร่วมห้อง ซึ่งการประเมินแบบคร่าวๆ ก็พอจะให้คำตอบได้ โดยดูจาก Watts ที่ใช้ รวมกับจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานในแต่ละวัน แล้วจึงมาคำนวณเป็นต่อวัน ต่อเดือนเป็นต้น ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

คอมกินไฟเท่าไหร่

สมมติสเปคที่ใช้จากระบบของ PC-Build ที่เราคำนวณกันด้านบนนี้กับสเปค Intel Core i7-10700K และกราฟิกการ์ด GeForce GTX1660Ti รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่รวมกันมาได้ประมาณ 301 Watts

  • นำ Watts มาคูณด้วยเวลาที่เปิดใช้ทำงานในแต่ละวัน เอาเป็นเวลามาตรฐานคือ 8 ชั่วโมงทำงาน (301W x 8Hrs) แล้วนำมาหาร 1,000 จะได้ 2.408 หน่วย/วัน
  • และเมื่อนำมาคิดเป็นรายเดือน จะเท่ากับ 2.408 หน่วย x 30 วัน เท่ากับ 72.24 หน่วยต่อเดือน ซึ่งนำมาคำนวณตัวเลขค่าไฟฟ้ารายเดือนได้ดังนี้
  • คำนวณค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ซึ่งตัวเลขอ้างอิง จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในปี 2564
  • หากการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน หลังจากหน่วยที่ 65 จะอยู่ที่ประมาณ 3.6237 บาท/ หน่วย
  • ตัวเลขประมาณการจะอยู่ที่ 262 บาท/ เดือน ตรงนี้จะเป็นค่าไฟ ที่พอประเมินได้จากคอมอ้างอิงจำนวน 1 เครื่อง แต่ก็อย่าลืมว่า คุณใช้งานคอมเกินเวลาหรือไม่ คอมกินไฟเท่าไหร่
  • นอกจากนี้ก็ยังจอภาพหรือจอมอนิเตอร์ที่ใช้ ขนาดเท่าไร 22″ หรือ 32″ ก็ใช้ไฟต่างกันด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Samsung Curved 32″ ใช้พลังงานประมาณ 59W ตรงนี้ก็ต้องนำไปคำนวณเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน
คอมกินไฟเท่าไหร่

หรือถ้าเป็นการ คำนวณค่าไฟจากการไฟฟ้านครหลวง โดยตีประเมินว่าคุณใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีทีวี เครื่องปรับอากาศ พัดลม และกาต้มน้ำ ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง อาจจะรวมแล้วว่าใชไฟเพิ่มจากเดิมประมาณ 72 หน่วย มาเป็น 140 หน่วยต่อเดือน เมื่อคำนวณออกมาแล้ว อาจจะอยู่ที่ราว 481.75 บาทหรือกลมๆ ก็ประมาณ 500 บาทต่อเดือน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการประเมินการใช้ไฟฟ้าในภาพรวมของคุณได้แล้ว

*ตัวเลขที่อ้างอิงตัวอย่างนี้ เป็นการคำนวณแบบง่ายๆ ซึ่งยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะส่งผลต่อค่าใช้จ่าย ค่าไฟและการใช้พลังงานที่ต่างออกไป

Conclusion

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการในการคำนวณคอมกินไฟเท่าไหร่และการใช้พลังงานของคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้แบบง่ายๆ สำหรับคนที่ประกอบคอมใหม่ ใช้ในการประเมินการเลือกเพาเวอร์ซัพพลาย และคำนวณว่าในแต่ละเดือน คุณจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าใดกันแน่ ในการใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง เพราะอย่าลืมว่า คอมทั่วไป กับเกมมิ่งคอมพิวเตอร์จะมีความแตกต่างกันในด้านฮาร์ดแวร์และการใช้พลังงาน ดังนั้นการประเมินในเบื้องต้น ก็จะช่วยให้คุณเลือกได้ว่า จะต้องใช้งานคอมในรูปแบบใด เพื่อให้คุ้มค่า รวมถึงการเลือกเพาเวอร์ซัพพลายก็จะทำได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ดี อาจจะต้องคำนวณเผื่อในแง่ของการใช้งานแบบ Peak Load เอาไว้ด้วย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ระบบของคุณจะทำงานได้อย่างเป็นปกติสุข ไม่เกิดปัญหาเด้งหลุดออกจากเกม คอมดับหรือเครื่องรีสตาร์ทแบบไม่ทราบสาเหตุ เพราะเพาเวอร์ส่วนใหญ่จะบอกข้อมูลการจ่ายไฟสูงสุด แต่ก็อาจจะไม่ใช่ทุกรุ่นที่จะสามารถจ่ายไฟได้แบบ Full-load 100% ได้ตลอดเวลา ต้องเช็คข้อมูลให้ละเอียดก่อนที่จะเลือก ซึ่งบางค่ายที่เราแนะนำไปเช่น BeQuiet ก็มีแนะนำรุ่นและรายละเอียดได้ชัดเจนทีเดียว ให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น หรือค่ายอื่นๆ ก็จะแนะนำ Recommended มาให้ว่า คุณควรจะเลือกเพาเวอร์ซัพพลายขนาดใดดี ก็อาจจะเลือกเผื่อเอาไว้สัก 20-30% หรือถ้าอยากคุมงบ ยังไม่มีตัวเลือกที่สนใจ เพาเวอร์ซัพพลายระดับ 2,000 บาท ที่มี 80 Plus มาให้นี้ก็น่าสนใจไม่น้อยเลย

from:https://notebookspec.com/web/616576-pc-power-calculate-2021

ทดสอบ เช็คความเร็ว โน๊ตบุ๊ค พีซี มือถือ 3DMark WildLife เทสได้ 2 โหมด เพิ่มฟรี!

3DMark เรียกว่าเป็นโปรแกรม เช็คความเร็ว ยอดนิยม ที่จัดเป็น Top 5 ของผู้ใช้คอม ที่มักจะมีไว้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในด้านกราฟิกการ์ด และล่าสุดเปิดตัว WildLife ที่เป็นโปรแกรมทดสอบข้ามแพลตฟอร์ม ให้ผู้ใช้สามารถทดสอบความสามารถ GPU ได้ทั้งพีซี โน๊ตบุ๊ค มือถือ Android และ iOS

เช็คความเร็ว

โปรแกรมทดสอบ เช็คความเร็ว 3DMark WildLife

โปรแกรมทดสอบ WildLife ประกอบด้วย 2 โหมดการทดสอบ ประกอบด้วยการทดสอบแบบรวดเร็ว Quick Benchmark และ Stress test ที่เป็นการทดสอบความอึดทนของอุปกรณ์ เมื่อต้องอยู่ในภาวะที่โหลดหนักเป็นเวลานาน ซึ่งเวลานี้พร้อมให้บริการแล้วสำหรับ Android, iOS และ Windows

เช็คความเร็ว

ในการทดสอบด้วย WildLife จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของ GPU โดยตรง ด้วยการทดสอบในรูปแบบของเกม Realtime ยิ่งการแสดงฉากในเกมได้เร็วมากเท่าใด ก็จะได้คะแนนในการทดสอบออกมาเป็น Score ให้คุณเปรียบเทียบความสามารถได้ชัดเจนขึ้น ในตัวเกมที่ทดสอบนั้นจะใช้เทคนิคการเรนเดอร์ขั้นสูง และผลจากเอฟเฟกต์ post-processing ที่อยู่ในอุปกรณ์รุ่นใหม่ ซึ่ง API หลักของ WildLife จะเป็น Valkan API ที่อยู่บน Android และ Windows รวมถึง iOS

เช็คความเร็ว

ส่วนรูปแบบในการทดสอบ GPU นั้น จะใช้เวลาในการเก็บข้อมูลประสิทธิภาพในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งจะคล้ายกับการเล่นเกมแบบวนลูปไปมา ตรงจุดนี้ก็จะคล้ายกับ Benchmark ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีใน 3DMark หลายๆ เวอร์ชั่น ส่วนอีกการทดสอบจะใช้ในการดูความอึดทนของระบบ ด้วยการ Stress test ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ทำงานอย่างหนักหน่วงเป็นเวลานาน เอาไว้จำลองเมื่ออุปกรณ์ต้องอยู่ในโหมดเล่นเกมต่อเนื่อง ผลลัพธ์ในกาาทดสอบ จะแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ของคุณสามารถจัดการกับประสิทธิภาพและความร้อนได้ดีมากน้อยเพียงใด

เช็คความเร็ว

โดยผลทดสอบบนหน้าจอจะประกอบด้วย ความสามารถหรือประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่คุณใช้ในการทดสอบ ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นการเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ยอดนิยมที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสุดท้ายจะเป็นคะแนนในภาพรวมของเครื่องคุณ

อย่างไรก็ดี WildLife จะเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม 3DMark หลัก ซึ่งคุณจะต้องมีตัวติดตั้งพื้นฐาน ก่อนจะดาวน์โหลด Benchmark ใหม่นี้เพิ่มเติม

ที่มา: 3DMark

from:https://notebookspec.com/benchmark-3dmark-wildlife-windows-mobile/542104/

ทดสอบ เช็คความเร็ว โน๊ตบุ๊ค พีซี มือถือ 3DMark WildLife เทสได้ 2 โหมด เพิ่มฟรี!

3DMark เรียกว่าเป็นโปรแกรม เช็คความเร็ว ยอดนิยม ที่จัดเป็น Top 5 ของผู้ใช้คอม ที่มักจะมีไว้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในด้านกราฟิกการ์ด และล่าสุดเปิดตัว WildLife ที่เป็นโปรแกรมทดสอบข้ามแพลตฟอร์ม ให้ผู้ใช้สามารถทดสอบความสามารถ GPU ได้ทั้งพีซี โน๊ตบุ๊ค มือถือ Android และ iOS

เช็คความเร็ว

โปรแกรมทดสอบ เช็คความเร็ว 3DMark WildLife

โปรแกรมทดสอบ WildLife ประกอบด้วย 2 โหมดการทดสอบ ประกอบด้วยการทดสอบแบบรวดเร็ว Quick Benchmark และ Stress test ที่เป็นการทดสอบความอึดทนของอุปกรณ์ เมื่อต้องอยู่ในภาวะที่โหลดหนักเป็นเวลานาน ซึ่งเวลานี้พร้อมให้บริการแล้วสำหรับ Android, iOS และ Windows

เช็คความเร็ว

ในการทดสอบด้วย WildLife จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของ GPU โดยตรง ด้วยการทดสอบในรูปแบบของเกม Realtime ยิ่งการแสดงฉากในเกมได้เร็วมากเท่าใด ก็จะได้คะแนนในการทดสอบออกมาเป็น Score ให้คุณเปรียบเทียบความสามารถได้ชัดเจนขึ้น ในตัวเกมที่ทดสอบนั้นจะใช้เทคนิคการเรนเดอร์ขั้นสูง และผลจากเอฟเฟกต์ post-processing ที่อยู่ในอุปกรณ์รุ่นใหม่ ซึ่ง API หลักของ WildLife จะเป็น Valkan API ที่อยู่บน Android และ Windows รวมถึง iOS

เช็คความเร็ว

ส่วนรูปแบบในการทดสอบ GPU นั้น จะใช้เวลาในการเก็บข้อมูลประสิทธิภาพในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งจะคล้ายกับการเล่นเกมแบบวนลูปไปมา ตรงจุดนี้ก็จะคล้ายกับ Benchmark ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีใน 3DMark หลายๆ เวอร์ชั่น ส่วนอีกการทดสอบจะใช้ในการดูความอึดทนของระบบ ด้วยการ Stress test ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ทำงานอย่างหนักหน่วงเป็นเวลานาน เอาไว้จำลองเมื่ออุปกรณ์ต้องอยู่ในโหมดเล่นเกมต่อเนื่อง ผลลัพธ์ในกาาทดสอบ จะแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ของคุณสามารถจัดการกับประสิทธิภาพและความร้อนได้ดีมากน้อยเพียงใด

เช็คความเร็ว

โดยผลทดสอบบนหน้าจอจะประกอบด้วย ความสามารถหรือประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่คุณใช้ในการทดสอบ ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นการเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ยอดนิยมที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสุดท้ายจะเป็นคะแนนในภาพรวมของเครื่องคุณ

อย่างไรก็ดี WildLife จะเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม 3DMark หลัก ซึ่งคุณจะต้องมีตัวติดตั้งพื้นฐาน ก่อนจะดาวน์โหลด Benchmark ใหม่นี้เพิ่มเติม

ที่มา: 3DMark

from:https://notebookspec.com/web/benchmark-3dmark-wildlife-windows-mobile/542104/

ทดสอบ เช็คความเร็ว โน๊ตบุ๊ค พีซี มือถือ 3DMark WildLife เทสได้ 2 โหมด เพิ่มฟรี!

3DMark เรียกว่าเป็นโปรแกรม เช็คความเร็ว ยอดนิยม ที่จัดเป็น Top 5 ของผู้ใช้คอม ที่มักจะมีไว้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในด้านกราฟิกการ์ด และล่าสุดเปิดตัว WildLife ที่เป็นโปรแกรมทดสอบข้ามแพลตฟอร์ม ให้ผู้ใช้สามารถทดสอบความสามารถ GPU ได้ทั้งพีซี โน๊ตบุ๊ค มือถือ Android และ iOS

เช็คความเร็ว

โปรแกรมทดสอบ เช็คความเร็ว 3DMark WildLife

โปรแกรมทดสอบ WildLife ประกอบด้วย 2 โหมดการทดสอบ ประกอบด้วยการทดสอบแบบรวดเร็ว Quick Benchmark และ Stress test ที่เป็นการทดสอบความอึดทนของอุปกรณ์ เมื่อต้องอยู่ในภาวะที่โหลดหนักเป็นเวลานาน ซึ่งเวลานี้พร้อมให้บริการแล้วสำหรับ Android, iOS และ Windows

เช็คความเร็ว

ในการทดสอบด้วย WildLife จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของ GPU โดยตรง ด้วยการทดสอบในรูปแบบของเกม Realtime ยิ่งการแสดงฉากในเกมได้เร็วมากเท่าใด ก็จะได้คะแนนในการทดสอบออกมาเป็น Score ให้คุณเปรียบเทียบความสามารถได้ชัดเจนขึ้น ในตัวเกมที่ทดสอบนั้นจะใช้เทคนิคการเรนเดอร์ขั้นสูง และผลจากเอฟเฟกต์ post-processing ที่อยู่ในอุปกรณ์รุ่นใหม่ ซึ่ง API หลักของ WildLife จะเป็น Valkan API ที่อยู่บน Android และ Windows รวมถึง iOS

เช็คความเร็ว

ส่วนรูปแบบในการทดสอบ GPU นั้น จะใช้เวลาในการเก็บข้อมูลประสิทธิภาพในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งจะคล้ายกับการเล่นเกมแบบวนลูปไปมา ตรงจุดนี้ก็จะคล้ายกับ Benchmark ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีใน 3DMark หลายๆ เวอร์ชั่น ส่วนอีกการทดสอบจะใช้ในการดูความอึดทนของระบบ ด้วยการ Stress test ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ทำงานอย่างหนักหน่วงเป็นเวลานาน เอาไว้จำลองเมื่ออุปกรณ์ต้องอยู่ในโหมดเล่นเกมต่อเนื่อง ผลลัพธ์ในกาาทดสอบ จะแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ของคุณสามารถจัดการกับประสิทธิภาพและความร้อนได้ดีมากน้อยเพียงใด

เช็คความเร็ว

โดยผลทดสอบบนหน้าจอจะประกอบด้วย ความสามารถหรือประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่คุณใช้ในการทดสอบ ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นการเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ยอดนิยมที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสุดท้ายจะเป็นคะแนนในภาพรวมของเครื่องคุณ

อย่างไรก็ดี WildLife จะเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม 3DMark หลัก ซึ่งคุณจะต้องมีตัวติดตั้งพื้นฐาน ก่อนจะดาวน์โหลด Benchmark ใหม่นี้เพิ่มเติม

ที่มา: 3DMark

from:https://notebookspec.com/web/542104-benchmark-3dmark-wildlife-windows-mobile

ดาวน์โหลด CINEBENCH R20 ตัวทดสอบเวอร์ชั่นใหม่ คอมใครแรงจัดไป

หลังจากที่ปล่อยให้ผู้ใช้โปรแกรมทดสอบ CINEBENCH R15 ตัวเก่ามานานนับปี มาวันนี้ถึงคราวที่เวอร์ชั่นใหม่ได้ถูกปล่อยออกมาถึงผู้ใช้ในเวอร์ชั่น CINEBENCH R20 ซึ่งมีความโหดหินพอสมควร เมื่อเทียบกับเวอร์ชั่นก่อนหน้า สามารถดาวน์โหลดได้แล้วที่ Microsoft store เวลานี้

 

CINEBENCH R20 โปรแกรมนี้เป็นตัวทดสอบความสามารถของฮาร์ดแวร์บนคอมที่คุณใช้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเรนเดอร์ที่ให้ความแม่นยำ ด้วยเอนจิ้น 3D แบบเดียวกับใน Cinema 4D กับการใช้ประโยชน์จากแกนหลัก (Multi-core) ของซีพียูรุ่นใหม่ๆ มาพร้อมไฟล์ดาวน์โหลดขนาดกระทัดรัดเท่านั้น และมีความต้องการของระบบ ด้วยซีพียู Intel หรือ AMD ในแบบ 64-บิต และแรมอย่างน้อย 4GB บนระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 10 โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ CINEBENCH R20

การดาวน์โหลด CINEBENCH R20 ผ่านทาง Microsoft Store กับไฟล์ขนาดประมาณ 230MB ผู้ที่ต้องการจำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อกับ Microsoft account เพื่อทำการดาวน์โหลดและติดตั้งโปแกรม เพื่อการใช้งานและทดสอบ

ที่มา: CINEBENCH R20

from:https://notebookspec.com/%e0%b8%b4benchmark-cinebench-r20-3d-render/474786/

[CPU] Intel i9 series โผล่ใน Changelog บน AIDA64 คอเกมบนโน้ตบุ๊กยิ้มรอ

เรียกว่าซีพียูยังไม่ทันออกมา แต่กลับมีการระบุข้อมูลของ Intel i9 series ปรากฏอยู่บนโปรแกรม จากชุดเบต้าล่าสุดของ AIDA64 Extreme ที่แม้ว่าจะยังไม่ได้มีการยืนยัน แต่ โปรแกรมสามารถระบุ i7 และ i9-8000H series ออกมา เหตุการณ์นี้คล้ายคลึงกับเมื่อช่วง 3 เดือนก่อน ที่มีข้อมูลซีพียู CoffeeLake H series มาพร้อม 6 core และ 12 Thread หลุดมาในฐานข้อมูลของ Geekbench ก็กลายเป็นสิ่งที่บอกให้รู้ว่า น่าจะมาจริง เพียงแต่ไม่ทราบเวลาที่แน่นอนในการวางตลาดนั่นเอง

ในความเป็นจริงนั้นเป็นไปได้ว่า Changelog จะปรากฏรายการของซีพียู Core i9-8950HK ที่อาจเป็นซีพียูเรือธงสำหรับโน้ตบุ๊กของอินเทลก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังมีลิสต์ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น ซีพียูเดสก์ทอป i3-9300, i5-9400, i5-9400T, i5-9600 และ i5-9600K ที่คิดว่าจะมาแทนที่ i5-8600K ในอีกไม่ช้านี้

แต่อย่างไรก็ดีข้อมูลบางส่วนที่ปรากฏอยู่บนรายการ Changelog นั้น ได้รับการแจ้งมาจากทางทีมอินเทลเป็นผู้กำหนด แต่ไม่ได้หมายความว่าการวางตลาดของซีพียูทั้งหมดจะมาถึงในเร็ววัน หลายคนที่ฝันไว้ว่าอยากใช้ซีพียูอินเทลรุ่นใหม่บนโน้ตบุ๊ก ที่ไม่ใช่ U series ก็ต้องรอกันไปสักระยะ แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับเหล่าเกมเมอร์ ที่อยากกระโดดจาก core i7 7700hq หรือ core i7 6700hq มาเป็นตัวที่แรงกว่า ซึ่งราคาก็น่าจะไม่เบาเช่นกัน

ที่มา : AIDA64 changelog Intel i9 series

from:https://notebookspec.com/aida64-gets-early-support-for-mobile-intel-i9-series/425574/

[SSD] AS SSD Benchmark เวอร์ชั่นใหม่ แก้ไขบั๊ก วัดกันไปแรงหรือไม่

AS SSD Benchmark เป็นโปรแกรมขนาดเล็ก สำหรับใช้เช็คสเปก SSD ที่ใช้ ว่ามีความแรงมากน้อยเพียงใด ด้วยตัววัดความสามารถ สำหรับคนที่ชอบทดสอบหรืออยากวัดความแรงในภาพรวมของระบบที่ใช้ เพื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงจากของเดิมว่ามีความต่างมากน้อยเพียงใด แถมยังเป็นเครื่องมือฟรี ที่คุณดาวน์โหลดมาใช้ได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย สนใจ ดาวน์โหลด

AS SSD bench

โดยที่ AS SSD Benchmark v1.9.5986.35387 ให้คุณสามารถเช็คประสิทธิภาพของไดรฟ์ SSD ด้วยการทดสอบ Specific test ทั้งการทดสอบ ความถี่และการอ่าน/ เขียนข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งมีการแก้ไขตาม Patch มาดังนี้ เวอร์ชั่นล่าสุดนี้แก้บั๊กความผิดปกติในการทดสอบร่วมกับไฟล์ขนาด 1GB, เลือกการทดสอบตามขนาดไฟล์ที่เหมาะสม, แก้ไขขนาด NTFS-Compression รวมถึงปรับปรุงผลที่ได้จากค่าต่ำสุดและสูงสุด

Kingston SSDNow UV400

นอกจากนี้ยังทดสอบด้วยการประมวลผลตั้งแต่ 1 เธรดหรือ 64 เธรด และกำหนดเวลาในการทดสอบเวลาในการเข้าถึงข้อมูลบน SSD ได้อีกด้วย พร้อมทั้ง 2 การทดสอบพิเศษ ตามรูปแบบการใช้งานของไดรฟ์ ไม่ว่าจะเป็น การก็อปปี้ไฟล์ขนาดใหญ่, ไฟล์ขนาดเล็กจำนวนมากและผสมไฟล์ขนาดต่างกัน โดยใช้ฟังก์ชั่น Cache copy จากบนระบบปฏิบัติการที่ใช้ รวมไปถึงการอ่านและเขียนข้อมูลบนไฟล์ที่ถูกบีบอัดเอาไว้ รองรับการใช้งานบน: Windows 10, Windows 8, Windows Vista, Windows 7 และ Windows XP

ใครที่ชอบทดสอบหรือลองความแรงของ SSD อยู่บ่อยๆ ก็ลองเอาใช้กันได้ เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากทีเดียว

ที่มา : guru3d

from:http://notebookspec.com/as-ssd-benchmark/362426/

[Benchmark] 3DMark เพิ่มฟีเจอร์ Stress Test ให้ทดสอบเสถียรภาพหลังโอเวอร์คล็อก

เมื่อมีการโอเวอร์คล็อกบนคอมพิวเตอร์ สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การทดสอบให้แน่ใจว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะมีการโหลดในการทำงานที่หนักหน่วง ไม่มีอาการหยุดชะงัก จอฟ้า หรือรีสตาร์ท จนไม่สามารถทำงานต่อได้ สิ่งที่จะช่วยเช็คว่าระบบจะมีเสถียรภาพในการทำงานที่ดีหรือไม่ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของโปรแกรมและการทดสอบ Stress test ซึ่งเป็นฟีเจอร์ใหม่และมีอยู่ในชุดทดสอบ 3DMark
stress_tests_3dmark-4

ด้วยการทดสอบที่มีให้เลือกถึง 4 ระดับสำหรับการทดสอบ Stress test บนพื้นฐานการทดสอบ Sky Diver, Fire Strike, Fire Strike Extreme และ Fire Strike Ultra แต่ละเลเวลนี้ก็จะทำงานโดยการทดสอบถึง 20 ครั้ง โดยไม่หยุดพักหรือโหลดหน้าจอ เป็นเวลาประมาณ 10 นาที ซึ่งความแตกต่างในการทดสอบของแต่ละเลเวลนี้ เริ่มตั้งแต่การทดสอบจากระดับ mid-range และโน้ตบุ๊กเล่นเกม จนถึงการทำงานบนหน้าจอ 4K ด้วยคะแนนที่ได้จะมีเฟรมเรตตั้งแต่มากที่สุดและน้อยที่สุดที่ถูกบันทึกไว้ระหว่างการทดสอบ และจะบอกถึงประสิทธิภาพที่ได้จากระบบของคุณภายใต้การทดสอบว่าเป็นอย่างไร สุดท้ายก็จะออกมาเป็นผลทดสอบ ซึ่งถ้าเฟรมเรตของคุณตกลงระหว่างการทดสอบ ก็อาจเป็นไปได้ว่า GPU ของคุณอาจมีปัญหาเรื่องความร้อนสูงเกินไป ซึ่งอาจจะต้องหาทางปรับปรุงเรื่องระบบทำความเย็น

stress_tests_3dmark-3

ในส่วนของการทดสอบ 3DMark Stress test จะมีเฉพาะในเวอร์ชั่น Advanced และ Professional ท่านั้น ในชุดของการทดสอบ โดยในส่วนของ Advanced Edition จะรันทดสอบได้ที่ 20 ลูป ส่วนถ้าเป็น Professional Edition จะสามารถรันได้ถึง 5000 ลูปเลยทีเดียว พูดง่ายๆ ก็คือ มีเฉพาะในเวอร์ชั่นเสียเงินเท่านั้นครับ

ที่มา : overclockersclub

from:http://notebookspec.com/3dmark-stress-test-for-overclock/351823/