คลังเก็บป้ายกำกับ: Benchmark

Chrome, WebKit, Firefox ประกาศร่วมกันพัฒนาเบนช์มาร์ค Speedometer เวอร์ชัน 3

Chrome, Safari/WebKit, Firefox ประกาศร่วมกันพัฒนาเบนช์มาร์ควัดประสิทธิภาพของเบราว์เซอร์ Speedometer เวอร์ชัน 3 เพื่อเบนช์มาร์คให้สะท้อนการใช้งานของผู้ใช้จริงมากขึ้น

Speedometer เป็นเบนช์มาร์คที่เริ่มพัฒนาโดยทีม WebKit แต่ภายหลังก็ได้รับความนิยมใช้ทดสอบกับเบราว์เซอร์ตัวอื่นด้วย เวอร์ชันล่าสุดในปัจจุบันคือ 2.1 รูปแบบการทำงานคือสร้างเว็บแอพ TodoMVC ที่มีการเรียกใช้ DOM API ของเบราว์เซอร์ผ่าน ECMAScript 5/6 รวมถึงเฟรมเวิร์ค JavaScript ยอดนิยมหลายตัว เช่น Vue.js, jQuery, React, Ember เพื่อจำลองสถานการณ์เสมือนเป็นการใช้งานของผู้ใช้ที่พบในโลกจริงๆ

ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า Speedometer 3.0 จะมีแนวทางอย่างไร แต่ผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ทั้ง 3 ค่ายบอกว่าจะแชร์ข้อมูลระหว่างกันให้มากขึ้น และมีโมเดลการดูแลโครงการร่วมกัน

No Description

ที่มา – Speedometer

from:https://www.blognone.com/node/131933

Advertisement

ผลเบนช์มาร์ค Radeon 7900 XTX เบื้องต้น คะแนน Vulkan สูงกว่า GeForce 4080 ถึง 21%

จีพียู Radeon 7900 ที่เป็นสถาปัตยกรรม RDNA 3 เปิดตัวแล้วแต่จะเริ่มวางขายในวันที่ 13 ธันวาคม ตอนนี้ก็เริ่มมีเบนช์มาร์คหลุดออกมาบ้างแล้ว ให้เราพอเห็นภาพว่าเทียบกับคู่แข่งฝั่ง NVIDIA แล้วเป็นอย่างไร

เบนช์มาร์ค Geekbench ที่ออกมาเป็นของ Radeon RX 7900 XTX รุ่นท็อปสุด ที่ AMD บอกว่าออกมาสู้กับ GeForce RTX 4080

  • OpenCL 228,647 คะแนน ยังตามหลัง RTX 4080 ประมาณ 10-17% – Link
  • Vulkan 179,579 คะแนน สูงกว่า RTX 4080 ถึง 21% – Link

ในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้าคงมีรีวิวอย่างละเอียดจากสำนักต่างๆ ทยอยกันออกมาให้อ่านกัน

ที่มา – Neowin

from:https://www.blognone.com/node/131750

หลุดคะแนน Core i9-13900K ทดสอบแตกไฟล์ 7-Zip ได้เร็วกว่า Core i9-12900K ถึง 60%

ปกติเวลาดูผลทดสอบเทียบซีพียูเรามักจะคุ้นเคยกับการแข่งกันที่คะแนน Single-Core, Multi-Core มากกว่า แต่คนก็มักจะแอนตี้ว่ามันไม่ค่อยสะท้อนการใช้งานจริงเท่าไหร่ เลยเกิด benchmark อีกแบบขึ้นมานั่นก็คือการทดสอบ compression / decompression ratings หรือบีบอัดไฟล์และแตกไฟล์นั่นเอง แน่นอนว่าผลออกมาก็จะใกล้เคียงกับสิ่งที่เราใช้ซีพียูทำงานจริง ๆ มากขึ้น

โปรแกรมที่มี benchmark นี้ในตัวเลยก็คือ 7-Zip ซึ่งล่าสุดก็มีผลทดสอบของซีพียูตัวใหม่อย่าง Core i9-13900K ออกมาโชว์เรียบร้อย โดยจาก leaker ชื่อว่า @OneRaichu ได้นำมาทดสอบเทียบกับ Core i9-12900K ให้ดู พบว่า i9-13900K บีบอัดไฟล์ได้อัตราเร็วอยู่ที่ 172 GIPS ซึ่งสูงกว่า i9-12900K ที่ได้ 144 GIPS คิดเป็นประมาณ 20%


 

ส่วนฝั่งการแตกไฟล์ยิ่งเร็วกว่าไปใหญ่ ฝั่ง i9-13900K ได้ไปถึง 231 GIPS ขณะที่ i9-12900K อยู่ที่ 144 GIPS (พอ ๆ กับแบบบีบอัด) คิดเป็นตัว Gen 13 แตกไฟล์ได้เร็วกว่าถึง 60.1% เลยทีเดียว

นอกจากนี้ ค่า clock ซีพียูที่โปรแกรมโชว์ออกมาก็เพิ่มขึ้นด้วย โดย i9-13900K ทำได้สูงสุด 5,716 MHz สำหรับ thread เดี่ยว และ 4,611 MHz สำหรับ 16 thread ส่วน i9-12900K ทำให้ 5,021 MHz และ 4,060 MHz ตามลำดับ ซึ่งหากข้อมูลเป็นจริงก็แสดงให้เห็นว่า i9 Gen 13 รอบนี้ไม่ได้มีดีแค่เพิ่ม core / thread อย่างเดียว แต่ประสิทธิภาพต่อคอร์ก็สูงขึ้นมากด้วยเช่นกัน

 

 

ที่มา : VideoCardz

from:https://droidsans.com/core-i9-13900k-is-faster-than-i9-12900k-in-7-zip-benchmark/

ผลทดสอบซีพียู AMD Ryzen 7 6800U คะแนน benchmark นำ Apple M2 ถึง 44% ขณะกินไฟเท่า ๆ กัน

เว็บไซต์ NotebookCheck รวบรวมคะแนน benchmark ซีพียูโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ประจำปี 2022 รวม 4 รุ่น ประกอบด้วย Ryzen 7 6800U, Core i7-1280P, Core i7-1260P และ Apple M2 พร้อมนำรุ่นเก่าอีก 1 รุ่นคือ Ryzen 7 5800U มาร่วมเปรียบเทียบด้วย ทั้งหมดได้ทดสอบผ่านซอฟต์แวร์ PassMark ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในฝั่งพีซี คะแนนออกมาเป็นดังนี้

คะแนนทดสอบซีพียูโน้ตบุ๊คปี 2022 ผ่านโปรแกรม PassMark

  • AMD Ryzen 7 6800U (25W) ได้ 21,501 คะแนน
  • Intel Core i7-1280P (28W) ได้ 19,142 คะแนน
  • AMD Ryzen 7 5800U (15W) ได้ 18,907 คะแนน
  • Intel Core i7-1260P (25W) ได้ 17,030 คะแนน
  • Apple M2 (18-20W) ได้ 14,933 คะแนน

จากคะแนนพบว่า Ryzen 7 6800U ขึ้นนำ Apple M2 ไปถึง 43.98% แถมยังสูงกว่าคู่แข่งหลักอย่าง Core i7-1280P และ 1260P ด้วย คิดเป็น 26.25% และ 12.32% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ารอบนี้ AMD ค่อนข้างเอาจริงกับซีพียูรุ่นประหยัดพลังงานพอสมควร สามารถเฉือนเอาชนะทั้งซีพียู Hybrid ของ Intel และชิปยอดนิยมฝั่ง Mac ไปได้ ขณะที่ทุกตัวกินไฟค่อนข้างไล่เลี่ยกัน

อย่างไรก็ตาม ไม่กี่สัปดาห์ก่อนมีผลทดสอบด้านกราฟิกของชิป M2 ปล่อยออกมา ระบุว่าสามารถเล่นเกม Shadow of the Tomb Raider ได้เฟรมเรตสูงกว่า Ryzen 7 6800U ประมาณ 2-3 FPS บนทุกการตั้งค่า แถมเกมดังกล่าวยังไม่ใช่ native ARM สำหรับ Mac ด้วย ซึ่งค่อนข้างดูขัดกับจุดเด่นของ Ryzen 6000 ปีนี้ที่ AMD ค่อนข้างชูโรงเรื่องชิปกราฟิก RDNA 2 แถม Apple ก็ไม่ได้โฆษณาคะแนนฝั่งจีพียูตัวเองเยอะเท่าไหร่ แต่เอาเป็นว่าถือว่าแลกกันได้หมัดต่อหมัดค่อนข้างสมน้ำสมเนื้อครับ

 

 

ที่มา : NotebookCheck, (1)

from:https://droidsans.com/amd-ryzen-7-6800u-is-faster-than-apple-m2/

ผลทดสอบ Windows 11 เทียบกับ Windows 10 บน PugetBench พบว่าตอนนี้แรงเท่ากันแล้ว (แต่ยังไม่ครบทุกด้าน)

ถ้ายังจำกันได้ Windows 11 เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคมปี 2021 ซึ่งตอนนี้ก็ผ่านมานานถึง 8 เดือน หลายคนน่าจะอยากรู้ว่าดีขึ้นกว่าเดิมขนาดไหน ล่าสุดทาง Puget Systems ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายพีซีแบบ Custom และเป็นเจ้าของ PugetBench ด้วย ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของ Windows 11 เวอร์ชันปัจจุบันเทียบกับ Windows 10 พบว่าตอนนี้คะแนนออกมาเท่ากันเกือบจะทุกด้านแล้ว

ก่อนหน้านี้ Puget Systems เคยทดสอบคะแนนของ Windows 11 ตอนเพิ่งออกมาใหม่ ๆ เก็บไว้ ตอนนั้นคะแนนยังด้อยกว่า Windows 10 ในหลายด้าน เนื่องจากตัวโปรแกรมและแอปต่าง ๆ ยังไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับ Windows 11 ได้สมบูรณ์

ปัจจุบันผ่านไป 8 เดือน Puget ได้ทดสอบ Windows 11 เวอร์ชันล่าสุดที่ผ่านการอัปเดตแก้บัคต่าง ๆ แล้วร่วมกับฮาร์ดแวร์ชุดเดิมอีกครั้ง ซึ่งประกอบไปด้วยซีพียู 4 รุ่น ได้แก่ Core i9-12900K, Ryzen 9 5950X, Threadripper Pro 5975W และ Threadripper Pro 5995W และแบ่งการทดสอบ PugetBench ออกเป็น 5 หมวด ได้แก่

  • การตัดต่อวิดีโอด้วย Premiere Pro, After Effects และ DaVinci Resolve Studio



  • การแต่งภาพด้วย Photoshop และ Lightroom Classic


  • การเรนเดอร์ 3D ด้วยซีพียูผ่าน C4D, V-Ray และ Blender




  • การเรนเดอร์ 3D ด้วยจีพียูผ่าน OctaneBench, V-Ray และ Blender




  • การพัฒนาเกมด้วย Unreal Engine 4



 

ผลออกพบมาว่า Windows 11 มีคะแนนหลายด้านโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับ Windows 10 แล้ว แม้จะมีบางการทดสอบได้คะแนนน้อยกว่าอยู่ เช่น การตัดต่อวิดีโอ ฝั่ง Windows 10 ยังสูงกว่าเล็กน้อยเกือบตัวโปรแกรมทุกซีพียู (ยกเว้น After Effect บน Core i9) รวมถึงการเรนเดอร์ด้วยจีพียูและการพัฒนาเกม Windows 10 ก็ยังดีกว่ามาก โดยเฉพาะ Unreal Engine บน Core i9 ที่ยังทิ้งห่าง 11 ไปเกือบ 3 เท่า แต่การใช้ Photoshop และ Lightroom ตอนนี้ถือว่าสูสีกันทั้งคู่แล้ว

ทาง Puget Systems สรุปว่าตอนนี้ Windows 11 ดีเทียบเท่า Windows 10 แล้วในเรื่องการใช้งานทั่วไป การแต่งภาพ และการเรนเดอร์ผ่านซีพียูและจีพียูต่าง ๆ ต่างจากก่อนหน้านี้ที่ยังประสิทธิภาพด้อยกว่าแบบทิ้งห่างออกไปเกือบหมด

อย่างไรก็ตาม งานเฉพาะด้านอย่างเช่น การพัฒนาเกมบน Unreal Engine ยังถือว่าตามหลังค่อนข้างเยอะอยู่ แต่ก็ยังเป็นแค่กับซีพียูบางโมเดลแล้วเท่านั้น เพราะต้องยอมรับว่าไม่ได้มีแค่ปัจจัยจากตัว Windows 11 อย่างเดียว แต่ตัวไดร์เวอร์ของซีพียูเองก็ต้องทำออกมารองรับไปพร้อม ๆ กันด้วย ดังนั้นก็ต้องรอให้มีการอัปเดตเพิ่มเติมด้านนี้โดยเฉพาะกันต่ออีกหน่อยครับ

 

 

ที่มา : Puget Systems

from:https://droidsans.com/windows-11-is-now-as-fast-as-windows-10-on-pugetbench/

เวลาผ่านมา 8 เดือน ผลทดสอบประสิทธิภาพ Windows 11 ทัดเทียมกับ Windows 10 แล้ว

Puget Systems บริษัทผู้ผลิตพีซีแบบคัสตอมที่เน้นการรีดประสิทธิภาพ ทดลองรันเบนช์มาร์คเปรียบเทียบระหว่าง Windows 10 และ Windows 11 หลังออกตัวจริงมาแล้ว 8 เดือน

Puget เคยรันเบนช์มาร์คชุดนี้มาแล้วตอน Windows 11 ออกใหม่ๆ และพบว่ายังด้อยกว่า Windows 10 ในหลายด้าน ซึ่งเหตุผลหนึ่งมาจากตัวแอพพลิเคชันเองยังไม่ซัพพอร์ต Windows 11 อย่างเป็นทางการ

รอบนี้เวลาผ่านมา 8 เดือน ตัวระบบปฏิบัติการเองออกแพตช์แก้บั๊กมาแล้วหลายรอบ และแอพพลิเคชันก็ทยอยซัพพอร์ตกันแล้ว การทดสอบของ Puget ใช้คอมพิวเตอร์ 3 ชุด (Ryzen 9, Threadripper Pro 5995W/5975W, Core i9-12900K) รันการทดสอบ 5 หมวดคือ การตัดต่อวิดีโอ, การแต่งภาพ, การเรนเดอร์ 3D ด้วยซีพียู และด้วยจีพียู, การสร้างเกมด้วย Unreal Engine

ผลออกมาว่า Windows 11 มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ Windows 10 แล้ว แม้ในบางการทดสอบยังได้คะแนนน้อยกว่าเล็กน้อย (เช่น การตัดต่อวิดีโอด้วย Premier Pro หรือ After Effect) บางการทดสอบดีกว่าเล็กน้อย (เช่น Photoshop) และมีบางการทดสอบที่ทำได้ดีกว่ามาก (เช่น เบนช์มาร์ค V-Ray ด้วยจีพียู และการรัน Unreal Engine บน i9-12000K)

ข้อสรุปของ Puget คือในการใช้งานทั่วๆ ไป Windows 10 กับ 11 แทบไม่ต่างกันแล้วเรื่องประสิทธิภาพ แต่ในบางกรณีอาจต้องมาทดสอบกันจริงๆ จังๆ ว่าระบบปฏิบัติการตัวไหนทำได้ดีกว่า ซึ่งแตกต่างกันไป

No Description

ที่มา – Puget Systems

from:https://www.blognone.com/node/129302

Apple M2 เอาชนะ Ryzen 7 6800U บน Shadow of the Tomb Raider ได้เรียบร้อย

Apple M2 ชิปเซ็ท ARM รุ่นใหม่ล่าสุดที่ทาง Apple ออกแบบเองนั้นดูเหมือนจะมาแรงแบบฉุดไม่อยู่จริงๆ ล่าสุดพบผลการทดสอบเล่นเกม Shadow of the Tomb Raider ได้ FPS ดีกว่า Ryzen 7 6800U

M2 4
Apple M2 ชิปเซ็ทรุ่นใหม่ของทาง Apple ทีแซงทุกความคาดหมาย

Apple M2 นั้นเปิดตัวออกมาได้สักพักแล้ว ซึ่งตามที่ทาง Apple และผู้ที่ได้รับโอกาสทดสอบช่วงแรกๆ นั้นต่างก็พูดออกมาเป็นคะเดียวกันว่าเจ้า Apple M2 นั้นแรงเอามากๆ หากเทียบกับการที่มาพร้อมกับแกนการประมวลผลทั้งหมด 8 แกนพร้อมด้วยแกนประมวลผลทางด้านกราฟิกอีกจำนวน 10 แกน(แน่นอนว่าทาง Apple ก็เป็นผู้ที่ออกแบบสถาปัตยกรรมแกนการประมวลผลทางด้านกราฟิกนี้เองด้วย) จากผลการทดสอบหลายๆ ที่ที่มีการเปิดเผยออกมานั้นพบว่า Apple M2 มีประสิทธิภาพสูงกว่า Apple M1 อยู่ราวๆ 18% (ได้อานิสงส์มาจากการเปลี่ยนไปใช้หน่วยความจำแบบ LPDDR5 ร่วมด้วย)

อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นผลการทดสอบส่วนใหญ่ที่หลุดออกมาให้เราๆ ท่านๆ ได้เห็นกันนั้นมักจะเป็นผลการทดสอบประสิทธิภาพทางด้านการทำงานของส่วนแกนการประมวลผลหลักมากกว่า สำหรับ iGPU แล้วนั้นค่อนข้างที่จะหาผลการทดสอบหลุดออกมาค่อนข้างยาก(นอกเหนือไปจากผลการทดสอบด้วย 3DMark แล้วก็ไม่เคยมีหลุดออกมาอีกเลย) 

Advertisementavw

ถึงแม้จะมีผลการทดสอบหลุดออกมาไม่มากเท่าไรนักแต่จากที่ทาง Apple ได้ทำการโฆษณาเอาไว้ว่า Apple M2 10-Core GPU นั้นมีประสิทธิภาพดีกว่าแกนการประมวลผลทางด้านกราฟิกบน Apple M1 ถึง 50% เลยทีเดียว(ซึ่งเป็นไปตามที่ผลการทดสอบบน 3DMark เคยหลุดออกมา) ล่าสุดงานนี้ทาง Hardware Unboxed ก็ได้จัดการนำเอา MacBook Pro รุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับ Apple M2 มาทำการรันเกมโหด(ในอดีต) อย่าง Shadow of the Tomb Raider เทียบกับ Asus ZenBook S 13 OLED ซึ่งมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล APU รุ่นใหม่ของทาง AMD อย่าง Ryzen 7 6800U ที่ภายในใช้ชิปกราฟิก Radeon 680M(สถาปัตยกรรม RDNA2) ผลจะเป็นอย่างไรนั้นไปติดตามกันเลย

Untitled8074

จากผลการทดสอบที่ความละเอียดระดับ FullHD นั้นพบว่าไม่ว่าจะปรับคุณภาพกราฟิกแบบใด Apple M2 ก็สามารถที่จะขับเฟรมเรทได้มากกว่า AMD Ryzen 7 6800U ทั้งหมด ซึ่งเฟรมเรทเฉลี่ยนั้นจะสูงอยู่กว่า 8 – 10% เลยทีเดียว(ในการทดสอบดังกล่าวนี้นั้นเปิดการใช้งาน SMAAT2X ร่วมด้วย) งานนี้นั้นเรียกได้ว่าเหนือความคาดหมายเป็นอย่างมากจริงๆ 

สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ก่อนเลยก็คือ AMD Ryzen 7 6800U นั้นมีประสิทธิภาพเทียบกับการคายความร้อนได้ถึง 25 W TDP ส่วน Apple M2 นั้นมีประสิทธิภาพเทียบกับการคายความร้อนได้ถึง 18 W TDP เท่านั้น และต้องไม่ลืมด้วยว่า macOS นั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาไว้ใช้งานสำหรับการเล่นเกม(ซึ่งก็เลยทำให้ผู้พัฒนาเกมส่วนใหญ่ไม่ค่อนสนใจที่จะพัฒนาเกมสำหรับแพลตฟอร์ม macOS ออกมาให้ดีเท่าที่ควร)

งานนี้พูดได้คำเดียวว่าฝ่ายออกแบบหน่วยประมวลผลของทาง Apple นั้นสามารถทำงานออกมาได้อย่างดีจริงๆ ที่เหลือก็ต้องคอยดูกันต่อไปว่าทาง Apple จะมีวิธีการใดๆ ที่จะเอามาดึงให้กับบรรดานักพัฒนาทั้งแอปพลิเคชันสำหรับการใช้งานทั่วไปและเกมมาพัฒนาให้กับ macOS แบบจริงๆ จังๆ สักที

ที่มา : notebookcheck

from:https://notebookspec.com/web/657206-apple-m2-manages-to-beat-amd-ryzen-7-6800u-in-shadow-of-the-tomb-raider

หลุดเบนช์มาร์ค Snapdragon 8cx Gen 3 แรงขึ้นจาก Gen 2 แต่ยังตามหลัง M1 ไกล

ตัวเลือกในวงการคอมพิวเตอร์คอนซูเมอร์ที่ใช้ชิป Arm ตอนนี้คงหนีไม่พ้นคู่ของ Apple M1/M2 กับ Qualcomm Snapdragon 8cx ที่เปรียบเสมือนตัวเลือกเดียวที่มีของฝั่งพีซี

Qualcomm เพิ่งเปิดตัว Snapdragon 8cx Gen 3 เมื่อปลายปี 2021 แม้มีผู้ผลิตพีซีตอบรับพอสมควร แต่ผ่านมาครึ่งปีเพิ่งมีสินค้าวางขายถึงมือผู้บริโภคจริงๆ คือ Lenovo ThinkPad X13s ทำให้เราได้เห็นประสิทธิภาพของชิป 8cx Gen 3 ผ่านเบนช์มาร์ค Geekbench

  • 64 Bit Single-Core ได้ 1,111 คะแนน (Gen 2 ได้ 797 คะแนน)
  • 64 Bit Multi-Core ได้ 5,764 คะแนน (Gen 2 ได้ 3115.5 คะแนน)

คะแนนของ 8cx Gen 3 ถือว่าพัฒนาขึ้นจาก Gen 2 ไม่น้อย แต่ถ้าเทียบกับฝั่งแอปเปิลคือ Apple M1 ตัวเดิม ที่ทำได้
1730/7578 คะแนน ก็ยังถือว่าตามหลังอยู่ไกลพอสมควร (แม้ไม่ไกลเท่าเดิม) นี่ยังไม่ต้องพูดถึง Apple M2 ที่ยังไม่ออกขายจริง แต่ก็มีเบนช์มาร์คหลุดออกมาว่าแรงกว่า M1 ราว 20% คะแนนอยู่ที่ 1919/8928 คะแนน

Qualcomm เองก็ทราบเรื่องนี้ดี และบอกให้รอชิปตัวใหม่ Nuvia ที่เป็นอดีตทีมงานออกแบบชิป AX ของแอปเปิลเดิม แต่ก็ต้องรอกันนานถึงปลายปี 2023 เลยทีเดียวกว่าจะเห็นสินค้า

ที่มา – Notebookcheck

from:https://www.blognone.com/node/129050

ผลเบนช์มาร์ค Intel Arc ชุดแรกออกมาดี รุ่นรองท็อป A730M ได้คะแนนเหนือกว่า RTX 3070

อินเทลเปิดตัวจีพียู Arc อย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม โดยเริ่มจากจีพียูฝั่งโน้ตบุ๊กก่อน แต่สินค้ากลับต้องเลื่อนวางขายเพราะปัญหาซัพพลายเชนและซอฟต์แวร์ ทำให้ตอนนี้ยังไม่มีโน้ตบุ๊กที่ใช้ Arc วางขายจริงๆ ในตลาด

แต่ล่าสุดเริ่มมีโน้ตบุ๊กที่ใช้ Arc วางขายแล้วในประเทศจีนคือ Machenike รุ่น Dawn ขนาดหน้าจอ 16″ ทำให้เราได้เห็นเบนช์มาร์คของ Arc ที่รันโดยผู้ใช้จริงๆ (ไม่ได้มาจากฝั่งอินเทล)

เบนช์มาร์คที่มีผลออกมาเป็น 3DMark ชุดทดสอบ Timespy และ Fire Strike โดยเป็นของ Intel Arc A730M รุ่นรองท็อปของโน้ตบุ๊ก (รุ่นท็อปสุดคือ Arc A770M) ได้ผลลัพธ์ที่ราว 10,000 และ 23,000 คะแนนตามลำดับ

หากนำคะแนนนี้ไปเทียบกับจีพียูของ NVIDIA และ AMD ที่ระดับใกล้ๆ กัน พบว่าคะแนนของ Arc A730M เหนือกว่า GeForce RTX 3070 รุ่นโน้ตบุ๊ก และ Radeon RX 6700M อยู่เล็กน้อยในชุดทดสอบ Timespy แต่ได้คะแนนน้อยกว่าเล็กน้อยในชุด Fire Strike ซึ่งต้องถือว่าอินเทลทำผลงานออกมาได้ดีทีเดียวสำหรับจีพียู discrete รุ่นแรกของบริษัท

No Description

ที่มา – Wccftech

from:https://www.blognone.com/node/128871

Chrome บนแมครันเบนช์มาร์ค Speedometer เร็วขึ้นอีก 20% จากเดิมก็ชนะ Safari อยู่แล้ว

กูเกิลโพสต์ข้อความในทวิตเตอร์สั้นๆ ว่า Chrome ทำงานบนแมคได้เร็วขึ้น 20% (ไม่ได้บอกว่ากินแรมน้อยลง) โดยวัดผลจากเบนช์มาร์ค Speedometer ของแอปเปิล และสามารถทำคะแนนได้มากกว่า 360 คะแนน

กูเกิลเทียบผลการรันเบนช์มาร์ครอบล่าสุด กับที่เคยประกาศไว้เมื่อเดือนมีนาคม ว่า Chrome สามารถเอาชนะ Safari กลายเป็นเบราว์เซอร์ที่เร็วที่สุดบนแมคได้แล้ว ซึ่งผ่านมา 3 เดือนสามารถรีดให้เร็วกว่าเดิมได้อีก 20%

ที่มา – Android Central

from:https://www.blognone.com/node/128844