คลังเก็บป้ายกำกับ: แก้ปัญหา_บลูสกรีน

Windows Tips – Blue Screen of Death รู้ทันความหมายต่างๆของ “จอฟ้ามรณะ” พร้อมวิธีแก้ไข

Blue Screen of Death หรือ “จอฟ้ามรณะ” เชื่อว่าเกือบทุกคนต้องเคยพบเจอแน่นอนกับการเจอหน้าจอสีฟ้านี้ขึ้นมา นั่นหมายความว่าเป็นลางร้ายที่คอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆ อาจจะเริ่มเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว แต่อย่าเพิ่งตกใจไป บางทีจอฟ้าอาจไม่ได้หมายความว่าคอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆ เสียหาย ทางทีมงานรวมความหมายของรหัสจอฟ้าและวิธีแก้ไขไว้ให้เพื่อนๆแล้ว
โดยสามารถดูความหมายได้ตามนี้เลย

STOP CODE คือ รหัสที่แสดงถึงความผิดพลาดของระบบ
1.stop code: 0X000000BE Attempted Write To Readonly Memory
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: เกิดจากลง driver หรือ โปรแกรม หรือ service ที่ผิดพลาด เช่น ไฟล์บางไฟล์เสีย ไดร์เวอร์คนละรุ่นกัน วิธีแก้ไขให้ ถอนการติดตั้งโปรแกรมตัวเก่าก่อนที่จะเกิดปัญหานี้ ถ้าเป็นไดร์เวอร์ก็ให้ทำการ roll back ไดร์เวอร์ตัวเก่ามาใช้ หรือ หาไดร์เวอร์ที่ล่าสุดมาลง (กรณีที่มีใหม่กว่า) ถ้าเป็นพวก service ต่างๆที่เราเปิดก่อนเกิดปัญหาก็ให้ทำการปิด หรือ disable

2.stop code: 0X000000C2 Bad Pool Caller
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: ตัวนี้จะเหมือนกับข้อแรก แต่เน้นที่พวก hardware คือเกิดจากอัพเกรดเครื่องพวก Hardware ต่าง เช่น ram ,harddisk การ์ดจอ ต่างๆ ไม่ compatible กัน ทางแก้ไขก็ให้เอาอุปกรณ์ที่อัพเกรดออก ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ให้ลงไดร์เวอร์ หรือ อัฟเดท firmware ของอุปกรณ์นั้นใหม่

3.stop code: 0X0000002E Data Bus Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: เกิดจากการส่งข้อมูลที่เรียกว่า BUS ของฮาร์แวร์เสียหาย ได้แก่ ระบบแรม ,Cache L2 ของซีพียู , Memory, ฮาร์ดดิสก์ทำงานหนักถึงขั้น Error และเมนบอร์ดเสีย

4.stop code: 0X000000D1 Driver IRQL Not Less Or Equal
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการไดร์เวอร์กับ IRQ(Interrupt Request ) ไม่ตรงกัน การแก้ไขก็เหมือนกับข้อแรก

5.stop code: 0X0000009F Driver Power State Failure
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: เกิดจาก ระบบการจัดการด้านพลังงานกับไดรเวอร์ หรือ service ขัดแย้งกัน เมื่อคุณให้คอมทำงานแบบ “Hibernate” ทางแก้ไข ถ้าวินโดวส์แจ้ง error ไดร์เวอร์หรือ service ตัวไหนก็ให้ uninstall ตัวนั้น

6.stop code: 0X000000CE Driver Unloaded Without Cancelling Pending Operations
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการไดร์เวอร์ปิดตัวเองทั้งๆ ทีวินโดวส์ยังไม่ได้สั่ง ให้ทำการอัพเดทไดร์เวอร์ตัวที่มีปัญหาหรือลองถอนการติดตั้งแล้วติดตั้งใหม่อีกครั้ง

7.stop code: 0X000000F2 Hardware Interrupt Storm
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการที่เกิดจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น USB หรือ SCSI controller จัดตำแหน่งกับ IRQ ผิดพลาด สาเหตุจากไดร์เวอร์หรือ Firmware การแก้ไขเหมือนกับข้อ 1

8.stop code: 0X0000007B Inaccessible Boot Device
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้จะมักเจอตอนบูตวินโดวส์ จะมีข้อความบอกว่าไม่สามารถอ่านข้อมูลของไฟล์ระบบหรือ Boot partitions ได้ ให้ตรวจฮาร์ดดิสก์ว่าปกติหรือไม่ สายแพหรือสายไฟที่เข้าฮาร์ดดิสก์หลุดหรือไม่ ถ้าปกติดีก็ให้ตรวจไฟล์ Boot.ini อาจจะเสีย หรือไม่ก็มีการทำงานแบบ Multi OS ให้ตรวจดูว่าที่ไฟล์นี้อาจเขียน Config ของ OS ขัดแย้งกัน

9.stop code: 0X0000007A Kernel Data Inpage Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดมีปัญหากับระบบ virtual memory คือวินโดวส์ไม่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลที่ swapfile ได้ สาเหตุอาจเกิดจากฮาร์ดดิสก์เกิด bad sector, เครื่องติดไวรัส, ระบบ SCSI ผิดพลาด, RAM เสีย หรือ เมนบอร์ดเสีย

10.stop code: 0X00000077 Kernel Stack Inpage Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการและสาเหตุเหมือนกับข้อ 9 สามารถแก้ตามข้อ 9 ได้เลย

11.stop code: 0X0000001E Kmode Exception Not Handled
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดการทำงานที่ผิดพลาดของไดร์เวอร์ หรือ service กับ หน่วยความจำ และ IRQ ถ้ามีรายชื่อของไฟล์หรือ service แสดงออกมากับ error นี้ให้ทำการ uninstall โปรแกรมหรือทำการ Roll back ไดร์เวอร์ตัวนั้น ถ้ามีการแจ้งว่า error ที่ไฟล์ win32k สาเหตุเกิดจาก การ control software ของบริษัทอื่นๆ (Third-party) ที่ไม่ใช้ของวินโดวส์ ซึ่งมักจะเกิดกับพวก Networking และ Wireless เป็นส่วนใหญ่

12.stop code: 0X00000079 Mismatched Hal
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดการทำงานผิดพลาดของ Hardware Abstraction Layer (HAL)  วิธีแก้คือ reinstall วินโดวส์ใหม่
สาเหตุอีกประการการคือไฟล์ที่ชื่อ NToskrnl.exe หรือ Hal.dll หมดอายุหรือถูกแก้ไข ให้เอา Backup ไฟล์ หรือเอา original ไฟล์ที่คิดว่าไม่เสียหรือเวอร์ชั่นล่าสุดก๊อปปี้ทับไฟล์ที่เสีย

13.stop code: 0X0000003F No More System PTEs
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดจากระบบ Page Table Entries (PTEs) ทำงานโดย Virtual Memory Manager (VMM) ผิดพลาด ทำให้วินโดวส์ทำงานโดยไม่มี PTEs ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวินโดวส์ อาการนี้มักจะเกิดกับการที่คุณทำงานแบบ multi monitors

โดยเรานั้นสามารถทำการปรับแต่ง PTEs ได้ใหม่โดยทำตามดังนี้

1. กดปุ่ม Windows ค้าง + R แล้วพิมพ์คำสั่ง Regedit
2. ไปตามคีย์นี้ HKEY_LOCAL_MACHINESYSTEMCurrentControlSetControlSession ManagerMemory Management
3. ให้ดูที่หน้าต่างขวามือ ดับคลิกที่ PagedPoolSize ให้ใส่ค่าเป็น 0 ที่ Value data และคลิก OK
4. ดับเบิลคลิกที่ SystemPages ถ้าคุณใช้ระบบจอแบบ Multi Monitor ให้ใส่ค่า 110000 แล้วคลิก OK รีสตาร์ทเครื่อง

14.stop code: 0X00000024 NTFS File System
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้สาเหตุเกิดจากการรายงานผิดพลาดของ Ntfs.sys คือไดร์เวอร์ของ NTFS อ่านและเขียนข้อมูลผิดพลาด สาเหตูนี้รวมถึง การทำงานผิดพลาดของ controller ของ IDE หรือ SCSI เนื่องจากการทำงานของโปรแกรมสแกนไวรัส หรือ พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เสีย คุณๆสามารถทราบรายละเอียดของerror นี้ได้โดยให้เปิดดูที่ Event Viewer วิธีเปิดก็ให้ไปที่ start > run แล้วพิมพ์คำสั่ง eventvwr.msc เพื่อเปิดดู Log file ของการ error โดยให้ดูการ error ของ SCSI หรือ FASTFAT ในหมวด System หรือ Autochk ในหมวด Application

15.stop code: 0X00000050 Page Fault In Nonpaged Area
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้สาเหตุการจากการผิดพลาดของการเขียนข้อมูลในแรม การแก้ไขก็ให้ทำความสะอาดขาแรมหรือลองสลับแรมดูหรือไ ม่ก็หาโปรแกรมที่ test แรมมาตรวจว่าแรมเสียหรือไม่

16.stop code: 0Xc0000221 Status Image Checksum Mismatch
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้สาเหตุมาจาก swapfile เสียหายรวมถึงไดร์เวอร์ด้วย การแก้ไขก็เหมือนข้อ 15

17. stop code: 0X0000007F unexpected Kernel Mode Trap
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกับนัก Overclock (ผมก็คนหนึ่ง) เป็นอาการ RAM ส่งข้อมูลให้ CPU ไม่สัมพันธ์กันคือ CPU วิ่งเร็วเกินไป หรือร้อนเกินไปสาเหตุเกิดจากการ Overclock วิธีแก้ก็คือลด clock ลงมาให้เป็นปกติ หรือ หาทางระบายความร้อนจาก CPU ให้มากที่สุด

18. stop code: 0X000000ED Unmountable Boot Volume
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: สาเหตุและแนวทางแก้ไขอาการที่วินโดวส์หาฮาร์ดดิสก์ไม่เจอ (ไม่ใช่ตัวบูตระบบ) ในกรณีที่คุณมีฮาร์ดดิสก์หลายตัว หนึงในนั้นคุณอาจใช้สายแพของฮาร์ดดิสก์ผิด เช่น ฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ 33MB/secound ซึ่งต้องใช้สายแพ 40 pin แต่คุณเอาแบบ 80 pin ไปต่อแทน

เป็นยังไงบ้างครับ หวังว่าคงเป็นความรู้ให้กับเพื่อนๆที่กำลังประสบปัญหาจอฟ้ากันอยู่ จะเห็นได้ว่า จอฟ้า ไม่ได้หมายถึง Hardware มีปัญหาเพียงอย่างเดียว แต่ทางที่ดีหากพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่เกิดจอฟ้าขึ้นให้ใจเย็นๆแล้วจำเลขรหัส Error ไว้จากนั้นลองนำมาตรวจสอบดูว่าเป็นปัญหาที่ Hardware หรือ Software กันก่อน

สำหรับใครที่สงสัยตรงไหนสามารถคอมเม้นต์ไว้ที่ด้านล่างได้เลยนะครับ

from:https://notebookspec.com/blue-screen-of-death/445984/

ยกเลิกรีสตาร์ท แก้ปัญหา Bluescreen จอฟ้า จอเขียวให้ใช้งานได้

อาการติด Blue screen of death หรือ BSOD ที่เป็นปัญหาน่าปวดหัว บางครั้งไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแค่เราสามารถตรวจเช็คและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ด้วยการสังเกตจากรหัสเวลาที่เกิด BSOD ขึ้นมา โดยมักจะบอกเป็นรหัส ให้เราเช็คได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่ปัญหาที่เรามักเจอก็คือ ระบบจะรีสตาร์ทหลังจากที่เกิดบลูสกรีนไม่นาน ทำให้ไม่ทันมองเห็นรหัสปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้การแก้ไขทำได้ยาก

ความจริงก็ยังพอมีวิธีที่ช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลเพื่อแก้ไขได้ เช่น การถ่ายภาพหน้าจอ หรือการจดตัวเลขเหล่านั้น แต่ส่วนใหญ่เมื่อเกิด BSOD เรามักไม่ทันได้ตั้งตัว แม้ว่าจะหยิบมือถือมาถ่ายก็ตาม อย่างไรก็ดีมีอีกวิธีหนึ่งที่แสนง่าย คือ การยกเลิกระบบรีสตาร์ทเมื่อเกิดปัญหา ด้วยการ Disabling Automatic Restart นั่นเอง

วิธีการ Disabling Automatic Restart เวลาที่เกิด BSOD ทำได้โดย


ให้คลิกขวาที่ Start Menu แล้วเลือกที่ System

คลิกเลือกที่ Advanced system settings


เลือกที่แท็ป Advanced แล้วคลิกที่ Settings… ที่หัวข้อ Startup and Recovery

เลื่อนไปที่ System failure เอาเครื่องหมายหน้า Automatically restart ออก เพียงเท่านี้ เมื่้อเกิดปัญหากับระบบหรือ BSOD ระบบก็จะไม่รีสตาร์ท เพื่อให้เราเก็บข้อมูลสำหรับการแก้ไขได้ต่อไป วิธีนี้ใช้ได้ทั้ง Windows 7, 8 และ Windows 10

from:https://notebookspec.com/disable-automatic-restart-on-system-failure-in-windows/427582/