คลังเก็บป้ายกำกับ: ขาดทุน

อวสาน นมพาสเจอร์ไรซ์โฟรโมสต์: บ.ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ประกาศยุติผลิตและจำหน่าย

หลังเพจ Facebook Foremost Thailand ตอบคอมเมนท์แฟนเพจที่ถามหานมสดแช่ตามตู้ หาไม่เจอนานเป็นเดือนแล้วเพราะปกติซื้อแบบแกลลอน ทาง Formost ระบุว่า ขออภัยในความไม่สะดวกและชี้แจงว่า บริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่า จะยุติการผลิตและการจัดจำหน่ายนมพาสเจอร์ไรซ์ในไทย ทั้งนี้ ท่านยังคงสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายอื่นๆ ของโฟรโมสต์ที่ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไปได้ตามปกติ

Foremost โฟร์โมสต์

ย้ำว่า เป็นการพิจารณาอย่างรอบคอบตามแนวทางการดำเนินธุรกิจเชิงกลยุทธ์ของบริษัทฯ โดยบริษัทจะมุ่งเน้นการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมที่หลากหลาย สามารถเก็บรักษาได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น

ทาง Brand Inside ติดต่อสอบถามทางบริษัทถึงกรณีดังกล่าวแล้ว บริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่าฯ ยืนยันว่า สาเหตุที่ยุติการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์นั้น เป็นแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัท แต่สำหรับนม UHT ยังผลิตเหมือนเดิม ส่วนนมแกลลอนที่เป็นนมพาสเจอร์ไรซ์นั้นไม่ได้ผลิตแล้ว

Foremost โฟร์โมสต์

การหยุดผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์นี้ โดยหลักแล้วคือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เป็นการเน้นที่ผลิตภัณฑ์ที่เก็บได้นานมากขึ้นเช่น UHT ซึ่งบริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ไม่ได้ผลิตแค่โฟรโมสต์แบรนด์เดียว แต่ยังมีแบรนด์อื่นอีก ทางบริษัทระบุว่า มีความต้องการให้สารอาหารเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้นเพราะไม่ใช่ทุกคนที่มีตู้เย็น อยากให้ผู้บริโภคสามารถเก็บผลิตภัณฑ์นมได้นานยิ่งขึ้นจึงเน้นที่ประเภท UHT ยังมีแบรนด์อื่นอีก เช่น Falcon หรือนมฟอลคอน ตรานกเหยี่ยว ตราเรือใบ ตรา My Boy และ Debic ด้วย

Foremost โฟร์โมสต์

ย้อนดูรายได้บริษัท

แบ่งเป็น 2 บริษัท คือบริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า เฟรช (ประเทศไทย) จำกัด

(1) บริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

จดทะเบียนจัดตั้ง 20 พฤษภาคม ปี 2537 ด้วยทุนจดทะเบียน 220 ล้านบาท ยังดำเนินกิจการอยู่ ประเภทธุรกิจตอนจดทะเบียนเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์นมข้นหรือนมผง วัตถุประสงค์ตอนจดทะเบียนคือ นำเข้า ส่งออก ผลิตและจำหน่ายส่ง-ปลีกผลิตภัณฑ์อาหารนม ประเภทธุรกิจที่ส่งงบการเงินปีล่าสุดคือ การผลิตน้ำนมสด (ยกเว้นน้ำนมดิบ)

  • ปี 2562: รายได้รวม 1.19 หมื่นล้านบาท กำไร 66.74% หรือประมาณ 485.9 ล้านบาท
  • ปี 2563: รายได้รวม 1.08 หมื่นล้านบาท ขาดทุน 40.43% หรือประมาณ 289.4 ล้านบาท
  • ปี 2564: รายได้รวม 1.08 หมื่นล้านบาท ขาดทุน 570.16% หรือประมาณ 1,360 ล้านบาท

Foremost โฟร์โมสต์

(2) บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า เฟรช (ประเทศไทย) จำกัด

จดทะเบียนจัดตั้ง 10 สิงหาคม ปี 2499 ด้วยทุนจดทะเบียน 800 ล้านบาท ยังดำเนินกิจการอยู่ ประเภทธุรกิจตอนจดทะเบียนเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์นมข้นหรือนมผง วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุดคือการผลิตน้ำนมสด (ยกเว้นน้ำนมดิบ)

  • ปี 2562: รายได้รวม 1.4 พันล้านบาท ขาดทุน 52.72% หรือประมาณ 54.6 ล้านบาท
  • ปี 2563: รายได้รวม 1.08 พันล้านบาท ขาดทุน 84.30% หรือประมาณ 100 ล้านบาท
  • ปี 2564: รายได้รวม 882 ล้านบาท ขาดทุน 0.94% หรือประมาณ 101.6 ล้านบาท

Foremost โฟร์โมสต์

ที่มา – Foremost Thailand, DBD

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post อวสาน นมพาสเจอร์ไรซ์โฟรโมสต์: บ.ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ประกาศยุติผลิตและจำหน่าย first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/the-end-of-pasteurization-of-foremost-milk/

นี่แค่ไตรมาสแรก! การบินไทยขาดทุน 3.2 พันล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย รายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2565 โดยผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยไตรมาสแรกของปีนี้มีรายได้รวมทั้งสิ้น 11,181 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6,797 ล้านบาท (155%)

Thai-airways-q1-2022

รายได้โดยรวมที่สูงกว่าปีก่อน 155% เนื่องจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าเพิ่มขึ้น 6,719 ล้านบาท (255.7%) รายได้จากการบริการอื่นๆ พิ่มขึ้น 103 ล้านบาท (8.3%) เนื่องจากบริษัทเริ่มกลับมาทำการบินและให้บริการเที่ยวบินประจำในเส้นทางระหว่างประเทศ ครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย

มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 14,4348 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 2,967 ล้านบาท (26.1%) แปรผันตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันสูงกว่าปีก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายบุคลากรลดลงจากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการและค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่นลดลงตามการควบคุมการใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 3,167 ล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 3,830 ล้านบาท (54.7%) นอกจากนั้นยังมีต้นทุนทางการเงินจำนวน 2,192 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 1,619 ล้านบาท (42.5%)

บริษัทฯ และบริษัทย่อย (ได้แก่ บริษัท ไทย-vะมาดิอุสเซาท์อีสต์เอเชีย จำกัด, บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด, บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด, บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด และบริษัท ทัวร์เอื้องหลวง จำกัด) มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จำนวน 3,243 ล้านบาท ขาดทุนลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 8,962 ล้านบาทหรือขาดทุนลดลงอยู่ที่ 73.4% เป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 3,247 ล้านบาท คิดเป็นขาทุนต่อหุ้น 1.49 บาท ขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 5.59 บาท

ณ 31 มีนาคม 2565 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 162,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 1,204 ล้านบาท (0.7%) หนี้สินรวมมีจำนวน 236,909 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก วันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 4,439 ล้านบาท (1.9%) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อยติดลบจำนวน 74,486 ล้านบาท ติดลบเพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 3,235 ล้านบาทจากผลขาดทุนจากการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

ที่มา – SET (1), (2), (3), การบินไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post นี่แค่ไตรมาสแรก! การบินไทยขาดทุน 3.2 พันล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/thai-airways-q1-in-2022/

‘การบินไทย’ ปี 2563 ขาดทุนหนัก 1.4 แสนล้าน เหตุรายได้ลดลง แต่มีค่าใช้จ่ายคงที่สูง

การบินไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการปี 2563 ขาดทุน 141,170.73 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้รวมลดลง 73.8% อยู่ที่ 48,311 ล้านบาท จากจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศทั้งของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ

สําหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 96,430 ล้านบาท ตํ่ากว่าปี ก่อน 100,040 ล้านบาท (50.9%) เนื่องจากค่าใช้จ่ายแปรผันตามปริมาณการขนส่ง และจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายคงที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ขาดทุนจากการดําเนินงาน 48,119 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 287% จากปีก่อน

นอกจากนั้น ในปี 2563 การบินไทย และบริษัทย่อย มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม 91,978 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • สำรองเงินชดเชยพนักงานในโครงการร่วมใจจากองค์กร จำนวน 3,098 ล้านบาท
  • ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินและสินทรัพย์สิทธิการใช้และอุปกรณ์การบินหมุนเวียน จำนวน 82,703 ล้านบาท
  • ผลขาดทุนจกการด้อยค่าซึ่งป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 จำนวน 261 ล้านบาท
  • กำไรจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 206 ล้านบาท
  • ขาดทุนจากอัตราแลกปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจำนวน 895 ล้านบาท
  • ผลขาดทุนสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มรายการของฐานะสุทธิจำนวน 5,227 ล้านบาท

ทั้งนี้ การบินไทยอยู่ระหว่างจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการโดยศาลล้มละลายกลาวอนุญาตให้ผู้ทำแผนยื่นส่งแผนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในวันที่ 2 มี.ค. 2564

และเมื่อได้ยื่นส่งแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท และศาลล้มละลายกลางจะพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป

 

from:https://www.thumbsup.in.th/thai-airways-loss-140-billion?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=thai-airways-loss-140-billion

S&P ไตรมาส 2 เทียบปีก่อนรายได้ลดลง 44% ครึ่งแรกของปีขาดทุนรวม 78 ล้านบาท

บริษัท S&P หรือ เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ชี้แจงผลประกอบการสำหรับไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า มีรายได้จากการขายและการให้บริการจำนวน 969 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 764 ล้านบาท ลดลง 44% 

ภาพจาก S&P

หลังจากที่เกิดโควิด-19 ส่งผลให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส โดยกรุงเทพฯ ประกาศเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว รวมถึงร้านอาหารที่เปิดจำหน่ายเฉพาะการซื้อกลับบ้านเท่านั้น มีผลตั้งแต่ 22 มีนาคม  2563 ทำให้รายได้จากการขายและบริการของบริษัทฯ ลดลงอย่างมาก 

แม้ว่าจะมียอดขายในการซื้อกลับบ้านและจัดส่งถึงบ้านเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่สามารถชดเชยรายได้จากการรับประทานในร้านได้ ส่วนธุรกิจร้านอาหารในประเทศ มีรายได้จากการขายและบริการรวม 816 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 600 ล้านบาท หรือลดลง 42%

นอกจากนี้ การหยุดดำเนินการของสายการบิน การปิดสาขาของธุรกิจร้านอาหารต่างๆ ส่งผลให้รายได้จากธุรกิจขายส่งอาหารและเบเกอรี่ และผลิตภัณฑ์รับจ้างผลิตในไตรมาส 2 จำนวน 123 ล้านบาท ลดลง 68 ล้านบาท หรือ 35.4% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 

ภาพจาก S&P

ส่วนธุรกิจร้านอาหารในต่างประเทศ รายได้จากการขายและการบริการจำนวน 28 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 89 ล้านบาท ลดลง 75.7% เนื่องมาจากการปิดร้านอาหารของสาขาในต่างประเทศเพราะเหตุโควิดระบาดเช่นกัน

ไตรมาส 2 ของปี 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีขาดทุนจากการดำเนินงานและตามงบการเงินรวม 51 ล้านบาท ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากงวดเดียวกันของปีก่อน 66 ล้านบาท คิดเป็น 45.7% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 

ครึ่งปีแรก 2563 มีรายได้จากการขายและการให้บริการจำนวน 2,433 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 1,042 ล้านบาท ลดลง 30% ธุรกิจขายส่งอาหารและเบเกอรี่ในไตรมาส 2 ปี 2563 มีจำนวน 266 ล้านบาท ลดลง 79 ล้านบาท หรือ ลดลง 22.8% จากผลกระทบของสายการบินหยุดบินและการปิดสาขาของธุรกิจร้านอาหารต่างๆ 

ส่วนร้านอาหารในต่างประเทศ รายได้จาการขายและบริการจำนวน 103 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 129 ล้านบาท หรือลดลง 55.6% สาเหตุเพราะการปิดร้านอาหารของสาขาในต่างประเทศ

ภาพจาก S&P

ทั้งนี้ ทางบริษัทได้พยายามบริหารจัดการต้นทุนการผลิต และควบคุมการจัดซื้อวัตถุดิบให้เหมาะสมกับรายได้จากการขายและการให้บริการหลักที่ลดลง รวมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ และเจรจาขอส่วนลดค่าเช่าจากผู้ให้เช่าและการลดค่าใช้จ่ายทางการตลาด 

ครึ่งปีแรก 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานและตามงบการเงินรวมเท่ากับ 78 ล้านบาท ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากงวดเดียวกันของปีก่อน 165 ล้านบาท คิดเป็น 188.7% จากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

ที่มา –SET

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/s-and-p-q2-year-2020-after-covid-19/

ขาดทุนยับ การบินไทยรายงานขาดทุนกว่า 2 หมื่นล้าน หนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 1.24 หมื่นล้านบาท

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นำส่งงบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยระบุว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ขยายวงกว้างไปประเทศอื่นทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ช่วงปลายกุมภาพันธ์ ส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศต้องใช้มาตรการควบคุมและจำกัดการเดินทางทั้งภายในและระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด ทำให้ความต้องการเดินทางทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศลดลง ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของโลอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์

การบินไทย สนามบินสุวรรณภูมิ Thai Airways Booth

ภาพจาก Shutterstockการบินไทยได้บริหารจัดการผลกระทบจากโควิด-19 และทยอยยกเลิกเที่ยวบินประจำเป็นการชั่วคราว ควบคู่กับเข้มงวดในการลดค่าใช้จ่ายคงที่เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ประกอบกับประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงินและฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่าที่มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ซึ่งปกติเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ลดลง 11.7% จากการปรับลดเที่ยวบิน ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 22.1% อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 70.9% ต่ำกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 80.3% และมีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 4.49 ล้นคน ลดลงจากปีก่อน 28.6%

การบินไทย Boeing โบอิ้ง 747
ภาพจาก Shutterstock

ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 38,001 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 11,790 ล้านบาท หรือ 23.7% สาเหตุสำคัญเนื่องจากทั้งรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง 10,864 ล้านบาท หรือ 23.8% เป็นผลจากปริมาณการผลิตและการขนส่งลดลง

ประกอบกับรายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วยลดลงจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อสกุลเงินรายได้หลักทำให้รายได้เมื่อคำนวณเป็นเงินบาทลดลง

นอกจากนี้ รายได้จากการบริการอื่นๆ ลดลง 844 ล้านบาท หรือ 23.0% สำหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 42,609 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 8,010 ล้านบาท (15.8%) สาเหตุหลักเกิดจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานโดยส่วนใหญ่ลดลงจากปริมาณการผลิตและปริมาณการขนส่งที่ลดลง ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงาน 4,608 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3,780 ล้านบาท

Thai Airways การบินไทย
ภาพจาก Shutterstock

นอกจากนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อย ยังมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ประกอบด้วย

  • กำไรจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด จำนวน 206 ล้านบาท
  • ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ถาวร จำนวน 2,981 ล้านบาท
  • ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 จำนวน 65 ล้านบาท
  • ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 8,541 ล้นบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการตีมูลค่าทางบัญชี รวมหนี้สินตามสัญญาเช่าดำเนินงานเครื่องบินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16
  • ผลขาดทุนสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มรายการของฐานะสุทธจำนวน 6,489 ล้านบาท

บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 22,676 ล้านบาท ขณะที่ปีก่อนมีกำไร 456 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 22,676 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 10.39 บาท ในขณะที่ปีก่อนมีกำไรต่อหุ้น 0.20 บาท

Thai Airways การบินไทย
ภาพจาก Shutterstock

วันที่ 31 มีนาคม 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 338,486 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 83,678 ล้านบาท (32.8%) มีหนี้สินรวม เท่ากับ 350,946 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 107,904 ล้านบาท (44.4%) และส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบจำนวน 12,460 ล้านบาท ลดจากวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 24,226 ล้านบาท (205.9%)

ที่มา – Thai Airways

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/how-thai-airways-survive/

หรือนี่คือสัญญาณ? เมื่อ Starbucks อังกฤษรายงานผลประกอบการ ขาดทุนไป 600 กว่าล้านในปีที่ผ่านมา

Starbucks
Starbucks in UK Photo: Shutterstock

พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป + การเมืองที่ไม่แน่นอน

Starbucks รายงานผลประกอบการในสหราชอาณาจักรประจำปี 2018 พบว่า ผลประกอบการขาดทุนไปทั้งหมด 22 ล้านดอลลาร์ (676 ล้านบาท) ถือเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วง เพราะปีก่อนหน้านี้ Starbucks ในสหราชอาณาจักรมีกำไรอยู่ถึง 4.6 ล้านปอนด์ (180 ล้านบาท)

สาเหตุสำคัญหลักๆ มาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดย Starbucks ได้ประกาศปิดหลายสาขาที่ไม่ทำเงินไปจำนวนหนึ่งแล้ว และหันมาเน้นหาสาขา Drive-Through มากขึ้น (ปัจจุบัน Starbucks มีสาขาในสหราชอาณาจักรเกือบ 1,000 สาขา ในจำนวนนี้ประมาณ 100 สาขาเป็น Drive-Through)

นอกจากนั้น อีกหนึ่งคำตอบของค้าปลีกยุคนี้คือ “การเดลิเวอรี่” เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคนี้ คือการซื้อของจากที่ใดก็ได้ สั่งออนไลน์แต่ประสบการณ์ต้องไม่ต่างจากออฟไลน์ แต่ความหมายสำหรับ Starbucks คือชัดเจนว่าจะมีลูกค้าไปนั่งในหน้าร้านสาขาน้อยลง ดังนั้น Starbucks จึงต้องปรับกลยุทธ์มารองรับ

อย่างล่าสุด Starbucks ได้จับมือกับ UberEats ขยายบริการส่งกาแฟเดลิเวอรี่ในลอนดอน และยังได้เตรียมขยายบริการเดลิเวอรี่ไปสู่ยุโรปและแถบตะวันออกกลางในปลายปีนี้ด้วย แต่ทั้งนี้สิ่งที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างอีกหนึ่งเรื่องคือการเมืองอังกฤษในช่วงที่ผ่านมามีความผันผวนสูง ซึ่งแน่นอนว่า Brexit ส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมค้าปลีก ทำให้ยอดขายของ Starbucks ในอังกฤษลดลงไปด้วย

หนึ่งในท่าของ Starbucks คือขายสิทธิ์ดูแล

จะเห็นได้ว่าก้าวเดินของ Starbucks ในช่วงนี้คือการขายสิทธิ์การดูแลธุรกิจให้กับผู้อื่น เช่นในยุโรป Starbucks ได้ขายสิทธิ์การดูแลให้กับ Alsea SAB ดูแลกิจการในเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และลักเซมเบิร์กเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และอันที่จริง ถ้าหันมาดูฝั่งบ้านเรา Starbucks ก็เพิ่งขายสิทธิ์ดูแลให้กับ Coffee Concepts Thailand ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง Maxim’s Caterers Limited (ผู้รับสิทธิ์ดูแลร้าน Starbucks ใน กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม ฮ่องกงและมาเก๊ากว่า 400 สาขา) ร่วมกับหุ้นส่วนฝั่งไทยคือ F&N Retail Connection Co. บริษัทในเครือไทยเบฟ

หนึ่งในสนามรบใหญ่ของ Starbucks คือตลาดกาแฟจีน

การขายสิทธิ์ดูแลของ Starbucks สะท้อนอะไรบ้างยังคงเป็นสิ่งที่ต้องติดตาม นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าการขายสิทธิ์ดูแลของ Starbucks เป็นไปเพราะต้องการทุ่มเงินไปสู้ในศึกกาแฟจีน เพราะมันคือสนามรบใหญ่ของ Starbucks อย่างไรก็ดี เมื่อดูท่าแล้ว Starbucks ยังคงต้องทุ่มพลังอีกมากเพื่อสู้กับ Luckin Coffee สตาร์ทอัพสายกาแฟจีนที่มาแรง พร้อมทั้งประกาศไว้ว่าจะโค่นล้ม Starbucks ในแง่สาขาให้ได้ภายในปีนี้

ที่มา – Bloomberg, CNN

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/starbucks-uk-loses/