คลังเก็บป้ายกำกับ: กำไร

กำไรอู้ฟู่: ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารไทยพาณิชย์รายงานผลประกอบการประจำปี 2565

ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารไทยพาณิชย์รายงานผลประกอบการและกำไรสุทธิ ประจำปี 2565 พบว่ากำไรสูงมาก อยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท และ 3.7 หมื่นล้านบาทตามลำดับ

KBank, SCBX

ธนาคารกสิกรไทย

มีกำไรสุทธิจำนวน 35,770 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจำนวน 2,283 ล้านบาท หรือ 6.00%

รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 13,608 ล้านบาท หรือ 11.40% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อใหม่ในกลุ่มลูกค้าบุคคล และกลุ่มลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอีโดยเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น ควบคู่การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในการปล่อยสินเชื่อตามยุทธศาสตร์ธนาคาร

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 3,700 ล้านบาท หรือ 8.42% ส่วนใหญ่เกิดจากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุนค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์และรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่ลดลงซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาด

ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 3,709 ล้านบาท หรือ 5.22% หลักๆ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณธุรกิจและค่าใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้า

ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2565 มีจำนวน 51,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 28.73% เพื่อรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ธนาคารและบริษัทมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,246,369 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2564 จำนวน 142,970 ล้านบาท หรือ 3.48% หลักๆ เป็นการเติบโตของเงินให้สินเชื่อสุทธิตามยุทธศาสตร์ของธนาคารและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ

เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.19%

ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ปี 2566

เศรษฐกิจโลกเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย แม้จีนจะเริ่มทยอยเปิดประเทศ แต่การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนอาจหนุนท่องเที่ยวไทยได้เพียงระดับหนึ่ง การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยจึงยังไม่สามารถกลับเข้าสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนโควิดระบาดได้

ดังนั้น เศรษฐกิจไทยปี 2566 ยังมีความเปราะบาง ยังต้องติดตามแรงกดดันด้านต้นทุนการผลิต ค่าจ้างแรงงาน อัตราเงินเฟ้อ ปัญหาค่าครองชีพ อัตราดอกเบี้ยในประเทศยังขยับขึ้นต่อเนื่อง ธนาคารและบริษัทย่อยยังต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังรอบคอบ

ธนาคารไทยพาณิชย์

SCBX มีกำไรสุทธิ 37,546 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5% จากปีก่อน

ปี 2565 มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจำนวน 107,865 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.3% จากปีก่อน เป็นผลจากการขยายตัวของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิภายใต้กลยุทธ์การเติบโตที่เน้นคุณภาพสินเชื่อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น สินเชื่อโดยรวมขยายตัว 3.3% จากปีก่อน

รายได้ค่าธรรมเนียมและอื่นๆ จำนวน 44,866 ล้านบาท ลดลง 4.7% จากปีก่อน เป็นผลจากการชะลอตัวของธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง ทั้งรายได้จากการลงทุนและการค้ามีจำนวน 1,689 ล้านบาท ลดลง 79.1% จากปีก่อน เนื่องจากความผันผวนสูงของตลาดเงินและตลาดทุนที่ผ่านมา

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวน 69,874 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.9% จากปีก่อน ผลจากกิจกรรมธุรกิจที่เพิ่มขึ้นตลอดการปรับโครงสร้างองค์กรภายใต้ยุทธศาสตร์ยานแม่ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้อยู่ระดับที่ 45.2% ในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย

อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ 3.34% ปรับตัวลดลงจาก 3.79% ในปีก่อน การบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพและเงินกองทุนตามกฎหมายอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.9%

ที่มา – KBank, SCBX

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post กำไรอู้ฟู่: ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารไทยพาณิชย์รายงานผลประกอบการประจำปี 2565 first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/kbank-and-scb-announce-profit-in-2022/

ผลประกอบการ ธนาคารกรุงเทพ-กรุงศรีอยุธยา-ทีเอ็มบีธนชาต ประจำปี 2565

มาแล้ว ฤดูรายงานผลประกอบการธนาคารทั้งหลายของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีฯ และธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ประจำปี 2565

BBL, Krungsri, TTB

ธนาคารกรุงเทพ กำไรเพิ่มขึ้น 10.6% หรือ 29,306 ล้านบาท

ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิสำหรับปี 2565 จำนวน 29,306 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 24.4% ของปริมาณเงินให้สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 2.42% สอดคล้องกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ย

ส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลง 30.0% รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงจากธุรกิจหลักทรัพย์และบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวม ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมจากการอำนวยสินเชื่อและบริการการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ธนาคารเตรียมตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตคาดว่าจะเกิดขึ้น 32,647 ล้านบาท ลดลง 4.4% จากปีก่อน

ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,682,691 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% มีเงินฝาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 จำนวน 3,210,896 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7% จากสิ้นปี 2564

อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับากอยู่ที่ 83.5% ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่ 19.1%, 15.7% และ 14.9% ตามลำดับ อยู่ในระดับสูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

คาดการณ์ ปี 2566

เศรษฐกิจไทยยังคงเชิญความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ท่ามกลางดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก ความไม่แน่นอนจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ยังยืดเยื้อ แต่การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 20 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% เทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19

BBL

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กำไรเพิ่มขึ้น 20% หรือ 30,713 ล้านบาท

เงินให้สินเชื่อของกรุงศรีเติบโตทั่วถึง ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ปี 2565 กำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติในปี 2565 จำนวน 30,713 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.9% หรือ 5,104 ล้านบาท จากปี 2564 ปัจจัยหลักมาจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ สอดคล้องการเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยปรับตัวดีขึ้น กำไรสุทธิจากการขายหุ้นของบริษัท เงินติดล้อ ลดลง 9.1% หรือ 3,081 ล้านบาท

เงินให้สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น 3.1% หรือจำนวน 59,033 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2564 เพิ่มขึ้นครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขยายตัว 3.8% และ 5.3% ตามลำดับ

เงินรับฝาก เพิ่มขึ้น 1.4% หรือจำนวน 25,553 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม ปี 2564 มีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินรับฝากประเภทออมทรัพย์ ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวดีขึ้นจาก 3.24% เป็น 3.45% ในปี 2564

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย จากการดำเนินงานตามปกติ ลดลง 4.6% หรือ 1,561 ล้านบาท จากปี 2564 หากรวมรายการพิเศษจากกำไรเงินลงทุนขายหุ้นของเงินติดล้อ ปี 2564 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 12,288 ล้านบาทหรือ 27.4%

อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้อยู่ที่ 43.8% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานตามปกติ (ไม่รวมกำไรจากการขายหุ้นเงินติดล้อ) ที่ 43.2% ในปี 2564 ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อยู่ที่ 2.32% เมื่อเทียบกับ 2.20% ปี 2564 ส่วนอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ในระดับแข็งแกร่ง 167.4% ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ของธนาคารอยู่ที่ 17.97% ลดลงจาก 18.53% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564

คาดการณ์ ปี 2566

ปี 2566 มีหลายตัวแปรด้านความเสี่ยง ทั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย แต่การท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนจะยังคงเป็นแรงสนับสนุนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย กรุงศรีคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ในอัตรา 3.6% ในปี 2566

Krungsri

ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (TTB) กำไรเพิ่มขึ้น 36% หรือ 14,195 ล้านบาท

ผลการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง มีกำไรสุทธิรวม 14,195 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% จากปี 2564 ด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังดูแลได้ดี โดยอัตราส่วนหนี้เสียอยู่ที่ 2.73% ลดลงจากปีที่แล้วและต่ำกว่ากรอบที่วางไว้

ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 เงินฝากอยู่ที่ 1,399 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% จากไตรมาสก่อน และ 4.5% จากปี 2564 ด้านสินเชื่ออยู่ที่ 1,376 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 1.3% เนื่องจากมีการชำระหนี้คืนจากธุรกิจรายใหญ่ ทั้งปียังคงเพิ่มขึ้น 0.4% YTD เป็นผลมาจากการเติบโตสินเชื่ออย่างระมัดระวัง เน้นที่สินเชื่อรายย่อยเป็นหลัก นำโดยสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

รายได้มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 4 อยู่ที่ 13,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.6% QoQ หนุนโดยการเติบโตของสินเชื่อรายย่อยและการบริหารต้นทุนทางการเงินหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 4,014 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.7% QoQ จากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น ปี 2565 ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 65,852 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5% จากปีก่อนหน้า ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 29,952 ล้านบาท ลดลง 4.1% YoY อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลงอยู่ที่ 45% ลดลงจาก 48% ของปี 2564

TTB

ที่มา – BBL, Krungsri, TTB

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ผลประกอบการ ธนาคารกรุงเทพ-กรุงศรีอยุธยา-ทีเอ็มบีธนชาต ประจำปี 2565 first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/bbl-krungsri-and-ttb-announce-profit-in-2022/

มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของญี่ปุ่น เจ้าอาณาจักร Uniqlo รายได้ลดลงเพราะจีนล็อคดาวน์

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การล็อคดาวน์ของจีนนั้นกระทบห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักธุรกิจใหญ่ที่เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของญี่ปุ่น Tadashi Yanai แห่ง Uniqlo ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย

Uniqlo China

Tadashi Yanai (ทาดาชิ ยานาอิ) มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Uniqlo แบรนด์แฟชั่นที่คุ้นเคยของใครหลายๆ คนกำลังประสบปัญหาเหมือนผู้คนทั่วไปที่ประสบอยู่ ทั้งซัพพลายเชนที่ถูกดิสรัป ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เขายากจนเพิ่มขึ้น ยานาอิ ประธานของบริษัท Fast Retailing บริษัทแม่ของยูนิโคล่ ติดอันดับ 1 เศรษฐีที่รวยที่สุดในญี่ปุ่น ครอบครองทรัพย์สิน 23.6 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3 ล้านล้านเยน สินทรัพย์ลดลง 44% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากยอดขายลดลงอย่างมากทั้งสาขาในญี่ปุ่นและจีน

ยานาอิเองไม่ใช่คนที่ร่ำรวยตั้งแต่เกิด เขาสานต่อธุรกิจครอบครัวและเริ่มทำงานด้วยการทำงานตั้งแต่พื้นฐาน อาทิ ทำความสะอาดร้าน ทำความสะอาดเสื้อผ้าในร้านไปจนถึงสินค้าอื่นๆ เขาทำทุกอย่างด้วยตัวเองมาตั้งแต่เริ่มต้น เขารู้สึกว่านั่นเป็นโอกาสที่ทำให้เขาได้เรียนรู้อย่างมาก

ยานาอิเริ่มเข้ามาดูแลกิจการต่อจากพ่อในช่วงปี 1984 และเริ่มตั้งบริษัท Uniqlo Warehouse จนกลายเป็นที่รู้จักกันในนามยูนิโคล่และมีหน้าร้านราว 300 แห่งทั่วญี่ปุ่นและสามารถขายแจ็คเก็ตผ้าฟลีซที่เป็นซิกเนเจอร์ของแบรนด์ได้มากกว่า 2 ล้านตัวภายใน 1 ปี (ผ้าฟลีซเป็นผ้าที่ผลิตได้ทั้งจากขนแกะและใยสังเคราะห์ ปัจจุบัน Uniqlo ผลิตผ้าฟลีซที่ทำจากขวดรีไซเคิลด้วย) ล่าสุด ยอดขายยูนิโคล่ตกต่ำลงมาก โดยเฉพาะในจีนเนื่องจากมาตรการเข้มข้นที่ต้องการกำจัดโควิดตามนโยบาย Zero covid

Fleece
Image from Uniqlo

เรื่องยอดขายตกในจีนนี้ ยานาอิแสดงความกังวลอย่างเห็นได้ชัด เขาให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า บริษัทกำลังประสบปัญหามากจากนโยบาย Zero covid ของจีนทั้งในแง่ของผลกำไรและในแง่ของความเป็นอยู่ของพนักงาน ยานาอิกล่าวกับ Financial Times ว่า เซี่ยงไฮ้บังคับให้มีการระงับการทำธุรกิจและหยุดขนส่งจากท่าเรือ ทำให้บริษัทประสบความยากลำบาก ยูนิโคล่มีสาขาในจีน 865 แห่ง จีนถือเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของยูนิโคล่ เกือบ 90% มีสาขาอยู่ในเซี่ยงไฮ้ และมีสาขาอยู่ในญี่ปุ่น 813 แห่ง

โควิดป่วนจีนกระทบรายได้ยูนิโคล่ ภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินเยนอ่อน ต้นทุนสูง ถ้าไม่มีทางเลือกก็จะขึ้นราคาสินค้า

หลังจากที่มีการล็อคดาวน์ในจีนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ยอดผู้ติดเชื้อกลายเป็นศูนย์ ก็ทำให้เกิดการจำกัดการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคที่ต้องการจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อสินค้าจากยูนิโคล่และยังส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าออนไลน์ของยูนิโคล่ด้วย ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยอดขายของยูนิโคล่ใน Tmall ของอาลีบาบาลดลง 33% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

รายได้จากยอดขายยูนิโคลที่ลดลงทั้งในจีนและญี่ปุ่น กอปรกับค่าเงินที่อ่อนค่าทำให้กำไรของยูนิโคล่ลดลงไปอีก ช่วงปลายเมษายนที่ผ่านมาค่าเงินของญี่ปุ่นต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ด้าน Takeshi Okazaki (ทาเคชิ โอคาซากิ) ซึ่งเป็น CFO ของยูนิโคล่ระบุว่าค่าเงินเยนอ่อนค่ายิ่งทำให้ต้นทุนวัตถุดิบและการขนส่งราคาแพงขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น มันมาถึงจุดที่แบรนด์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องขึ้นราคาสินค้า ซึ่งนโยบายของบริษัทก็หลีกเลี่ยงที่จะขึ้นราคาสินค้ามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ด้าน Fast Retailing บริษัทแม่ของยูนิโคล่รายงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 รายได้ของยูนิโคล่ลดลงราว 10.2% เทียบกับปีก่อนหน้า รายได้และผลกำไรจากสาขาในจีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

Uniqlo
Image from Uniqlo

รายได้ของ Uniqlo ช่วงครึ่งแรกของปี 2022

รายได้รวมอยู่ที่ 1.2189 ล้านล้านเยนหรือประมาณ 3.22 แสนล้านบาท กำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 189.2 พันล้านเยน เพิ่มขึ้น 12.7% รายได้และกำไรส่วนใหญ่ของยูนิโคล่มาจากเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย อเมริกาเหนือและยุโรป

รายได้ยูนิโคล่ในญี่ปุ่นอยู่ที่ 442.5 พันล้านเยน ลดลง 10.2% กำไรจากการดำเนินงาน 80.9 พันล้านเยน ลดลง 17.3% ยอดขายหน้าร้านลดลง 9.0% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

รายได้และกำไรยูนิโคล่ในต่างประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รายได้รวม 593.2 พันล้านเยน เพิ่มขึ้น 13.7% กำไรจากการดำเนินงาน 100.3 พันล้านเยน เพิ่มขึ้น 49.7% รายได้ในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนีย ยุโรปกลับมาแข็งแกร่ง ความต้องการในจีนลดลงเนื่องจากมาตรการจัดการโควิดเข้มข้น กำไรจากการดำเนินงานของสาขาในอเมริกาเหนือและยุโรปคิดเป็น 20% ของยอดรวมรายได้ในต่างประเทศของยูนิโคล่

GU
Image from GU

รายได้จาก GU ลดลง กำไรก็ลดลงอย่างมาก รายได้อยู่ที่ 122.8 พันล้านเยน ลดลง 7.4% กำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 9.3 พันล้านเยน ลดลง 40.9% ขณะที่รายได้จาก Global Brands ประกอบไปด้วย Theory, PLST, Comptoir des Cotonniers, PRINCESSE TAM.TAM, J Brand รายได้โดยรวมอยู่ที่ 58.9 พันล้านเยน เพิ่มขึ้น 8.1% รายได้ที่เพิ่มขึ้นมากมาจากแบรนด์ Theory และ Comptoir des Cotonniers

บริษัทคาดการณ์ว่า รายได้ในปี 2022 จะอยู่ที่ 2.2000 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้น 3.1% และกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 270.0 พันล้านเยน เพิ่มขึ้น 8.4%

ที่มา – Business Insider, Fast Retailing, Forbes

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของญี่ปุ่น เจ้าอาณาจักร Uniqlo รายได้ลดลงเพราะจีนล็อคดาวน์ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/uniqlo-decline-revenue-and-profit-cause-of-zero-covid-policy-in-china/

นี่แค่ไตรมาสแรก! การบินไทยขาดทุน 3.2 พันล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย รายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2565 โดยผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยไตรมาสแรกของปีนี้มีรายได้รวมทั้งสิ้น 11,181 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6,797 ล้านบาท (155%)

Thai-airways-q1-2022

รายได้โดยรวมที่สูงกว่าปีก่อน 155% เนื่องจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าเพิ่มขึ้น 6,719 ล้านบาท (255.7%) รายได้จากการบริการอื่นๆ พิ่มขึ้น 103 ล้านบาท (8.3%) เนื่องจากบริษัทเริ่มกลับมาทำการบินและให้บริการเที่ยวบินประจำในเส้นทางระหว่างประเทศ ครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย

มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 14,4348 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 2,967 ล้านบาท (26.1%) แปรผันตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันสูงกว่าปีก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายบุคลากรลดลงจากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการและค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่นลดลงตามการควบคุมการใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 3,167 ล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 3,830 ล้านบาท (54.7%) นอกจากนั้นยังมีต้นทุนทางการเงินจำนวน 2,192 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 1,619 ล้านบาท (42.5%)

บริษัทฯ และบริษัทย่อย (ได้แก่ บริษัท ไทย-vะมาดิอุสเซาท์อีสต์เอเชีย จำกัด, บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด, บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด, บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด และบริษัท ทัวร์เอื้องหลวง จำกัด) มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จำนวน 3,243 ล้านบาท ขาดทุนลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 8,962 ล้านบาทหรือขาดทุนลดลงอยู่ที่ 73.4% เป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 3,247 ล้านบาท คิดเป็นขาทุนต่อหุ้น 1.49 บาท ขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 5.59 บาท

ณ 31 มีนาคม 2565 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 162,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 1,204 ล้านบาท (0.7%) หนี้สินรวมมีจำนวน 236,909 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก วันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 4,439 ล้านบาท (1.9%) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อยติดลบจำนวน 74,486 ล้านบาท ติดลบเพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 3,235 ล้านบาทจากผลขาดทุนจากการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

ที่มา – SET (1), (2), (3), การบินไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post นี่แค่ไตรมาสแรก! การบินไทยขาดทุน 3.2 พันล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/thai-airways-q1-in-2022/

โควิดระบาดก็ทำอะไรไม่ได้ SCGP รายได้เพิ่มขึ้น 34% ตั้งเป้าปี 65 สร้างรายได้ 1.4 แสนล้านบาท

SCGP หรือบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เผยผลประกอบการปี 2564 เติบโตโดดเด่น ทำรายได้จากการขาย 124,223 ล้านบาท รายได้เพิ่มขึ้น 34% กำไร 8,294 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% จากปีก่อน

scgp

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ระบุ ภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทปี 2564 เติบโตอย่างมั่นคง โดยผลการดำเนินงานปี 2564 เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้เกิดการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งสินค้า และอัตราค่าระวางเรืออยู่ในระดับสูง

SCGP

นับจากจดเทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศเมื่อตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน SCGP ขยายการลงทุนในอาเซียนและภูมิอาคอื่นๆ ใช้เงินลงทุนตลอดอายุโครงการราว 40,000 ล้านบาท ทั้งควบรวมกิจการ (Merger & Partnership) และขยายกำลังการผลิตของบริษัทรวม 12 โครงการ ดำเนินการเสร็จแล้ว 9 โครงการ อีก 3 โครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนี้

  1. ขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ของ United Pulp and Paper Co., Inc. (UPPC) ประเทศฟิลิปปินส์อีก 2.2 แสนตันต่อปี คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 1 ปี 65
  2. ขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารในไทยและเวียดนามอีก 1,838 ล้านชิ้นต่อปี คาดว่าแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2 ปี 65
  3. โครงการก่อสร้างฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งใหม่ทางตอนเหนือของเวียดนามภายใต้ Vina Kraft paper Company Limited (VKPC) ด้วยกำลังการผลิต 3.7 แสนตันต่อปี คาดว่าแล้วเสร็จปี 67

 SCGP

ไตรมาส 4 ปี 2564 รายได้จากการขายอยู่ที่ 35,145 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49% กำไรสำหรับงวด 2,115 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมของการใช้บรรจุภัณฑ์ในอาเซียนช่วงไตรมาส 4 ทั้งในไทย เวียดนาม อินโดฯ ฟิลิปปินสื และมาเเลเซียปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจและการบริโภคปี 2565 จะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดในประเทศต่างๆ ส่วนค่าระวางเรือขนส่งจะยังอยู่ในรดับสูงอย่างต่อเนื่อง ภาวะเงินเฟ้อจะเป็นปัจจัยกดดันการผลิตและบริโภค SCGP ตั้งเป้าหมายว่ารายได้ปี 2565 จะเติบโตอยู่ที่ 140,000 ล้านบาท บริษัทฯ เตรียมวางแผนขายธุรกิจอย่างต่อเนื่องภายใต้งบลงทุน 5 ปี ไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท โดยอาเซียนคือพื้นที่ยุทธศาสตร์หลักของ SCGP และจะยังมองหาโอากาสขยายการลงทุนที่เหมาะสมในภูมิภาคอื่นๆ ด้วย

SCGP

ที่มา – SCGP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post โควิดระบาดก็ทำอะไรไม่ได้ SCGP รายได้เพิ่มขึ้น 34% ตั้งเป้าปี 65 สร้างรายได้ 1.4 แสนล้านบาท first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/scgp-growth-revenue-in-2021/

ทำไมเขาทำแล้วกำไร! Singapore Airlines รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 กำไรโตขึ้น 68%

Singapore Airlines
Singapore Airlines Photo: Shutterstock

Singapore Airlines สายการบินแห่งชาติของสิงคโปร์รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2019 ดังนี้

  • ผลกำไรเพิ่มขึ้น 68% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นจาก 56 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เป็น 94 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
  • กำไรจากการดำเนินการลดลง 8.6% อยู่ที่ 213 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
  • รายได้จากผู้โดยสารเติบโตขึ้น 7.5%
  • รายได้จากการขนส่งลดลง 16.3%
  • ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 6%
  • ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เชื้อเพลิง (non-fuel expenditure) เพิ่มขึ้น 6% ส่วนต้นทุนที่เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันที่ 1.7%

อ่านข่าวอื่นๆ เกี่ยวกับสายการบินแห่งชาติของไทย

ที่มา – Straitstimes

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/singapore-airlines-profit-q2-2019/

Airbnb ทำกำไรได้แล้วนะ รู้ยัง? ขณะที่ Uber ยังขาดทุนกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์!

สิ่งหนึ่งที่ Startup หลายรายมีเป้าหมายอยากให้เกิดขึ้น คือ สามารถสร้างกำไรจากธุรกิจของตัวเองได้ (ไม่ใช่ระดมทุนเพื่อ Money Game อย่างเดียว) ซึ่ง Airbnb บริการให้เช่าที่พักโดยตรงจากเจ้าของ ได้เริ่มต้นทำกำไรตั้งแต่ปลายปี 2016

แน่นอนว่าในปี 2017 นี้ Airbnb คาดว่าจะสามารถทำกำไรได้ต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงการบริหารธุรกิจที่แตกต่างจาก Startup รายอื่นๆ เช่น Uber ที่ขาดทุนประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากการเก็บค่าบริการในราคาต่ำเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด

ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว Uber มีคู่แข่งจำนวนไม่น้อยในหลายประเทศ (รวมถึง Didi Chuxing ที่ซื้อ Uber ในจีนไปด้วย) จึงไม่น่าแปลกใจที่ต้องทุ่มงบการตลาดอย่างหนัก ขณะที่ Airbnb มีคู่แข่งน้อยกว่า และสามารถทำรายได้เป็นค่าธรรมเนียมประมาณ 6-12% จากเจ้าของที่พักที่มาประกาศผ่าน Airbnb และยังไม่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำความสะอาดหรือบำรุงรักษาสถานที่ด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น เพราะ Airbnb ยังคงพัฒนาบริการใหม่ๆ เพื่อให้การค้นหาที่พักเป็นเพียงบริการหนึ่งเท่านั้น โดยจัดกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณืให้กับนักท่องเที่ยว เช่น การเก็บเห็ด หรือ การเยี่ยมชมพื้นที่ใกล้เคียงที่พัก

รายได้ของ Airbnb เพิ่มขึ้นมากกว่า 80% ในปี 2016 แม้ว่าในหลายเมือง เช่น ซาน ฟรานซิสโก หรือ นิวยอร์ค จะผ่านกฎหมายจำกัดจำนวนวันเข้าพักสำหรับบริการให้เช่าที่พักแบบ Airbnb โดยบริษัทยังสามารถระดมทุนได้กว่า 3,100 ล้านดอลลาร์ และยังเตรียมลงทุนหรือซื้อกิจการอื่นๆ เพื่อขยายธุรกิจ เช่น การเตรียมซื้อกิจการ Tilt สตาร์ทอัพด้าน Social Payment มูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์

สรุป

อย่างน้อยก็เป็นกำลังใจให้กับทั้ง Startup และ Investor ทั้งหลายว่า Airbnb หนึ่งใน Startup ต้นแบบสามารถบริหารธุรกิจจนมีกำไรได้เป็นครั้งแรก (และมีเป้าหมายจะรักษากำไรไว้ให้ได้ในปีนี้) ดังนั้นใครที่กำลังลงมือทำธุรกิจ Startup ถ้าทำอย่างถูกต้องแล้ว ก็น่าจะสามารถทำกำไรได้เช่นเดียวกัน

ที่มา: Bloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/airbnb-first-profit/