การทำ SEO บน Google ให้ประสบความสำเร็จ

เรื่องของ SEO ยังคงเป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งมีเว็บไซต์หรือเข้าสู่ระบบออนไลน์ ยิ่งธุรกิจที่ต้องมีเว็บไซต์ การทำ SEO เพื่อให้คนค้นหาแบรนด์ของเราเจอทั้งบน Facebook และ Google ยิ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ วันนี้เราจะมีข้อมูลที่น่าสนใจของเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

เมื่อเอ่ยถึง SEO นั้น แพลตฟอร์มอย่าง Google ยังคงครองแชมป์การค้นหามากที่สุด ข้อดีของ Google คือ เราจะเข้าถึงข่าวสารแบบเปิดกว้างทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่าเราจะต้องเจอการโฆษณาชวนเชื่อด้วยเนื้อหาที่เกินจริง เพื่อให้คนที่ค้นหาข้อมูลสามารถหาแบรนด์เราได้เจอ

ส่วนใน Facebook ที่สามารถค้นหาผ่านภาพประกอบได้ จึงจำเป็นต้องหลบเลี่ยงถ้อยคำเพื่อไม่ให้โฆษณาดูเกินจริงจนถูกปิดการพบเห็นในเฟสบุ๊ก ซึ่งจะยากในการสื่อสารแต่ด้วยรูปแบบที่หลากหลายจึงสามารถปรับเปลี่ยนการเล่าให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

ถ้าสินค้าของเราไม่ใช่ Mass Product และยังราคาแพงอีก การยิงโฆษณาในเฟสบุ๊กอาจจะยากต่อการตัดสินใจโอน จึงควรเพิ่มความน่าเชื่อถือให้มากขึ้นด้วยการใช้เว็บไซต์และโฆษณาด้วย Google เพื่อให้ Feed แสดงผลขึ้นไปบน Facebook และเกิดโอกาสในการซื้อได้ดีกว่าทำแบรนด์เฉพาะบน Facebook อย่างเดียว วิธีนี้จะช่วยให้เราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าด้วย

ดังนั้น การใช้กลยุทธ์โฆษณาจะต้องใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน จุดเด่นของการใช้ Google Ads คือเข้าถึงลูกค้าได้เร็ว ใช้เทสต์ความต้องการของตลาดก่อนนำสินค้ามาขายจริงได้ เทคนิค Paid Search เพื่อดึงการแสดงการค้นหาให้ขึ้นมาอยู่อันดับต้นๆ และนั่นต้องจ่ายเงินที่ “สมน้ำสมเนื้อ” เพื่อเลือกตำแหน่งที่เหมาะสม

แต่การใช้ Google Ads ก็ยังใช้เงินน้อยกว่าการซื้อโฆษณาผ่านสื่อใหญ่ๆ และเราสามารถกำหนด Per Click ว่าจะให้โฆษณาของเราไปโชว์ที่เว็บไหนได้ กำหนดการรับชมได้ ซึ่งคนที่เห็นโฆษณาของเราสามารถปิดได้หากเขาไม่ต้องการดู

โฆษณาอะไรได้บ้าง

มาทำความรู้จักตำแหน่งของการโฆษณาบน Google กันค่ะ ว่ามีตำแหน่งไหนบ้างที่น่าสนใจ ด้วยรูปแบบโฆษณาที่มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น

  • Search : เข้าถึงลูกค้าที่สนใจผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณด้วยโฆษณาแบบข้อความ
  • Display : แสดงโฆษณาประเภทต่างๆ ทั่วทั้งเว็บ
  • Shopping : โปรโมทผลิตภัณฑ์ด้วยโฆษณา Shopping
  • Video : เข้าถึงและดึงดูดผู้ดูบน Youtube และทั่วทั้งเว็บ
  • Universal App : เพิ่มการติดตั้งแอปทั่วทั้งเครือข่ายของ Google

รูปแบบโฆษณาแต่ละประเภท จะดึงดูดผู้ใช้ที่เหมาะสมให้เข้าชมเว็บไซต์ จึงต้องตั้งค่าฟีเจอร์ให้ดึงดูดลูกค้าที่เกี่ยวข้องมาที่เว็บไซต์

การเลือกโฆษณาแบบอยู่ในตำแหน่งด้านบน เพื่อให้คนค้นหาเจอเราได้โดยง่าย ไม่ว่าคนค้นหาจะพิมพ์คำไหนก็ตาม ซึ่งการเลือกโฆษณาแบบนี้จะมีการจำกัดจำนวนคำ จึงต้องระบุจุดเด่นของสินค้าว่าคืออะไร และอยากเน้นอะไรให้ลูกค้าเห็นเกี่ยวกับสินค้าของคุณ

ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับการตั้งค่า Ads ประเภทนี้คือ Heading 1 และ Heading 2 ใส่ได้แค่ 30 ตัวอักษรและใส่ Description ได้แค่ 80 ตัวอักษร

นอกจากนี้ ยังต้องกำหนด Quality Score เพื่อให้เราสามารถมีคะแนนดีที่สุด เพื่อที่เราจะได้จ่ายเงินน้อยที่สุดจากการประมูลอันดับ ซึ่งบางคนก็ต้องจ่ายแพงเพื่อ bid ขึ้นไปในอันดับต้นๆ เช่นกัน

ส่วนเรื่องของขนาดภาพนั้น Google Ads รองรับไฟล์ภาพเกือบทุกขนาด เพียงแค่ไซ้ส์นั้นต้องมีลิมิตรวมไม่เกิน 1024 KB เท่านั้น ส่วนประเภทของรูปและขนาดที่รองรับนั้น จะเป็นไฟล์ GIF, JPG, PNG หรือรูปแบบ HTML AMPHTML ก็ได้ทั้งหมด

 

ตัวอย่างของไฟล์ภาพที่ใช้ทำ Google Ads ได้

นอกจากนี้ การตั้งกลุ่มเป้าหมายที่เคยคลิกดูเนื้อหาของเราแล้ว นักการตลาดจะเลือก Retargeting อีกครั้งก็ได้ แต่ควรมีเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายไม่รู้สึกว่าเราเป็นแบรนด์ที่หลอกลวง ดังนั้น การทำธุรกิจจึงควรมีทั้งเว็บไซต์เพื่อเป็นหน้าบ้านและโซเชียลมีเดียทั้ง เฟสบุค ทวิตเตอร์ ยูทูป เพื่อรองรับการค้นหาและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์เราทุกช่องทาง

หากเรามีเฉพาะเพจ เมื่อลูกค้าคลิกผ่าน Google อาจจะต้องมีการ Log in ซ้ำ ซึ่งบางคนอาจจำรหัสเข้าใช้งานไม่ได้ ก็ทำให้เราเสียโอกาสทางการขายได้เช่นกัน ดังนั้น นอกจากมีเว็บไซต์แล้ว การมี Landing Page เพื่อขายของและเก็บข้อมูลก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกันนะคะ

อย่างไรก็ตาม การมีเว็บไซต์นอกจากจะเป็นหน้าบ้านให้ลูกค้าเชื่อถือแล้ว ยังช่วยเราวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบต่างๆ ของ Google ได้สะดวกด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็น SEO ที่เราทำนั้น ติด Google Trend หรือไม่ เพื่อดูการแข่งขันและอัตราการเติบโตของสินค้าประเภทต่างๆ

หากเราทำคอนเทนต์โดยอาศัย Google Trend แบบเรียลไทม์ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการค้นหาให้ดียิ่งขึ้นด้วย ซึ่งการใช้งาน Keyword Planner จำเป็นต้องซื้อโฆษณากับทาง Google ก่อน เราถึงจะเข้าใช้งานได้และจะเห็นข้อมูลชัดเจนขึ้นด้วยว่า คำไหนยอดนิยม ซึ่งคำที่นิยมนั้น แน่นอนว่าการแข่งขันสูงกว่าคำที่นิยมน้อยกว่านั่นเอง ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากที่เราจะปรากฏขึ้นไปในหน้าแรกๆ หากเงินที่เรา Bid น้ันไม่มากพอ

ดังนั้น อีกกลยุทธ์ที่ควรนำไปใช้คือ การแต่งหน้าเว็บไซต์ให้น่าค้นหาสำหรับ Google หรือที่เรียกว่า Onpage เพื่อให้มีโอกาสติดอันดับการค้นหาที่ดี และเพิ่มโอกาสให้คนพูดถึงแบรนด์ของเราด้วยการใส่ Back Link หรือที่เรียกว่า Offpage ก็ได้เช่นกัน ซึ่งเราควรปรับระบบหลังบ้านให้ง่ายต่อการที่ Google จะเข้ามาเช็คด้วยนะคะ

แล้วจะตั้งชื่อหรือคอนเทนต์อย่างไรให้ Google หาเราเจอล่ะ เชื่อว่านี่เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตที่หลายคนสงสัยกันใช่ไหมคะ วิธีที่ Google จะเจอเราง่ายๆ ก็คือ การตั้งชื่อด้วย Keyword นั่นเอง ข้อดีคือช่วยให้แข่งขัน SEO บนแฟนเพจได้ง่าย การที่ระบุแฟนเจแบบเป็นสถานที่ จะช่วยให้ลูกค้าสามารถให้ฟีดแบค 5 ดาวและเช็คอินได้ด้วย ซึ่งการให้ฟีดแบ็คหรือดาวนั้นจะไปแสดงผลใน Google เป็นดาวที่เรียกว่า Rich Snippets ด้วย

การทำ SEO ไม่ใช่เรื่องยาก แค่เราเข้าใจใน Journey ของระบบนะคะ  หากใครเป็นมือใหม่ในเรื่องของการเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ ระบบออนไลน์ ขอบอกตรงนี้เลยว่า เราคือเพื่อนกันค่ะ

 

ที่มา : Google, Google Ads

from:https://www.thumbsup.in.th/why-do-seo-on-google