คลังเก็บป้ายกำกับ: PERSON

Daniel Zhang ซีอีโอ Alibaba ลงจากตำแหน่งไปดูธุรกิจคลาวด์

Daniel Zhang ประธานและซีอีโอ Alibaba Group ประกาศลงจากตำแหน่งวันที่ 10 กันยายนนี้ และจะไปดำรงค์ตำแหน่งประธานและซีอีโอของ Cloud Intelligence Group ที่เป็นธุรกิจคลาวด์ในกลุ่ม Alibaba แทน

Cloud Intelligence Group เป็น 1 ใน 6 บริษัทที่ Alibaba แยกธุรกิจออกจากกันเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยตัว Zhang เองเป็นซีอีโอของ Alibaba Group มาตั้งแต่ปี 2015 และรับตำแหน่งประธานต่อจาก Jack Ma ในปี 2019

Eddie Wu หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Alibaba และเป็นรองประธานอาวุโสรับผิดชอบธุรกิจแชต, โทรศัพท์มือถือ, แอพลิคเชั่น, และธุรกิจเพลง จะขึ้นมาเป็นประธานและซีอีโอของ Alibaba Group แทน

ที่มา – CNBC

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/134439

Hidetaka Miyazaki ผู้กำกับ Elden Ring ติดอันดับ 100 ผู้ทรงอิทธิพลโลกของ TIME

นิตยสาร TIME เปิดรายชื่อ 100 ผู้ทรงอิทธิพลประจำปี 2023 (TIME 100 Most Influential People of 2023) มีรายชื่อคนที่น่าสนใจจากวงการเทคโนโลยีคือ Hidetaka Miyazaki ผู้กำกับเกม Elden Ring และประธานของ FromSoftware

TIME คัดเลือก Hidetaka Miyazaki จากความโดดเด่นของเกม Elden Ring ที่สร้างปรากฏการณ์ต่างๆ มากมายนับตั้งแต่วางขายช่วงต้นปี 2022 โดยได้ Neil Druckmann ผู้กำกับเกม The Last of Us มาเป็นคนเขียนคำนิยมให้ด้วย

บุคคลในวงการเทคโนโลยีคนอื่นๆ ที่ติดอันดับคือ Elon Musk, Sam Altman ซีอีโอ OpenAI, Robin Zeng ผู้ก่อตั้งบริษัทแบตเตอรี่รายใหญ่ของโลก Contemporary Amperex Technology (CATL), Shou Zi Chew ซีอีโอของ TikTok และ Laurene Powell Jobs ภรรยาของสตีฟ จ็อบส์ ที่โดดเด่นเรื่องงานการกุศล

นอกจากนี้ยังมีบุคคลในแวดวงวิทยาศาสตร์ติดอันดับด้วย ได้แก่ Andrea Kritcher ผู้ออกแบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่น และ Edward Reynolds ผู้อำนวยการโครงการ DART ของ NASA ที่ทดลองนำยานอวกาศพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย

ที่มา – TIME, รายชื่อ TIME 100

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133426

Jacob Ziv ผู้ร่วมพัฒนากระบวนการบีบอัดข้อมูล LZ เสียชีวิตด้วยวัย 91 ปี

Jacob Ziv ผู้ร่วมพัฒนาอัลกอริทึม LZ ร่วมกับ Abraham Lempel เสียชีวิตเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาด้วยวัย 91 ปี Lempel เพิ่งเสียชีวิตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาด้วยวัย 86 ปี

Lempel และ Ziv พัฒนาอัลกอริทึม LZ77 และตีพิมพ์ลงวารสาร IEEE Transactions on Information Theory เมื่อปี 1977 หลังจากนั้น LZ77 กลายเป็นต้นตระกูลของอัลกอริทึมบีบอัดข้อมูลแบบได้ข้อมูลคงเดิม (lostless compression) จำนวนมาก

LZW และอัลกอริทึมบีบอัดข้อมูลกลายเป็นรากฐานสำคัญของอินเทอร์เน็ตในยุคนี้ที่การส่งข้อมูลต่างๆ มักมีการบีบอัดทั้งแบบที่เรารับรู้หรือไม่ทันรับรู้ เช่น HTTP นั้นเบราว์เซอร์และเซิร์ฟเวอร์สามารถบีบอัดข้อมูลโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องจัดการใดๆ และการสร้าง LZ77 นับเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญของวงการคอมพิวเตอร์ตาม IEEE Milestone

ที่มา – @erlichya

No Description

Pseudo code ของ LZ77

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/133176

Gordon Moore ผู้ร่วมก่อตั้งอินเทลและเจ้าของ “กฎของมัวร์” เสียชีวิตแล้วในวัย 94 ปี

Gordon Moore ผู้ร่วมก่อตั้งอินเทล และผู้คิด “กฎของมัวร์” ที่เรารู้จักกันดี เสียชีวิตแล้วในวัย 94 ปี

Gordon Moore ร่วมกับ Robert Noyce ผู้คิดค้นเทคโนโลยี IC ซึ่งทั้งสองคนเป็นอดีตพนักงานของ Fairchild Semiconductor ลาออกมาร่วมก่อตั้งอินเทลในปี 1968 ตอนแรกตั้งชื่อบริษัทว่า NM Electronics จากตัวย่อนามสกุลของทั้งสองคน แต่ก็เปลี่ยนใจมาใช้ชื่อ Intel ซึ่งย่อมาจาก Integrated Electronics แทน

Moore เป็นซีอีโอของอินเทลระหว่างปี 1979-1987 ก่อนส่งมอบตำแหน่งต่อให้ Andrew Grove จากนั้นเขาเป็นประธานบอร์ดของอินเทลจนถึงปี 1997 ก่อนเกษียณอายุ รับตำแหน่งเป็นประธานอาวุโสอย่างเดียว

Moore ถือเป็นแกนนำอินเทลรุ่นแรกที่เสียชีวิตเป็นคนสุดท้าย โดย Noyce เสียชีวิตก่อนในปี 1990 ตามด้วย Grove ในปี 2016

ที่มา – Intel

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/133160

ACM มอบรางวัล Turing Award ให้ Robert Metcalfe ผู้ร่วมออกแบบอีเธอร์เน็ต

Association for Computing Machinery (ACM) สมาคมวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ชื่อดัง ประกาศมอบรางวัล Turing Award พร้อมเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์ให้กับ Robert Metcalfe ผู้ร่วมสร้างอีเธอร์เน็ตในปี 1973 หรือ 50 ปีที่แล้ว และเป็นรากฐานข้อระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ยอดนิยมในทุกวันนี้ที่ยังคงใช้แนวคิดในการส่งข้อมูลคล้ายเดิม

Metcalfe ออกแบบอีเธอร์เน็ตเมื่อสมัยทำงานอยู่ Xerox Palo Alto Research Center (PARC) โดยครั้งแรกที่สาธิตการทำงานได้ระบบมีความเร็ว 2.94Mbps และยุคแรกออกแบบให้ใช้งานกับสาย Coaxial (หรือสายอากาศทีวี หากยังมีใครเห็นอยู่ตามบ้าน) แนวคิดหลักคือการออกแบบระบบให้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถสื่อสารบนสายเส้นเดียวกันได้ เรียกว่า อีเธอร์ แนวคิดนี้สามารถดัดแปลงไปใช้งานกับสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์หรือสายแลน (สายกลุ่ม twisted pair), สายไฟเบอร์, สายไฟแรงสูง, หรือแม้แต่คลื่นวิทยุ

เขาลาออกไปตั้งบริษัท 3Com ในปี 1979 และกลายเป็นผู้ผลิตการ์ดแลนบน IBM PC ทุกวันนี้เขาเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณอยู่ที่ MIT Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory (CSAIL)

ที่มา – ACM, MIT CSAIL

No Description

No Description

แผนภาพการออกแบบอีเธอร์เน็ตจากรายงาน “Ethernet: Distributed Packet Switching for Local Computer Networks” ที่เขียนร่วมกับ David Boggs ที่เสียชีวิตไปเมื่อปีที่แล้ว

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/133127

Sim Wong Hoo ผู้ก่อตั้ง Creative Labs เจ้าของ Sound Blaster เสียชีวิตด้วยวัย 81 ปี

Sim Wong Hoo ผู้ก่อตั้ง ประธาน และซีอีโอของ Creative Technology บริษัทจากสิงคโปร์ผู้สร้างซาวน์การ์ด Sound Blaster เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 81 ปี

บริษัท Creative Technology หรือชื่อการค้าในสหรัฐคือ Creative Labs เป็นบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ ก่อตั้งเมื่อปี 1981 โดย Sim Wong Hoo เริ่มต้นจากธุรกิจซ่อมคอมพิวเตอร์ในย่านไชน่าทาวน์ของสิงคโปร์ ภายหลังบริษัทพัฒนาซาวน์การ์ด Sound Blaster และไปทำตลาดทั่วโลกจนประสบความสำเร็จอย่างมาก (ประวัติแบบละเอียด, รายชื่อรุ่นทั้งหมด)

แม้ยุคหลัง ฟีเจอร์ซาวน์การ์ดถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเมนบอร์ด แต่บริษัท Creative Technology ก็ยังอยู่ โดยทำธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ด้านเสียงที่หลากหลาย เช่น อุปกรณ์สำหรับมืออาชีพ คอนเสิร์ต หูฟัง ลำโพง รวมถึงอุปกรณ์ข้างเคียงอย่างเว็บแคมด้วย

ที่มา – CNA

No Description

ภาพจาก The Centre for Computing History

No Description

ภาพจาก Creative Technology

from:https://www.blognone.com/node/132132

Tim Bray เล่าประสบการณ์หาประโยชน์ของ Blockchain พบแทบทั้งหมดต้องการแค่ฐานข้อมูลธรรมดา

Tim Bray ผู้ร่วมออกแบบ XML และวิศวกรซอฟต์แวร์ระดับตำนานเขียนบล็อกเล่าประสบการณ์การทำงานใน AWS ช่วงปี 2016 ว่าตอนนั้น Andy Jessy ซีอีโอของ AWS (เลื่อนตำแหน่งเป็นซีอีโอของ Amazon ภายหลัง) คุยกับเขาและเล่าว่าลูกค้าจำนวนมากพยายามถามว่า AWS มีแผนการบล็อคเชนอย่างไรบ้าง และลูกค้าเหล่านี้พยายามบอกกับ Jessy ว่าบล็อคเชนเป็นเทคโนโลยีที่ดีมากแต่ Jessy ไม่เข้าใจ Jessy จึงมอบหมายให้ Bray ไปศึกษาเพิ่มเติม

Bray พยายามไปหาข้อมูล และไปพูดคุยกับสตาร์ตอัพหลายรายในสหรัฐฯ โดยถามคำถามหลักเพียงสองคำถาม คือ “บริษัทกำลังพยายามทำอะไร” และ “บล็อคเข้ามาช่วยอย่างไร” และมักได้คำตอบที่น่าผิดหวังคือเอาเข้าจริงบริการเหล่านี้ไม่ต้องใช้บล็อคเชนก็ได้ นอกจากนี้บริษัทจำนวนมากก็อ้างอิงกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียพยายามเปลี่ยนระบบมาใช้บล็อคเชน ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีว่าบล็อคเชนมีประโยชน์จริง

บทสรุปของ Tim Bray คือประโยชน์ที่แท้จริงของบล็อคเชนนั้นหายากมากๆ (เขาไม่พูดในบล็อกเลยว่าเจอสักอันหรือไม่) ระบบที่พัฒนาขึ้นมาได้สิ้นเปลือง และเมื่อไปดูรายละเอียดของรายงานความสำเร็จของระบบที่ใช้งานแล้วก็มักมีแต่คำพูดเปล่าๆ อย่างนั้นก็ตามนักลงทุนจำนวนมากก็แห่กันลงเงินให้บริษัทเหล่านี้ และสุดท้ายบริษัทเหล่านี้ก็เอาเงินมาใช้บริการคลาวด์อย่าง AWS อยู่ดี

Tim Bray ทำงานกับ AWS ตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปี 2020 เขาลาออกประท้วงการจัดการแรงงานของ Amazon ในช่วง COVID-19

ที่มา – Tim Bray

No Description

แปลจากข้อความในบล็อก

one of my fellow engineers asked the key question: “All these systems, are there any that wouldn’t work without blockchain?” The guy didn’t even hesitate: “No, not really.”

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/131580

Frederick Brooks วิศวกรซอฟต์แวร์ผู้กำหนดให้ 1 ไบต์มี 8 บิต เสียชีวิตด้วยวัย 91 ปี

Frederick P. Brooks วิศวกรซอฟต์แวร์ระดับตำนาน ผู้ดูแลโครงการ OS/360 สำหรับคอมพิวเตอร์ IBM System/360 เมื่อปี 1966 และนำประสบการณ์มาเขียนหนังสือ The Mythical Man-Month เล่าถึงความพยายามแก้ปัญหาโปรเจคล่าช้าด้วยการเพิ่มโปรแกรมเมอร์เข้าไปในโครงการ แต่กลับทำให้โครงการช้าลงไปไปอีก Brooks เสียชีวิตด้วยวัย 91 ปี

นอกจากหนังสือที่สร้างชื่อเสียงให้เขาแล้ว Brooks ยังตีพิมพ์งานวิชาการด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์อีกหลายชิ้น จนได้รับรางวัลทางวิชาการอีกมาก เช่น รางวัล Turing Award ในปี 1999

Brook เคยให้สัมภาษณ์ถึงงานที่เขาภูมิใจที่สุด คือการเปลี่ยนสเปคของ OS/360 ให้ 1 ไบต์มี 8 บิต จากตอนแรกมีเพียง 6 บิต เพื่อให้สามารถเขียนข้อความด้วยตัวอักษรเล็กและใหญ่ได้ การออกแบบนี้กลายเป็นมาตรฐานจนใช้งานกันทั่วไป

ลูกชายของ Brooks แจ้งข่าวไปยังเพื่อนร่วมงานของเขาจำนวนหนึ่ง ระบุว่าอาการของเขาแย่ลงมากในสัปดาห์ที่ผ่านมา และวันนี้ภาควิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย North Carolina ก็แจ้งข่าวว่า Brooks เสียชีวิตแล้ว

ที่มา – Hacker News

No Description

ภาพ Frederick Brooks เมื่อปี 2007 โดย Carola Lauber

การบรรยายของ Fred Brooks ในงาน ICSE 2018

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/131561

Kathleen Booth ผู้สร้างภาษา Assembly เสียชีวิตด้วยวัย 100 ปี

Kathleen Booth นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นภาษา Assembly เสียชีวิตแล้ว โดยมีอายุครบ 100 ปีพอดี (เกิดปี 1922)

Kathleen ร่วมกับสามี Andrew Booth ทำงานที่มหาวิทยาลัย Birkbeck College (เป็นส่วนหนึ่งของ University of London) สร้างคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆ ชื่อเครื่อง Automatic Relay Calculator (ARC) ในปี 1946 ซึ่งภายหลังพัฒนามาเป็นเครื่อง ARC2 และ Simple Electronic Computer (SEC) ในปี 1948

Kathleen เป็นผู้สร้างซอฟต์แวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้ ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นภาษา Assembly เธอยังเขียนหนังสือชื่อ Programming for an Automatic Digital Calculator ในปี 1958

ภายหลังครอบครัว Booth ย้ายมาอยู่ที่ประเทศแคนาดา และเกษียณอายุไปเมื่อราวปี 1978 ตัวของ Andrew Booth เสียชีวิตไปก่อนเมื่อปี 2009 (อายุ 91 ปี) ส่วน Kathleen มีชีวิตต่อมาจนมีอายุถึง 100 ปี

ที่มา – The Register

from:https://www.blognone.com/node/131238

ไลนัสเซ็งเครื่องแฮงค์เพราะแรมพัง ล่าสุดสั่ง ECC มาเปลี่ยนแล้ว

ไลนัสแจ้งนักพัฒนาเคอร์เนลว่าช่วงนี้เขาจะทำงานช้ากว่าปกติเพราะคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปของเขาแรมเสียจนทำให้เครื่องแครชระหว่างคอมไพล์เคอร์เนลอยู่เรื่อยๆ

ประเด็นการใช้แรม ECC นี้ไลนัสเคยพูดถึงตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยชื่นชม AMD ว่าใส่ความสามารถรองรับแรม ECC ใน Ryzen 5000 แม้ว่าเขาจะใช้ Threadripper เพื่อการคอมไพล์เคอร์เนลที่รวดเร็ว และเขาบ่นตั้งแต่ตอนซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ว่าไม่สามารถหาแรม ECC ที่ราคาสมเหตุสมผลได้ ขณะที่เขาสั่งแรม ECC มาเปลี่ยนนี้ก็ยังบ่นอุตสาหกรรมโดยรวมว่าชอบทำให้แรม ECC กลายเป็นของพิเศษ

ที่มา – Linux Kernel

from:https://www.blognone.com/node/130967