คลังเก็บป้ายกำกับ: EIC_ธนาคารไทยพาณิชย์

EIC: เศรษฐกิจไทยหดตัวหนักขึ้น -7.3% อาจจะฟื้นฟูเหมือนช่วงก่อนโควิดได้ในปี 2022

EIC ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2020 หดตัว -7.3% จากเดิม -5.6% ครึ่งหลังของปีต่อจากนี้ น่าจะมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะ U-Shaped recovery

ไตรมาส 2 นี้ เศรษฐกิจหลักหลายประเทศมีการหดตัวมากกว่าคาด สะท้อนจากการปิดเมืองที่เข้มงวดกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในวงกว้างและรุนแรง ช่วงครึ่งหลังของปี คาดว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค และการใช้มาตรการทางการเงินและการคลังของรัฐบาลทั่วโลกเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ

การฟื้นตัวจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป อุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังถูกกระทบจากอัตราว่างงานสูง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำ การลงทุนภาคเอกชนจะถูกกดันจากยอดขายที่ซบเซา งบดุลที่เปราะบางมากขึ้น และความไม่แน่นอนที่อยู่ในระดับสูง อาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่สูงขึ้นในหลายประเทศในระยะต่อไป

EIC ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2020 หดตัวมากกว่าที่คาดจาก -5.6% เป็น -7.3% ผลกระทบจาก COVID-19 โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและการลงทุนภาคเอกชน 

EIC ปรับลดคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2020 จากเดิม 13.1 ล้านคน เหลือเพียง 9.8 ล้านคน (-75.3% YOY) ตามนโยบายปิดการเดินทางเข้าออกไทยที่ยาวนานขึ้น (สิ้นสุดมิถุนายน) แนวทางการเปิดการเดินทางระหว่างประเทศต่างๆ มีแนวโน้มค่อยเป็นค่อยไป เศรษฐกิจโลกหดตัวมากกว่าคาด จะกระทบต่อรายได้ของนักท่องเที่ยว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มหดตัวสูงขึ้นที่ -10.4% ใกล้เคียงกับที่คาดไว้จากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลกที่ก่อให้เกิดปัญหา supply chain disruption

การบริโภคภาคเอกชนหดตัวรุนแรง โดยเฉพาะช่วงที่มีมาตรการปิดเมือง สะท้อนจากดัชนีการบริโภค (PCI) ในเดือนเมษายนที่ตัวไปกว่า -15.1% YOY ภายหลังผ่อนคลายการปิดเมือง เครื่องชี้เร็วสะท้อนว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเดินทางในประเทศเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว แต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤติพอสมควร

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การฟื้นตัวภาคธุรกิจต่างๆ มีความเร็วแตกต่างกัน

EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในลักษณะ U shape โดย GDP จะกลับสู่ระดับของปี 2019 เป็นระดับเดิมก่อน COVID-19 ได้ในปี 2022 เป็นผลจากแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว มีความเปราะบางทางการเงินสูงขึ้นของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ SME ตั้งแต่ก่อนเกิด COVID-19 รวมทั้งผลกระทบจาก COVID-19 ต่อหลายภาคธุรกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยสำคัญที่กำหนดระยะเวลาการฟื้นตัว

  • สภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อ คาดว่า GDP ไทยจะกลับมาช่วงปี 2022 ขณะที่กำลังซื้อจากต่างประเทศจะขึ้นอยู่กับการควบคุมโรค การกระตุ้นเศรษฐกิจ และโครงสร้างเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
  • การพึ่งพาการรวมกลุ่มของคน หากวัคซีนยังไม่ถูกค้นพบ ยอดขายของธุรกิจที่พึ่งพาการรวมกลุ่มโดยเฉพาะการท่องเที่ยวจะยังคงได้รับผลจากการเว้นระยะห่างและกฎเกณฑ์ต่างๆ
  • การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น การเปลี่ยนพฤติกรรมของภาคธุรกิจและผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น

การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติจะเป็นไปอย่างช้าๆ จากความกังวลของนักท่องเที่ยวตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ข้อจำกัดด้านมาตรการควบคุมโรค จะทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น โรงแรม ร้านอาหาร นันทนาการ และการขนส่ง ได้รับผลกระทบมาก ฟื้นตัวช้า

ขณะที่ธุรกิจรถยนต์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย เผชิญกับการหดตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศ จะถูกซ้ำเติมจากการลดลงของยอดขายในประเทศด้วย ตามการจ้างงานและรายได้ของภาคครัวเรือนที่ลดลง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ การระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ส่งผลให้ฟื้นตัวช้าเช่นกัน ด้านการใช้จ่ายหมวดสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม บริการทางการแพทย์ การสื่อสาร ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนเสริมจากมาตรการโอนเงินช่วยเหลือและมาตรการพักหนี้ของภาครัฐจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า

ด้านนโยบายการเงิน คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ย 0.5% ตลอดทั้งปี และพร้อมใช้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงมาตรการ Unconventional เพิ่มเติมหากจำเป็น หากแนวโน้มเศรษฐกิจปรับแย่ลงกว่าคาดมาก ธปท. อาจลดดอกเบี้ยนโยบายได้เพิ่มเติม ในส่วนของค่าเงินบาท คาดอัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2020 จะอยู่ในช่วง 31.5-32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นทิศทางอ่อนค่า เนื่องจากไทยเกินดุลบัญญชีเดินสะพัดลดลงมาก

ความเสี่ยงในระยะข้างหน้า โอกาสกลับมาระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 อาจทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศทั่วโลกหยุดชะงักอีกครั้ง สงครามการค้าโลก อาจรุนแรงขึ้นและกระทบการค้าระหว่างประเทศ ความเสี่ยงด้านเครดิตที่อาจเพิ่มขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับธุรกิจที่มีภาระหนี้ต่อรายได้สูงขึ้นมาก ความเชื่อมั่นนักลงุทน นำไปสู่ความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้

ความเสี่ยงในประเทศด้านความเปราะบางทางการเงินของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจไทยที่อาจทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นได้ อาจส่งผลต่อเสถียรภาพภาคการเงิน รวมถึงความสามารถในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยโดยรวมในระยะต่อไปได้

ที่มา – SCB EIC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/eic-revises-down-thailand-2020-economic-growth-forecast/

เงินบาทจะแข็งค่าต่อเนื่อง คาดสิ้นปี 2020 จะอยู่ในกรอบ 29.5-30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

EIC ประเมิน เงินบาทไทยในปี 2020 จะเผชิญแรงกดดันแข็งค่าต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่น้อยลง โดยสิ้นปี 2020 เงินบาทจะอยู่ในกรอบ 29.5-30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 

เนื่องจาก ไทยยังเผชิญปัจจัยโครงสร้างที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในระดับสูง ความต้องการลงทุนในต่างประเทศยังต่ำ ทำให้มีความต้องการเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐในปริมาณมาก 

เงินบาทช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งแบงก์ชาติกล่าวว่าการแข็งค่าอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลจากสภาพคล่องในตลาดเงินอยู่ในระดับต่ำในช่วงวันหยุดเทศกาล ทำให้การทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราไม่สมดุล 

EIC ปรับมุมมองค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2020 อยู่ในกรอบ 29.5-30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ​ จากคาดการณ์เดิมไตรมาสก่อนอยู่ที่ 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 

โดยค่าเงินบาทปี 2019 เฉลี่ยอยู่ที่ 31.05 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 4.1% จากปี 2018 ขณะที่ดัชนีค่าเงินบาทในปี 2019 เฉลี่ยอยู่ที่ 123.2 ปรับแข็งค่าขึ้น 6.6% จากปี 2018 สำหรับปี 2020 เงินบาทมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันด้านแข็งค่าอยู่ต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่น้อยลงจากปี 2019 

ภาพจาก EIC SCB

ปัจจัยที่ทำให้เงินบาทจะแข็งค่าเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยในปี 2020 จะยังเกินดุลสูง

เนื่องจาก 1) มูลค่าการส่งออกและนำเข้าปี 2020 มีแนวโน้มทรงตัวจากปีก่อน 2) ภาคการท่องเที่ยวจะยังขยายตัวแม้ในอัตราที่ชะลอลง 3) การลงทุนในประเทศจะยังซบเซา การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยแม้จะชะลอลงแต่เกินดุลในระดับสูงประมาณ ​6% ต่อ GDP (ปี 2019 อยู่ที่ 6.3%)

ภาพจาก EIC SCB

ความต้องการนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศยังต่ำ ทำให้ความต้องการเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐยังมีอยู่มาก 

การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง เงินทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศที่มาก จะยังทำให้เงินบาทมีสถานะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยของภูมิภาค (regional safe haven) ต่อไป ทำให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงน้อยกว่าสกุลเงินอื่นในภูมิภาคในช่วงที่ความเชื่อมั่นลดลง 

ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกปรับลดลง เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลกลับเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียรวมทั้งไทย

EIC มองว่า การเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีนมีความคืบหน้า เป็นปัจจัยที่ลดความเสี่ยงด้านต่ำของภาคส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเชียอย่างมีนัยสำคัญ ส่วน Brexit ก็ดีขึ้นเช่นกัน หลังพรรค Conservative ชนะ ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับลดลงในปี 2020 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนปรับสูงขึ้น และมีเงินทุนไหลกลับเข้ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ได้ 

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีโอกาสปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อย ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นโดยเปรียบเทียบ

EIC มองว่า เวลาเศรษฐกิจโลกปรับแย่ลง จะทำให้มีความต้องการถือเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสกุลเงินหลักของโลก มีความเสี่ยงต่ำ เมื่อเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็ลดลง ทำให้ความต้องการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลดลงมา EIC มองว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะไม่อ่อนค่าลงมากนัก 

ภาพจาก EIC SCB

ข้อจำกัดของแบงก์ชาติ ในการผ่อนคลายนโยบายการเงินและเข้าดูแลอัตราแลกเปลี่ยน

การผ่อนคลายนโยบายการเงิน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีส่วนช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้นๆ อ่อนค่าลงได้ 

อย่างไรก็ดี ขีดความสามารถในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติมีข้อจำกัดมากขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ความสามารถในการดูแลค่าเงินบาทผ่านช่องทางนี้ลดลง 

ไทยเสี่ยงที่อาจถูกจัดเป็นประเทศผู้บิดเบือนค่าเงิน ทำให้แบงก์ชาติอาจไม่สามารถดูแลค่าเงินได้มากเท่าในอดีต ดังนั้น โอกาสที่เงินบาทต้องเผชิญแรงกดดันด้านแข็งค่าจึงมีอยู่ต่อไป 

เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าอาจทำให้ค่าเงินในภูมิภาครวมถึงเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตาม

ช่วงสงครามการค้าทวีความรุนแรง เงินหยวนปรับอ่อนค่าลงค่อนข้างมาก ทำให้สินค้าจีนได้เปรียบการแข่งขันด้านราคาต่อประเทศอื่น ที่ผ่านมา เงินบาทก็ปรับอ่อนค่าตามเงินหยวนในช่วงสงครามการค้าทวีความรุนแรง 

เมื่อสงครามการค้ามีแนวโน้มลดความรุนแรงลง นักลงุทนเชื่อมั่นมากขึ้น เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เงินบาทก็สามารถแข็งค่าขึ้นตามเช่นกัน 

EIC ประเมินว่า การแข็งค่าเงินบาทในปี 2020 จะลดน้อยลงเมื่อเทียบปี 2019 โดยดุลบัญชีการเงินไทย อาจขาดดุลมากขึ้นเล็กน้อย แรงกดดันจากการขายทำกำไรทองคำมีแนวโน้มลดลง แนวโน้มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายระหว่างไทยและประเทศเศรษฐกิจหลักมีผลกระทบเล็กน้อย 

ที่มา – EIC SCB 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/thai-baht-strength-until-the-end-of-2020/