คลังเก็บป้ายกำกับ: CPU_COOLER

พัดลมคอม RGB แต่งคอมสวย ลมแรง ทนทาน 9 รุ่นเด็ดในงบหลักร้อยปี 2023 รุ่นไหนเด็ด

พัดลมคอม RGB 2023 งบหลักร้อย 9 รุ่น แต่งคอมสวย ไฟปรับแต่งได้ เปลี่ยนง่าย แรงลมดีใช้งานได้นาน

9 RGB Case fan 2023 cov

พัดลมคอม RGB นับเป็นอุปกรณ์ยอดฮิตในยุคที่อะไรก็ต้องแสงสีไฟ RGB สดใสเอาไว้ก่อน เพราะหาซื้อง่าย แต่งเคสคอมก็สวย หรือแทนพัดลมฮีตซิงก์ก็ง่าย ติดตั้งได้เลย ราคาสบายกระเป๋า เริ่มแค่ร้อยกว่าบาทก็หาซื้อได้แล้ว แต่พัดลม RGB มีหลายตัวเลือก จะเน้นเรียบง่าย ราคาไม่แรง ก็อาจจะปรับแต่งไม่ได้มาก หรืออยากเพิ่มฟังก์ชั่น ราคาก็สูงขึ้นมาอีกนิด แต่ถ้าคิดจะเล่น RGB จริงจัง ก็มีพัดลมแบบปรับแต่งได้ ต่อเข้ากับเมนบอร์ดและปรับเอฟเฟกต์แสงด้วยซอฟต์แวร์ก็มีให้เลือก ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล แต่อย่างไรก็ดี อยากให้ผู้ใช้โฟกัสที่เรื่องอื่นๆ ประกอบกันด้วย เช่น อัตรา Airflow, เสียงรบกวน รวมถึงความทนทาน เพราะคุณอาจจะไม่ได้เปลี่ยนบ่อยๆ ใช้งานได้นานและมีการรับประกันที่ดี ก็ช่วยให้คุณใช้งานได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น มาดูกันว่าพัดลมที่เรานำมาให้ชมกันในวันนี้ 9 รุ่น ในราคาหลักร้อย มีรุ่นไหนโดนใจคุณบ้าง


พัดลมคอม RGB 9 รุ่น งบหลักร้อย 2023

เลือกพัดลมคอมอย่างไรดี?

แสงไฟ ความสวยงาม: เมื่อเลือกพัดลมเคสเอาแบบสวยๆ ทั้งที ก็ควรจะมีความสวยงามเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ซึ่งแสงไฟ RGB ถือว่าตอบโจทย์ใครหลายคนได้ดีทีเดียว แต่การเป็นแสงไฟ RGB นั้น ก็มีตัวเลือกทั้งแบบแสงไฟที่ปรับไม่ได้ คือเป็นสีรูปแบบเดียว ไม่มีโพรไฟล์เปลี่ยนหรือปรับแสงไม่ได้ แต่ยังคงให้ความสวยงามได้ ในราคาสบายกระเป๋า ส่วนอีกแบบนั้น จะเป็นแสงไฟแบบที่ปรับแต่งเอฟเฟกต์แสงไฟได้ ซึ่งก็จะมีทั้งแบบที่ใช้ร่วมกับ Hub ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อพัดลมเข้ากับเมนบอร์ด และมีคอนโทรลเลอร์อยู่ภายใน เพื่อปรับเปลี่ยนแสงไฟได้ตามชอบ แต่ก็จะมีทั้งแบบควบคุมผ่านทางซอฟต์แวร์ของเมนบอร์ด หรือปรับแต่งได้จากรีโมทคอนโทรล ที่มากับตัวพัดลมเท่านั้น ก่อนเลือกใช้ก็อาจจะต้องพิจารณาในส่วนนี้ด้วย

Advertisementavw
พัดลมคอม RGB

แต่ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นก็คือ แสงไฟเป็นแบบไหน บางรุ่นสว่างเพียงแค่วงกลมที่เป็นกรอบ แต่บางรุ่นมีแสงสว่างด้านในของกรอบใบพัดลม และบางรุ่นก็มีทั้งไฟด้านนอก ด้านใน แถมบางครั้งยังกำหนดแสงไฟ ให้มีเอฟเฟกต์ต่างกันได้อีกด้วย แต่ราคาอาจจะค่อนข้างสูง แต่ก็เป็นสิ่งที่นักแต่งคอมชื่นชอบ เพราะสามารถปรับแต่งได้หลากหลาย มีความสวยงาม และให้มิติได้มากขึ้น

มิติของพัดลม: เรื่องของขนาดพัดลมก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะควรจะต้องเลือกให้เหมาะกับเคสและทิศทางการระบายความร้อน รวมถึงจุดติดตั้งภายใน บางครั้งอาจจะเลือกพัดลมใหญ่ รอบพัดลมไม่สูงมาก แต่ให้ปริมาณลมเข้าออกได้ดี แต่เคสก็ต้องรองรับได้ด้วย บางรุ่นอาจจะติดตั้งได้แค่ 120mm แต่บางเคสก็อาจจะใส่ได้ถึง 140mm เลือกใช้ตามความเหมาะสมและความสวยงาม

พัดลมคอม RGB

เพราะบางท่านก็อาจจะไม่ชอบความอลังการในแง่ของขนาดพัดลม แต่ชอบพัดลมที่ไซส์เล็กลงมา แต่ติดได้หลายๆ ตัว เพื่อให้ปรับเอฟเฟกต์และดูมีการเคลื่อนไหว ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ไม่เบื่อ หรือมีพื้นที่ติดตั้งในเคสค่อนข้างจำกัด เช่น ด้านหน้ามีชุดพัดลมของ Radiator ชุดน้ำอยู่แล้ว แต่ต้องการติดพัดลมเป่าลมเย็นเข้าตรงการ์ดจอหรือซีพียูโดยตางเท่านั้น

เสียงรบกวน: ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนใช้ในการพิจารณาเลือกพัดลมคอม แม้ว่าจะให้ความสวยงาม ระบายความร้อนได้ดี แต่ถ้าเสียงดังมากเกินไป จนรบกวนเวลาที่ใช้งาน ก็ดูจะไม่เหมาะนัก ยิ่งถ้าถึงขั้นต้องใส่หูฟัง หรือเปิดลำโพงกลบเสียง ก็ยิ่งทำให้ไม่น่าใช้ เรื่องของเสียงนี้ มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น รอบการทำงาน RPM., การออกแบบใบพัดลมหรือ เสียงของ Bearing หรือตัวที่เป็นแกนหมุนของใบพัด แต่สิ่งนี้ส่วนใหญ่สามารถเช็คได้จากสเปคที่ระบุมา ตัวเลขจะบอกเป็น dBA หรือเดซิเบล นั่นเอง

พัดลมคอม RGB

ฟีเจอร์พิเศษ: อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้นก็คือ บรรดาลูกเล่นต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นพัดลมที่รองรับการปรับแต่ง ใช้ซอฟต์แวร์เปลี่ยนเแฟเฟกต์ได้ หรือมีคอนโทรลเลอร์มาด้วย แกนใบพัดคุณภาพสูง ปรับรอบพัดลมได้ ไปจนถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างพัดลมบางรุ่น ไม่ต้องต่อสายเยอะให้วุ่นวาย แค่ติดพัดลมเข้าด้วยกัน โดยแม่เหล็ก พัดลมก็หมุนได้แล้ว นับว่าเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ล้ำๆ ของพัดลมในยุคใหม่นี้


1.EGA TYPE-F2

พัดลมคอม RGB

เรามาเริ่มต้นกับพัดลมคอม RGB ราคาเบาๆ ร้อยบาทต้นๆ จากทาง EGA รุ่นนี้ Type-F2 ที่จัดว่าน่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะมาในแบบ Dual Light คือมีทั้งแสงไฟภายใน และตัวกรอบหรือบอดี้ของพัดลม ก็มีแสงไฟด้วยเช่นกัน มาในขนาด 120mm และให้รอบพัดลมระดับ 1,500rpm. เรื่อง Airflow จัดว่าน่าพอใจ อยู่ที่ราวๆ 56.6 CFM และมีเสียงรบกวนแค่ 27dBA เท่านั้น การเชื่อมต่อใช้ Molex 4-pins ต่อเข้ากับหัวต่อเพาเวอร์ซัพพลายได้โดยตรง แต่เรื่องของไฟจะเป็นแบบ Multi-Color คือ ไม่มีโหมดปรับเอฟเฟกต์แสงไฟ แต่เป็นสีเดียว งบจำกัด ไม่เน้นปรับแต่ง ก็จัดได้แบบสวยๆ ในงบ 159 บาท/ตัว เท่านั้น

จุดเด่น ข้อสังเกต
มีแสงไฟทั้งกรอบและภายในของพัดลม ปรับแต่งแสงไฟไม่ได้
เสียงรบกวนน้อย

ไปช้อปได้ที่: EGA


2.Tsunami Tron RGB

พัดลมคอม RGB

มาถึงอีกพัดลมคอม RGB อีกรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจ ราคาจับต้องได้ในรุ่น Tsunami Tron RGB Tsunami Tron RGB เป็นพัดลมขนาด 120mm ที่จัดว่ามีความโดดเด่นน่าสนใจ เพราะสามารถซิงก์แสงไฟกับพัดลมที่สนับสนุน cRGB Sync ได้ ซึ่งมีหลายรุ่นเลยทีเดียวในซีรีส์ของ Tsunami แสงไฟจะเป็นแบบสว่างจากขอบด้านนอก และด้านในของพัดลม ใช้การต่อสายไฟแบบ Molex 4-pins และมีสายซิงก์ใช้เชื่อมต่อระหว่างพัดลมรุ่นเดียวกัน เพื่อซิงก์สัญญาณไฟให้เหมือนกัน โดยจะปรับเปลี่ยนผ่านทางปุ่ม Reset ของเคสที่จะต่อเข้ากับพัดลม มีจุดยึดทั้ง 4 มุม มีตัวลดแรงสั่นสะเทือน แม้รอบการทำงานจะไม่สูงนัก แต่กลับให้ค่าปริมาณลมผ่านได้เยอะทีเดียว พร้อมกับเสียงรบกวนที่น้อย ถ้ามองในแง่ความสวยงาม การซิงก์ที่ง่าย แม้จะไม่สามารถปรับเอฟเฟกต์แบบละเอียดได้บนซอฟต์แวร์ แต่เมื่อเทียบราคากับคุณสมบัติ ถือว่าน่าใช้ในราคา 169 บาท เท่านั้น

จุดเด่น ข้อสังเกต
การต่อพ่วงระหว่างพัดลมทำได้ง่าย ไม่รองรับการต่อ Controler box
แสงไฟสวย ปรับเอฟเฟกต์ได้พร้อมกัน

ไปช้อปได้ที่: Tsunami


3.Tsunami Phantom RGB

พัดลมคอม RGB

Tsunami Phantom พัดลมคอม RGB ที่มีดีไซน์แปลกตา แต่สามารถใช้ร่วมกับพัดลม Tsunami ที่รองรับ cRGB sync ได้ ด้วยการต่อสายสัญญาณเข้ากัน พร้อมการปรับแต่งผ่านทาง Reset switch บนเคสคอม โดยพัดลมในรุ่นนี้ มีแสงไฟสว่างจากด้านใน ความสว่างถือว่าจัดจ้านทีเดียว ให้อัตราลมได้ถึง 40CFM และรอบพัดลมไม่สูงนัก ทำให้เสียงรบกวนค่อนข้างน้อย กับขนาด 120mm ที่เข้าได้กับเคสในทุกประเภท การเชื่อมต่อใช้กับ Molex 4-pins และมีหัวต่อที่ซิงก์เข้ากับพัดลมในแบบเดียวกันได้ เคาะราคาที่ 190 บาท ใครชอบความดิบโหด แต่งเคสแบบเน้นแสงสว่างจัดๆ รุ่นนี้น่าสนใจ

จุดเด่น ข้อสังเกต
เชื่อมต่อพัดลมหลายตัวร่วมกัน ไม่รองรับการใช้ซอฟต์แวร์
ไฟสว่าง แสงสีสดใส

ไปช้อปได้ที่: Tsunami


4.ID-COOLING XF-12025 ARGB

พัดลมคอม RGB

ID-COOLING XF-12025 ARGB เป็นพัดลมคอม RGB อีกหนึ่งรุ่นที่มีความสวยลงตัวกับแสงไฟที่ปรับเปลี่ยนได้ แสงไฟออกมาจากแกนของพัดลม ทำให้ดูเนียนตามากขึ้น รวมถึงการปรับรอบพัดลมและเสียง โดยสามารถเชื่อมเข้ากับเมนบอร์ดที่มี ARGB ได้ เพื่อปรับแต่งแสงไฟตามชอบ ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเด่น เพราะราคาไม่ถึง 300 บาท แต่ใช้ร่วมกับเมนบอร์ดค่ายต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น MSI, ASRock, GIGBAYTE หรือจะเป็น ASUS ก็ตาม ใบพัดออกแบบมาเป็นพิเศษ ให้อัตราการไหลของลมได้มากขึ้นระดับ 62CFM เลยทีเดียว บนรอบการทำงาน 1500RPM แผ่นยางตรงจุดยึด ที่ลดการสั่นสะเทือน ลดเสียงรบกวนได้ดี ในงบ 270 บาท ต้องถือว่าให้มาคุ้มค่าทีเดียว

จุดเด่น ข้อสังเกต
ซิงก์กับเมนบอร์ดที่มี ARGB ได้
ให้อัตราปริมาณลมได้เยอะ

ไปช้อปได้ที่: ID-COOLING


5.Cooler Master MF120 ARGB S2

พัดลมคอม RGB

Cooler MasterFan MF120 S2 รุ่นนี้เป็นซีรีส์ที่ค่อนข้างใหม่ ออกแบบมาแหวกแนวจากเดิมของค่ายนี้ เน้นที่โซลูชั่นการระบายอากาศได้รวดเร็ว ใช้ได้ทั้งพัดลมเคส หรือจะใช้เป็นพัดลมซีพียูก็ได้ มาพร้อมแสงไฟ ARGB ในแบบ Dual Loop สีสันสดใสทั้งด้านนอกและด้านใจ พร้อมฟีเจอร์ลดเสียงรบกวน โดยออกแบบพัดลมชุดใหม่ จุดเด่นแสงไฟจะอยู่บริเวณขอบของพัดลม ดูสบายตา ตัดกับโทนหลักสีดำ กับแกนพัดลมในแบบ Rifle Bearing ที่เน้นความทนทานใช้ได้นาน จุดติดตั้ง 4 ด้าน มีตัวกันสะเทือนมาให้ เสียงรบกวนน้อยแค่ 15 dBA เท่านั้น จัดว่าเป็นพัดลม RGB หลักร้อยที่น่าจับตาทีเดียวในงบ 250 บาท รับประกัน 2 ปี

จุดเด่น ข้อสังเกต
ARGB ต่อเมนบอร์ดตั้งเอฟเฟกต์แสงไฟได้
Rifle Bearing ใช้งานได้นาน

ไปช้อปได้ที่: OCPC


6.Cooler Master SICKLEFLOW ARGB

พัดลมคอม RGB

Cooler Master SICKLEFLOW ARGB เป็นพัดลมคอม RGB ที่ได้รับการอัพเดตขึ้นมาอีกระดับ กับชุด Bearing พัดลมออกแบบใหม่ ให้ประสิทธิภาพที่ดี ไหลลื่น และปิดกั้นฝุ่นละอองเข้าสู่ภายใน ทำให้ใช้งานได้นานขึ้น ลดเสียงรบกวน จุดเด่นอยู่ที่แสงไฟ RGB ที่สว่างสดใสอยู่ภายใน ปรับแต่งเอฟเฟกต์ได้ ด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับ ARGB บนเมนบอร์ด พร้อมคอนเนกเตอร์ที่ใช้ล็อคหัวต่อ ARGB ได้อย่างแน่นหนา จัดว่าหาได้ยากในพัดลมระดับเดียวกัน ให้รอบการทำงานสูงสุด 1800RPM และ Airflow ที่มากถึง 62CFM เลยทีเดียว การรับประกัน 2 ปี ในราคา 350 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
ให้รอบพัดลมได้สูงถึง 1800RPM
ปรับแต่งแสงไฟด้วย ARGB บนเมนบอร์ด

ไปช้อปได้ที่: CoolerMaster


7.OCPC VELOCITA VC-120P

พัดลมคอม RGB

OCPC VELOCITA VC-120P พัดลมดีไซน์ล้ำ มาพร้อม Hydro Bearing ทนทานและรองรับการใช้งานต่อเนื่อง ให้รอบได้ถึง 1800RPM และ Airflow มากถึง 56CFM มีเสียงรบกวนที่น้อยมาก แสงไฟเป็นแบบ ARGB ที่สามารถซิงก์เข้ากับเมนบอร์ดที่รองรับได้ และปรับเอฟเฟกต์ได้อย่างสวยงาม ความสว่างสดใสมีทั้งขอบด้านนอกและด้านในของพัดลม และขอบด้านข้างที่เล็ก จึงประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เข้ากันได้กับเคสหลากหลายแบบ จุดที่เพิ่มพิเศษขึ้นมา นั่นคือ อายุการใช้งานที่นานถึง 40000 ชั่วโมง และรับประกันอีก 2 ปี ในราคา 350 บาทเท่านั้น

จุดเด่น ข้อสังเกต
อายุการใช้งานยาวนาน รับประกัน 2 ปี
เชื่อมต่อกับเมนบอร์ด ปรับแสงไฟได้ตามชอบ

ไปช้อปได้ที่: OCPC


8.Silverstone AIR BLAZER 120R ARGB

พัดลมคอม RGB

Silverstone AIR BLAZER 120R จัดเป็นพัดลมคอม RGB ที่มีแสงไฟสวยสดใส และยังปรับแต่งได้ เข้ากับเมนบอร์ดได้ดี ผ่านทางพอร์ต ARGB พร้อมฟีเจอร์ PWM ปรับรอบการทำงานตามความเหมาะสม ดีไซน์ Cooling ค่อนข้างทันสมัย มาในบอดี้สีดำ เหมาะกับการใช้ร่วมกับ Radiator หรือจะติดตั้งกับเคส และชุดพัดลมซีพียูได้อีกด้วย มีแผ่นยางรองกันสะเทือน ให้ปริมาณลมมาก 93.97 แต่เสียงรบกวนไม่มาก ใบพัดลมมีถึง 9 ใบด้วยกัน กับรอบการทำงานสูงสุดถึง 2200RPM การเชื่อมต่อผ่านทางหัวต่อ 4-pin PWM และ ARGB โดยมี Hydraulic Bearing ที่มีความทนทานมากพอสมควร พัดลมรุ่นนี้รับประกัน 1 ปี ราคา 390 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
ให้อัตรา Airflow สูงมาก มีเสียงในการทำงานขณะรอบสูง
รองรับการต่อ ARGB เมนบอร์ดและคอนโทรลเลอร์

ไปช้อปได้ที่: Silverstone


9.ASUS TUF 120 ARGB

พัดลมคอม RGB

ASUS TUF 120 ARGB พัดลมคอม RGB ใส่เคสสายพันธุ์แกร่งจาก TUF series ที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่ช่วยยืดอายุการใช้งานได้ยาวนาน ลดเสียงรบกวนได้ดี ด้วยรูปแบบของใบพัดที่ออกแบบมาใหม่ กับฟีเจอร์ PWM เพื่อปรับให้เข้ากับ Workload ในแต่ละแบบ ลดแรงสั่นสะเทือน พร้อมแสงไฟ LED ที่เชื่อมโยงเข้ากับ AURA Sync ได้อีกด้วย ช่วยให้ปรับเอฟเฟกต์แสงได้ตามใจชอบ แสงไฟนั้นเป็นแบบ Double Layer ทำให้ดูมีมิติมากขึ้น ให้รอบการทำงานได้ถึง 1900RPM และ Airflow เยอะสุดๆ ถึง 76CFM เลยทีเดียว สามารถใช้ร่วมกับรีโมทพื้นฐาน ARGB Controller หรือต่อกับเมนบอร์ดได้ รับประกัน 5 ปี เคาะราคาที่ 890 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
ให้อัตรา Airflow ที่สูง ต่อกับกล่องควบคุมได้
มีความทนทานสูงใช้งานได้นาน

ไปช้อปได้ที่: ASUS


Conclusion

Model Dimension
(mm.)
RPM Airflow
(CFM)
dBA Effect Price
(Baht)
1.EGA TYPE-F2 120×120 1500 56.8 27 Fix 159
2.Tsunami Tron RGB 120×120 1200 38.5 21.2 cRGB Sync 169
3.Tsunami Phantom RGB 120×120 1200 40 21.2 cRGB Sync 190
4.Cooler Master MF120 ARGB S2 120×120 1200 32 15 ARGB 250
5.ID-COOLING XF-12025 120×120 1500 62 26.4 ARGB 270
6.Cooler Master SICKLEFLOW ARGB 120×120 1800 62 27 ARGB 350
7.OCPC VELOCITA VC-120P 120×120 1800 56 24 ARGB 350
8.Silverstone AIR BLAZER 120R 120×120 2200 93.97 35.6 ARGB 390
9.ASUS TUF 120 ARGB 120×120 1900 76 29 ARGB 890

สุดท้ายนี้นักแต่งคอม แต่งเคสสวย ก็น่าจะมีทางออกในการเลือกพัดลมคอม RGB มาแต่งเคสกันได้ง่ายขึ้น และถือว่าการเปลี่ยนพัดลม คุณจะได้ประโยชน์ 2 ต่อ ไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต่ยังได้การระบายความร้อนที่ดีขึ้น อย่างเช่นพัดลมที่เราแนะนำบางรุ่นอย่าง Silverstone กับพัดลมรอบจัด เสียงอาจจะดังอยู่บ้าง แต่ได้ปริมาณลมเต็มๆ หรือจะเน้นปรับแต่งสวย ก็มีให้เลือกหลายรุ่น ที่ต่อกับเมนบอร์ดใช้ไฟ ARGB ที่ปรับแต่งเอฟเฟกต์ได้หลากหลาย แต่ถ้าเน้นเสียงเบาๆ ก็มี CoolerMaster MF120 ให้เลือก แต่ถ้าอยากได้งบสบายกระเป๋า ร้อยต้นๆ ก็มีทั้ง EGA และ Tsunami ส่วนใครชอบความถึกทน จัดไปที่ ASUS TUF ประกันยาวๆ ใช้จนลืมได้เลย ขอให้สนุกกับการแต่งคอมตัวโปรดของคุณกันครับ

from:https://notebookspec.com/web/696274-9-chassis-fan-rgb-100baht-2023

เคสคอมจิ๋ว Mini-ITX สวย ประกอบง่าย ไม่เกิน 5,000 เพิ่มไฟ ใส่ชุดน้ำก็สวย

เคสคอมไซส์เล็ก 2022 ประกอบคอม เคส mini-ITX ไม่ถึง 5 พันบาท อัพเกรดง่าย จัดโต๊ะคอมสวย

เคสคอม

เคสคอมไซส์เล็ก งบไม่เกิน 5,000 บาท ยังคงเป็นที่นิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยการประกอบก็ง่ายดายขึ้นกว่าเดิม และมีตัวเลือกของฮาร์ดแวร์เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ดขนาด mini-ITX ที่มีตั้งแต่เมนบอร์ดระดับเริ่มต้น เน้นการใช้งานพื้นฐาน ราคาไม่สูงมาก ไปจนถึงเมนบอร์ดระดับไฮเอนด์ เพื่อคอเกมและคนทำงาน ที่ต้องการความมินิมอล แต่ใส่ซีพียูตัวแรงๆ ได้ ซึ่งมีให้เห็นทั้งของที่เป็นซ็อกเก็ตจาก AMD หรือจะเป็น LGA ของทาง Intel ก็ตาม นอกจากนี้กราฟิกการ์ด ก็มีให้ใช้งานมากขึ้น บางรุ่นตัวแรงๆ ก็จับมาใส่ให้อยู่ในการ์ดตัวกระทัดรัดได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น GeForce GTX1660s หรือว่า Radeon RX6600XT ก็ตาม และที่สำคัญเพาเวอร์ซัพพลายระดับ SFX ที่เป็นไซส์เล็ก ให้คนที่ชื่นชอบเคสขนาดเล็ก ได้ประหยัดพื้นที่ภายใน เพื่อเพิ่มการ์ดจอขนาดใหญ่ หรือการจัดสายต่างๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ก็มีให้เลือกอีกหลายรุ่น และที่สำคัญผู้ใช้ยังได้เลือกสไตล์ของเคสให้เป็นไปตามแนวทางของตนเองได้ ในราคาที่ลงตัวมากที่สุด วันนี้จึงขอจัดเคสขนาดเล็ก ไซส์กระทัดรัดในงบประหยัดเอามาฝากกันครับ

เคสคอมไซส์เล็ก

  1. Cooler Master MASTERBOX NR200P
  2. Lian-Li Q58W4
  3. NZXT H210 Mini-ITX
  4. PHANTEKS ENTHOO EVOLV Mini-ITX
  5. PHANTEKS EVOLV SHIFT 2 AIR
  6. Jonsbo T8 Handle Mini ITX
  7. InWin Chopin Pro
  8. Thermaltake THE TOWER 100
  9. Metalfish S3 Plus Mini ITX
  10. ASUS AP201 PRIME

1.Cooler Master MASTERBOX NR200P

เคสคอม

จัดว่าเป็นเคสคอมไซส์เล็กที่ได้รับความนิยมไม่น้อยเลย เพราะหาซื้อง่าย ติดตั้งไม่ซับซ้อน ราคาเอื้อมถึง และวัสดุ และการประกอบทำได้ดี มีพื้นที่มากพอสำหรับการ์ดจอขนาดใหญ่ รองรับการ์ด 3 สล็อตได้ไม่ยาก จุดเด่นอยู่ที่ รองรับการติดตั้ง Radiator หรือเพิ่มชุดพัดลมขนาดใหญ่ได้ เลือกติดตั้งการ์ดจอได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง การติดตั้งก็แทบไม่ต้องใช้เครื่องมือ มีบ้างในบางจุดเท่านั้น มีตัวเลือกฝาปิดทั้ง Tempered glass และแบบเจาะรู เพื่อเน้นอัตราลมเพื่อการระบายอากาศ ใครที่มองหาเคสขนาดเล็ก หรือจะเริ่มต้นกับ mini-ITX แบบที่เข้าใจง่าย ประกอบสะดวก วัสดุจัดว่าดี มาฟังก์ชั่นที่ยืดหยุ่น Cooler Master MASTERBOX NR200P รุ่นนี้ตอบโจทย์คุณได้ในราคาประมาณ 3,390 บาทเท่านั้น

Advertisementavw
Description
Materials Steel, Plastic, Mesh, Tempered Glass
Dimensions (L x W x H) 376 x 185 x 292mm
Expansion Slots 3
I/O Panel USB 3.2 Type-A x2, 3.5mm Headset Jack x1
Pre-installed Fans Top x2, Rear x2, Bottom x2, Side x2
Power Supply Support SFX, SFX-L
GPU LENGTH 330mm
Price 3,390 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม: Cooler Master


2.Lian-Li Q58W4

เคสคอม

เป็นเคสคอมไซส์เล็กที่เข้ามาเติมเต็มความต้องการของคนที่จะเล่นพีซีแบบมินิได้เป็นอย่างดี เพราะวัสดุที่ดูมีความพรีเมียม น้ำหนักไม่มากเกินไป และให้ความพรีเมียมอยู่ไม่น้อย เพราะเส้นสายที่จัดว่าออกมาสวย ในโทนแบ่งครึ่งบนล่าง เพิ่มความใสด้วยกระจกเทมเปอร์ เสริมด้วยตะแกรง เพื่อเพิ่มอัตราลมระบายความร้อน เปิดฝาและชิ้นส่วนได้ง่าย เพราะเป็นแม่เหล็ก และสกรูที่แทบจะไม่ต้องใช้เครื่องมือ พื้นที่ภายในขนาด 15L รองรับการ์ดจอได้ที่ 320mm และมีช่องว่างมากพอสำหรับติดตั้ง Radiator 280mm คุณสามารถเลือกใช้เพาเวอร์ซัพพลายได้ทั้ง SFX, SFX-L และ ATX เลือกที่จะติดตั้งการ์ดจอได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ด้านหน้ามีพอร์ต USB-C มาให้ เรียกว่าครบครันในทุกสิ่งที่ต้องมี โดยเคาะราคาที่ 4,890 บาท

Description
Materials Steel, Plastic, Mesh, Tempered Glass
Dimensions (L x W x H) 342 x 170 x 250mm
Expansion Slots 3
I/O Panel USB 3.0 1x, USB 3.1 TYPE-C 1x, HD AUDIO x1
Pre-installed Fans Top x2, Bottom x1
Power Supply Support SFX/SFX-L/ATX (max length 160mm)
GPU LENGTH 320mm
Price 4,890 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม: Lian-Li


3.NZXT H210 Mini-ITX

เคสคอม

น่าจะเป็นเคสคอม mini-ITX ที่ตรงจริตใครหลายคน กับโทนสีขาว-ดำ ขนาดกำลังพอเหมาะ ไม่เล็กเกินไป และได้ความสวยงามที่แต่งเติมเอาไว้ในหลายๆ จุดด้วยกัน พื้นที่ด้านในค่อนข้างกว้างขวาง เพราะมิติด้านข้างค่อนข้างใหญ่ จึงรองรับทั้งฮีตซิงก์และการ์ดจอที่มีความสูงได้มากขึ้น และด้านหน้าให้พื้นที่ติดตั้ง Radiator 240mm ได้ การติดตั้งพัดลมโดยรวมอยู่ที่ 3-6 ตัวด้วยกัน จุดเด่นคือ รองรับการติดตั้งเพาเวอร์ขนาดใหญ่ได้ กระจกข้างเทมเปอร์ รองรับการ์ดจอที่ความยาว 325mm แต่จะรองรับการ์ดจอได้แบบ 2 สล็อต รวมถึงน้ำหนักอาจจะมากไปสักหน่อยเท่านั้น แต่เรื่องราคาถือว่าทำได้ดีทีเดียว 3,090 บาท

Description
Materials Steel, Plastic, Mesh, Tempered Glass
Dimensions (L x W x H) 349 x 210 x 372mm
Expansion Slots 2
I/O Panel USB 3.2 Type-A x1, USB 3.2 Type-C x1, Audio Jack x1
Pre-installed Fans Top x1, Rear x1, Front x1
Power Supply Support SFX
GPU LENGTH 325mm
Price 3,090 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม: NZXT


4.PHANTEKS ENTHOO EVOLV Mini-ITX

เคสคอม

เป็นอีกหนึ่งเคสคอมไซส์เล็กที่ได้รับความนิยมไม่เป็นรองใคร โดยเฉพาะเรื่องของราคาที่ทำได้ดี ไม่ถึง 3,000 บาท แต่ได้เคสขนาดเล็ก กระจกเทมเปอร์ และงานประกอบที่ถือว่าปราณีต พื้นที่ภายในกว้างขวาง และยืดหยุ่น จัดวางการ์ดจอตัวยาวได้ถึง 330mm หรือจะใช้พื้นที่ในการติดตั้ง SSD หรือ HDD ก็แค่ถอดบางชิ้นออกเท่านั้น เพาเวอร์ใช้ได้ตั้งแต่ ATX มาตรฐานไปจนถึง SFX เลือกใช้งานได้ตามสะดวก แม้ฟังก์ชั่นจะไม่ได้หวือหวามากนัก ถ้าเทียบกับในหลายๆ รุ่น แต่เรื่องราคา 2,990 บาท ก็ทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลย

Description
Materials Steel plates, Plastic, Steel chassis
Dimensions (L x W x H) 230 x 375 x 395mm
Expansion Slots 2
I/O Panel USB 3.0 Type-A x2, Audio Jack x1
Pre-installed Fans Top x2, Rear x1, Front x2
Power Supply Support SFX
GPU LENGTH 330mm
Price 2,990 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม: PHANTEKS


5.PHANTEKS EVOLV SHIFT 2 AIR

เคสคอม

เคสคอมขนาดเล็ก ที่อยู่ในฟอร์มของแนวตั้ง ดูเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ให้คุณใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า รองรับเพาเวอร์ได้ทั้งแบบ SFX และ SFX-L เพื่อความสะดวก จุดเด่นยังอยู่ที่รูปลักษณ์ แม้การติดตั้งจะไม่เหมือนกันเคสแนวนอนร้อยเปอร์เซนต์ แต่เรื่องการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ทำได้ง่าย โดย I/O จะถูกหันขึ้นไปด้านบนเคส และเพาเวอร์จะอยู่ด้านล่าง รองรับการติดตั้ง Radiator ส่วนการ์ดจอจะถูกวางเอาไว้ด้านหน้า รองรับได้ยาวสุดที่ 335mm ช่องดูดลมเย็นจะเข้าจากด้านล่าง ด้วยการติดตั้งพัดลมได้ถึง 3 ตัว และดูดออกไปยังด้านข้างและด้านบน ซึ่งเป็นทางลมที่ช่วยเรื่องการระบายความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังโชว์แสงไฟ RGB ที่ซิงก์กับซอฟต์แวร์ D-RGB ได้อีกด้วย ราคา 3,590 บาท

Description
Materials Steel, Plastic, Mesh, Tempered Glass
Dimensions (L x W x H) 186 x 490 x 274mm
Expansion Slots 3
I/O Panel USB 3.0 Type-A x2
Pre-installed Fans Rear x2, Bottom x1
Power Supply Support SFX, SFX-L
GPU LENGTH 335mm
Price 3,590 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม: PHANTEKS


6.Jonsbo T8 Handle Mini ITX

เคสคอม

เคสในไซส์มินิมอลที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในตัว เพื่อคนที่อยากเริ่มต้นกับเคสขนาดเล็กของจริง เพราะมิติที่ให้มา แทบจะเล็กที่สุดในการ 10 รุ่นที่เรานำมาในครั้งนี้ จุดเด่นนอกจากเล็กกระทัดรัด ยังรวมถึงทำหูหิ้วมาเพื่อให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก โครงสร้างและวัสดุ มีทั้งอลูมิเนียมและแม็กนิเซียมอัลลอย น้ำหนักค่อนข้างเบา เพราะอยู่ที่ 3 กิโลกรัมเท่านั้น ภายในยังจัดให้ติดตั้งพัดลมขนาดใหญ่ได้ ด้านบนใส่แบบ 140mm ได้ 1 ตัว ส่วนด้านข้างเป็นกระจกเทมเปอร์ใสๆ มองเห็นภายในได้ชัด อย่างไรก็ดีด้วยมิติที่เล็ก จึงรองรับการ์ดจอในแบบ Mini-ITX ได้เท่านั้น ซึ่งอาจจะหายากอยู่บ้าง แต่ก็พอมี เคสนี้จึงเหมาะกับสายออนบอร์ด รวมถึงคนที่หาอุปกรณ์ที่ยัดลงได้ ประหยัดพื้นที่โต๊ะได้มากเลยทีเดียว

Description
Materials Steel, Plastic, Mesh, Tempered Glass
Dimensions (L x W x H) 160 x 242 x 218mm
Expansion Slots 2
I/O Panel USB3.0 x2
Pre-installed Fans Top x1, Front x2
Power Supply Support SFX/ ATX
GPU LENGTH 210mm
Price 3,690 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม: Jonsbo


7.InWin Chopin Pro

เคสคอม

เป็นเคสคอมตัวเล็กขนาด 3.3L เท่านั้น แต่ใส่ฟังก์ชั่นมาได้น่าสนใจ กับจุดไฮไลต์อยู่ที่ความเล็กและบาง แต่มีความพรีเมียม ด้วยอลูมิเนียมที่หนาถึง 4mm และพื้นที่ภายในกว้างขวาง สำหรับเมนบอร์ดที่เป็นออนบอร์ดขนาดเล็ก ให้เพาเวอร์ระดับ 200W ที่เป็น 80 Plus Gold มาให้ ซึ่งตอบโจทย์กับคนทำงานและใช้เป็นเอนเตอร์เทนเมนต์ จัดเก็บข้อมูลหรือใช้เรียนออนไลน์ เล่นหุ้นได้สบาย การระบายความร้อนดูดจากด้านข้างที่เป็นตะแกรงขนาดใหญ่ ดันลมร้อนออกทางด้านบน ด้านหลังมีพื้นที่สำหรับติดตั้ง SSD SATA มาให้ น้ำหนักตัวเบาสุดๆ แค่ 2.2Kg เท่านั้น สนนราคาอยู่ที่ประมาณ 3,990 บาท

Description
Materials Steel, Plastic, Mesh, Tempered Glass
Dimensions (L x W x H) 244 x 84 x 217mm
Expansion Slots 2
I/O Panel USB 3.0 x2
Pre-installed Fans
Power Supply Support Built-in
GPU LENGTH
Price 3,990 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม: InWin


8.Thermaltake THE TOWER 100

เคสคอม

เคสคอมในแบบ ITX แต่สเปคไม่ธรรมดา ใครที่ชื่นชอบความสนุกของค่ายนี้ ก็ไม่ควรพลาดกับ THE TOWER 100 ที่แม้จะไม่ได้มาในแบบแนวนอนที่คุ้นตา แต่แนวตั้งที่ได้พลังมาจากเคสรุ่นพี่ ก็ทำให้รู้สึกฟินได้ กับการโชว์ได้เกือบ 180 องศา ด้วยกระจกใสเทมเปอร์ 3 ด้าน พร้อมจุดเด่น ที่มีพื้นที่ติดตั้งกว้างขวาง และการระบายความร้อนที่ดี รองรับ Radiator 240mm และรองรับการ์ดจอได้ยาวถึง 330mm แม้ว่าจะใหญ่ไปสักนิดสำหรับการรวบรวมในครั้งนี้ และน้ำหนักถึง 6Kg แต่ถ้ามองความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำแบบใคร และสามารถปรับเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ได้ง่ายแล้ว ราคาประมาณ 3,390 บาท ก็น่าสนใจไม่น้อยเลย

Description
Materials Steel, Plastic, Mesh, Tempered Glass
Dimensions (L x W x H) 266 x 266 x 462.8mm
Expansion Slots 3
I/O Panel USB 3.0 Type-A x2, Type-C x1, Headphone x1, Mic x1
Pre-installed Fans Top x1, Bottom x1
Power Supply Support ATX
GPU LENGTH 330mm
Price 3,390 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม: Thermaltake


9.Metalfish S3 Plus Mini ITX

เคสคอม

เคสขนาดเล็กในแบบ Mini-ITX ในระดับ 9.4L กับน้ำหนักเพียง 1.2Kg เล็กจนแทบจะเรียกว่าเป็นกระเป๋าเดินทางแบบพกพาก็ว่าได้ วัสดุหลักเป็นอะลูมิเนียม กับด้านข้างเป็นกระจกเทมเปอร์ และโลหะที่เป็นโครงสร้าง มีความแข็งแรง ใช้การผลิตแบบ CNC จึงมีความพรีเมียม แข็งแรง รองรับเพาเวอร์ซัพพลาย SFX และ SFX-L พร้อมฟังก์ชั่นที่เป็นหูจับด้านบน พื้นที่ด้านในรองรับการติดตั้ง Radiator ได้อีกด้วย ราคาประมาณ 3,000 บาท

Description
Materials Steel, Plastic, Mesh, Tempered Glass
Dimensions (L x W x H) 140 x 240 x 280mm
Expansion Slots 2
I/O Panel USB 3.0 x2
Pre-installed Fans Top x1
Power Supply Support SFX-L
GPU LENGTH 110mm
Price 3,000 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม: Metalfish


10.ASUS AP201 PRIME

เคสคอม

ASUS AP201 อาจไม่ได้เป็นเคสคอมไซส์เล็กที่สุดในการรวบรวมครั้งนี้ก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในระดับ 33L ที่บึกบึนขึ้นมากหน่อย แต่ก็มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะความสวยงามของบอดี้ที่ดูลงตัว ภายในไม่บีบแน่นเกินไป ประกอบฮาร์ดแวร์ได้ไม่ยาก รองรับการ์ดจอขนาดใหญ่ได้ถึง 33.8cm และจุดใส่เพาเวอร์ซัพพลาย ที่รองรับขนาด ATX ได้สบาย ติดตั้งพัดลมได้มากกว่าในเคสระดับเดียวกันบางรุ่น และพอร์ตด้านหน้าเคสที่มีให้แบบจัดเต็ม จุดเด่นคือ ช่องระบายลมที่มีอยู่รอบตัว และมีฟิลเตอร์กรองฝุ่นด้านใน การติดตั้งแทบไม่ต้องใช้เครื่องมือ หรือถ้าใครชอบชุดน้ำสวยๆ ก็ยังเติม Radiator ได้มากสุด 360mm และเพิ่มพัดลมได้ทั้งหมดถึง 6 ตัวด้วยกัน ที่น่าสนใจคือ ติดตั้งพัดลมได้เกือบรอบตัว ขาดแค่ด้านข้างเท่านั้น ทำให้จัดช่องทางระบายลมได้ดีกว่าเดิม ชิ้นส่วนแทบจะเรียกได้ว่า ถอดได้เกือบทั้งหมด แถมด้านหลังเคส ยังเหลือพื้นที่ให้กับการจัดสายไฟได้ง่ายอีกด้วย สนนราคาอยู่ที่ประมาณ 2,500 บาทเท่านั้น

Description
Materials Steel, Plastic, Mesh, Tempered Glass
Dimensions (L x W x H) 205 x 350 x 460 mm
Expansion Slots 4
I/O Panel USB 3.2 Type-A x1, USB 3.2 Type-C x1, Audio Jack x2
Pre-installed Fans Top x3, Rear x1
Power Supply Support ATX, SFX
GPU LENGTH 338mm
Price 2,500

รายละเอียดเพิ่มเติม: ASUS


Conclusion

Dimensions Expansion Slots Pre-installed Fans Power Supply Tempered glass price
1.CM MASTERBOX NR200P 376 x 185 x 292mm 3 6 SFX, SFX-L Yes 3,390
2.Lian-Li Q58W4 342 x 170 x 250mm 3 3 SFX/SFX-L/ATX Yes 4,890
3.NZXT H210 349 x 210 x 372mm 2 3 SFX Yes 3,090
4. PHANTEKS ENTHOO EVOLV 230 x 375 x 395mm 2 5 SFX Yes 2,990
5.PHANTEKS EVOLV SHIFT 2 AIR 186 x 490 x 274mm 3 3 SFX, SFX-L N/A 3,590
6.Jonsbo T8 160 x 242 x 218mm 2 3 SFX/ ATX Yes 3,690
7.InWin Chopin Pro 244 x 84 x 217mm 2 N/A Built-in Yes 3,990
8.Thermaltake THE TOWER 100 266 x 266 x 462.8mm 3 2 ATX Yes 3,390
9.Metalfish S3 Plus 140 x 240 x 280mm 2 1 SFX-L Yes 3,000
10.ASUS AP201 PRIME 205 x 350 x 460 mm 4 4 ATX, SFX N/A 2,500

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับ 10 เคสคอมไซส์เล็ก Mini-ITX ที่เราจัดมาให้ชมกันในวันนี้ แต่ละรุ่นก็มีคาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะชื่นชอบแบบไหน เพราะแม้จะเป็นเคสขนาดเล็กในระดับที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็มีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ ไม่เหมือนกัน เช่น ใครที่ชอบทรงสูง ก็มีทั้ง Thermaltake T100 และ PHANTEKS EVOLV SHIFT 2 AIR มาเป็นตัวเลือก แต่ถ้าเน้นขนาดเล็ก วัสดุพรีเมียมและบางพิเศษ Metalfish S3 หรือ Jonsbo T8 ก็น่าสนใจ ส่วนถ้าจะเน้นฟังก์ชั่นดี มีพื้นที่ประกอบง่าย Cooler Master MASTERBOX NR200P และ Lian-Li Q58W4 ก็เป็นตัวเลือกที่ไม่ควรพลาด แต่ถ้าจะว่ากันที่ราคา PHANTEKS ENTHOO EVOLV และ ASUS AP201 PRIME ก็เหมาะกับการเริ่มต้นกับเคสเล็ก ในราคาที่สบายกระเป๋าได้เช่นกัน ในท้องตลาดยังมีให้เลือกอีกหลายรุ่น ยังไงแล้วลองดูที่เหมาะกับความต้องการของคุณ อย่าลืมเรื่องพื้นที่ติดตั้งการ์ดจอ และการระบายความร้อนด้วย จะช่วยให้คุณสนุกสนานไปกับเคสตัวโปรดได้ไม่น้อยเลย

from:https://notebookspec.com/web/670664-mini-itx-case-2022-5000

DEEPCOOL LS720 ชุดน้ำปิด 3 ตอน 1700, AM5 ได้ทุกซ็อกเก็ต สวย เย็น เงียบ

DEEPCOOL LS720 ชุดน้ำปิด 3 ตอน 360 เย็นเจี๊ยบ เสียงเงียบ RGB มาเต็ม ติดตั้งง่าย ได้ทุกซ็อกเก็ต

DEEPCOOL LS720

DEEPCOOL LS720 ชุดน้ำปิด 3 ตอน 360 ติดตั้งง่าย สีสันสดใส รองรับได้ทั้งซีพียู Intel รุ่นใหม่ล่าสุด LGA1700 สำหรับ Intel Gen 12 LGA1700 และ AMD AM4/AM5 จะกำลังมาถึงในไม่ช้านี้ พร้อมเทคโนโลยี Anti-Leak ที่เป็นระบบควบคุมแรงดันภายใน ไม่ให้เกิดการรั่วซึมภายใน ปั้มน้ำขนาดใหญ่ ให้ Radiator แบบ 3 ตอน หรือ 360mm รองรับการติดตั้งพัดลม 3 ตัว ที่อัตราการไหลของลมที่มาก สำหรับการระบายความร้อนให้กับซีพียูตัวโปรดของคุณ และพัดลมที่เสียงรบกวนน้อย แต่มีความทนทาน รองรับการเชื่อมต่อแสงไฟผ่านทาง ARGB ในการปรับแสงสีให้ชุดพัดลมและปั้มน้ำในแบบ Infinity pump face ผ่านทางซอฟต์แวร์การและซิงก์ร่วมกับเมนบอร์ดชั้นนำค่ายต่างๆ อาทิ ASUS, ASRock, GIGABYTE และ MSI เป็นต้น กับการติดตั้งที่มีความสะดวกมากขึ้น ด้วยขั้วต่อพัดลมแบบใหม่ เชื่อมโยงชุดพัดลมเข้าด้วยกัน กับดีไซน์ของปั้มน้ำ ที่ดูโดดเด่น เมื่อเปิดใช้งาน

จุดเด่น

Advertisementavw
  • ติดตั้งสะดวก ชิ้นส่วนไม่เยอะ
  • ระบายความร้อนได้ดี
  • มีระบบ Anti-Leak Tech
  • เสียงพัดลมเงียบ ต่อพ่วงกันแบบ Daisy Chain
  • มีแสงไฟ RGB ทั้งพัดลมและปั้มน้ำ
  • ท่อปรับหมุนได้ง่าย มีความยืดหยุ่น
  • รองรับได้เกือบทุกซ็อกเก็ต Intel และ AMD

ข้อสังเกต

  • ปรับแต่งแสงไฟร่วมกับซอฟต์แวร์เมนบอร์ด
  • การติดตั้งปั้มน้ำ ต้องดูทิศทางและพื้นที่โดยรอบด้วย

DEEPCOOL LS720 ชุดน้ำ 3 ตอน สวยเย็นเงียบ

Specification

DEEPCOOL LS720
รองรับซ็อกเก็ต Intel LGA2066/2011-v3/2011/1700/1200/1151/1150/1155
AMD sTRX4/sTR4/AM5/AM4
น้ำหนัก 1607g
ขนาด Radiator 402 x 120 x 27mm
วัสดุของ Radiator อะลูมิเนียม
ความยาวท่อ 410mm
ขนาดของปั้ม 86 x 74 x 57mm
ความเร็วของปั้ม 3100rpm
เสียงขณะปั้มทำงาน 19 dBA
การเชื่อมต่อ 3-pin
แรงดันไฟของปั้ม 12 VDC, 0.47A
ค่าการใช้พลังงาน 5.64W
ขนาดพัดลม 120 x 120 x 25mm
ความเร็วรอบพัดลม 550-2250 rpm
อัตราลมไหลผ่าน 85.85 CFM
เสียงรบกวน น้อยกว่า 32.9 dBA
การเชื่อมต่อพัดลม 4-pin
รูปแบบพัดลม Fluid Dynamic Bearing
แรงดันไฟพัดลม 12VDC
LED Type Addressable RGB LED
รองรับการเชื่อมต่อ ASUS AURA SYNC, RAZER Chroma RGB, GIGABYTE RGB FUSION, MSI MYSTICLIGHT, ASRock POLYCHROME SYNC และ Auto RGB

Unbox

DEEPCOOL LS720

ในครั้งนี้กับแพ๊คเกจที่ดูแตกต่างออกไปจากกล่องของชุดน้ำหลายรุ่นที่ผ่านมา ซึ่งจะเน้นไปที่กล่องโทนสีเขียวอ่อน แต่สำหรับ LS720 รุ่นใหม่นี้ มาในแบบกล่องสีน้ำตาลด้านในแนว Earth tone และมีกล่องสีขาวครอบอยู่ด้านนอก พร้อมกับภาพกราฟิกของชุดน้ำ วางอยู่โดดเด่น และแถบด้านหลังก็จะเป็นรายละเอียดสเปคชุดน้ำ DEEPCOOL LS720 นี้

DEEPCOOL LS720

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลแนะนำเกี่ยว Anti-Leak ที่เป็นไฮไลต์เด่นของชุดน้ำปิด ที่เป็น Liquid Cooling ของ DEEPCOOL รุ่นนี้อีกด้วย ขออธิบายคร่าวๆ ว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นตัวช่วยในการปรับแรงดันภายในระบบชุดน้ำ ที่ทาง DEEPCOOL พัฒนาขึ้นมา เพื่อลดปัญหาการรั่วซึม ของน้ำหรือของเหลวในระบบชุดน้ำปิดหรือ AIO ด้วยการปรับช่องทางการไหลของน้ำ และมีช่องลมเล็กๆ ที่ช่วยระบายแรงดันที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะการไหลเวียนคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

DEEPCOOL LS720

และกราฟิกด้านหน้าแสดงให้เห็นว่า DEEPCOOL รุ่นนี้ ไม่เพียงแค่เป็นชุดน้ำ AIO 3 ตอนธรรมดา แต่ยังมาพร้อมแสงไฟที่สวยงาม ทั้งบนตัวปั้มน้ำและพัดลมทั้ง 3 ตัว ที่ติดตั้งอยู่บน Radiator

DEEPCOOL LS720

เมื่อแกะกล่องออกมา จะเห็นกล่องแบบกระดาษลูกฟูกภายใน เพื่อกันกระแทกมาอีกชั้นหนึ่ง และมีอุปกรณ์มาให้อีกมากมาย เรียกว่าแน่นกล่องเลยทีเดียว มาแกะดูกันทีละชิ้นดีกว่าครับ

DEEPCOOL LS720

เริ่มที่พัดลมขนาด 120 x 120 x 25mm มาในแบบใบพัดสีขาวแบบ 9 ใบพัด อยู่ในกรอบพัดลมสีดำ ตรงกลางเป็นโลโก้ DEEPCOOL ตัวพัดลมออกแบบมาค่อนข้างดีทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องของเสียงรบกวนที่น้อยกว่า 32.9 dBA ในระดับ Full Load และมีรอบการทำงานสูงสุด 2,250 rpm เลยทีเดียว รวมถึงระยะการใช้งานในสเปคระบุมาที่ 50,000 ชั่วโมง แต่จุดที่สำคัญคือ การต่อพ่วงกันระหว่างพัดลมในแบบ Daisy Chain คือมีคอนเน็คเตอร์บนพัดลมแต่ละตัว เอาสายของพัดลมมาเชื่อมต่อกัน เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น

DEEPCOOL LS720

ในกล่องสีน้ำตาลขนาดเล็กที่ใส่มาให้ เก็บอุปกรณ์สำคัญเอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือแนะนำการใช้งาน ส่วนตัวมองว่า ยังคงมีความสำคัญกับการติดตั้งอุปกรณ์ประเภท AIO ที่มีชิ้นส่วนจำนวนมากอยู่พอสมควร แต่ถ้าใครชำนาญแล้ว ก็อาจจะใช้แค่การสังเกตชิ้นส่วนและสติ๊กเกอร์ ที่มักจะบอกหน้าซองว่า ใช้กับซีพียูอะไร นอกจากนี้ในกล่องยังมีส่วนประกอบอื่นเหล่านี้อีกด้วย

DEEPCOOL LS720

ที่เห็นเป็นสายสัญญาณที่เห็นอยู่นี้ เป็นสายต่อเพาเวอร์ ที่เป็นหัวแบบ SATA โดยต่อไฟจากเพาเวอร์ซัพพลาย มายังตัวพัดลม ซึ่งในสายเดียวกันนี้ จะมีหัวต่อพัดลมแบบ 4-pin และ ARGB connector บนเมนบอร์ด ส่วนสายอีกเส้นหนึ่งใช้ต่อเข้ากับปั้มน้ำ ซึ่งสายต่อชุดนี้ ก็เกี่ยวข้องกับแสงไฟ RGB เป็นหลัก

และในแพ๊กเกจ ยังประกอบด้วยน็อตยึด ซึ่งมีขนาดต่างกัน แต่จะแยกถุงออกเป็น AMD และ Intel และมีขาล็อกเป็นชิ้นส่วนแยกออกมาให้ในแต่ละซ็อกเก็ต รวมถึงน็อตสำหรับยึดพัดลมเข้ากับ Radiator และยึดเข้ากับตัวเคสด้วย

DEEPCOOL LS720

ขาล็อคด้านใต้ที่ใช้ร่วมกับซีพียู Intel ในแบบซ็อกเก็ตต่างๆ ตั้งแต่แบบรุ่นเก่า LGA1155 มาจนถึงปัจจุบัน LGA1700 ได้ทุกซ็อกเก็ต แต่สำหรับ AMD สามารถใช้แบบของดั้งเดิมที่มีมาให้ในกล่องซีพียูได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น AMD AM4/ AM5 หรือจะเป็น sTRX4 หรือ sTR4 ก็ตาม

DEEPCOOL LS720

นอกจากนี้ก็ยังมีชิ้นส่วนคล้าย Belt ที่ใช้รัดท่อน้ำทั้งคู่ให้ขนานกันไป และดูสวยงาม เป็นลักษณะของพลาสติกแข็ง ที่มีโลโก้ DEEPCOOL ซึ่งมีให้ถึง 2 ชุดด้วยกัน


Design

DEEPCOOL LS720

ในเรื่องของการออกแบบ ถ้าเทียบกับในซีรีส์ของ GAMMAXX ที่เราเคยได้ทดสอบมาก่อนหน้านี้ ส่วนตัวมองว่า ลักษณะค่อนข้างใกล้เคียงกันมากทีเดียว จะต่างกันส่วนของรายละเอียดและรูปทรงของปั้มน้ำ ที่เดิมจะเป็นแบบกลม แต่ LS720 นี้ จะเป็นแบบเหลี่ยม และมีลูกเล่นอยู่ด้านแสงไฟด้านบนตัวปั้ม ที่เราจะมาแนะนำในรายละเอียดอีกที

DEEPCOOL LS720

สายที่้เป็นท่อน้ำ ความยาว 41cm เป็นแบบสายถักหุ้มบนท่อ ที่มีความแข็งแรง แต่ก็ให้ความยืดหยุ่น ในจุดนี้ ถือว่าใกล้เคียงกับใน GAMMAXX เลยทีเดียว แต่ที่สะดุดตาคือ ให้ตัวรัดท่อมาอีกด้วย

DEEPCOOL LS720

มาดูที่ตัวท่อกันใกล้ๆ จะเห็นได้ชัดว่า สายถักที่หุ้มท่อนี้ สามารถดัดโค้งได้ดี และมีตัวล็อคมายังปั้มน้ำและ Radiator ตัวท่อค่อนข้างยาว ช่วยให้มีระยะในการบิดตัวได้ดีขึ้น

DEEPCOOL LS720

Radiator เป็นแบบอะลูมิเนียมสีดำ มีครีบระบายความร้อนแบบแบบ แต่มีความถี่ ความหนาประมาณ 2.7cm พอติดพัดลม ก็จะพอดีๆ กับพื้นที่ด้านบนของเคส หรือจะติดด้านหน้าเคสก็สะดวกอยู่ไม่น้อย

DEEPCOOL LS720

การออกแบบท่อหรือ Tube ที่มีมาบน AIO รุ่นนี้ นอกจากจะใส่ท่อที่มีความยืดหยุ่นความยาว 41cm มาให้แล้ว ตัวหุ้มที่เป็นสายถัก ก็ยังมีตัวล็อค ให้สายวิ่งไปคู่กันแบบนี้ ทำให้ดูเป็นระเบียบสวยงามมากขึ้น

DEEPCOOL LS720

มาดูที่ตัว Water block และปั้มน้ำกันบ้าง โครงสร้างโดยรอบของปั้มนี้ เป็นโลหะ น้ำหนักพอสมควร อยู่ในโทนสีเทาเมทัลลิค และเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มิติประมาณ 86 (ย) x 74 (ก) x 57mm (ส) โดยมีสายต่อ 2 จากปั้ม 2 เส้น ประกอบด้วย สายต่อ RGB และ 3-pin สำหรับ Water pump connector สามารถเช็คดูจากเมนบอร์ดได้ หรือจะใช้คอนเน็คเตอร์พัดลม CPU Fan ก็ได้เช่นกัน

DEEPCOOL LS720

ความสูงโดยประมาณของตัวปั้ม ไม่รวมฐานที่เป็นหน้าสัมผัสทองแดง จะอยู่ที่ราวๆ 5cm ส่วนที่เหลือ ก็จะเป็นตัวโครงสร้างและฐานหน้าสัมผัส

DEEPCOOL LS720

เมื่อหงายออกมาจะเป็นแบบนี้ โครงสร้างโดยรอบจะเป็นโลหะ ครอบด้วยพลาสติกและเจาะรู สำหรับยึดขา และหน้าสัมผัสนี้ มีขนาดใหญ่มากพอสำหรับซีพียูอย่าง AMD sRTX4 ที่วางได้แบบพอดี ส่วนถ้าเป็น LGA หรือซ็อกเก็ตแบบ AM4 พื้นฐานแล้ว ครอบคลุมได้อย่างเต็มที่ โดยมีแผ่น Thermal compound มาใช้เป็นตัวเชื่อมหน้าสัมผัสให้แนบแน่น และถ่ายเทความร้อนได้ดี แต่โดยส่วนตัวมองว่า หากใครยังไม่พอใจในแผ่นช่วยระบายความร้อนนี้ ก็สามารถหาซิลิโคนคุณภาพดีๆ มาใช้แทนกันได้ แค่เช็ดออก แล้วป้ายซิลิโคนลงไปได้เลย

DEEPCOOL LS720

Install

DEEPCOOL LS720

มาดูที่การติดตั้งกันบ้าง จากที่เราได้ลองใช้งาน DEEPCOOL LS720 รุ่นนี้ มีขั้นตอนไม่มาก แต่อาจจะต้องเช็คพื้นที่และเตรียมเคสให้เหมาะสม โดยเริ่มจาก ลองนำ Radiator มาวัดพื้นที่แบบคร่าวๆ ว่าจะจัดวางลงจุดใด เพราะบางเคส อาจจะวางด้านบนได้ แต่บางรุ่นก็ติดตั้งได้แค่ด้านหน้าเคส ซึ่งก็อย่าลืมว่า ส่วนใหญ่จะติดตั้งพัดลมไว้ด้านหน้าเคสอยู่บ้างแล้ว คุณก็จะต้องถอดพัดลมออกก่อน

DEEPCOOL LS720

อย่างเช่นตัวอย่างของเคสที่เราใช้อยู่นี้ เป็นเคส DEEPCOOL CG540 มีพัดลมมาให้ด้านหน้า 3 ตัว ซึ่งถ้ามองกันตามความเหมาะสม การวางชุด Radiator ด้านหน้า ก็ทำให้จัดวางและเดินสายได้ง่ายขึ้น รวมถึงดูดลมเย็นเข้ามาที่ Radiator ได้คล่องตัวกว่า แต่ด้านบนก็พอมีพื้นที่ เพียงแต่ว่าจะแน่นไปหน่อย ทำให้ไปเบียดกับเมนบอร์ดมากเกินไป ทำให้การเดินสายหรือ Maintenance อาจไม่สะดวก ก็ต้องเริ่มถอดพัดลมเก่าของเคสออกก่อน

DEEPCOOL LS720

จากนั้นติดตั้งเมนบอร์ดและซีพียูลงไปให้เรียบร้อย แนะนำว่าอย่าเพิ่งใส่การ์ดจอ แรมหรืออุปกรณ์อื่นใด ที่จะเกะกะเวลาที่ติดตั้ง

DEEPCOOL LS720

นำพัดลมมาติดตั้งลงบน Radiator ให้เรียบร้อย โดยให้เช็คคอนเน็คเตอร์บนพัดลมแต่ละตัว ให้หันไปยังจุดที่คุณเก็บซ่อนสายได้สะดวก อย่างเช่น ที่เราทดสอบนี้ หันไปทางด้านในของเคส ซึ่งจะมีช่องลอดสายสัญญาณไปยังด้านหลังได้

DEEPCOOL LS720

จากภาพที่เห็นนี้ เราสามารถนำสายต่อพัดลมตัวแรก มาต่อตัวที่ 2 และพัดลมตัวที่ 2 มาต่อตัวที่ 3 ได้ ซึ่งทาง DEEPCOOL เรียกว่าเป็นแบบ Daisy Chain ด้วยการเสียบเข้ากับคอนเน็คเตอร์บนพัดลม ที่ทาง DeepCool ออกแบบมา ซึ่งข้อดีคือ ไม่ต้องวุ่นวายกับสายต่อให้ยุ่งยาก แต่คุณต้องติดตั้งให้เรียบร้อยก่อน เพราะถ้าไขน็อตล็อกเข้ากับเคสแล้ว ต้องรื้อกันใหม่เลยทีเดียว

DEEPCOOL LS720

เมื่อติดตั้งพัดลมและบรรดาสายต่างๆ เข้าไปแล้ว ก็ติด Radiator เข้ากับตัวเคส บริเวณด้านหน้าให้แน่น ด้วยน็อตที่ให้มาในกล่อง

DEEPCOOL LS720

เมื่อได้รูปร่าง พื้นที่ลงตัว ก็เริ่มจัดสายที่เป็นท่อน้ำให้ลงตัว ลองวัดมุมก่อนว่า จะดัดสายในแบบไหนดี แต่ด้วยความยาวสายที่มากถึง 41cm ก็ยืดหยุ่นมากพอให้กับการจัดวางในแบบที่ชอบได้ง่ายขึ้น

DEEPCOOL LS720

เมื่อได้รูปแบบของสายที่จะวาง ก็มาเตรียมตัว Water block หรือปั้มน้ำกัน สังเกตว่าจะมีรูเล็กๆ สำหรับติดตั้งตัวล็อคอยู่โดยรอบ 4 รูด้วยกัน

ให้เราใช้แผ่นเพลตแบบนี้ ที่มีมาให้ แยกการใช้งานระหว่างแพลตฟอร์มของซีพียู Intel และ AMD จากตัวอย่างนี้ เราใช้ซีพียู AMD Ryzen 5 4500 ตัวล็อคอาจจะต้องลองเช็คดูด้วยว่า เมื่อล็อคแล้ว มุมที่ได้ตรงกับซ็อกเก็ตของซีพียูบนเมนบอร์ดหรือไม่

DEEPCOOL LS720

โดยรูปแบบที่ทาง DEEPCOOL แนะนำในการติดตั้งชุด AIO นี้ จะวางชุดที่เป็นข้อต่อท่อน้ำ ให้อยู่ด้านล่าง ซึ่งเท่าที่เราได้ทดสอบ ก็ค่อนข้างเหมาะจริงๆ เพราะถ้าหันไปทางด้านข้างขวา จะไปเบียดกับชุดแรมอยู่บ้าง แต่ถ้าใครใช้แรมแบบไม่มีซิงก์ ก็จะวางได้พอดีๆ แต่ถ้าหันข้อต่อไปด้านบน ส่วนใหญ่จะติดกับซิงก์ภาคจ่ายไฟนั่นเอง แบบนี้ถือว่าเหมาะที่สุด

DEEPCOOL LS720

หลังจากที่ติดตั้งและใช้ตัวล็อคที่มีมาให้หมุนเข้าไปด้วยมือ และใช้ไขควง 4 แฉกไขพอให้ตึงมือ เท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้น ตัวแผ่นที่ติดอยู่ด้านบนนของปั้มน้ำ สามารถปรับหมุนได้ตามใจชอบ

DEEPCOOL LS720

เมื่อการติดตั้งเสร็จสิ้น ก็จะออกมาประมาณนี้สำหรับ DEEPCOOL LS720 ในจุดนี้ ลองเช็คสายสัญญาณหรือคอนเน็คเตอร์ที่ต่อกับเมนบอร์ดอีกครั้ง ซึ่งจะมี 3 จุดหลักคือ หัวต่อ SATA สำหรับไฟ RGB และ RGB connector รวมถึง หัวต่อพัดลมแบบ 3-pin บนเมนบอร์ด เพราะถ้าไม่ได้ต่อหรือหลุด พัดลมหรือแสงไฟอาจไม่ทำงาน

DEEPCOOL LS720

และเมื่อพร้อมแล้ว ก็เปิดคอมบูตเข้าสู่ระบบได้เลย และถ้าระบบน้ำไฟทำงาน ก็จะมีแสงไฟปรากฏอยู่บนปั้มน้ำ รวมถึงพัดลมครบทุกจุด ซึ่งหากไม่ทำงาน วูบดับ หรือไม่ติด ก็ให้เช็คสายต่อหรือขาล็อคว่าแน่นหนาดีหรือไม่ และเมื่อแสงไฟทุกอย่างติด พร้อมใช้งานแล้ว เราจะแนะนำวิธีการปรับแต่งแสงไฟกันต่อไปครับ


Lighting

DEEPCOOL LS720

เรื่องของแสงไฟ RGB ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ชุดคอมของคุณโดดเด่นขึ้น โดยที่ DEEPCOOL LS720 มาพร้อมกับ LED RGB บนปั้มน้ำและพัดลมทั้ง 3 ตัว ที่ติดตั้งอยู่บน Radiator และผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อ ARGB Header ในแบบ 3-pins ที่มีมาให้กับ AIO ชุดนี้ เข้ากับคอนเน็คเตอร์บนเมนบอร์ดได้ แต่การควบคุมและปรับแต่งแสงสี จะต้องอาศัยการทำงานร่วมกับฟีเจอร์บนเมนบอร์ดค่ายต่างๆ เช่น ASUS AURA SYNC, RAZER Chroma RGB, GIGABYTE RGB FUSION, MSI MYSTICLIGHT และ ASRock POLYCHROME SYNC เป็นต้น

DEEPCOOL LS720

จากตัวอย่างนี้ เราใช้เมนบอร์ด GIGABYTE AORUS B450 Elite ซึ่งมีคอนเน็คเตอร์ RGB อยู่บนเมนบอร์ด พร้อมฟีเจอร์ที่เรียกว่า RGB FUSION ซึ่งสามารถปรับแต่งแสงไฟ RGB ได้อย่างสวยงาม

DEEPCOOL LS720

อย่างเช่น ตัวอย่างของ RGB FUSION ที่สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ GIGABYTE มาติดตั้ง และระบบจะตรวจเช็คฮาร์ดแวร์ เมื่อพบข้อมูลของพัดลมและปั้มน้ำจาก RGB Header ที่ติดตั้งแล้ว ก็สามารถปรับแต่งแสงไฟได้ตามต้องการ

DEEPCOOL LS720

โดยเมื่อเข้าไปในซอฟต์แวร์แล้ว จะมีให้เลือกแบบโหมดใช้งานปกติ และ RGB FUSION โดยจะมีโพรไฟล์แสงไฟ RGB ให้เลือกมากกว่า 10 โพรไฟล์ รวมถึงบันทึกรูปแบบของโพรไฟล์ที่ปรับแต่งเก็บเอาไว้ใช้งานได้อีกด้วย

DEEPCOOL LS720

เนื่องจากเมนบอร์ด AORUS B450 รุ่นนี้ มีจุดแสงไฟ RGB และหัวต่อด้วยการหลายส่วน จึงสามารถเลือกปรับแต่งแสงไฟได้หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย

DEEPCOOL LS720

มาดูที่ความสวยงาม เมื่อเปิดใช้งานแสงไฟ RGB ของชุดน้ำ AIO จากทาง DEEPCOOL รุ่นนี้กันบ้าง แสงไฟในโหมดต่างๆ ที่ผู้ใช้ปรับแต่ง สว่างเจิดจ้าขึ้นมาได้อย่างสวยงาม เอาใจคนที่ชอบแต่งคอมให้ดูเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งบนซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการปรับแต่ง สามารถเลือกเพิ่ม-ลดระดับความสว่างได้ รวมถึงปิดแสงไฟก็ได้เช่นกัน ในภาพอาจจะยังดูไม่สดใสมากพอ เพราะในสภาวะจริงๆ แสงสว่างสดใส และสีสวยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นปั้มน้ำหรือพัดลมก็ตาม

DEEPCOOL LS720

และนอกจากนี้ ยังมีลูกเล่นมาบนตัวปั้มน้ำอีกด้วย นั่นคือ ชิ้นส่วนที่เป็นสี่เหลี่ยมครอบด้านบนปั้ม นอกจากจะหมุนได้รอบทิศแบบ 360 องศาแล้ว ยังถอดเปลี่ยนชิ้นงานสลับมาใส่ให้ดูสวยงามแบบใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของคุณเอง

DEEPCOOL LS720

ชิ้นพลาสติกเล็กๆ ที่ทาง DEEPCOOL ใส่มาให้ในกล่อง สามารถถอดเปลี่ยนได้ ด้วยการดึงออกมาแบบตรงๆ อาจจะแข็งนิดหน่อย แต่ค่อยๆ ขยับก็ดึงออกมาได้แล้ว ด้านในก็จะเป็นตัวล็อคพลาสติกแบบภาพด้านบนนี้เลย

DEEPCOOL LS720

ภาพนี้จะเป็นตัวอย่างกราฟิกแบบเก๋ๆ ที่ผู้ใช้นำไปปรินต์แล้วนำมาแปะไว้บนปั้มน้ำนี้ได้ โดยจะมีขนาด 42x42mm แต่ถ้าจะให้ดี ก็อยากให้ทาง DEEPCOOL จัดเป็นบันเดิลมาไว้ให้ในกล่องด้วยเลย จะได้ไม่ต้องไปหาทำเพิ่มก็จะดีไม่น้อย

DEEPCOOL LS720

อันนี้เป็นตัวอย่างกราฟิก ที่เรานำมาให้ได้ดูกัน โดยใช้เป็นโลโก้ NBS ของทาง Notebookspec ซึ่งภาพก็จะออกมาในสไตล์เช่นนี้ ส่วนใครจะออกแบบเป็นรูปใด หรือจะทำเป็นภาพจาก NFT ของตัวเอง ก็เลือกได้ตามใจชอบเลยครับ แต่ให้อยู่ในขนาดที่กำหนดไว้ และด้านหลังโปร่งแสงได้ ก็จะยิ่งดูสวยงาม

DEEPCOOL LS720

และเมื่อเซ็ตสิ่งต่างๆ เอาไว้พร้อมแล้ว เช่นเดียวกับการปรับแต่งแสงไฟของ DEEPCOOL LS720 ให้ลงตัวกับการจัดโต๊ะคอมของคุณ ก็ไปลุยทดสอบในด้านการระบายความร้อนกันได้เลย


Performance

DEEPCOOL LS720

ตัวปั้มน้ำทาง DEEPCOOL ออกแบบมาในซีรีส์ของ LS ใหม่ เป็นแบบปั้ม 3-phase บนเจเนอเรชั่นที่ 4 ซึ่งออกแบบมาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างภายใน กับหน้าสัมผัสที่ใช้ร่วมกับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ได้ และเมื่อดูจากความเร็วรอบของปั้มที่ทำได้ถึง 3,100 rpm เรียกว่าการไหลเวียนของน้ำภายใน ที่วิ่งผ่านเข้าออกได้ไวขึ้น สามารถนำพาความร้อนจากซีพียูได้รวดเร็ว และผ่าน Tube ไปถึง Radiator ได้ไว โดยมีลูกเล่นทั้งในเรื่องของแสงไฟ และสีสันที่ด้านบนของปั้มที่ปรับเปลี่ยนได้

DEEPCOOL LS720
AMD Ryzen 5 4500-idle mode

มาเริ่มกันที่การทดสอบบนซีพียู AMD Ryzen 5 4500 ซึ่งเป็นซีพียูในแบบ 6 core/ 12 thread ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 4.2GHz ในโหมด idle นั้นความร้อนของซีพียู ที่มีโหลดอยู่ราวๆ 8-10% อุณหภูมิอยู่ที่ 31-37 องศาเซลเซียสเท่านั้น ถือว่าเย็นสบาย และยังเย็นกว่าฮีตซิงก์เดิมๆ อยู่ไม่น้อยเลย

DEEPCOOL LS720
AMD Ryzen 5 4500-Full Load

มาดูที่การทดสอบแบบ Full Load ด้วยการใช้โปรแกรม Furmark ในโหมด CPU Burner เพื่อเร่งการทำงานของซีพียูในทุกแกนหลัก ไม่ว่าจะเป็น Core/ Thread และความเร็วสัญญาณนาฬิกาให้ไปถึงขีดสุด ด้วยความเร็วที่ 4.2GHz เป็นเวลาประมาณ 30 นาที ในห้องอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งผลที่ได้ค่อนข้างน่าประทับใจ เพราะอุณหภูมิไปสูงสุดเพียง 49 องศาเซลเซียสเท่านั้น เย็นกว่าการใช้ซิงก์ธรรมดาอยู่พอสมควร นอกจากนี้ยังแทบจะไร้เสียงรบกวน เมื่ออยู่ในเคส ที่ปิดฝาข้างแล้ว ซึ่งหากเป็นฮีตซิงก์ปกติ การมีโหลดที่สูงเช่นนี้ เสียงพัดลมก็จะดังตามไปด้วยอย่างแน่นอน

DEEPCOOL LS720

และมาดูที่การทดสอบด้วยเกมกันบ้าง สำหรับ Red Dead Redemption 2 ซึ่งใช้ซีพียูประมาณ 45-52% ในการทำงานบนสัญญาณนาฬิกา 4.20GHz เกมนี้ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในหลายๆ เกม ที่มีการใช้พลังซีพียูมากพอสมควร โดยอุณหภูมิในการทำงานอยู่ที่ประมาณ 32-37 องศาเซลเซียสเท่านั้น เรียกว่าสบายๆ ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ยังทำงานอื่นๆ ต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นการสตรีมมิ่งหรือการเปิดโปรแกรมอื่นๆ ร่วมกันไปด้วย

DEEPCOOL LS720

และเพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานมากขึ้น เราได้ใช้โปรแกรม CINEBench R23 ที่เป็นหนึ่งในโปรแกรมตัวแทนการเรนเดอร์ไฟล์ 3D จากในส่วนของ CINEMA4D มารันแบบมัลติทาส์ก เพื่อเป็นการจำลองการทำงานจริง โดยซีพียูจะเร่งสปีดทั้งแกนหลักและสัญญาณนาฬิกาไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งผลทดสอบการระบายความร้อนของ DEEPCOOL LS720 ก็ยังคงทำได้อย่างน่าประทับใจ เพราะอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 44-50 องศาเซลเซียสมีขยับขึ้นลงบ้างตามจังหวะ แต่ซีพียูก็ทำงานระดับ 100% ใครที่กำลังเซ็ตเครื่องทำเป็นเวิร์กสเตชั่น การระบายความร้อนที่ดี ก็ช่วยให้งานลื่นขึ้นได้


Conclusion

DEEPCOOL LS720

จุดเด่นที่ทาง DEEPCOOL จัดเตรียมไว้ให้พอสมควรบน AIO รุ่นนี้ ก็ตอบโจทย์การใช้งาน และการระบายความร้อนให้กับซีพียูรุ่นต่างๆ ไว้อย่างครบครัน ชนิดที่ว่าไม่ต้องหาอะไรมาเติม ไม่ว่าจะเป็นปั้มน้ำที่ ออกแบบมาได้ดี เสียงรบกวนน้อย และยังมีระบบ Anti-Leak ให้ความมั่นใจไม่รั่วซึมได้ง่าย พร้อมแสงไฟ RGB รวมถึงลูกเล่นที่สามารถถอดชิ้นส่วนด้านบนออกได้ และเปลี่ยนสีสันรูปภาพได้ตามใจ แต่ก็ติดตรงที่น่าจะทำชิ้นส่วนสำรองให้เปลี่ยนมาให้ในกล่องด้วยเลยน่าจะดี เช่นเดียวกับการติดตั้งที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และยังมีพัดลมเสียงเบา ลมแรง และมีไฟ RGB และยังเป็นแบบ Daisy Chain ที่ต่อพ่วงกันตัวต่อตัว ไม่ต้องวุ่นวายกับสายให้เกะกะ และแสงไฟที่ปรับแต่งได้ผ่านทางซอฟต์แวร์เมนบอร์ดค่ายชั้นนำต่างๆ ได้อีกด้วย สุดท้ายนี้ ในช่วงที่เราทำบทความ ก็ยังไม่มีเรื่องของราคาที่เคาะออกมาอย่างเป็นทางการ สำหรับ LS720 รุ่นนี้ อย่างไรก็ดีเราคาดการณ์ว่าน่าจะสูงจาก GAMMAXX L360 ที่เป็น Liquid Cooling แบบ 3 ตอน ที่เป็นซีรีส์รองลงไปอยู่ไม่มากนัก และคู่แข่งในท้องตลาดก็มีอยู่หลายรุ่นเลยทีเดียว สุดท้ายนี้ DEEPCOOL LS720 ดูจะเหมาะกับคนที่ประกอบคอมใหม่ แล้วใช้ซีพียูระดับกลางๆ ขึ้นไป เน้นระบายความร้อนดี และเสียงรบกวนน้อย ที่สำคัญติดตั้งง่าย ไม่ซับซ้อน และเหมาะกับคนที่ต้องการชุดน้ำปิดที่แต่งคอมสวยได้เลยในตัว DEEPCOOL รุ่นนี้เหมาะอย่างยิ่ง

from:https://notebookspec.com/web/651614-deepcool-ls720-liquid-cooling

รีวิว Corsair H100 RGB ชุดน้ำปิดเย็นด้วย สวยดี

ยิ่งซีพียูแรง ก็ยิ่งต้องหาชุดระบายความร้อนดีๆ เพราะนอกจากช่วยให้ซีพียูทำงานได้เต้มประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้เครื่องเงียบ และสวยกว่าด้วยอย่าง Corsair H100 RGB ชุดน้ำปิด 2 ตอน ที่ทีมงานจะนำมาเสอนในวันนี้ ที่ทั้งเย็นกว่า เงียบกว่าา และยังสวยกว่าอีกด้วย

Corsair H100 RGB

Corsair H100 RGB เป็นชุดน้ำปิด 2 ตอนขนาด 240 มิลลิเมตร อีกรุ่นจากเจ้าตลาดอย่าง Corsair ที่ก่อนหน้านี้เคยส่ง Corsair iCUE H60i PRO XT มาให้ทดสอบกัน โดยเจ้า Corsair H100 RGB จะโดนเด่นกว่าด้วยระบบ RGB ทั้งตัวปั้มน้ำที่บล๊อคซีพียู ไปจนถึงพัดลมระบายความร้อนที่แถมมาอย่าง CORSAIR SP120 RGB ELITE PWM สองตัว ที่นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้ว ยังมาพร้อมไฟ RGB ที่สวยงาม พร้อมปรับแต่งไฟ RGB ผ่านซอฟแวร์ของเมนบอร์ดได้ รองรับทุกซ๊อคเก็ตทั้ง AMD และ Intel

จุดเด่น Corsair H100 RGB

  • การระบายความร้อนของ CPU แบบ All-in-one ที่ให้ความสว่างแก่พีซีของคุณด้วยสีที่น่าทึ่งด้วยพัดลม 120 มม. CORSAIR SP RGB ELITE PWM ที่สร้างกระแสลมที่ยอดเยี่ยมและแสง RGB ที่สดใส
  • พัดลม SP120 RGB ELITE PWM สามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 1,500 รอบต่อนาที และกระจายกระแสลมไปยังจุดที่ต้องการด้วยเทคโนโลยี AirGuide
  • มาพร้อมกับแผ่นทำความเย็นทองแดงที่ปรับความร้อนได้อย่างเหมาะสมและการออกแบบปั๊มเสียงรบกวนต่ำเพื่อการระบายความร้อนที่เงียบ
  • รวมขายึดโมดูลาร์ที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือเพื่อการติดตั้งที่รวดเร็วและง่ายดายบนซ็อกเก็ต CPU ที่ทันสมัยทั้งหมด รวมถึง LGA 1200,115X, 2066 และ AM4
  • ตำแหน่งติดตั้งพัดลมขนาดมาตรฐาน 120 มม. เพื่อความเข้ากันได้ที่ดีที่สุด ในขณะที่ H100 RGB และ H150 RGB มีขนาด 240 มม. และ 360 มม. ตามลำดับ เพื่อประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่เพิ่มขึ้น
  • ซ็อกเก็ตรองรับ Intel 115x Intel 2011/2066 AMD AM3/AM2 AMD AM4

รายละเอียดทางเทคนิค

  • รับประกันความเย็น 3 ปี
  • ทองแดงวัสดุแผ่นเย็น
  • วัสดุหม้อน้ำ อลูมิเนียม
  • PWM ใช่
  • ความเข้ากันได้ของ CORSAIR iCUE ใช่
  • น้ำหนัก 0.87
  • จำนวนแฟน 2
  • คูลลิ่งซ็อกเก็ตรองรับ Intel 115x
  • Intel 2011/2066
  • AMD AM3/AM2
  • AMD AM4
  • ไฟ RGB
  • พัดลม รุ่น SP Series

 Corsair H100 RGB 02Corsair H100 RGB 03 Corsair H100 RGB 04

กล่องระบุสเปค หน้าตาชัดเจน

Corsair H100 RGB 05

อุปกรณ์ภายในกล่องได้แก่ ชุดน้ำ พัดลม 2 ตัว สายตอชุดไฟ RGB คู่มือ และชุดน๊อตยืดบล๊อคซีพียู

Corsair H100 RGB 01

สายซิงค์ไฟ RGB ทั้งตัวบล๊อคน้ำและพัดลม โดยเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดแบบมาตรฐาน 3 ขา

Corsair H100 RGB 06 Corsair H100 RGB 07

พัดลมที่แถมมาเป็น CORSAIR SP120 RGB ELITE PWM โดดเด่นทั้งเรื่องของการทำงานที่เงียบ และไฟ RGB ที่สวยงาม

Corsair H100 RGB 08

ตัวหม้อน้ำแบบ 2 ตอน 240 มิลลิเมตร ผลิตจากอลูมิเนียม สามารถยึดพัดลมได้ทั้ง 2 ฝั่ง

Corsair H100 RGB 09

บล๊อคน้ำที่ทำหน้าที่ปั้มน้ำในตัว ขนาดไม่ใหญ่หรือหนาจนเกินไป มาพร้อมไฟ RGB ส่วนหน้าสัมผัสเป็นทองแดงขัดเรียบ

Corsair H100 RGB 11

ฝาครอบบลีอคน้ำแบบใสสามารถถอดออกเพื่อหมุนให้เหมาะกับมุมที่จะติดตั้งบล๊อคซีพียู ทำให้ logo Corsair อยู่แนวตั้งตรง

Corsair H100 RGB test 04

การติดตั้งก็ไม่ยุ่งยากอะไรครับ แค่เลือกขาล๊อคให้ตรงกับซ๊อคเก็ตของซีพียู โดยหลักๆจะแบ่งเป็น Intel หรือ AMD จากนั้นก็ติดตั้งหม้อน้ำตามตำแหน่งที่สะดวก ซึ่งทีมงานเลือกที่จะติดตั้งด้านบน

Corsair H100 RGB test 19

Corsair H100 RGB test 21 Corsair H100 RGB test 22       

เปิดปุ๊ปไฟ RGB ก็จะติดขึ้นมาเลย โดยถ้าไม่ได้ต่อสายซิงค์ ไฟ RGB จะติดแค่ที่บล๊อคน้ำ แต่เมื่อต่อสายแล้วพัดลมจะมีไฟ RGB ติดขึ้นมาด้วย ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ไปในโทนเดียวกัน ไม่สามารถแยกสีอิสระแต่ละอุปกรณ์ได้

Aura Creator 8 20 2021 4 51 47 PM

โดยซอฟแวร์ที่ปรับแต่งจะเป็นซอฟแวร์ของตัวเมนบอร์ด เนื่องจากการเชื่อมต่อ จะต่อผ่านสายแบบ 3 Pin RGB บนเมนบอร์ด ตัวอย่างทีมงานทดสอบกับเมนบอร์ด ASUS ROG Crosshair VIII HERO (Wi-Fi) ก็เห็นเป็นสาย RGB สามารถปรับแต่งได้เลย

โดยข้อจำกัดของการปรับแต่งคือไม่สามารถแยกระหว่างตัวบล๊อคน้ำและพัดลมได้ เพราะเป็นสายซิงค์เส้นเดียวกัน จึงต้องปรับแต่งเหมือนกัน

สเปคเครื่องทดสอบ

  • CPU : AMD AMD Ryzen 9 5900X Processor
  • CPU Cooler : Corsair iCUE H60i PRO XT
  • M/B : ASUS ROG Crosshair VIII HERO (Wi-Fi)
  • RAM : KLEVV BOLT XR DDR4 3,600MHz – 16GB (2x8GB)
  • PSU : ANTEC HCG-1000 EXTREME 1000W (80+ GOLD)

CPU Z 7 13 2021 2 44 17 PM CPU Z 7 13 2021 2 44 36 PM

โดยซีพียูที่มีงานทดสอบร่วมกับ Corsair H100 RGB คือตัวแรงอย่าง AMD Ryzen 9 5900X คอร์เทรดเยอะ แรงขนาดนี้จะระบายความร้อนได้ขนาดไหนนะ

CPU Z 7 13 2021 2 44 40 PM CPU Z 7 13 2021 2 44 47 PM

แรมเครื่องทดสอบ 16 GB

CPUID HWMonitor 8 20 2021 4 37 46 PM

ทดสอบประสิทธิภาพการระบายความร้อนโดยรันซีพียู 100% ในห้องอุณหภูมิปรกติเป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยเปิดฝาเคส และมีพัดลมดูอากาศเข้ามาจากทางด้านหน้า ในอุณหภูมิห้องที่ราว 25 องศาเซลเซียส 

โดยหลังการทดสอบ สูงสุดที่ราว 65 องศาเซลเซียส กับซีพียูระดับนี้ถือว่าเย็นมากเลยทีเดียว เพราะเคยทดสอบกับหม้อน้ำตอนเดียว Corsair iCUE H60i PRO XT ยังทะลุไปถึง 80 องศาเซลเซียส พิสูจน์ได้ว่าตัวนี้เจ๋งจริง อีกทั้งเสียงพัดลมระบายความร้อนก็ยังเงียบกว่า ใช้งานต่อเนื่องยาวๆได้อย่างไม่มีปัญหาแน่นอน

Corsair H100 RGB test 29

Corsair H100 RGB เหมาะสำหรับท่านที่ใช้ซีพียูแรงๆ ที่มักจะไม่แถมพัดลมซีพียูมาให้ หรือบางท่านที่อยากให้เครื่องทำงานเงียบขึ้น เย็นขึ้น และยังมาพร้อมไฟ RGB เพิ่มความสวยงามให้ตัวเครื่อง ซึ่งจากการทดสอบของทีมงาน ตอบได้เลยว่านอกจากความสวยงามแล้ว ยังตอบโจทย์ทั้งเรื่องของความเงียบ ที่เบากว่าพัดลมระบายความร้อนทั่วไป และยังเย็นกว่าอย่างเห็นได้ชัด แม้จะเป็นซีพียูตัวแรงอย่าง AMD Ryzen 9 5900X เย็นกว่าก็จะช่วยยืดอายุซีพียู และทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่าด้วยครับ

Corsair H100 RGB มาในราคาค่าตัว 3,490 บาท ถือว่าราคาคุ้มค่าทีเดียวเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพ และความสวยงามที่ได้มา โดยเฉพาะท่านที่ใช้ซีพียูแรงๆ ที่ไม่มีพัดลมซีพียูแถมมา ตัวนี้ตัวเดียวจบ ใช้ได้อีกยาว

จุดเด่น

  • ติดตั้งง่ายไม่ยุ่งยาก
  • ไฟ RGB สวยงาม
  • ระบายความร้อนได้ดีมาก

ข้อสังเกต

  • เคสที่ติดตั้งต้องมีขนาดใหญ่สักหน่อย

 

from:https://notebookspec.com/web/609993-%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a7-corsair-h100-rgb-%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%89

รีวิว Corsair H100 RGB ชุดน้ำปิดเย็นด้วย สวยดี

ยิ่งซีพียูแรง ก็ยิ่งต้องหาชุดระบายความร้อนดีๆ เพราะนอกจากช่วยให้ซีพียูทำงานได้เต้มประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้เครื่องเงียบ และสวยกว่าด้วยอย่าง Corsair H100 RGB ชุดน้ำปิด 2 ตอน ที่ทีมงานจะนำมาเสอนในวันนี้ ที่ทั้งเย็นกว่า เงียบกว่าา และยังสวยกว่าอีกด้วย

Corsair H100 RGB

Corsair H100 RGB เป็นชุดน้ำปิด 2 ตอนขนาด 240 มิลลิเมตร อีกรุ่นจากเจ้าตลาดอย่าง Corsair ที่ก่อนหน้านี้เคยส่ง Corsair iCUE H60i PRO XT มาให้ทดสอบกัน โดยเจ้า Corsair H100 RGB จะโดนเด่นกว่าด้วยระบบ RGB ทั้งตัวปั้มน้ำที่บล๊อคซีพียู ไปจนถึงพัดลมระบายความร้อนที่แถมมาอย่าง CORSAIR SP120 RGB ELITE PWM สองตัว ที่นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้ว ยังมาพร้อมไฟ RGB ที่สวยงาม พร้อมปรับแต่งไฟ RGB ผ่านซอฟแวร์ของเมนบอร์ดได้ รองรับทุกซ๊อคเก็ตทั้ง AMD และ Intel

จุดเด่น Corsair H100 RGB

  • การระบายความร้อนของ CPU แบบ All-in-one ที่ให้ความสว่างแก่พีซีของคุณด้วยสีที่น่าทึ่งด้วยพัดลม 120 มม. CORSAIR SP RGB ELITE PWM ที่สร้างกระแสลมที่ยอดเยี่ยมและแสง RGB ที่สดใส
  • พัดลม SP120 RGB ELITE PWM สามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 1,500 รอบต่อนาที และกระจายกระแสลมไปยังจุดที่ต้องการด้วยเทคโนโลยี AirGuide
  • มาพร้อมกับแผ่นทำความเย็นทองแดงที่ปรับความร้อนได้อย่างเหมาะสมและการออกแบบปั๊มเสียงรบกวนต่ำเพื่อการระบายความร้อนที่เงียบ
  • รวมขายึดโมดูลาร์ที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือเพื่อการติดตั้งที่รวดเร็วและง่ายดายบนซ็อกเก็ต CPU ที่ทันสมัยทั้งหมด รวมถึง LGA 1200,115X, 2066 และ AM4
  • ตำแหน่งติดตั้งพัดลมขนาดมาตรฐาน 120 มม. เพื่อความเข้ากันได้ที่ดีที่สุด ในขณะที่ H100 RGB และ H150 RGB มีขนาด 240 มม. และ 360 มม. ตามลำดับ เพื่อประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่เพิ่มขึ้น
  • ซ็อกเก็ตรองรับ Intel 115x Intel 2011/2066 AMD AM3/AM2 AMD AM4

รายละเอียดทางเทคนิค

  • รับประกันความเย็น 3 ปี
  • ทองแดงวัสดุแผ่นเย็น
  • วัสดุหม้อน้ำ อลูมิเนียม
  • PWM ใช่
  • ความเข้ากันได้ของ CORSAIR iCUE ใช่
  • น้ำหนัก 0.87
  • จำนวนแฟน 2
  • คูลลิ่งซ็อกเก็ตรองรับ Intel 115x
  • Intel 2011/2066
  • AMD AM3/AM2
  • AMD AM4
  • ไฟ RGB
  • พัดลม รุ่น SP Series

 Corsair H100 RGB 02Corsair H100 RGB 03 Corsair H100 RGB 04

กล่องระบุสเปค หน้าตาชัดเจน

Corsair H100 RGB 05

อุปกรณ์ภายในกล่องได้แก่ ชุดน้ำ พัดลม 2 ตัว สายตอชุดไฟ RGB คู่มือ และชุดน๊อตยืดบล๊อคซีพียู

Corsair H100 RGB 01

สายซิงค์ไฟ RGB ทั้งตัวบล๊อคน้ำและพัดลม โดยเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดแบบมาตรฐาน 3 ขา

Corsair H100 RGB 06 Corsair H100 RGB 07

พัดลมที่แถมมาเป็น CORSAIR SP120 RGB ELITE PWM โดดเด่นทั้งเรื่องของการทำงานที่เงียบ และไฟ RGB ที่สวยงาม

Corsair H100 RGB 08

ตัวหม้อน้ำแบบ 2 ตอน 240 มิลลิเมตร ผลิตจากอลูมิเนียม สามารถยึดพัดลมได้ทั้ง 2 ฝั่ง

Corsair H100 RGB 09

บล๊อคน้ำที่ทำหน้าที่ปั้มน้ำในตัว ขนาดไม่ใหญ่หรือหนาจนเกินไป มาพร้อมไฟ RGB ส่วนหน้าสัมผัสเป็นทองแดงขัดเรียบ

Corsair H100 RGB 11

ฝาครอบบลีอคน้ำแบบใสสามารถถอดออกเพื่อหมุนให้เหมาะกับมุมที่จะติดตั้งบล๊อคซีพียู ทำให้ logo Corsair อยู่แนวตั้งตรง

Corsair H100 RGB test 04

การติดตั้งก็ไม่ยุ่งยากอะไรครับ แค่เลือกขาล๊อคให้ตรงกับซ๊อคเก็ตของซีพียู โดยหลักๆจะแบ่งเป็น Intel หรือ AMD จากนั้นก็ติดตั้งหม้อน้ำตามตำแหน่งที่สะดวก ซึ่งทีมงานเลือกที่จะติดตั้งด้านบน

Corsair H100 RGB test 19

Corsair H100 RGB test 21 Corsair H100 RGB test 22       

เปิดปุ๊ปไฟ RGB ก็จะติดขึ้นมาเลย โดยถ้าไม่ได้ต่อสายซิงค์ ไฟ RGB จะติดแค่ที่บล๊อคน้ำ แต่เมื่อต่อสายแล้วพัดลมจะมีไฟ RGB ติดขึ้นมาด้วย ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ไปในโทนเดียวกัน ไม่สามารถแยกสีอิสระแต่ละอุปกรณ์ได้

Aura Creator 8 20 2021 4 51 47 PM

โดยซอฟแวร์ที่ปรับแต่งจะเป็นซอฟแวร์ของตัวเมนบอร์ด เนื่องจากการเชื่อมต่อ จะต่อผ่านสายแบบ 3 Pin RGB บนเมนบอร์ด ตัวอย่างทีมงานทดสอบกับเมนบอร์ด ASUS ROG Crosshair VIII HERO (Wi-Fi) ก็เห็นเป็นสาย RGB สามารถปรับแต่งได้เลย

โดยข้อจำกัดของการปรับแต่งคือไม่สามารถแยกระหว่างตัวบล๊อคน้ำและพัดลมได้ เพราะเป็นสายซิงค์เส้นเดียวกัน จึงต้องปรับแต่งเหมือนกัน

สเปคเครื่องทดสอบ

  • CPU : AMD AMD Ryzen 9 5900X Processor
  • CPU Cooler : Corsair iCUE H60i PRO XT
  • M/B : ASUS ROG Crosshair VIII HERO (Wi-Fi)
  • RAM : KLEVV BOLT XR DDR4 3,600MHz – 16GB (2x8GB)
  • PSU : ANTEC HCG-1000 EXTREME 1000W (80+ GOLD)

CPU Z 7 13 2021 2 44 17 PM CPU Z 7 13 2021 2 44 36 PM

โดยซีพียูที่มีงานทดสอบร่วมกับ Corsair H100 RGB คือตัวแรงอย่าง AMD Ryzen 9 5900X คอร์เทรดเยอะ แรงขนาดนี้จะระบายความร้อนได้ขนาดไหนนะ

CPU Z 7 13 2021 2 44 40 PM CPU Z 7 13 2021 2 44 47 PM

แรมเครื่องทดสอบ 16 GB

CPUID HWMonitor 8 20 2021 4 37 46 PM

ทดสอบประสิทธิภาพการระบายความร้อนโดยรันซีพียู 100% ในห้องอุณหภูมิปรกติเป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยเปิดฝาเคส และมีพัดลมดูอากาศเข้ามาจากทางด้านหน้า ในอุณหภูมิห้องที่ราว 25 องศาเซลเซียส 

โดยหลังการทดสอบ สูงสุดที่ราว 65 องศาเซลเซียส กับซีพียูระดับนี้ถือว่าเย็นมากเลยทีเดียว เพราะเคยทดสอบกับหม้อน้ำตอนเดียว Corsair iCUE H60i PRO XT ยังทะลุไปถึง 80 องศาเซลเซียส พิสูจน์ได้ว่าตัวนี้เจ๋งจริง อีกทั้งเสียงพัดลมระบายความร้อนก็ยังเงียบกว่า ใช้งานต่อเนื่องยาวๆได้อย่างไม่มีปัญหาแน่นอน

Corsair H100 RGB test 29

Corsair H100 RGB เหมาะสำหรับท่านที่ใช้ซีพียูแรงๆ ที่มักจะไม่แถมพัดลมซีพียูมาให้ หรือบางท่านที่อยากให้เครื่องทำงานเงียบขึ้น เย็นขึ้น และยังมาพร้อมไฟ RGB เพิ่มความสวยงามให้ตัวเครื่อง ซึ่งจากการทดสอบของทีมงาน ตอบได้เลยว่านอกจากความสวยงามแล้ว ยังตอบโจทย์ทั้งเรื่องของความเงียบ ที่เบากว่าพัดลมระบายความร้อนทั่วไป และยังเย็นกว่าอย่างเห็นได้ชัด แม้จะเป็นซีพียูตัวแรงอย่าง AMD Ryzen 9 5900X เย็นกว่าก็จะช่วยยืดอายุซีพียู และทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่าด้วยครับ

Corsair H100 RGB มาในราคาค่าตัว 3,490 บาท ถือว่าราคาคุ้มค่าทีเดียวเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพ และความสวยงามที่ได้มา โดยเฉพาะท่านที่ใช้ซีพียูแรงๆ ที่ไม่มีพัดลมซีพียูแถมมา ตัวนี้ตัวเดียวจบ ใช้ได้อีกยาว

จุดเด่น

  • ติดตั้งง่ายไม่ยุ่งยาก
  • ไฟ RGB สวยงาม
  • ระบายความร้อนได้ดีมาก

ข้อสังเกต

  • เคสที่ติดตั้งต้องมีขนาดใหญ่สักหน่อย

 

from:https://notebookspec.com/web/609993-review-corsair-h100-rgb

Review – Tsunami Super Storm TSS-2000 ซิงค์ใหญ่ไฟกะพริบในราคาสุดคุ้ม

ซีพียูคูเลอร์ระบายความร้อนที่แถมมากับซีพียูจะว่าไปมันก็ใช้งานได้ แต่อาจจะไม่อยู่ในระดับดีนักถ้าต้องการใช้เครื่องยาวนาน แค่เพียงพอระบายความร้อนเท่านั้น แต่ถ้าอยากให้ใช้งานต่อเนื่องยาวนานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความสวยงามให้ซีพียูคูเลอร์ระบายความร้อนซีพียูด้วยละก็วันนี้ผมขอแนะนำ Tsunami Super Storm RGB 130W CPU COOLER TSS-2000 ซิงค์ใหญ่ไฟ RGB ในราคาสุดคุ้ม

Tsunami Super Storm TSS-2000 เป็นซีพียูคูเลอร์ที่ออกแบบมาในแนวตั้งขนาดไม่ใหญ่มากนักสามารถติดตั้งได้ทุกเมนบอร์ดทั้ง Intel และ AMD โดยจะนำความร้อนจากซีพียูผ่านขึ้นมาทางฮีทไปท์ 4 เส้น บิดขึ้นมาเป็นรูปตัว U เพื่อนะความร้อนระบายผ่านฟินอลูมิเนียมที่เคลือบสีดำจำนวนมาก แล้วระบายความร้อนผ่านพัดลม 120 มิลลิเมตร ที่มาพร้อมไฟ RGB แบบ Dual Ring ที่แถมมาให้เลยในเซ็ต โดยสเปคของ Tsunami Super Storm TSS-2000 รองรับ TDP หรือซีพียูที่ใช้พลังงานได้ถึง 130 W เช่นรุ่น i7-8700K หรือ Ryzen 7-2700X ได้อย่างสบายๆ

สเปค Tsunami Super Storm TSS-2000 CPU Cooler

  • 4 Heat Pipes Direct Contact design
  • Compatibility Intel LGA 2011/1150/1151/1155/1156/775
  • AMD FM1/FM2/AM2/AM2+/AM3/AM3+/AM4
  • Heatsink Dimension : 156.5*73*123(LWH)
  • Heatsink Material : Aluminum Alloy Fins
  • copper Heat pipes : 6 mm*4 pcs
  • Thermal Ventilation Efficiency(Thermal Design Power) : 130 Watts
  • Color : Black

Neon Light Dual Ring PWM RGB LED Fan

  • Fan Dimension : 120*120*25 mm (LWH)
  • Rated Voltage : DC 12V
  • Operating Voltage : 10.8 ~ 13.2 V
  • Staring Voltage :< DC 5V
  • Rated Current : 0.28A MAX
  • Power Consumption : 3.36W
  • Fan Speed : 1000~2000 RPM(PWM)+/-10%
  • Max Airflow : 58~68 CFM(ft3/min)
  • Air Pressure : 1.6 mm-H2O
  • Noise Level :25~35 dB (A)
  • Life Time/Fan Life Time : 20,000 Hrs
  • No. of Blades : 9 Blade
  • No. of Pole : 4 Poles
  • Bearing Type : Hydraulic Bearing
  • LED Light Bar : Red, Blue, Green, Yellow
  • Power Connector : 4 pin (PWM)
  • Weight : 815 g

กล่องของ Tsunami Super Storm TSS-2000 ระบุหน้าตาสเปคต่างๆได้อย่างชัดเจน รองรับเกือบซ๊อคเก็ตของซีพียูในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นค่าย AMD และ Intel พร้อมอุปกรณ์ติดตั้งภายในครบครัน

อุปกรณ์ภายในกล่องนอกจากตัว Tsunami Super Storm TSS-2000 และพัดลมระบายความร้อนแล้ว ยังแถมขาเกี่ยวพัดลมมา 2 ชุด ทำให้ซื้อพัดลมขนาด 120 มิลลิเมตร มาติดตั้งเพิ่มได้อีก 1 ตัว นอกจากนั้นก็ยังมี คู่มือ ซิลีโคน หมุดยืด และฐานยึดของเมนบอร์ด Intel (ส่วน AMD สามารถใช้ขาเกี่ยวที่ติดมากับฮีทซิงค์ได้เลย)

ซีพียูคูเลอร์ Tsunami Super Storm TSS-2000 มาในรูปแบบแนวตั้งขนาดกว้าง สูงเท่าๆกับพัดลม 120 มิลลิเมตร โดยจะมีฮีทไปท์ 4 เส้นนำความร้อนจากตัวซีพียูบิดขึ้นมาเป็นรูปตัว U เท่ากับ 8 เส้น โดยความร้อนจะถูกถ่ายเทผ่านฟินอลูมิเนียมเคลือบสีดำจำนวนมาก จากนั้นก็จะถูกระบายออกไปผ่านพัดลมอีกต่อหนึ่ง รูปแบบมาตรฐานของฮีทซิงค์ที่ระบายความร้อนได้ดีเหมาะกับเครื่องที่ใช้งานต่อเนื่อง หรือเผื่อสำหรับการโอเวอร์คล๊อค

รูปแบบของแผ่นอลูมิเนียมระบายความร้อน มีการออกแบบเพื่อการช่วยระบายความร้อนได้เต็มที่ ทั้งขอบที่มีการเชื่อมต่อกับแผ่นอื่นเพื่อช่วยระบายความร้อนและเพื่อเสริมความแข็งแรง นอกจากนั้นตัวแผ่นอลูมิเนียมยังมีการเซาะร่องเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีพื้นที่สัมผัสอากาศได้มากขึ้น ช่วยระบายความร้อนได้ไวขึ้นอีก ส่วนขอบด้านข้างที่เป็นรูปครึ่งวงกลมเพื่อช่วยให้ไขควรหมุนล๊อคหรือคลายตัวยึดฐานซีพียูได้สะดวก

หน้าสัมผัสซีพียูหรือฐานของซีพียูคูเลอร์จะเป็นฮีทไปท์ 4 ท่อ ยึดกับฐานอลูมิเนียมจากนั้นขัดเรียบให้แนบสนิทกับซีพียูมากที่สุดเพื่อให้นำความร้อนได้ดีมากกว่า ขัดเรียบจนเงาเลยทีเดียว

ตัวฐานจะมีอลูมิเนียมช่วยระบายความร้อนอีกต่อหนึ่ง ด้านล่างค่อนข้างเปิดโล่ง ขาล๊อคเป็นแบบขาเกี่ยว 2 ด้าน โดยสามารถใช้กับเมนบอร์ด AMD ที่มีฐานเกี่ยวขาล๊อคซีพียูมาให้เลย โดยการเกี่ยวต้องไขน๊อตคลายหลวมๆก่อนทั้ง 2 ด้าน จากนั้นเกี่ยวขาล๊อคได้แล้วค่อยไขล๊อคทั้ง 2 ด้านเป็นอันเรียบร้อย (ส่วน Intel ต้องติดฐานก่อนซึ่งสามารถติดตั้งได้ไม่ยากดูจากคู่มือได้เลย)

ขนาดของซีพียูคูเลอร์ Tsunami Super Storm TSS-2000 ไม่เล็กไม่ใหญ่มากติดตั้งในเคสส่วนใหญ่ได้ไม่มีปัญหา

พัดลมที่แถมมากับซีพียูคูเลอร์ Tsunami Super Storm TSS-2000 เป็นตัว Neon Light Dual Ring RGB LED Fan ที่เป็นไฟ RGB แบบเส้น 2 เส้นอยู่ที่ขอบทั้ง 2 ฝั่ง สวยงาม และยังช่วยระบายความร้อนด้วย อุปกรณ์ที่แถมมาจะมีน๊อตยึด 4 ตัว และสายแปลงเป็นหัวโมแลค4 พิน

พัดลม Neon Light Dual Ring PWM RGB LED นอกจากสวยงามแล้ว ยังออกแบบปลายใบพัดแบบเปิด เป็นช่องเพื่อให้มีลมถ่ายเทได้มากเป็นพิเศษ 4 มุมมียางรองพัดลมเพื่อลดเสียงสั่นสะเทือน ปลั๊กเป็นแบบ 4 พิน ต่อตรงเข้าเมนบอร์ดได้ อีกทั้งยังสามารถวัดรอบในโปรแกรมได้ด้วย

การติดตั้งซีพียูคูเลอร์ Tsunami Super Storm TSS-2000 กับพัดลมโดยการใช้ปลายขาเกี่ยวกับช่องน๊อตแล้วดึงไปเกี่ยวกับซีพียูคูเลอร์ได้เลยทั้ง 2 ด้าน ง่ายไม่ยากครับ ถ้าจะเปลี่ยนก็ดึงฝั่งซีพียูคูเลอร์ออกก่อน

พัดลมของการติดตั้งซีพียูคูเลอร์ Tsunami Super Storm TSS-2000 เป็นแบบ Dual Ring เหมือนไฟ 2 เส้นวนรอบวงพัดลมทั้ง 2 ฝั่ง สวยงาม ไม่สว่างมากจนเกินไป โดยไฟ RGB จะวิ่งเปลี่ยนเองอัตโนมัติ

เมื่อติดตั้งเข้าคู่กับ Tsunami E-SPORT D7 ที่มาพร้อมไฟและพัดลม RGB สวยงามดีทีเดียว

ทดสอบการระบายความร้อน

สเปคที่ทีมงานทดสอบ

  • CPU Cooler : Tsunami Super Storm TSS-2000
  • Case : Tsunami E-SPORT D7
  • CPU : AMD Ryzen 5 2600
  • RAM : CORSAIR VENGEANCE RGB PRO 8GB DDR4 DRAM 3200MHz
  • M/B : ASUS PRIME A320M-A
  • SSD : Crucial MX300 525GB SATA 2.5″
  • VGA : Galax Geforce RTX 2060
  • Power Supply : Thermaltake Smart Pro RGB 850W
  • OS : Windows 10 Pro
  • เทสในอุณหภูมิห้องที่ราวๆ 30-33 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที

ทดสอบกับพัดลมซีพียูเดิมๆที่แถมมาของ AMD Ryzen 5 สูงสุดที่ 74 องศาเซลเซียส ค่อนข้างร้อนแต่ก็อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

มาถึงซีพียูคูเลอร์ Tsunami Super Storm TSS-2000 สูงสุดที่ 58 องศาเซลเซียส เท่านั้น เย็นกว่าถึง 16 องศาเซลเซียส เย็นกว่าอย่างเห็นได้ชัด และที่สำคัญคือเงียบกว่าด้วย

สรุปรีวิวซีพียูคูเลอร์ Tsunami Super Storm TSS-2000 ที่น่าสนใจอีกหนึ่งตัว ทั้งผู้ที่ต้องการนำมาเปลี่ยนจากของเดิมที่แถมมา ไปจนถึงท่านที่หาซีพียูคูเลอร์ราคาคุ้มมาใช้งานร่วมกับซีพียูอันคล๊อคไม่ว่าจะเป็นรหัส K ของ Intel หรือรหัส X ของ AMD ที่สามารถใช้งานได้ด้วยจุดเด่นทั้งในเรื่องของการระบายความร้อนที่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสวยงามด้วยพัดลมไฟ RGB แบบ Dual Ring อีกทั้งความเงียบที่ให้เสียงดังน้อยกว่าซีพียูคูเลอร์เดิมๆที่ติดมา หรืออยากจะให้เย็นขึ้นอีกก้แค่ซื้อพัดลมขนาด 120 มิลลิเมตร มาติดตั้งได้เองอีก 1 ตัว เย็นเข้าไปอีก การติดตั้งก็ง่ายไม่ยุ่งยาก ทั้งหมดนี้ในราคาสุดคุ้มเพียง 599 บาท เท่านั้น

Tsunami Super Storm RGB 130W CPU COOLER TSS-2000 มาในราคาเพียง 599  บาท พร้อมให้สั่งซื้อแล้วที่

จุดเด่น

  • สีสันสวยงามด้วยไฟ RGB
  • พัดลมขนาดใหญ่มีเสียงเงียบ
  • ติดตั้งง่ายไม่ยุ่งยาก
  • ระบายความร้อนได้ดีมีประสิทธิภาพ

ข้อสังเกตุ

  • ขนาดค่อนข้างใหญ่อาจจะไม่สามารถติดตั้งได้กับเคสพวก ITX
  • ไฟ RGB ไม่สามารถปรับหรือปิดได้

from:https://notebookspec.com/review-tsunami-super-storm-rgb-tss-2000/472402/

Thermaltake Engine 27 1U Low-profile CPU Cooler Review

Thermaltake Engine 27

เริ่มจะย่างกรายเข้าสู้หน้าร้อนกันอีกครั้งแล้วซินะ และเมื่อเข้าสู่หน้าร้อนทีไร บรรดาคอเกมคอพีซีทั้งหลายก็เริ่มจะมีประเด็นให้ได้ถกกันเพิ่มเติมอีกหนึ่งเรื่อง สำหรับเรื่องของอุณหภูมิการทำงานจากชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์สุดรักของตนเอง นอกเหนือไปจากสิ่งที่จะบ่นกันเป็นประจำทุกปีอยู่แล้วว่าร้อนจนไม่อยากจะทำอะไร ไม่อยากจะไปไหน สำหรับจุดที่ดูจะเป็นประเด็นให้ได้พูดถึงกันมากที่สุดก็เห็นจะเป็นอุณหภูมิของ CPU เพราะมันถือได้ว่าเป็นจุดที่เราสามารถทำการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ระบายความร้อนได้อย่างอิสระที่สุด มีอุปกรณ์ระบายความร้อนให้ได้เลือกใช้งานกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแบบระบบระบายความร้อนด้วยอากาศหรือที่เรียกกันว่าซิงก์ลม หรือสำหรับใครที่มีงบประมาณมากหน่อยก็อาจจะขยับไปเป็นระบบระบายความร้อนด้วยน้ำที่มีทั้งชุดน้ำในแบบ All in One หรือที่เรียกกันติดปากว่าชุดน้ำปิด หรือถ้าหากมีงบเพิ่มไปอีกก็อาจจะเป็นชุดน้ำเปิดหรือระบบในแบบ Custom และที่พูดไปซะยืดยาวตรงนี้ก็เพราะว่าวันนี้ผมมีอุปกรณ์ระบายความร้อนหรือฮีตซิงก์ในโมเดลล่าสุดจากทาง Thermaltake ที่ถือได้ว่ามันกำลังเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดตัวหนึ่ง สำหรับฮีตซิงก์ในโมเดลที่ชื่อว่า Engine 27 กับความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ใครหลาย ๆ คนเห็นแล้วก็ต้องหันมอง และก็ไม่เพียงแต่จะมองอย่างเดียว จะต้องมีคำถามมากมายเกิดขึ้นในหัวขึ้นมาทันที เพราะด้วยการออกแบบที่มีความสะดุดตาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งวันนี้ผมก็จะมีคำตอบในหลาย ๆ ข้อสงสัยนำมาฝากให้ได้รับชมกัน และแน่นอนว่าจะรวมไปถึงผลการทดสอบของมันด้วยเช่นกัน

Package – บรรจุภัณฑ์

thermaltake-engine-27-0

ว่ากันทีตัวแพ็คเกจของเจ้า Thermaltake Engine 27 กันก่อนสักหน่อยละกันนะครับ ซึ่งจากในภาพผมเองก็ลืมหาอะไรมาวางเพื่อให้เป็นสเกลให้เห็นว่ามันมีขนาดใหญ่หรือเล็กขนาดไหน ซึ่งถ้าจะให้บอกเล่าก็คงต้องให้นึกถึงขนาดของกล่อง CPU จากทาง Intel โดยประมาณ ส่วนสีสันก็ตามที่เห็นละครับ มาในโทนดำเทาแต่จะสะดุดตาด้วยตัวรูปลักษณ์ของฮีตซิงก์เองที่มีมาให้เห็นกันชัด ๆ ว่ามันมีหน้าตาอย่างไร

thermaltake-engine-27-1
thermaltake-engine-27-2
thermaltake-engine-27-3

สำหรับรายละเอียดที่น่าสนใจจากบริเวณหน้ากล่องก็คงจะเป็นข้อมูลในส่วนของขนาดและความสามารถในการรองรับค่าความร้อนสูงสุดของฮีตซิงก์ตัวนี้ ซึ่งด้วยตัวฮีตซิงก์ก็จะมีการระบุไว้ชัดเจนว่ามันเป็นฮีตซิงก์ในแบบ Low-profile หรือฮีตซิงก์ที่มีความเตี๊ยมาก ๆ ในระดับ 1U ซึ่งมันจะมีความสูงสุทธิเพียง 27mm เท่านั้นเอง ส่วนอัตราค่าความร้อนสูงสุดที่มันรับได้นั้นแจ้งเอาไว้ว่ารับได้สูงสุด 70W เท่านั้น ดังนั้นในเบื้องต้นตรงนี้ก่อนจะเลือกซื้อ ก็ให้ตรวจสอบ CPU ของตนเองก่อนด้วยนะครับว่า CPU ของเรามีอัตราค่า TDP สูงสุดเท่าไหร่ หากมากกว่าค่าที่ตัว Engine 27 รองรับได้ก็ไม่แนะนำ อย่างเช่นหากจะเลือกนำมาใช้งานคู่กับ Core i7-7700K ที่มีค่า TDP ในระดับ 91W ก็ชัดเจนเลยละครับตัวฮีตซิงก์รับไม่ไหวแน่นอน แต่หากเป็นโมเดล Core i7-7700 ที่ไม่มี K มันก็จะสามารถใช้งานร่วมได้เพราะตัว CPU จะมีค่า TDP สูงสุดเพียง 65W เท่านั้น

thermaltake-engine-27-4

แกะกล่องออกมาแล้วก็ลองมาดูกันครับว่าทาง Thermaltake จะมีอะไรมาให้ได้ใช้งานกันบ้าง ซึ่งทั้งหมดก็จะมีมาเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้นเอง นอกเหนือจากตัวฮีตซิงก์แล้วก็จะมีแผ่น Back plate หรือแผ่นยึดสำหรับรองหลังซ็อคเก็ต CPU, ซิลิโคนหลอดเล็กขนาด 1g และคู่มือการติดตั้งใช้งาน

thermaltake-engine-27-5
thermaltake-engine-27-6

สำหรับตัวฮีตซิงก์ในโมเดล Engine 27 ตัวนี้จากลักษณะของการออกแบบและกับการที่ทาง Thermaltake จะมีแผ่น Back plate ในแบบซ็อคเก็ตเดียว ไม่รองรับหลาย ๆ แพลทฟอร์มก็จะเป็นที่ชัดเจนว่า Engine 27 จะรองรับการใช้งานร่วมกับ CPU จากทาง Intel บทแพลทฟอร์ม LGA 115x เท่านั้น จะไม่สามารถใช้งานร่วมกับแพลทฟอร์มอื่น ๆ ได้ และนอกจากนี้ก็อย่าลืมเรื่องของค่า TDP ตามที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้นแล้วด้วยเช่นกัน ส่วนบนตัว Back plate ที่เห็นเป็นแถบขาว ๆ มันคือแถบของกระดาษกาว เพื่อช่วยให้การติดตั้งเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น เพราะมันจะช่วยให้ตัว Back plate เกาะติดอยู่หลังเมนบอร์ดไม่หลุดร่วงลงมานั่นเอง

The Thermaltake Engine 27

thermaltake-engine-27-7

คราวนี้เรามาว่ากันที่ตัวฮีตซิงก์ในชื่อ Engine 27 กันบ้างนะครับ ซึ่งหากมองจากชื่อรุ่นที่ใช้เรียกนั้นบ่งบอกว่ามันคือเครื่องยนต์ และเหตุผลที่คาดว่าทาง Thermaltake ได้ให้ชื่อมันว่าเครื่องยนต์หรือ Engine ก็คงจะเป็นเพราะด้วยหลักการทำงานของตัวฮีตซิงก์ที่มันมีความแตกต่างไปจากฮีตซิงก์ลมโดยทั่ว ๆ ไปที่เราเคยพบเห็นกันมา ซึ่งจากปรกติแล้วมันจะถูกแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจนคือ ตัวครีบระบายความร้อนและพัดลม ทว่าสำหรับ Engine 27 มันเป็นการผสมผสานระหว่าง Fanless หรือไม่มีพัดลมกับเป็นพัดลมในตัวควบคู่กับครีบระบายความร้อน ในจุดนี้ก่อนที่ผมจะขยายความโดยละเอียดนั้น ก็จะขอพูดถึงที่มาที่ไปของมันก่อนสักหน่อยละกัน เพราะหากจะว่ากันจริง ๆ แล้วฮีตซิงก์ตัวนี้ไม่ได้เป็นการออกแบบหรือคิดค้นโดยทาง Thermaltake เองแต่อย่างใด หากแต่มันเกิดขึ้นจากงานวิจัยของ Sandia National Laboratories (ห้องปฏิบัติการแห่งชาติซานเดีย) ในประเทศสหรับอเมริกา และมันก็เคยมีผลงานวิจัยเผยออกสู่สาธารณะเป็นครั้งแรกในช่วงปี 2012 ที่ผ่านมา ซึ่งผมเองก้เคยโพสเรื่องราวเกี่ยวกับงานวิจัยดังกล่าวผ่านเฟสบุ๊คมาแล้วเช่นกัน 

สำหรับงานวิจัยจากทาง Sandia นั้นมีขึ้นมาในลักษณะที่เรียกว่า ปฏิวัติใหม่ของฮีตซิงก์ CPU โดยจะทำให้ตัวฮีตซิงก์สามารถระบายหรือถ่ายเทความร้อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีพัดลมหรือเป็น Fanless โดยจะออกแบบให้ตัวครีบเป็นพัดลมในตัว ถ่ายเทความร้อนด้วยตัวเอง และนอกจากนี้มันยังจะมีข้อดีคือจะไม่มีฝุ่นสะสมอยู่บนตัวครีบ เพราะมันจะถูกสะบัดออกไปจากตัวครีบ เนื่องจากตัวครีบจะหมุนเหวี่ยงออกไป ส่วนการที่ทาง Thermaltake มีการประกาศเปิดตัว Engine 27 นั้นก็จะเป็นการจับมือร่วมกับทาง COOLCHIP Technologies ซึ่งเป็นผู้ที่ได้นำเอาหลักการหรืองานวิจัยจากทาง Sandia มาใช้งานจริงหรือมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งทาง COOLCHIP ก็ได้มีการประกาศอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความร่วมมือดังกล่าวนี้ ดังนั้นก็ให้รับทราบเอาไว้เลยนะครับว่า Engine 27 มันก็คือผลงานจากการออกแบบของทาง COOLCHIP ที่จัดจำหน่ายโดยทาง Thermaltake นั่นเอง

thermaltake-engine-27-8
thermaltake-engine-27-10

เกี่ยวกับหลักการทำงานคร่าว ๆ ของเจ้า Engine 27 นั้น หากเรามองจากการออกแบบจะเห็นได้ว่า ตัวพัดลมที่อยู่กึ่งกลางครีบระบายความร้อนมันจะเป็นวัสดุอลูมิเนียม ซึ่งออกแบบลักษณะใบพัดในรูปของโบลเวอร์ แต่ทั้งนี้ตัวพัดลมมันไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่เป่าลมสู่ครีบระบายความร้อนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะตัวมันเองจะยังเป็นฮีตซิงก์หรือเป็นตรีบระบายความร้อนไปในตัวด้วยเช่นกัน โดยมันจะสามารถรับความร้อนผ่านการแผ่จากครีบบริเวณฐานล่างของมันเองกับตัวจานยึดที่อยู่กับที่ ซึ่งมันก็จะใช้หลักการแผ่ของความร้อนจากวัตถุที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งแน่นอนว่าถ้าจะให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด มันจะต้องมีการแตะหรือสัมผัสกันโดยตรง แต่ด้วยการที่มันจะต้องหมุนตัวไปด้วย จึงทำให้ไม่สามารถทำให้มีการสัมผัสกันได้โดยตรง แต่ก็จะออกแบบให้มันมีความห่างระหว่างกันน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ด้วยขนาดตัวที่เล็ก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับตัวฮีตซิงก์ จึงทำให้มีการออกแบบชุดฐานที่มีครีบอยู่กับที่เพิ่มเติมขึ้นมา ซึ่งตัววัสดุของฐานจะเป็นทองแดงเคลือบผิวด้วยนิกเกิล ส่วนครีบจะเป็นอลูมิเนียมความหนาแน่นสูง และจากที่ได้อธิบายไปตรงนี้เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นก็สามารถรับชมตัววิดีโอนำเสนอจากทาง Thermaltake จากด้านล่าง ซึ่งเชื่อว่าน่าจะช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นแน่นอน

Disassembly

thermaltake-engine-27-24

เพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากคำอธิบายที่ได้ขบยายความไปและตัววิดีโอจากทาง Thermaltake เอง ผมก็ได้ทำการรื้อให้เห็นแบบหมดเปลือกกันไปเลยว่า มันประกอบไปด้วยอะไรอย่างไร ซึ่งตามภาพด้านบนก็เป็นการยกชุดครีบพัดลมอลูมิเนียมออกจากตัวเรือนหรือฐานทองแดง ซึ่งเราก็จะเห็นได้ว่ามันจะได้รับการทาซิลิโคนไว้ด้วยเช่นกัน เพื่อช่วยให้การถ่ายเทความร้อนจากฐานสู่ชุดครีบหมุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

thermaltake-engine-27-28

ในส่วนของตัวครีบหมุนหรือพัดลมอลูมิเนียมนั้น ผมก็จับแยกมาให้ชมกันชัด ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งคราวนี้เราก็จะเห็นได้ว่าเจ้า Engine 27 นั้นจะประกอบไปด้วยสามส่วนใหญ่ ๆ คือ ตัวฐานทองแดงที่มีครีบอลูมิเนียม ตัวครีบหมุนอลูมิเนียมหรือพัดลม และฐานอลูมิเนียมของครีบหมุน ซึ่งก็จะเห็นว่ามันมีลักษณะพื้นผิวด้านบนเป็นครีบวงกลมซ้อนกัน 6 วงด้วยกัน

thermaltake-engine-27-26

ตรงนี้ซูมมาดูกันใกล้ ๆ สำหรับฟินวงกลมใต้ครีบหมุนและบริเวณฐานล่าง ซึ่งมันจะถูกออกแบบให้มีซ้อนเกยกันเป็นฟันปลา โดยระยะห่างระหว่างฟินของตัวฐานและตัวครีบหมุนนั้น ผมหาสเป็คไม่เจอว่ามันห่างกันมากน้อยขนาดไหน และประกอบกับหาเวอร์เนียร์ฯก็ไม่เจอ ดังนั้นจึงบอกเป็นค่าตายตัวเป๊ะ ๆ ไม่ได้ คงบอกได้เพียงว่าห่างกันไม่ถึง 1mm ซึ่งในจุดนี้ก็ตามที่ได้บอกเล่าไปในช่วงต้นที่ว่า ยิ่งชิดเท่าไหร่ก็จะยิ่งดี เพราะความร้อนจะได้แผ่ไปยังฟินอีกชุดได้มากยิ่งขึ้น แต่กระนั้นหากว่าชิดกันมากเกินไปหรือมีช่องว่างน้อยมาก ๆ มันก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้ เช่นว่าหากมีฝุ่นผงเล็กลอดเข้าไป มันก็จะทำให้เกิดการติดขัดขึ้นได้ หรือหากออกแบบมาในลักษณะงานละเอียด ห่างกันในระดับ Micron ก็สามารถทำได้อยู่ แต่ต้นทุนก็ย่อมจะต้องสูงขึ้นเป้นเงาตามตัวนั่นเอง

thermaltake-engine-27-11
thermaltake-engine-27-12

ส่องโครงสร้างภายในกันโดยละเอียดกันไปแล้ว คราวนี้มาว่ากันที่รายละเอียดภายนอกโดยรอบกันบ้าง โดยตัวฐานล่างทั้งหมดจะเป็นวัสดุทองแดงเคลือบผิวด้วยนิกเกิล รวมถึงบริเวณพื้นผิวหน้าสัมผัสสำหรับแลกเปลี่ยนความร้อนจากตัวซีพียูเช่นกัน

thermaltake-engine-27-9
thermaltake-engine-27-13
thermaltake-engine-27-14

ขอพูดถึงสักนิด เผื่อว่าใครที่ซื้อไปแล้วหรือเห็นแล้วเกิดข้อสงสัยว่า เหล็กชิ้นเล็ก ๆ ที่หนีบติดอยู่กับตัวครีบหมุนมันคืออะไร ? ซึ่งเจ้าเหล็กชิ้นเล็ก ๆ ดังกล่าวก็คือการถ่วงสมดุลให้กับตัวชุดครีบหมุนนั่นเอง เพราะหากว่าไม่มีการถ่วงให้เกิดความสมดุลเวลาหมุนจะทำให้เกิดการสั่น ส่วนตัวเสาสกรูสำหรับจับยึดนั้น จะออกแบบมาให้ติดอยู่กับตัวฐานไม่หลุดร่วงออกมา ช่วยให้การติดตั้งเป็นไปได้สะดวกยิ่งขึ้น และตัวสกรูเองก็จะออกแบบให้ระยะกวดมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อเป็นการกำหนดระยะและรวมทั้งแรงกดจากสปริงไม่ให้เกินไปจากที่ออกแบบไว้ สุดท้ายกับตัวพัดลมหรือครีบหมุนจะรองรับการควบคุมการทำงานด้วยระบบ 4pin PWM และมันก็จะมีรอบการทำงานสูงสุดที่ 2500rpm

Thermaltake Engine 27 vs Intel Stock Cooler

thermaltake-engine-27-23

เปรียบเทียบกันชัด ๆ วัดกันตัวต่อตัวกับ Intel Stock cooler ซึ่งในภาพจะเป็นฮีตซิงก์ที่บันเดิลมากับ CPU ในโมเดล Core i3-6100 ซึ่งหน้าตามันก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเจนฯที่ผ่าน ๆ มารวมทั้งตัววัสดุด้วยเช่นกัน และมันก็จะเป็นฮีตซิงก์ที่ผมจะใช้ทำการทดสอบเปรียบเทียบอุณหภูมิการทำงานกับ Engine 27 จากทาง Thermaltake ในวันนี้อีกด้วย ทั้งนี้สำหรับเรื่องของการรองรับค่าความร้อนสูงสุดหรือระดับ TDP ของฮีตซิงก์มาตรฐาน Intel นั้น จากข้อมูลเท่าที่จะหาได้ทาง Intel จะระบุเอาไว้ว่า มันจะถูกออกแบบให้รองรับค่าความร้อนได้สูงสุด 95W ซึ่งก็ถือว่าจะรองรับได้สูงกว่า Engine 27 จากทาง Thermaltake

thermaltake-engine-27-22

เมื่อเรามองจากค่า TDP ของตัวฮีตซิงก์ที่รองรับได้สูงสุดซึ่ง Engine 27 จะรองรับเพียง 70W แต่สิ่งที่มันถือว่าเป็นจุดเด่นกว่า Intel Stock Cooler อย่างชัดเจนคือเรื่องของความสูง ซึ่งเจ้า Engine 27 มันจะเป็นฮีตซิงก์ในขนาดความสูงตามมาตรฐาน 1U โดยมันจะมีความสูงเพียง 27mm และถ้าเรามองจากภาพ ความสูงทั้งหมดของตัวฮีตซิงก์ก็จะประมาณครึ่งเดียวของ Intel Stock Cooler เท่านั้นเอง

Installation

thermaltake-engine-27-15
thermaltake-engine-27-17

การประกอบหรือการติดตั้งเพื่อใช้งานนั้น ก็ไม่ได้มีความยุ่งยากอะไรมากมาย เพียงแค่เรานำแผ่น Back plate รองด้านหลังซ็อคเก็ต ซึ่งหากต้องการให้สะดวกหรือคนที่ใช้ยาว ๆ ก็สามารถลอกแผ่นปิดกาวออกให้มันยึดอยู่กับตัวเมนบอร์ดได้เลย ซึ่งมันก็จะยิ่งทำให้การติดตั้งเป็นไปได้สะดวกยิ่งขึ้น จากนั้นก็แค่เพียงทาซิลิโคนลงบนซีพียู และอย่าลืมลอกแผ่นพลาสติกที่ปิดมาบนฐานหน้าสัมผัสออก แล้วนำมาวางทาบบนซีพียู กวดสกรูให้แน่นพอตึงมือ ในการกวดสกรูก็ให้ระมัดระวังนิดหน่อย เพราะจะต้องออกแรงกดจากแรงต้านของสปริงเล็กน้อย เพราะว่าตัวสกรูจะไม่ได้ชนกับตัวรูยึดบนแผ่น back plate พอดี จะต้องกดสกรูลงไปเล็กน้อยก่อน ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะมีอาการงัดบ้าง ก็อย่าลืมใช้มือกดประคองฝั่งตรงกันข้ามเอาไว้ด้วยนะครับ

Test System Setup

thermaltake-engine-27-19

6700k Intel Core i7-7700K Buy Now
td02-e SilverStone TD02-E Buy Now
gelid-gc-extreme GELID GC-Extreme Buy Now
TridentZ G.SKILL F4-3600C17D-16GTZKW [Trident Z] Buy Now
Lite-on-Zeta GALAX Geforce GTX 1080 HOF Buy Now
Lite-on-Zeta Lite-On ZETA 256GB Buy Now
galax-hof-1200w GALAX HOF-1200W Buy Now
windows10-pro Microsoft Windows 10 Pro Buy Now

thermaltake-engine-27-20
thermaltake-engine-27-21

ภาพหลังจากการประกอบใช้งานเพื่อทำการทดสอบ ซึ่งในการประกอบก็ถือว่าเป็นไปอย่างเรียบร้อยดี ซิลิโคนกระจายตัวเต็มพื้นที่หน้าสัมผัส ซึ่งเป็นการบ่งบอกให้ทราบว่าตัวฐานหน้าสัมผัสของฮีตซิงก์ก็มีความเรียบเสมอไม่เอียง ไม่บุ๊มหรือป่องใด ๆ

How to Test – วิธีการทดสอบ

tt-en27-6100-default

สำหรับในการทดสอบนั้น วันนี้ผมก็จะเลือกใช้ซีพียูในโมเดล Core i3-6100 ซึ่งมันจะเป็น CPU ที่มีค่า TDP สูงสุดในช่วง 51W ไม่สูงเกินกว่าสเป็คของตัวฮีตซิงก์ เพราะหากเลือกใช้ CPU ในโมเดล Core i7-7700K หรือ 6700K ตัว CPU ก็จะให้ค่าความร้อนที่สูงเกินกว่าฮีตซิงก์จะรองรับได้ เพราะตัว CPU จะมีค่า TDP ที่สูงกว่า 91W/95W เลยทีเดียว ส่วนความเร็วในการทดสอบ ผมก็จะทำการทดสอบที่สองความเร็วคือ ในช่วงเดิม ๆ ตามสเป็ค 3.7GHz ใช้ไฟเลี้ยง Auto และในโหมดของการโอเวอร์คล๊อกไปที่ความเร็ว 4.5GHz ด้วยไฟเลี้ยง 1.408V ส่วนการ Burn-in ตัว CPU จะใช้โปรแกรม Prime95 ทำการรันทดสอบด้วยโหมด SmallFFT ในระยะเวลาอย่างน้อย 15 นาที

thermaltake-engine-27-18

Test Results

Core i3-6100@Default clock (3.7GHz, Vcore Auto)

thermaltake-engine27-def

ผลการทดสอบแรกกับในช่วงของความเร็วเดิม ๆ ซึ่งจากผลที่ออกมานั้นถ้ามองกันที่ช่วง Idle หรือช่วงที่ไม่มีโหลด กับความแตกต่างเพียง 1°C ที่เห็น ผมว่ามันคงบอกอะไรไม่ได้ว่ามันแตกต่างกัน เพราะมันอาจจะเป็นแค่ค่าความแกว่างไปมาในแต่ละช่วงเวลาเท่านั้นเอง แต่จุดที่น่าสนใจคือในช่วง Full Load โดยผลที่ปรากฏคือ Engine 27 จะให้อุณหภูมิที่สูงกว่าฮีตซิงก์เดิม ๆ จากทาง Intel อยู่ประมาณ 4°C ก็ถือว่าเป็นความแตกต่างที่ชัดเจน สามารถสรุปได้ว่าแตกต่างกันจริง ๆ และในจุดนี้ผมเองก็ทดสอบสามครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่ผิด โดยรี้อเข้ารื้อออกอยู่สามรอบ ในเบื้องต้นตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะเริ่มรู้สึกว่าผิดหวังกับผลที่เห็น แต่อย่าเพิ่งด่วนสรุปไปนะครับ เราลองไปดูกันที่ผลการทดสอบในช่วงของการโอเวอร์คล๊อกกันดูบ้าง

Core i3-6100@4.5GHz, 1.408Vcore 

thermaltake-engine27-oc

สำหรับผลการทดสอบในโหมดของการโอเวอร์คล๊อกนั้น ผลในส่วนของช่วง Idle เราจะเห็นว่าแตกต่างไปจากเดิม ๆ คือสลับกัน แต่ทว่าช่วงอุณหภูมิที่แตกต่างก็ยังอยู่ในช่วง 1°C ดังนั้นก็คงจะยังพูดได้ว่าไม่มีความแตกต่าง และในช่วงของ Full Load คราวนี้แม้ว่าผลที่ออกมาจะยังคงเดิมคือ Engine 27 จะร้อนกว่า แต่ช่วงความห่างก็ลดลงจากเดิมที่แตกต่างกันหรือร้อนกว่าอยู่ 4°C ลดช่องว่างลงมาเหลือเพียง 3°C เท่านั้น สำหรับอุณหภูมิห้องในระหว่างการทดสอบจะอยู่ที่ประมาณ 30°C

Conclusion

หลังจากได้เห็นถึงผลการทดสอบกันไป เชื่อเลยว่าในเบื้องต้นหลาย ๆ คนหรืออาจจะเกือบทั้งหมดมีความรู้สึกว่าผิดหวัง อุตสาห์นักลุ้นว่ามันจะต้องเย็นกว่ามาก ๆ เพราะเห็นทีแรกจากทั้งหน้าตา จากทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ และวัสดุมันดูดีมาก มันคงจะต้องเย็นมาก ๆ แน่นอนหรืออย่างน้อย ๆ ก็เย็นกว่าฮีตซิงก์เดิม ๆ ของ Intel แต่กับผลที่ออกมากลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม แต่ทว่าต้องทำความเข้าใจเอาไว้ก่อนด้วยนะครับว่า วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของฮีตซิงก์ในโมเดล Engine 27 นั้นเน้นหนักไปในทิศทางใด ซึ่งเบื้องต้นก็คงจะเห็นกันชัดเจนแล้วว่า มันเป็นฮีตซิงก์ในแบบ Low-profile หรือฮีตซิงก์แบบเตี๊ยสุด ๆ บางมาก ๆ ก็ชัดเจนว่ามันถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานเฉพาะทางเฉพาะกลุ่ม สำหรับผู้ที่จะใช้งานร่วมกับเคสเล็ก ๆ ที่มีพื้นที่จำกัดหรือใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเป็น HTPC มันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเอาใจขาโหด ขาโอซีฯ เพราะทาง Thermaltake เองก็มีการระบุมาชัดเจนแล้วว่า ตัวฮีตซิงก์ในโมเดลดังกล่าวนี้จะรองรับค่าความร้อนได้สูงสุดเพียง 70W ซึ่งมันต่ำกว่าฮีตซิงก์มาตรฐานของทาง Intel เองด้วยซ้ำไป ดังนั้นกับผลการทดสอบที่ออกมาอย่างที่เห็นก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ในทางกลับกันผมมองว่ามันทำได้ดีด้วยซ้ำ เพราะถ้าเทียบกันจากค่า TDP ที่รองรับที่มันต่ำกว่ามากถึง 25W แต่กลับสามารถรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียง มีอุณหภูมิที่ร้อนกว่าเพียง 3-4°C เท่านั้น ซึ่งไม่ได้แตกต่างมากมายอะไร แถมขนาดตัวก็เล็กกว่ามาก เสียงรบกวนจากการทำงานก็น้อยกว่ามาก ๆ เพราะ Engine 27 นั้นแทบจะไม่ได้ยินเสียงของตัวพัดลมเลย ซึ่งจากผลที่ออกมาผมว่ามันก็ทำได้ในเกณฑ์ที่น่าพอใจระดับหนึ่ง ทั้งนี้สำหรับรายละเอียดในจุดแตกต่าง ๆ แบบแยกย่อยจะยังมีอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง ลองมาดูกันครับ

Performance (ประสิทธิภาพ) – สำหรับประเด็นแรกกับเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน เบื้องต้นคงพูดได้ว่า แค่ทำได้ในระดับที่น่าพอใจ ยังไม่ถึงกับดีเด่นหรือน่าประทับใจ แต่ก็ด้วยข้อจำกัดของขนาด ข้อจำกัดของการออกแบบเพื่อการใช้งานเฉพาะทาง ซึ่งตรงนี้ก็ต้องแยกแยะให้ออกด้วยละกันนะครับ ซึ่งจะพูดว่าเข้าขั้นแย่ไม่ได้ เพราะผลที่ออกมาแค่ตัวเลขดูด้อยกว่า แต่เราก็ได้อย่างอื่นทดแทน เงียบลง ได้พื้นที่เพิ่มขึ้น โล่งขึ้น สวยงามขึ้น

Design and Build Quality (การออกแบบและคุณภาพเนื้องงาน) – เรื่องของการออกแบบนี่ผมว่าคงจะมีใครหลายคนเห็นตรงกันอย่างแน่นอนว่า มันดูดี มันสวยงามเลยทีเดียวใช่ไหมละครับ ซึ่งผมเองก็มองว่าสวยงามและดูแปลกใหม่ ดูมีเสน่ห์น่าดึงดูดไม่น้อย รวมทั้งการเรื่องของความปราณีตของตัวชิ้นงานเองก็ทำได้ดีไม่แพ้กัน

Overall Feature (ลูกเล่นโดยรวม) – ในประเด็นนี้อาจจะเสียคะแนนไปพอสมควร เพราะด้วยที่มันถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้เพียงแพลทฟอร์มเดียวเท่านั้นคือ Intel LGA115x ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานร่วมกับซีพียูจากทาง AMD ได้เลย แม้ว่าซีพียูจากฝั่ง AMD จะมีโมเดลที่มี TDP ไม่เกินไปกว่า 70W ก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ เพราะขายึดออกแบบมาลักษณะตายตัว

Bundle Accessories (ของแถม) – สำหรับอุปกรณ์บันเดิลนั้นคงไม่มีอะไรมาก ในเมื่อใช้งานได้แบบจำกัดเพียงแพลทฟอร์มเดียว จากสิ่งที่ให้มาก็ถือว่าครบถ้วนสมบูรณ์ดีแล้วละครับ

Value for money (ราคาและความคุ้มค่า) – จากราคาที่พบเห็นในตลาดบ้านเรากับราคาในช่วงประมาณ 1,690 บาทนั้น ในจุดนี้คงพูดได้ยากพอสมควรว่ามันให้ความคุ้มค่าได้มากน้อยขนาดไหน เพราะถ้ามองในเรื่องของประสิทธิภาพนั้นมันอาจจะไม่เป็นคำตอบที่ใช่ แต่ถ้าเป็นการใช้งานเฉพาะทาง ตรงตามวัตถุประสงค์คือ ใช้งานในแบบ HTPC หรือใช้งานกับเคสที่มีพื้นที่จำกัด อยากได้ความเงียบ กับราคาที่เห็นก็ถือว่ายอมรับได้ เมื่อเทียบกับตัววัสดุที่ใช้ ล้วนแล้วเป็นวัสดุเกรดดี มีความปราณีตในงานประกอบรวมทั้งตัวชิ้นงาน ประเด็นนี้ส่วนหนึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคนไปอีกด้วย

Final Thought

ขอทิ้งท้ายตรงนี้สักนิดว่า จากผลที่เห็นก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่ามันไม่ดี ไม่แจ่ม ไม่น่าใช้ ซึ่งจากที่ผมได้พูดไปในช่วงบทสรุปด้านบนว่า โดยรวมก็ถือว่าทำได้ดีอยู่เพราะอย่างที่บอก ด้วยสเป็คที่รองรับ TDP น้อยกว่าเยอะพอตัวแต่สามารถให้ประสิทธิภาพได้ใกล้เคียง แค่นี้ก็ถือว่าทำได้ดีแล้วละครับ และถ้าหากจะบอกว่า Thermaltake ออกแบบมาไม่ได้ ก็คงจะไปว่าเขาไม่ได้เพราะฮีตซิงก์ตัวนี้เป็นผลงานจากทาง COOLCHIP และถ้าถามว่าทำไมไม่ทำมาให้มันเย็น ๆ ไปเลย ทำมาให้ใหญ่กว่านี้ พัดลมรอบสูงกว่านี้ ? ซึ่งผมก็คงตอบแทนในเบื้องต้นได้ว่า มันก็ทำได้แน่นอน แต่มันก็จะต้องแลกด้วยข้อจำกัดบางอย่าง เช่นราคาอาจจะต้องสูงขึ้น เสียงรบกวนมากขึ้น แต่กับการเริ่มต้นเป็นครั้งแรก กับการทำให้งานวิจัยออกสู่โลกของความเป็นจริงได้นั้น มันทำได้ดีเลยละครับ ให้เวลาอีกหน่อย ในเวอร์ชันต่อ ๆ ไปหรือในรุ่นอื่น ๆ หลังจากนี้ไป ผมเชื่อว่าเราคงจะได้เห็นเวอร์ชัน High performance ออกมาให้ได้เห็นกันแน่นอน แต่ในขณะนี้เจ้า Engine 27 ก็คงจะเหมาะสำหรับใครที่มองหาฮีตซิงก์ ขนาดเล็ก ๆ บาง ๆ เงียบ ๆ มาใช้งานแทนของเดิม ส่วนใครที่ซื้อ CPU ในตระกูล K-SKU ผมไม่แนะนำนะครับ

What’s Awesome?

  • ออกแบบได้สวยงามน่าใช้งาน
  • เลือกใช้วัสดุคุณภาพดี มีความปราณีตในตัวชิ้นงาน
  • ให้เสียงรบกวนต่ำมาก

What’s exceptions?

  • การติดตั้งหรือประกอบยังต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • แผ่น Back plate เป็นพลาสติก ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
  • ใช้งานได้เฉพาะแพลทฟอร์ม Intel LGA115x เท่านั้น
Feb 14, 2017
Manufacture  Thermaltake Technology Co., Ltd.
Distributor TKCOM Accessories System Cooling
Price : 1,690THB (JIB) Buy Now


from:http://feedproxy.google.com/~r/zolkorn/~3/VW5y3mJoWIg/

เผยแล้ว CoolerMaster MasterLiquid Maker 92 สำหรับฮีตซิงก์ Hybrid ในแบบ AIO

CoolerMaster MasterLiquid Maker 92

น่าจะยังไม่ทันจะลืมกันนะครับสำหรับความเคลื่อนไหวจากทาง CoolerMaster เมื่อช่วงสัปดาห์ก่อน กับการที่ทาง CoolerMaster ได้ออกมาปล่อยทีเซอร์ว่ากำลังจะมีการเปิดตัวอุปกรณ์ระบายความร้อนให้กับ CPU หรือที่เรียกกันว่า CPU Cooler โดยที่ CoolerMaster ระบุว่ามันจะเป็น CPU Cooler ที่ไม่เคยมีให้เห็นที่ไหนมาก่อน กับการออกแบบในลักษณะที่เป็นการทำงานแบบผสมผสานระหว่าง Air Cooler และ Water Cooler ซึ่งเราก็จะเรียกการทำงานแบบผสมว่า Hybrid โดยในเวลานั้นก็มีภาพเพียงเฉี่ยว ๆ มาให้เราได้เห็นกัน และในที่สุดทาง CoolerMaster ก็ได้มีการเปิดเผยข้อมูลขึ้นสู่หน้าเว็บไซต์ของตนเองอย่างเป็นทางการกับ CPU Cooler ที่ใช้ชื่อว่า MasterLiquid Maker 92

13_d7fb06f9955c88a82180b10836091f0c_1470883529

สำหรับหน้าตาที่ออกมาก็ถือว่าเป็นไปตามที่หลาย ๆ คนคาดการณ์กันเอาไว้ ก็คือเป็นการออกแบบชุดระบายความร้อนด้วยน้ำที่เรียกกันว่า AIO (All in One) แต่ให้มันมีรูปทรงไปในลักษณะเดียวกันกับฮีตซิงก์ลม ซึ่งทาง CoolerMaster สามารถทำออกมาได้อย่างน่าสนใจด้วยการที่เราจะสามารถรูปลักษณะการติดตั้งได้ตามความต้องการหรือเหมาะสมกับเคสของเรา โดยมันจะสามารถเลือกได้ว่าจะให้พัดลมเป่าลมในแนวนอนเหมือน ๆ กับฮีตซิงก์ทาวเวอร์ทรงสูง หรือเป่าลมลงด้านล่างเหมือน ๆ กับฮีตซิงก์ในแนวนอน

13_a1c1954cfbfcabf8ae80ad11383bdaf3_1470883530
13_ca1a03a8b916d2ab02331044b68608a8_1470883529

ด้านรูปทรงโดยรวมนั้นก็ถือว่าทำออกมาได้สวยงามไม่น้อย ด้วยการออกแบบให้ตัวปั๊มน้ำควบรวมอยู่กับตัวหม้อน้ำ ส่วนตัว Water Block ก็แน่นอนว่าจะรวมอยู่กับโครงสร้างของฐานสำหรับจับยึด ส่วนตัวพัดลมที่ใช้จะเป็นพัดลมในขนาด 92mm จำนวนสองตัวประกอบหน้าหลังของหม้อน้ำ และเมื่อมองกันถึงขนาดตัวที่ออกมาก็จะถือได้ว่ามีขนาดที่ไม่แตกต่างไปจากฮีตซิงก์ลมทั่ว ๆ ไปมากนัก โดยมันจะมีขนาดความกว้างxยาวxสูงที่ 99.9 x 81.6 x 167.5mm กรณีเลือกติดตั้งในแนวดิ่งหรือ 99.9 x 142 x 118.8 mm กรณีติดตั้งในแนวนอน ดังนั้นมันก็จะไม่มีปัญหาในการใช้งานร่วมกับเคสทั่ว ๆ ไปอย่างแน่นอน

13_4849480a811948da074caaa08adb2eb9_1470883530
13_699b493b5bd39fa77be923ef396dd9a2_1470883530

ทั้งนี้สำหรับ CoolerMaster MasterLiquid Maker 92 มันจะถูกผลิตออกมาในปริมาณจำกัดและจะมีการเปิดให้สั่งจองล่วงหน้าหรือ Pre-order ได้ในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ สำหรับใครที่สนใจอยากเป็นเจ้าของก้สามารถเข้าไปกดติดตามเพื่อรอการอัพเดทถึงรายละเอียดของการสั่งจองได้ตามลิงก์ด้านล่าง

MasterLiquid Maker 92

Pre-Order


from:http://feedproxy.google.com/~r/zolkorn/~3/MOMHQEVGuuU/

CoolerMaster ปล่อยทีเซอร์ ชุดน้ำ AIO ในแบบ Hybrid คู่กับซิงก์ลม ?

AIO Air Cooler Hybrid

ปัจจุบันนี้บทบาทของ CPU Cooler หรือฮีตซิงก์สำหรับซีพียูที่เป็นการระบายความร้อนด้วยอากาศนั้นลดลงไปเป็นอย่างมาก เพราะการเข้ามาของอุปกรณ์ระบายความร้อนด้วยของเหลวหรือน้ำในลักษณะที่เรียกว่า AIO (All in One Water Cooling) ด้วยความสะดวกในการประกอบติดตั้งใช้งาน และบวกกับเรื่องของความสวยงามที่ได้รับ จึงทำให้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำในแบบ AIO หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ชุดน้ำปิด” ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและแพร่หลายเป็นอย่างมาก

กระนั้นสำหรับหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เราคุ้นหูกันมานานอย่าง CoolerMaster ที่แม้ว่าช่วงหลังมานี้จะเงียบ ๆ ลงไป ก็ยังไม่หยุดที่จะคิดที่จะพัฒนาอุปกรณ์ระบายความร้อนให้กับ CPU ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็คงเพราะต้องการสร้างความแตกต่าง โดยล่าสุดได้ออกมาเปรยหรือปล่อยทีเซอร์ โดยมีคำพูดที่เป็นประเด็นหลักว่า

Cooling Will Never be the Same…

10073235294l

คำกล่าวดังกล่าวมีใจความได้ว่า “ระบบระบายความร้อนจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป” โดยเจ้าระบบระบายความร้อนตัวใหม่หรืออาจจะเรียกว่าฮีตซิงก์ก็พอได้ มันจะมีลักษณะการออกแบบให้เป็น Hybrid กล่าวคือจะเป็นการผสมผสานระหว่าง Air Cooler+AIO Water Cooling โดยที่มันจะให้ประสิทธิภาพได้ในระดับเดียวกันกับ AIO ในปัจจุบันนี้ แต่จะมีลักษณะการติดตั้งใช้งานเหมือนกับฮีตซิงก์ทั่วไป ซึ่งก็เพื่อที่จะทำการลดชิ้นส่วนของอุปกรณ์ที่จะต้องติดตั้งลงไป หรือพูดง่าย ๆ ว่าทำให้มันอยู่รวมกันเป็นชิ้นเดียว สำหรับตัวฮีตซิงก์จะรองรับการติดตั้งพัดลมจำนวน 2 ตัว ซึ่งมันจะมีรูปทรงในลักษณะเหมือน ๆ กับฮีตซิงก์ในทรงทาวเวอร์

สำหรับข้อมูลต่าง ๆ ที่เผยออกมาในเวลานี้ยังไม่มีอะไรมากนัก มีเพียงภาพในมุมเล็ก ๆ ที่เผยให้เห็นตัวฮีตซิงก์บริเวณฐานล่าง และภาพใหญ่ด้านบนน่าจะเป็นภาพจากมุมบนหรือ Top view ซึ่งตามข่าวระบุว่าทาง CoolerMaster น่าจะมีการออกมาเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้

ZoLKoRn Says: ก็ถือว่าเป็นข่าวดีที่เราจะได้มีอะไรแปลกใหม่ออกมาให้ได้เห็น ให้ได้เลือกใช้งานกัน หลังจากที่ครั้งหนึ่งเคยตื่นเต้นกับการมาของ AIO หรือชุดน้ำปิด จนในเวลานี้มันกลายเป็นเรื่องปรกติไปเสียแล้ว เฉย ๆ ไปแล้ว ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ส่วนด้านฮีตซิงก์เองก็ไม่มีอะไรให้ได้ตื่นเต้นมานานมากแล้วเช่นกัน สำหรับการนำแนวคิดในลักษณะของ Hybrid มาใช้จากทาง CoolerMaster ในครั้งนี้ก็ถือว่ามีความน่าสนใจไม่น้อยเลวทีเดียว จุดที่น่าสนใจหลัก ๆ ก็จะเป็นในเรื่องของหน้าตาและประสิทธิภาพ ซึ่งหากว่าทำออกมาได้ดี ได้ทั้งสวยและเย็น ก็คงชนะใจผู้ใช้งานได้อย่างแน่นอน ก็ต้องรอดูกันต่อไป

จุดหนึ่งที่อยากจะขอพูดถึงสักหน่อยเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบายความร้อนจากทาง CoolerMaster เกี่ยวกับตัวชุดจับยึดฮีตซิงก์ ซึ่งที่ผ่าน ๆ มานั้นบอกตามตรงเลยว่า ออกแบบได้ไม่ดีเลย โดยเฉพาะการประกอบใช้งานที่ค่อนข้างยุ่งยากวุ่นวาย และถ้าผมดูไม่ผิด จากในภาพดูเหมือนว่ายังคงใช้ชุดจับยึดเหมือนเดิม ซึ่งในจุดนี้อยากให้มีการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นกว่านี้สักที


from:http://feedproxy.google.com/~r/zolkorn/~3/cfz53sjGDFo/