คลังเก็บป้ายกำกับ: BLACK_LIVES_MATTER

เปิดตัว Apple Watch 6 รุ่นพิเศษ Black Unity สนับสนุนความเท่าเทียมและความยุติธรรมทางเชื้อชาติ

Apple Watch 6 ถือว่ามีอายุอานามเกือบๆ ครึ่งปีได้แล้ว หลังจาก Apple ได้นำสมาร์ทวอทช์รุ่นนี้มาเปิดตัวพร้อมกับ Apple Watch SE รุ่นราคาประหยัดในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ล่าสุด Apple Watch 6 นี้ก็มีรุ่นพิเศษออกมาใหม่แล้ว รอบนี้เป็นเวอร์ชั่น Black Unity เฉลิมฉลองให้กับสัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวของกลุ่มแอฟริกันพลัดถิ่น

Apple Watch 6 Black Unity จะมีให้เลือกด้วยกันทั้งหมด 2 ขนาด ได้แก่ขนาดหน้าปัด 40 มม. และ 44 มม. ตัวของสายนาฬิกาจะประกอบไปด้วยสีดำ สีเขียว และสีแดง โดยความหมายของทั้ง 3 สี จะมีดังนี้

  • สีแดง – สีของโลหิตที่รวมกลุ่มคนแอฟริกันพลัดถิ่นให้เป็นหนึ่ง
  • สีดำ – คนผิวดำ ยืนยันถึงการมีตัวตนของพวกเขา
  • สีเขียว – ความมั่นคั่งทางธรรมชาติของทวีปแอฟริกา

โดยข้างล่างหน้าปัด (แถวเซ็นเซอร์ต่างๆ) ทาง Apple ก็ได้สลักคำว่า “Black Unity” เอาไว้ด้วย นอกจากนี้บริเวณพินล็อคสายก็มีคำว่า “Truth. Power. Solidarity”.  สำหรับราคาก็ตามนี้เลยครับ

  • Apple Watch 6 Black Unity
    • รุ่นหน้าปัด 40 มม. เริ่มต้น 13,400 บาท
    • รุ่นหน้าปัด 44 มม. เริ่มต้น 14,400 บาท

ส่วนใครที่อยากได้แค่สายนาฬิกาเฉยๆ ทาง Apple ก็มีขายเหมือนกัน โดยตั้งราคาเอาไว้ที่ 1,600 บาท

 

ที่มา: Apple

 

from:https://droidsans.com/apple-watch-black-unity-announced/

Linux Torvalds อนุมัติการใช้ศัพท์ใหม่แทน Blacklist และ Slave สนับสนุนแคมเปญต้านการเหยียดผิว

Linux Torvalds ได้เซ็นอนุมัติการเลือกใช้คำศัพท์ใหม่แทนคำว่า Blacklist และ Slave ในขั้นตอนการพัฒนาหรือเอกสารประกอบ ซึ่งก่อนหน้านี้มีหลายบริษัทเทคโนโลยี ออกนโยบายลักษณะนี้มาแล้ว

สำหรับคำศัพท์ที่อาจจะใช้แทน master/slave มีทางเลือกดังนี้

  • primary/secondary
  • main/replica or subordinate
  • initiator/target
  • requester/responder
  • controller/device
  • host/worker or proxy
  • leader/follower
  • director/performer

ศัพท์แทน blacklist/whitelist คือ

  • denylist/allowlist
  • blocklist/passlist

ปัจจุบันทางทีมงาน Linux กำลังขอความเห็นจากนักพัฒนาอยู่ โดยการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นกับซอร์สโค้ดใหม่ๆ ที่ออกมาหลังจากนี้ รวมไปถึงเอกสารประกอบ ส่วนคำศัพท์เดิมจะยังมีอยู่แค่ในโค้ดเวอร์ชันเก่าๆ เท่านั้น จะเห็นได้ว่าแคมเปญ ‘Black Lives Matter’ ได้ส่งแรงไปถึงบริษัทใหญ่ๆ ด้านเทคโนโลยีมากมายเช่น Twitter, GitHub, Microsoft, LinkedIn, Ansible, Splunk, Android, Go, MySQL, PHPUnit, Curl, OpenZFS, Rust, JP Morgan และล่าสุดก็คือ Linux นั่นเอง

ที่มา :  https://www.zdnet.com/article/linux-team-approves-new-terminology-bans-terms-like-blacklist-and-slave/

from:https://www.techtalkthai.com/linux-torvalds-approve-replace-new-word-for-blacklist-and-slave/

Black Lives Matter จุดกระแสการอ่านเข้าใจคนผิวดำ ทางรอดใหม่ต่อลมหายใจร้านหนังสือสหรัฐฯ

จากกระแสเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับ George Floyd ชายผิวดำที่ถูกตำรวจในเมือง Minneapolis ประเทศสหรัฐอเมริกาทำร้ายจนเสียชีวิตในที่สุด ก่อนจะลุกลามกลายเป็นการเรียกร้องความเท่าเทียมให้กับคนผิวดำทั่วโลก โดยเราจะรู้จักกันในชื่อว่า Black Lives Matter

ภาพจาก Shutterstock

ในขณะเดียวกันที่ประเทศสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างหนัก จนสร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการร้านหนังสือหลายแห่งว่าจะต้องปิดร้านในที่สุด แต่กลายเป็นว่ากระแส Black Lives Matter กลับทำให้ร้านหนังสือของคนผิวดำได้รับประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากในช่วงนี้มีคนจำนวนมากหันมาสนใจหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดเชื้อชาติ โดยเฉพาะจากกลุ่มคนที่เกิดการตั้งคำถาม และอยากทำความเข้าใจคนผิวดำในสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น

ร้านหนังสือของคนผิวดำยอดขายพุ่ง

ห้องสมุด ร้านหนังสือ เว็บไซต์ และ Social Media มีการแนะนำหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดผิว จนทำให้หนังสือเหล่านี้ได้รับความนิยมขึ้นมา เช่น Between the World And Me เขียนโดย Ta-Nehisi Coates, White Fragility เขียนโดย Robin DiAngelo และ So You Want to Talk about Race เขียนโดย Ijeoma Oluo เป็นต้น

ทำให้ร้านหนังสือที่มีเจ้าของเป็นคนผิวดำหลายๆ แห่ง ได้รับประโยชน์จากกลุ่มคนที่ให้ความสนใจอย่างมาก ร้านหนังสือแห่งหนึ่งใน Boston เล่าว่ามีคำสั่งซื้อหนังสือกว่า 10,000 ครั้ง ภายในระยะเวลาเพียง 3 วัน และหลังจากนั้นก็มีคำสั่งซื้อทยอยเข้ามาเพิ่มอีกเรื่อยๆ มากกว่า 10,000 ครั้ง ทางอีเมลของร้าน โดยหนังสือที่คนสนใจล้วนเป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ และสีผิวทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตามแม้ว่าร้านหนังสือของคนผิวดำจะได้ประโยชน์จากกระแสความสนใจของคนที่หันมาตระหนัก และอยากหาความรู้เกี่ยวกับความเท่าเทียมของคนผิวดำมากขึ้น จนทำให้ร้านหนังสือเหล่านี้สามารถอยู่รอดในสถานการณ์โควิด-19 ได้

ภาพจาก Unsplash โดย Claudio Schwarz

หนังสือไม่พอขาย ไปรษณีย์ส่งช้าไม่ทันใจ

แต่อย่าลืมว่าในช่วงนี้ประเทศสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่ปกติจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ รวมถึงผู้จัดจำหน่ายหนังสือหลายๆ แห่งเพิ่งจะประกาศปลดพนักงานออกไป ทำให้ ปริมาณหนังสือที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการ หากจะพิมพ์หนังสือขึ้นมาใหม่ก็ต้องใช้เวลานานกว่าปกติ นอกจากนี้บริษัทขนส่งและไปรษณีย์ของสหรัฐอเมริกายังต้องเผชิญกับคำสั่งซื้อจำนวนมากในช่วงที่คนส่วนใหญ่อยู่แต่ในบ้าน ทำให้การส่งหนังสือถึงมือลูกค้าต้องใช้เวลานานกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ และเริ่มอยากขอเงินคืนเพราะได้สินค้าช้าเกินไป

ร้านหนังสือแห่งหนึ่งเล่าว่า หากจัดส่งหนังสือผ่านทางไปรษณีย์แบบปกติจะต้องใช้เวลานานถึง 8 สัปดาห์กว่าหนังสือจะส่งถึงมือลูกค้า ทำให้ร้านหนังสือหลายรายเลือกเปลี่ยนไปใช้การส่งหนังสือผ่านไปรษณีย์แบบ Priority ที่จะช่วยลดเวลาการจัดส่งไปได้

Nick Buzanski ผู้จัดการร้านหนังสือแห่งหนึ่งในนิวยอร์ค เล่าว่า ความต้องการอ่านหนังสือเกี่ยวกับคนผิวดำครั้งนี้ไม่ใช่กระแสอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ เพราะสำหรับเขาแล้ว ความต้องการอ่านหนังสือเกิดจากความต้องการของคนที่ต้องการทำความเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบัน

ที่มา – qz

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/black-lives-matter-book-demand/