คลังเก็บป้ายกำกับ: เศรษฐกิจจีน

จีนมาแรงไม่หยุด ผลสำรวจชี้เศรษฐกิจจีนปี 2021 โต 8.2% ขยายตัวมากที่สุดในรอบ 10 ปี

มาแรงจริงๆ สำหรับเศรษฐกิจจีน ล่าสุดผลสำรวจจากนักเศรษฐศาสตร์ 35 ราย คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนปี 2021 จะขยายตัวถึง 8.2% ถือว่าเติบโตมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012

(Photo by Kevin Frayer/Getty Images)

ถือว่าเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังจากได้รับผลกระทบจากโควิดระบาดมาบ้างในช่วงปี 2020 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างมีความหวังว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดน น่าจะบริหารประเทศในทิศทางที่สามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น เผชิญหน้ากับจีนน้อยลง ส่งผลให้จีนฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้เร็ว ซึ่งจีนก็มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบเป็นครั้งแรกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 แต่ความสำเร็จจากการจัดการโควิดระบาดได้ ทำให้จีนฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่น

ผลสำรวจ Nikkei Quick News คาดการณ์ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนจะปรับตัวเร่งขึ้นจาก 4.9% ในไตรมาส 3 เป็น 5.9% ในไตรมาส 4 คาดการณ์เฉลี่ยจีดีพีจีนจะเติบโตในปี 2020 อยู่ที่ 2.1% ส่วนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2021 จะอยู่ที่ 8.4% เนื่องจากภาพรวมการส่งออกการผลิตกลับมาแข็งแกร่งขึ้น พร้อมทั้งมีการลงทุนด้านการส่งออกและการบริโภค-การบริการเพิ่มสูงขึ้นด้วย

Photo by Ewan Yap on Unsplash

Iris Pang หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ด้านจีนจาก ING Bank ระบุว่า ถ้าผู้บริโภคใช้จ่ายในจีนต่อเนื่องและทางการจีนจำกัดการเดินทางต่างประเทศ จะส่งผลให้การนำเข้าและการส่งออกของจีนสมดุลมากขึ้นและทำให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของจีนดีกว่าประเทศอื่นๆ ที่เหลือในโลก

ขณะที่ Xu Xiaochun นักเศรษฐศาสตร์จาก Moody ระบุว่า เศรษฐกิจภายในประเทศจะฟื้นฟูความมั่นใจแต่ก็ยังมีความเสี่ยงภายนอกจีนอยู่ ความไม่แน่นอนจากการติดเชื้อโควิดที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะมีนัยสำคัญต่อความสัมพันธ์ของจีนกับประเทศอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น แต่ก็อาจจะส่งผลให้การส่งออกและการผลิตภายในประเทศของจีนเติบโตและทำให้นักลงทุนมั่นใจมากขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์มองว่าการเปลี่ยนผ่านจากยุคโดนัลด์ ทรัมป์ที่ดำเนินนโยบายแบบกระหายสงครามมาเป็นโจ ไบเดนก็อาจจะยังมีความท้าทายอยู่แต่น่าจะปั่นป่วนน้อยลงกว่าสมัยทรัมป์

LOS ANGELES, CA–February 17, 2012–U.S. Vice President Joe Biden and Chinese Vice President Xi Jinping participated in a governor’s luncheon, at Disney Hall, in downtown Los Angeles, Feb. 16, 2012. (Jay L. Clendenin/Los Angeles Times)

ด้าน ChengShi หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์จาก ICBC International ยังมองแง่ดีว่าไบเดนจะมีแนวทางที่สร้างสรรค์ ลดความตึงเครียดกับประเทศอื่นๆ มากขึ้น และน่าจะสรรค์สร้างระเบียบโลกขึ้นมาใหม่หลังจากทรัมป์ลดทอนสมัยเป็นรัฐบาลไปมาก การทูตพหุภาคีจะถูกนำมาใช้มากขึ้นในสมัยไบเดน

สหรัฐฯ จะกลับมามีบทบาทนำในองค์การระหว่างประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นองค์การการค้าโลก องค์การอนามัยโลก หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแปซิฟิก รวมไปถึงกลไกอื่นๆ ที่ร่วมมือกันทั้งมิติด้านอนามัยโลก ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงทางอากาศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ น่าจะมีทิศทางบวกมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวเร็ว

ด้าน Alvin Chan หัวหน้าทีมวิจัยและพัฒนาด้านค้าปลีกมองว่า ความร่วมมือระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น เช่นเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการกดดันจีนในมิติสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Euler Hermes มองว่า มีความเป็นไปได้ที่ไบเดนจะใช้ความร่วมมือผ่านนโยบายที่ทำให้ชาติพันธมิตรทั้งหลายหันมาต้านจีนได้ ขณะเดียวกันจีนก็ยังมีความเสี่ยงเรื่องหนี้ หลายบริษัทที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์กู้ยืมอย่างหนัก มีความเสี่ยงต่อการขายหนี้ให้นักลงทุนต่างประเทศ

ที่มา – Nikkei Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post จีนมาแรงไม่หยุด ผลสำรวจชี้เศรษฐกิจจีนปี 2021 โต 8.2% ขยายตัวมากที่สุดในรอบ 10 ปี first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/survey-forecast-chinas-economy-in-2021-will-expand-the-most-in-10-years/

โรคระบาดก็ทำอะไรไม่ได้ เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวเร็ว แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงรอบทิศทาง

แม้โรคระบาดอย่างโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อจีนอย่างหนักหน่วงในช่วงแรก และยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลก แต่ปัจจุบันจีนกลับกลายเป็นประเทศที่มีความยืดหยุ่นสูง ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว

Photo by wu yi on Unsplash

จีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกแต่ก็ฟื้นตัวได้ค่อนข้างรวดเร็วแม้จะเพิ่งผ่านพ้นวิกฤตโควิดระบาดมาได้ไม่นาน นักวิเคราะห์มองว่า ผู้กำหนดนโยบายจีนอาจจะต้องเผชิญกับงานยาก ไม่ว่าจะเป็นการพยายามรักษาเสถียรภาพเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปจนกลายเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับสูง 

ทั้งนี้ Xi Jinping กล่าวในที่ประชุมแผน 5 ปีฉบับที่ 14 ระบุว่า เศรษฐกิจจีนมีศักยภาพเพียงพอ มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง ศักยภาพในการผลิตของจีนค่อนข้างแข็งแกร่ง ตลาดภายในก็มีขนาดใหญ่มาก และยังมีศักยภาพในการลงทุนอีกมาก จีนใช้นโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนคู่ขนาน (dual circulation policy เป็นนโยบายที่เน้นการพัฒนาเพื่อการบริโภคภายใน ขณะเดียวกันก็เน้นเรื่องการส่งออกไปด้วย) 

ยุทธศาสตร์นี้ช่วยให้เศรษฐกิจจีนมีการพึ่งพาตัวเองสูง และเป็นสิ่งที่ทำให้จีนเอาตัวรอดได้ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงรอบทิศทางที่มาจากโควิดระบาดทั่วโลก แหล่งซัพพลายเชนหยุดชะงัก จีนก็เป็นเจ้าใหญ่ๆ ของโลกอันดับแรกที่หยุดชะงักเช่นกัน แต่ผู้บริโภคในจีนยังต้องการบริโภคอยู่ อีกทั้งประชากรจำนวนมหาศาลในจีนทำให้เศรษฐกิจยังไปต่อได้ 

Chinese President Xi Jinping gives a speech during the Tsinghua Universitys ceremony for Russian President Vladimir Putin, unseen, at Friendship Palace on April 26, 2019 in Beijing, China. (Photo by Kenzaburo Fukuhara – Pool/Getty Images)

จีนมองว่า แม้ความท้าทายจากกระแสโลกภิวัตน์และการใช้นโยบายฝ่ายเดียว (unilateralism ที่สหรัฐฯ ชอบใช้) รวมถึงนโยบาย protectionism ที่กำลังมาแรง แต่จีนก็ยังรับมือได้อยู่ จีนจะมุ่งพัฒนาต่อไปมากขึ้นท่ามกลางความไม่แน่นอนของโลก การทำให้ชาติทันสมัยขึ้น (rejuvenation) ไม่เคยเป็เนเรื่องง่ายอยู่แล้ว ยังมีอุปสรรคอีกมากที่จีนยังต้องฝ่าฟันต่อไป 

ที่มา – Nikkei Asian Review 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/china-economy-resilient-among-covid-outbreak/

OECD คาดปีนี้เศรษฐกิจโลกหดตัว 4.5% จีนดีขึ้น สวนทางอินเดีย-สหรัฐ ค่อนข้างแย่

OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระบุ เศรษฐกิจโลกหดตัวอยู่ที่ 4.5% ดีกขึ้นกว่าเดือนมิถุนายนที่เคยคาดการณ์ว่าจะหดตัวอยู่ที่ 6% 

BANGKOK, THAILAND – MARCH 22: Quiet streets in Bangkok after the government announced a partial lockdown on March 22, 2020 in Bangkok, Thailand. On March 22, 2020 Bangkok imposed a partial lockdown of the city calling for the closure of shopping malls, restaurants apart from delivery, all sporting events, entertainment venues, beauty salons and more amidst the spread of Covid-19. Thailand announced 188 new cases, rasising the country’s total to 599 confirmed cases. (Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

ปี 2021 เศรษฐกิจโลกจะเติบโตที่ 5% สถานการณ์ไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ต่อไป ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิดระบาดอย่างหนักหน่วงคืออุตสาหกรรมภาคการเดินทางและการท่องเที่ยว พบว่ายังไม่ฟื้นตัวเต็มที่หลังจากที่เจอมาตรการ Lockdown เข้าไปตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา หลายประเทศมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น มีการนำมาตการกักกันโรคเข้มข้นกลับมาใช้ใหม่ ก็อาจนำไปสู่แรงกดดันในเศรษฐกิจโลกเพิ่มมากยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ OECD ยังคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมิถุนายนว่า ประเทศจีน สหรัฐฯ และยุโรปน่าจะมีเศรษฐกิจที่กลับมาดีขึ้นกว่าเดิมได้ ขณะที่ในอินเดีย เม็กซิโก และแอฟริกาใต้นั้นอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ ขณะนี้ จีนมีเศรษฐกิจที่เติบโตราว 1.8% ในปี 2020 เป็นประเทศเดียวที่ OECD คาดว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว ในทางกลับกัน สหรัฐฯ เศรษฐกิจหดตัวอยู่ที่ 3.8% ขณะที่ในยุโรปหดตัวอยู่ที่  7.9%  

นอกจากนี้ ในอินเดีย อาร์เจนตินา อังกฤษ แอฟริกาใต้ และเม็กซิโก คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวราว  10% 

ที่มา – CNBC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/oecd-forecast-global-gdp-2020/

ผลสำรวจชี้ หลายประเทศในเอเชียกังวลจีนที่ขยายอิทธิพลด้านการทหารและเศรษฐกิจ

ผลสำรวจจาก Pew Research ชี้ เหล่าประเทศเอเชียต่างยินดีที่เศรษฐกิจจีนดีขึ้น แต่ขาดความมั่นใจบทบาทความเป็นผู้นำของจีนในภูมิภาค ราว 45% ของกลุ่มประเทศในเอเชีย อาทิ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ต่างไม่มั่นใจนโยบายจีนภายใต้การนำของ สี จิ้นผิง ขณะที่อีก 29% ยังมั่นใจอยู่

โพลสำรวจความรู้สึกเอเชียที่มีต่อจีน ภาพจาก Pew Research

หลังความขัดแย้งในสงครามการค้าระหว่างจีน ทำให้สหรัฐผ่านกฎหมายปกป้องทั้งฮ่องกงรวมถึงการกวาดล้างมุสลิมในมณฑลซินเจียงด้วย หลายๆ ประเทศในเอเชียเป็นลูกหนี้ของจีน การมีอิทธิพลอย่างมากทางเศรษฐกิจของจีนต่อประเทศต่างๆ ในเอเชีย ทำให้ผลสำรวจเห็นชัดเจนว่า

  • เศรษฐกิจจีนดีขึ้น ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และญี่ปุ่นมองเป็นเรื่องดี เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์รู้สึกกลางๆ ขณะที่อินเดียไม่เห็นเป็นเรื่องดี
  • การลงทุนของจีนในเอเชีย หลายประเทศในเอเชียมองในแง่ลบ ยกเว้นฟิลิปปินส์มมองกลางๆ
  • การเติบโตด้านการทหารของจีน ไม่มีใครเห็นเป็นเรื่องดี
  • ความมั่นใจที่มีต่อ สี จิ้นผิง มีทั้งขาดความมั่นใจในสี จิ้นผิง และมั่นใจอยู่บ้าง

Pew Research รายงานว่า การลงทุนของจีนในประเทศต่างๆ ในเอเชีย ยิ่งทำให้จีนขยายอิทธิพลมากยิ่งขึ้น และนับวันก็ยิ่งขยายอิทธิพลมากเกินไป การสำรวจนี้ใช้การสัมภาษณ์ทั้งทางโทรศัพท์และการสัมภาษณ์​โดยตรงแบบพบหน้ากัน จำนวน 38,426 ราย จาก 34 ประเทศ ช่วงระหว่าง 13 พฤษภาคม -​ 2 ตุลาคม 2019

ที่มา -​ Nikkei Asian Review 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/pew-research-survey-asians-lose-confidence-in-china-and-xi-jinping/

ทำไมอนาคตของเศรษฐกิจจีน อาจอยู่ที่ “เซินเจิ้น” ไม่ใช่ “ฮ่องกง” | BI Opinion

Zhenshen Hongkong China Opinion

จีนต้องการแผนใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

หนึ่งในความเคลื่อนไหวล่าสุดของจีน เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ที่ทั้งน่าสนใจและต้องจับตามอง คือการที่คณะกรรมการเพื่อการปฏิรูปของจีน ซึ่งมีสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดนั่งเป็นประธาน ได้ประกาศให้ “เซินเจิ้น” มีสถานะพิเศษ (special status) ในการเป็นพื้นที่ทดลองของการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการบริหารจัดการครั้งใหม่

คำถามคือ มันหมายความว่าอะไร?

เศรษฐกิจจีนในช่วงนี้มีสัญญาณชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นยอดการใช้จ่ายที่โตต่ำในรอบเกือบ 10 ปี หรือตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เติบโตได้น้อยลงเรื่อยๆ หรือแม้แต่ตัวเลขในไตรมาส 1 ปีนี้ที่แม้จะออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะถ้าเจาะเข้าไปดูตัวเลขทางเศรษฐกิจในอีกหลายภาคส่วนของจีนถือว่ามีอาการค่อนข้างน่าเป็นห่วง และนี่ยังไม่รวมปัจจัยจากสงครามการค้าที่ไม่ทีท่าว่าจะหยุดในเร็ววันนี้

ภาพแบบนี้ ก็ชัดเจนว่าเศรษฐกิจจีนนับจากนี้จะไม่สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้เหมือนในทศวรรษที่ผ่านมาแล้ว

ดังนั้น จีนจึงต้องมีแผนใหม่ในทางเศรษฐกิจ และวันนี้ความชัดเจนของแผนใหม่ก็เริ่มปล่อยออกมาให้เราได้เห็นกันเรื่อยๆ ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในนั้นคือการผลักดัน “เซินเจิ้น” ให้ก้าวขึ้นมาเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจครั้งใหม่

แต่พูดแค่นี้ไม่ได้ เนื่องจากจะไม่ครบถ้วนกระบวนความ เพราะแผนการของจีนครั้งนี้ ยิ่งใหญ่กว่าแค่ “เซินเจิ้น” เท่านั้น

แผนใหญ่ในการผลักดันเศรษฐกิจครั้งใหม่ของจีน คือการผลักดันสิ่งที่มีชื่อว่า “Greater Bay Area”

Greater Bay Area
Photo: Greater Bay Area

Greater Bay Area คืออะไร ยิ่งใหญ่แค่ไหน

Greater Bay Area คือเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไข่มุกที่ประกอบไปด้วยฮ่องกง มาเก๊า และ 9 เมืองในมณฑลกวางตุ้ง ได้แก่ กวางโจว, เซินเจิ้น, จูไห่, ฝอซาน, ฮุ่ยโจว, ตงกวน, จงซาน, เจียงเหมิน และเจ้าชิ่ง

Greater Bay Area มีขนาดพื้นที่ประมาณ 5.5 หมื่นตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 69.5 ล้านคน (จำนวนประชากรพอๆ กับประเทศไทย!) และมีตัวเลขรวม GDP สูงถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์

ถ้าเทียบ Greater Bay Area กับเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกที่ถือเป็นคู่แข่ง จะยิ่งเห็นความได้เปรียบที่ชัดเจนมาก

  • เขต New York City ที่เป็นศูนย์กลางทางเงินโลก มีขนาดพื้นที่ประมาณ 2.1 หมื่นตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 20 ล้านคน
  • San Francisco Bay Area ที่เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีโลกอย่าง Silicon Valley มีขนาดพื้นที่ประมาณ 1.8 หมื่นตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7.8 ล้านคน
  • Tokyo Bay Area ที่เป็นพื้นที่ที่แข็งแกร่งด้านอุตสาหกรรมการผลิตแห่งหนึ่งของโลก มีขนาดพื้นที่ประมาณ 1.36 หมื่นตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 44 ล้านคน

Greater Bay Area ชนะเรียบ!

แต่ Greater Bay Area ก็ไม่ได้มี “ดี” แค่จำนวนประชากรและขนาดพื้นที่เท่านั้น หากเปรียบเทียบความแข็งแกร่งในแง่เศรษฐกิจ การเงิน นวัตกรรม เทคโนโลยี ก็อยู่ในระดับที่สู้กับพื้นที่อื่นๆ ได้เหมือนกัน

รู้หรือไม่ว่า Greater Bay Area มีบริษัทที่ติดอันดับ 500 แรกของโลกกว่า 20 บริษัท นอกจากนั้นใน Greater Bay Area ยังมีหลากหลายภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าคู่แข่ง ยกตัวอย่างเช่น

  • การเงินระดับโลกอย่างฮ่องกงที่ถือเป็นคู่แข่งของนิวยอร์ก
  • บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่คู่แข่งซิลิคอนวัลเลย์อย่าง Tencent, Huawei หรือ DJI ต่างก็มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเซินเจิ้น
  • ในกวางโจวมีอุตสาหกรรมรถยนต์และการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย รวมถึงในจูไห่และฝอซานที่แทบจะเทียบชั้นกับโตเกียวได้แล้ว
  • นอกจากนั้นยังมีการท่องเที่ยวอันแข็งแกร่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างมาเก๊าอยู่ด้วย

Greater Bay Area มีครบจริงๆ

ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งเคยวิเคราะห์ไว้ว่า Greater Bay Area มีความได้เปรียบอย่างมากในเชิงภูมิศาสตร์ พร้อมทั้งเชื่อว่าหากจีนผลักดันให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ จะเกิดการผนึกกำลังในหลายอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมที่จะถูกท้าทายมากที่สุดคือภาคการเงินในสิงคโปร์ แต่ก็มีนักวิเคราะห์บางคนที่ไม่เห็นด้วย โดยมองว่าสิงคโปร์จะไม่ได้รับผลกระทบหรือความท้าทายจาก Greater Bay Area มากนัก เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศที่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

แต่อย่างไรก็ดี ในภาพใหญ่แล้ว Greater Bay Area มีความได้เปรียบสำหรับการต่อสู้ในโลกอนาคตทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะการแข่งกันด้วยความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ การผลิตอัจฉริยะ(ลดการใช้แรงงานมนุษย์) หรือเรื่อง Internet of Things (IoT) ซึ่ง Greater Bay Area มีหมด แต่ก็มีจุดด้อยใหญ่ที่ต้องรีบแก้ คือต้องลดการพึ่งพาเทคโนโลยีสำคัญๆ จากต่างชาติ แล้วหันมาพึ่งตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

นี่คือภาพทั้งหมดในฉบับคร่าวๆ ของ Greater Bay Area ที่เราควรรู้

Shenzhen
Shenzhen Photo: Shutterstock

ทำไม “เซินเจิ้น” จะเป็นอนาคตของเศรษฐกิจจีน ไม่ใช่ “ฮ่องกง”

ทีนี้ เข้าสู่คำถามหลักที่วางไว้คือ ทำไมเซินเจิ้นจะเป็นอนาคตทางเศรษฐกิจของจีนมากกว่าฮ่องกง

ก่อนหน้านี้ ถ้าพูดถึง Greater Bay Area จะมีความคิดอย่างน้อย 2 ด้านสำหรับนักวิเคราะห์ คือมีทั้งที่เห็นด้วย และอีกฝั่งคือไม่ใช่ไม่เห็นด้วย แต่ยังมองภาพของ Greater Bay Area ได้ไม่ชัดเจนนัก คำวิจารณ์ที่มีน้ำหนักคือ ไม่รู้ว่าจีนต้องการทำอะไรกันแน่

แต่แผนใหม่ของจีนผ่าน Greater Bay Area ก็เริ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่านี่คือแผนของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจครั้งใหม่ พร้อมทั้งเชื่อมเศรษฐกิจและการเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่ตามแผน “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ซึ่งแน่นอนเวลาพูดแบบนี้ หลายคนจะมองว่าพระเอกของ Greater Bay Area น่าจะเป็น “ฮ่องกง” เพราะที่ผ่านมา ความได้เปรียบที่สุดของฮ่องกงคือ Rule of Law หรือระบบระเบียบการเมือง-กฎหมายที่ต่างชาติให้ความเชื่อถือ/เชื่อมั่นมาโดยตลอด จะเห็นได้ว่าเงินที่ไหลเข้าจีนเพื่อไปลงทุนก็ผ่านทางฮ่องกงอย่างมหาศาล

แต่ในช่วงหลายเดือนมานี้ เราก็ได้เห็นกันแล้วว่า ความกระด้างกระเดื่องของฮ่องกงผ่านการประท้วงส่งผลร้าวลึกต่อจีนแผ่นดินใหญ่เพียงใด และเมื่อบวกกับความเคลื่อนไหวของรัฐบาลจีนในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาที่ตั้งเซินเจิ้นให้ขึ้นเป็นพื้นที่ที่มีสถานะพิเศษในการปฏิรูปดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

ชัดเจนว่า จีนแผ่นดินใหญ่ไม่ถูกใจสิ่งนี้ ทิศทางลมจากรัฐบาลจีนจึงพัดไปที่ “เซินเจิ้น”

Zhang Yansheng หัวหน้าใหญ่ฝ่ายวิจัยจาก China Centre for International Economic Exchanges ระบุว่า รัฐบาลจีนต้องการให้เซินเจิ้นเป็นพื้นที่ทดลองในการสร้างเศรษฐกิจนวัตกรรมครั้งใหญ่และล้อไปกับแนวคิดแบบสังคมนิยม (socialism)

ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนก็คือความพยายามในการสร้างเศรษฐกิจแบบตลาด (market economy) กับสังคมนิยมไปด้วยกันอยู่แล้ว ซึ่งเราก็เห็นว่ามันได้ผล

จึงค่อนข้างชัดเจนว่า หลังจากนี้ เซินเจิ้นจะกลายเป็น “หนูทดลอง” ตัวเก่าในเหล้าสูตรเดิม นั่นคือจีนจะใช้เซินเจิ้นเป็นพื้นที่ทดลองในการพัฒนาเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม และแน่นอนย่อมควบคู่ไปกับแนวคิดแบบสังคมนิยม เหมือนกับที่เซินเจิ้นเคยเป็นมาแล้วใน 40 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือเศรษฐกิจพัฒนาได้ดีและยังคงความเป็นสังคมนิยมแบบจีนได้ด้วย (socialism with Chinese characteristics)

ถ้าดูตัวเลข GDP ในปี 2018 ของเซินเจิ้นเทียบกับฮ่องกง จะเห็นได้ว่าเซินเจิ้นมาแรงจริง เพราะแซงหน้าฮ่องกงแล้ว

  • GDP เซินเจิ้นเติบโต 7.6% มีมูลค่า 3.66 แสนล้านดอลลาร์
  • GDP ฮ่องกงเติบโต 3% มีมูลค่า 3.63 แสนล้านดอลลาร์

ในเมื่อการเมืองฮ่องกงไม่ไปทางเดียวกับจีนแผ่นดินใหญ่ ฉะนั้นการผลักดันเซินเจิ้นจึงไม่ได้มีเหตุผลแค่ทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่มันคือเหตุผลทางการเมืองด้วย เพราะเศรษฐกิจกับการเมืองมันเป็นเรื่องเดียวกัน

นับจากนี้ต่อไป หากจีนทำสำเร็จในเซินเจิ้น เราคงได้เห็นเมืองอื่นๆ ในจีนแผ่นดินใหญ่ทยอยลอกโมเดลความสำเร็จจากเซินเจิ้นกันชุดใหญ่

และด้วยวิสัยทัศน์ เทคโนโลยีที่ล้ำหน้า บวกกับเงินทุนมหาศาลของจีน

ผมก็เกรงว่า “จีนอาจจะทำได้สำเร็จ”

และนี่อาจเป็นอีกครั้งที่จีนจะพิสูจน์ให้โลกได้เห็นว่า ไม่ต้องเป็นประชาธิปไตย เศรษฐกิจก็เติบใหญ่ได้อย่างแข็งแกร่ง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/why-the-future-of-chinese-economics-is-in-shenzhen/

แม้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่สี จิ้นผิงส่งสัญญาณ “เศรษฐกิจจีนยังเติบโตดี เพราะมีปัจจัยหนุนอีกมาก”

Xi Jinping Photo: Shutterstock

ผู้นำจีนส่งสัญญาณเชื่อมั่น เศรษฐกิจจีนยังดีและจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนให้สัมภาษณ์กับสื่อรัสเซียในโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเยียน โดยให้สัมภาษณ์ไว้ตอนหนึ่งว่า ประเทศจีนในปัจจุบันมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี และในอนาคตจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะจีนยังมีปัจจัยเกื้อหนุนที่มากพอ

  • “ประเทศจีนได้พัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างน่าทึ่งในรอบ 70 ปีนับตั้งแต่ได้ก่อตั้งประเทศจีนใหม่ (New China) และโดยเฉพาะในช่วง 40 ปีให้หลังมานี้ ที่จีนได้ทำการปฏิรูปและเดินหน้านโยบายเปิดประเทศ” สี กล่าว

ในปัจจุบัน แม้ว่าเศรษฐกิจในระดับโลกจะชะลอตัว แต่เศรษฐกิจจีนยังดีและจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าดูตัวเลขในปี 2019 ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา GDP ของจีนเติบโตถึง 6.4% ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจจีนเติบโตดี

นอกจากนั้น ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ตัวเลขอัตราการจ้างงานในเขตเมืองได้เพิ่มขึ้นถึง 4.59 ล้านตำแหน่ง ส่วนตัวเลขการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเติบโตขึ้น 4.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนยังคงสูงกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์

ผู้นำจีนระบุว่า “การบริโภคภายในประเทศยังคงเป็นส่วนผลักดันหลักให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง” พร้อมย้ำว่า เศรษฐกิจจีนในปัจจุบันมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก แต่ถ้าดูในแง่การผลิต การส่งออก และการแลกเปลี่ยนสินค้า ประเทศจีนคือเบอร์ 1 ของโลกในปัจจุบัน

  • “เมื่อมองไปในอนาคต ปัจจัยหลายๆ อย่างที่ว่ามานี้จะเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง นอกจากนั้น จีนยังมีความแกร่งในด้านทรัพยากรมนุษย์ การผลักดันในประเทศที่แข็งแกร่ง รวมถึงการพัฒนาของจีนที่มีศักยภาพอีกมาก”

อย่างไรก็ตาม สี จิ้นผิงไม่ได้พูดถึงสงครามการค้าที่เกิดขึ้นและเป็นประเด็นร้อนแรงอยู่ในขณะนี้แต่อย่างใด

บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม

ที่มา – Xinhuanet, CNBC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/xi-jinping-confident-chinese-economy/