คลังเก็บป้ายกำกับ: สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน: กระบวนทัศน์ใหม่ในโลกธุรกิจกับความท้าทายของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน ทั้งในเรื่องการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม สภาพความเป็นอยู่ที่แออัด ไปจนถึงประเด็นเรื่องแรงงานเด็ก ยิ่งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ทั่วโลกก็ได้ตระหนักถึงความโหดร้ายทารุณของสงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จนนำไปสู่การพัฒนากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งมีฐานมาจากความเชื่อและแนวคิดที่ว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน” และในวันที่ 10 ธันวาคม 2491 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติรับรองและประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลก

dtac

ในปัจจุบัน สิทธิมนุษยชนยังคงเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ อย่างไรก็ดี ในยามที่ผู้คนจำนวนมากขึ้นใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์ เราได้เห็นโอกาสและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รัชญา กุลณพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนของดีแทค ถึงมุมมองและบทบาทของผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่อการปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล ความท้าทายใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับการเติบโตทางเทคโนโลยี และการยกระดับสิทธิมนุษยชนในกระบวนการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของดีแทค

การเชื่อมต่อคือสิทธิขั้นพื้นฐาน

“สิทธิมนุษยชนในมุมของผู้ให้บริการโทรคมนาคมนั้น จะหนีไม่พ้นเรื่องของ digital inclusion หรือการเข้าถึงดิจิทัล ซึ่งที่ดีแทค เราแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระดับ คือระดับที่หนึ่ง ทุกคนจะต้องสามารถเข้าถึงบริการและอุปกรณ์ ซึ่งจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อตัวเองได้ ในระดับที่สอง พอเข้าไปในโลกดิจิทัลแล้ว เราใช้ได้อย่างปลอดภัยหรือเปล่า และในระดับสุดท้าย คือเข้าถึงแล้ว เราจะใช้ยังไงให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเรา ครอบครัว หรือกับสังคมชุมชนของเรา” รัชญากล่าว

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความเสี่ยงและผลกระทบของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน จะพบว่า สิทธิในข้อมูลข่าวสาร (right to information) และเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) จัดเป็นสิทธิมนุษยชนข้อสำคัญที่ดีแทคจำต้องปกป้องและส่งเสริม เพื่อนำมาซึ่งการบริการที่ปลอดภัย ทั่วถึง และเท่าเทียม

“ดีแทคเชื่อว่าบริการโทรคมนาคมนั้นเป็นตัวกลาง (enabler) สำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิด การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และบริการขั้นพื้นฐานของผู้คนในสังคม เราจึงยึดถือคุณค่าแห่งความเท่าเทียม ความเป็นธรรม ศักดิ์ศรี และการเคารพซึ่งกันและกัน เป็นพื้นฐานความคิดในการพัฒนานโยบายและกลยุทธ์องค์กร รวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของเรา” เธออธิบาย

เพราะธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องกับ ‘มนุษย์’

ภาคธุรกิจถือเป็นอีกหนึ่งหน่วยของสังคมที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการปกป้องคุ้มครองและสนับสนุนสิทธิมนุษยชน เพราะแทบทุกธุรกิจย่อมมีความเกี่ยวข้องกับ ‘มนุษย์’ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

“เราเชื่อว่าคนคือหัวใจของการเติบโต การดำเนินงานของเราจึงยึดผู้คนเป็นศูนย์กลาง นอกจากเรื่องสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงดิจิทัลแล้ว สิทธิแรงงานยังเป็นอีกประเด็นที่เราให้ความสำคัญ เราปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความหลากหลาย และเคารพในเสรีภาพการแสดงออกของพนักงาน” รัชญากล่าว

เพื่อให้ธุรกิจสามารถระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนได้มีประสิทธิภาพ ดีแทคจึงต้องอาศัย กระบวนการสอบทานด้านสิทธิมนุษยชน (human rights due diligence) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เห็นภาพกว้างเพื่อระบุความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า และอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่องค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยดีแทคจัดให้มีการสอบทานดังกล่าวทุกๆ 2 ปี

“กระบวนการสอบทานด้านสิทธิมนุษยชนนั้นมีลักษณะคล้ายกับการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร (corporate risk management) แต่การสอบทานด้านสิทธิมนุษยชนจะยึดความเสี่ยงต่อ ‘มนุษย์’ เป็นศูนย์กลางของกระบวนการ ซึ่งหมายรวมตั้งแต่ลูกค้า พนักงาน พนักงานของบริษัทคู่ค้า ครอบครัวของพวกเขา ผู้อาศัยใกล้กับที่ตั้งเสาสัญญาณ เจ้าหน้าที่รัฐที่ประสานงานร่วมกัน ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่ต้องการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมเพื่อการดำรงชีวิต” รัชญาอธิบาย

ดาบสองคม

ทั้งนี้ กระบวนการสอบทานด้านสิทธิมนุษยชนจะเริ่มต้นจากการระบุผลกระทบ (adverse impacts) หรือสถานการณ์ที่เลวร้ายเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น จากนั้นจึงประเมินถึงบทบาทขององค์กรต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ขั้นตอนถัดมา จึงเป็นการประเมินระดับความรุนแรง (severity) ความถี่หรือความน่าจะเกิด (likelihood) และการพิจารณาถึงผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งกระบวนการประเมินนี้จะนำไปสู่การจัดทำแผนงานเพื่อแก้ไข ปรับปรุง และป้องกัน

“เมื่อพิจารณาแล้ว หากพบว่าเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ บริษัทจะต้องมีการจัดการความเสี่ยงนั้นๆ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม เช่น การกำหนดนโยบาย การสร้างระบบการควบคุมป้องกัน หรือแม้แต่การจับมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อสร้างกลไกควบคุมไม่ให้เกิดผลกระทบหรือสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์ ไปจนถึงการสร้างองค์ความรู้ การสนับสนุนงานวิจัย และการสร้างความตระหนักในระดับสาธารณะ” รัชญาอธิบาย

ในกระบวนการสอบทานด้านสิทธิมนุษยชนนั้น จะมีการระบุประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญ (salient risk) ซึ่งไม่จำเป็นต้องส่งผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจหรือเป็นประเด็นที่บริษัทก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงเสมอไป แต่อาจเป็นประเด็นที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่ผู้คนในจำนวนมากและรุนแรง จนนำไปสู่ผลกระทบเชิงลบต่างๆ อาทิ การกีดกันทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ หรือการนำมาซึ่งภัยคุกคามต่อร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน

“ความท้าทายในเรื่องสิทธิมนุษยชนในบริบทของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นเกี่ยวโยงกับการเชื่อมต่อ หรือ connectivity ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ เราสามารถใช้บริการดังกล่าวในฐานะตัวกลางหรือ ‘enabler’ ให้การสื่อสารและการส่งต่อข้อมูลให้มันรวดเร็วขึ้น แต่พอทุกอย่างมันเร็ว มันอาจทำให้เกิดการส่งต่อข้อมูลที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดความปลอดภัย หรือข้อมูลที่สร้างความเกลียดชังให้กับคนกลุ่มใดกลุ่มนึง ซึ่งดีแทคต้องมีการประเมินและพัฒนาปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางปฏิบัติของเราเท่าทันกับสถานการณ์และบริบททางสิทธิมนุษยชนที่เปลี่ยนแปลงไป” เธอทิ้งท้าย

dtac

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post สิทธิมนุษยชน: กระบวนทัศน์ใหม่ในโลกธุรกิจกับความท้าทายของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/dtac-human-rights/

สงครามการค้ารอบใหม่! สหรัฐผ่านกฎหมายแบนสินค้าที่บังคับใช้แรงงานจากซินเจียง จีน

เริ่มแล้ว สงครามการค้าจะเริ่มกลับมาเดือดเหมือนสมัยทรัมป์อีกรอบไหม เรื่องนี้ต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป หลังจากที่ไบเดนขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เขาเคยกล่าวไว้ว่าจะใช้เครื่องมือพหุภาคีเพื่อให้จีนให้ความร่วมมือกับประชาคมโลกในมิติต่างๆ ล่าสุด สหรัฐผ่านกฎหมายแบนสินค้าที่บังคับใช้แรงงานอุยกูร์ (Uyghur) จากซินเจียง จีนแล้ว

America pass Xinjiang forced labor act

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ และประเทศโลกตะวันตกต่างเดินหน้าออกมาประกาศต่อต้านการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์จากซินเจียงในจีน จนทำให้หลายแบรนด์ต้องออกมาประกาศกันถ้วนหน้าว่าไม่ได้ใช้ฝ้ายหรือวัตถุดิบที่มีการบังคับใช้แรงงานจากจีน จนทำให้จีนต้องออกมายืนยันเช่นกันว่าไม่ได้บังคับใช้แรงงานจากซินเจียง แม้ก่อนหน้านั้นจะมีสื่อต่างประเทศหลายแห่งทำสารคดีเปิดโปงว่าจีนมีการบังคับใช้แรงงานซินเจียงก็ตาม

ล่าสุดทำเนียบขาวเผยแพร่แถลงการณ์การผ่านกฎหมายแบนสินค้าที่มาจากการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ ซินเจียง จีน (Uyghur Forced Labor Prevention Act) โดยเห็นว่าต้องทำให้จีนแสดงความรับผิดต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการละเมิดสิทธิมนุษยชน สหรัฐได้ใช้มาตรการที่เป็นรูปธรรมมาใช้ด้วย ทั้งการจำกัดวีซ่าตามกฎหมายแมกนิตสกี (Magnitsky Act) คือกฎหมายที่สั่งห้ามออกวีซ่า อายัดทรัพย์สิน คว่ำบาตรทางการเงิน ควบคุมการส่งออก จำกัดการนำเข้า สินค้าที่ผลิตโดยการบังคับใช้แรงงานจากชนกลุ่มน้อยชาวอุยกูร์ในซินเจียง จีน มีหลายเชื้อชาติด้วยกัน ทั้งคาซัค คีร์กิซเหล่านี้จะถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ทั้งหมด ทุกรูปแบบ เพื่อเป็นการต่อต้านการบังคับใช้แรงงาน

ไม่ได้มีแค่สหรัฐอเมริกาประเทศเดียวเท่านั้นที่แบนสินค้าที่มาจากการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์จากจีน แต่ยังรวมถึงประเทศในกลุ่ม G7 ด้วยที่มีจุดยืนร่วมกันว่าจะใช้สินค้าในห่วงโซ่อุปทานโลกที่ปลอดการบังคับใช้แรงงาน ซึ่งรวมถึงสินค้าที่มาจากซินเจียงด้วย

China Xinjiang Uyghur
ภาพคนออกมาเรียกร้องให้หยุดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์ ซินเจียง Photo by Kuzzat Altay on Unsplash

ไม่ใช่แค่ฝ้าย โซลาร์เซลส์ที่สหรัฐแบนเพราะบังคับใช้แรงงานที่ซินเจียง แต่มีเทคโนโลยีด้วย

ล่าสุด รัฐบาลสหรัฐฯ ยังเตรียมเอา 8 บริษัทจีนขึ้นแบล็คลิสต์ด้วย หนึ่งในนั้นก็คือบริษัท DJI ซึ่งเป็นบริษัทผลิตโดรนเจ้าใหญ่ของโลก (บริษัท DJI นี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2006 โดย Frank Wang ที่เกิดในเมืองหังโจว เจ้อเจียง จีน เป็นนักศึกษาจจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง DJI ถือเป็นบริษัทเทคโนโลยีของจีน สำนักงานใหญ่อยู่ที่เซินเจิ้นและกว่างตง ผลิตโดรนเพื่อจัดจำหน่ายให้ทั่วโลกใช้ ปี 2017 เคยถูกกองทัพสหรัฐฯ แบนเนื่องจากเหตุผลด้านความมั่นคง)

DJI กำลังจะถูกติดแบล็คลิสต์จากสหรัฐฯ ด้วยเหตุผลที่ว่า DJI เข้าไปเกี่ยวพันกับการสอดส่อง สอดแนม จับตาดูชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ โดยกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ จะจัดให้บริษัท DJI และบริษัทอื่นๆ ที่เหลืออยู่ในกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการทหารจีนที่ถูกติดแบล็คลิสต์ไว้

มาตรการดังกล่าวของสหรัฐฯ ถือเป็นการลงโทษจีนจากการบังคับใช้แรงงานชนกลุ่มน้อย สิ่งนี้ทำให้บริษัทจีนหลายแห่งกังวลว่าจะได้รับผลกระทบไปด้วย อาทิ บริษัท SenseTime ที่เป็นบริษัทที่ทำซอฟต์แวร์เทคโนโลยีจดจำใบหน้าซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง และมีบริษัทประจำอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในหลายประเทศ เตรียมจะ IPO ก็ต้องเลื่อนแผนออกไปก่อน  หลังจากที่ FT รายงานว่า สหรัฐฯ เตรียมจะนำบริษัทขึ้นแบล็คลิสต์

บริษัทจีนรายอื่นๆ ที่จะถูกแบล็คลิสต์ อาทิ Megvii, SenseTime, Dawning Information Industry บริษัทซูเปอร์คอมพิวเตอร์รายใหญ่ของจีนและให้บริการคลาวด์ในซินเจียงด้วย, บริษัท CloudWalk Technology บริษัทที่ทำซอฟต์แวร์จดจำใบหน้า, Xiamen Meiya Pico บริษัทที่ทำด้านความมั่นคงไซเบอร์, Yitu Technology บริษัทด้าน AI, Leon Technology ให้บริการคลาวด์, NetPosa Technologies ผู้ผลิตระบบสอดแนม

โดรน DJI
DJI Phantom Image by Capricorn4049 from Wikimedia

ทั้ง 8 บริษัทที่ว่ามานี้ถูกขึ้นบัญชีดำแล้ว จะมีการจำกัดไม่ให้บริษัทสหรัฐฯ ส่งออกเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ จากสหรัฐอเมริกาไปยังกลุ่มบริษัทในจีน ด้านทำเนียบขาวและกระทรวงการคลังยังไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ กับเรื่องนี้ ขณะเดียวกัน บริษัท DJI ก็ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น แต่ปีที่ผ่านมาได้ระบุไว้ว่าไม่ได้ทำสิ่งใดตามที่ถูกขึ้นแบล็คลิสต์

นอกจากบริษัทที่ว่ามานี้ สหรัฐ ยังแบนแล็บของจีนเพิ่ม คือ Academy of Military Medical Sciences และสถาบันวิจัยอีก 11 แห่ง ตามด้วยบริษัทวางเคเบิลใต้น้ำด้วย อาทิ HMN International, Jiangsu Hengtong Marine Cable Systems, Jiangsu Hengtong OpticElectric, Shanghai Aoshi Control Technology Co., Ltd, Zhongtian Technology Submarine Cable

ด้าน Zhao Lijian โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ระบุว่า จีนมีแนวคิดด้านความมั่นคงแห่งชาติตรงกันข้ามกับสหรัฐอเมริกาเสมอและไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามบริษัทจีนอย่างไม่มีเหตุผลของสหรัฐฯโฆษกจีนยังยืนยันอีกว่า จีนยืนยันเรื่องความจริงเกี่ยวกับประเด็นซินเจียงตลอดมาว่า จีนทำตามสิทธิอันชอบธรรมและไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน

ที่มา – White House, Congress (1), (2), FT, Nikkei Asia, CNBC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post สงครามการค้ารอบใหม่! สหรัฐผ่านกฎหมายแบนสินค้าที่บังคับใช้แรงงานจากซินเจียง จีน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/usa-pass-uyghur-forced-labor-prevention-act/

เราหยุดแล้ว จีนหยุดรึยัง? Mizuno แบรนด์กีฬาสัญชาติญี่ปุ่น ยุติใช้ฝ้ายซินเจียง

ฝ้ายจากซินเจียง ใครๆ ก็ไม่อยากใช้ โดยเฉพาะแบรนด์ที่สนับสนุนการไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ก่อนหน้าที่ Mizuno แบรนด์กีฬาสัญชาติญี่ปุ่นจะยุติใช้ฝ้ายจากซินเจียง ก็มีแบรนด์ดังระดับโลกเคยแบนกันมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น H&M, Nike, Zara, Burberry, Uniqlo, Sony, Hitachi ฯลฯ

Mizuno Xinjiang China

Mizuno คือแบรนด์ล่าสุดที่ยุติการใช้ฝ้ายจากซินเจียง Mizuno คือบริษัทสินค้าอุปกรณ์กีฬา เช่น กอล์ฟ เทนนิส เบสบอล วอลเลย์บอล ฟุตบอล วิ่ง รักบี้ สกี ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ยูโด ปิงปอง แบดมินตัน ต่อยมวยและเสื้อผ้ากีฬาญี่ปุ่น ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1906 แล้ว เรื่องนี้ Nobuteru Suzuki ประธานบริษัท World ระบุว่า คาดว่าจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวมุสลิมอุยกูร์ในซินเจียง เราไม่ควรโฆษณาหรือขายสินค้า (หรือฝ้ายที่มาจากซินเจียง) ทั้งบริษัท Mizuno และบริษัท Cox ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจครั้งนี้

เมื่อต้นเมษายนที่ผ่านมา Nikkei ได้เริ่มทำสำรวจบริษัทยักษ์ใหญ่ราว 50 แห่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมสินค้ากีฬาและเสื้อผ้าที่มีประเด็นเรื่องการใช้วัตถุดิบจากจังหวัดทางตะวันตกของจีน พบว่ามี 14 แห่งที่ใช้ฝ้ายจากซินเจียง มี 7 แห่งระบุว่ากำลังตรวจสอบอยู่ ท่าทีดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่จะมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรสหรัฐอเมริกาบล็อคสินค้าของ Fast Retailing ที่คาดว่ามีการใช้ฝ้ายจากซินเจียง (Fast Retailing เป็นบริษัทแม่ของแบรนด์แฟชั่นหลายแบรนด์ด้วยกัน อาทิ Unioqlo, GU, Theory, PLST, Comptoir Des Cottonniers, Pricesse tam tam และ J Brand)

นอกจากนี้ บริษัทที่ผลิตชุดชั้นในอย่าง Wacoal และแบรนด์ MUJI ก็ระบุว่า อาจจะต้องใช้วัตถุดิบที่มาจากคู่แข่งแทนซึ่งเขาจะยุติการดำเนินธุรกิจด้วยหากมีการยืนยันว่ามีการบังคับใช้แรงงาน ซึ่งบริษัท Ryohin Keikaku บริษัทแม่ของแบรนด์ MUJI ที่มีหน้าร้านในญี่ปุ่นราว 479 แห่ง มีหน้าร้านนอกญี่ปุ่นอีก 550 แห่ง ดำเนินกิจการ 31 ประเทศทั่วโลกระบุว่า เราได้ตรวจสอบอย่างดีที่สุดแล้ว หากเรายุติการใช้วัตถุดิบเหล่านี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในท้องถิ่นด้วย เราใช้สินค้าที่เป็นฝ้ายผลิตจากอินเดียจำนวนมาก เราอาจจะดำเนินธุรกิจได้ต่อไปแม้ว่าจะหยุดใช้ฝ้ายจากซินเจียง

Mizuno
ภาพจาก Mizuno

ด้านแบรนด์ชุดชั้นใน Wacoal ระบุว่า เราได้สอบถามแหล่งซัพพลายเออร์เพื่อความแน่ใจก่อนแล้วว่าไม่มีการบังคับใช้แรงงานจริงซึ่งเราก็ตรวจสอบด้วยตัวเองด้วย ด้าน Shinji Oe ประธานบริษัท Sanyo Shokai ที่ผลิตและขายสินค้าสิ่งทอในญี่ปุ่น ระบุว่า การใช้ฝ้ายจากพื้นที่ดังกล่าวก็ช่วยทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่นั่นดีขึ้นได้ ซึ่งเราอาจจะต้องทบทวนว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องในแง่ของการรับผิดชอบต่อสังคม

ขณะที่ค้าปลีก Shimamura เผย ตอนนี้ก็ระงับการใช้ฝ้ายจากซินเจียงชั่วคราว Makoto Suzuki ประธานบริษัทกล่าวว่า เราไม่สามารถเดินทางไปเยือนสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบได้ว่าสถานการณ์ที่แท้จริงคืออะไร ก่อนหน้านี้พนักงานก็เคยเดินทางไปพื้นที่ซินเจียงบ้าง หลังเกิดโควิดระบาดการเดินทางไปเยือนก็ยุ่งยากมากขึ้น ไม่ใช่แค่รายนี้แต่ยังมีอีก Tabio ผู้ผลิตถุงเท้าพรีเมียมระบุว่า ตอนนี้ก็ลดการใช้ฝ้ายจากซินเจียงเช่นกัน

มีบริษัทราว 14 แห่งที่ระบุว่าพวกเขาใช้ฝ้ายจากซินเจียง มีอยู่ 5 แห่ง คือ Daidoh Limited, Onward Holdings, Adastria, United Arrows และ Aoki Holdings ไม่แสดงความคิดเห็นว่าพวกเขาจะตอบสนองกับประเด็นนี้เช่นใด มีบริษัทยักษ์ใหญ่อีก 13 แห่ง โดยมี Fast Retailing, Aoyama Trading, Asics, Descente และ Gunze ไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ กับทาง Nikkei Asia

Mizuno
ภาพจาก Mizuno

จีนคือผู้ผลิตฝ้ายยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของโลก ซินเจียงกินสัดส่วนการผลิตไปแล้ว 80-90% ของการผลิตฝ้ายในประเทศ ผู้แทนจากบริษัทเสื้อผ้าแห่งหนึ่งกล่าวว่า มันยากมากเลยที่จะไม่ใช้ฝ้ายจากซินเจียงเพราะเป็นฝ้ายคุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ

เรื่องนี้ นักลงทุนและผู้บริโภคต่างให้ความสำคัญมากขึ้นและเฝ้าดูท่าทีว่าบริษัทเหล่านี้จะจัดการกับประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างไร นักลงทุนจากสหรัฐอเมริกาได้ซักถามบริษัท 47 แห่งว่ามีความเกี่ยวข้องหรือได้ผลประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานในซินเจียงหรือไม่ ด้าน H&M ก็เปิดเผยมาแล้วว่าจะไม่ทำธุรกิจใดๆ กับบริษัทจีนที่มีโรงงานในซินเจียง หลายบริษัทก็เริ่มดำเนินกิจการที่มีความโปร่งใสมากขึ้นเพื่อที่จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการใช้ฝ้ายที่ผลิตจากการบังคับใช้แรงงานในซินเจียงหรือไม่

ที่มา – Nikkei Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เราหยุดแล้ว จีนหยุดรึยัง? Mizuno แบรนด์กีฬาสัญชาติญี่ปุ่น ยุติใช้ฝ้ายซินเจียง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/mizuno-stop-using-xinjiang-cotton-response-human-rights-abuses/

ระงับแล้วความตกลงทางการค้า EU-จีน: คัดค้านหลังจีนละเมิดสิทธิมนุษยชนหนักหน่วง

รัฐสภาสหภาพยุโรปโหวตออกเสียงให้ระงับความตกลงที่เป็นการลงทุนครั้งใหญ่กับจีน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการโต้กลับที่จีนบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง โดยวิพากษ์วิจารณ์ว่าท่าทีดังกล่าวของจีนเป็นภัยคุกคามจากระบอบเผด็จการ

EU suspend investment agreement China

เสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาสหภาพยุโรปต่างไม่เห็นด้วยที่จะลงสัตยาบันในความตกลงทางการค้าเพื่อการลงทุนกับจีนจนกว่าจีนจะยกเลิกการคว่ำบาตรสหภาพยุโรปเนื่องจากวิพากษ์วิจารณ์จีน สมาชิกสภาสหภาพยุโรปยังเตือนด้วยว่าพวกเขาอาจจะปฏิเสธที่จะให้การรับรองความตกลงดังกล่าวหากจีนยังปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมอุยกูร์เช่นเดิมและมีการปราบปรามความเป็นประชาธิปไตยในฮ่องกง มติจากสภาฯ ระบุว่า สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจีนย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่การสังหารหมู่ที่จตุรัสเทียนอันเหมิน จีนกักกันผู้คนกว่าล้านคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมอุยกูร์ในซินเจียง

การคว่ำบาตรของสมาชิกในรัฐสภาสหภาพยุโรปผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ท่าทีของจีนซึ่งก็มีทั้งนักวิชาการและองค์กรที่ทำงานด้านวิจัย การกระทำของจีนถือเป็นการโจมตี เพื่อต่อต้านเหล่า EU และรัฐสภา EU ทั้งหมด เพราะหัวใจและค่านิยมของ EU คือความเป็นประชาธิปไตย การคว่ำบาตรของจีนคือการโจมตีเสรีภาพในการทำวิจัยของ EU

แน่นอนว่า การโหวตออกเสียงเพื่อระงับความตกลงทางการค้าดังกล่าวของ EU จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง EU และจีนถอยหลังลงเพราะการทำความตกลงทางการค้าจะทำให้บริษัททั้งสองฝ่ายทำธุรกิจระหว่างกันง่ายขึ้น แต่ความตกลงเช่นนี้ก็ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา ความตกลงในการลงทุนถือเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรี Angela Merkel ให้ความสำคัญอันดับต้นๆ เพราะจีนมีความสำคัญทั้งต่อการผลิตรถยนต์ของเยอรมันเองรวมถึงบริษัทอื่นๆ ที่จะทำธุรกิจด้วย ความตกลงนี้จะทำให้บริษัทในยุโรปอีกหลายแห่งสามารถเข้าไปเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทจีนได้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและจีนก็ย่ำแย่ลงตั้งแต่ที่สหภาพยุโรปหรือ EU ออกมาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จากพรรคคอมมิวนิสต์จีน 4 คนที่มีความเกี่ยวพันกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

China Xinjiang Uyghur
ภาพคนออกมาเรียกร้องให้หยุดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์ ซินเจียง Photo by Kuzzat Altay on Unsplash

ด้วยเหตุนี้ จีนจึงโต้กลับด้วยการคว่ำบาตรสมาชิกรัฐสภาสหภาพยุโรปกลับ ซึ่งก็มี Reinhard Butikofer ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคกรีนจากเยอรมนีซึ่งก็เป็นผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์จีนด้วย เขาถูกห้ามเดินทางไปจีนหรือทำธุรกิจใดๆ ร่วมกับคนในประเทศจีน ความตกลงการลงทุนระหว่างจีนและ EU จึงเกิดปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้าน Valdis Dombrovskis กรรมาธิการด้านการค้าแห่งสหภาพยุโรประบุว่า ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ีการทำงานเกี่ยวกับกฎหมายขั้นตอนสุดท้ายที่มันช้าและยืดเวลาออกไปก็เพราะว่ากฎหมายกดปรามประชาชนของจีน

เสียงโหวตเพื่อให้ระงับความตกลงการลงทุนระหว่างสหภาพยุโรปแลจีนนี้มีเสียงโหวตเห็นด้วย 599 เสียง ไม่เห็นด้วย 30 เสียง และงดออกเสียง 58 เสียง การโหวตไม่เห็นด้วยส่วนใหญ่มาจากสมาชิกฝั่งขวาจัดและซ้ายจัดของรัฐสภาสหภาพยุโรป

ที่มา – The New York Times, The Guardian, South China Morning Post

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ระงับแล้วความตกลงทางการค้า EU-จีน: คัดค้านหลังจีนละเมิดสิทธิมนุษยชนหนักหน่วง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/eu-halt-ratify-china-eu-investment-after-sanctions/

Biden เดินหน้าหาแนวร่วมกลุ่ม G7 กดดันจีนเข้มข้น กรณีบังคับใช้แรงงานอุยกูร์

ประเด็นเรื่องการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ยังไม่จบ ตราบใดที่องค์กรระหว่างประเทศยังไม่สามารถเข้าไปตรวจการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง จีนได้อย่างโปร่งใส ล่าสุด สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของ Biden เตรียมหาแนวร่วมจากกลุ่ม G7 เพิ่มแรงกดดันจีนมากขึ้น

Biden pressure China in case of Uyghur

Joe Biden เตรียมร่วมประชุมเศรษฐกิจกับกลุ่ม G7 ที่อังกฤษในเดือนมิถุนายนนี้ การประชุมครั้งนี้ Biden จะมุ่งเป้าไปที่เรื่องศัตรูทางยุทธศาสตร์ของประเทศ ระหว่างประเทศที่เป็นประชาธิปไตยกับประเทศที่เป็นเผด็จการโดยเฉพาะจีน 

ประเด็นนี้ Daleep Singh ผู้ช่วยที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติและผู้ช่วยผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติของ Biden กล่าวไว้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า การประชุม G7 ที่คอร์นวอลล์ น่าจะมุ่งประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านสาธารณสุข การรับมือกับโควิดระบาดที่สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และการจัดการเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการยกระดับคุณค่าในมิติประชาธิปไตยภายในกลุ่ม G7 ร่วมกัน

สิ่งที่ Singh เน้นย้ำคือการร่วมมือของพันธมิตร ที่จะมีการปฏิบัติที่จริงจัง มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยความท้าทายของกลุ่ม G7 คือการแสดงให้เห็นว่าเป็นสังคมที่เปิดกว้าง เป็นสังคมประชาธิปไตย และยังมีโอกาสที่จะแก้ปัญหาใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งการปกครองแบบเผด็จการไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดแน่นอน 

Sanction China

Singh กล่าวว่า สหรัฐฯ พร้อมที่จะต่อต้านจีนในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียง ซึ่งสหรัฐฯ จะพยายามแสวงความร่วมมือในกลุ่มพันธมิตร G7 เพิ่ม (กลุ่ม G7 ประกอบด้วย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา) ก่อนหน้านี้สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อังกฤษ และแคนาดาก็ประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวพันกับการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์มาแล้ว ด้านจีนปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและตอบสนองสหภาพยุโรปด้วยมาตรการลงโทษกลับเช่นกัน 

อย่างไรก็ดี ทางทำเนียบขาวเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า Biden จะเยือนเบลเยียมเป็นประเทศแรกหลังขึ้นดำรงตำแหน่งในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ แผนการเยือนบรัสเซลส์นี้ก็เพื่อร่วมประชุมผู้นำสูงสุดของ NATO พันธมิตรด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ นั่นเอง รวมทั้งเยือนคอร์นวอลล์ อังกฤษ เพื่อประชุม G7 ในวันที่ 11-13 มิถุนายนด้วย

ที่มา – Aljazeera, CNN

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Biden เดินหน้าหาแนวร่วมกลุ่ม G7 กดดันจีนเข้มข้น กรณีบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/biden-seek-allies-in-g7-pressure-china-in-case-of-uyghur-forced-labor/

ญี่ปุ่นก็แบนบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในจีน: Kagome ระงับนำเข้ามะเขือเทศซินเจียง

เรื่องคว่ำบาตร เรื่องแบนการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ ซินเจียงในจีน ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง เริ่มจากแบรนด์แฟชั่นตะวันตกที่ถูกจับตามองจากนานาประเทศจนต้องออกแถลงการณ์แบนการบังคับใช้แรงงานกันเป็นแถว ไม่ว่าจะเป็น H&M, Adidas, Nike, New Balance, Zara, Burberry, Gap, Uniqlo ล้วนออกมาต่อต้านการบังคับใช้แรงงานจนถูกชาวจีนรักชาติโจมตีกลับ ล่าสุด ผู้ผลิตซอสแบรนด์ดังอันดับ 1 ของญี่ปุ่น Kagome ยังแบนการนำเข้ามะเขือเทศซินเจียงในจีน

Kagome

Nikkei รายงานว่า Kagome แบรนด์ดังที่ผลิตทั้งซอสและน้ำมะเขือเทศของญี่ปุ่น ก็ร่วมแบน ร่วมต้านการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ ซินเจียงด้วย โดย Kagome ระงับการนำเข้ามะเขือเทศจากซินเจียงที่ใช้สำหรับทำซอสตั้งแต่ปีที่ผ่านมาแล้ว เรื่องการระงับนำเข้านี้ ผู้แทนจากบริษัท Kagome ระบุว่า ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการตัดสินใจเช่นนี้

Kagome เชื่อว่าน่าจะเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นรายแรกที่ยุติการทำธุรกิจกับพื้นที่นี้เพราะประเด็นอุยกูร์ ขณะเดียวกันบริษัท Kagome ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากการระงับการนำเข้ามะเขือเทศจากซินเจียงนัก ก่อนหน้านี้ก็มีการลดนำเข้าไปบ้างแล้ว อีกทั้งมะเขือเทศที่นำเข้าจากซินเจียงในปัจจุบันก็มีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ด้วย ดังนั้น Kogame น่าจะใช้วิธีนำเข้ามะเขือเทศจากประเทศอื่นแทน

Kagome ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1899 มาถึงวันนี้ก็มีอายุมากถึง 122 ปีแล้ว หมุดหมายของการผลิตสินค้าก็เพื่อทำให้สุขภาพของผู้คนดีขึ้นด้วยคุณค่าทางอาหารจากผลิตภัณฑ์ที่ดีและยังมีส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ทั้งซอสมะเขือเทศ 60.3% น้ำมะเขือเทศ 55.5% น้ำผักรวม 44.1% น้ำผักและนำ้ผลไม้รวม 55.7% ซึ่งธุรกิจของ Kagome ก็มีทั้งเครื่องดื่ม อาหาร ผลิตภัณฑ์เกษตร ธุรกิจระหว่างประเทศ ฯลฯ ยอดขายเฉพาะปี 2020 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 1.83 แสนล้านเยน

KAGOME

ก่อนหน้านี้ Kagome ก็มีการเปิดเผยมาโดยตลอดว่าส่วนประกอบของอาหารมีผลผลิตมาจากซินเจียงเสมอ ซึ่งล่าสุดก็มีการเผยส่วนประกอบของซอสมะเขือเทศล่าสุด มีมะเขือเทศที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา อิตาลี ออสเตรเลีย สเปน ชิลี ตุกรี และโปรตุเกส ซึ่งผู้แทนจาก Kagome ก็ยืนยันว่ามะเขือเทศนี้จะมีการผลิตจากพื้นที่ที่ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

FAO ระบุว่า ปี 2019 จีนถือเป็นผู้ผลิตมะเขือเทศรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก จีนผลิตมะเขือเทศได้มากถึง 62.76 ล้านตัน ถือเป็น 35% ของการผลิตโลก ซินเจียงก็ถือเป็นพื้นที่ที่ผลิตมะเขือเทศได้มากเนื่องจากภูมิอากาศดี ทั้งนักลงทุนและกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างกดดันบริษัทที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอุยกูร์ เดือนที่ผ่านมา มีบริษัท 47 แห่งที่ถูกสงสัยว่า มีการใช้ซัพพลายเออร์ที่บังคับใช้แรงงานในซินเจียง รายชื่อที่เกี่ยวข้องมีทั้งบริษัท Alphabet (บริษัทแม่ของ Google), Apple, Volkswagen, Fast Retailing (บริษัทแม่ของ Uniqlo) แต่ไม่มีรายชื่อ Kogame อยู่ในนั้น

ที่มา – Nikkei Asia, Kagome

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ญี่ปุ่นก็แบนบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในจีน: Kagome ระงับนำเข้ามะเขือเทศซินเจียง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/kagome-suspend-import-xinjiang-tomato-cause-of-human-rights/

ชนบทแห่งความสุข จีนปล่อย MV เปลี่ยนภาพลักษณ์บังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง

ข่าวที่เป็นกระแสการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง จีน เป็นอีกประเด็นร้อนที่ทำให้จีนพยายามจะจัดการหลังหลายประเทศทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อังกฤษ และแคนาดาประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีนที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งแบรนด์แฟชั่นหลากหลายแห่งก็ร่วมประกาศคว่ำบาตรไม่ใช้ฝ้ายจากซินเจียงด้วย เรื่องนี้ หากจะให้จีนวางเฉยคงเป็นไปได้ยาก เพราะฝ้ายที่ผลิตจากจีนผลิตมาจากซินเจียงกว่า 80% 

ล่าสุด จีนปล่อยมิวสิควิดีโอที่ถ่ายทำในซินเจียงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังฮอลลีวูด La La Land เป็นการถ่ายทำ MV ที่มีฉากในซินเจียง MV ดังกล่าว ถ่ายทำเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงฉากในชนบทของซินเจียงโดยมีชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ประกอบฉากและไม่มีการกดปราบจากจีน เป็น MV ประกอบภาพยนตร์

จีนใช้ MV เพื่อเปลี่ยนภาพซินเจียงใหม่ หลังจากถูกชาติตะวันตกพากันคว่ำบาตรกรณีบังคับใช้แรงงาน ภาพของจีนต่อชาวอุยกูร์มีทั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปจนถึงการพยายามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ แบรนด์แฟชั่นยักษ์ใหญ่หลายแบรนด์ได้พยายามประกาศแถลงการณ์ว่าจะไม่ใช้วัตถุดิบจากภูมิภาคนี้ ซึ่งเพลงและภาพประกอบ MV คือเพลง The Wings of Songs ที่พยายามปรับภาพลักษณ์ของซินเจียง 

ในขณะที่จีนก็ปฏิเสธข้อกล่าวหานั้นและได้เปลี่ยนภาพของซินเจียงที่เคยมีการใช้ความรุนแรงจากกลุ่มสุดโต่งในภูมิภาคนี้ให้กลายเป็นภาพชุมชนชนบทที่มีแต่ความรักใคร่สามัคคีกันเพราะมีรัฐเข้ามามอบความสุขให้ เนื้อหาของภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกรายงานว่าปล่อยออกมาช้าไปหนึ่งปี เล่าเรื่องถึงผู้ชายสามคนที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันกำลังเฝ้าฝันถึงช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่พวกเขามารวมตัวกันโดยมีแรงบันดาลใจจากดนตรีวัฒนธรรมต่างๆ ในภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะและทิวทัศน์ที่เป็นทะเลทรายอันกว้างใหญ่ 

China Xinjiang Uyghur
ภาพคนออกมาเรียกร้องในอเมริกา ให้จีนหยุดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์ ซินเจียง ในอเมริกา Photo by Kuzzat Altay on Unsplash

Global Times รายงานว่าภาพเล่าเรื่องของฉากหนังได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง La La Land สิ่งที่ไม่ได้นำเสนอคือภาพกล้องสอดแนมและด่านตรวจความปลอดภัยทั่วซินเจียง ภาพของคนอิสลามที่หายไปเพราะกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในซินเจียงคือชาวมุสลิม ไม่มีทั้งมัสยิด ไม่มีทั้งหญิงมุสลิมที่สวมฮิญาบและผ้าคลุมปกปิดใบหน้า 

หลังจากที่มีข่าวตีแผ่เรื่องการบังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์ในซินเจียง มีทั้งการคว่ำบาตรจากชาติมหาอำนาจทั้งสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหภาพยุโรป และแคนาดา ทางฝั่งจีนก็ปฏิเสธเรื่อยมา การคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีนที่เข้าไปเกี่ยวพันกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงของชาติตะวันตกก็ทำให้จีนคว่ำบาตรกลับเช่นกัน ทั้งสำนักข่าว ตลอดจนเจ้าหน้าที่การทูต เจ้าหน้าที่รัฐจากสหภาพยุโรป ตลอดจนสถาบันวิจัย think tank ที่เปิดโปงเรื่องดังกล่าว 

เดือนที่แล้วจีนก็เพิ่งจะสั่งปิดแอปพลิเคชัน Clubhouse ที่มีการถกเถียงและพดถึงประเด็นเรื่องซินเจียง การทำพีอาร์ล่าสุดของจีนที่เกี่ยวกับซินเจียงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการพยายามสร้างเรื่องเล่าใหม่ที่เกี่ยวกับซินเจียง Larry Ong ที่ปรึกษา SinoInsider พูดถึงจีนว่า จีนพยายามจะโกหกซ้ำเป็นพันครั้งเกี่ยวกับเรื่องจริงที่เกิดขึ้น 

China Xinjiang Uyghur
ภาพคนออกมาเรียกร้องในอเมริกา ให้จีนหยุดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์ ซินเจียง Photo by Kuzzat Altay on Unsplash

นอกจากนี้ ยังมีคนจีนไม่เปิดเผยตัวตนออกมาบอกว่า เขาไปซินเจียงและไปสถานที่ที่มีการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องจริงมาก The Wing of Songs ในจีน ผู้คนมีความสุข มีเสรีภาพและเปิดกว้าง

ประเด็น MV นี้ Peopls’s Daily สื่อจีนก็รายงานถึง MV ประกอบหนังเรื่อง The Wings of Songs ว่าเป็นการเผยให้เห็นถึงฉากทัศน์ที่งดงามของพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มณฑลซินเจียงที่เป็นเขตปกครองตนเองของชาวอุยกูร์ สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข หนังเล่าเรื่องผู้ชาย 3 คนต่างชาติพันธุ์ที่เล่นดนตรีโฟล์คซองในซินเจียงเพื่อจะทำความฝันที่ต้องการเป็นนักดนตรีให้เป็นจริง 

ชายทั้งสามเดินทางไปยังชางจี๋ เขตปกครองตนเองของชนชาติหุยชางจี๋ เขตปกครองตนเองของชนชาติคาซัคอิหลี ฯลฯ เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพหิมะที่ปกคลุมภูเขา ทุ่งหญ้า ทะเลทราย ที่ราบสูง และทะเลสาบ เพื่อให้เห็นความงดงามของทิวทัศน์ เพลงประกอบมีทั้งเพลงเป็นเพลงเต้น 2 เพลง มีทั้งดนตรีที่ทำไว้ประกอบหนังและสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างทั้งของชาวอุยกูร์ คาซัค และอีก 6 ชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในซินเจียง

สี จิ้นผิง Xi Jinping ประธานาธิบดีจีน
(Photo by Greg Bowker – Pool/Getty Images)

Zhang Sitao ผู้อำนวยการคณะกรรมาธิการภาพยนตร์จากสมาคมภาพยนตร์ประเทศจีน กล่าวว่า เพลงประกอบภาพยนตร์นี้ไม่ได้เห็นกันทั่วไปในอุตสาหกรรมหนังภายในประเทศจีน แต่หนังเรื่องนี้พยายามจะสำรวจและผลักดันให้เห็น เขาบอกว่าหนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมในมณฑลซินเจียง มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม มีผู้คนที่รักในการร้องเพลงและการเต้นเป็นแรงบันดาลใจของเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนา ความทันสมัยและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในซินเจียง

ที่มา – The Guardian, People’s Daily, CGTN

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ชนบทแห่งความสุข จีนปล่อย MV เปลี่ยนภาพลักษณ์บังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง  first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/china-launch-mv-produce-in-xinjiang-among-forced-uyghur-labor-issues/

ฝ้ายจากซินเจียงคือฝ้ายที่ฉันรัก ดีไซเนอร์จีน คนจีนมั่นใจ ชาติจีนไม่ได้ทำอะไรอุยกูร์

‘ฝ้ายจากซินเจียงคือฝ้ายที่ฉันรัก’ หลังจากแฟชั่นโชว์จบลง Zhou Li ดีไซเนอร์สาววัย 56 ปีขึ้นไปขอบคุณบนเวทีพร้อมกับช่อดอกไม้ที่เป็นดอกฝ้าย เธอบอกว่า ฝ้ายจากซินเจียงเปรียบเสมือนคนรักของเธอ เธอรู้สึกดีมากที่มันนำพาความสุขมาให้เธอ

BEIJING, CHINA – (Photo by Lintao Zhang/Getty Images)

Zhou Li ผู้เป็นทั้งผู้บริหารด้านการออกแบบและยังเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์แฟชั่นสัญชาติจีนชื่อ Sun-Bird เธอคืออีกคนหนึ่งที่ถือเป็นผู้รักชาติจีนที่มีความกังวลต่อประเด็นที่แบรนด์แฟชั่นตะวันตกที่กำลังบอยคอตต์ฝ้ายจากซินเจียง เธอบอกว่า เสื้อผ้าของเธอจากโชว์ที่จัดแสดงนั้น มีวัตถุดิบเป็นฝ้ายจากซินเจียงที่มีลักษณะเฉพาะตัว นุ่มลื่น มีเอกลักษณ์

Zhou Li กล่าวว่า สำหรับการออกแบบของพวกเราชาวจีน เธอก็มีสิทธิที่จะสนับสนุนคนซินเจียง

ทั้ง H&M, Burberry, Adidas และ Nike ล้วนถูกโจมตีโดยลูกค้าที่มาร่วมกันบอยคอตต์ในจีน หลังจากมีการออกแถลงการณ์คว่ำบาตรการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง ก็มีกระแสโต้กลับจากคนจีนออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน นางแบบสาวชาวจีนวัย 19 ปีพูดถึงประเด็นนี้ว่า เหนือสิ่งอื่นใดสำหรับเรื่องนี้ ทุกคนรู้ ว่ามันเป็นแถลงการณ์ที่ไม่ใช่เรื่องจริง แน่นอนว่า เธอไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ได้มากนักเพราะมันเกี่ยวพันกับการเมือง

Brand-Xinjiang Uyghur boycott

นอกจาก H&M, Zara, Nike และ Burberry แล้ว ยังมี GAP ออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ว่าไม่ได้ใช้สิ่งทอจากซินเจียงและยังระบุว่า GAP มีนโยบายหลักในการเคร่งครัดเรื่องการใช้แรงงานให้เป็นไปอย่างสมัครใจในทุกห่วงโซ่อุปทานของการผลิตสินค้า และยังยืนยันว่าเคารพต่อสิทธิมนุษชนด้วย

Uniqlo บริษัทแม่ของยูนิโคลคือ Fast Retailing Group เคยแถลงการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะไม่ทนต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและห้ามให้มีการบังคับใช้แรงงาน และยังยันยันว่า ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และกังวลต่อสถานการณ์บังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์ในซินเจียงด้วย และยังยืนยันว่า Uniqlo ไม่มีพาร์ทเนอร์ในการผลิตที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคนี้เลย

China
ภาพจาก Shutterstock

new balance ก่อนหน้านี้ได้ออกมาแถลงผ่านเว็บไซต์ว่าบริษัทไม่ได้มีการผลิตวัตถุดิบใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับซินเจียงเลย ต่อจากนั้นแถลงการณ์ดังกล่าวก็ไม่สามารถเข้าถึงได้อีก แต่ก็ยืนยันว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงาน

Adidas อีกหนึ่งรายที่ระบุไว้ต้งแต่ปี 2019 ว่า บริษัทไม่ได้มีการผลิตสินค้าใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับซินเจียง ไม่มีสัญญา ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเออร์ที่มาจากซินเจียงทั้งสิ้น และยังร่วมอยู่ในโครงการพัฒนาฝ้ายอย่างยั่งยืนที่ยืนหยัดไม่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานทั้งสิ้น 

นอกจากดีไซเนอร์และนางแบบแล้ว ยังมีนักศึกษาชาวจีนที่ชื่อลี เธอมองเรื่องนี้ว่า เธอไม่เชื่อว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะสามารถทำเช่นนั้นได้ ชาติบ้านเมืองของเรารักใคร่กลมเกลียวกันมาก ไม่น่าจะทำเช่นนั้น

สรุป

Zhou Li ดีไซเนอร์คือคนจีนอีกคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฝ้ายจากซินเจียงโดยตรง เธอเป็นอีกคนหนึ่งที่รักชาติและรักฝ้ายจากซินเจียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขณะที่นางแบบและนักศึกษาบางรายก็เห็นตรงกันว่าชาติจีนรักใคร่กลมเกลียว ไม่น่าจะมีการบังคับใช้แรงงานหรือละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น

คำถามที่น่าคิดต่อก็คือ ถ้าจีนไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนจริง จีนสามารถปล่อยให้คนนอกจีนเข้าไปตรวจสอบได้อย่างโปร่งใสหรือไม่ เหตุใดหลากหลายแบรนด์จึงเดินหน้าคว่ำบาตรจีนต่อเนื่อง ทำไมจึงมีภาพคลิปวิดีโอสะท้อนเรื่องนี้ทั้งจากสำนักข่าวหลายแห่งและรายงานจากสถาบันวิจัยจึงออกมาตีแผ่เรื่องนี้ หากไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ ซินเจียงจริง เหตุใดผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวบีบีซี สาขาจีน จึงถูกติดตาม ข่มขู่ คุกคามจนต้องย้ายออกจากจีนหลังรายงานตีแผ่เรื่องนี้

นี่คือสิ่งที่จีนจำเป็นต้องพิสูจน์ให้เห็นมากกว่าถ้อยคำโจมตีกลับของผู้ใช้งานทางอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถสะท้อนให้เห็นความจริงได้

ที่มา – Reuters, Business-Human Rights

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ฝ้ายจากซินเจียงคือฝ้ายที่ฉันรัก ดีไซเนอร์จีน คนจีนมั่นใจ ชาติจีนไม่ได้ทำอะไรอุยกูร์ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/chinese-designer-trust-in-china-support-xinjiang/

ประเด็นอุยกูร์พ่นพิษ ผลสำรวจพบ แคนาดาอยากคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว จีน

กว่าครึ่งหนึ่งของชาวแคนาดาที่ร่วมทำผลสำรวจ พบว่า ไม่เห็นด้วยที่ควรจะมีส่วนร่วมใน Winter Olympic Games (โอลิมปิกฤดูหนาว) ที่กำลังจะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ปี 2022 นี้

Canada China Winter Olympic

ผลสำรวจจากบริษัทวิจัยพบว่า คนแคนาดาที่ร่วมทำผลสำรวจนั้น มีทัศนคติลบต่อจีน จากกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผลสำรวจออนไลน์จากชาวแคนาดา 1,000 คน มีอัตรา 54% มองว่าควรบอยคอตต์โอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ ขณะที่ 24% ระบุว่าไม่ควร ส่วนอีกราว 21% ระบุว่าไม่แน่ใจ

นอกจากนี้ ในผลสำรวจยังมีคำถามถึงประเด็นที่มีการเรียกร้องให้นักกีฬาและคณะกรรมาธิการโอลิมปิกทั่วโลกร่วมบอยคอตต์โอลิมปิก ปี 2022 จากกรณีที่จีนมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยตั้งคำถามว่า จากสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้อ่านและได้ยินมา คุณคิดว่า แคนาดาควรบอยคอตต์โอลิมปิกฤดูหนาว ปี 2022 หรือไม่

ผลสำรวจพบว่า ชาวแคนาดาที่รวมสนับสนุนให้เกิดการบอยคอตต์มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปอยู่ที่อัตรา 61% ส่วนใหญ่เพศที่สนับสนุนให้บอยคอตต์คือเพศชาย 57% เพศหญิง 51% ขณะที่คนแคนาดาที่มีเชื้อสายเอเชียตะวันออกก็ร่วมสนับสนุนให้บอยคอตต์ 49% ขณะที่ 29% ไม่เห็นด้วยที่จะมีการบอยคอตต์ และมีอีก 22% ที่ไม่ตัดสินใจ

Justin Trudeau Canada
ภาพจาก Facebook Justin Trudeau

สำหรับแคนาดา ความสามารถและศักยภาพนักกีฬาถือว่าโดดเด่นพอจะเข้าชิงรางวัลได้อย่างต่อเนื่อง ปี 2018 ที่ผ่านมาที่มีโอลิมปิกฤดูหนาว จัดขึ้นที่เมืองพย็องชัง เกาหลีใต้ ประเทศแคนาดาก็ได้รางวัลเหรียญทองมากเป็นอันดับ 3 รองจากนอร์เวย์และเยอรมนี ขณะที่โอลิมปิกฤดูหนาวช่วงก่อนหน้าในปี 2014 แคนาดาก็ครองเหรียญทองเป็นอันดับ 2 รองจากนอร์เวย์ ตามด้วยสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ดี ผลสำรวจจาก Angus Reid Institute ปีที่ผ่านมา มีความคิดเห็นเชิงบวกต่อจีน 14% ถือว่าความคิดเห็นเชิงบวกที่มีต่อจีนลดลงจาก 29% ซึ่งเป็นผลที่สำรวจเพียง 6 เดือนก่อนหน้าเท่านั้น

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา การที่แคนาดาจับกุมตัวเหมิง หวันโจว CFO ของ Huawei ที่ทำธุรกรรมอำพรางขายสินค้าโทรคมนาคมให้กับอิหร่าน ก็ทำให้ถูกจีนโต้กลับด้วยการจับกุมอดีตทูตแคนาดาและนักธุรกิจในข้อหาจารกรรมแต่ไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงใดๆ

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สภาสามัญชนแห่งแคนาดาหรือสภาสามัญเพิ่งจะผ่านข้อตกลงที่ไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมายที่ประกาศว่า จีนได้กระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ ด้วยมติ 266 ต่อ 0 แม้ว่านายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด จะละเว้นการลงคะแนนเสียง แต่อาทิตย์ถัดมาหลังจากนั้น คณะรัฐบาลของทรูโดก็ร่วมกับสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีนที่มีความเกี่ยวพันกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ ซินเจียง

Xi Jinping สี จิ้นผิง ประธานาธิบดี จีน
Xi Jinping ภาพจาก Shutterstock

สรุป

ขณะที่มีผลสำรวจคว่ำบาตร ให้แบนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กำลังจะเกิดขึ้นที่จีนในปี 2022 นี้ ชาวแคนาดาทั้งในแง่ประชาชนที่ร่วมให้สำรวจความคิดเห็นที่มีต่อจีนกับกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่วนใหญ่ล้วนไม่เห็นด้วยต่อจีนและสนับสนุนการคว่ำบาตร

ในระดับประเทศ ในสภาก็ร่วมประกาศไม่เห็นด้วยในมติ 266 ต่อ 0 แบบไม่มีเสียงเห็นค้านที่จะประกาศว่าจีนกำลังพยายามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์่ชาวอุยกูร์ ตลอดจนในระดับระหว่างประเทศ แคนาดาก็ร่วมเห็นชอบที่จะคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอุยกูร์ร่วมกับสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอังกฤษ อาจกล่าวได้ว่ามีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันเสียเป็นส่วนใหญ่

ขณะเดียวกัน จีนก็ได้เตรียมการสำหรับการแข่งขันกีฬาที่ใกล้เวลาเข้ามาเต็มที่ สำหรับกีฬาโอลิมปิกที่ใกล้เข้ามาเต็มที่ ส่วนประเด็นละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ จีนก็ประกาศไม่เห็นด้วยต่อแถลงการณ์คว่ำบาตรทั้งหลายที่เกิดขึ้นและยืนยันว่าไม่พบการบังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์

ที่มา – SCMP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ประเด็นอุยกูร์พ่นพิษ ผลสำรวจพบ แคนาดาอยากคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว จีน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/canada-survey-boycott-winter-olympic-2022-in-china/

คนจีนกดดันหนัก Zara รับไม่ไหว ต้องลบแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยบังคับใช้แรงงานในซินเจียง

Zara ค้าปลีกเสื้อผ้าสัญชาติสเปนที่เป็นแบรนด์แฟชั่นชั้นนำระดับโลก เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม Inditex group และยังเป็นค้าปลีกเสื้อผ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตอนนี้ Zara กำลังถูกคนจีนโจมตีกลับหลังออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้แรงงาน 

Zara zero tolerance towards forced labour

หลังจากที่แบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Nike หรือ H&M ที่ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการใช้แรงงานทาส ใช้แรงงานผิดกฎหมายโดยเฉพาะแรงงานทาสอุยกูร์จากมณฑลซินเจียง จีน ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในตอนนี้จนชาวจีนพากันบอยคอตต์ข้อหาทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง แน่นอนว่า Zara ก็เป็นอีกรายที่ร่วมออกแถลงการณ์จะไม่ทนต่อการใช้นโยบายที่บังคับใช้แรงงานเช่นกัน

หลังจาก Zara ออกแถลงการณ์ต้านการบังคับใช้แรงงาน จากนั้นข้อความแถลงการณ์ดังกล่าวก็หายไปจากเว็บไซต์ ทางบริษัทไม่ได้ชี้แจงว่าเหตุใดจึงลบแถลงการณ์นี้ออกและไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งข้อความที่ปรากฎเมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมาเป็นแถลงการณ์ที่ระบุว่ากังวลมากต่อการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง ด้าน H&M ที่ถูกชาวจีนโจมตีกลับก่อนหน้านี้ ก็ได้นำแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้แรงงานออกจากเว็บไซต์เช่นกัน แต่ก็ยังมีปรากฎอยู่อีกแห่งหนึ่ง

การเคลื่อนไหวดังกล่าวของแบรนด์คือความพยายามจะจัดการกับผลกระทบที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้โซเชียลมีเดีย คนดัง คนมีชื่อเสียงที่เริ่มเตรียมตัดสัมพันธ์กับแบรนด์ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจถูกกดดันมาอีกทางและสื่อของรัฐที่ประณามบริษัทต่างชาติถึงแถลงการณ์ที่มีต่อกรณีซินเจียง สิ่งที่แบรนด์ต้องเลือกทำมีสองทางคือเรื่องคุณธรรมกับยอดขาย ทั้งนี้ นักวิจัยตะวันตกและเจ้าหน้าที่ระบุว่าชนกลุ่มน้อยอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่อยู่ในมณฑลซินเจียงถูกบังคับใช้แรงงานและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

Boycott Zara in China

ซินเจียงถือเป็นฮับผลิตฝ้ายของจีนและจีนก็ถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตฝ้ยรายใหญ่ที่สุดของโลกและยังเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรายใหญ่ที่สุดด้วย

อย่างไรก็ดี จีนปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ตลอดมา ล่าสุดยังออกมาคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ยุโรปและองค์กรเพื่อเป็นการโต้กลับสหรัฐฯ สหภาพยุโรป แคนาดาที่ร่วมมือกันคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน สำหรับจีนแล้ว การคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีนก็ไม่ต่างอะไรกับการคว่ำบาตรจีน ตอนนี้บริษัทต่างประเทศในจีนกำลังลุกเป็นไฟซึ่งก็เป็นผลมาจากการออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยที่มีการบังคับใช้แรงงานนั่นเอง

ทั้งนี้ บริษัทต่างชาติยักษ์ใหญ่ทั้งหลายก็พร้อมใจกันออกแถลงการณ์ต้านการบังคับใช้แรงงานทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Nike, Adidas, Gap และ Fast Retailing ที่เป็นเจ้าของ Uniqlo ซึ่งก็เป็นผลให้เซเลบชาวจีนเริ่มออกมาบอกว่าจะระงับความสัมพันธ์ด้วย เหตุการณ์เหล่านี้ก็ทำให้การบอยคอตต์ลุกลามใหญ่โตมากขึ้น บริษัทมีทางเลือกทั้งในรูปแบบยืนหยัดตามหลักการที่ตัวเองเลือกหรือไม่ก็ยกเลิกข้อเรียกร้องนั้น 

อย่างไรก็ดี จีนคือตลาดแฟชั่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นตัวขับเคลื่อนให้หลายบริษัทเติบโตอย่างมาก แม้ Inditex จะไม่ได้แตกยอดขายในจีนออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ก็พบว่ายอดขายในประเทศนี้ปี 2020 เติบโตกว่าสหรัฐฯ อย่างมาก

ที่มา – Quartz

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post คนจีนกดดันหนัก Zara รับไม่ไหว ต้องลบแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยบังคับใช้แรงงานในซินเจียง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/chinese-consumer-will-boycott-zara-in-case-of-uyghur/