คลังเก็บป้ายกำกับ: สาขา

แม็คโครเดินหน้าขยายสาขาต่างประเทศเพิ่ม เตรียมเปิดสาขาใหม่ที่กัมพูชาแห่งที่ 3

แม็คโครเดินหน้าขยายสาขาต่างประเทศเพิ่ม เตรียมเปิดสาขาใหม่ที่กัมพูชาแห่งที่ 3

Makro Cambodia

แม็คโครเริ่มเดินหน้าขยายสาขาต่างประเทศ มุ่งสู่ผู้นำธุรกิจค้าส่งค้าปลีกของเอเชีย เสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจค้าส่งแม็คโคร ระบุ หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของการเติบโตของแม็คโครคือ การเปิดสาขาเพื่อขยายฐานลูกค้าในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเอเชียที่แม็คโครมีสาขาอยู่แล้วหลายแห่ง ทั้งกัมพูชา เมียนมา อินเดีย และจีน

ปี 65 วางแผนขยายสาขาใหม่ต่อเนื่อง หลังจากมีผลตอบรับที่ดีจากลูกค้าในแต่ละประเทศ การขยายสาขาในต่างประเทศยังเป็นโอกาสสำคัญที่นำสินค้าจาก SMEs ไทยไปขยายตลลาด ซึ่งสินค้าไทยได้รับความนิยมจากกลุ่มประเทศ CLMV มาก

กัมพูชาถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพเติบโตได้ดี มีประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 65 เติบโตที่ 5.4% หลังโควิดคลี่คลายก็เริ่มปล่อยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายด้าน ที่ผ่านมาแม็คโครเปิดสาขาที่นี่ไปแล้ว 2 แห่ง ได้รับการตอบรับดีทั้งจากผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายย่อยและผู้ประกอบการร้านอาหาร จึงทำให้เห็นโอกาสที่จะเปิดสาขาที่ 3 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา

แม็คโครเตรียมเปิดสาขาในต่างประเทศอีกหลายแห่ง ทั้งอินเดีย จีน ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและดำเนินการ คาดว่าจะทยอยเปิดให้บริการอย่างต่อเนื่อง

ที่มา – Makro

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post แม็คโครเดินหน้าขยายสาขาต่างประเทศเพิ่ม เตรียมเปิดสาขาใหม่ที่กัมพูชาแห่งที่ 3 first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/third-brunch-of-makro-in-cambodia/

แมคโดนัลด์รัสเซียได้ชื่อใหม่ Vkusno & tochka สโลแกน ชื่อเปลี่ยนไปแต่หัวใจเหมือนเดิม

Vkusno & tochka ชื่อใหม่ของแมคโดนัลด์ รัสเซีย แปลว่า Delicious. Full Stop อร่อย แค่นั้น ชื่อใหม่ ภายใต้เจ้าของคนใหม่ที่เป็นนักธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตทำร้าน McDonald 25 แห่งในไซบีเรีย ถือเป็นการรีแบรนด์ครั้งใหม่ในรอบกว่า 30 ปี ร้านแมคโดนัลด์ที่รีแบรนด์แล้วและเปิดใหม่นี้คือร้านที่ตั้งอยู่บริเวณจตุรัสพุชกิน (Pushkin Square) กลางใจกรุงมอสโก 

Vkusno-&-tochka

หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการเปิดตัวโลโก้ที่เป็นเฟรนช์ฟราย 2 อันพร้อมเบอร์เกอร์ 1 ชิ้น หลายคนมองว่าโลโก้เหมือน Mos Burger แบรนด์เบอร์เกอร์สัญชาติญี่ปุ่น ล่าสุดมาพร้อมชื่อใหม่ที่แปลว่าอร่อยแล้ว ยังมีสโลแกนมาด้วย นั่นก็คือ ถึงชื่อจะเปลี่ยนไป แต่หัวใจยังคงเดิม (The name changes, love stays) 

การรีแบรนด์ครั้งใหม่นี้มีคนต่อคิวเพื่อเข้าไปรับประทานในร้านอาหารน้อยกว่าตอนที่เปิดตัวครั้งแรกในช่วงปี 1990 และยังมีเมนูที่น้อยลงด้วย ไม่มี Big Mac ที่เป็นเมนูยอดฮิตของแมคโดนัลด์เจ้าเก่าและยังมีอีกหลายเมนูที่หายไปรวมทั้งของหวานอย่าง McFlurry ด้วย ไม่ใช่แค่เมนูที่น้อยลงแต่ราคาก็ลดลงด้วย ราคาของดับเบิลชีสเบอร์เกอร์อยู่ที่ 129 รูเบิล (ประมาณ 2.31 เหรียญสหรัฐหรือ 60 กว่าบาท) จากเดิมอยู่ที่ 160 รูเบิล ส่วนแมคฟิชราคา 169 รูเบิลจากเดิมอยู่ที่ 190 รูเบิล ขณะที่องค์ประกอบต่างๆ ของเบอร์เกอร์และอุปกรณ์ของแมคโดนัลด์ก็ยังอยู่คงเดิม เซอร์เกย์ลูกค้าวัย 15 ปีบอกว่า รสชาติยังเหมือนเดิม แต่โค้กมีรสชาติที่แตกต่าง

Oleg Paroev ซีอีโอแมคโดนัลด์ เวอร์ชั่นรัสเซียหรือ Vkusno & tochka ระบุว่า บริษัทเตรียมจะกลับมาเปิดหน้าร้านอีกราว 200 แห่งภายในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนและทั้งหมดรวม 850 สาขาจะเปิดภายในช่วงปลายซัมเมอร์ ภายในร้านยังคงตกแต่งเช่นเดิม เพียงแต่เอาชื่อเดิมออกเท่านั้น เป้าหมายของแมคโดนัลด์เวอร์ชั่นรัสเซียก็คือ ไม่ต้องการให้ลูกค้ารู้สึกถึงความแตกต่างทั้งในเรื่องของคุณภาพอาหารและบรรยากาศ นอกจากนี้ก็พยายามรักษาระดับราคาที่สามารถจับต้องได้ อาจจะมีราคาเพิ่มขึ้นบ้างในช่วงเงินเฟ้อแต่ก็ไม่ได้มีราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง

ขณะที่ Alexander Govor นักธุรกิจชาวไซบีเรียนผู้เป็นเจ้าของ Vkusno & tochka ให้สัมภาษณ์รอยเตอร์สว่า อาจจะมีการปล่อยเมนูเด่น Big Mac เหมือนกับแมคโดนัลด์เจ้าเก่าออกมา เขาบอกว่า เขาไม่มีสิทธิใช้สี หรือสัญลักษณ์หรือโลโก้ของแมคโดนัลด์ได้ เขาไม่มีสิทธิที่จะอ้างอะไรที่เกี่ยวข้องกับแมคโดนัลด์ได้ Big Mac คือเรื่องเล่าของแมคโดนัลด์ เราจะทำบางอย่างที่เหมือนกัน เราจะพยายามทำบางอย่างให้ดีขึ้น ด้านซีอีโอเผย บริษัทกำลังมองหาแหล่งซัพพลายเออร์ที่จะจัดหาเครื่องดื่มให้ใหม่ เพราะเครื่องดื่ม Coca Cola กำลังจะหมดแล้วและยังระงับการขายในรัสเซียอยู่

อย่างไรก็ดีขณะที่มีการแถลงข่าวอยู่นั้นก็มีชายคนหนึ่งยืนมาถือป้ายหน้ากล้อง เนื้อหาในป้ายนั้นระบุว่า “เอา Big Mac กลับมา” จากนั้นเขาก็ถูกเชิญตัวออกไปจากร้าน

ด้านเจ้าของแมคฯ คนใหม่ Govor ระบุว่า เขาใช้เงินจ่ายเงินซื้อสัญลักษณ์ในราคาที่ต่ำกว่าตลาด มันคือสัญลักษณ์ของ McDonald เบอร์เกอร์ที่มีสาขามากที่สุดในโลกด้วยราคา 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 4.86 หมื่นล้านบาท ซึ่งสหรัฐมีสิทธิจะซื้อกลับไปภายใน 15 ปี แต่พวกเขาก็ยืนยันว่าเขาจะไม่ซื้อกลับไป ด้านแมคโดนัลด์เคยระบุไว้ว่าเจ้าของธุรกิจคนใหม่จะต้องรักษาการจ้างพนักงาน 6.2 หมื่นรายของแมคโดนัลด์ต่อไปอย่างน้อย 2 ปีเป็นอย่างต่ำ แต่ทาง Govor ก็ยังไม่ได้ออกความคิดเห็นใดๆ กับเรื่องนี้

ที่มา – CNA, The Straits Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post แมคโดนัลด์รัสเซียได้ชื่อใหม่ Vkusno & tochka สโลแกน ชื่อเปลี่ยนไปแต่หัวใจเหมือนเดิม first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/russia-mcdonald-new-name-vkusno-and-tochka/

FamilyMart เตรียมเปิดหน้าร้านแบบไม่ใช้พนักงาน ใช้แต่กล้องวงจรปิดและระบบเซ็นเซอร์

ปลายปี 2024 FamilyMart เตรียมเดินหน้าเปิดร้านอีก 1,000 แห่ง ภายในร้านจะขายสินค้าแบบเดียวกับสาขาทั่วไป แต่ความแตกต่างที่กำลังจะเกิดขึ้นคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากกว่าสาขาอื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วไป เนื่องจากขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก

FamilyMart

ถ้าเทียบอันดับผลิตภาพแรงงานซึ่งมีความสำคัญมากต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับญี่ปุ่นแล้วถือว่าอยู่ในอันดับต่ำที่สุดของกลุ่ม G7 และอยู่อันดับที่ 21 จากสมาชิก 37 ประเทศในกลุ่ม OECD ถือว่าอยู่อันดับต่ำสุดในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง G7 และอยู่ในอันดับที่ไม่สูงมากนักสำหรับกลุ่มประเทศ OECD

เนื่องจากญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ระบบอัตโนมัติจึงมีบทบาทสำคัญในการรับบทพระเอกเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้แทน

สำหรับธุรกิจค้าปลีกในส่วนของเรื่องสุขอนามัย ความสะอาดต่างๆ ยังต้องใช้บุคลากรเข้าไปดูแลจัดการด้านนี้อยู่ตามที่กฎหมายกำกับ แต่สำหรับระบบจ่ายเงินถือเป็นส่วนสำคัญสำหรับร้านค้าที่เน้นระบบอัตโนมัติ FamilyMart จะใช้กล้องวงจรปิดติดเพเดานและกล้องที่ใช้ระบบ AI รวมทั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับบนชั้นวางสินค้าเพื่อตรวจสอบขณะลูกค้าหยิบจับสินค้าออกจากชั้น เมื่อลูกค้ายืนอยู่ในช่องจ่ายเงิน ชื่อสินค้าและราคาจะปรากฏบนหน้าจอ จากนั้นลูกค้าก็สามารถจ่ายเงินได้ทั้งเงินสดและระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเอาการอ่านบาร์โค้ดที่ยุ่งยากออก แต่ก็จะทำให้ลูกค้าที่ต้องการขโมยของยากขึ้นด้วย

ระบบดังกล่าวที่ FamilyMart กำลังจะทำนี้จะปกป้องความเป็นส่วนตัวให้ลูกค้าด้วย โดยเฉพาะข้อมูลที่ยืนยันตัวตน เช่น จะไม่เก็บข้อมูลที่เป็นระบบตรวจจับใบหน้าไว้ ลูกค้าไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันไว้ในสมาร์ทโฟนล่วงหน้า ไม่ต้องเตรียมข้อมูลยืนยันตัวตนตามระบบไบโอเมตริกซ์ก่อนเข้าร้านเลย ทางร้านระบุว่าอาจจะมีสินค้าราว 3,000 รายการเหมือนกับหน้าร้านทั่วไป ทั้งนี้ ได้มีการทดลองขายในโตเกียวช่วงกรกฎาคมที่ผ่านมาแล้ว ร้านมีพื้นที่ขนาด 50 ตารางเมตรหรือราว 30% ของขนาดหน้าร้านปกติ ใช้กล้องตรวจจับประมาณ 50 ตัว มีสินค้าราว 750 รายการ ในกรณีที่มีลูกค้ามาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ก็จะมีการมอนิเตอร์ยืนยันตัวตนในช่องจ่ายเงินด้วย

FamilyMart
Photo: FamilyMart in Malaysia

ปัจจุบัน FamilyMart นี้มีหน้าร้านอยู่ในญี่ปุ่นราว 16,000 แห่ง บริษัทเดินหน้าขยายสาขาจำนวนมากขนาดนี้หลังจากที่มีการยืนยันระบบปฏิบัติการแล้วพบว่าการให้บริการพร้อมกันในคราวเดียว 10 คนนั้น ไม่มีปัญหาติดขัด โดยระบบดังกล่าวใช้บริการจากบริษัท Touch To Go ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับร้านค้าที่ไม่มีพนักงาน เป็นบริษัทในเครือของ East Japan Railway ที่ FamilyMart ถือหุ้นอยู่ด้วย

อย่างไรก็ดี ระบบอัตโนมัตินี้ทำให้ร้านมีต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่าร้านทั่วไปราว 20% แต่ในส่วนต้นทุนของแรงงานลดลงเพราะไม่จำเป็นต้องใช้พนักงาน ยกเว้นในส่วนของรับสินค้าและสต็อกสินค้า ผลสำรวจจากคณะกรรมการการค้าที่เป็นธรรมของญี่ปุ่นพบว่าเฉพาะค่าแรงงานในร้านแฟรนไชส์มีค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานราว 60% ด้านประธานบริษัท Kensuke Hosomi กล่าวกับ Nikkei ว่า ตอนนี้ เราสามารถเปิดหน้าร้านในพื้นที่ที่ไม่ทำกำไรได้ เพราะเราต้องการแก้ปัญหาสังคม ช่วยเหลือผู้คนในพื้นที่ที่ขาดแคลนซุปเปอร์มาเก็ต

ญี่ปุ่นมีคอนวีเนียนสโตร์ราว 50,000 แห่งแต่ก็มีจำนวนลดลงครั้งแรกในปี 2019 อีกหลายบริษัทในญี่ปุ่นต่างก็พยายามปรับตัวโดยการใช้ระบบอัตโนมัติเข้าไปในการให้บริการมากขึ้น เช่น 7-Eleven ก็เริ่มใช้ระบบจดจำใบหน้ามาใช้ในการจ่ายเงิน Lawson ก็มีระบบให้ลูกค้าใช้สมาร์ทโฟนตัวเองอ่านบาร์โค้ดสินค้าได้

ที่มา – Nikkei Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post FamilyMart เตรียมเปิดหน้าร้านแบบไม่ใช้พนักงาน ใช้แต่กล้องวงจรปิดและระบบเซ็นเซอร์ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/familymart-will-launch-unstaff-shop-by-the-end-of-2024/

ล็อคดาวน์พ่นพิษ Miniso ค้าปลีกสัญชาติจีนสูญรายได้มหาศาลกว่า 7.1 พันล้านบาท

โควิดระบาดพ่นพิษทุกหย่อมหญ้า ทุกวงการ ทุกธุรกิจล้วนได้รับผลกระทบหมด ล่าสุด Miniso ค้าปลีกสัญชาติจีนที่มีต้นแบบจาก Uniqlo และ Muji เป็นแรงบันดาลใจ ก็ยังได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน

Miniso ค้าปลีกจีนก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดเช่นกัน หลังจากที่หน้าร้านในสาขาต่างประเทศจำต้องปิดกิจการเพื่อหยุดจำหน่ายสินค้าชั่วคราว ซึ่งก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้มาตรการล็อคดาวน์เพื่อควบคุมการติดต่อของโรคระบาด ทำให้ต้องสูญเงินมหาศาลราว 1.4 พันล้านหยวน หรือ 215 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.1 พันล้านบาท

แม้รายได้สำหรับในจีนจะเพิ่มขึ้นบ้าง ยอดขายเพิ่มขึ้นราว 1% หรือประมาณ 9 พันล้านหยวน รายได้เพิ่มขึ้นราว 21% หรือประมาณ 7.2 พันล้านหยวน แต่ยอดขายจากหน้าร้านในสาขาต่างประเทศลดลงมากราว 39% หรือประมาณ 1.7 พันล้านหยวน

ทั้งนี้ ยอดขายในช่วงเมษายนถึงมิถุนายนนั้นเพิ่มขึ้น 59% อยู่ที่ 2.4 พันล้านหยวน ยอดขายเติบโตราว 43% อีกทั้งยอดขายในตลาดอื่นๆ ก็เติบโตขึ้นมากถึง 180% กำไรในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมามีมูลค่าสูงมากถึง 100 ล้านหยวน ลดลงจากการขาดทุน 40 ล้านหยวนในช่วงปีที่ผ่านมา

Miniso มีหน้าร้านมากถึง 4,749 แห่งในช่วงปลายเดือนมิถุนายน มีเพิ่มขึ้นราว 10% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มีสาขาเพิ่มขึ้นในจีนราว 406 แห่ง มีสาขารวมในประเทศราว 2,939 แห่ง และยังมีหน้าร้านในต่างประเทศราว 121 รวม 1,810 แห่ง ทำธุรกิจในต่างประเทศและนอกดินแดนจีนราว 98 ประเทศในช่วงมิถุนายนที่ผ่านมา และคาดว่าจะทำให้ได้ 100 แห่งภายในปลายปีนี้

Miniso ก่อตั้งในปี 2013 ภายใต้แบรนด์ Meiso ในชื่อของภาษาญี่ปุ่นและมีสาขาอยู่ในไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ปัจจุบันมีทั้งสิ้นรวม 70 สาขา ส่วนสาขาในกรุงเทพฯ ก็ปิดทำการเช่นกันเนื่องจากนโยบายล็อคดาวน์เช่นกัน แต่ยังสามารถหาซื้อสินค้าได้ทั้งใน Shopee และ Lazada

หน้าร้านของ Miniso เพิ่มขึ้นจากปี 2020 สู่ปี 2021 จาก 4,222 แห่งเป็น 4,749 แห่ง สาขาทั้งในจีนและในต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในจีนเพิ่มจาก 2,533 แห่งเป้น 2,939 แห่ง ในต่างประเทศเพิ่มจาก 1,689 แห่งเป็น 1,810 แห่ง

รายได้โดยรวมเพิ่มขึ้นถ้าเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าในปี 2020 เดือนมิถุนายน รายได้จากหน้าร้านภายในประเทศของจีนอยู่ที่ 88% แต่มิถุนายนปี 2021 ลดลงอยู่ที่ 79% ขณะที่รายได้จากสาขาในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 21% ในปี 2021 และมีรายได้โดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,553 พันล้านหยวนในปี 2020 เป็น 2,472 พันล้านหยวนในปี 2021

กำไรของค้าปลีก Miniso เพิ่มขึ้นเช่นกันถ้าเทียบกับปีก่อนหน้าจาก 2.7% เป็น 5.9%

ที่มา – Nikkei Asia, Miniso

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ล็อคดาวน์พ่นพิษ Miniso ค้าปลีกสัญชาติจีนสูญรายได้มหาศาลกว่า 7.1 พันล้านบาท first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/lockdown-impact-chinese-retail-miniso-lost-215-million-usd/

ล่มสลายต่อเนื่อง ผ่านไปเพียง 2 เดือน ค้าปลีกระดับโลกประกาศปิดสาขาแล้วกว่า 4,810 แห่ง

การปิดหน้าร้านในวงการค้าปลีกกลายเป็นหนึ่งในข่าวปกติไปแล้ว ตัวเลขล่าสุดของ 2 เดือนแรกในปีนี้ที่มีประกาศแผนปิดสาขาแล้วสูงถึง 4,810 แห่ง

ห้างสรรพสินค้า Photo: Shutterstock
ห้างสรรพสินค้า Photo: Shutterstock

หน้าร้านค้าปลีกล่มสลายต่อเนื่อง ทยอยปิดกันเรื่อยๆ

ในช่วงเดือนแรกๆ ของปี 2019 มีแบรนด์ค้าปลีกจำนวนไม่น้อยที่ได้ประกาศแผนปิดสาขาแล้ว ตัวอย่างเช่น Gap และ J.C. Penny แม้กระทั่ง Victoria’s Secret ที่ประกาศแผนปิดหลายสาขาในปีนี้ เพราะมียอดขายลดลง หรืออย่าง Tesla ที่ได้ประกาศปิดหน้าร้านจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุน แล้วหันมาขายรถยนต์ไฟฟ้าผ่านออนไลน์แบบ 100%

  • งานวิจัยของ Coresight Research ระบุว่า จนถึงวันนี้ผ่านมา 2 เดือน มีแบรนด์ค้าปลีกทั้งหมดที่ประกาศแผนปิดสาขาในปี 2019 สูงถึง 4,810 แห่ง (ตัวเลขนี้คือจำนวนสาขาที่ปิด ไม่ใช่จำนวนแบรนด์)

ที่น่าสนใจคือ กระแสการปิดหน้าร้านในวงการค้าปลีก ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแบรนด์ค้าปลีกทั่วไปเท่านั้น ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่าง Amazon ซึ่งเติบโตจากออนไลน์ และกระโดดลงมาเล่นในตลาดออฟไลน์ ก็ได้ประกาศปิดสาขาขนาดเล็ก หรือ pop-up store ที่ตั้งในห้างสรรพสินค้าเช่นกัน โดยจะเริ่มทยอยปิดตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม Marie Driscoll กรรมการผู้จัดการด้านแฟชั่นและสินค้าหรูของ Coresight Research บอกว่า แม้จะเกิดการทยอยปิดสาขาจำนวนมากของแบรนด์ค้าปลีก “แต่นี่คือการทำให้จำนวนสาขาสมเหตุสมผลมากขึ้น”

การทยอยปิดสาขาของหลายแบรนด์ระดับโลกเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดความคาดหมายแต่อย่างใด เนื่องจากคำถามสำคัญคือ สาขานั้นตั้งอยู่ที่ไหน เพราะหากตั้งอยู่ในพื้นที่เกรดเอ มีลูกค้าและยอดขายจำนวนมาก การปิดสาขาไม่ใช่คำตอบอย่างแน่นอน ดังนั้นแล้วภาพใหญ่ของการทยอยปิดสาขาของแบรนด์ค้าปลีกต่างๆ คือการทำให้จำนวนสาขาของแบรนด์เกิดความสมเหตุสมผลและประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

ที่มา – CNBC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/coresight-research-retail-store-closures-2019/

Starbucks ประกาศเปิดสาขาใหญ่สุดในเกาหลีใต้ ส่วนที่ไทยก็เตรียมเปิดร้าน 3 ชั้นกลางสยามสแควร์

เอเชียกลายเป็นตลาดที่ Starbucks ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะผู้บริโภคในพื้นที่นี้เริ่มอินกับการดื่มกาแฟจริงๆ (ไม่ใช่ 3 in 1) กันมากขึ้น จึงไม่แปลกที่เชนร้านกาแฟเบอร์หนึ่งของโลกจะทุ่มเต็มที่เพื่อเพิ่มยอดขาย

Starbucks สาขาแห่งใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้

เปิดสาขาใหญ่สุด รับยอดขาย 1.2 ล้านล้านวอน

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา Starbucks ในเกาหลีใต้นั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะในปี 2555 มียอดขายรวม 3.91 แสนล้านวอน (ราว 9,500 ล้านบาท) แต่หากนับตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ย. 2560 ก็ทำยอดขายไปได้แล้วกว่า 9.1 แสนล้านวอน (ราว 27,000 ล้านบาท) ซึ่งหลายฝ่ายก็คาดว่าปีนี้น่าจะปิดที่ 1.2 ล้านล้านวอนแน่ๆ (ราว 35,000 ล้านบาท)

นอกจากนี้ Starbucks เกาหลีใต้ยังเพิ่มตัวเมนูของหวานอยู่ตลอด และตัวยอดขายส่วนนี้ก็เพิ่มขึ้นตามเช่นกัน เพราะเมื่อปี 2556 ยอดขายจากขนมหวานอยู่ที่ 58,000 ล้านวอน (ราว 1,700 ล้านบาท) แต่ในปี 2559 นั้นเพิ่มขึ้นเป็น 1.35 แสนล้านวอน (ราว 4,000 ล้านบาท)

Starbucks Roastery photographed on March 10, 2016. (Joshua Trujillo, Starbucks)

และหากนับตั้งแต่ปี 2542 ที่เชนร้านกาแฟเบอร์หนึ่งของโลกเข้ามาเปิดสาขาแรกในเกาหลีใต้ ถึงตอนนี้ก็มีสาขามากกว่า 1,100 แห่งทั่วประเทศแล้ว แถมยังทิ้งห้างเบอร์ 2 อย่างร้าน A Twosome Place ที่มีสาขา 910 แห่งอีกด้วย โดยที่สาขาเติบโตได้เร็วก็มาจากในแต่ละวันมีกว่า 50 ข้อเสนอที่ยื่นเข้ามาเพื่อขอเปิดร้าน Starbucks เพิ่ม

จากการเติบโตนี้เองทำให้ Starbucks เตรียมประกาศเปิดให้บริการสาขาที่ใหญ่ที่สุดที่เกาหลีใต้ มีพื้นที่รวม 1,097 ตร.ม. ครอง 2 ชั้นภายใน Jongno Tower อยู่ใจกลางกรุงโซล ถือว่าใหญ่กว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับสาขาปกติ แถมยังมีแก้วน้ำ และสินค้าอื่นๆ วางขายมากกว่าสาขาอื่นๆ ถึง 30%

ที่ไทยก็เตรียมเปิดสาขา 3 ชั้น รวมพื้นที่ 422 ตร.ม.

ขณะเดียวกันในประเทศไทย Starbucks ก็เตรียมเปิดสาขาที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์วันบริเวณ Samsung Experience Store เดิมที่เพิ่งปิดไป โดยตัวร้านจะมี 3 ชั้น รวมพื้นที่ทั้งหมดราว 422 ตร.ม. ถือเป็นการขยายสาขาอย่างต่อเนื่องตามแผนการเติบโตของธุรกิจ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 322 สาขาทั่วประเทศ

เรียกได้ว่าเกมการแข่งขันเชนร้านกาแฟในประเทศไทยต้องดุเดือดอีกครั้งแน่ๆ เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้น ผู้บริโภคที่นี่เริ่มยินดีที่จะจ่ายแพงเพิ่มดื่มด่ำกับรสชาติของกาแฟ มากกว่าแค่ดื่มไปวันๆ ดังนั้นคู่แข่งอย่าง True Coffee ก็คงมีอะไรขยับบ้าง จากที่เห็นว่า Amazon ก็เริ่มทำสินค้าอื่นๆ ออกมาจำหน่ายแล้ว

อ้างอิง // Korea Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/starbucks-korea-and-thailand/

ในรัศมี 1 ไมล์จะเจอ Starbucks ในสหรัฐอเมริกาถึง 4 ร้าน และนี่คือศัตรูตัวฉกาจที่ทำให้ยอดขายซบ

ใช่ว่าการมีสาขาเยอะจะดีเสมอไป เพราะ Starbucks ในสหรัฐอเมริกานั้นเปิดสาขาติดๆ กันจนเกินไป หรือโดยเฉลี่ยจากสาขาหนึ่งในรัศมี 1 ไมล์จะเจอคู่แข่งถึง 4 สาขา และนั่นกลายเป็นปัญหาที่เชนกาแฟยักษ์ใหญ่นั้นเดินเกมผิด

Starbucks Roastery photographed on March 10, 2016. (Joshua Trujillo, Starbucks)

ติดกันเกินไป แทนที่จะดี กลายเป็นแข่งขันกันเอง

ภาพรวมรายได้ของ Starbucks ทั่วโลกยังดีอยู่ เพราะสิ้นปี 2559 ปิดที่ 21,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ 11.29% แต่ในตลาดสหรัฐอเมริกานั้นกลับเติบโตลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผ่านยอดขาย Same-Store ที่เพิ่มขึ้นเพียง 4% และทยอยลดลงเรื่อยๆ ในแต่ละปี

Andrew Strelzik นักวิเคราะห์ของ BMO Capital Markets มองว่า การที่ยอดขายในสหรัฐอเมริกาของ Starbucks เติบโตลดลง เพราะการเปิดสาขาใหม่ที่ตั้งอยู่ใกล้กับสาขาเดิมมากเกินไป หรือถ้านับจากรัศมี 1 ไมล์ของ Starbucks สาขาหนึ่ง จะเจอคู่แข่งที่เป็นสาขาอื่นๆ ถึง 4 ร้าน

“จริงๆ แล้วการขยายสาขาเยอะเหมือนจะดี แต่นั่นไม่ใช่กับ Starbucks ที่เดินหมากผิด และขยายสาขาใหม่ไปในพื้นที่ใกล้ๆ กันจนเยอะเกินไป ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างสาขาด้วยกันเอง แถมบางทียังเป็นการลงทุนซ้ำซ้อน เพราะบางสาขาก็รองรับลูกค้าจำนวนมากได้ ไม่จำเป็นต้องมีสาขาใกล้ๆ กันมาเพิ่ม”

สำหรับสาขา Starbucks ในสหรัฐอเมริกานั้นมีกว่า 13,000 แห่ง และการทับซ้อนของสาขาดังที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเกิดขึ้นใน California, Pacific Northwest และ New York มากที่สุด ผ่านอัตรา 62% ของสาขาในพื้นที่เหล่านี้จะต้องแข่งขันกับสาขาอื่นในรัศมี 1 ไมล์อย่างน้อย 1 สาขา

ความเห็นส่วนตัวมองว่า การเปิดสาขาใกล้กันเกินไป ถ้าไม่มีผู้ใช้บริการมากจริงๆ ก็คงไม่เกิดประโยชน์ และเหตุการณ์นี้คงไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยเร็วๆ นี้แน่ๆ เพราะที่นี่ยังมีไม่ถึง 200 สาขา และถึงบางสาขาจะอยู่ใกล้กันมาก เช่นตามห้างสรรพสินค้า หรือโซน CBD แต่สาขาเหล่านั้นก็แทบจะตอบรับความต้องการของผู้ซื้อไม่ทัน

อ้างอิง // Quartz

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/starbucks-worst-enemy/