คลังเก็บป้ายกำกับ: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

KResearch: เศรษฐกิจไทยปี 2566 ฟื้นตัวแต่ไม่ทั่วถึง ไม่แน่นอนสูง ธุรกิจ SMEs ยังน่าห่วง

เศรษฐกิจไทยปี 2566 เติบโตต่อเนื่อง แต่ไม่ทั่วถึง ไม่แน่นอนสูง การท่องเที่ยวจะฟื้นตัว ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก

Thai

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณการจีดีพีปี 2566 อยู่ที่ 3.2% จากเดิมอยู่ที่ 3.2%-4.2% ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ปีนี้สิ่งที่กังวลคือเรื่องเงินเฟ้อตั้งแต่ต้นปีแล้ว ปีหน้า จะให้น้ำหนักเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ตัวเลข GDP โลกชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญ 

KResearch

ปีนี้ตั้งแต่ต้นปี ธนาคารกลางสหรัฐเร่งขึ้นดอกเบี้ย หลังจากปี 2564 มีทั้งคลายล็อคดาวน์โควิดและการทำ QE เยอะ ตอนนั้นมองว่าเงินเฟ้อเป็นปัจจัยชั่วคราว แต่ปีนี้ผลกระทบโควิดยังไม่คลี่คลายดี มีเรื่องสงครามรัสเซีย ยูเครน ทำให้เกิดวิกฤตพลังงาน อาหาร ส่งผลต่อเงินเฟ้อสูงขึ้น ปัจจัยเรื่องซัพพลายเชนเริ่มคลี่คลายลงแล้ว ประเทศผู้ผลิตกลับมาผลิตได้ แต่ไม่ได้บอกว่านโยบายการเงิน ตึงตัวดอกเบี้ยจะลดลง ประเด็นเงินเฟ้อจะเป็นประเด็นหลักของธนาคารกลางทั่วโลก

ปีหน้า ปี 2566

การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักยังขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่ช้าลง ผลในระยะแรกยังไม่เห็นผลกระทบทางเศรษฐกิจ คนยังมีงานทำ ธุรกิจยังไม่ปลดพนักงานออก แต่ภาพตรงนี้จะเริ่มทยอยเห็นในปีหน้า ซึ่งเศรษฐกิจยุโรปกระทบมากกว่าเพราะเจอวิกฤตพลังงานก่อนหน้าแล้ว

ในส่วนของปีหน้า ปี 2566 เศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐทั้งปีอาจไม่โตเลย บางไตรมาสเศรษฐกิจอาจหดตัว ไทยจะได้รับผลกระทบจากการส่งออก เศรษฐกิจโลกถดถอยปีหน้าจะส่งผลกระทบต่อไทยมากขึ้น

China covid measures
แนวโน้มจีนเปิดประเทศ

มีแนวโน้มเปิดประเทศมมากขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ปี 2566 จากเดิมที่อาจเปิดประเทศไตรมาส 4 แต่ดูทิศทางแล้วน่าจะเปิดประเทศเร็วที่สุดคือเดือนเมษายนหรือสิ้นไตรมาส 1 ต้องติดตามการประชุมของจีนช่วงเดือนมีนาคม

การเปิดประเทศของจีนจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจโลกและไทย แต่ถ้าจีนติดเชื้อเยอะหลายระลอก อาจจะต้องพิจารณาปัจจัยระหว่างทางอีกที
ตอนนี้เริ่มมีการระบาดในเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้น แต่จีนคงไม่ล็อคดาวน์เข้มข้นแบบเดิม หลังจากนี้ต้องดูจำนวนการติดเชื้อของจีน จากนี้จนก่อนถึงตรุษจีน (ปลายมกราคม 2566) จะเป็นอย่างไร น่าจะเป็นการระบาดในหัวเมืองใหญ่ๆ ของจีน คนจะเดินทางกลับบ้านก็จะมีการนำเชื้อกลับไปแพร่อีก

ถ้าสถานการณ์ระบาดลดลงในช่วงมีนาคม ต้องรอดูสัญญาจากการประชุมสภาจีน ถ้ามีผลดีคงมีการเปิดประเทศ ซึ่งจะเปิดประเทศจริงก็คงมีเงื่อนไข ต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป ดูทั้งจำนวนติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตและความสามารถในการรองรับโรคระบาดด้านสาธารณสุขของจีนด้วย

Tourism Industry

ปีหน้า ท่องเที่ยวจะเพิ่มเป็น 22 ล้านคน ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 11 ล้านคน

การส่งออกปีหน้าจะติดลบเล็กน้อยที่ 1.5 เพราะเศรษฐกิจโลกชะลอ สินค้าโภคภัณฑ์เช่น น้ำมันจะชะลอตัวลง มูลค่าการส่งออกน่าจะหดตัวเล็กน้อย ปริมาณการส่งออกลดลงแต่ราคาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง คาดว่าตัวเลขส่งออกจะติดลบ คาดว่ารายได้จะหายไปราว 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมกรณีที่ไทยอาจเร่งเดินหน้าหาตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง

Thai export decrease

นักท่องเที่ยวที่เข้ามา ไม่ใช่คนจีนเป็นหลัก แต่จะเป็นนักท่องเที่ยวจากเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก ตลาดอื่นๆ จีนไม่ใช่กลุ่มใหญ่ นักท่องเที่ยวจีนปัจจุบันอยู่ในหลักหมื่น ไตรมาสที่เป็น high season ของจีน คือไตรมาส 1, ไตรมาส 3

จากสถานการณ์โควิดระบาด ต้องดูว่าคนจีนกลัวการออกนอกประเทศหรือไม่ ต้องดูไฟลท์บินด้วยว่ารองรับนักท่องเที่ยวแค่ไหน ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนจะทยอยกลับมาจากหลักหมื่นค่อยๆ เพิ่มเป็นหลักแสน

เศรษฐกิจไทยปีหน้าฟื้นตัวต่อเนื่อง อยู่ที่ 3.2% การท่องเที่ยวดีขึ้น การส่งออกลดลง อัตราแลกเปลี่ยนปีหน้า มีโอกาสที่ค่าเงินบาทแข็งค่าหลัง Fed ขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งก็ต้องดูการส่งออกของไทยและการเลือกตั้งด้วย อัตราดอกเบี้ยของไทยน่าจะขึ้นอีก 2 ครั้งอยู่ที่ 1.75%

Thai economic overview

เศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่องแต่ไม่ทั่วถึง ไม่แน่นอนสูง

สำหรับภาคธนาคาร สินเชื่อโตอย่างจำกัด สินเชื่อรวม 4.7% สินเชื่อโตนี้น่าจะมาจากธุรกิจรายใหญ่ แต่สำหรับระดับ SMEs อาจไม่ฟื้นตัวดีนักจากวิกฤตโควิดที่ผ่านมา คุณภาพสินทรัพย์ยังต้องติดตามอยู่ NPL อาจไม่ลดลงมากจากปีนี้ ปีนี้อยู่ที่ 2.75% ปีหน้า 2.55-2.80%

KResearch

สำหรับภาคธุรกิจไทยในปี 2566

เกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ พูดถึงภาพรวมธุรกิจไทยปี 2566 ว่า ภาคธุรกิจจะเจอหลายโจทย์ เศรษฐกิจไม่แน่นอน ตัวขับเคลื่อนหลักคือท่องเที่ยวจากต่างชาติเพิ่มขึ้นเท่าตัวอยู่ที่ 22 ล้านคน ช่วงแรกจะมีแรงหนุนจากเม็ดเงินการเลือกตั้ง ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องฟื้นตัว แต่สิ่งที่ลดทอนรายได้คือเศรษฐกิจโลก ธุรกิจที่เกี่ยวกับการส่งออก-นำเข้าจะเจอแรงกดดันให้อ่อนตัวลงและอาจเจอค่าเงินบาทแข็งในช่วงต้นปี

สำหรับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมันที่เป็นวัตถุดิบ อาจไม่เป็นแรงกดดันมากเหมือนปีนี้ แต่ภาคธุรกิจจะเจอต้นทุนอย่างอื่นคือค่าไฟฟ้า ช่วงเมษายน ปี 2566 อยู่ที่ 5.69 บาทต่อหน่วย ภาคธุรกิจ
จะเจอค่าไฟที่เร่งตัวต่อเนื่อง ขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่ม 5% ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนปีหน้าไม่แน่ว่าค่าแรงจะขึ้นอีกหรือไม่ นโยบายจากการเลือกตั้งอาจส่งผลให้ค่าแรงขึ้น ซึ่งปัจจัยโดยรวมส่งผลให้ค่าแรงต้องขึ้นอยู่แล้ว ทั้งจากแรงงานที่ขาดแคลน คนเกิดใหม่น้อยลง

ภาคธุรกิจ โดยรวมต้นทุนไม่ลดลง ปัจจัยของภาคธุรกิจจะส่งผลกระทบต่างกันตามภาคธุรกิจ ซึ่งก็มีทั้งปัจจัยบาทแข็งค่า ดอกเบี้ยขึ้น ค่าแรงเพิ่ม ค่าไฟเพิ่ม เศรษฐกิจโลกถดถอย

รายได้ฟื้นตัวไม่ราบรื่น ต้นทุนไม่ลดลง การฟื้นตัวรายได้ไม่เท่ากันเป็นลักษณะ K Shape หมวดท่องเที่ยว โรงแรม สินค้าจำเป็น อาหาร ค้าปลีก โตต่อเนื่องแต่โตช้าลง ที่ยังลำบากต่อเนื่องคือส่งออก อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ เป็นการฟื้นตัวของธุรกิจที่ไม่เท่ากัน การฟื้นตัวไม่แน่นอน ค่าครองชีพ ต้นทุนสูง หนี้ครัวเรือนกดดัน

เรื่อง ESG มาแน่นอน

Climate Change เริ่มเกิดขึ้นถี่ รุนแรงขึ้น ทั่วโลกรวมทั้งไทยประกาศจะปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ ต่อไปจะมีมาตรการเก็บค่าธรรมเนียม (CBAM) ของยุโรป ซึ่งไม่จำกัดแค่ในยุโรป แต่จะมีสหรัฐ ญี่ปุ่น ตามมา ส่วนใหญ่เป็นหมวดที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะ ซึ่งแบงก์ชาติก็พยายามออกเกณฑ์ Green Taxonomy เช่น ธุรกิจอะไรเป็นสีอะไร ตอนนี้เตรียมการอยู่และน่าจะเริ่มทำปีหน้า ซึ่งก็มีกลุ่มพลังงาน ขนส่ง อุตสาหกรรม เกษตร

ธุรกิจที่ปรับตัวด้านนี้ไม่ทัน จะกระทบจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง นอกจากเศรษฐกิจที่ไม่นิ่งแล้ว ยังมีเรื่อง ESG ที่กำลังจะมา 

KResearch-Impact of Business Group

ปี 2566

ธุรกิจที่จะโต

คือโรงแรม นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเท่าตัว MICE ดีขึ้น รายได้จะกลับมา 40% รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) มีการตอบรับของผู้บริโภคที่ราคาเอื้อ มีรถให้เลือกหลากหลายค่าย ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวราว 30,000 คันจากเดิม 12,000 คัน และ ธุรกิจชาร์จไฟฟ้า โซล่า

ธุรกิจที่จะลำบาก

ที่อยู่อาศัย คือความสามารถในการก่อหนี้ใหม่ของครัวเรือนมีจำกัด ภาระหนี้สูง พอจะตัดสินใจซื้อบ้านต้องคิดทบทวนมากขึ้น และมาตรการ LTV ที่หมดอายุไป ปีหน้าไม่มีแรงหนุนด้านนี้ ยอดโอนกรรมสิทธิที่อยู่อาศัย กทม. ปริมณฑล หดตัวราว 5%

รถที่ใช้น้ำมัน (ICE) มีการแข่งขันกับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เจอส่งออกที่มีแรงกดดันของเศรษฐกิจโลก จะทำให้ทรงตัวหรือหดตัวลง

เศรษฐกิจไทยปีหน้ายังโตได้มากกว่า 3 ยังให้น้ำหนักเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลก ส่วนการท่องเที่ยวจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจโตได้สูงกว่า 3% ส่วนความเสี่ยงมีเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และการจัดการโควิดของจีน ส่วนดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.75%

ปีหน้า ค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าได้ถ้า Fed ขึ้นดอกเบี้ย 0.25 อีก 2 ครั้ง การเติบโตของสินเชื่อยังให้สินเชื่อรายใหญ่อยู่ SME ยังไม่ฟื้นตัวดีมากนัก ธุรกิจปีหน้ายังเจอภาพการฟื้นตัวแบบ K Shape เจอต้นทุน ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนสูง ปัจจัยบวกคือการเลือกตั้งและการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ปีหน้าธุรกิจ โรงแรม รถยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจลำบากคือส่งออกและรถยนต์แบบดั้งเดิม

นโยบายทางการเมือง แม้ว่าไม่มีเรื่องการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ต้นทุนแรงงานจะสูงขึ้นอยู่แล้ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและความพร้อมของธุรกิจด้วย กลุ่มที่อิงกับค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้เยอะมาก ต้นทุนแรงงานมีแต่จะปรับตัวสูงขึ้น นี่คือโจทย์ที่ภาคธุรกิจต้องดูแลอยู่แล้ว

ที่มา – KResearch

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post KResearch: เศรษฐกิจไทยปี 2566 ฟื้นตัวแต่ไม่ทั่วถึง ไม่แน่นอนสูง ธุรกิจ SMEs ยังน่าห่วง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/kresearch-thai-economic-forecast-in-2023/

ว่าด้วยเรื่องพลังงานไฟฟ้า ไทยเผชิญต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงขึ้น คาดปี 66 ปรับเพิ่มอีก 16% จากปัจจุบัน!

  • ไทยจะยังคงเผชิญแนวโน้มค่าไฟที่มีทิศทางขาขึ้นต่อเนื่องในปีหน้า จากต้นทุนเชื้อเพลิงที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับการทยอยลดภาระอุดหนุนค่าไฟของภาครัฐ และเงินบาทที่ผันผวนในทางอ่อนค่า
  • ในระยะเฉพาะหน้า ผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องรณรงค์ประหยัดไฟอย่างจริงจัง ขณะที่ในระยะกลาง ผู้ประกอบการที่มีความพร้อม อาจพิจารณาปรับใช้แหล่งพลังงานทางเลือกอื่นซึ่งมีต้นทุนค่าไฟที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะโซลาร์รูฟท็อป ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งด้านต้นทุนค่าไฟและกระแสรักษ์โลก
  • ผลของสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ได้ก่อให้เกิดวิกฤตพลังงานกระจายตัวไปในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในยุโรปที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงทั้งด้านอุปทานที่ขาดแคลนและราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลัก
ภาพจาก Shutterstock

ผลของสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อได้ก่อให้เกิดวิกฤตพลังงานกระจายตัวไปในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในยุโรปที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงทั้งด้านอุปทานที่ขาดแคลนและราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลัก โดยล่าสุดสถานการณ์มีความน่ากังวลมากขึ้น หลังการรั่วไหลของท่อส่งก๊าซหลักที่ลำเลียงก๊าซจากรัสเซียไปยุโรป ขณะที่กำลังเข้าใกล้ฤดูหนาวของทางซีกโลกเหนือซึ่งจะมีความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้น ทำให้ยุโรปน่าจะยิ่งได้รับแรงกดดันจากวิกฤตพลังงานมากขึ้นในระยะข้างหน้า

ภาพจาก Shutterstock

สำหรับประเทศไทย แม้จะมีการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 64 ของแหล่งเชื้อเพลิงทั้งหมด ในขณะที่ความต้องการไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทว่าความเสี่ยงต่อการขาดแคลนไฟฟ้าในไทยน่าจะมีจำกัด เพราะได้มีการวางแผนจัดหาก๊าซธรรมชาติในลักษณะสัญญาระยะยาวไว้ก่อนแล้ว รวมไปถึงอุปทานที่น่าจะทยอยเพิ่มขึ้นจากการเร่งเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยหลังการเปลี่ยนผ่านสัมปทาน และการวางแผนใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาทดแทนก๊าซธรรมชาติในโรงผลิตไฟฟ้าที่เครื่องจักรรองรับได้ ทำให้หากไม่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น เช่น ภัยธรรมชาติที่กระทบต่อการขนส่งก๊าซ เป็นต้น ความเสี่ยงต่อการขาดแคลนเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าน่าจะมีจำกัด

อย่างไรก็ดี ไทยก็น่าจะยังคงเผชิญแนวโน้มค่าไฟที่มีทิศทางขาขึ้น จากต้นทุนเชื้อเพลิงที่ยังคงอยู่ในระดับสูงแม้ราคาจะมีแนวโน้มย่อตัวลงบ้างในช่วงปีหน้า ประกอบกับการทยอยลดภาระอุดหนุนค่าไฟของภาครัฐ และเงินบาทที่ผันผวนในทางอ่อนค่า ทำให้ค่าไฟฟ้าในปีหน้าน่าจะยังคงมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ค่าไฟเฉลี่ยในปี 2566 น่าจะเพิ่มขึ้นแตะราว 4.85 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 16 จากค่าไฟเฉลี่ยทั้งปี 2565 ที่อยู่ราว 4.18 บาทต่อหน่วย

ค่าไฟฟ้าของไทยที่มีทิศทางขาขึ้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่ยังสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนของภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทุก 1% ของค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ต้นทุนธุรกิจเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 0.024% ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเผชิญแรงกดดันด้านต้นทุนส่วนเพิ่มเฉพาะที่เกิดจากค่าไฟราว 0.8% จากค่าไฟขาขึ้นในช่วงปี 2565-66

ภายใต้ทิศทางขาขึ้นของค่าไฟ แนวทางปรับตัวโดยการปรับขึ้นราคาสินค้าหรือบริการอาจกระทำได้จำกัดในช่วงที่เศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้แนวทางปรับตัวอื่นประกอบเพื่อบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้า

โดยแนวทางเฉพาะหน้า ผู้ประกอบการธุรกิจอาจจำเป็นต้องรณรงค์การประหยัดไฟอย่างจริงจัง ขณะที่ในระยะกลาง ผู้ประกอบการที่มีความพร้อม อาจพิจารณาปรับใช้แหล่งพลังงานทางเลือกอื่นซึ่งมีต้นทุนค่าไฟที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะโซลาร์รูฟท็อป ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนผลิตไฟในระยะกลางถึงยาว ยังช่วยตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ สอดรับไปกับกติกาของนานาประเทศที่ต่างต้องการผลักดันให้กระบวนการผลิตสินค้าและบริการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น มาตรการเก็บภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป สหรัฐฯ และทางการไทยก็อยู่ระหว่างพิจารณาการวัดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในบางธุรกิจนำร่อง เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องคำนึงถึง carbon footprint ของการประกอบธุรกิจที่มาจากการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกมากขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ดี สุดท้ายแล้วก่อนจะตัดสินใจเลือกแนวทางการปรับตัว ผู้ประกอบการแต่ละรายยังคงต้องชั่งน้ำหนักความคุ้มค่าในประเด็นต่างๆ อย่างรอบคอบ เพราะสถานการณ์แวดล้อมและแนวโน้มค่าไฟอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขณะที่ไปข้างหน้าอัตราดอกเบี้ยก็มีแนวโน้มเป็นทิศทางขาขึ้นซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนของผู้ประกอบการเช่นกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ว่าด้วยเรื่องพลังงานไฟฟ้า ไทยเผชิญต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงขึ้น คาดปี 66 ปรับเพิ่มอีก 16% จากปัจจุบัน! first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/electricity-crisis-in-thailand-and-other/

ผู้บริโภค-SME รับผลกระทบเต็มๆ จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาและต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น

  • สงครามรัสเซีย-ยูเครน กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อต้นทุนการผลิตและส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคในไทยทยอยปรับขึ้นตาม ขณะที่รายได้ของครัวเรือนยังคงเปราะบาง กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวดีนัก ยิ่งกระทบความเป็นอยู่ของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อย
  • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ปรับตัวรับสถานการณ์ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โดยเลือกใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็น ลด/ชะลอกิจกรรมสังสรรค์ และเลือกซื้อสินค้าทดแทนที่มีราคาถูกลง ผู้บริโภคกลุ่มที่รายได้มากจะมีความยืดหยุ่นและมีช่องทางในการปรับตัวได้มากกว่ากลุ่มที่มีรายได้น้อย 
  • ในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐได้ออกมาตรการบรรเทาค่าครองชีพของผู้บริโภคไปบ้างแล้ว เช่น มาตรการคนละครึ่งเฟส 4 (ก.พ.-เม.ย.65) และล่าสุดทาง ครม. ได้เห็นชอบ 10 มาตรการบรรเทาค่าครองชีพรอบใหม่ ที่จะช่วยลดค่าไฟฟ้า ตรึงราคาน้ำมันดีเซล ลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม เป็นต้น คาดว่าจะช่วยพยุงภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในระยะข้างหน้าได้บ้าง
  • ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจร้านอาหาร น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่มีความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่น้อยกว่าผู้ประกอบรายใหญ่ 
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในระยะสั้น ผู้ประกอบการ SMEs อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น การพัฒนาสินค้าแบรนด์รอง การลดปริมาณหรือขนาดของสินค้า (Resize) แทนการปรับขึ้นราคา ขณะที่ระยะยาว อาจศึกษาและเพิ่มการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการต้นทุนและสต็อกสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
russia ukraine
ภาพจาก Shutterstock

ประเด็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน เข้ามาซ้ำเติมเศรษฐกิจหลายประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยที่กำลังจะเริ่มฟื้นตัวให้มีแนวโน้มสะดุดลง แม้ว่ารัสเซียและยูเครนจะไม่ใช่ประเทศคู่ค้าหลักของไทย (สัดส่วนการส่งออก 0.43 % และนำเข้า 0.75%) แต่เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายสำคัญของโลก นอกจากนี้ ทั้งรัสเซียและยูเครนต่างเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก ด้วยสถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวได้กดดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น

โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่มีความผันผวนในช่วงที่ผ่านมา โดยราคาเฉลี่ยล่าสุดแตะระดับสูงกว่า 100 ดอลลาร์ฯต่อบาร์เรล รวมไปถึงราคาแร่โลหะและวัตถุดิบต่างๆ (เช่น เหล็ก นิกเกิล ทองแดง แพลเลเดียม) ราคาปุ๋ย และราคาธัญพืช (เช่น ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์และผลิตอาหาร ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของหลายธุรกิจในไทยปรับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนไม่สามารถแบกรับต้นทุนต่อไปได้ และอาจมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้า

ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มเห็นราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคหลายรายการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมัน ราคาเนื้อหมู ราคาน้ำมันพืช ราคาทางด่วน ราคาไข่ไก่ ราคาไฟฟ้า เป็นต้น สะท้อนผ่านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาที่ปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 5.23% (YoY) สูงสุดในรอบ 13 ปี ซึ่งกระทบต่อรายจ่ายของผู้บริโภคโดยตรง 

K Research

รายได้ไม่เพิ่ม รายจ่ายสูงขึ้น กระทบกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

ขณะเดียวกัน รายได้ครัวเรือนของไทยยังคงเปราะบาง สะท้อนจากผลการสำรวจประเด็นรายได้และค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ที่พบว่า 33.8% ของครัวเรือนที่สำรวจมีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ซึ่งครัวเรือนส่วนมากต้องการรายได้เพิ่มเฉลี่ย 10-20% เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ขณะที่ครัวเรือนราว 67.5% ไม่มีเงินออม (ครัวเรือนที่รายได้พอดีกับค่าใช้จ่ายและครัวเรือนที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย) ยิ่งจะกดดันกำลังซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย4 พบว่า สถานการณ์ที่รายจ่ายไม่สมดุลกับรายได้กระทบต่อผู้บริโภคกลุ่มที่มีรายได้น้อย (ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน) มากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น ซึ่งราว 36% ของกลุ่มดังกล่าวมองว่ามีค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2564

เลือกใช้จ่ายที่จำเป็น ลดกิจกรรมสังสรรค์ กลุ่มผู้มีรายได้มากปรับตัวได้ดี

การปรับตัวเป็นสิ่งจำเป็นท่ามกลางสถานการณ์ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยจะเลือกใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็น ลดหรือชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย รวมไปถึงลดหรือชะลอกิจกรรมสังสรรค์ รวมทั้งยังหันไปซื้อสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ในราคาที่ถูกลง เช่น สินค้ามือสอง สินค้าแบรนด์รอง (House brand) เป็นต้น

เมื่อพิจารณาแนวทางการปรับตัวตามกลุ่มรายได้ พบว่า ผู้บริโภคกลุ่มที่มีรายได้สูงมีความยืดหยุ่นและมีช่องทางในการปรับตัวได้มากกว่ากลุ่มที่มีรายได้น้อย สะท้อนจากกลุ่มที่มีรายได้สูงสามารถปรับตัวโดยการซื้อสินค้าครั้งละมากๆ เพื่อประหยัดต้นทุนและป้องกันความเสี่ยงที่ราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้มากกว่ากลุ่มที่มีรายได้น้อย นอกจากนี้ กลุ่มที่มีรายได้น้อยมีพฤติกรรมการปรับตัวที่หันไปเลือกใช้รูปแบบการเดินทางที่มีราคาถูกลงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ค่อนข้างเยอะ ซึ่งหากมีการปรับขึ้นค่าขนส่งโดยสารสาธารณะ ยิ่งอาจจะซ้ำเติมและกระทบผู้บริโภคกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐได้ออกมาตรการบรรเทาค่าครองชีพของผู้บริโภคไปบ้างแล้ว เช่น มาตรการคนละครึ่งเฟส 4 (ก.พ.-เม.ย.65) และล่าสุดทางคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ 10 มาตรการบรรเทาค่าครองชีพรอบใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร ไปจนถึงสิ้นเดือน เม.ย. 65, การช่วยลดค่า FT 22 สตางค์ต่อหน่วย สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ในช่วง พ.ค-ส.ค. 65, การเพิ่มเงินช่วยเหลือเพื่อซื้อแก๊สหุงต้มสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3.6 ล้านคน โดยเพิ่มเงินจากเดิม 45 บาท เป็น 100 บาทต่อเดือน, การลดอัตราเงินสบทบของนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จาก 5% เหลือ 1% เป็นต้น ซึ่งคาดว่าน่าจะช่วยพยุงภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในระยะข้างหน้าได้บ้าง

K Research

กลุ่มผลิตอาหาร-เครื่องดื่ม ก่อสร้าง ร้านอาหาร เจอต้นทุนสูงขึ้น

ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มที่น่าจะได้รับกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งกระทบต่อต้นทุนการผลิต (ราคาวัตถุดิบและค่าขนส่ง) คือ ผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่มีความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงมีความยืดหยุ่นในการปรับราคาที่น้อยกว่าผู้ประกอบรายใหญ่

หากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงยืดเยื้อ อาจทำให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้ สะท้อนจากที่มีผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หลักหรือผู้ประกอบการรายใหญ่เริ่มส่งสัญญาณขอปรับขึ้นราคาสินค้า เช่น กลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs อาจปรับขึ้นราคาตามได้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสินค้าบางกลุ่มที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังสามารถบริหารจัดการและแบกรับต้นทุนได้ การปรับขึ้นราคาสินค้าของผู้ประกอบการ SMEs อาจทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง และอาจทำให้สูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดได้ในอนาคต

sme
ภาพจาก Shutterstock

สรุป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในระยะสั้น นอกเหนือจากการทำจัดทำโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นการขายแล้ว ผู้ประกอบการ SMEs อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปท่ามกลางค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้าแบรนด์รองเพื่อเป็นตัวเลือกในการบริโภค การลดปริมาณหรือขนาดของสินค้า (Resize) แทนการปรับขึ้นราคา รวมทั้งควรเร่งบริหารจัดการต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น การรวมกลุ่มในการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ถูกลง ตลอดจนการหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ หรือเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบทดแทนที่มีราคาต่ำกว่า แต่ยังคงต้องคำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเป็นหลัก รวมถึงอาจศึกษาการทำสัญญาซื้อขายวัตถุดิบล่วงหน้าระยะยาวเพื่อลดความเสี่ยงในการปรับเพิ่มขึ้นของราคาในอนาคต

ขณะที่ ในระยะยาวผู้ประกอบการอาจศึกษาและเพิ่มการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตและสต็อกสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะใช้เครื่องมือที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก เช่น Microsoft access สำหรับการจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้า, ระบบ Point of Sale (POS) สำหรับการบริหารจัดการสต็อกสินค้าในธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหาร และระบบ Building Information Modeling (BIM) สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพและต่อยอดการรับงานในธุรกิจก่อสร้างให้มีความหลากหลายมากขึ้น เป็นต้น  

Disclaimer

รายงานวิจัยนี้จัดทำโดยบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (“KResearch”) เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไป โดยอาศัยแหล่งข้อมูลสาธารณะหรือข้อมูลที่เชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือที่ปรากฏขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา ทั้งนี้ KResearch มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความเหมาะสม ความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าว และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ชวน เสนอแนะ ให้คำแนะนำ หรือจูงใจในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ท่านควรศึกษาข้อมูลด้วยความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจใดๆ KResearch จะไม่รับผิดในความเสียหายใดที่เกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว 

ข้อมูลใดๆ ที่ปรากฎในรายงานวิจัยนี้ถือเป็นทรัพย์สินของ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) การนำข้อมูลดังกล่าว (ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) ไปใช้ต้องแสดงข้อความถึงสิทธิความเป็นเจ้าของแก่ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) หรือแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ ทั้งนี้ ท่านจะไม่ทำซ้ำ ปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไข ส่งต่อ เผยแพร่ หรือกระทำในลักษณะใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรจาก KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ผู้บริโภค-SME รับผลกระทบเต็มๆ จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาและต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/russia-ukraine-to-thai-sme-and-consumer/

ขยะพลาสติกไทย ติดอันดับ 12 ของโลก ปริมาณ 4.8 ล้านตันต่อปี หลักๆ จากความนิยม Food Delivery

k research
ภาพจาก Shutterstock
  • ขยะพลาสติก กำลังเป็นปัญหาที่หนักขึ้นเรื่อยๆ เกิดจากการจัดการที่ไม่ถูกต้องในการำกจัด เช่น การเผา หรือฝังกลบ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยทั่วโลกมีการปล่อยขยะพลาสติกมากถึง 242 ล้านตัน และไทยอยู่อันดับ 12 ยิ่งบริการ Food Delivery และ Online Shopping เพิ่มขึ้น ขยะพลาสติกยิ่งสูง
  • ไทย พยายามลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียว เปลี่ยนใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในปี พ.ศ.2565 และตั้งเป้าขยะพลาสติก 7 ชนิดนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ 100% ภายในปี พ.ศ.2570 ขณะที่การประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Assembly: UNEA) เพิ่งบรรลุข้อมติเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อควบคุมขยะพลาสติกซึ่งจะจัดทำร่างให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2567
  • ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติกจะต้องเจอกับมาตรการและกฎระเบียบเพื่อควบคุมการผลิตและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องมีหลักการจัดการพลาสติกตลอด Life Cycle ตั้งแต่การออกแบบ ผลิต การใช้งานและการจัดการหลังการใช้งานเสร็จแล้ว
k research
ภาพจาก Shutterstock

ขยะพลาสติกมาพร้อมกับ Food Delivery และ Online Shopping

พลาสติกนับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ถุงพลาสติก ขวดน้ำ หลอด ของเล่น จาน บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ส่งผลให้การใช้พลาสติกนั้นก่อให้เกิดปริมาณขยะมหาศาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากการศึกษาของ Ocean Conservancy พบว่าในปี 2016 มีปริมาณขยะพลาสติกมากถึง 242 ล้านตัน โดยประเทศที่มีขยะพลาสติกมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ สหรัฐอเมริกา (34 ล้านตัน) สหภาพยุโรป (30 ล้านตัน) อินเดีย (26 ล้านตัน)

ขณะที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 12 (4.8 ล้านตัน) แต่พลาสติกที่มีการใช้ทั่วไปนั้นไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยตนเองจึงมีการจัดการโดยการเผาหรือฝังกลบซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ ดิน อากาศได้ โดยจากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 มีปริมาณขยะพลาสติกมากถึง 3,440 ตัน/วัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2562 ถึงร้อยละ 62 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้บริการ Food delivery และ Online Shopping ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นพลาสติกที่ Recycle ได้เพียง 19% นอกนั้นเป็นพลาสติกปนเปื้อน

k research
ภาพจาก Shutterstock

ลด เลิก ใช้พลาสติก 7 ชนิด นำกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ 100%

ประเทศไทยเองมีความพยายามเข้ามาจัดการปัญหาขยะพลาสติดแบบใช้ครั้งเดียวโดยรัฐบาลได้จัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ. 2561-2573) ซึ่งได้ขอความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนให้เลิกใช้พลาสติก 7 ชนิดได้แก่ พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม ไมโครบีด (ภายในปี พ.ศ. 2562) ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และหลอดพลาสติก (ภายในปี พ.ศ. 2565) โดยให้หันไปใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังตั้งเป้าให้ขยะพลาสติกทั้ง 7 ชนิดสามารถกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2570 

นอกจากนี้ในเวทีระดับนานาชาติเอง ณ การประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Assembly: UNEA) สมัยที่ 5 ช่วง 2 (UNEA 5.2) ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม พ.ศ. 2565 ที่มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ 193 ประเทศเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย ได้บรรลุข้อมติ End Plastic Pollution Resolution เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการเจรจา (Intergovernmental negotiating committee: INC) จัดทำร่างกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจัดการมลพิษจากพลาสติกและจัดการขยะทางทะเล โดยมีเป้าหมายในการจัดการพลาสติกทั้งวงจรชีวิต รวมถึงให้มีมาตรการการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาทั้งในด้านเทคโนโลยีและด้านการเงินซึ่งจะส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยร่างกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) โดยมี 175 ประเทศให้การสนับสนุนรวมถึงประเทศไทย

k research
ภาพจาก Shutterstock

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติก ต้องปรับตัวโดยเร็ว

ในปี พ.ศ. 2563 อุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศไทยมีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.4 ของ GDP ในจำนวนดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปพลาสติกมีมูลค่า 8.5 แสนล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในอนาคตผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติกจะเผชิญกับมาตรการและกฎระเบียบเพื่อควบคุมผลิตภัณฑ์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ผู้ประกอบการควรเร่งดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วยหลักการการจัดการพลาสติกตลอดวงจรชีวิต (Life Cycle) ตั้งแต่การจัดการพลาสติกในขั้นตอนการออกแบบและการผลิต โดยการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Design) ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการพลาสติกในขั้นตอนการบริโภค และการจัดการพลาสติกหลังการบริโภค

นอกจากนี้สามารถใช้ประโยชน์จากมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐที่มีอยู่ ได้แก่ นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมภายใต้ BCG Model ซึ่งกิจการผลิตเคมีภัณฑ์หรือพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 5 – 8 ปี

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ขยะพลาสติกไทย ติดอันดับ 12 ของโลก ปริมาณ 4.8 ล้านตันต่อปี หลักๆ จากความนิยม Food Delivery first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/plastic-pollution/

ทำธุรกิจค้าปลีกต้องไม่พลาด Metaverse เทรนด์ธุรกิจใหม่ที่ไปไกลกว่าตลาดในประเทศ

  • Metaverse หนึ่งในเทรนด์การทำธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ (New retail) ที่ช่วยสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค ยิ่งมีการแพร่ระบาดโควิด -19 กิจกรรมบนโลกออนไลน์ยิ่งสำคัญมากขึ้น หลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และแบรนด์สินค้าชั้นนำระดับโลกปรับกลยุทธ์เข้าสู่ Metaverse มากขึ้น
  • สำหรับประเทศไทย การทำธุรกิจค้าปลีกบน Metaverse ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และขับเคลื่อนโดยผู้เล่นรายใหญ่เป็นหลักแต่จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย เช่น เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบต่างๆ และการยอมรับจากผู้บริโภค
  • แนวโน้มการหดตัวของประชากรไทยในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า อาจส่งผลต่อปริมาณการบริโภคและการใช้จ่ายในภาคค้าปลีก การทำธุรกิจค้าปลีกบน Metaverse อาจจะไม่ได้เกิดจากการใช้จ่ายในภาพรวมของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น แต่อาจเป็นการดึงส่วนแบ่งรายได้มาจากช่องทางอื่นๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องชั่งน้ำหนักถึงความคุ้มค่าในการลงทุน ต้องมองให้กว้างกว่าตลาดในประเทศ แต่ยังมีความท้าทายทั้งในเรื่องการแข่งขัน พฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนกฎหมายหรือข้อบังคับของแต่ละประเทศที่น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในอนาคต

kbank

Metaverse ค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่ควรศึกษา

Metaverse เทรนด์ค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่ช่วยสร้างความแตกต่างและประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจที่รุนแรงและไม่แตกต่างกัน การซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-commerce) ซึ่งได้รับความนิยมตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด และมีทิศทางการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ยิ่งทำให้การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการหลายรายจึงพยายามมองหาช่องทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะถัดไป

แนวคิดโลก Metaverse ที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะเป็นหนึ่งในช่องทางธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพที่จะเข้ามาพัฒนาการทำธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ (New retail) ที่ช่วยสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างและมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นให้แก่ผู้บริโภค เช่น การลองเสื้อผ้าเสมือนจริง (Virtual Fitting) การออกแบบ/ตกแต่งบ้านผ่านการใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) รวมถึงการจัดงานแฟชั่นโชว์ผ่าน Virtual Fashion show เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพที่สามารถเข้าสู่โลก Metaverse ได้ก่อน อาจมีความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค (First-mover advantage) ตลอดจนส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ทันสมัยของแบรนด์ ยิ่งเพิ่มโอกาสการเติบโตในอนาคต ซึ่งปัจจุบัน ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่หลายรายเริ่มมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อเข้าสู่โลก Metaverse ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ในสหรัฐฯที่ เริ่มยื่นขอเครื่องหมายทางการค้าเพื่อขายสินค้าเสมือนจริง (Virtual Good) ตลอดจนมีแผนจะออกสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) และอาจจะเปิดการซื้อขาย NFTs (Non-Fungible Token) ในอนาคต เช่นเดียวกับธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ในเกาหลีใต้โดยเฉพาะในส่วนของ Home Shopping และ Duty Free มีแผนจะสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายสินค้าบนโลก Metaverse ภายในช่วง 1-2 ปีนี้ (2565-2566) รวมถึงแบรนด์สินค้าแฟชั่นต่างๆ ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายแบรนด์เนม แบรนด์เสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา ได้เริ่มมีการเปิดขายสินค้าเสมือนจริงและ NFTs เมื่อปีก่อน ตลอดจนมีการร่วมมือกับบริษัทเกมส์ชื่อดังเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ บนแพลตฟอร์ม Metaverse

metaverse
ภาพจาก Shutterstock

ไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้น รายใหญ่ลองของก่อน SME อย่ามองข้าม

การทำธุรกิจค้าปลีกบน Metaverse ของไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้น และน่าจะขับเคลื่อนโดยผู้ประกอบการค้าปลีก และการร่วมทุนกับผู้ผลิตแพลตฟอร์มรายใหญ่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในระยะแรกคือ กลุ่มห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ เนื่องจากมีความพร้อมทั้งเรื่องเงินทุน มีฐานข้อมูลและมีความใกล้ชิดกับลูกค้ามาอย่างยาวนาน ทำให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี โดยรูปแบบธุรกิจคาดว่าจะเป็นการร่วมลงทุน (Partnership) กับธุรกิจนอกภาคค้าปลีก โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ หรือผู้ผลิตแพลตฟอร์ม/แอพพลิเคชั่นออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น โดยในช่วงที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ของไทยได้ร่วมลงทุนกับบริษัทซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในการสร้าง Digital Community เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลก Metaverse

ในส่วนของผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยหรือ SMEs การเข้าสู่โลก Metaverse ในช่วงแรกยังมีข้อจำกัดทั้งด้านเงินทุน เทคโนโลยี รวมถึงพนักงานหรือบุคลากร แต่ในระยะยาวคาดว่า ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวอาจอาศัยแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์หรือช่องทาง E-commerce ของผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อเป็นตัวกลางในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลก Metaverse ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดังกล่าว เพื่อให้บริการแก่กลุ่มผู้ประกอบการรายกลางถึงย่อยไปบ้างแล้ว

ความสำเร็จในการทำธุรกิจค้าปลีกบนโลก Metaverse ในไทย ยังต้องใช้เวลาและขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะความพร้อมด้านเทคโนโลยี ทรัพยากร และการตอบรับของผู้บริโภค

metaverse
ภาพจาก Shutterstock

ปัจจัยอีกมากในการกระตุ้นให้ตลาดเกิด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การทำธุรกิจค้าปลีกบนโลก Metaverse ในไทยยังคงมีความท้าทายหลายประเด็น

  • เรื่องของแนวคิดของโลก Metaverse ที่ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น ต้องใช้เวลาในการพัฒนาและต่อยอด
  • ความพร้อมของเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อสู่โลก Metaverse ซึ่งในปัจจุบันมีราคาสูงและยังไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลาย
  • ความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
  • การขาดแคลนองค์ความรู้และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Metaverse อีกจำนวนมาก
  • ความท้าทายในเรื่องการออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ สำหรับใช้บนโลก Metaverse ทั้งในประเด็นของการแข่งขัน การทำธุรกรรมต่างๆ บนบล็อกเชน การคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวและความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตลอดจนประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญ

ในต่างประเทศได้มีกรณีการฟ้องร้องการละเมิดสิทธิในการผลิตและขาย NFTs เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นอกจากนี้ การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการในประเทศยังคงมีความท้าทาย ขณะเดียวกัน การยอมรับและเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้บริโภคก็เป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงคอนเทนต์และประสบการณ์ที่ได้รับจะต้องจูงใจมากพอที่จะทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้เวลาบนโลก Metaverse มากกว่าโลกจริง

metaverse
ภาพจาก Shutterstock

บทสรุป ยังต้องใช้เวลา แต่ไม่ควรมองข้าม

ประเด็นที่ต้องจับตาคือ แนวโน้มการบริโภคหรือการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกไทยในระยะข้างหน้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือเติบโตได้จำกัด จากอัตราการเกิดที่ทยอยลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้จำนวนประชากรไทยมีแนวโน้มจะหดตัวในอีกไม่ถึง 10 ปี ขณะเดียวกันจำนวนผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งจะกดดันภาพรวมการบริโภคในภาคค้าปลีกต่อไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การสร้างรายได้ในช่องทางค้าปลีกใหม่ๆ อย่าง Metaverse อาจจะไม่ได้เกิดจากการใช้จ่ายในภาพรวมของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการดึงส่วนแบ่งรายได้มาจากช่องทางอื่นๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มจะนำ Metaverse มาใช้ในธุรกิจค้าปลีก อาจจะต้องชั่งน้ำหนักถึงความคุ้มค่าในการลงทุน ท่ามกลางการเผชิญการแข่งขันในภาคค้าปลีกที่รุนแรงขึ้น เพื่อแย่งชิงฐานลูกค้าที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือมีจำกัด โดยหากการลงทุนใดๆ ผู้ประกอบการคงหนีไม่พ้นที่จะต้องมองให้กว้างกว่าตลาดในประเทศ

อย่างไรก็ตาม การขยายตลาดในต่างประเทศแม้ว่าจะมีโอกาสในการขยายฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละประเทศ อีกทั้งยังต้องเผชิญการแข่งขันกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ทั้งผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศนั้นๆ และผู้ประกอบการท้องถิ่น รวมถึงยังต้องศึกษากฎหมายหรือข้อบังคับในการทำธุรกิจค้าปลีกบนแพลตฟอร์มดิจิทัลของแต่ละประเทศที่อาจมีความเข้มงวดแตกต่างกัน เช่น จีน มีการอำนวยความสะดวกในการทำ Cross-border E-commerce ในเขตทดลองพิเศษ (CBEC pilot zone) ให้แก่ผู้ประกอบการต่างประเทศ ทั้งในเรื่องการลดภาษีนำเข้า การเพิ่มจำนวนสินค้าที่อนุญาตให้มีการซื้อขาย และการขยายวงเงินการซื้อสินค้าของคนจีน ขณะที่ เวียดนาม มีการออกมาตรการจัดเก็บภาษีธุรกิจ E-commerce จากผู้ประกอบการต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ไม่ได้มีการจัดตั้งธุรกิจในเวียดนาม

ทั้งนี้ กฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจค้าปลีก Metaverse ในแต่ละประเทศยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องติดตามรายละเอียดของแต่ละประเทศอย่างใกล้ชิดต่อไป

Disclaimer

รายงานวิจัยนี้จัดทำโดยบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (“KResearch”) เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไป โดยอาศัยแหล่งข้อมูลสาธารณะหรือข้อมูลที่เชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือที่ปรากฏขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา ทั้งนี้ KResearch มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความเหมาะสม ความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าว และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ชวน เสนอแนะ ให้คำแนะนำ หรือจูงใจในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ท่านควรศึกษาข้อมูลด้วยความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจใดๆ KResearch จะไม่รับผิดในความเสียหายใดที่เกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว 

ข้อมูลใดๆ ที่ปรากฎในรายงานวิจัยนี้ถือเป็นทรัพย์สินของ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) การนำข้อมูลดังกล่าว (ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) ไปใช้ต้องแสดงข้อความถึงสิทธิความเป็นเจ้าของแก่ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) หรือแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ ทั้งนี้ ท่านจะไม่ทำซ้ำ ปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไข ส่งต่อ เผยแพร่ หรือกระทำในลักษณะใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรจาก KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ทำธุรกิจค้าปลีกต้องไม่พลาด Metaverse เทรนด์ธุรกิจใหม่ที่ไปไกลกว่าตลาดในประเทศ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/metaverse-the-new-retail/

ส่องความไม่แน่นอนของมนุษย์เงินเดือน ถูกเลิกจ้าง ลดเงินเดือน ลดเวลาทำงาน เมื่องานประจำไม่มั่นคงอีกต่อไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการสำรวจภาคครัวเรือนเกี่ยวกับผลกระทบต่อการทำงานในปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่า

  • 54.0% ของครัวเรือนเริ่มมีความสนใจประกอบอาชีพเสริมแต่ยังไม่ได้เริ่มทำ
  • 28.2% ของครัวเรือนได้เริ่มทำอาชีพเสริมแล้วเนื่องจากงานที่ทำอยู่เป็นหลักได้รับผลกระทบจากโควิด-19

อาชีพส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมคือการขายสินค้าออนไลน์ ทั้งการขายอาหารขนมหรือสินค้าทั่วไป ผลสำรวจดังกล่าวสอดคล้องไปกับ Google trends ที่บ่งชี้ว่าจำนวนการค้นหาคำว่า “ขายออนไลน์” มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการสะท้อนว่าสถานการณ์โควิด-19 ได้เข้ามากระทบตลาดแรงงานและมุมมองเกี่ยวกับการทำงานที่เกิดขึ้นได้ 2 มิติ โดยมิติแรกเป็นเรื่องความมั่นคงของอาชีพหลัก หลังเริ่มเห็นว่าอาชีพต่าง ๆ มีความไม่แน่นอนสูงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงอาจเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของชีวิตในด้านอื่น ๆ ด้วย และมิติที่ 2 เป็นเรื่องรายได้ที่ลดลงจากอาชีพหลักส่งผลต่อความไม่เพียงพอในการดำรงชีวิตประจำวัน

การค้นหาคำว่าขายออนไลน์และการลงทุนมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น

google trends

รายได้ลดจึงต้องหารายได้เสริม…ไม่เพียงแค่อาชีพฟรีแลนซ์ที่ได้รับผลกระทบหนัก แต่มนุษย์เงินเดือนก็ได้รับผลกระทบด้วย

ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 เกิดขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนจากการทำงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 มีสัดส่วนที่ลดลงอยู่ที่ 66.6% จาก 71.2% ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 (ก่อนเกิดโควิด-19) บ่งชี้ว่า ภาพรวมครัวเรือนมีรายได้จากการทำงานที่ลดลง สอดคล้องไปกับสถานการณ์ที่หลายบริษัทอาจมีการเลิกจ้าง ปรับลดคนงาน ลดเงินเดือน หรือลดระยะเวลาการทำงานลง

เช่น ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยภาคเอกชนลดลงอยู่ที่ 43.9 ในไตรมาส 3/2564 หรือเคยลดลงไปอยู่ที่ 40.2 ในไตรมาส 2/2563 จากระดับก่อนเกิดโควิด-19 ที่ 46.7 ในไตรมาส 3/2562 ดังนั้นการมองหาอาชีพที่สองเพื่อรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่แน่นอนจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น รวมถึงกระแสเทคโนโลยีที่เริ่มเข้ามาก็ยังทำให้หลายอาชีพเริ่มถูกลดบทบาทลงมาก ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับการจ้างงานจากสถานการณ์โควิดมาก ทำให้นักบิน/พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามเดิมทำให้เกิดการว่างงานจำนวนมาก หลายคนจึงต้องหาอาชีพใหม่รองรับ บ้างก็นำงานอดิเรกที่ชอบมาทำเป็นอาชีพเสริม เช่น ร้านครัวซองค์ของนักบิน หรือบางคนสามารถค้นพบทักษะใหม่ ๆ ของตัวเองและเริ่มนำมาทำเป็นอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้ ดังนั้น ในตลาดแรงงานยุคปัจจุบัน การมีทักษะที่หลากหลายและกว้างขวาง การเรียนรู้ที่จะปรับตัว หรือการมีอาชีพที่สองรองรับความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นจึงมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้น

ภาพจาก Shutterstock

การใช้เงินทำงานหรือการลงทุนอีกทางเลือกของการเพิ่มรายได้… ต้องศึกษาให้ดีและรู้เท่าทัน

ในช่วงที่สถานการณ์มีความไม่แน่นอนสูงหลายอาชีพรายได้มีแนวโน้มปรับลดลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายเท่าเดิมหรืออาจปรับเพิ่มขึ้น ดังนั้นนอกจากการประกอบอาชีพเสริมแล้ว แนวทางที่นิยมหารายได้เพิ่มจาก “การใช้เงินทำงาน” ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการหารายได้เพิ่มเติม ซึ่งการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและการการลงทุนสามารถทำได้ง่ายขึ้นในโลกแห่งข้อมูลอย่างปัจจุบัน  โดยคำค้นหาใน google trends เกี่ยวกับการลงทุนมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการขายออนไลน์ ปัจจุบันทางเลือกและช่องทางการลงทุนมีค่อนข้างเยอะ ตอบโจทย์ความต้องการลงทุนที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่การลงทุนในเงินฝากประจำ การลงทุนในกองทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ การลงทุนในพันธบัตร/หุ้นสามัญ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นกระแสอยู่ในตอนนี้คือ “การลงทุนใน Cryptocurrency” ซึ่งความเสี่ยงในการลงทุนแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันตามผลตอบแทนที่ได้รับ โดยคอนเซ็ปต์ “High Risk High Return” ยังคงใช้ได้อยู่ ดังนั้น ในการเลือกที่จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดจึงควรที่จะศึกษาการลงทุนให้เข้าใจและประเมินความเสี่ยงหรือเงินต้นที่อาจสูญเสียได้จากการลงทุนนั้น 

สำหรับปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกลงทุนสินทรัพย์ต่าง ๆ คือ จำนวนเงินต้น จุดประสงค์การลงทุน ช่วงเวลาที่สามารถลงทุนได้ ประเภทและลักษณะของสินทรัพย์นั้น ๆ รวมถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงที่รับได้ นอกจากนี้ การรู้จักผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากปัจจุบันมีช่องทางการลงทุนที่เพิ่มขึ้น บางช่องทางมีการดึงดูดใจผ่านผลตอบแทนที่สูงแต่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ เช่น แชร์ลูกโซ่หรือการลงทุนผ่าน Internet ซึ่งอาจนำมาซึ่งการสูญเสียเงินต้นที่นำไปลงทุนและส่งผลกระทบต่อสถานะรายได้ของครัวเรือน

ผู้ที่ไม่มีเวลาศึกษาหรือติดตามตลาดการลงทุนในกองทุนรวมเป็นอีกทางเลือกที่ดี โดยปัจจุบันมีทั้งกองทุนที่ลงในไทยและต่างประเทศสามารถเลือกสินทรัพย์ที่น่าสนใจและให้ทางบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการสินทรัพย์ หรือหากเป็นผู้ที่มีเวลาและติดตามข่าวสารการลงทุนอยู่เสมอสามารถรับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น การลงทุนในหุ้นสามัญ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดี แต่ก็ตามมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

คริปโต crypto currency bitcoin

ปัจจุบันช่องทางการลงทุนที่ถูกพูดถึงกันอย่างมากคือ การลงทุนใน Cryptocurrency หรือสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น การซื้อ-ขายสกุลเงินบิทคอยน์ โดยจะเห็นว่าช่วงที่ผ่านมามีข่าวกลุ่มคนที่ได้รับกำไรและประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก แต่ในอีกมุมนึงสินทรัพย์ประเภทนี้เป็นสินทรัพย์ที่ใหม่มากจึงมีความผันผวนสูง มีคนได้รับกำไรจำนวนมากแต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้เช่นกัน การติดตามสถานการณ์ การรู้จักลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ลงทุนและการจับจังหวะการลงทุนจึงเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ 

ดังนั้น ในการใช้เงินทำงานเป็นอีกช่องทางในการหารายได้สำหรับมนุษย์เงินเดือน แต่ต้องศึกษาและเลือกผลิตภัณฑ์การลงทุนให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ช่องทางการหารายได้เสริมเป็นตัวซ้ำเติมฐานะทางการเงินของครัวเรือนในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน ภาวะการครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่ครัวเรือนยังมีภาวะรายได้ที่ตึงตัว

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ส่องความไม่แน่นอนของมนุษย์เงินเดือน ถูกเลิกจ้าง ลดเงินเดือน ลดเวลาทำงาน เมื่องานประจำไม่มั่นคงอีกต่อไป first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/how-salary-man-survive/

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย: รัฐบาลกู้เพิ่ม แม้กระทบสภาพคล่อง แต่ยังอยู่ในระดับจัดการได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยบทวิเคราะห์ การกู้ของรัฐบาลเพิ่มต่อเนื่องในปี 2565-2566 กระทบต่อสภาพคล่อง แต่ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ โดย ครม. มีมติเห็นชอบงบประมาณปี 2566 เมื่อ 4 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา สะท้อนว่ารัฐบาลไทยยังทำงบประมาณแบบขาดดุลต่อเนื่องในปี 2566 ที่ 6.95 แสนล้านบาท ลดลงจากยอดขาดดุลประมาณ 7.0 แสนล้านบาทในปีงบประมาณ 2565

Thai debt

 

ยอดคงค้างหนี้มีโอกาสแตะระดับ 9.90 ล้านบาทหรือขยับขึ้นสู่ 1.50 ล้านล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ระดับการขาดดุลดังกล่าวยังอยู่สูงกว่าในช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 และจะมีผลต่อแผนก่อหนี้ของภาครัฐช่วงไตรมาส 4/ 2565 ศูนย์วิจัยฯ คาดว่า ยอดคงค้างหนี้ในประเทศของภาครัฐในปี 2565 มีโอกาสแตะระดับ 9.90 ล้านล้านบาท หรือขยับขึ้นประมาณ 1.50 ล้านล้านบาทจากยอดคงค้างฯ ในปี 2564 จำนวนนี้หลักๆ น่าจะเป็นการระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคงคลังมากขึ้น

ผลกระทบสภาพคล่องตลาดพันธบัตรไทย

ส่วนเรื่องผลกระทบต่อระดับสภาพคล่องของตลาดพันธบัตรไทย คาดว่าอยู่ในวงจำกัด แบงก์ชาติจะปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรแบงก์ชาติปี 2565 ลง และไถ่ถอนพันธบัตรบางส่วน จะส่งผลให้ยอดคงค้างพันธบัตรของแบงก์ชาติมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 อีก 5.5 ล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 2.38 ล้านล้านบาท ช่วยปล่อยสภาพคล่องคืนสู่ตลาดและเปิดพื้นที่ให้ปริมาณพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอาจขยับขึ้นในปี 2565 จาก 2 ปัจจัย คือ ทิศทางขาขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหัฐฯ และปริมาณาพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ภาครัฐมีแผนจะออกเพิ่มขึ้น คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีและอายุ 10 ปีของไทยอาจขยับสูงขึ้นแตะ 0.80% และ 2.20% จากระดับ 0.66% และ 1.90% ณ สิ้นปี 2564 ตามลำดับ การขยับสูงขึ้นต่อเนื่องของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย มีผลกระทบต่อเนื่องยังงบกำไรขาดทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้น่าจะมียอดคงค้างรวมราว 2.4 ล้านล้านบาท

Thai Baht Roll เงินบาท
ภาพจาก Shutterstock

ผลกระทบต่อสภาพคล่องในระบบ

สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2565 ยังน่าจะทรงตัวระดับสูง มีโอกาสขยับขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าการปรับขึ้นอาจไม่สูงเท่ากับปี 2564 เนื่องจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์อาจเติบโตในกรอบที่จำกัด ขณะที่สถานการณ์โควิดยังยืดเยื้อ น่าจะทำให้ยังคงมีการกอดสภาพคล่องในรูปเงินฝากอยู่ ธนาคารพาณิชย์น่าจะยังไม่รีบระดมเงินฝากโดยเฉพาะครึ่งแรกของปี 2565

จุดเปลี่ยนสำคัญต่อทิศทางสภาพคล่องจะอยู่ที่สถานการณ์เงินทุนเคลื่อนย้ายที่อาจต้องระวังการเปลี่ยนทิศมาเป็นฝั่งไหลออก โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 2/2565 เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยุติโครงการซื้อสินทรัพย์ผ่านมาตรการ QE และเริ่มดำเนินนโยบายการเงินแบบคุมเข้มมากขึ้น ด้วยการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย

คาดว่า กนง. มีแนวโน้มยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ต้องติดตามสถานการณ์เงินทุนเคลื่อนย้ายและความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะคุมเข้มนโยบายการเงินมากกว่าที่ตลาดคาดอย่างใกล้ชิด อาจส่งผลต่อความเสี่ยงต่อกระแสเงินทุนไหลออกเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่แรงกดดันต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 อย่างเร็ว หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเริ่มขยับขึ้นจริงจะส่งผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม โดยเฉพาะดอกเบี้ยประจำ 3-12 เดือน และ MLR ซึ่งจะเป็นบวกต่อ NIM

ที่มา – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ศูนย์วิจัยกสิกรไทย: รัฐบาลกู้เพิ่ม แม้กระทบสภาพคล่อง แต่ยังอยู่ในระดับจัดการได้ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/kasikorn-research-analyze-on-the-impact-of-government-debt/

ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ไทยก้าวเข้าสู่ประเทศ “แก่และไม่รวย” รายได้ไม่สูง ขาดแรงงานทั้งปริมาณและคุณภาพ

  • ไทยกำลังจะเป็นประเทศที่แก่และไม่รวย” จากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้สูงอายุ ขณะที่ไทยยังคงติดกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ทำให้รายได้ต่อหัวยังไม่สูงนัก (GDP (PPP) per capita: 19,004 ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน/ปี) รวมทั้งยังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตลอดจนระบบบำนาญของไทยยังขาดความครอบคลุมและเพียงพอ 
  • ในปี 2565 ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society) เป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ทั้งนี้ มาตรการรัฐส่วนใหญ่ยังคงเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งช่วยชะลอผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น หากไทยยังไม่แก้ปัญหาอย่างจริงจัง ยิ่งจะซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่มากยิ่งขึ้น

aging society

ไทยประเทศกำลังพัฒนาแรกๆ ที่เข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์

หนึ่งปัญหาใหญ่ที่เหมือนเป็นระเบิดเวลารออยู่คือ การเข้าสู่สังคมสูงอายุ ในปี 2565 ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society) ซึ่งจะมีสัดส่วนประชากรสูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 14% เมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด เป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์  ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ไทยพร้อมหรือยังกับการเข้าสู่สังคมสูงอายุ?”

ไทยนับเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกๆ ที่จะเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ หากลองพิจารณากลุ่มประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์แล้วพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นประเทศพัฒนาที่มีรายได้ต่อหัว (GDP(PPP) per capita) ค่อนข้างสูง เช่น

  • สิงคโปร์ (102,742 ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน/ปี)
  • ญี่ปุ่น (44,5851 ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน/ปี)

ขณะที่ไทยยังคงติดกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) มีรายได้ต่อหัวยังไม่สูงมากนัก (19,0041 ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน/ปี) ระบบบำนาญของไทยในภาพรวมยังขาดความครอบคลุมและความเพียงพอต่อการยังชีพ สะท้อนจากดัชนีชี้วัดระบบบำนาญ หรือ Mercer CFA Institute Global Pension Index ปี 2563 ซึ่งไทยรั้งอันดับสุดท้ายจากการศึกษาจำนวน 43 ประเทศทั่วโลก อาจเรียกได้ว่า คนไทยกำลังจะแก่และไม่รวย”

aging society

ขาดแคลนแรงงานทั้งปริมาณและคุณภาพ

ในระยะข้างหน้า ไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายของโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้สูงอายุ ขณะที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีแนวโน้มแต่งงานช้าและมีบุตรน้อยลง สะท้อนจากอัตราการเจริญพันธุ์ (Fertility rate) ในช่วงปี 2563-2568 จะอยู่ที่ราว 1.5 คน ต่อผู้หญิง 1 คน ซึ่งต่ำกว่าระดับทดแทน (ระดับทดแทน คือ ระดับของภาวะเจริญพันธุ์ที่ใช้เพื่อรักษาขนาดของประชากรให้คงที่ต่อไป โดยมีอัตราการเจริญพันธุ์เท่ากับ 2.1 คน) และมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนประชากรวัยแรงงานที่เป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้ผลิตภาพของแรงงานไทย (Labor Productivity) มีโอกาสลดต่ำลงจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุและจากปัญหาทักษะแรงงานไม่ตรงความต้องการของตลาด (Skill Mismatch) ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากแรงงานสูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำ อาจทำให้ปรับตัวไม่ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ในภาพรวม ไทยยังขาดแคลนแรงงานเฉพาะทางที่มีทักษะสูง โดยเฉพาะทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นที่ต้องการของตลาด รวมไปถึงทักษะเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จากสถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้ไทยเสี่ยงสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

aging society

วัยแรงงานแบกรับภาระภาษีจำนวนมากจากผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น

ในส่วนของภาระการคลังของไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งจะเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังในระยะถัดไป เป็นผลมาจากประชากรวัยแรงงานต้องแบกรับภาระทางภาษีจำนวนมากจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจากอัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงอายุต่อวัยแรงงาน (Old-age Dependency) ที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจาก 20% ในปี 2563 เป็นราว 47% ในปี 2583 ซึ่งจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้นยิ่งส่งผลให้ภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐด้านสาธารณสุขและสวัสดิการผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ขณะเดียวกัน รายรับจากประชากรวัยแรงงานที่เป็นฐานภาษีก็มีแนวโน้มลดลง อาจทำให้มีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ตลอดจนอาจจะกระทบต่อความยั่งยืนของระบบบำนาญของประเทศ ยิ่งจะกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในระยะที่ผ่านมาภาครัฐได้เริ่มออกมาตรการรับมือสังคมสูงอายุไปบ้างแล้ว เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นมาตรการที่เน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งช่วยเพียงชะลอผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น

aging society

เร่งปรับตัวก่อนสาย พัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน

หากไทยยังไม่ปรับตัวอย่างจริงจัง อาจจะต้องเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ในขณะที่ยังไม่พร้อมตามปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งรายได้ต่อหัวของประชากรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ระบบบำนาญที่ยังไม่ครอบคลุมและไม่เพียงพอ การขาดแคลนแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมไปถึงความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังของประเทศในอนาคต ถึงเวลาแล้วที่ไทยควรเร่งรับมือปัญหาดังกล่าว ผ่านการออกมาตรการต่างๆ ให้มีความเพียงพอและครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่มทุกวัย แม้ว่าอาจจะยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันที แต่อย่างน้อยอาจจะพอช่วยบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้บ้าง โดยอาจแบ่งกลุ่มแรงงานเพื่อออกแนวทางการรับมือ ดังนี้ 

กลุ่มแรกคือผู้สูงอายุและคนกำลังจะเป็นผู้สูงอายุในไม่ช้า ซึ่งส่วนใหญ่จะมีระดับการศึกษาต่ำและประกอบอาชีพเกษตรกรรม ยิ่งทำให้ยากต่อการพัฒนาและปรับทักษะใหม่ๆ ในกลุ่มนี้อาจจะต้องหวังพึ่งพาภาครัฐในการดูแลให้สามารถดำรงชีวิตโดยไม่ลำบากมากนัก ซึ่งอาจเน้นการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันมีจำนวนมากถึง 4.9 ล้านคน หรือคิดเป็น 45% ของผู้สูงอายุทั้งหมด ซึ่งภาครัฐได้ออกมาตรการดูแลส่วนนี้ไปบ้างแล้ว เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ บัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นต้น  อย่างไรก็ตามเบี้ยยังชีพที่ผู้สูงอายุได้รับยังค่อนข้างน้อยและไม่เพียงพอต่อการยังดำรงชีวิต

ภาครัฐอาจจะต้องปรับปรุงและพัฒนาหลักประกันทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพแข็งแรง เพื่อให้ผู้สูงอายุยังคงสามารถสร้างรายได้และพึ่งพาตนเองให้นานที่สุด โดยต้องเป็นงานที่เน้นความปลอดภัย มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับเงื่อนไขตามวัยของแรงงงาน เช่น งานพัฒนาชุมชน งานบริการในห้องสมุดหรือร้านหนังสือ เป็นต้น 

ขณะที่แรงงานกลุ่มที่ยังมีเวลาและมีศักยภาพในการปรับตัว ภาครัฐควรเร่งออกมาตรการเชิงรุกเพื่อยกระดับผลิตภาพแรงงานซึ่งน่าจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญสังคมสูงอายุในระยะยาว ผ่านการพัฒนาทักษะแรงงาน (Upskilling & Reskilling) ให้ตรงกับความต้องการของตลาดเพื่อให้แรงงานสามารถเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ของประเทศในอนาคตได้ เช่น ทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เป็นต้น ควบคู่กับการส่งเสริมการผลิตบัณฑิตในสาย STEM (Science, Technology, Engineering and Mathematics) ให้มากยิ่งขึ้น

ในส่วนของการพัฒนาทักษะแรงงานวัยกลางคน หรือ Gen X อาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัว โดยอาจเริ่มจากการปรับทักษะง่ายๆ  เช่น ทักษะการบริบาลผู้สูงอายุ ซึ่งไทยมีศักยภาพและความพร้อมด้าน Healthcare เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ประกอบกับไทยยังถูกจัดให้เป็น 1 ใน 10 ประเทศจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดของโลกสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุวัยเกษียณ ถือเป็นโอกาสดีของไทยที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ซึ่งอาจจะพอช่วยบรรเทาปัญหาสังคมสูงอายุของไทยได้บ้าง นอกจากนี้การส่งเสริมสุขภาพแบบป้องกันควบคู่กันไปจะช่วยลดค่าใช้ด้านสาธารณสุขของภาครัฐ ไม่ให้เป็นภาระการคลังต่อไปในอนาคต

aging society

อย่างไรตาม โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความไม่แน่นอนสูง ทักษะที่เป็นที่ต้องการในวันนี้ อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไปในวันข้างหน้า การเตรียมพร้อมรับมือกับทุกๆ การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การสร้างสังคมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยภาครัฐควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างแรงจูงใจให้แรงงานต้องการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อโลกอนาคต เช่น ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมไปถึงการสร้างระบบพัฒนาทักษะให้มีความครอบคลุมและเชื่อมโยงกับภาคส่วนต่างๆ อย่างครบวงจร ตั้งแต่หลักสูตรการศึกษาตลอดจนการนำไปใช้งานจริง ยกตัวอย่างเช่น สิงคโปร์ได้จัดตั้งโครงการ SkillsFuture เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาและเรียนรู้ทักษะใหม่ตลอดชีวิตของแรงงานสิงคโปร์ โดยทางรัฐบาลจะสนับสนุนเครดิตคนละ 500 ดอลลาร์สิงคโปร์แก่แรงงานที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปเพื่อนำไปใช้พัฒนาทักษะที่สนใจ ควบคู่กับการจัดหางานที่เหมาะสมบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างครบวงจร 

Disclaimer

รายงานวิจัยนี้จัดทำโดยบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (“KResearch”) เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไป โดยอาศัยแหล่งข้อมูลสาธารณะหรือข้อมูลที่เชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือที่ปรากฏขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา ทั้งนี้ KResearch มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความเหมาะสม ความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าว และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ชวน เสนอแนะ ให้คำแนะนำ หรือจูงใจในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ท่านควรศึกษาข้อมูลด้วยความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจใดๆ KResearch จะไม่รับผิดในความเสียหายใดที่เกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว 

ข้อมูลใดๆ ที่ปรากฎในรายงานวิจัยนี้ถือเป็นทรัพย์สินของ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) การนำข้อมูลดังกล่าว (ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) ไปใช้ต้องแสดงข้อความถึงสิทธิความเป็นเจ้าของแก่ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) หรือแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ ทั้งนี้ ท่านจะไม่ทำซ้ำ ปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไข ส่งต่อ เผยแพร่ หรือกระทำในลักษณะใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรจาก KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ไทยก้าวเข้าสู่ประเทศ “แก่และไม่รวย” รายได้ไม่สูง ขาดแรงงานทั้งปริมาณและคุณภาพ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/thailand-not-ready-to-aging-society/

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปัญหาสิ่งแวดล้อม​ ต้นทุนที่ต้องแบกรับและปฏิเสธไม่ได้ของ SME

  • การประชุม COP26 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 12 พฤศจิกายน 2564 ที่เมืองกลาสโกลว์ สหราชอาณาจักร คาดว่ากลุ่มสมาชิกจะมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนและเข้มข้นขึ้น รวมถึงประเทศไทยที่พร้อมประกาศจุดยืนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การกำหนดเป้าหมายข้างต้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
    แต่การดำเนินการในระยะข้างหน้าอาจเผชิญความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โจทย์ธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ซับซ้อนขึ้น นโยบายทางการค้าของประเทศชั้นนำ และต้นทุนในการปรับตัวที่เพิ่มขึ้น
  • เรื่องนี้เป็นโจทย์ที่ธุรกิจหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจำเป็นต้องปรับตัวทันที เนื่องจากการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมจะมาเร็วและเข้มข้นกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก (SMEs) ที่อาจขาดศักยภาพและมีทรัพยากรไม่เพียงพอ จึงต้องอาศัยกลไกสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านจากการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมไปสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน

Climate Change

การประชุม 26th UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) ในระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 12 พฤศจิกายน 2564 ที่เมืองกลาสโกลว์ สหราชอาณาจักร คาดว่ากลุ่มสมาชิกชั้นนำ เช่น สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส จะมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนและเข้มข้นขึ้น เพื่อชะลอวิกฤติสิ่งแวดล้อมโลก รวมถึงประเทศไทยที่แม้จะมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกไม่มากนัก แต่ไทยยังคงดำเนินตามแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 20-25 ในปี 2573 โดยเฉพาะในภาคพลังงาน คมนาคมและขนส่ง โดยมีแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวในการปล่อยก๊าซเรือน
กระจกต่ำและมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2608 เพื่อประกาศจุดยืนการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

cop26

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ข้างต้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการในระยะข้างหน้าอาจเผชิญความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โจทย์ธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ซับซ้อนขึ้น รวมถึงนโยบายทางการค้าของประเทศชั้นนำ เช่น

  • ภัยธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกมีแนวโน้มรุนแรงและมีความถี่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเร่งให้ทุกประเทศทั่วโลกอาจต้องพิจารณาปรับเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ให้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน หรือการบังคับใช้รถยนต์ไฟฟ้า 100% เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นภาครัฐและผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจมาถึงเร็วกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
  • โจทย์ธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ซับซ้อนขึ้นอาจเป็นอุปสรรคต่อแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายและการเปลี่ยนรูปแบบการซื้อสินค้าในช่วงโควิด-19 ที่ทำให้มีการสั่งซื้ออาหารและสินค้าออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ขยะบรรจุภัณฑ์เฉพาะจากระบบ Delivery จะมีปริมาณมากกว่า 250 ล้านชิ้น ในปี 2564 และปริมาณขยะติดเชื้อจากการป้องกันและรักษาโควิด-19 ที่จะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ที่ซับซ้อนจะเร่งให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวในเชิงรุกและเข้มข้นขึ้น โดยยังสามารถตอบโจทย์การใช้งานและความยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน
  • นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศสำคัญจะเข้มงวดและขยายการบังคับใช้ในวงกว้างมากขึ้น เช่น มาตรการ Carbon Border Adjustment ของสหภาพยุโรปที่จะใช้กับสินค้านำเข้าในปี 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการรั่วไหลของคาร์บอนและกระตุ้นให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องกับภาคการผลิตของประเทศผู้ส่งออกที่ส่วนใหญ่ยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าในระยะแรกอาจใช้กับภาคธุรกิจที่มีการปล่อยคาร์บอนสูงอย่างภาคพลังงาน เหมืองแร่ แต่คาดว่าจะขยายไปสู่สินค้าและประเทศอื่นต่อไปในอนาคต
Climate Change
ภาพจาก Shutterstock

ต้นทุนสูงขึ้นจาก ราคาพลังงาน แรงงาน และเทคโนโลยี

นอกจากนี้ ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจมีต้นทุนเฉพาะหน้าสูงขึ้น ทั้งจากราคาพลังงาน ต้นทุนแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโควิด-19 ประกอบกับยอดขายที่ยังไม่ฟื้นตัว การเปลี่ยนผ่านไปสู่ Bio-Circular-Green Economy ทำให้ธุรกิจมีต้นทุนเพิ่มเติมในการปรับตัวเพื่อความยั่งยืน เนื่องจากสินค้าและบริการเพื่อสิ่งแวดล้อมที่จะมาทดแทนสินค้ากลุ่มดั้งเดิมยังอยู่ระหว่างการพัฒนา หรือเทคโนโลยีการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีต้นทุนสูง เพราะยังไม่มีตลาดรองรับเพียงพอที่จะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) แต่คาดว่าต้นทุนน่าจะปรับตัวลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่มุ่งสู่ความยั่งยืน

อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ว่าธุรกิจจะเผชิญความท้าทายหลายประการเพื่อตอบรับ
เทรนด์สิ่งแวดล้อม แต่เป็นโจทย์ที่ธุรกิจหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจำเป็นต้องปรับตัวทันที เนื่องจากการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมจะมาเร็วและเข้มข้นกว่าที่คาดไว้ เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก (SMEs) ที่อาจขาดศักยภาพและมีทรัพยากรไม่เพียงพอ

ดังนั้นจึงควรมีกลไกสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านจากการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมไปสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน ทั้งมาตรการทางการเงินในรูปแบบสินเชื่อ เงินกองทุนสนับสนุนผู้ส่งออก การร่วมลงทุนในงานวิจัยพัฒนาที่มีศักยภาพในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ รวมถึงมาตรการเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี ทักษะแรงงาน และ Know-how ต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้เองในระยะยาว

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปัญหาสิ่งแวดล้อม​ ต้นทุนที่ต้องแบกรับและปฏิเสธไม่ได้ของ SME first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/cop26-climate-change-in-business/

ผลคลายล็อก-เปิดประเทศ-วัคซีนเร็วเกินคาด KResearch ปรับคาด GDP ปี 64 ขึ้นเป็นโต 0.2%

KResearch ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 64 เป็นโต 0.2%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยปี 2564 ดีขึ้นกว่าเดิม ปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้นมาเป็นเติบโต 0.2% จากที่เคยคาดเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะหดตัว -0.5%

พราะมองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจอาจกลับมาคึกคักขึ้น เห็นได้ชัดจากการที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขึ้นเป็น 1.8 แสนคน (จากที่เคยคาดการณ์เอาไว้ก่อนหน้านี้เล็กน้อยที่ 1.5 แสนคน) โดยมีปัจจัยสำคัญที่ผลักดัน คือ

  • มาตรการคลายล็อกดาวน์
  • มาตรการเปิดประเทศ
  • การกระจายวัคซีนที่เร่งตัวขึ้นกว่าที่คาดไว้เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ส่วนปี 2565 นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า เศรษฐกิจไทยจะโตที่ 3.7% จากปัจจัยจากความครอบคลุมของประชากรที่จะได้รับวัคซีนเกินกว่า 70% ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ลง และการดำเนินธุรกิจไม่หยุดชะงัก 

ais 5g

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยหนุนจากการส่งออก การใช้จ่ายครัวเรือนที่ฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำ และการกลับมาบริโภคหลังจากอั้นไว้ในช่วงล็อกดาวน์

ปรับประมาณการขึ้น แต่ยังอยู่ในกรอบจำกัด

สังเกตุได้ว่าแม้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้นแต่ก็ยังอยู่ในกรอบจำกัด เพราะไทยยังต้องเผชิญกดดันปัจจัยหลายประการ ทั้งน้ำท่วม ภาระการครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างมาก และความเสี่ยงด้านการระบาดหลังเปิดประเทศ

นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เพิ่มเติมประเด็นผลกระทบจากน้ำท่วม โดยมองว่าผลกระทบส่วนใหญ่น่าจะอยู่ภายในปี 2564 โดยสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 คาดว่าจะสร้างความเสียหายให้กับทั้งภาคเกษตร ซึ่งน่าจะกระทบทั้งหมดประมาณ 6-7 ล้านไร่ รวมถึงนอกภาคเกษตร 

ที่สำคัญ ภาคบริการและแรงงานรับจ้างรายวันที่ได้รับผลกระทบจากการที่ธุรกิจหยุดชะงักลงในกว่า 30 จังหวัด ดังนั้น โดยรวมแล้ว คาดว่ากระทบเศรษฐกิจไทยประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.16% ของจีดีพี น้อยกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2551, 2553 และ 2560 ที่ผ่านมา และได้รวมผลกระทบข้างต้นในประมาณการจีดีพีปี 2564 แล้ว

สำหรับผลกระทบต่อราคาน้ำมันสูงต่อธุรกิจในปี 2564 นางสาวเกวลิน มองว่า ในกรณีที่ราคาน้ำมันดีเซลในระยะที่เหลือของปีนี้ อยู่ในช่วง 25.0-29.2 บาทต่อลิตร จะมีผลให้ต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้นประมาณ 0.55-0.73% และต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้นประมาณ 0.33-0.44% หรือรวมกันธุรกิจจะมีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 1% 

แต่ท่ามกลางภาวะที่ราคาน้ำมันชนิดอื่นๆ ปรับขึ้นแรงกว่าน้ำมันดีเซลที่ยังมีกลไกการดูแลราคาจากภาครัฐ รวมถึงการที่ต้นทุนอื่นๆ โน้มเพิ่มขึ้นในภาวะที่ยอดขายยังไม่กลับมา ก็ย่อมจะเพิ่มโจทย์การฟื้นตัวให้กับภาคธุรกิจ ขณะที่ ยังต้องติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันต่อในปีหน้าด้วย

ที่มา – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ผลคลายล็อก-เปิดประเทศ-วัคซีนเร็วเกินคาด KResearch ปรับคาด GDP ปี 64 ขึ้นเป็นโต 0.2% first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/kresearch-raised-thai-2021-gdp-forcast/