คลังเก็บป้ายกำกับ: วินโดวส์_7

ไมโครซอฟท์แจ้งชัด! สิ้นสุดการอัปเดตด้านความปลอดภัยบนวินโดวส์ 7 แล้ว

วินโดวส์ 7 ทั้งรุ่น Professional และ Enterprise จะไม่ได้รับการอัปเดตด้านความปลอดภัย และแพ็ตช์ช่องโหว่สำคัญๆ อีกตั้งแต่วันที่ 10 มกราคมนี้ โดยโอเอสโบราณคลาสสิกตัวนี้เริ่มใช้กันตั้งแต่ตุลาคม 2009 จนสิ้นสุดการซัพพอร์ตเมื่อมกราคม 2015 รวมไปถึงสิ้นสุดการขยายเวลาซัพพอร์ตเมื่อมกราคม 2020

โดยหลังจากนั้นมีแค่ผู้ที่ใช้บริการโครงการ Extended Security Update (ESU) ที่จะยังได้รับการซัพพอร์ตต่อเนื่องในฐานะที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้ระบบวินโดวส์ 7 อยู่จนหมดเวลาในวันที่ 10 นี้เอง นอกจากวินโดวส์ 7 แล้ว วินโดวส์ 8.1 ที่เปิดตัวมาเก้าปีตั้งแต่พฤศจิกายน 2013 ก็ถึง EOS ในวันเดียวกันนี้ด้วย

ไมโครซอฟท์อธิบายเพิ่มว่า “เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้วินโดวส์ 7 ตอนนี้มักไม่ได้มีสเปกฮาร์ดแวร์สูงเพียงพอที่จะอัพเกรดไปใช้เวอร์ชั่นล่าสุดอย่างวินโดวส์ 11 เราจึงแนะนำให้อัพเกรดพีซีที่พร้อมขึ้นมาเป็นวินโดวส์ 10 ด้วยการซื้อและติดตั้งซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นเต็ม”

“และก่อนตัดสินใจซื้อเพื่อัพเกรดเป็นวินโดวส์ 10 นั้น ให้ตระหนักด้วยว่าวินโดวส์ 10 เองก็จะถึงกำหนดสิ้นสุดการซัพพอร์ตในวันที่ 14 ตุลาคม 2025 ที่จะถึงนี้ด้วย จึงแนะนำให้ผู้ที่อุปกรณ์ที่ยังไม่รองรับรีบหาเปลี่ยนใหม่เพื่อใช้วินโดวส์ 11 ที่ใช้ประโยชน์จากฮาร์ดแวร์ใหม่ล่าสุดได้อย่างเต็มที่”

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – BPC

from:https://www.enterpriseitpro.net/microsoft-ends-windows-7-extended-security-updates/

ด่วน ! ผู้ใช้วินโดวส์ 7 และเซิร์ฟเวอร์ 2008 ได้แพ็ตช์แก้ไขบั๊ก Zero-day ฟรี

ช่องโหว่ที่เปิดเลื่อนสิทธิ์การใช้งานบนเครื่องเดียวกันหรือ Local Privilege Escalation (LPE) ที่กระทบกับอุปกรณ์ที่ใช้วินโดวส์ 7 และเซิร์ฟเวอร์ 2008 R2 อยู่นั้น จะได้รับตัวแก้ไขบั๊กฟรีตั้งแต่วันนี้ผ่านแพลตฟอร์ม 0patch

บั๊ก Zero-day นี้กระทบกับอุปกรณ์ที่เข้าข่ายทั้งหมด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเครื่องที่สมัครสมาชิกเข้าโครงการ Extended Security Updates (ESU) ของไมโครซอฟท์หรือไม่ก็ตาม ตอนนี้ก็ยังไม่มีแพ็ตช์ออกมาจากไมโครซอฟท์

0patch นั้นเป็นเว็บออกแพ็ตช์แบบไม่คิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้วินโดวส์ 7 และเซิร์ฟเวอร์ 2008 R2 ที่ไม่ได้มีไลเซนส์เสริมกับไมโครซอฟท์อย่าง ESU (ตั้งแต่มกราคม 2020) รวมถึงผู้ที่อยู่ในโครงการ ESU (เริ่มให้ตั้งแต่พฤศจิกายนที่ผ่านมา)

สำหรับไลเซนส์ ESU นั้น ตอนนี้จะให้เฉพาะธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง หรือองค์กรที่มีสัญญาไลเซนส์แบบกลุ่มเท่านั้น ซึ่งจะยืดอายุการซัพพอร์ตไปจนถึงมกราคม 2023 ส่วนช่องโหว่ LPE ครั้งนี้มาจากการตั้งค่ารีจิสตรี้ของเซอร์วิสสองรายการที่ผิดพลาด

ที่มา : Bleepingcomputer

from:https://www.enterpriseitpro.net/windows-7-and-server-2008-zero-day-bug-gets-a-free-patch/

พบช่องโหว่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขบน Zoom สำหรับวินโดวส์ 7 (หรือเก่ากว่า)

ช่องโหว่แบบ Zero-day ครั้งนี้ถูกค้นพบบนซอฟต์แวร์ประชุมผ่านวิดีโอชื่อดัง Zoom เวอร์ชั่นบนวินโดวส์ ที่เปิดให้ผู้โจมตีสามารถรันโค้ดอันตรายบนคอมพิวเตอร์ของเหยื่อที่กำลังใช้ Microsoft Windows 7 หรือเก่ากว่าได้

ซึ่งกลไกการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้ทำได้ง่ายเพียงแค่ล่อหลอกให้ผู้ใช้งาน Zoom ทำกิจกรรมพื้นฐานทั่วไปอย่างเช่นการเปิดดูไฟล์เอกสารที่ได้รับเท่านั้น ซึ่งไม่มีการแจ้งเตือนด้านความปลอดภัยขึ้นมาให้รู้ตัวระหว่างที่โดนโจมตีเลย

ช่องโหว่นี้ถูกค้นพบโดยนักวิจัยที่รายงานไปยังบริษัท Acros Security ที่ต่อมารายงานรายละเอียดช่องโหว่นี้ไปยังทีมงานด้านความปลอดภัยของ Zoom อีกทอดหนึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยนักวิจัยท่านดังกล่าวไม่ประสงค์เปิดเผยตัวตน

แม้ช่องโหว่นี้จะพบบนตัวไคลเอนต์ของ Zoom บนวินโดวส์ทุกเวอร์ชั่น แต่ผู้โจมตีก็สามารถเจาระบบได้แค่บนวินโดวส์ 7 หรือเวอร์ชั่นเก่ากว่าอันเนื่องมาจากลักษณะจำเพาะของระบบบางอย่าง โดยมีแนวโน้มที่จะโจมตีบน Windows Server 2008 R2 ที่ยังมีการใช้งานอย่างแพร่หลายด้วย

ที่มา : THN

from:https://www.enterpriseitpro.net/unpatched-critical-flaw-disclosed-in-zoom-software-for-windows-7/

จัดให้ เมนบอร์ด B365 สนับสนุน Windows 7 x64 จาก BIOSTAR

ต้องบอกว่าคราวนี้ BIOSTAR มาแบบเซอร์ไพรซ์ เอาใจผู้ใช้ที่ยังคงเหนียวแน่นกับระบบปฏิบัติการยอดฮิตติดอันดับสองของทั่วโลกอย่าง Windows 7 x64 ที่ไม่ต้องอยู่กับฮาร์ดแวร์เก่า แต่ยังสามารถอัพเกรดมาใช้ซีพียู เมนบอร์ดรุ่นใหม่ในเวลานี้ได้ บนเมนบอร์ด B365 ทั้ง 2 รุ่น พร้อมมีเครื่องมือสำหรับทำอิมเมจสำหรับติดตั้ง Windows 7 มาให้อีกด้วย

windows 7 x64

โดยเมนบอร์ด BIOSTAR ที่ออกมาสนับสนุน OS นี้ มีด้วยกัน 2 รุ่นคือ RACING B365GTA และ B365MHC โดยเป็นแพลตฟอร์ม ATX และ mATX ใช้ชิปเซ็น Intel B365 รองรับซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุด Gen 9 รวมถึง Gen 8 ด้วย พร้อมฟังก์ชั่นล่าสุด เช่นเดียวกับเมนบอร์ดรุ่นอื่นๆ ที่มีในปัจจุบัน โดยมี Patch อัพเดตล่าสุด สำหรับ Windows 7 x64 SP1 เพื่อให้ผู้ที่ยังต้องใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นดั้งเดิมเช่นนี้ สามารถปรับเปลี่ยนหรืออัพเกรดแพลตฟอร์มใหม่ ในการเพิ่มศักยภาพในการทำงานได้อยู่ และยังรองรับการติดตั้งฮาร์ดแวร์ระดับไฮเอนด์ได้บนเครื่อง รวมถึงการปรับปรุง เพื่อให้ Compatible กับฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ที่กำลังจะออกมาได้

windows 7 x64

แต่จุดสำคัญคือ BIOSTAR ยังได้จัดเครื่องมือสำหรับการสร้างตัวบูต ในการทำ Image เพื่อติดตั้ง Windows7 x64 SP1 มาด้วย สำหรับการใช้งานบนเมนบอร์ด RACING B365GTA และ B365MHC นี้ น่าจะเป็นข่าวดีของใครหลายคน ที่แอดเชื่อว่า ยังคงใช้งาน Windows 7 อยู่ อยากอัพเกรด แต่ก็กลัวว่าจะไม่สามารถใช้งานหรือตรวจเช็คฮาร์ดแวร์ได้ครบ หรือต้องแก้ไข รวมถึงจะเปลี่ยน Windows 10 ก็เกรงว่าซอฟต์แวร์เอกสาร บัญชีหรือเครื่องปรินเตอร์รุ่นเก่าที่ใช้อยู่จะใช้งานไม่ได้ ทางเลือกในการเปลี่ยนเมนบอร์ดที่สนับสนุนเช่นนี้ก็น่าสนใจไม่น้อย

ที่มา: BIOSTAR Windows7 x64 SP1

from:https://notebookspec.com/biostar-intel-b365-support-windows-7-x64/511202/

ไมโครซอฟท์วางแผนจะหยุดซัพพอร์ทวินโดวส์ 7 อย่างเป็นทางการ อีก 1 ปี

สำหรับผู้ที่เกลียดการเปลี่ยนแปลง หรืออาจมีหลายเหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถอัพเกรดขึ้นมาใช้วินโดวส์ตัวใหม่ได้นั้น ขอแจ้งย้ำอีกครั้งว่า ไมโครซอฟท์จะหยุดการซัพพอร์ท วินโดวส์ 7 เป็นทางการในวันที่ 14 มกราคม 2020 หรือก็คือประมาณ 1 ปีต่อจากนี้

วินโดวส์7 ถือว่ามีอายุยาวนานกว่า 9 ปีแล้ว แถมไมโครซอฟท์ยังเคยยืดอายุการซัพพอร์ทต่อมาอีกถึง 5 ปี ดังนั้นช่วงหนึ่งปีก่อนสิ้นสุดการซัพพอร์ทนี้ก็ถือเป็นเวลาอันควรที่ต้องจูบลาวินโดวส์ดั้งเดิมนี้ทิ้ง แล้วหันมาใช้วินโดวส์เวอร์ชั่นใหม่เหมือนคนอื่นกันได้แล้ว

สำหรับผู้ที่สงสัยว่า แล้วฉันจะใช้ต่อมันหนักหัวใคร ก็ต้องระลึกไว้เสมอว่าไมโครซอฟท์จะไม่ทำอัพเดทหรือแพ็ตช์ออกมาให้อีก นอกจากการแก้ไขปัญหาการใช้งานทั่วไปแล้ว ยังรวมถึงแพ็ตช์ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยด้วย เรียกได้ว่าถ้ายังทู่ซี้ดื้อดึงจะใช้ต่อไป ก็ต้องเตรียมรับความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีใครมาคอยแลคอยช่วยอีกนั่นเอง

อย่างไรก็ดี ไมโครซอฟท์กล่าวว่าการสิ้นสุดการซัพพอร์ทนี้ใช้กับการซัพพอร์ทแบบฟรีสำหรับผู้ใช้ทั่วไปเท่านั้น ไม่รวมสัญญาซัพพอร์ทพิเศษที่ทำกับลูกค้าบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ด้วย เรียกว่าถ้ายังยอมจ่ายเงินเพื่อซื้ออายุการซัพพอร์ทต่อไมโครซอฟท์ก็ไม่ขัดข้อง แต่จากการสำรวจจาก Kollective นั้นพบว่ามีองค์กรมากถึง 43% ที่ยังใช้วินโดวส์ 7 อยู่ตอนนี้

ที่มา : Thehackernews

from:https://www.enterpriseitpro.net/microsoft-windows-7-support/

ตามไปดู 5 วิธีแก้ปัญหา ไฟล์ DLL หายไป บนวินโดวส์ 7

เวลาใช้งานวินโดวส์ โดยเฉพาะเวอร์ชั่นเก่าๆ หนึ่งในปัญหากวนใจคือการที่เปิดโปรแกรมไม่ได้โดยฟ้องขึ้นว่าเกี่ยวข้องกับไฟล์ DLL บางตัว หรือหาไฟล์ DLL ไม่เจอ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักไปหาโหลดไฟล์เหล่านั้นตามเน็ตที่อาจแก้ปัญหาไม่ได้อยู่ดี แถมยังได้ไวรัสมาเป็นของแถม

แม้จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ถึงขนาดที่ทำให้เปิดเครื่องไม่ได้ก็ตาม แต่ก็มีเทคนิคการแก้ปัญหาเหล่านี้ที่ควรกระทำ โดยเฉพาะกับผู้ใช้วินโดวส์7 ดังต่อไปนี้

• วิธีที่ 1 การรีบูตเครื่องใหม่

วิธีที่ง่ายที่สุดได้แก่ การรีบูตเครื่องใหม่ เนื่องจากจะช่วยกู้คืนสถานะการทำงานของแอพพลิเคชั่นที่ฟ้องเออเร่อเกี่ยวกับ DLL ได้บางส่วน จากที่เคยเปิดโปรแกรมนั้นๆ ไม่ขึ้นก็อาจทำให้สามารถเปิดหรือรันการทำงานของโปรแกรมดังกล่าวได้ใหม่

• วิธีที่ 2 สั่งอัพเดทวินโดวส์ 7

แม้หลายคนพยายามหลีกเลี่ยงการอัพเดทด้วยความกลัวการเปลี่ยนแปลงหรือความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาความไม่เข้ากันกับฮาร์ดแวร์ กลัวบลูสกรีน (หรือกลัวการตรวจบางอย่างที่หลายคนรู้ดี) แต่ก็จงตระหนักว่ามันเป็นความกลัวที่ไม่ยั่งยืน เพราะการอัพเดทแพ็ชต์วินโดวส์นั้นเป็นหนทางอุดช่องโหว่และป้องกันอันตรายทางไซเบอร์ได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังช่วยแก้ไขปรับปรุงไฟล์ DLL ที่อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาได้ด้วย ซึ่งการสั่งอัพเดทบนวินโดวส์7นั้น ให้ไปที่เมนูสตาร์ท > Control Panel < System and Security แล้วไปที่ Windows Updates กด Check for Updates

• วิธีที่ 3 หาจาก Recycle Bin

ถ้าสาเหตุมาจากการเผลอลบไฟล์ DLL ดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจ ลองไปควานหาไฟล์ดังกล่าวจาก Recycle Bin ถ้าเจอก็กด Restore กู้กลับมาแค่นั้น

• วิธีที่ 4 ดาวน์โหลดเพิ่ม

กรณีที่ทั้งสามวิธีข้างต้นยังแก้ไขไม่ได้ ก็คงต้องยอมลองเสิร์ชหาดาวน์โหลดไฟล์ DLL ดังกล่าวบนอินเทอร์เน็ต ประเด็นคือควรหาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น Wikidll.com

• วิธีที่ 5 ลงวินโดวส์ทับ

หนทางสุดท้ายถ้ามันร้ายแรงจริงๆ คงหนีไม่พ้นการลงวินโดวส์ใหม่ทับของเดิม ซึ่งปกติมีทางเลือกสองทางได้แก่ การติดตั้งแบบทับโดยไม่ล้างเครื่องหรือไฟล์วินโดวส์เดิม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการก็อปปี้ไฟล์ที่สมบูรณ์ทับไฟล์เดิมที่ช่วยกู้ไฟล์ระบบ (ที่รวมถึงไฟล์ DLL ต่างๆ) ที่เคยเสียหายได้ โดยที่ทุกอย่างที่เคยตั้งค่าบนวินโดวส์ รวมไปถึงไฟล์ที่บันทึกไว้บนเดสก์ท็อป (ที่ตามหลักที่ควรจะเป็น ไม่ควรเก็บไฟล์ที่สำคัญบนเดสก์ท็อปเลย เพราะเวลาวินโดวส์เป็นอะไรไปไฟล์พวกนี้จะหายไปก่อนแบบกู้คืนได้ยาก) ก็มักจะคงไว้อยู่เหมือนเดิม แค่เสียเวลาลงใหม่ไปหลายชั่วโมงเท่านั้น แต่ถ้าโชคไม่เข้าข้าง ก็จำเป็นต้องลงแบบฟอร์แมทล้างเครื่องใหม่ หรือเรียกว่าการติดตั้งแบบ Clean ซึ่งก่อนหน้าจะล้างเครื่องนั้น ปัจจุบันก็มีบริการฝากไฟล์บนคลาวด์มากมายที่ให้คุณเอาไฟล์ไปเก็บสำรองก่อนได้อย่างสะดวก ทำให้การล้างเครื่องลงใหม่ไม่เป็นงานช้างที่สร้างความเบื่อหน่ายเหมือนแต่ก่อน

ที่มา : Technotification

from:https://www.enterpriseitpro.net/missing-dll-problems-windows-7/