คลังเก็บป้ายกำกับ: ปรัธนา_ลีลพนัง

หัวใจคือ Team Work กับ “ปรัธนา ลีลพนัง” CMO คนใหม่ AIS ในบทบาท Digital Service Provider

AIS (เอไอเอส) แต่งตั้ง ปรัธนา ลีลพนัง เป็น หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด หรือ CMO อย่างเป็นทางการกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา รับผิดชอบหัวหน้างานด้านการตลาดเต็มรูปแบบ แต่ความพิเศษคือ ไม่ได้ดูแลเฉพาะบริการโทรศัพท์มือถือเหมือนในอดีต แต่เป็นการดูแลด้าน Digital Service Provider ซึ่งเรียกได้ว่า ต้องจัดเต็มมากกว่าที่เคย เป็นทั้งความท้าทายส่วนตัวและเป้าหมายขององค์กรที่ต้องยอมรับว่า ไม่ง่าย

คำถามคือ ปรัธนา จะทำงานอย่างไร ท่ามกลางการแข่งขันที่หนักหน่วงจากคู่แข่งในตลาดคือ dtac และ True พร้อมกับการขยายธุรกิจของ AIS ไปพร้อมกัน

15321707_10153911159666020_1326415830_o

ทำงานกับ AIS ไม่ใช่ Hero แต่เป็นเรื่องของ Team Work

ปรัธนา บอกว่า การได้รับแต่งตั้งเป็น CMO อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับตัวเอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องโดดเด่นอะไรมากนัก ส่วนตัวยังคงทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพเช่นเดิม เพราะการทำงานที่ AIS ไม่ได้มีใครเป็น Hero เพียงคนเดียว ที่จะสามารถตอบความต้องการของลูกค้าหลายสิบล้านคนได้ แต่ AIS ทำงานเป็น Team Work ร่วมกันอย่างแข็งแกร่งมากกว่า

ดังนั้น หน้าที่ของ CMO จึงเป็นการสร้างสรรค์บริการที่พัฒนาขึ้นมาโดย Team Work ของ AIS ทุกคน เพื่อให้สามารถตอบความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดีที่สุด มีคุณภาพที่สุด และแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น สาระสำคัญคือ มีคุณภาพและแตกต่าง ซึ่งเกิดขึ้นจาก Team Work ทุกคนร่วมมือกัน

“การทำงาน CMO ยังคงเหมือนเดิม แม้จะขยายธุรกิจใหม่ๆ ให้ครอบคลุมความเป็น Digital Service Provider ไม่ได้มีบริการโทรศัพท์มือถืออย่างเดิม แต่สาระสำคัญของงานยังคงเดิม เพียงแต่ส่งต่อบริการจากทุกส่วนที่ Team ของ AIS สร้างขึ้นไปให้ถึงมือลูกค้า สุดท้ายแล้ว องค์กร ต้องก้าวหน้า และประชาชนต้องได้ประโยชน์”

d3s_5264

มองการแข่งขันขยับจากราคา สู่คุณภาพบริการ

สำหรับมุมมองด้านการแข่งขันในปี 2559 ที่ต้องยอมรับว่ารุนแรงมาก เนื่องจากต้นปีถึงกลางปีมีความวุ่นวายเรื่องคลื่นความถี่หัวใจคือ Team Work ของ “ปรัธนา ลีลพนัง” CMO คนใหม่ AIS และการรุกบริการระหว่างประเทศเกิดขึ้น ทำให้เกิดการแจกเครื่องฟรีเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ย้ายค่าย จากนั้นตั้งแต่กลางปีมาถึงปลายปี ก็เริ่มการแข่งขันราคา ลดค่าเครื่อง แลกกับสัญญาการใช้บริการ นี่คือภาพการแข่งขันในปีนี้

ด้าน AIS ต้องยอมรับว่าปีนี้ เป็นฝ่ายตั้งรับพอสมควร จนกระทั่งได้คลื่นความถี่ 900MHz ทำให้สามารถปิดจุดอ่อนเรื่องคลื่นความถี่ได้ในช่วงกลางปี และอยู่ระหว่างแผนการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมมมากที่สุด โดยภายในสิ้นปีนี้ AIS จะสามารถให้บริการ 4G และ 3G ได้ครอบคลุม 98% ของประชากรทั่วประเทศ ดังนั้นจึงไม่มีช่องว่างเรื่องการให้บริการอีกต่อไป

ถ้ามองในอดีตจะรู้ว่า AIS เริ่มต้น 3G และ 4G ช้ากว่าผู้ให้บริการรายอื่น 1-2 ปี แต่ตอนนี้ AIS ไม่มีข้อจำกัดนี้อีกต่อไปแล้ว ดังนั้นเชื่อว่าในปี 2560 การแข่งขันจะอยู่บนเรื่องของคุณภาพการให้บริการ ซึ่งยังต่อยอดไปยังบริการอื่นๆ เช่น AIS Fibre ที่มีลูกค้ากว่า 3 แสนราย และจะให้บริการได้ครอบคลุมกรุงเทพฯ ในสิ้นปีนี้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีบริการ mPay และ Cloud Service อีกด้วย

sim2fly-ais

ขยายบริการโรมมิ่งด้วย Sim2Fly

แนวทางของ AIS ที่ชัดเจนคือ การสร้างการเติบโตทางธุรกิจไปพร้อมกับพันธมิตร AIS จะไม่ทำทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด แต่จะเลือกจับมือกับพันธมิตรที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน ในการให้บริการโรมมิ่งในต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน

ปรัธนา บอกว่า การโรมมิ่ง มีปัจจัยสำคัญคือ โครงข่ายของพันธมิตรที่ต้องครอบคลุมซึ่ง AIS ได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้บริการมือถือที่มีพันธมิตรโครงข่าย 4G ใหญ่ที่สุดในเอเชีย พร้อมกับการเปิดบริการ Sim2Fly ก่อนหน้านี้ จุดเด่นคือ ราคาต่ำกว่าซื้อซิมใช้งานในต่างประเทศ และยังไม่มีคู่แข่งในไทยพัฒนาบริการมาแข่งขัน

ข้อดีของ Sim2Fly คือ เมื่อเดินทางมาต่างประเทศ สามารถเปิดใช้ซิมใหม่ได้ทันที เป็นซิมสำหรับเล่นอินเทอร์เน็ตเป็นหลักโดยเฉพาะ (ไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนของบริการ Voice) เป็นการแก้ปัญหาผู้ใช้งาน เวลาเดินทางไปต่างประเทศแล้วไม่กล้าใช้บริการโรมมิ่ง หลังจากออก Sim2Fly ทำให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น

โดยพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในไทยกว่า 7 ล้านราย และนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศกว่า 2 ล้านรายต่อปี คือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หลักการคือ การใช้งานโรมมิ่งต้องง่ายและราคานถูกซื้อซิมในต่างประเทศใช้ ซึ่ง Sim2Fly จะมีลักษณะเป็นซิมใหม่แบบพรีเพด (เติมเงิน) ราคา 199, 399 หรือ 899 ขึ้นอยู่กับโซนประเทศที่ไป โดยใช้ความเร็ซได้ไม่จำกัด สูงสุด 3GB (จากนั้นใช้ได้ที่ความเร็ว 128kbps) ภายในเวลาที่กำหน (8 หรือ 15วัน)

ดังนั้น สำหรับคนเดินทางมาต่างประเทศ ก็สามารถใช้งาน Data Roaming ได้ต่อเนื่อง โดยไม่ต้องห่วงว่าจะมี Shock Bill เจอค่าบริการโหด (เพราะเป็นซิมพรีเพด) และหากใช้งานหมด 3GB หรือหมดวัน จะมี SMS แจ้งหากต้องการขยายแพ็คเกจ

15388567_10153911160001020_986714735_o

สรุป

ปรัธนา ลีลพนัง ถือเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ของ AIS ที่น่าจับตามอง และการขยับขึ้นมาทำหน้าที่ CMO ยิ่งทำให้น่าสนใจว่า จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับ AIS ในยุค Transformation สู่การเป็น Digital Service Provider ท่ามกลางการแข่งขันบนบริการโทรศัพท์มือถือเดิม ซึ่งยังเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ไปอีกอย่างน้อย 3 ปี กับการก้าวเข้ามาในธุรกิจใหม่ ที่เป็นความท้าทายของ AIS อยู่ไม่น้อย

สิ่งที่น่าสนใจซึ่ง ปรัธนา ได้เสนอไว้คือ AIS มีความชัดเจน ที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Service Provider ที่พร้อมเติบโตไปกับพันธมิตร แต่คู่แข่งอีก 2 ราย คือ dtac ที่คาดว่าอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนองค์กรภายใน และ True ที่กำลังเร่งสร้างขยายฐานลูกค้า ถือเป็นภาพที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมทั้ง 3 รายในปี 2560

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/ais-new-cmo-team-and-digital-service-provider/

ก้าวต่อไปของ AIS จากการหนุน Startup ขยับสู่ Creator เน้นตลาดวิดีโอ

AIS-logo-1

AIS ถือเป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกที่ลงมาลุยตลาดสตาร์ตอัพในบ้านเรา โดยริเริ่มโครงการ AIS The Startup ทำตัวเป็น accelerator ช่วยปั้นสตาร์ตอัพหน้าใหม่ให้แข็งแกร่ง

แต่ในวันที่ “สตาร์ตอัพ” กลายเป็นคำพูดสามัญที่ใครๆ ก็พูดกันไปแล้ว ก้าวต่อไปของ AIS กำลังหมุนไปสู่ดาวรุ่งกลุ่มใหม่ที่มีศัพท์เรียกว่า “Creator”

Creator ในที่นี้หมายถึง “ผู้สร้างสรรค์” ซึ่งในความหมายทั่วไปหมายถึงงานสร้างสรรค์ งานครีเอทีฟประเภทใดก็ได้ แต่ในความหมายของ AIS นั้นชัดเจนว่าต้องการโฟกัสไปที่ “วิดีโอ” เป็นหลัก

อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเปลี่ยน โอเปอเรเตอร์มุ่งสู่คอนเทนต์

ทิศทางนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเครือ Singtel แห่งสิงคโปร์ ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสองของ AIS และถือเป็นหนึ่งในกลุ่มโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของโลก ที่สะท้อนสภาพความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโลก ว่าทำแต่เครือข่ายอย่างเดียวไม่พอแล้ว โอเปอเรเตอร์ในยุคถัดไปต้องทำคอนเทนต์ด้วย

Oliver Foo ผู้บริหารฝ่าย Business Development & COE Programme ของ Singtel International Group พูดชัดเจนว่า “อนาคตของมือถือคือคอนเทนต์” และ “อนาคตของคอนเทนต์คือวิดีโอ” เพราะสถิติการใช้ mobile data ของผู้บริโภคทั่วเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา ชี้ชัดว่าวิดีโอคิดเป็นสัดส่วน 70-80% ของปริมาณ mobile data ของผู้ใช้

กลุ่ม Singtel มียุทธศาสตร์ด้านวิดีโอที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการเพิ่มจำนวน original content ให้มากขึ้น ส่งผลให้ทางกลุ่มโอเปอเรเตอร์ในสังกัด 6 ราย ร่วมกันจัดการแข่งขัน 5-Min Video Challenge ขึ้น โดยให้แต่ละประเทศจัดแข่งจนคัดเลือกตัวแทน 2 ราย รวม 12 ทีม มาแข่งขันหาผู้ชนะเลิศในระดับภูมิภาค (ผลการแข่งขัน) เป้าหมายของการแข่งขันครั้งนี้คือเฟ้นหาตัว creator ยอดฝีมือ กลุ่มผู้สร้างวิดีโอที่มีความสามารถ (talented film maker) โดยทางกลุ่ม Singtel จะมอบโอกาสในการทำงานร่วมกันแก่ยอดฝีมือเหล่านี้

ปรัธนา ลีลพนัง CMO ของ AIS
ปรัธนา ลีลพนัง CMO ของ AIS

AIS ยังเน้นจับมือพาร์ทเนอร์ ไม่ทำเอง

ด้าน นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด (CMO) ของ AIS อธิบายว่าภาพรวมของยุทธศาสตร์ด้านวิดีโอของเครือ Singtel ไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในรายละเอียด แต่ละโอเปอเรเตอร์ก็มีอิสระในการทำยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละประเทศ

นายปรัธนาบอกว่า ยุทธศาสตร์ของ AIS ในช่วงหลังเน้นการสานต่อพาร์ทเนอร์ โดยอาศัยเครือข่ายของ AIS เป็นตัวกระจายบริการและคอนเทนต์ เพราะธุรกิจหลักของ AIS คือเครือข่าย การไปทำผลิตภัณฑ์หรือบริการเองอาจไม่ใช่สิ่งถนัดนัก เลือกใช้โมเดลความร่วมมือเป็น partnership น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

อย่างไรก็ตาม การเจรจาพาร์ทเนอร์ของ AIS ก็ต้องคัดเลือกคุณภาพ ทั้งในแง่เนื้อหาและโมเดลธุรกิจที่ลงตัว มองว่าไม่ต้องสร้างรายได้เยอะมาก แต่ขอให้เลี้ยงตัวเองได้ และเน้นการเป็นพาร์ทเนอร์แบบ exclusive

วิดีโอคือยุทธศาสตร์หลักที่เน้น แต่ต้องแยกกลุ่มคอนเทนต์ให้ชัด

ที่ผ่านมา AIS มีบริการที่ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ (service partnership) ออกสู่ตลาดแล้วหลายตัว ฝั่งของคอนเทนต์ ยุทธศาสตร์ของ AIS มองว่าวิดีโอคือจุดที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ เพียงแต่คำว่า “วิดีโอ” เองก็มีความหมายกว้าง มีความแตกต่างกันอย่างน้อย 3 ระดับ คือ

  1. กลุ่มคอนเทนต์พรีเมียม (Premium) ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ ตรงนี้ AIS จะใช้วิธีซื้อไลเซนส์ ดังที่เคยทำมาแล้วกับการถ่ายทอดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก หรือโอลิมปิก
  2. กลุ่มคอนเทนต์ฟรีเมียม (Freemium) เป็นคอนเทนต์ที่หาดูได้ยาก อาจไม่เคยมีฉายในทีวีมาก่อน ตรงนี้ AIS จะใช้วิธีร่วมกันผลิตกับพาร์ทเนอร์ในไทยเป็นหลัก แล้วใช้วิธีแบ่งปันรายได้ (revenue sharing) ตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาคือการถ่ายทอดคอนเสิร์ตออนไลน์
  3. นอกจากสองกลุ่มแรก AIS ยังมองหาคอนเทนต์วิดีโอจากกลุ่ม Creator รายย่อย โดยยังไม่เน้นหารายได้ในตอนนี้ เน้นการเผยแพร่ผลงานของ Creator ออกไปให้กว้างไกลมากที่สุด และใช้ช่องทางเหล่านี้เพื่อเฟ้นหา Creator มาร่วมงานด้วยเป็นหลัก

คลิปโปรโมทการแข่งขัน 5-Min Video Challenge ของ AIS

เน้นอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ไม่ได้แข่ง YouTube และ Pay TV

ที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์วิดีโอของ AIS จะอยู่บนแพลตฟอร์ม AIS Play เพื่อทำตลาดควบคู่ไปกับบรอดแบนด์ (ทั้ง AIS Fibre และ Mobile Broadband) โดย AIS ทำเพื่อสร้างความพึงพอใจของลูกค้า มากกว่าการหวังให้ลูกค้าย้ายค่ายมาใช้ AIS เพราะมีคอนเทนต์ดี

AIS มองว่าคอนเทนต์ยังมีสถานะเป็นตัวเสริมให้ลูกค้าพึงพอใจในภาพรวมของบริการ แต่ตัวหลักยังต้องเป็นคุณภาพของเครือข่ายอยู่เหมือนเดิม เพราะแม้ว่าคอนเทนต์ดีแค่ไหน แต่ถ้าเครือข่ายแย่ ลูกค้าก็ย้ายค่ายหนี ในขณะที่คนย้ายค่ายเพราะคอนเทนต์คงมีไม่เยอะนัก

อย่างไรก็ตาม นายปรัธนา ย้ำกว่ายุทธศาสตร์ของ AIS ที่มาทำวิดีโอ ไม่ได้ใช้โมเดลหารายได้แบบ subscription ล้วนๆ เพียงอย่างเดียวเหมือนกับ Pay TV และไม่ได้เปิดให้ดูฟรีแล้วหวังเงินจากค่าโฆษณาล้วนๆ เหมือนกับ YouTube เพราะยังไม่มั่นใจว่าโมเดลนี้จะยั่งยืนแค่ไหน ยังเน้นการสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้า AIS ที่ต่อยอดจากธุรกิจหลักคือโอเปอเรเตอร์อยู่

AIS 5-min video challenge
การประกวดวิดีโอสั้นระดับภูมิภาค ที่ผลักดันโดย Singtel

ต่อยอด Startup มุ่งสู่ Creator เน้นหาคนเก่งเพื่อป้อนงานให้

นายปรัธนา บอกว่าตอนนี้ Startup ถือว่าจุดติดแล้วในไทย ตอนนี้มีความร่วมมือเข้ามาเรื่อยๆ โดยไม่จำเป็นต้องจัดประกวดหรือแข่งขัน แต่การมาสนับสนุน Creator ก็ใช้โมเดลไม่เหมือนกันซะทีเดียว เพราะ AIS ไม่ได้เข้าไปเป็นเจ้าของบริษัทหรือผลงานของ Creator แต่เน้นการเซ็นสัญญาระยะยาวเพื่อทำงานร่วมกันมากกว่า

การแข่งขัน 5-Min Video Challenge ของ AIS ยังถือเป็นก้าวแรกในการสนับสนุน Creator เท่านั้น และคงจัดต่อไปเป็นประจำทุกปี แต่อาจปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์บ้างเพื่อแก้ปัญหาของปีก่อนหน้า โดยการประกวดครั้งแรกมีทีมที่เข้ารอบสุดท้ายของประเทศไทย 25 ทีม พบว่ามีทีมที่ “ใช้งานได้” เกินครึ่ง และ AIS สามารถสนับสนุนให้ Creator เหล่านี้มีพื้นที่แสดงออก โดยที่สามารถทำได้ทันทีคือจ้างทีมที่น่าสนใจ เข้ามาทำวิดีโอโฆษณาให้กับ AIS นอกเหนือจากโมเดลการจ้างเอเจนซี่ที่ทำอยู่แล้ว

ยุทธศาสตร์ AIS ปี 2017 เน้นวิดีโอ, eMoney, โซลูชันธุรกิจ

นายปรัธนา ยังพูดถึงยุทธศาสตร์ของ AIS ในปีหน้า 2017/2560 ว่าจะเน้นธุรกิจวิดีโอให้มากขึ้น ซึ่งจะประกาศรายละเอียดช่วงต้นปี, เน้นการทำตลาดบริการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ (eMoney) ให้มากขึ้น และอีกธุรกิจที่คนยังไม่ค่อยพูดกันคือโซลูชันฝั่งลูกค้าธุรกิจ ที่เริ่มไปแล้วกับ AIS Cloud แต่ก็จะมีบริการอื่นๆ ตามมามากขึ้นในปีหน้า

ส่วนตลาด handset คิดว่าตอนนี้เริ่มเต็มแล้ว และอีกสักพักจะเริ่มมีอุปกรณ์ IoT แบบใหม่ๆ ขึ้นมาทดแทนอัตราการเติบโตของตลาด handset ที่หายไป

ตลาดคอนเทนต์ด้านอื่นที่บริษัทคุยอยู่คือ mobile games ซึ่งจะใช้โมเดลพาร์ทเนอร์เช่นกัน เพราะบริษัทไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาเกม แต่สามารถใช้วิธีโปรโมทเกมร่วมกันระหว่างผู้พัฒนาและโอเปอเรเตอร์ ตอนนี้มีคุยอยู่บ้าง 3-4 ราย และคงค่อยๆ เห็นมีเกมออกสู่ตลาด เพียงแต่โมเดลของเกมจะไม่จำกัดการเล่นเฉพาะลูกค้า AIS เพียงแต่ลูกค้า AIS อาจได้สิทธิประโยชน์ในเกมเพิ่มมากขึ้น

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/ais-from-startup-to-creator/

ความสำเร็จทางธุรกิจอยู่ที่ “คน” และ “แบรนด์” ในมุมมองของ AIS – dtac – True

3-operator

การแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมโดยผู้ให้บริการ 3 รายใหญ่อย่าง เอไอเอส ดีแทค และทรู เข้มข้นดุเดือดอยู่เสมอ ปัจจัยที่ทำให้ทั้ง 3 รายไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจมีอยู่หลายส่วน ซึ่งครั้งนี้ Brand Inside ได้จับเข่าคุยกับ ผู้บริหารระดับสูงจากทั้ง 3 ค่าย ถึงแนวคิดและแนวทางเรื่องของ “คน” และ “แบรนด์” ที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

5

ทุกอย่างของเอไอเอสอยู่ที่ “คน”

ปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด ของ เอไอเอส บอกว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่อยู่ในตลาดหลายสิบปีไม่ได้เป็นสิ่งที่การันตีว่าจะอยู่รอดและเติบโตเสมอไป บริษัทใหญ่ระดับโลกล้มไปแล้วก็มีให้เห็นหลายราย นี่คือสิ่งที่ คนของเอไอเอส ต้องตระหนักอยู่เสมอ และพยายามสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อลูกค้าอยู่ตลอดเวลา เพราะทุกอย่างของเอไอเอสอยู่ที่ “คน”

พนักงานที่ทำงานกับเอไอเอส ต้องมี DNA ที่คล้ายกัน คือ มองหาโอกาสใหม่ๆ และลงมือทำก่อน มีความสามารถในการปรับตัวที่รวดเร็ว พร้อมรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ถ้าผิดพลาดต้องมองเป็นโอกาสในการเรียนรู้ แต่ถ้าสำเร็จก็ได้โอกาสในการทำธุรกิจก่อนคนอื่นๆ ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้

แบรนด์ คือความแข็งแกร่งจากความเป็นมืออาชีพ

เอไอเอส เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่แข็งแกร่งและมีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารงานที่เป็นการผสมผสานระหว่างคนไทยและคนต่างประเทศ และทั้งหมดคือ ทีมลูกจ้างล้วนๆ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นการเอาเงินของนักลงทุนมาใช้ ต้องมีความรับผิดชอบ ทำให้ทีมบริหารมีความเป็นมืออาชีพสูง และทำให้แบรนด์มีความแข็งแกร่งมาโดยตลอด

และด้วยความแข็งแกร่งของแบรนด์ ทำให้เอไอเอส มีพันธมิตรที่อยากร่วมมือด้วยเป็นจำนวนมาก ช่วยเสริมให้ธุรกิจมีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นจากโครงข่ายของเอไอเอส ที่มีคุณภาพและครอบคลุม ทำให้เอไอเอสและพันธมิตรเติบโตไปด้วยกัน ไม่จำเป็นต้องซื้อหรือควบรวมกิจการ

dtac_cmo-007

สร้าง “คน” ด้วย 3 แนวทางเพื่อความแตกต่าง

สิทธิโชค นพชินบุตร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด ของ ดีแทค บอกว่า “คน” ที่จะทำงานกับดีแทค ต้องกล้าที่จะทำ เพื่อสร้างความแตกต่าง อาจจะผิดพลาดได้ แต่ต้องเรียนรู้และปรับปรุง ซึ่งวิธีการดูคนจะเน้นใน 3 เรื่อง

  1. Attitude ทัศนคติในการทำงาน ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต้องเปิดรับและพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ
  2. Capability ความสามารถในด้านต่างๆ และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
  3. Get Things Done ถือเป็นตัวชี้วัด นั่นคือ เมื่อมี Attitude และ Capability แล้ว ต้องสามารถเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นให้เป็นงานที่มีประสิทธิภาพได้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์

ความพิเศษอีกอย่าง ซึ่งน่าจะเป็นวัฒนธรรมการทำงานจากเทเลนอร์ คือ การย้ายคนข้ามแผนก เพื่อสร้างการเรียนรู้ ทำให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย ทำให้เข้าใจภาพของธุรกิจว่า การบริการ, การตลาด, โครงข่าย, คอนเทนต์ ทุกอย่างต้องไปด้วยกัน และยังทำให้ได้ผู้บริหารที่มีความเข้าใจที่รอบด้านด้วย

ทำงานอย่างโปร่งใส คือ แบรนด์ของดีแทค

ขณะที่เรื่องของแบรนด์ ดีแทค นอกจากการเป็นผู้ให้บริการมือถือแล้ว ถ้าการสร้างแบรนด์คือการสร้างบุคลิกตัวตน ความชัดเจนเรื่องแบรนด์ของดีแทค คือ ความโปร่งใส เป็นแบรนด์ที่ประกาศให้ความสำคัญเรื่องธรรมาภิบาล ต่อต้านคอร์รัปชั่น ไม่สนใจว่าใครจะทำ หรือถ้าไม่ทำแล้วจะเสียหายกับธุรกิจ ดีแทคมีนโยบายชัดเจนที่จะไม่ทำเลย และมีเป้าหมายที่อยากเป็น ต้นแบบให้กับบริษัทอื่นๆ ในทุกอุตสาหกรรม

อีกส่วนหนึ่งคือ การมีแคมเปญด้านจริยธรรม เช่น Stop Cyberbullying หยุดดู หยุดแชร์ หยุดทำร้ายกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเยาวชน เพื่อสร้างการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งอยากให้ทุกคนช่วยกัน

169

การให้บริการคือหัวใจของ “คน” ที่ทรู

ปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ ผู้ช่วยบริหารงานประธานคณะผู้บริหารด้านแบรนด์และการสื่อสาร ของทรู บอกว่า ทรู ทำธุรกิจให้บริการ ดังนั้น “คน” ของทรู ต้องมี Service Mind หรือให้ความสำคัญกับหัวใจของการบริการมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะเรื่องการขาย, สินค้าและบริการ, โครงข่าย ล้วนต้องการหัวใจของการบริการเป็นองค์ประกอบ

นอกจากนั้นต้องมีทัศนคติ หรือ Attitude ที่ตรงกัน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ถ้าทัศนคติดี จะสามารถพัฒนาความสามารถ เป็นพนักงานที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แบรนด์คือการสื่อสารถึงผู้บริโภค

การสร้างแบรนด์ในมุมของทรูเพื่อก้าวขึ้นสู่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอันดับ 2 ของประเทศ ต้องใส่ใจในทุกรายละเอียด ทุกคำที่ขึ้นต้นด้วย True… ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องมีการวางกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ถูกต้อง และต้องมีคุณค่าในตัวเอง ซึ่งนอกจากเป้าหมายในประเทศแล้ว ทรูจะต้องสร้างแบรนด์เพื่อขึ้นเป็นบริษัทระดับภูมิภาคด้วย

และการจะสื่อสารไปถึงผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง ต้องอาศัย “คน” ของทรู หรือพนักงานที่ทำงานทุกคน ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราว ถ้าทำแบรนด์ให้ดี ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ และสิ่งดีๆ จะตามมา เหมือนคำว่า True Together ซึ่งเป็น Brand Promising ตั้งแต่แรกเริ่ม

from:https://brandinside.asia/ais-dtac-true-people-and-brand/