คลังเก็บป้ายกำกับ: คาเฟ่

ฟรีสแลนด์คัมพิน่าเปิด 3 กลยุทธ์หลัก หลังยุติผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์โฟร์โมสต์ มุ่งเน้น B2B มากขึ้น

หลังบริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่าประกาศยุติผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ ทำให้ผู้บริโภคจำนวนรู้สึกเสียดายเพราะความผูกพันที่มีต่อสินค้านั้น จนในที่สุดบริษัทก็ประกาศชี้แจงสาเหตุที่ยุติการผลิตเนื่องจากต้องการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ล่าสุดเผย 3 กลยุทธ์หลังยุคโควิด ที่ต้องการครองตลาดนม UHT มากขึ้นทั้งในด้านของปริมาณการซื้อขายและในด้านคุณค่า จะหันไปเน้นรุกตลาด B2B ที่กำลังเติบโตอย่างมากและเน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ฟรีสแลนด์คัมพิน่า โปรเฟสชันแนล
เชฟฟรีสแลนด์คัมพิน่า โปรเฟสชันแนล กำลังรังสรรค์เมนู Afternoon tea

การยุติผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ไม่ใช่ข่าวร้าย แต่เป็นการปรับตัวทางธุรกิจ

ในส่วนของการยุติการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์นั้น ดร.โอฬาร โชว์วิวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ เล่าว่า องค์กรกำลังปรับตัว การทำธุรกิจในเชนใหญ่ อย่างร้านอาหาร เบเกอรี่ กาแฟ ต้องเปลี่ยนแนวทางในการสื่อสาร ไม่ใช่แค่ปิดโรงงานที่ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์เท่านั้น แต่เป็นการปรับตัวให้เหมาะสมกับทิศทางธุรกิจ เป็นแค่กระบวนการการปรับตัว เราต้องปรับตัวเพื่อคงความเป็นเบอร์ 1 ของไทยให้ได้ 

ทิศทางหลังจากนี้ของฟรีสแลนด์คัมพิน่า คือจะเน้นไปตลาดนมสำหรับเด็ก ตลาดโปรเฟชชันแนล และตลาดอื่นๆ ซึ่งความจำเป็นในการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์นั้นค่อนข้างต่ำ ไม่จำเป็นต้องมีโรงผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ หันมาโฟกัสเรื่องต่างๆ ที่จะไปได้ดีกว่าได้

สำหรับประเด็นเรื่องน้ำนมขึ้นราคา ก็ทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ปัจจัยเรื่องน้ำนมดิบ เราพยายามบริหารจัดการให้ได้ คุยกับภาครัฐต่อไป ในการปรับโครงสร้างราคา ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำต่อ ในอนาคตก็อาจจะต้องปรับราคาเพิ่ง ปัจจุบันกำลังทำการยื่นเรื่องเพื่อให้พิจารณาขึ้นราคา แต่ยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอนในการปรับราคา 

ดร.โอฬาร โชว์วิวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์
ดร.โอฬาร โชว์วิวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์

ด้านวิภาส ปวโรจน์กิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่พูดถึงประเด็นการยุติผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์และการปรับตัวทางธุรกิจว่า คนอาาจรู้สึกเป็นข่าวร้าย จริงๆ แล้วเป็นการปรับทิศทางของธุรกิจ บางส่วนไม่มีความจำเป็น เราตัดออกไป ก็วิ่งได้เร็วขึ้น เรามีธุรกิจ Global เช่น ธุรกิจนมสำหรับผู้ใหญ่ เราเกี่ยวพันในนามของผู้ซื้อ หลายธุรกิจที่ Global ทำ ก็อาจจะนำมาทำในอนาคต สำหรับภาพรวมครึ่งปีแรก ต้องบอกว่าเหนื่อย แต่หลังจากเปิดประเทศ ตลาดมันก็เปิดมากขึ้น ปัญหามีทุกวัน การเล่าปัญหาไม่ได้ทำให้แก้ปัญหา จึงเล่าถึงโอกาสและจับโอกาสดีกว่า 

วิภาสมองว่าปัจจุบัน การภักดีต่อแบรนด์ หรือ Brand Loyalty กับแบรนด์อาจไม่มีจริง มีคนเกิดทุกวัน มีคนต้องการสารอาหารทุกวัน ยุคนี้ต้องเรียนรู้ใหม่ สำหรับภาพรวมรายได้ตอนนี้คงสภาพเดิม แต่คิดว่าปลายปีนี้จะเติบโตขึ้นแน่นอน ธุรกิจยุคนี้ทุกคนเริ่มจากติดลบ คิดว่าปลายปีนี้เริ่มกลับมาทำรายได้ 3 เดือนแล้ว 

กลยุทธ์ธุรกิจที่กำลังมุ่งไปมี 3 เรื่อง ดังนี้

1) สร้างการเติบโตและเพิ่มการบริโภคภายในครัวเรือน

เราต้องการรักษาความเป็นที่ 1 ในการดูแลสุขภาพเด็กเล็กต่อไป ทั้งทั้งในแง่ปริมาณาการขายและคุณค่า เราเป็นผู้นำตลาดในเรื่องนม UHT เรามีโฟรโมสต์ โอมเก้า 369 สมาร์ท มีการพัฒนาสูตรให้เหมาะกับความต้องการของคนแต่ละช่วงวัยด้วยสูตร +1 สำหรับอายุ 1 ปีขึ้นไป สูตร +4 สำหรับ 4 ปีขึ้นไป

มีโฟร์โมสต์ มัลติเกรนที่เปิดตัวมาแล้ว ราคาเท่ากับตลาดทั่วไป แต่ยังไม่ได้เติบโตมากนัก เป็นช่วงเริ่มต้นเข้าสู่ตลาด ปัจจุบัน คนในวัยที่โตขึ้นก็ไม่ค่อยทานนมวัวแต่ทานนมประเภทอื่น ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ก็มาช่วยตอบโจทย์ด้านนี้ได้

วิภาส ปวโรจน์กิจ
วิภาส ปวโรจน์กิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กับ Debic Whipped Dairy Cream

2) เร่งเครื่องมากกว่าขายเฉยๆ สิ่งเหล่านี้จะไม่คุ้นเคยนักเพราะเป็น B2B 

ฟรีสแลนด์คัมพิน่า โปรเฟสชันแนล คือตลาด Food Service ไทยมีอยู่แล้วประมาณหนึ่งแต่ทางทีม Global ก็มาเน้นที่สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ เป็นพาร์ทหนึ่งของกลยุทธ์บริษัท ซึ่งวิธีในการเข้าถึงตลาด B2B เราก็บอกลูกค้าในช่องทางที่คุ้นเคย ซึ่งมีวิธีเข้าแตกต่างกันคือเข้า R&D (ทีมพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์) และเชฟ ไม่ได้เข้าไปขายของโดยตรง แต่ต้องเข้าไปขาย Solution เพื่อแก้ปัญหาให้ ต้องทำให้ของผ่านก่อน ค่อยเคลียร์ราคาทีหลัง สำหรับในไทยก็ยังไม่มีประสบการณ์ในตลาด B2B ด้านนี้มากนัก

ตลาด Food Service ในเมืองไทยค่อนข้างใหญ่ Food Service ที่ว่า หมายถึงประเภทร้านอาหาร คาเฟ่ที่กำลังเติบโตอย่างมาก กาแฟเย็นในไทยมีไม่กี่ประเภทที่ใส่นมข้นหวาน ข้นจืด เช่น ชาไข่มุก เจ้าที่ราคาแพงจะมีครีมด้านบน เป็น Secret Recipe ทำให้รสชาติในสาขายังไม่ได้มาตรฐาน สมมติถ้าเรามีเครื่องเติมให้อัตโนมัติ ได้สัดส่วนที่เป๊ะตามที่กำหนดไว้ เราก็จะเข้าไปช่วยเพื่อตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ 

3) เน้นด้านดิจิทัลและ e-commerc หรือนำความรู้ในเรื่องการเก็บข้อมูลมาใช้ประโยชน์  

ทางฟรีสแลนด์คัมพิน่าพยายามจะพัฒนาช่องทางต่างๆ ของแบรนด์ทั้งสื่อโซเชียล เว็บไซต์ ทำ e-commerce site ทำระบบ home delivery เพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว และยังร่วมมือกับ e-commerce platform อื่นๆ ด้วยเพื่อช่องทางความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคและลูกค้า มีการใช้เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลออนไลน์มากขึ้น

บริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์ในไทยมากว่า 65 ปีแล้ว ดร. โอฬาร โชว์วิวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์เล่าว่า ชื่อแรกที่ใช้คือพระนครมิลค์ ถือโฉนดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว หลายคนอาจเข้าใจว่า อสค. หรือองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยหรือหนองโพเป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับนมแห่งแรกของไทย แต่เอาเข้าจริงแล้ว ฟรีสแลนด์คัมพิน่าเป็นเจ้าแรกของไทย ขณะที่บริษัทแม่ที่เนเธอร์แลนด์ก่อตั้งมาอย่างยาวนานราว 151 ปีแล้ว

ฟรีสแลนด์คัมพิน่า
เมนู Afternoon tea ที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากฟรีสแลนด์คัมพิน่า

ภาพด้านบนนี้คือเมนูตัวอย่างที่เชฟของฟรีสแลนด์ คัมพินา โปรเฟชชันแนลทดลองทำเพื่อนำไปสู่การเสนอขายลูกค้าแบบ B2B (จากซ้าย) ทาร์ตผลไม้ ตัวนี้ใช้นมจากฟอลคอลเป็นตัวประกอบด้วย, ราสเบอร์รีและดาร์คชอคโกแลตมูส ตัวนี้ใช้วิปปิครีมเป็นตัวหลัก

ตามด้วย Financier หรือฟินองซิเย ใช้พิตาชิโอ โดยใช้เนยที่ทางฟรีสแลนด์คัมพิน่ากำลังจะนำเข้ามา มีไซรัปในหลอดประดับ ขณะทานให้บีบน้ำไซรัปจากหลอดเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ขนมมากขึ้น ทำให้วิธีการกินสนุกมากขึ้น, Mango Tart ใช้ทาร์ตหวานเป็นภาชนะ ตามด้วยวิปปิงครีมประดับบนทาร์ตและใช้มาร์มาเลดมะม่วงหรือแยมมะม่วง

Friesland Compina

(ซ้าย) วิปปิงครีมทาร์ตเบคอน เอาเบคอนมาผัดกับผักสามสีและใส่วิปปิงครีมเพิ่ม ประดับด้วยไข่ปลาคาร์เวีย, โทสพาร์มาแฮม ใช้ครีมชีสตีกับวิปปิงครีมเดบิค (Debic) ใส่ทรัฟเฟิลเพิ่ม ทำให้รสชาติเข้มข้นขึ้น ประดับด้วยต้นอ่อนทานตะวันเพื่อเพิ่มความสดชื่น

เมื่อพูดถึงความเปลี่ยนแปลงในตลาดไทย พบว่าในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ร้านกาแฟเติบโตอย่างมาก ตลาดเติบโต ทางบริษัทก็เริ่มมีเชฟมาทดลองสูตร ทดลองชงช่วงปลายปี 2020 เชฟเน้นทำ Bakery Pastry เป็นหลัก ซึ่งบริษัทก็เพิ่งเปิดตัวเดบิคเมื่อเมษายนปี 2021 และเมนูจาก 2 ภาพด้านบนก็คือตัวอย่างเมนูขนมสำหรับทดลองสูตร

เดบิคมาจากเบลเยียม อยู่ในราคาที่สู้ได้ บริษัทพยายามแนะนำให้คนไทยได้รู้จัก เป็นโรงงานที่เป็นญาติกับเรา ปีนี้คาดว่าจะเติบโต 200-300% น่าจะได้เห็นในซุปเปอร์มาร์เก็ต มีแบบสเปรย์กระป๋องถือเป็นเจ้าแรกของโลกที่ผลิตแบบนี้ ซึ่งถือเป็นแบรนด์แรกที่ทำวิปครีมกระป๋องและทำมานาน 100 ปีแล้ว

เดบิค Debic
นี่คือเดบิค วิปปิงครีมที่เป็นกระป๋องสเปรย์เจ้าแรกของโลก ผลิตมานานถึง 100 ปีแล้ว คาดว่าจะเติบโตมากถึง 200-300%

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ฟรีสแลนด์คัมพิน่าเปิด 3 กลยุทธ์หลัก หลังยุติผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์โฟร์โมสต์ มุ่งเน้น B2B มากขึ้น first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/core-strategy-of-friesland-campina-thailand/

ไปต่อไม่ไหว: สตาร์บัคส์เตรียมปิด 130 สาขาในรัสเซีย หลังทำธุรกิจยาวนาน 15 ปี

ในที่สุดก็มาถึงวันนี้ วันที่ McDonald เพิ่งประกาศขายกิจการกว่า 800 แห่งให้นักธุรกิจชาวรัสเซียได้ไม่นาน พร้อมรีแบรนด์ตั้งชื่อใหม่และสานกิจการต่อ Starbucks ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ใหญ่ที่น่าเลื่อมใสต่อน้ำจิตน้ำใจที่พยายามดูแลชาวรัสเซียที่เป็นพนักงานอย่างดี ด้วยการรับผิดชอบจ่ายเงินเดือนต่อเนื่องนับตั้งแต่ระงับการดำเนินกิจการในรัสเซียเพื่อตอบโต้ที่รัสเซียบุกยูเครน ในที่สุดก็ถึงคราวที่ สตาร์บัคส์ประกาศถอนตัวออกจากรัสเซียแล้ว

Starbucks-leave-Russia

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา Starbucks (สตาร์บัคส์) แถลงผ่านเว็บไซต์สตาร์บัคส์เพื่ออัพเดตสถานการณ์ธุรกิจสตาร์บัคส์ในรัสเซีย เนื้อความระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมเป็นต้นมา ทางบริษัทได้ระงับการทำกิจกรรมทางธุรกิจในรัสเซีย รวมทั้งยุติการขนส่งผลิตภัณฑ์ของสตาร์บัคส์ทั้งหมดมายังรัสเซีย สตาร์บัคส์ตัดสินใจแล้วว่าจะออกจากตลาดนี้ และจะไม่มีแบรนด์นี้ปรากฏอยู่อีกต่อไป

อย่างไรก็ดี ทางสตาร์บัคส์จะยังให้การสนับสนุนพันธมิตรผ้ากันเปื้อนสีเขียวเกือบ 2,000 คนในรัสเซียด้วยการจ่ายเงินเดือนให้เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยให้ช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่านต่อจากนี้ ทำให้พันธมิตรของเราได้พบเจอกับโอกาสใหม่ๆ นอกสตาร์บัคส์ต่อไป

สตาร์บัคส์ไม่มีคาเฟ่อยู่ในยูเครน แต่มีคาเฟ่อยู่ในรัสเซียถึง 130 แห่ง อีกทั้งทำธุรกิจอยู่ในประเทศนี้มาอย่างยาวนานถึง 15 ปีแล้วแต่ก็ทำรายได้ต่อปีต่ำกว่า 1% การหันหลังให้รัสเซียของสตารบัคส์ก็เหมือนกับหลายบริษัทก่อนหน้า ทั้ง McDonald, Exxon Mobil และ British American Tobacco ทั้งผู้บริโภคและนักลงทุนต่างก็กดดันบริษัทตะวันตกให้ตัดความสัมพันธ์กับรัสเซียเพื่อแสดงจุดยืนให้เห็นว่าไม่สนับสนุนการบุกยูเครนของรัสเซีย

Starbucks

ก่อนหน้านี้ มูลนิธิสตาร์บัคส์ก็บริจาคเงิน 5 แสนเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 17 ล้านบาทให้กับ World Central Kitchen และกาชาดเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวยูเครน อย่างไรก็ดี ทางสตาร์บัคส์ไม่ได้เปิดเผยถึงผลกระทบทางการเงินหลังระงับการทำธุรกิจไป แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าน่าจะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยหากเทียบกับกรณี McDonald ที่ทำธุรกิจอยู่ในรัสเซียมาแล้วกว่า 30 ปี

สำหรับแม็คโดนัลด์ที่ระงับการทำธุรกิจทั้งในรัสเซียและยูเครนสร้างความเสียหายกว่า 127 ล้านเหรียญสหรัฐประมาณ 4.3 พันล้านบาทในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากทั้งรัสเซียและยูเครนนั้นสร้างรายได้ให้องค์กรมากถึง 9% ในปี 2021

ผลประกอบการของสตาร์บัคส์ไตรมาส 2 ปี 2022 อยู่ที่ 7.64 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2.61 แสนล้านบาท มากกว่าที่คาดการณ์เดิมไว้ที่ 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ กำไรสุทธิ 674.5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 2.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 659.4 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นจาก 56 เซนต์เป็น 58 เซนต์ต่อหุ้น

Starbucks
Image from Starbucks

รายได้จากหน้าร้านของสตาร์บัคส์ในไตรมาส 2 ปี 2022 เพิ่มขึ้น 7% โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือและสหรัฐอเมริกามียอดขายหน้าร้านเพิ่มขึ้น 12% ถ้าเปรียบเทียบกับยอดขายจากต่างประเทศมียอดขายหน้าร้านลดลง 8% สำหรับสตาร์บัคส์ในจีนที่มีการใช้มาตรการจัดการโควิดเข้มข้นก็นำไปสู่ยอดขายที่ลดลงอย่างมากถึง 23%

นอกจากนี้ สตาร์บัคส์ก็เปิดสาขาใหม่อีก 313 แห่งทำให้มีสตาร์บัคส์อยู่ทั่วโลกรวม 34,630 แห่ง โดยมีสาขาอยู่ในสหรัฐอเมริกา 15,544 แห่งและจีน 5,654 แห่ง

ที่มา – Starbucks (1), (2), CNBC (1), (2)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ไปต่อไม่ไหว: สตาร์บัคส์เตรียมปิด 130 สาขาในรัสเซีย หลังทำธุรกิจยาวนาน 15 ปี first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/starbucks-will-close-130-cafes-in-russia/

Shell เปิดตัว เชลล์ คาเฟ่แห่งแรกในไทย ย้ำจุดยืนไม่ได้เป็นแค่ปั๊มเพื่อเติมน้ำมันอีกต่อไป

ร้านกาแฟต้องสะเทือน เมื่อปั๊มน้ำมันหันมามุ่งขยายธุรกิจคาเฟ่มากขึ้น ล่าสุด บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทยก็หันมาเปิดประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าด้วยการเปิดตัวเชลล์ คาเฟ่แห่งแรกในไทยแล้ว

Shell cafe

ธุรกิจนอนออยล์เริ่มมาแรงสำหรับปั๊มน้ำมันทั้งหลาย โดยเชลล์หันมาขับเคลื่อนสถานีบริการน้ำมันเชลล์สู่การเป็น e-Mobility Destinations สำหรับลูกค้าชาวไทยที่เป็นคอกาแฟทั่วไทย สามารถชิมอาหารและเครื่องดื่มได้แล้วที่ที่เชลล์ คาเฟ่ สาขาแรกที่สถานีบริการเชลล์แห่งใหม่ ปากซอยนวลจันทร์ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม กรุงเทพฯ

เรืองศักดิ์ ศรีธนวิบุญชัย กรรมการบริหาร ธุรกิจโมบิลิตี้ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ปัจจุบัน สถานีบริการเชลล์ไม่ได้เป็นแค่ปั๊มเพื่อเติมน้ำมันอีกต่อไป เราได้ทำปั๊มของเราให้เป็นจุดหมายปลายทางที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้ทุกรูปแบบ ทั้งการแวะพักจิบกาแฟและอิ่มอร่อยไปกับหมูปิ้งเชลล์ชวนชิม รวมทั้งให้จับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคก่อนกลับบ้านหรือเพื่อเดินทางต่อไปได้ เชลล์ทราบดีว่าพฤติกรรมของลูกค้ามีการใช้เวลาในสถานีบริการมากขึ้น จึงตั้งใจมอบบริการที่สะดวก สบายและรวดเร็ว

Shell cafe

เชลล์ คาเฟ่ มุ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่เสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มพร้อมให้บริการผู้ขับขี่ที่แวะพักที่สถานีบริการเชลล์ ด้วย 4 แนวคิดหลัก ดังนี้ เครื่องดื่มคุณภาพเยี่ยม เชลล์จับมือกับพันธมิตรผู้ปลูกและคั่วกาแฟชั้นนำของประเทศ รังสรรค์เมล็ดกาแฟอราบิกา 100% ใช้เมล็ดกาแฟออร์แกนิกที่เพาะปลูกโดยไร่กาแฟในภาคเหนือของไทย พร้อมนำเข้าชาเขียวแท้จากญี่ปุ่นด้วย, บริการโดยบาริสต้ามืออาชีพ, ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เน้นความยั่งยืนและทันสมัย เช่น กลุ่มเครื่องดื่ม “คาสคาร่า ชาเปลือกกาแฟ ออร์แกนิก”, พร้อมนำผู้เชี่ยวชาญวงการร้านกาแฟมาช่วงสร้างประสบการณ์ในร้าน

อัจฉรา สุวรรณวรบุญ รองกรรมการบริหารฝ่ายการตลาดนอนออยล์ ธุรกิจโมบิลิตี้ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ระบุว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ธุรกิจนอนออยล์มุ่งเน้นคือการออกแบบ เชล์คาเฟ่ ให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าทุกกลุ่ม

Shell cafe

เชลล์ คาเฟ่ เปิดตัวสาขาแรกที่เนเธอร์แลนด์ปี 2564 ปัจจุบัน เชลล์ คาเฟ่เติบโตอย่างรวดเร็ว จำนวนสาขามากกว่า 1,200 แห่งใน 16 ประเทศทั่วโลก

ที่มา – Shell

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Shell เปิดตัว เชลล์ คาเฟ่แห่งแรกในไทย ย้ำจุดยืนไม่ได้เป็นแค่ปั๊มเพื่อเติมน้ำมันอีกต่อไป first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/shell-cafe-soft-launch-in-thailand/

ถอดวิธีคิดเจ้าของคาเฟ่และโรงแรมแมว: อยู่อย่างไรให้รอด ในวันที่หลายธุรกิจปิดตัว

ในยุคที่โควิดระบาดหนักขนาดนี้ หลายคนต้องถูกลอยแพจากตำแหน่งงานโดยไม่ตั้งใจ บ้างก็ถูกลดเงินเดือน ปรับสภาพไปตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีสภาวะถดถอย ยุคนี้ แค่คิดจะหยิบจับหรือทำธุรกิจอะไรขึ้นมาสักอย่าง ถือเป็นเรื่องยากแสนยาก ทั้งยากในวิธีคิดเพื่อการก่อตั้งและยากที่จะดำรงอยู่ได้อย่างดี โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ใครๆ ก็ไม่กล้าใช้เงิน เพราะเราต่างไม่รู้ว่าสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนนี้จะอยู่กับเราไปอีกยาวนานแค่ไหน ทำได้แค่เพียง ระมัดระวังการใช้จ่ายอย่างสุดกำลัง

วันนี้ Brand Inside ได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าของธุรกิจคาเฟ่และโรงแรมแมว ณัฐฤฎา ช้วนรักธรรม (เกม) เจ้าของร้าน Cat Slave Cafe’s and Cat Hotel เรามาดูกันว่า เธอมีวิธีคิดในการทำธุรกิจช่วงโควิดระบาดอย่างไรบ้าง

Cat Slave Cafe’s and Cat Hotel

ณัฐฤฎาเล่าให้เราฟังว่า เธอได้รับแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจนี้ จากตัวเธอเองที่เป็นคนรักแมว ชอบเลี้ยงแมวและชอบไปเที่ยว ช่วงที่เธอไปเที่ยว เธอก็ต้องเอาแมวของเธอไปฝากตามโรงแรม ตามคลินิก ซึ่งคนเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นห่วงสัตว์เลี้ยงที่เปรียบเหมือนลูกของตัวเองและเอาไปฝากในสถานที่ต่างๆ ที่รับดูแล เธอเริ่มจากดูข้อมูลว่าการทำธุรกิจแบบนี้เขาทำอย่างไรกันบ้าง ปกติโรงแรมแมวจะมีเฉพาะตามคลินิก เมื่อไปถึงจะนำสัตว์เลี้ยงไปใส่กรงบ้าง บางแห่งก็ทำพื้นที่ให้กว้างขึ้น มีของเอนเตอร์เทนแมวเหมือนโรงแรมแมว

จากนั้นเธอก็เริ่มคิดทำธุรกิจนี้ โดยเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2019-2020 เธอคิดว่าอยากทำเพราะชอบและคิดว่าน่าสนใจ ถ้าทำเป็นโรงแรม จะต้องรอคนนำสัตว์เลี้ยงมาฝากและพากลับไป เลยคิดว่าน่าจะทำอะไรมากกว่าโรงแรมแมว เช่น มีการทำเครื่องดื่ม ทำขนม ทำโรงแรมและคาเฟ่ไว้ในพื้นที่เดียวกัน ตัวเธอเองก็มีแมวเลี้ยงอยู่ก่อนหน้าแล้ว 7 ตัว แมวที่เธอเลี้ยงเริ่มจากการเลี้ยงแมวจรเพราะอยากช่วยเหลือ เธอนำแมววิเชียรมาศ แมวขาวมณี รวมเป็นแมวจร 4 ตัวมาเลี้ยง จากนั้นเธอก็ซื้อแมวพันธุ์มาอีก 2 ตัว และรุ่นพี่ที่รู้จักกันเก็บแมวจรข้างถนนมาอีก 1 ตัวให้เธอช่วยเลี้ยง

Cat Slave Cafe’ And Cat Hotel

ทำธุรกิจคาเฟ่และโรงแรมแมวเพราะใจรัก ไม่ได้ทำเพราะตามกระแส

จุดตั้งต้นของเธอคือความรักที่มีต่อแมวอยู่เป็นทุนเดิมหรือเรียกได้ว่าเป็นทาสแมวมาก่อน ไม่ได้คิดจะทำธุรกิจเช่นนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม หากเราไปตามคาเฟ่ต่างๆ เราจะเห็นว่าส่วนใหญ่เลี้ยงแมวพันธุ์ แต่สำหรับเธอไม่ได้เริ่มจากแนวคิดนั้น 

เธอแบ่งโซนสำหรับทำพื้นที่ให้แมวโดยการแบ่งเป็นรูปแบบการดูแลลูกค้า ถ้าเป็นลูกค้าที่เล่นกับแมวจะมีคาเฟ่ชั้นล่างและเอาท์ดออร์เล็กๆ ส่วนด้านบนทำเป็นโรงแรมแมว จัดโซนให้เฉพาะคนเอาแมวมาฝาก มีห้องสำหรับให้แมวอยู่จำนวน 11 ห้อง แยกกันเป็นโซน

คาเฟ่แมว- Cat Slave Cafe' And Cat Hotel
Cat Slave Cafe’ And Cat Hotel

สำหรับในส่วนของ Cat Hotel จะมีขนาดห้องที่หลากหลายด้วยกัน มีห้องแบบ Single Room เรตราคาอยู่ที่ 150 บาท น้องแมวสามารถมาอยู่ได้ 1 ตัว ขนาดพื้นที่ราว 60x100x90 ซม. ส่วนห้องรูปแบบ Standard Room เรตราค 250 บาท แมวอยู่ได้ 2 ตัว ขนาดพื้นที่ราว 60x100x1170 ซม.

ส่วนห้องที่เป็นแบบ Family Room เรตราคาอยู่ที่ 350 บาท แมวอยู่ได้ 4 ตัว ขนาดพื้นที่ 110x120x190 ซม. และห้องแบบ View Room เรตราคาอยู่ที่ 400 บาท แมวอยู่ได้ 4 ตัว ขนาดพื้นที่ราว 110x120x190 ซม. ทาง Cat Hotel มีทรายแมวไว้ให้และมีอาหารแมวให้ด้วย (ลูกค้าสามารถเอาอาหารสำหรับแมวมาได้ด้วย) ค่าอาหารจะตกวันละ 50 บาท เป็นอาหารเม็ด ส่วนมากลูกค้ามักจะนำอาหารมาเอง เพราะแมวแต่ละตัวก็จะมีความต้องการหลากหลาย มีการทานอาหารที่จำเพาะแล้วแต่การเลี้ยงดู

คนที่เอาแมวมาฝาก จะต้องมีสมุดสุขภาพแมว ฉีดวัคซีนแล้ว ไม่ได้มีอาการป่วยอยู่เดิม มีเอกสารให้เซ็นยินยอมว่ากรณีที่แมวป่วยหรือเสียชีวิต ทางคาเฟ่และโรงแรมแมวจะไม่ได้รับผิดชอบในส่วนนี้ แต่ทางร้านจะแจ้งข้อมูลกับลูกค้าเสมอว่า ถ้าแมวของเขาป่วยขณะที่มาอยู่ที่คาเฟ่หรืออยู่ในโรงแรมแมว ทางร้านก็จะพาไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลให้ โดยลูกค้ารับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง  

Cat Slave Cafe’ And Cat Hotel

ณัฐฤฎาพูดถึงการนำแมวไปฝากของผู้คนส่วนใหญ่ มักจะแมวพันธุ์มาฝากอยู่แล้ว ส่วนมากแมวไทยก็เลี้ยงกึ่งปิดกึ่งปล่อย ทางร้านก็จะประเมินอยู่เสมอว่าเขาจะเอาแมวมาทิ้งที่ร้านหรือไม่ มีการถ่ายสำเนาบัตรประชาชน มีการ add Line เพื่อส่งภาพความเป็นอยู่ของน้องแมวให้ลูกค้าดูทุกวันทั้งเช้าและเย็น ว่าลูกเขาทำอะไร มีกิจกรรมอะไร ส่งความคืบหน้าทุกวัน

ปัจจุบันทาง Cat Slave Cafe’s And Cat Hotel เปิดให้บริการในส่วนของคาเฟ่ แต่ยังปิดในส่วนของโรงแรมอยู่ เพราะยังต้องเฝ้าระวังเรื่องโควิดระบาดอยู่ ตอนนี้ขายเครื่องดื่มในไลน์แมน https://wongn.ai/q8bny ขายในหมู่บ้าน ขายตามกลุ่มคนชุมชนแถวนี้ ยังไม่ได้ใช้เงินทำการตลาดด้านนี้มากนัก เรียกว่า ทำร้าน ทำธุรกิจแบบซ้อมเปิดไปก่อน “ตอนนี้ก็ซ้อมขายไปก่อน ขายได้นิดหน่อยก็ดีกว่าปิดไปเลย อย่างน้อยก็มีรายได้เข้ามาบ้าง แต่ก็ยังไม่คุ้มทุน”

สำหรับเมนูเครื่องดื่มก็มีทั้งชา กาแฟ โกโก้ อิตาเลียนทั่วไป หลังจากนี้ถ้าสามารถเปิดร้านและโรงแรมได้เต็มรูปแบบก็จะมีการเพิ่มเมนูของทานเล่น นักเกต เฟรนส์ฟราย อาจจะมีเมนูหนักๆ บ้าง เช่น ขนมจีนแกงเขียวหวาน อาหารคาววันละหนึ่งอย่าง

Cat Slave Cafe’ And Cat Hotel

เลือกลงทุนในยุคนี้ มีวิธีคิดอย่างไร

ณัฐฤฎาเล่าว่า ก่อนหน้านี้ไม่คิดว่าโควิดระบาดลุกลามหนักขนาดนี้ ด้วยการจัดการไม่ดี ทำให้ล้มเหลวไปหมด ตอนที่คิดลงทุนยังไม่หนักขนาดนี้ และสิ่งที่ทำไม่ได้บูด ไม่ได้เสีย ไม่พัง ถึงเปิดตอนนี้ไม่ได้ ก็ยังเก็บไว้เปิดในอนาคตได้ แม้ตอนนี้จะรู้สึกเหนื่อยอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าทำไปก่อน 

อีกทั้งสถานที่ก็เป็นบ้านของตัวเองอายุ 30 ปีแล้ว เธอเลือกทุบทิ้งบางส่วนและรีโนเวต พื้นทำใหม่ หลังคาทำใหม่หมดเลย ต่อเติมบ้าง โครงสร้างเดิม ทำใหม่ราว 1 ล้านเศษ ไม่รวมเฟอร์นิเจอร์ ทำใหม่หมดใช้ระยะเวลานาน 1 ปี และก็เลือก reference ให้ช่างปรับตามรวมทั้งวัสดุใช้ในบ้าน เป็นบ้านตัวเอง หลังโควิดระบาดอย่างหนักก็ทำให้ผู้คนเดินทางไม่ได้ ก็ยังไม่เปิดโรงแรมให้แมวพัก

ณัฐฤฎา ช้วนรักธรรม (เกม) เจ้าของร้าน Cat Slave Cafe’s and Cat Hotel

สำหรับข้อคิดในการทำธุรกิจยุคนี้ ณัฐฤฎากล่าวว่า ทำธุรกิจยุคนี้ต้องใช้ความอดทนมากๆ เพราะสถานการณ์ก็ยากลำบากอย่างที่รับรู้กัน ดังนั้น ถ้าคนที่ทำธุรกิจตามกระแส ส่วนมากก็จะปิดตัวลงไปก่อน แต่ถ้าคนที่ทำเพราะใจรัก หรือมี passion เกี่ยวกับสิ่งที่อยากทำ คิดว่าน่าจะอดทนทำมันต่อไปได้ดีกว่า ในกรณีนี้ไม่นับรวมกลุ่มธุรกิจที่ที่ทุนหนา เพราะถือว่าอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่สายป่านยาวจะทำอย่างไรก็ย่อมสะดวกกว่ากลุ่มอื่น

ความได้เปรียบทางธุรกิจที่ณัฐฤฎามอง เธอบอกว่า เธอไม่ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ เพราะฉะนั้น ธุรกิจหลักๆ ที่จะเปิดในยุคนี้ที่ต้องคำนึงถึงค่าเช่าสถานที่ หรือแบกรับภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างพนักงาน เหล่านี้ ถ้าสามารถทำได้เองก็จะช่วยลดต้นทุนที่ไม่เป็นจำเป็นลง สิ่งที่เราทำได้เอง เราจะตั้งใจทำมากกว่าพนักงานที่เราจ้างรายวันแน่นอน ทั้งเรื่องคุณภาพและบริการต่างๆ

ส่วนเรื่องทำเล เธอก็มองว่าเป็นทำเลที่ได้เปรียบ แต่หน้าร้านของรายอื่นๆ ก็อาจจะฝ่าวิกฤตไปได้บ้างถ้าหันมาพึ่งออนไลน์เช่น ช่องทางจัดจำหน่ายออนไลน์ เช่น บริการเดลิเวอรี่ แม้ว่าอาจจะต้องเสียค่า GP ให้บริษัทที่ทำเดลิเวอรี่ด้านนี้ ก็ยังดีกว่าไม่มียอดขายเข้ามาเลย การเพิ่มช่องทางดังกล่าวช่วยเพิ่มกระแสเงินสดเข้ามาในระบบได้บ้าง สุดท้ายแล้ว เธอคิดว่า ทุกคนที่เริ่มทำธุรกิจก็คงไม่อยากปิดกิจการไป

Cat Slave Cafe’ And Cat Hotel

ดังนั้น ก็ต้องสู้ สู้ด้วยตัวเองก่อน ทุกวันนี้ เราพึ่งใครไม่ได้ ไม่มีนโยบายอะไรมารองรับหรือเยียวยาเจ้าของธุรกิจได้เลย ไม่ได้นับเฉพาะธุรกิจร้านค้าเล็กๆแบบนี้ ธุรกิจขนาดกลางก็ยังสู้ไม่ไหวเช่นกัน สุดท้ายเธอก็หวังว่าทุกคนจะผ่านมันไปให้ได้

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ถอดวิธีคิดเจ้าของคาเฟ่และโรงแรมแมว: อยู่อย่างไรให้รอด ในวันที่หลายธุรกิจปิดตัว  first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/cat-slave-cafes-and-cat-hotel-how-to-survive-among-covid-19-outbreak/

คาเฟ่เกาหลีใช้ “หุ่นยนต์บาริสต้า” รับ-ชง-เสิร์ฟกาแฟ รวดเร็วว่องไว 7 นาทีทำได้ 6 แก้ว

ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะตอบโจทย์เรื่องการบริการ แถมตอบโจทย์เรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคมด้วย

Robot Barista
Robot Barista Photo: b/60

ใช้หุ่นยนต์บริการในร้านกาแฟ

คาเฟ่ในเกาหลีใต้แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในย่านแทจอน ได้นำเอาหุ่นยนต์บาริสต้ามาให้บริการลูกค้าในร้าน ตอบโจทย์ทั้งมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และรวมถึงการบริการอัตโนมัติที่รวดเร็วมากขึ้น ใช้แรงงานคนน้อยลง

หุ่นยนต์บาริสต้าในคาเฟ่แห่งนี้มีหลากหลาย ทำหน้าที่ตั้งแต่

  • รับออเดอร์ถึงโต๊ะของลูกค้า
  • ชงกาแฟและเครื่องดื่มต่างๆ (หุ่นยนต์บาริสต้าตัวนี้ชงได้มากถึง 60 สูตรที่แตกต่างกัน)
  • ชงกาแฟได้รวดเร็วว่องไว ในระยะเวลา 7 นาที สามารถชงได้ถึง 6 แก้ว
Robot Barista
Robot Barista Photo: b/60

สำหรับคนที่เกรงว่าเมื่อหุ่นยนต์เข้ามา จะทำให้แรงงานมนุษย์ตกงาน ถ้าดูจากคาเฟ่แห่งนี้แม้จะใช้หุ่นยนต์บาริสต้ามาช่วยบริการในร้าน แต่ถึงที่สุด ยังมีความต้องการแรงงานมนุษย์เพื่อทำหน้าที่ดูแลเรื่องความสะอาดและคอยเติมวัตถุดิบที่ใช้ไป

แต่ทั้งนี้ หน้าที่ลักษณะนี้ก็ไม่ต้องการมนุษย์จำนวนมาก คาเฟ่ 1 แห่ง ใช้มนุษย์ช่วยดูแลแค่ 1 คนก็เพียงพอแล้ว

ที่มา – Gizmodo

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/robot-barista-social-distancing/

เคลล็อกส์ เปิดคาเฟ่อาหารเช้าซีเรียลแห่งแรก กลางไทม์สแควร์ นิวยอร์ก

เทรนด์ที่แบรนด์ต่างๆ จะลงมาเปิดร้านคาเฟ่เฉพาะตัว เพื่อเสริมภาพลักษณ์แบรนด์ และทำให้ได้ไอเดียใหม่ๆ จากลูกค้ามีมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดแม้แต่ผู้ผลิตอาหารเช้าซีเรียลรายใหญ่อย่าง เคลล็อกส์ ก็กระโดดมาทำคาเฟ่เช่นกัน

384905

โดยเคลล็อกส์ ได้เปิด Kellogg’s NYC คาเฟ่ซีเรียลแบบถาวรเป็นครั้งแรก (ที่ผ่านมาเคยเปิดแบบป๊อปอัพ) ในย่านไทม์สแควร์ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ลูกเล่นของคาเฟ่ซีเรียลนี้คือการจำหน่ายเมนูอาหารเช้าแบบ All-Day ตามกระแสนิยม ลูกค้าสามารถสร้างสรรค์ใส่ลูกเล่นเติมส่วนผสมเข้าไปในชามซีเรียลเพื่อให้ได้รสชาติที่ตนเองต้องการได้ อาทิ ผิวเลมอน, พิสตาชิโอ, ไทม์, ผงชาเขียว ฯลฯ

384906

ถือเป็นความท้าทายของเคลล็อกส์ในการปลุกกระแสอาหารเช้าแนวซีเรียลอีกครั้ง จากที่ผ่านมายอดขายซีเรียลได้รับผลกระทบจากกระแสความนิยมเมนูสุขภาพ ทำให้ซีเรียลที่มีส่วนผสมน้ำตาลได้รับความนิยมลดลง

ที่มา: Kellogg’s และ Reuters

from:https://brandinside.asia/kelloggs-cafe/