Fujitsu ตั้งเป้า สร้างโลกที่ยั่งยืน มุ่งแก้ปัญหาสังคม ในฐานะ DX Partner

การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและเป้าหมายของหลายประเทศเริ่มเปลี่ยนไป เห็นได้ชัดจากนโยบายต่อสิ่งแวดล้อมจากประเทศต่างๆ เพราะตระหนักดีแล้วว่าปรากฏการณ์ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดเริ่มปรากฏชัดเจนบ่อยครั้งมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เองระยะหลังมานี้ประเทศต่างๆจึงได้ตั้งเป้าใหม่เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อโลกแทนที่จะเป็นเป้าจากตัวเลขทางเศรษฐกิจเหมือนในอดีต

เช่นกัน Fujitsu ในฐานะผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีและเป็นส่วนหนึ่งในโลกใบใหญ่นี้ ที่งาน FujitsuActiveNow 2021 ที่เพิ่งจบลง บริษัทจึงได้ประกาศเป้าหมายเพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืน ด้วยการมุ่งแก้ปัญหาสังคมในภูมิภาคเอเชียเพราะถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเศรษฐกิจโลกและรากฐานของ Fujitsu

โควิด19 ทำให้โลกของเราเปลี่ยนไปมากนัก เพราะเมื่อการแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน องค์กรจึงโดนบังคับให้เร่งทำ Digital Transformation (DX) อย่างเร็วที่สุด ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบ New Normal โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ช่องทางการสื่อสารจากเดิมที่เจอหน้ากันกลายเป็นออนไลน์ผ่านหน้าจอ การทำธุรกิจจากช่องทางแบบเห็นหน้าลงสู่โลกออนไลน์ นอกจากเรื่องโรคระบาดแล้ว ปัญหาที่เรื้อรังอย่างความไม่เท่าเทียมก็เริ่มรุนแรงขึ้นอย่างชัดเจน

คุณโคจิ มาสุดะ รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียของฟูจิตสึ

ที่งานสัมมนา Fujitsu ActiveNow2021 ซึ่งเป็นงานสัมมนาใหญ่ประจำปี คุณโคจิ มาสุดะ รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียของฟูจิตสึ  จึงได้นำเสนอแนวทางและวิสัยทัศน์การเป็น DX Partner นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทางสังคม  ซึ่งคุณโคจิได้หยิบยกเอาผลคาดการณ์ของลักษณะธุรกิจในยุค New Normal มานำเสนอดังนี้

1.) Sustainability – องค์กรหลายแห่งมีแผนที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม หลังเผชิญปัญหาโรคระบาด เช่น โรคร้อน สังคมสูงอายุ ความไม่เท่าเทียม การขาดแคลนอาหาร และขยะ ไปจนถึงปัญหาขยะพลาสติกในทะเล โดยองค์กรเหล่านี้ต่างตระหนักว่าตนอยู่ในส่วนหนึ่งของภาพปัญหาที่จะต้องถูกแก้

2.) ฺBorderless – ภาพการทำงานขององค์กรได้ถูกปฏิวัติไปอย่างสิ้นเชิง ในรูปแบบที่เราเรียกว่า Work From Home ก่อนหน้ามีพนักงานราว 1 ใน 4 เท่านั้นที่ปฏิบัติในลักษณะนี้ได้ แต่พอโควิด มาถึงพนักงานอย่างน้อย 2 ใน 3 ต้องทำงานจากที่บ้านทันที และเมื่อโลกคุ้นชินแล้วคาดว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะยิ่งมีการเพิ่มขึ้นของพนักงานในรูปแบบนี้

3.) Business is Ecosystem – ในอดีตธุรกิจมุ่งแต่การผลิตสินค้าและบริการตามมาตรฐานเป็นหลัก แต่เทรนด์ในสมัยปัจจุบันธุรกิจต้องมองความต้องการจากผู้คน เพื่อนำมาสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์

4.) Resilience – ความยืดหยุ่นคือปัจจัยที่ทำให้องค์กรสามารถรับมือกับโควิด19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยผลสำรวจพบว่าองค์กรที่รับมือกับการแพร่ระบาดได้ดีกว่า 49% นั้นก็เพราะความสามารถในการปรับตัว รองลงมา 44% มาคือได้มีการเตรียมตัวทำ DX มาบ้างแล้วหรือเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงได้เร็วพอ และสุดท้าย 40% มองเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานเป็นเรื่องหลัก

5.) Trust Automation – จากความคิดเห็นของผู้บริหารราว 83% เชื่อในการใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนทิศทางการตัดสินใจขององค์กร โดย 82% วางแผนที่จะทำเรื่อง Automation และเกือบครึ่งหนึ่งหรือ 44% เชื่อว่าภายในปี 2025 กระบวนการทางธุรกิจกว่าครึ่งจะทำงานได้อย่างอัตโนมัติ นั่นแสดงให้เห็นถึงว่าธุรกิจมีความเชื่อมั่นในพลังแห่ง Automation

มุมมองของปัญหาทางสังคมและโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน

ทุกภูมิภาคย่อมมีปัญหาที่สะท้อนบริบททางสังคมในแถบนั้น อย่างไรก็ดีปัญหาทางสังคมยังมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศด้วย เช่น บางประเทศก็มีปัญหาขยะล้น รถติด น้ำท่วม คุณภาพอากาศ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความท้าทายอยู่ในทุกมุมมอง

ถึงกระนั้นเองภูมิภาคเอเซียก็ยังมีนัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก โดยจากข้อมูลพบว่าแม้ช่วงหลายปีหลังมานี้ อัตราการการเติบโตของตัวเลข GDP ในเอเชียจะหดตัวลง ยิ่งในปีก่อนถ้านับแค่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตัวเลขถือได้ว่าติดลบถึง 4% สอดคล้องกับเอเชียตะวันออกหดตัวเหลือแค่ 1.8% แต่เมื่อย้อนกลับมาดูตัวเลข GDP ที่เอเชียมีต่อเศรษฐกิจโลกนั้นกลับยังสูงขึ้น ที่ดูเหมือนจะไม่กี่ % ก็ตาม แต่คาดการณ์ว่าเมื่อโรคระบาดหายไป ภูมิภาคเอเซียนี้จะมีโอกาสเติบโตกลับมาเพิ่มสูง อย่างน้อยก็ถึงปี 2026 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า

นั่นสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของภูมิภาคที่ Fujitsu เองเล็งเห็นถึงโอกาสนี้ อย่างไรก็ดีเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมนี้ Fujitsu ที่มองตัวเองเป็น DX Partner ให้กับลูกค้า จึงได้ทุ่มเทบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีจากพันธมิตร สอดแทรกเข้าไปเป็นรากฐานทางธุรกิจที่สามารถใช้แก้ปัญหาทางสังคม

บทบาทของ Fujitsu กับการแก้ปัญหาทางสังคม

Fujitsu ได้แบ่งโจทย์ในการแก้ปัญหาทางสังคมออกเป็น 7 ด้านคือ

1.) Sustainability Manufacturing

มุ่งหน้าสร้าง Ecosystem ของภาคการผลิตอย่างต่อเนื่องและยืดหยุ่น ในหลายอุตสาหกรรมและประเทศต่างๆ ซึ่งด้วยความเชี่ยวชาญของ Fujitsu ทั้งด้าน AI และ HPC เชื่อแน่ว่าจะช่วยสร้างระบบ Supply Chain และเศรษฐศาสตร์แบบหมุนเวียน ที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้

2.) Consumer Experience

ผู้บริโภคแต่ละคนย่อมมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เองการใช้งานข้อมูลเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ถูกทางจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดย Fujitsu เองเชื่อว่าโอกาสเป็นของกลุ่มอุตสาหกรรมค้าปลีก ซึ่งต้องมีการปรับปรุงระบบ Supply Chain และวิธีการสร้าง Consumer Experience ที่สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนได้ ทั้งนี้ได้นำเสนอโซลูชัน Retail-as-a-Service เพื่อตอบสนองประสบการณ์ในการซื้อขายใหม่ๆ

3.) Healthy Living

สร้าง Infrastructure และนวัตกรรมที่สามารถเชื่อมโยงให้มนุษย์สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพในชีวิตประจำวัน โดยเทคโนโลยีคือฐานที่รวบรวมบริการของ การให้บริการทางสุขภาพ บริษัท รัฐบาล และผู้คนให้เชื่อมต่อกัน ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างสังคมที่ยึดเอาผู้คนเป็นศูนย์กลางอย่างเท่าเทียมโดยไม่มีความแตกต่าง

4.) Trusted Society

ผู้คนในส้งคมต้องสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ เช่น ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ซึ่งก็ต้องมีมาตรการอย่างยืดหยุ่นมากพอ โดยต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งรัฐ ประชาชนและพันธมิตรของ Fujitsu เพื่อแก้ปัญหาทางสังคม โดย Fujitsu เองคำนึงถึงเรื่องสภาพแวดล้อมเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้ผู้คนได้อยู่ที่โลกที่สันติและรุ่งเรืองสืบไป

5.) Digital Shifts

ผู้คนคือผู้สร้างคุณค่าให้แก่องค์กร แต่การที่จะนำข้อมูลและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเกิดประโยชน์ได้นั้น องค์กรจำต้องมีกระบวนการที่รวดเร็วและยืดหยุ่น ซึ่ง Fujitsu ได้นำเสนอโซลูชัน Digital Shifts ที่จะเป็นรากฐานให้องค์กรได้มาซึ่งปัจจัยนั้น ต่อยอดไปเป็นความสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างสูงสุด

6.) Business Application

โลกปัจจุบันบริการและการปฏิบัติงานขององค์กรต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และต้องทำอย่างชาญฉลาด ถึงจะสามารถสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้ Fujitsu ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเอาทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญร่วมกับพาร์ทเนอร์ เข้ามาช่วยเหลือลูกค้าในการทำ Digitization ตั้งแต่การ Migrate, Modernizing, Developing, Deploy และการรันแอปบนคลาวด์หรือ Hybrid

7.) Hybrid IT

Fujitsu เล็งเห็นว่า Digital Touch Point คือจุดที่เชื่อมโยงบริการและข้อมูลทุกสิ่งในระบบเอาไว้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ตนจะต้องสร้าง Infrastructure ที่น่าเชื่อถือและมั่นคงปลอดภัยให้ลูกค้ามีความมั่นใจได้ว่า ผู้คน สินค้า และทรัพย์สินดิจิทัลของท่านอยู่ในสถานะที่ปลอดภัย

credit : Fujitsu

นอกจากนี้ Fujitsu ยังได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่ตนได้ปฏิวัติองค์กรภายในเพื่อตอบโจทย์ใน DX 4 ด้านคือ การยุบรวมแอปทางธุรกิจ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงออฟฟิศ ใส่ใจกับการใช้ชีวิตและงานได้อย่างลงตัว และการจัดอีเวนต์ออนไลน์ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแนวทางให้องค์กรที่สนใจสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้กับตัวเองได้

และสุดท้ายคุณโคจิจึงได้กล่าวถึงการจัดตั้งแบรนด์ธุรกิจใหม่ที่ชื่อ Fujitsu Uvance เพื่อตอบสนองเป้าหมายที่ Fujitsu วางไว้ข้างต้นอย่างจริงจังนับแต่นี้ โดยวางตัวเองเป็น DX Partner ที่มาพร้อมกับ Ecosystem ทางเทคโนโลยี พร้อมนำส่งนวัตกรรมความก้าวหน้าใหม่ๆ เพื่อเข้าไปแก้ปัญหาทางสังคม และนำรอยยิ้มมาสู่เอเชียของเรา

from:https://www.techtalkthai.com/sustainable-future-plans-by-fujitsu-in-activenow2021/