คลังเก็บป้ายกำกับ: UNIVERSAL_ROBOTS_UR10

[PR] ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์: ผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของเดนมาร์ก มีรายรับเติบโตถึง 91%

กรุงเทพฯ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559 – เป็นเรื่องที่สร้างความฮือฮาอย่างมากเมื่ออเมริกัน เทราไดน์ ( American Teradyne ) ยอมจ่ายมากกว่า 285 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นค่าหุ้นทั้งหมดในบริษัทยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก เมื่อฤดูสปริงปี พ.ศ. 2558 ราคาของบริษัทธุรกิจที่มีพนักงาน 150 คนในเดนมาร์กนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังต่ออัตราการเติบโตขยายตัวอย่างมีนัยยะสำคัญของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตลาดนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่อุบัติขึ้นใหม่ที่เรียกว่า หุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ ( collaborative robots ) หรือ cobots ซึ่งมีสนนราคาต่ำ ใช้งานง่าย และเป็นหุ่นยนต์ที่ตั้งโปรแกรมใช้งานได้ง่ายไม่ซับซ้อนยุ่งยาก สามารถที่จะปฏิบัติงานเคียงข้างคนงานในสายการผลิต เพื่อปรับปรุงคุณภาพ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมคิดค้นสร้างสรรค์หุ่นยนต์ cobot ตัวแรกของโลก

universal-robot-manufacture-industry3

หุ่นยนต์ cobot ตัวแรกของโลกวางตลาดเมื่อธันวาคม 2008 และในปี 2015 ประมาณมูลค่าตลาดที่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาด cobot นี้น่าที่จะมีมูลค่าขึ้นไปได้ถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐจากประมาณการณ์ของนักวิเคราะห์ ภายในปี 2020 ดังนั้นผู้คิดค้นบุกเบิกแถวหน้าอย่างบริษัทจากเดนมาร์กนี้จึงถือว่าได้สร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้แก่เทราไดน์ ด้วยภาคส่วนธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด

รายรับในปี 2015 ของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์อยู่ที่ 418 ล้านโครนเดนมาร์ก ( ประมาณ 61.65 ล้านเหรียญสหรัฐ ) เติบโต 91 เปอร์เซ็นต์เทียบกับปี 2014 และ 223 เปอร์เซ็นต์เทียบกับปี 2013 ผลกำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ 65.4 ล้านโครนเดนมาร์ก ( ประมาณ 9.65 ล้านเหรียญสหรัฐ ) เพิ่มขึ้น 122เปอร์เซ็นต์เทียบกับปี 2014 นั่นหมายความว่าผู้ผลิตหุ่นยนต์มีอัตรารายได้เพิ่มขึ้นและลดค่าใช้จ่ายต่อการผลิตหุ่นยนต์หนึ่งยูนิต – และดังนั้นจึงได้รับประสิทธิภาพสูงขึ้นในปี 2015 จากผลกำไรที่เติบโตแซงหน้ายอดรายรับที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา ยอดขายรายปีของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ การผลิตแขนหุ่นยนต์ทั้งหมดอยู่ที่เมืองโอเดนส์ และจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย 200 ราย ด้วยยอดขาย 45 เปอร์เซ็นต์จากยุโรป 30 เปอร์เซ็นต์จากอเมริกา และ 25 เปอร์เซ็นต์ในเอเชียในปี 2015

ภาวะการเงินที่แข็งแกร่งของเทราไดน์ที่ได้เข้าซื้อยูนิเวอร์แซล โรบอทส์นั้นจะเตรียมความพร้อมในการลงทุนเพื่อรักษาความเป็นผู้นำของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ในด้านหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ทีมงานนักพัฒนาหุ่นยนต์ที่ได้เติบโตขึ้นเมื่อปี 2015 ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในแผนกพัฒนาที่เมืองโอเดนส์

“ในปีต่อ ๆ ไปข้างหน้า เราคาดว่าตลาดสำหรับหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ได้นั้น จะเติบโตขยายตัวขึ้นอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละปี จากความสามารถในการคืนทุนที่รวดเร็ว โดยปกติแล้วภายในระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน” เอ็นริโก ครอก ไอเวอร์เซน ซีอีโอ ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ กล่าว “เราเป็นผู้นำตลาดอย่างไม่ต้องสงสัย และเพิ่มอัตราการลงทุนด้านวิศวกรรม การจำหน่าย และการดูแลลูกค้าเพื่อต่อยอดตลาดของเรา แม้ว่าผมจะมิได้เป็น แม้ว่าผมจะละจากตำแหน่งซีอีโอมาเป็นที่ปรึกษาของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ซึ่งจะมีผลภายในปีนี้ก็ตาม ผมมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่ายูนิเวอร์แซล โรบอทส์จะพัฒนาแข็งแกร่งต่อไปภายใต้นโยบายที่ชัดเจนด้วยคำสั้น ๆ สามคำดังนี้: มุ่งมั่น เรียบง่าย และไม่ย่อท้อต่อการสร้างผลงาน”

เอ็นริโก ครอก ไอเวอร์เซน ซีอีโอ ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์
เอ็นริโก ครอก ไอเวอร์เซน ซีอีโอ ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์

 

เกี่ยวกับยูนิเวอร์แซล โรบอทส์

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นผู้บุกเบิกด้านหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ ( collaborative robotics ) รายแรก รวมทั้งเป็นผู้นำตลาดและผู้ผลักดันหลักของเทคโนโลยีด้านนี้เป็นรายแรก ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทประกอบด้วย หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ UR3 UR5 และ UR10 หุ่นยนต์แขนกลเหล่านี้ตั้งชื่อรุ่นตามน้ำหนักที่รับในหน่วยกิโลกรัม ตั้งแต่ UR ตัวแรกก้าวเข้าสู่ตลาดเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2551 บริษัทก็ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำตลาดได้ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกที่ให้ความสนใจในการนำหุ่นยนต์มาใช้งาน ระยะเวลาในการคืนทุนโดยเฉลี่ยสำหรับหุ่นยนต์ UR นี้เพียง 195 วันเท่านั้นถือเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทยูนิเวอร์แซล โรบอทส์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก พร้อมด้วยงานพัฒนาวิจัยและผลิต บริษัทมีสาขาและสำนักงานภูมิภาคในประเทศสหรัฐอเมริกา สเปน เยอรมนี สิงคโปร์ และจีน มีพนักงานมากกว่า 200 คนทั่วโลก สนใจเยี่ยมชมเว็บไซต์ ได้ที่ www.universal-robots.com

from:https://www.techtalkthai.com/universal-robots-91-percent-business-growth/

[PR] ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ก้าวไกลระดับโลกได้ด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เสริมคุณภาพและความยืดหยุ่นคล่องตัวในการรับงาน

บทความโดย เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เฟอร์นิเจอร์ไม้และโลหะ ชิ้นส่วนประกอบเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งเตียงนอนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าหลากหลายที่ผู้ผลิตเพื่อส่งออกชาวไทยได้ส่วนแบ่งตลาดที่สวยงามในตลาดต่างประเทศ เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไทยในช่วงปีที่ผ่านมาเป็นที่รู้จักยอมรับในฝีมือด้าน “นวัตกรรม” หรือ “ความคิดสร้างสรรค์” จนมาวันนี้ นักออกแบบหน้าใหม่และช่างฝีมือที่รุ่มรวยทักษะก็ยังเป็นกลจักรสำคัญที่ทำให้สินค้าส่งออกจากไทยนั้นโดดเด่นได้รับความสนใจเหรือสินค้าจากคู่แข่งอื่น ๆ ในตลาด

universal-robot-furniture-industry

ภาพรวมการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยมีอนาคตที่แจ่มใส คาดการณ์อัตราการเติบโตเชิงบวก[1] ด้วยเป็นภาคส่วนที่แข็งแกร่งของสินค้าส่งออกของไทยมาโดยตลอด นำโดยธุรกิจที่มีการวางแผนการขยายงานเชิงกลยุทธ์ และรองรับด้วยโรงงานผลิตที่พรั่งพร้อมด้วยเครื่องจักรอุปกรณ์ครบครัน อย่างไรก็ตาม ตลาดเฟอรนิเจอร์เองก็นับว่ามีความท้าทายเพิ่มขึ้นท่ามกลางอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ผันผวนและกฎระเบียบข้อบังคับที่บีบรัดยิ่งขึ้นทุกวัน[2]

ตัวอย่างหนึ่งได้แก่ คลื่นการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากยุโรปเพิ่มขึ้นทันทีการที่ค่าเงินสกุลดอลล่าร์อ่อนตัวลง เบียดแย่งการแข่งขันส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศอย่างเข้มข้น ค่าใช้จ่ายในการผลิตสำหรับผู้ผลิตภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลจากการบังคับใช้ระบบคุ้มครองไม้ของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตถูกบีบให้รับรองแหล่งวัตถุดิบที่ได้มาอย่างถูกกฎหมายของสินค้าส่งออก ยังผลให้มีการควบคุมที่แน่นหนาขึ้นด้านไม้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ผู้ผลิตภายในประเทศเหล่านี้ถูกบีบให้ปรับแผลงานกลยุทธ์การตลาดเพื่อรับมือการเติบโตในระยะยาว

หุ่นยนต์ที่เป็นได้มากกว่าหุ่นยนต์

ความก้าวหน้าขั้นหลุดพ้นของเทคโนโลยีที่เป็นที่ฮือฮากันทุกวันนี้มักจะเกี่ยวกับหุ่นยนต์และการทำออโตเมชั่นเชิงอุตสาหกรรม ด้วยการค้นพบวัสดุน้ำหนักเบา พัฒนาการของซอฟต์แวร์ที่ตั้งโปรแกรมได้ง่ายรวมทั้งฮาร์ดแวร์อื่น ๆ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมได้วิวัฒนาการมาไกลมาก จนถึงจุดที่ทุกวันนี้เราเรียกว่า – การทำงานร่วมกันของมนุษย์และหุ่นยนต์ ( collaborative ) ซึ่งหุ่นยนต์ที่มีศักยภาพเช่นนี้ หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า co-bots นั้นเอื้อประโยชน์ให้ผู้โอเปอเรเตอร์สามารถทำงานเคียงข้างหุ่นยนต์ได้อย่างปลอดภัยในสถานที่แคบ ๆ ซึ่งต้องมีการประเมินความเสี่ยงในการทำงาน เมื่อผนวกกับความสามารถที่จะช่วยผู้ผลิตปรับปรุงประสิทธิภาพปฏิบัติการของโรงงานด้วยกรทำชิ้นงาน เช่น บรรจุหีบห่อและจัดเรียงเพื่อความสะดวกในการขนย้าย เป็นต้น และ co-bots ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

universal-robot-furniture-industry-2

ปลดล็อคเพื่อก้าวสู่ความเป็นไปได้ทั้งมวลเชิงการผลิต

ศักยภาพการผลิต ( Scale of production ) คือจุดได้เปรียบของคู่แข่งที่ผลิตเพื่อค้าส่งปริมาณมากในต่างแดน เนื่องจากมี economies of scale จึงสามารถตั้งราคาสินค้าให้ซื้อหาได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม ขณะที่ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง น่าจะเป็นประโยน์มากกว่าที่จะพุ่งเป้าการปรับปรุงไปที่การสร้างมาตรฐานคุรภาพ และความยืดหยุ่นในการผลิตด้วยการอาศัย co-bots เป็นตัวช่วย

นอกจากการออกแบบ คุณภาพของเฟอร์นิเจอร์ก็เป็นประเด็นสำคัญ รวมทั้งการประกอบและการตกแต่งขั้นสุดท้าย ทุกวันนี้ แม้แต่มือสมัครเล่นก็สามารถบอกความแตกต่างระหว่าง งั้น ๆ กับ ยอดเยี่ยม ได้เมื่อเห็นจุดบกพร่องที่พบจากการใช้งาน หรือผิวแตก รอยเม็ดข้าวเล็ก ๆ บนพื้นผิวไม้ เป็นต้น เพื่อรักษาชื่อเสียงที่ดี ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ของไทยจำเป็นต้องมีวิธีการที่สร้างความมั่นใจได้ว่าสินค้าจะมีมาตรฐานสูง คงคุณภาพสม่ำเสมอ และการผลิตที่มีคุณภาพเยี่ยม ทั้งนี้ Co-bots สามารถที่จะช่วยได้ในจุดนี้ด้วยการเคลื่อนไหวที่ตั้งโปรแกรมด้วยความแม่นยำ เคลื่อนไหวเที่ยงตรงทุกกระเบียด จึงลดความผิดพลาดในกระบวนการผลิต ลดเวลาที่สูญเสียไป และลดวัสดุทิ้งเปล่า

universal-robot-furniture-industry-3

เนื่องจากบริษัทส่วนมากจะออกแบบสินค้าของตนให้ดึงดูดใจผู้ซื้อตลาดต่างประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลิตให้ได้ตามรายละเอียดการสั่งซื้อ การที่หุ่นยนต์สามารถรับการตั้งค่าโปรแกรมใหม่ได้โดยง่าย และยังเคลื่อนย้ายสะดวกจะช่วยให้โรงงานผลิตรองรับสายการผลิตหลากหลายรูปแบบได้ดี สามารถนำมาติดตั้งยังที่ ๆ ต้องการเพื่อลดการกระจุกตัวของงานผลิตในจุดใดก็ตามที่เกิดขึ้น ช่วยผู้ผลิตให้ส่งงานได้ตรงเวลาโดยไม่ไปสะดุดตารางเวลาการตลาดที่วางไว้เลย

ศักยภาพในการแข่งขันในตลาดระดับโลก

การแข่งขันเชิงพานิชย์ในตลาดโลกนั้นมีความบอบบาง และย่อมจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือผู้เล่นอื่น ๆ การนำ co-bots มาใช้งาน ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไทยก็น่าที่จะสร้างความโดดเด่นชัดเจนในตลาดที่หลากสีสัน ผ่านฝีมือการผลิตและการจัดส่งสินค้าที่ทรงคุณค่าเชิงนวัตกรรม คุณภาพสูง ได้ตรงตามกำหนดเวลา

เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

 

เกี่ยวกับยูนิเวอร์แซล โรบอทส์

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นผลแห่งความสำเร็จในการวิจัยค้นคว้าด้านหุ่นยนต์อย่างหนักหน่วงติดต่อกันหลายปี ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทประกอบด้วย หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ UR3 UR5 และ UR10 หุ่นยนต์แขนกลเหล่านี้ตั้งชื่อรุ่นตามน้ำหนักที่รับในหน่วยกิโลกรัม

ตั้งแต่ UR ตัวแรกก้าวเข้าสู่ตลาดเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2551 บริษัทก็ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำตลาดได้ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกที่ให้ความสนใจในการนำหุ่นยนต์มาใช้งาน ระยะเวลาในการคืนทุนโดยเฉลี่ยสำหรับหุ่นยนต์ UR นี้เพียง 195 วันเท่านั้นถือเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทยูนิเวอร์แซล โรบอทส์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก พร้อมด้วยงานพัฒนาวิจัยและผลิต เป้าหมายการจำหน่ายทั่วโลกอยู่ที่ การเติบโตยอดรายได้เท่าตัวทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2560 สนใจเยี่ยมชมเว็บไซต์ ได้ที่ www.universal-robots.com

[1] The Nation, January 2016 http://www.nationmultimedia.com/business/Thai-exports-will-return-to-growth-this-year-30276048.html

[2] Bangkok Post, February 2015 http://m.bangkokpost.com/business/478810

from:https://www.techtalkthai.com/universal-robot-furniture-industry/

[PR] ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อหนุนธุรกิจสู่ตำแหน่งผู้นำอุตสาหกรรมยา โดย เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

อุปสงค์ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประเทศไทยรวมไปถึงเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์และมาเลย์เซีย อัตราการเติบโตของการยอมรับการลงทุนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่างเพิ่มขึ้น ดังข้อมูลของสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ ( IFR ) ปรากฎว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วในแถบเอเชียด้วยตัวเลขประเมินจำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในสต็อกที่เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างน้อย 4,000 ยูนิตนับแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2560[1] ผู้ผลิตต่างสนใจลงทุนกับเทคโนโลยีนี้เพราะมีข้อได้เปรียบเชิงธุรกิจหลายประการ เช่น เพิ่มศักยภาพการผลิต และลดค่าใช้จ่าย

Universal Robots

ภาคส่วนสาธารณสุขของไทยเติบโต

เมื่อปีพ.ศ. 2545 ที่ไทยเปิดตัวโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชากรไทยได้รับการประกันสุขภาพ ปลุกเร้าการเติบโตธุรกิจเภสัชกรรม ให้กลายมาเป็นตลาดขนาดใหญ่เป็นที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องมีขนาดเป็นสองเท่าภายในปี พ.ศ. 2563 เวลานี้ อุตสาหกรรมยา และเภสัชกรรมเติบโตรับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

การส่งออกเภสัชกรรมมีมูลค่าประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งไปยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียตนามและกัมพูชา ภายในปี พ.ศ. 2563 จะมีผู้มีอายุ 60ปี เป็น 18% ของจำนวนประชากรในประเทศ เทียบอัตราส่วนกับประชากรวัยทำงาน 6:1[2] ดังนั้น จากจำนวนประชากรสูงอายุของประเทศที่เพิ่มขึ้นคาดได้ว่าส่งผลต่อการเติบโตในภาคส่วนสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ภาครัฐฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมสาธารณสุข เห็นได้จากงบประมาณสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณภาพ ( value chain )[3] มุ่งหวังให้ก้าวทันความต้องการที่ขยายตัว ดังนั้น ผู้ผลิตทั้งหลายจึงมีความจำเป็นต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นกุญแจสำคัญสำหรับผู้ผลิตในการเข้าโค้งสู่เส้นชัย

พัฒนาการของหุ่นยนต์

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ปลดลูกตุ้มน้ำหนัก รวมทั้งลดอัตราก๊าซคาร์บอนของหุ่นยนต์ แขนกลหุ่นยนต์ที่รับน้ำหนักได้ ( payload ) 3 ก.ก. มีน้ำหนักเพียง 11 ก.ก. เท่านั้น และปริมาณก๊าซคาร์บอนเพียง 5 นิ้ว เรื่องของความปลอดภัยก็เป็นอีกประเด็นที่ไม่ต้องกังวลเลย ด้วยฟีเจอร์ที่ฝังมากับในแขนกลที่สามารถรับสัมผัสแรงกระแทก ซึ่งหุ่นยนต์จะหยุดการเคลื่อนไหวเมื่อสัมผัสสิ่งสัมผัสกีดขวางเส้นทางการเคลื่อนที่ ทำให้รั้วกั้นเพื่อความปลอดภัยก็จะไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป หลังจากการประเมินความเสี่ยงแล้ว

ประโยชน์ที่โดดเด่นเช่นนี้ทำให้หุ่นยนต์เหมาะอย่างยิ่งต่อการใช้งานในการผลิตทางเภสัชกรรม ภายในพื้นที่การผลิตที่มีความหนาแน่นของคนต่อตารางฟุตสูง เพราะอาศัยคนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ความท้าทายเช่นนี้สามารถจัดการได้ด้วยหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ ทำงานคู่ไปกับคนผู้ควบคุมเครื่องจักรกล หุ่นยนต์จึงเป็นตัวผลักดันกำลังการผลิต เพิ่มความคล่องตัวในโรงงานในส่วนต่าง ๆ เช่น การประกอบชิ้นส่วนและบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์ทางการแพทย์ การเตรียมใบสั่งจ่ายเภสัชการสำหรับร้านขายยาและโรงพยาบาล

หุ่นยนต์เพื่อการผลิตในภาคส่วนงานสาธารณสุข

ศักยภาพและคุณภาพของการผลิตจะเกิดประโยชน์เมื่อติดตั้งหุ่นยนต์ในจุดต่าง ๆ อย่างมีกลยุทธ์บนสายพานการผลิตซึ่งต้องใช้ความเที่ยงตรงแม่นยำ เช่น งานผลิตเครื่องช่วยฟัง ซึ่งขนาดของคอมโพเน้นท์ที่จำเป็นต้องใช้มีขนาดเล็กมาก ท้าทายศักยภาพการผลิตที่ต้องรับมือให้ได้ ซึ่งเป็นจุดที่หุ่นยนต์สามารถเข้ามาช่วยจัดการกับชิ้นส่วนที่มีขนาดเป็นเพียงมิลิเมตรเท่านั้นได้ด้วยความแม่นยำ ไม่ก่อความเสียหายต่อองค์ประกอบสำคัญ ๆ อื่นที่เกี่ยวข้อง วิธีนี้ไม่ลดคุณภาพและยังเร่งอัตราความเร็วในการผลิตได้อีกด้วย หุ่นยนต์ทำงานได้เร็วเพียงไม่กี่วินาทีต่อรอบเท่านั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารสายการผลิตและคอมโพเน้นท์ที่ใช้งาน

นอกจากนี้ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ติดตั้งใช้ในโรงงานนั้นสามารถทำการตั้งโปรแกรมได้ง่าย คล่องตัวและยืดหยุ่นในการใช้งาน เคลื่อนย้ายสะดวก ปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อย มีฟีเจอร์และอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่ายแบบบิลท์อิน ทำให้ผู้ผลิตได้เปรียบอย่างยิ่งยามต้องตัดสินใจเชิงธุรกิจ สามารถก้าวกระโดดได้รวดเร็ว รองรับวิศวกรรมการแพทย์ และหมายถึงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่สั้นลง กระบวนการผลิตต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตอบสนองทั้งคอมโพเน้นท์ใหม่ที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา และรับขนาดที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ยาปริมาณเพียงเล็กน้อย จนถึงแคปซูลขนาดใหญ่ เป็นการช่วยลดเวลาในการวางสินค้าออกสู่ตลาด และกำจัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องลงไปกับการปรับปรุงยกเครื่องสายพานการผลิต

universal-robot-pharmaceutical-industry-2

อนาคตสดใส

ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมด้านสาธารณสุขที่กำลังขยายตัว ส่งสัญญานมายังภาคส่วนเภสัชกรรมให้เร่งพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการผลิต และความสามารถในการแข่งขัน ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น และรักษาตำแหน่งผู้นำในการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมให้ดี อัตราการเติบโตและตำแหน่งทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสาธารณสุขของประเทศในทศวรรษต่อไปน่าจะขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตเลือกที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในธุรกิจของตนเองหรือไม่นั่นเอง

universal-robot-pharmaceutical-industry

 

เกี่ยวกับยูนิเวอร์แซล โรบอทส์

UR Logotype

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นผลแห่งความสำเร็จในการวิจัยค้นคว้าด้านหุ่นยนต์อย่างหนักหน่วงติดต่อกันหลายปี ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทประกอบด้วย หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ UR3, UR5 และ UR10 หุ่นยนต์แขนกลเหล่านี้ตั้งชื่อรุ่นตามน้ำหนักที่รับในหน่วยกิโลกรัม

ตั้งแต่ UR ตัวแรกก้าวเข้าสู่ตลาดเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2551 บริษัทก็ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำตลาดได้ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกที่ให้ความสนใจในการนำหุ่นยนต์มาใช้งาน ระยะเวลาในการคืนทุนโดยเฉลี่ยสำหรับหุ่นยนต์ UR นี้เพียง 195 วันเท่านั้นถือเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทยูนิเวอร์แซล โรบอทส์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก พร้อมด้วยงานพัฒนาวิจัยและผลิต เป้าหมายการจำหน่ายทั่วโลกอยู่ที่ การเติบโตยอดรายได้เท่าตัวทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2560 สนใจเยี่ยมชมเว็บไซต์ ได้ที่ www.universal-robots.com

[1] International Federation of Robotics, 2014 http://www.ifr.org/industrial-robots/statistics/)

[2] Bangkok Post, April 2013 http://www.bangkokpost.com/tech/local-news/346542/thailand-robot-revolution-is-rising

[3] Pharmaphorum, April 2014 http://www.pharmaphorum.com/articles/thailand-pharmaceutical-market-update-2014

from:https://www.techtalkthai.com/universal-robot-pharmaceutical-industry/