คลังเก็บป้ายกำกับ: TRADEWAR

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ไทยได้ประโยชน์จากสงครามการค้าเล็กน้อย ต้องเร่งทำ FTA เพื่อดึงเงินลงทุนมากกว่านี้

บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกสิกรชี้ไทยได้ประโยชน์จากสงครามการค้าเล็กน้อย และประเทศที่ได้ประโยชน์มากกว่าคือมาเลเซีย และเวียดนาม นอกจากนี้ในบทวิเคราะห์ยังแนะนำให้ไทยเร่งการทำ FTA กับประเทศอื่นๆ เพื่อที่จะไม่ให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน

Bangkok Port ท่าเรือ กรุงเทพ
ภาพจาก Shutterstock

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ออกบทวิเคราะห์ที่ชี้ให้เห็นว่า ไทยนั้นได้ประโยชน์จากสงครามการค้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในช่วงที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แต่สิ่งที่สำคัญที่จะฟื้นภาคการส่งออกของไทยหลังจากนี้นั้น ไทยจะต้องเพิ่มความตกลงทางการค้า หรือ FTA ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะฟื้นตัวของการส่งออกของไทย รวมไปถึงยังนำเม็ดเงินการลงทุนจากต่างประเทศมาที่ไทยด้วย

ในบทวิเคราะห์ได้ชี้ถึงภาคการส่งออกของไทยในช่วง 2-3 ปีท่ีผ่านมาเผชิญอุปสรรคหลายอย่าง เช่นเดียวกับประเทศ อื่นๆ ในภูมิภาค โดยที่ไทยได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งส่งผลทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยช่วงที่ผ่านมาถดถอยมาโดยตลอด

ขณะที่การระบาดของ COVID-19 กลับได้ซ้ำเติมความเสียหายให้ภาคการส่งออกไทยรุนแรงข้ึนอีกครั้ง ทำให้การส่งออกไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีน้ีหดตัวถึง 7.3% เมื่อเทียบกับปี 2019 ที่ผ่านมา ทั้งนี้เมื่อไทยมีมาตรการปิดเมืองและควบคุมการระบาดของ COVID-19 ประสบผลสำเร็จในหลายประเทศ ความต้องการในตลาดโลกนั้นเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นและหนุนให้การส่งออกในทวีปเอเชียฟื้นตัวตามไปด้วย อย่างไรก็ดีระดับการฟื้นตัวของแต่ละประเทศกลับไม่เท่ากัน โดยที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ฟื้นตัวได้ช้า

บทวิเคราะห์ได้กล่าวถึงสาเหตุสำคัญของภาคการส่งออกไทยที่ฟื้นตัวได้ช้า เช่น

  • โครงสร้างสินค้าส่งออกไทยเป็นปัจจัยหลักทำให้ภาคการส่งออกฟื้นตัวช้า จากสินค้าเช่น ยานยนต์และอะไหล่ยานยนต์ ที่ในช่วงของ COVID-19 ความต้องการลดลง ขณะที่สินค้าสำคัญอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยในช่วงการล็อกดาวน์นั้นกลับเติบโตอย่างมาก จากปัจจัยของการทำงานที่บ้าน อย่างไรก็ดีสัดส่วนของสินค้าประเภทนี้ของไทยถือว่ามีเพียงแค่ 14% จากการส่งออกทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ฟิลิปปินส์มีสัดส่วนมากถึง 49% มาเลเซีย 34% เวียดนาม 37%
  • ความต่อเนื่องของนโยบาย ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญจากการลงทุนของต่างชาติ โดยที่ผ่านมาเราจะเห็นบริษัทจากต่างประเทศย้ายฐานการผลิตออกจากไทยเป็นจำนวนมาก และในบทวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมานมากกว่าทศวรรษ ไทยยังคงอยู่ในวังวนของการเปลี่ยนแปลง ทำให้การดำเนินนโยบายท่ีไม่ต่อเนื่องไม่เป็นผลดีต่อการลงทุนจากต่างชาติ ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตของการส่งออก นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอุปสรรคด้านข้อระเบียบต่างๆ ที่ประเทศอื่นๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น เวียดนาม
  • การขาดแคลน FTA กับประเทศต่างๆ ในบทวิเคราะห์ได้กล่าวถึง FTA ที่ไทยได้ทำข้อตกลงคือ FTA กับประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี 2007 แต่ถ้าหากคิดรวม FTA ที่ไทยได้ทำกับประเทศต่างๆ กว่า 13 ฉบับจะมีผลกับประเทศ 18 ประเทศเท่านั้น แตกต่างกับ FTA ของเวียดนามที่ทำเพียงแค่ 12 ฉบับแต่มีผลมากถึง 53 ประเทศ ทำให้ส่งออกสินค้าได้มากกว่า

นอกจากนี้ในช่วงที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน มีความรุนแรงนั้น ประเทศไทยไม่ได้ถูกมองเป็นเป้าหมายหลักของการย้ายฐานการผลิตจากจีน ในบทวิเคราะห์ยังแสดงข้อมูลว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไทยกลับไม่ได้รับผลประโยชน์ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าทดแทนประเทศจีนไปยังสหรัฐฯ ในช่วงสงครามการค้า แต่กลับเป็นเวียดนามและมาเลเซียที่ได้ประโยชน์ โดยเปรียบเทียบการนำเข้าเครื่องจักรและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ และสินค้าที่สหรัฐฯ กำหนดภาษีนำเข้าจากจีนในช่วงก่อนและหลงัสงครามการค้าพบว่า สหรัฐฯ ได้ลดการนำเข้าสินค้าจากจีนและมานำเข้าสินค้าจากหลายๆ ประเทศในเอเชียทดแทน

สำหรับทางออกในเรื่องนี้นั้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ไทยจะต้องเร่งการเจรจา FTA กับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ไม่ว่าจะเป็น สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศนอร์ดิก เช่น เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซแลนด์ นอรเ์วย์ และสวีเดน เพื่อดึงดูดการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า รวมถึงโครงการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยสนับสนุน ให้มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/thai-benefit-from-trade-war-is-lower-than-malaysia-or-vietnam-k-research-says-23-nov-2020/

จีนเอาคืน! จ่อขึ้นภาษีสหรัฐฯ 75,000 ล้านดอลลาร์ กลางธ.ค.เตรียมขึ้นภาษีรถยนต์ 25%

สงครามการค้าเหมือนจะปะทุบ่อยครั้ง เมื่อสหรัฐฯ ข่มขู่จีนด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า แน่นอนว่าประเทศมหาอำนาจอย่างจีนก็ยอมไม่ได้

จีนตอบโต้เตรียมขึ้นภาษีสินค้านำเข้าสหรัฐ 2 รอบในปีนี้

กระทรวงพาณิชย์ของจีน ประกาศว่า ในวันที่ 1 ก.ย. 2019 จะบังคับใช้การเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐราว 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,317,500 ล้านบาท) เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน

ส่วนวันที่ 15 ธ.ค. 2019 คาดว่าจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าหมวดยานยนต์ (Auto) 25% จากสหรัฐ

ที่มา Bloomberg, reuters

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/china-tariff-us-75000/

CIMBT ชี้เศรษฐกิจไทยต้นปี 2019 “กำลังซื้อต่ำ-ตจว.แย่-ส่งออกติดลบ-รัฐลงทุนช้า”

เศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง ว่าแต่ผลสรุปภาพรวม GDP ไทยไตรมาส 1 จะเป็นอย่างไร? และหลังจากนี้ทั้งปี 2019 จะเป็นอย่างไร?

CIMBT คาดสภาพัฒน์เปิดตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2019 โต 3.1%

อมรเทพ จาวะลา ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMBT) บอกว่า วันที่ 21 พ.ค. 2019  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) จะรายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ของปีนี้ ทางสำนักวิจัยคาดว่า GDP ไทยไตรมาส 1/2019 จะเติบโต 3.1% เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ปัจจัยบวกมาจากการบริโภคภาคเอกชนเติบโตต่อเนื่อง เช่น กลุ่มรถยนต์ กลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ขนส่ง และการสื่อสาร แสดงให้เห็นว่ากำลังซื้อในระดับกลาง-บนยังอยู่ในภาพที่ดี ขณะเดียวกันกำลังซื้อระดับล่างยังอ่อนแอ โดยเฉพาะรายได้ภาคเกษตร และรายได้นอกภาคการเกษตรอาจเติบโตน้อย ส่วนการลงทุนของภาครัฐยังล่าช้า การส่งออกคาดว่าจะติดลบ และการท่องเที่ยวเติบโตเพียงเล็กน้อย

ไตรมาส 2 และเศรษฐกิจไทยปีนี้ต้องลุ้นเรื่องอะไรบ้าง?

ทางสำนักวิจัยคาดว่าเศรษฐกิจไทยอาจโตช้า คาดว่าทั้งปี 2019 GDP ไทยจะโต 3.7% เมื่อเทียบชวงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยความเสี่ยงหลักที่จะกดดันเศรษฐกิจไทยจะมาจากภาคต่างประเทศเป็นหลัก ได้แก่

ภาพจาก Shutterstock
  • สงครามการค้า (Trade war) ระหว่างสหรัฐฯ และจีน อาจทำให้การส่งออกไทยติดลบทั้งไตรมาส 1 ไปถึงไตรมาส 2 ทำให้การส่งออกอาจโตต่ำกว่า 3-4% ผลกระทบหลักหากทั้ง 2 ประเทศเจรจาไม่สำเร็จ จะทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอ ทำให้ไทยและอาเซียนส่งออกสินค้าไปจีนได้ยากขึ้น
  • ค่าเงินบาทยังกลับมาแข็งค่าขึ้นเพราะตลาดกังวลเรื่อง Trade war จากเดิมที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเพราะไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูง มีรายได้ท่องเที่ยวมาก และปัจจุบันราคาน้ำมันลดลงทำให้ประเทศไทยเกินดุลการค้ามากขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าปัจจัยต่างๆ ในตลาดโลกมีความชัดเจนค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าแตะระดับ 32.00 บาต่อดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนปัจจัยเสี่ยงในประเทศไทยต้องจับตา 3 ปัจจัย ได้แก่

  • หากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าจะทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนออกไป โดยนักลงทุนจับตามองความต่อเนื่องนโยบายต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โครงส้างพื้นฐานรถไฟสายต่างๆ ฯลฯ
  • ความเสี่ยงจากกำลังซื้ือระดับล่างต่ำ แต่มีหนี้สูง ทำให้เศรษฐกิจในต่างจังหวัดยังแย่ แม้ว่าจะมีเงินอุดหนุนจากภาครัฐเพิ่ม แต่ต้องรอความชัดเจนรัฐบาลเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ การเจรจา FTA กับ EU จึงจะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว
  • จับตาธนาคารกลางประเทศอื่นๆ ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ แต่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยทั้งปี 2019 จะคงไว้ที่ 1.75% โดยธนาคารพาณิชย์จะไม่เร่งขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพราะสภาพคล่องในประเทศยังสูง

สรุป

เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้แค่ไหน ต้องลุ้นความชัดเจนของรัฐบาลไทยจะขยับไปทางไหน เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนกล้าใส่เงินในไทย และมีเงินมาหมุนเศรษฐกิจ ส่วนปัจจัยต่างประเทศอย่าง Trade War ที่ควบคุมได้ยาก ไทยต้องใช้โอกาสนี้ปรับตัวในระยะยาวเพิ่มมูลค่าในสินค้า ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าแข่งขันลดราคากับประเทศอื่นๆ ที่ทำสินค้ากลุ่มเดียวกัน

 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/cimbt-thailand-econnomy-this-year-2019/