คลังเก็บป้ายกำกับ: INTEL_OPTANE_MEMORY_H10

Intel Phantom Canyon NUC ใหม่ ใส่ RTX 2060 แรงแต่ TDP 150W

Intel NUC พีซีขนาดเล็กไม่กินพื้นทของ Intel ก็เป็นอีกผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทที่มีลูกค้าเลือกซื้ออยู่เนือง ๆ ซึ่ง Intel Phantom Canyon รหัสตัวแรงของ NUC สายเน้นความบันเทิงทั้งเล่นเกมและทำงานได้ด้วย โดยรุ่นใหม่นี้จับคู่ซีพียู Intel Core รุ่นที่ 11 กับการ์ดจอ NVIDIA GEFORCE RTX 2060 มาให้ แต่จุดสังเกตหลักคือ TDP สูงถึง 150 วัตต์ จนใช้พัดลมระบายความร้อนแบบ NUC รุ่นอื่นไม่ได้เลยทีเดียว

เนื่องจากตัวเครื่องของ Intel NUC มีขนาดค่อนข้างจำกัด โดยตัว Phantom Canyon นี้มีขนาดเคสที่ 221 x 142 x 42 มม. เท่านั้น ทำให้ทีมออกแบบต้องเดินท่อระบายความร้อน 5 เส้น คู่กับพัดลมระบายความร้อนอีกหนึ่งตัว ส่วนการเลือกใส่ระบบระบายความร้อนแบบไม่ใช้พัดลมก็จะทำให้ตัวถังใหญ่เกินไปจนผิดคอนเซ็ปท์ของ NUC แทน

Intel Phantom Canyon
ตัวพี่เล็กแต่สเปคไม่เบานะเออ!

สเปคของ Intel Phantom Canyon

ข้อมูลของ Phantom Canyon รุ่นใหม่นี้ ทางเว็บไซต์ FanlessTech เป็นผู้เผยขึ้นทวิตเตอร์ของตนเป็นที่แรก แต่ยังไม่ได้ระบุสเปคใด ๆ มากกว่าค่า TDP 150 วัตต์ เท่านั้น ส่วนสเปคนั้น ทาง Tom’s Hardware เป็นผู้เผยแพร่แทน

NEW Intel Core logo 1

สเปคของ Phantom Canyon NUC รุ่นนี้จะมีเวอร์ชั่น Mini PC แบบจัดสเปคสำเร็จรูปมาให้พร้อมใช้งานกับเวอร์ชั่น Kit ที่บังคับสเปคเฉพาะซีพียูและการ์ดจอ ส่วนแรม, SSD, ระบบปฏิบัติการ สามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ

รุ่น Mini PC ที่จดสเปคมาสำเร็จแล้วจะใช้ Intel Core i7-1165G7 สถาปัตยกรรม Tiger Lake เป็นซีพียูแบบ 4 คอร์ 8 เธรด ความเร็ว 2.8-4.7 GHz L3 Cache 12MB การ์ดจอออนบอร์ด Intel Iris Xe Graphics G7 ค่า TDP เลือกได้ระหว่าง 15 หรือ 28 วัตต์ จับคู่การ์ดจอ NVIDIA GEFORCE RTX 2060 รุ่นแรม 6GB GDDR6 แต่เป็นรุ่นติดตั้งในโน๊ตบุ๊ค (mobile) มีค่า TDP 80 วัตต์ ซึ่งน้อยกว่าเวอร์ชั่น Desktop ที่มีค่า TDP 160 วัตต์

ฮาร์ดดิสก์ของรุ่น Mini PC ใส่เป็น Intel H20 SSD ความจุ 512GB มี Intel Optane Memory H10 ความจุ 32GB ช่วยให้ Intel Phantom Canyon อ่านเขียนข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น ส่วนแรม 16GB DDR4 บัส  3200 MHz ติดตั้ง Windows 10 Home มาให้พร้อมใช้งาน

ส่วน Intel NUC รุ่น Kit รองรับแรมความจุสูงสุด 64GB DDR4 บัส 3200 MHz แบบ SODIMM (แรมโน๊ตบุ๊ค) SSD M.2 ใช้ได้ทั้ง SATA3 และ NVMe รองรับสองขนาดคือ 2210 และ 2280 ผ่านพอร์ต PCIe x4 Gen 3 ไม่ระบุความจุสูงสุดที่รองรับเอาไว้

Intel NUC

พอร์ตของ Intel Phantom Canyon ตัวแรงนี้มี HDMI 2.0b, Mini DisplayPort 1.4, Thunderbolt 4 x 2 ช่อง (รองรับชาร์จเร็ว), LAN RJ45 Intel 2.5 GB, USB 3.1 Gen 2 x 6 ช่อง, Micro SD Card แบบ SDXC รองรับ UHS-II, Kensington Lock รองรับการเชื่อมต่อไร้สายด้วย Intel Wi-Fi 6 AX201 และ Bluetooth 5.0 มีไมโครโฟน Beam Forming 4 ตัว รองรับ Alexa เชื่อต่อหน้าจอได้มากสุด 4 ตัวพร้อมกัน

ถือว่า Intel Phantom Canyon ตัวนี้มีสเปคแรงพอจะรันเกมในปัจจุบันได้แทบทุกเกม เหมาะกับผู้ใช้ที่มีพื้นที่ในห้องน้อยแต่ต้องการพีซีสเปคแรงเอาไว้ใช้งาน ซึ่งเหมาะกับเกมเมอร์ที่มองเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คเอาไว้ใช้เล่นเกมสักเครื่องแต่ก็ไม่ได้พกติดตัวไปไหนมาไหนมากก็อาจจะเลือกซื้อป็น Intel NUC เครื่องนี้ไปใช้งานแทนก็เป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน ส่วนคนที่ชอบการอัพเกรดก็เลือกเป็นรุ่น Kit ไปแล้วปรับสเปคตามความชอบอีกสักนิดก็ดีไม่แพ้กัน

ที่มา : Tom’s Hardware

from:https://notebookspec.com/web/576672-intel-phantom-canyon-nuc-have-150w-tdp

Did you know – Intel Optane Memory H10 เมื่อ Option + SSD ใน Intel Core i Gen 10

หลังการเปิดตัว Intel Core i Gen 10 หลายท่านน่าจะได้เห็นสเปคราคากันแล้ว แต่ที่น่าสงสัยคือหลายแบรนด์เลือกใส่หน่วยความจำเป็นแบบ SSD + Optane มาเลยในตัว ต่างจากเดิมที่จะเป็นฮาร์ดดิสค์บวกกับ Intel Optane ซึ่งถือเป็นมาตรฐานใหม่ที่จะมาอยู่ในโน้ตบุ๊คหลายรุ่นที่มาพร้อม Intel Core i Gen 10 หลังจากนี้ ว่าแต่ประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไรและมันต่างจาก SSD ลูกเดียวแบบไหนไปชมกันเลยครับ

Option + SSD ใน Intel Core i Gen 10 หรือที่ Intel เรียกว่า Optane Memory H10 ซึ่งจะถูกผนวกรวมทั้งตัว SSD และหน่วยความจำแคชของ Optane ไว้บนแผงวงจรชุดเด่นกัน โดยพัฒนาใช้งานมาแล้วตั้งแต่โน้ตบุ๊คพีซียุค 8th Gen และ 9th Gen มาแล้วแต่จะใส่ในโน้ตบุ๊คที่ขายจริงใน 10th Gen บนสล๊อตแบบ M.2 PCIe 3.0×4 หน้าตาเหมือน SSD M.2 แบบ PCIe ทั่วไปแต่ภายในได้ผนวกรวม Intel Optane Memory เข้ากับ SSD Intel QLC 3D NAND โดยมีความจุเริ่มต้นที่ 16GB Intel Optane Memory + 256GB Intel QLC 3D NAND ไปจนถึงตัวท๊อป 32GB Intel Optane Memory + 1TB Intel QLC 3D NAND โดยการันตีความเร็วการอ่านถึง 2400 MB/s และเขียนที่ 1800 MB/s  แล้วมันจะต่างจาก SSD ทั่วไปอย่างไรเดี๋ยวไปดูกันต่อครับ

Intel Optane Memory H10 Specifications

Capacities 16GB Intel Optane Memory + 256GB Intel QLC 3D NAND
32GB Intel Optane Memory + 512GB Intel QLC 3D NAND
​32GB Intel Optane Memory + 1TB Intel QLC 3D NAND
Form Factor M.2 2280-S3-M
Interface PCIe 3.0×4 with NVMe interface
Performance Sequential R/W: Up to 2400/1800 MB/s
QD1 4KB Random R/W: Up to 32K/30K IOPs
​QD2 4KB Random R/W: Up to 55K/55K IOPs
Latency Read 6.5μs (TYP)
​Write: 18μs (TYP)
Endurance Rating 16GB Intel Optane Memory + 256GB Intel QLC 3D NAND: Up to 75TBW
32GB Intel Optane Memory + 512GB Intel QLC 3D NAND: Up to 150TBW
​32GB Intel Optane Memory + 1TB Intel QLC 3D NAND: Up to 300TBW
Reliability 1.6 million hours Mean Time Between Failure (MTBF)
​1 sector per 10^15 bits read Uncorrectable Bit Error Rate (UBER)
Power 3.3V Supply Rail
​Deep Sleep/L1.2 (PCIe Low Power Link State): <15mW (Combined)
Temperature Operating: 0 to 700°C
Non-Operating: -40 to 850°C
​Temperature monitoring
OS Support Windows 10 64 bit
Supported Platforms 8th Gen and 9th Gen or newer Intel Core processor-based platforms
Weight Less than 10g
Warranty 5-year limited

Intel Optane Memory H10  ที่ทีมเคยงานได้มาทดสอบ ติดตั้งมาในโน้ตบุ๊ครุ่น HP Spectre x360

หน้าตา  Intel Optane Memory H10 โดยโครงสร้างจะมีการแบ่ง Intel Optane Memory กับ Intel QLC 3D NAND อย่างชัดเจน

หัวใจสำคัญของการใช้งาน Intel Optane Memory คือซอฟแวร์ Intel Rapid Storage Technology ที่ใช้งานไม่ยากครับ ลงปุ๊ปโปรแกรมก็จะเช็คตัวอุปกรณ์เอง ถ้าอุปกรณ์พร้อมก็แค่กด Enable ตัวซอฟแวร์ก็จะจัดการรวมไดร์ฟให้โดยอัตโนมัติ โดยจากเดิมที่ต้องแบ่งเป็นตัว Intel Optane Memory กับตัวฮาร์ดดิสค์หรือ SSD คนละลูก ก็รวมเป็นชิ้นเดียว ประหยัดพื้นที่ แต่ก็ยังสามารถใช้ซอฟแวร์ตัวเดียวในการจัดการ แยก หรือรวมได้เหมือนเดิมครับ

Intel Optane Memory H10 ที่ทีมงานได้มาทดสอบนี้เป็นรุ่นความจุ 512 GB (+ 32GB Intel Optane Memory) มีความจุใช้งานจริงที่ 475 GB

ใน Device Manager จะเป็นเป็น Intel Optane + 477 GB SSD อย่างชัดเจน

ความเร็วการอ่านเขียนของ Intel Optane Memory H10 ออกมาตามสเปคเลยครับ สามารถอ่านได้ที่ 2442 MB/s และเขียนที่ 1210 MB/s เร็วกว่า SSD PCIe ตัวคุ้มที่ขายกันตามท้องตลาดตอนนี้อยู่ประมาณหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะอ่านอยู่ที่ราวๆไม่เกิน 2000 MB/s และยังเร็วกว่า SSD ที่แถมมากับโน้ตบุ๊คบางตัวเสียอีก

Optane H10-1 Optane H10-2 Optane H10-3 SSD 760p-1 SSD 760p-2 SSD 760p-3
Adobe Photoshop CC Launch time (วินาที) 4 3 3 8 3 3
เปิดไฟล์ Sheet Microsoft Excel (วินาที) 5 5 5 9 10 11
โอนไฟล์ 76 GB (วินาที) 6:51 4:03 4:06 2:35 2:45 2:46

แต่ที่โดดเด่นของ Intel Optane Memory H10 คือการใช้งานที่ต้องอ่านเขียนข้อมูลเป็นปริมาณมาก เช่นแต่งไฟล์รูปขนาดใหญ่ โอนไฟล์ขนาดใหญ่ หรือเปิด/ค้นหา Excel ที่มีข้อมูลเยอะๆ จะสามารถทำงานได้เร็วกว่า หรือเทียบเท่า SSD ตัวดีๆอย่าง Intel SSD 760p ที่ทีมงานทดสอบร่วมกันเลย โดยเฉพาะเปิดไฟล์ Excel ที่ทีมงาน intel มีการสร้างไว้ใหญ่ ด้วยไฟล์ขนาดใหญ่ และมีการเข้าสูตรไว้เยอะ เห็นผลความต่างอย่างชัดเจน

แต่ถ้าพูดถึงการเปิดเครื่อง เปิดโปรแกรมทั่วไป หรือกระทั่งโหลดเกม ไม่ได้รู้สึกต่างกันมากนัก Intel SSD 760p ออกจะเร็วกว่าเล็กน้อยด้วยซ้ำครับ

Intel Optane Memory H10 เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจด้วยการผนวกรวม Intel Optane Memory เข้ากับ Intel QLC 3D NAND เพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้มากขึ้นกว่า SSD ทั่วไปอีกขั้น ที่แม้ความเร็วการอ่านเขียนวัดกับ SSD ตัวแรงบางรุ่นอาจจะยังช้ากว่า แต่ถ้ามองถึงภาพรวมการใช้งาน ความเร็วการอ่านระดับ 2,400 MB/s ซึ่งก็ยังเร็วกว่า SSD PCIe NVMe อีกหลายตัวในท้องตลาด  แต่ที่โดดเด่นเลยคือด้วยการเพิ่มหน่วยความจำแคช แยกจากหน่วยความจำหลัก ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่ได้เร็วขึ้น เปิดไฟล์ที่มีข้อมูลภายในซับซ้อนจำนวนมากเช่น Excel ที่มีการเข้าสูตรไว้เยอะได้เร็วกว่า เพราะมีพื้นที่พักข้อมูลก่อนใช้งานจริง อีกทั้งเมื่อวัดการใช้งานจริงด้วยหลายๆโปรแกรม แทบไม่ต่างจาก SSD ตัวแรง บางโปรแกรมอาจจะทำงานได้เร็วกว่าด้วยซ้ำไปครับ

Intel Optane Memory H10 จะเริ่มมาในโน้ตบุ๊คจากผู้ผลิตชั้นนำที่ติดตั้งซีพียู Intel Core i Gen 10 ที่พร้อมจำหน่ายแล้ววันนี้ สำหรับสายทำงานด้วยโปรแกรมไฟล์ใหญ่ๆ น่าจะชื่นชอบกัน

จุดเด่น

  • อ่านเขียนไฟล์ขนาดใหญ่ หรือเข้าสูตรไว้เยอะได้เร็วกว่า
  • ประสิทธิภาพการใช้งานจริงเทียบชั้น SSD ตัวแรง

ข้อสังเกตุ

  • ติดมากับโน้ตบุีคเลยไม่สามารถเลือกได้
  • ความเร็วการอ่านเขียนด้วยโปรแกรมเทสก็ยังตามหลังตัวแพงอยุ่

from:https://notebookspec.com/did-you-know-intel-optane-memory-h10/497462/

Review – Intel Optane Memory H10 เมื่อ Option + SSD

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า Intel Optane Memory เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจด้วยการผนวกเอาหน่วยความจำแบบ SSD มาเป็นแคชช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านเขียนของฮาร์ดดิสค์ให้เร็วมากยิ่งขึ้น ใกล้เคียง SSD ปรกติเลย แต่ได้ความจุแบบในแบบฮาร์ดดิสค์ที่สูงกว่า แต่ด้วยราคาค่าตัว Intel Optane Memory ที่ไม่ได้ต่างจาก SSD ความจุต่ำๆมากนัก เลยทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร อีกทั้งช่วงแรกการตั้งค่าค่อนค่างยุ่งยาก แต่มายุคหลังตั้งค่าง่าย โน้ตบุ๊คหรือพีซีก็ใช้งานได้สะดวกขึ้น และ Intel เองก็ยังไม่หยุดพัฒนา ด้วยการเปิดตัว Intel Optane Memory H10 ที่ผนวกรวม Intel Optane กับหน่วยความจำแบบ SSD เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ต้องตามไปชมกัน

Intel Optane Memory H10 จะออกแบบมาให้สามารถใช้งานในโน้ตบุ๊คและพีซีที่เป็น 8th Gen และ 9th Gen บนสล๊อตแบบ M.2 PCIe 3.0×4 หน้าตาเหมือน SSD M.2 แบบ PCIe ทั่วไปแต่ภายในได้ผนวกรวม Intel Optane Memory เข้ากับ SSD Intel QLC 3D NAND โดยมีความจุเริ่มต้นที่ 16GB Intel Optane Memory + 256GB Intel QLC 3D NAND ไปจนถึงตัวท๊อป 32GB Intel Optane Memory + 1TB Intel QLC 3D NAND โดยการันตีความเร็วการอ่านถึง 2400 MB/s และเขียนที่ 1800 MB/s โดยช่วงแรกจะมาในโน้ตบุ๊คบางแบรนด์ก่อน และว่างจำหน่ายทั่วไปเร็วๆนี้ แล้วมันจะต่างจาก SSD ทั่วไปอย่างไรเดี๋ยวไปดูกันต่อครับ

Intel Optane Memory H10 Specifications

Capacities 16GB Intel Optane Memory + 256GB Intel QLC 3D NAND
32GB Intel Optane Memory + 512GB Intel QLC 3D NAND
​32GB Intel Optane Memory + 1TB Intel QLC 3D NAND
Form Factor M.2 2280-S3-M
Interface PCIe 3.0×4 with NVMe interface
Performance Sequential R/W: Up to 2400/1800 MB/s
QD1 4KB Random R/W: Up to 32K/30K IOPs
​QD2 4KB Random R/W: Up to 55K/55K IOPs
Latency Read 6.5μs (TYP)
​Write: 18μs (TYP)
Endurance Rating 16GB Intel Optane Memory + 256GB Intel QLC 3D NAND: Up to 75TBW
32GB Intel Optane Memory + 512GB Intel QLC 3D NAND: Up to 150TBW
​32GB Intel Optane Memory + 1TB Intel QLC 3D NAND: Up to 300TBW
Reliability 1.6 million hours Mean Time Between Failure (MTBF)
​1 sector per 10^15 bits read Uncorrectable Bit Error Rate (UBER)
Power 3.3V Supply Rail
​Deep Sleep/L1.2 (PCIe Low Power Link State): <15mW (Combined)
Temperature Operating: 0 to 700°C
Non-Operating: -40 to 850°C
​Temperature monitoring
OS Support Windows 10 64 bit
Supported Platforms 8th Gen and 9th Gen or newer Intel Core processor-based platforms
Weight Less than 10g
Warranty 5-year limited

Intel Optane Memory H10  ที่ทีมงานได้มาทดสอบ ติดตั้งมาในโน้ตบุีครุ่น HP Spectre x360 ที่ใส่มาให้พร้อมทดสอบเลย

หน้าตา  Intel Optane Memory H10 โดยโครงสร้างจะมีการแบ่ง Intel Optane Memory กับ Intel QLC 3D NAND อย่างชัดเจน

หัวใจสำคัญของการใช้งาน Intel Optane Memory คือซอฟแวร์ Intel Rapid Storage Technology ที่ใช้งานไม่ยากครับ ลงปุ๊ปโปรแกรมก็จะเช็คตัวอุปกรณ์เอง ถ้าอุปกรณ์พร้อมก็แค่กด Enable ตัวซอฟแวร์ก็จะจัดการรวมไดร์ฟให้โดยอัตโนมัติ โดยจากเดิมที่ต้องแบ่งเป็นตัว Intel Optane Memory กับตัวฮาร์ดดิสค์หรือ SSD คนละลูก ก็รวมเป็นชิ้นเดียว ประหยัดพื้นที่ แต่ก็ยังสามารถใช้ซอฟแวร์ตัวเดียวในการจัดการ แยก หรือรวมได้เหมือนเดิมครับ

Intel Optane Memory H10 ที่ทีมงานได้มาทดสอบนี้เป็นรุ่นความจุ 512 GB (+ 32GB Intel Optane Memory) มีความจุใช้งานจริงที่ 475 GB

ใน Device Manager จะเป็นเป็น Intel Optane + 477 GB SSD อย่างชัดเจน

ความเร็วการอ่านเขียนของ Intel Optane Memory H10 ออกมาตามสเปคเลยครับ สามารถอ่านได้ที่ 2442 MB/s และเขียนที่ 1210 MB/s เร็วกว่า SSD PCIe ตัวคุ้มที่ขายกันตามท้องตลาดตอนนี้อยู่ประมาณหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะอ่านอยู่ที่ราวๆไม่เกิน 2000 MB/s และยังเร็วกว่า SSD ที่แถมมากับโน้ตบุ๊คบางตัวเสียอีก

Option H10 – 1 Option H10 – 2 Option H10 – 3 SSD 760p – 1 SSD 760p – 2 SSD 760p – 3
Adobe Photoshop CC Launch time (วินาที) 4 3 3 8 3 3
เปิดไฟล์ Sheet Microsoft Excel (วินาที) 5 5 5 9 10 11
โอนไฟล์ 76 GB (วินาที) 6:51 4:03 4:06 2:35 2:45 2:46

แต่ที่โดดเด่นของ Intel Optane Memory H10 คือการใช้งานที่ต้องอ่านเขียนข้อมูลเป็นปริมาณมาก เช่นแต่งไฟล์รูปขนาดใหญ่ โอนไฟล์ขนาดใหญ่ หรือเปิด/ค้นหา Excel ที่มีข้อมูลเยอะๆ จะสามารถทำงานได้เร็วกว่า หรือเทียบเท่า SSD ตัวดีๆอย่าง Intel SSD 760p ที่ทีมงานทดสอบร่วมกันเลย โดยเฉพาะเปิดไฟล์ Excel ที่ทีมงาน intel มีการสร้างไว้ใหญ่ ด้วยไฟล์ขนาดใหญ่ และมีการเข้าสูตรไว้เยอะ เห็นผลความต่างอย่างชัดเจน

แต่ถ้าพูดถึงการเปิดเครื่อง เปิดโปรแกรมทั่วไป หรือกระทั่งโหลดเกม ไม่ได้รู้สึกต่างกันมากนัก Intel SSD 760p ออกจะเร็วกว่าเล็กน้อยด้วยซ้ำครับ

Intel Optane Memory H10 เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจด้วยการผนวกรวม Intel Optane Memory เข้ากับ Intel QLC 3D NAND เพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้มากขึ้นกว่า SSD ทั่วไปอีกขั้น ที่แม้ความเร็วการอ่านเขียนวัดกับ SSD ตัวแรงบางรุ่นอาจจะยังช้ากว่า แต่ถ้ามองถึงภาพรวมการใช้งาน ความเร็วการอ่านระดับ 2,400 MB/s ซึ่งก็ยังเร็วกว่า SSD PCIe NVMe อีกหลายตัวในท้องตลาด  แต่ที่โดดเด่นเลยคือด้วยการเพิ่มหน่วยความจำแคช แยกจากหน่วยความจำหลัก ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่ได้เร็วขึ้น เปิดไฟล์ที่มีข้อมูลภายในซับซ้อนจำนวนมากเช่น Excel ที่มีการเข้าสูตรไว้เยอะได้เร็วกว่า เพราะมีพื้นที่พักข้อมูลก่อนใช้งานจริง อีกทั้งเมื่อวัดการใช้งานจริงด้วยหลายๆโปรแกรม แทบไม่ต่างจาก SSD ตัวแรง บางโปรแกรมอาจจะทำงานได้เร็วกว่าด้วยซ้ำไปครับ

Intel Optane Memory H10 เบื่องต้นจะมีติดตั้งในโน้ตบุ๊คก่อนในช่วงแรก และวางจำหน่ายแยกเร็วๆนี้

จุดเด่น

  • อ่านเขียนไฟล์ขนาดใหญ่ หรือเข้าสูตรไว้เยอะได้เร็วกว่า
  • ประสิทธิภาพการใช้งานจริงเทียบชั้น SSD ตัวแรง

ข้อสังเกตุ

  • ยังไม่มีราคาออกมาทำให้ประเมินความคุ้มค่าได้ยาก

from:https://notebookspec.com/review-intel-optane-memory-h10/486286/