คลังเก็บป้ายกำกับ: FLYING_ROBOT

มาแล้วรถบินได้จาก Kitty Hawk สตาร์ตอัปของ Larry Page และ Sebastian Thrun

Cimeron Morrissey บนรถบินได้ต้นแบบของ Kitty Hawk Photo เครดิต: Davis Elen

Kitty Hawk เป็นสตาร์ตอัปเพื่อสร้างรถยนต์บินได้ที่ผู้ก่อตั้งกูเกิลอย่าง Larry Page นั้นลงเงินลงทุนถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตอนนี้ได้เผยโฉมรถยนต์บินได้ต้นแบบของตนเองแล้ว โดยใช้ชื่อเรียบง่ายว่า Kitty Hawk Flyer

รถต้นแบบนั้นดูเหมือนเป็นจักรยานยนต์บินได้ ขึ้นไปนั่งได้โดยเอนตัวไปด้านหน้าเหมือนจักรยานยนต์เลย ควบคุมโดยใช้อุปกรณ์ควบคุมที่เหมือนกับจอยสติกคล้ายกับเล่นเกม สามารถเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่งเหมือนเฮลิคอปเตอร์ แต่ที่ไม่เหมือนกันคือ Flyer นั้นใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทั้งหมด 8 ตัว ทำให้การเรียนรู้ที่จะขี่มันนั้นง่ายมาก โดย Kitty Hawk บอกว่าเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นก็ขี่เป็นแล้ว

Flyer เป็นยานบินขนาดเล็กมาก จนกระทั่งว่าไม่จำเป็นต้องใช้ใบอนุญาตเพื่อการขับขี่จาก FAA  ส่วนนอกสหรัฐฯ นั้น Kitty Hawk ยังไม่มีแผนที่จะส่งเครื่องออกไปแต่อย่างใด บริษัทยังไม่บอกถึงราคาขาย แต่จูงใจให้นักบินจ่ายค่าสมาชิก 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อสามปีเพื่อที่จะไปอยู่ในลิสต์รอเรียกเพื่อทดสอบบินบนเครื่องบินจำลองและสามารถเข้างานอีเวนต์ของบริษัท นอกจากนั้นสมาชิกยังได้ลดราคารถ 2000 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อรถจริง ๆ ออกอีกด้วย

Kitty Hawk นั้นได้คีย์แมนอย่าง Sebastian Thrun เจ้าพ่อรถยนต์อัตโนมัติมาเป็น CEO

จริง ๆ แล้วตัว Page เองยังลงทุนกับสตาร์ตอัปอีกเจ้าคือ Zee Aero ซึ่ง Zee Aero และ Kitty Hawk นั้นแชร์ที่ทำงานที่เดียวกันที่ Google’s Mountain View  และ Zee Aero เองก็เป็นส่วนหนึ่งของเจ้าตัวต้นแบบนี้ด้วย

ที่มา VergeBusiness Insider, Morrissey’s Medium และ Silicon Valley Business Journals


LINE it!

from:https://www.thairobotics.com/2017/04/25/flying-car-from-kitty-hawk/

Bat Bot B2 หุ่นยนต์ที่บินได้คล่องตัวเหมือนค้างคาวจริง

นักวิจัยจาก University of Illinois ที่ Urbana-Champaign และ Caltech ได้ร่วมกันพัฒนา Bat Bot (B2) หุ่นยนต์เลียนแบบค้างคาว ที่มีระยะกว้างสุดระหว่างปลายปีกทั้งสองข้าง (wingspan) 47 เซนติเมตร หนัก 93 กรัม และประสบความสำเร็จในการบินได้คล่องแคล่วคล้ายค้างคาว

จุดแตกต่างสำคัญระหว่างการบินของนกและค้างคาวคือ ปีกนกสามารถประมาณเป็นแผ่นแข็งที่เชื่อมต่อกันที่ข้อต่อ เพื่อกระพือและร่อนลมได้ แต่ปีกค้างคาวเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่ห่อหุ้มโครงกระดูก (musculoskeleton) การขยับโครงกระดูกและเนื้อเยื่อของปีกค้างคาวจึงสร้างการเคลื่อนที่ได้สูงถึงกว่า 40 องศาอิสระ ทำให้ไม่สามารถประมาณการเคลื่อนไหวเป็นแบบแผ่นแข็งเหมือนปีกนกได้ การเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนของค้างคาวทำให้มันเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว

ในขั้นต้นทางทีมได้สร้างหุ่นยนต์ค้างคาวที่มีเพียง 5 องศาอิศระ คือ ไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ขา และหาง ซึ่งเพียงพอให้เลียนแบบการเคลื่อนไหวของค้างคาวได้ถึง 57% ของท่าทางการบินทั้งหมดของค้างคาว เพื่อให้ครอบคลุมการเคลื่อนไหวทั้งหมด เนื้อเยื่อปีกจะต้องยืดหยุ่นได้มาก ทางทีมจึงได้สร้างแผ่นผิวเนื้อเยื่อจากซิลิโคนบางเพียง 56 ไมโครเมตร ในตัวหุ่นยนต์มีเซนเซอร์ตรวจวัดการขยับของแต่ละข้อต่อ และเซนเซอร์วัดการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์แล้วทำการควบคุมแบบป้อนกลับ

การบินแบบกระพือปีกนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า และยังทนต่อการชนมากกว่าการบินด้วยใบพัดหมุน หุ่นยนต์แบบ B2 จึงสามารถประยุกต์ใช้ในงานบินตรวจสอบใกล้ ๆ สิ่งก่อสร้างได้

สามารถอ่านงานวิจัยนี้ได้ในวารสาร Science Robotics  หัวข้อ A Biomimetic Robotic Platform to Study Flight Specializations of Bats

ภาพและที่มา IEEE Spectrum


LINE it!

from:https://www.thairobotics.com/2017/02/08/batbot-b2/

ลูกบอลมหัศจรรย์จาก Festo บินได้ ดูดจับวัตถุได้

festo-free-motion-handling

โครงการ Bionic Learning Network ของ Festo มีของน่ามหัศจรรย์ใจมาให้ชมอยู่เรื่อย คราวนี้ Festo สาธิต FreeMotionHandling ลูกบอลบินได้ แถมหยิบจับวัตถุเพื่อนำไปส่งยังที่ต่าง ๆ ในอาคารได้โดยอัตโนมัติ

FreeMotionHandling เป็นการรวมเอาผลงานเก่า 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน คือ eMotionSpheres ลูกบอลบินได้ และ FlexShapeGripper มือจับยืดหยุ่นเลียนแบบลิ้นกิ้งก่า รวมกันเป็นลูกบอลบินได้และหยิบจับวัตถุได้ FreeMotionHandling สร้างจากโครงสร้างคาร์บอนไฟเบอร์น้ำหนักเบา ลอยตัวได้ด้วยการบรรจุก๊าซฮีเลียม ขับเคลื่อนด้วยใบพัด 8 ใบ ระบุตำแหน่งและนำทางโดยการติดตั้งกล้องหลายตัวไว้ในอาคาร แล้วจับตำแหน่งของลูกบอล ปลายด้านหนึ่งของลูกบอลติดตั้งมือจับแบบ FlexShapeGripper ไว้ ตัวลูกบอลที่มีมือจับอยู่สามารถหมุนได้เป็นอิสระจากโครงที่ติดตั้งใบพัด ทำให้หยิบ/ปล่อยวัตถุได้หลายทิศทาง นอกจากนี้บนตัว FreeMotionHandling ยังมีกล้องอีก 2 ตัวเพื่อตรวจจับวัตถุรอบ ๆ ตัว รวมถึงใช้ตอนหยิบจับวัตถุด้วย

เป็นผลงานที่แปลกตาและน่าประทับใจตามสไตล์ Festo

ภาพและที่มา Festo – FreeMotionHandling ผ่านทาง Popular Science

from:https://www.thairobotics.com/2016/04/13/festo-free-motion-handling/