คลังเก็บป้ายกำกับ: E-WASTE

ทรู คอร์ป เปิดจุดรับ e-Waste “ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” 154 แห่งทั่วประเทศ!

ทรู คอร์ป ชวนมา “ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” เปิดจุดรับ e-Waste […] More

from:https://www.iphonemod.net/true-dtac-open-drop-point-e-waste.html?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=true-dtac-open-drop-point-e-waste

TRUE เปิดจุดรับ e-Waste ทั่วไทย หวังช่วยกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่จะมีกว่า 75 ล้านตัน

บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE ขับเคลื่อนกลยุทธ์รักษ์โลก ส่งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Waste ทั่วไทย หวังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่จะมีกว่า 75 ล้านตันทั่วโลก พร้อมร่วมมือพาร์ตเนอร์องค์กรเอกชนกระตุ้นการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง

TRUE

ทรูฯ เดินหน้ากำจัด e-Waste

มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE แจ้งว่า ขณะนี้มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Waste ทั่วโลกมีจำนวนกว่า 53.6-54 ล้านตัน และมีการคาดการณ์เพิ่มขึ้นไปที่ 75 ล้านตัน ในปี 2030 โดยจำนวนนี้เป็นโทรศัพท์มือถือกว่า 5,300 ล้านเครื่อง ที่กำลังจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนในประเทศไทยมีการสำรวจพบว่า ในปี 2022 มีการจำหน่ายโทรศัพท์มือถือกว่า 16.7 ล้านเครื่อง ในปี 2022 และเป็นโทรศัพท์มือถือ 5G ราว 5.7 ล้านเครื่อง หรือเพิ่มขึ้น 14% จากปี 2021 ซึ่งโทรศัพท์มือถือเหล่านี้จะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ 25,505 ตัน แต่มีเพียง 17 ล้านตัน หรือ 1% ของจำนวนดังกล่าวที่ทิ้งอย่างถูกต้อง

จากปัญหานี้ TRUE จึงเดินหน้าโครงการ ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ เพื่อตั้งจุดทิ้ง e-Waste ทั่วประเทศไทยที่ศูนย์บริการของทรูฯ และดีแทค รวมกว่า 154 สาขาทั่วประเทศ โดยตั้งเป้ามีการทิ้งโทรศัพท์มือถือกว่า 1 ล้านเครื่อง ภายใน 1 ปีแรก หลังจากที่ทั้งทรู กับดีแทค รับทิ้งโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช้แล้วกว่า 2 ล้านเครื่อง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

TRUE

ร่วมมือพาร์ตเนอร์ช่วยขับเคลื่อนโครงการ

ทั้งนี้ TRUE มีการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์องค์กรเอกชน เช่น PAUL, เต่าบิน, Sukishi Korean Charcoal Grill, NARS, Ultima II และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เพื่อให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ กับผู้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังร่วมกับ ออลล์ นาว โลจิสติกส์ และ โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ (TES) ในการขนส่ง และรีไซเคิลขยะดังกล่าว

TRUE ตั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืนผ่านการเป็นองค์กรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) และการเป็นองค์กรที่จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี 2030

เจาะลึกตัวเลขที่ดีหากทิ้งมือถืออย่างถูกต้อง

สำหรับการทิ้งโทรศัพท์มือถืออย่างถูกต้องจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 12.6 กก. ต่อหนึ่งเครื่อง และหากมีการทิ้งอย่างถูกต้องเป็นจำนวน 1 ล้านเครื่อง จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 1,368 ตัน หรือเทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ทั่วโลก 1 ปี ที่ 1,368 คัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post TRUE เปิดจุดรับ e-Waste ทั่วไทย หวังช่วยกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่จะมีกว่า 75 ล้านตัน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/true-e-waste-campaign/

Nokia เปิดตัว Circular บริการเช่ามือถือ ผลักดันแนวคิดรักษ์โลกอย่างยั่งยืน

วิกฤตโลกร้อนเป็นปัญหาใหญ่ที่บรรดาผู้ผลิตมือถือหลายรายเริ่มหันมาให้ความสำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นทั้งความพยายามในการลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต การทดแทนพลาสติกในบรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้วัสดุรีไซเคิล ตลอดจนถึงการเลิกแถมอุปกรณ์เสริมบางอย่าง — ล่าสุด Nokia ได้นำเสนอแนวคิดใหม่โดยการเปิดตัวบริการ Circular ให้ลูกค้าเลือกเช่ามือถือเป็นรายเดือนได้แทนการซื้อขาด

Nokia ชี้ให้เห็นว่าบริการ Circular มีข้อดีหลายประการ เช่น ในแง่ของการมีอิสระ เปลี่ยนมือถือเป็นรุ่นใหม่ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ในแง่ของความอุ่นใจ มีการรับประกันกรณีทำเครื่องหาย และการที่ลูกค้าได้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษ์โลกอย่างยั่งยืน

เลือกสมาร์ทโฟนได้หลายรุ่น เริ่มต้นเดือนละ 10 ยูโร

ลูกค้าที่สมัครบริการ Circular สามารถยกเลิกการสมัครสมาชิกหรือเปลี่ยนมือถือเป็นรุ่นอื่นได้ตลอดเวลาหลังพ้นระยะเวลา 90 วันตามสัญญา นอกจากนี้ยังจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนหากยกเลิกการสมัครสมาชิกภายในช่วง 14 วันแรกด้วย

เบื้องต้นอุปกรณ์ของ Nokia ที่เข้าร่วมโครงการ มีทั้งหมด 4 รุ่น แบ่งเป็นสมาร์ทโฟน 3 รุ่น และแท็บเล็ต 1 รุ่น ดังนี้

  • Nokia T10 — ค่าเช่า 10 ยูโรต่อเดือน
  • Nokia G60 5G — ค่าเช่า 12.5 ยูโรต่อเดือน
  • Nokia XR20 — ค่าเช่า 20 ยูโรต่อเดือน
  • Nokia X30 5G — ค่าเช่า 22 ยูโรต่อเดือน

ทำมือถือหาย เปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ทันที

บริการ Circular มีการรับประกันที่ครอบคลุมกรณีลูกค้าทำอุปกรณ์หายหรือถูกขโมย หาก Nokia ตรวจสอบกับบริษัทประกันภัยแล้วเคสนั้น ๆ ได้รับการอนุมัติ ลูกค้าจะได้รับการเปลี่ยนเครื่องใหม่เพื่อทดแทนทันที โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงแค่ค่าขนส่งและค่าธรรมเนียมส่วนเกินจากบริษัทประกันภัย (ถ้ามี) เท่านั้น ขณะเดียวกัน Nokia จะทำการสั่งล็อกเครื่องที่ลูกค้าทำหายหรือถูกขโมยให้ด้วย

ส่วนกรณีที่ Nokia ยื่นเคลมค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยไม่สำเร็จ หรือมีการเปลี่ยนเครื่องทดแทนให้ลูกค้าตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ลูกค้าต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบค่าเสียหายในเคสนั้น ๆ เอง

นำเครื่องไปรีไซเคิลต่อเมื่อลูกค้าเลิกเช่า

แนวทางของ Nokia ไปได้จบอยู่แค่การให้เช่ามือถือ หากแต่ยังคิดต่อไปด้วยว่าหลังจากลูกค้าเลิกเช่าเครื่องแล้ว อุปกรณ์เหล่านั้นจะทำอย่างไรต่อ เพราะหากมันมีจุดจบเหมือนกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป แนวคิดรักษ์โลกทั้งหมดที่นำเสนอมาจะสูญเปล่าในทันที

คำตอบของคำถามนี้ Nokia แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ รียูส รีเฟอร์บิช และรีไซเคิล โดยขึ้นอยู่กับว่ามือถือที่ลูกค้าส่งคืนมานั้นมีสภาพเป็นอย่างไร หากสภาพยังดีอยู่ ก็นำมาวนปล่อยให้ลูกค้ารายอื่นเช่าต่อ แต่ถ้าเครื่องมีสภาพเสียหาย ก็จะเข้าสู่กระบวนการซ่อมหรือแยกส่วนเพื่อนำอะไหล่มาใช้งานใหม่ ตรงตามชื่อบริการ Circular ที่หมายถึงการเวียน

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ 4 คือ หากเครื่องนั้น ๆ ใช้งานมาครบ 3 ปีแล้วและยังไม่พัง Nokia จะส่งเครื่องต่อไปยังองค์กรการกุศลในครั้งถัดไปที่ลูกค้าส่งเครื่องคืนให้กับบริษัท

เบื้องต้น Nokia เปิดให้สมัครบริการ Circular ได้เฉพาะบางประเทศในแถบยุโรปเป็นกลุ่มแรก ยังไม่ชัดเจนว่า Nokia มีแผนจะขยายบริการนี้ไปยังประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติมในอนาคตหรือไม่

 

ที่มา : Nokia

from:https://droidsans.com/nokia-circular-smartphone-rent/

เอไอเอส เตือน! อย่าหลงลืม E-Waste เล็กๆ รอบตัวที่ไม่ได้ใช้แล้ว เก็บไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เพื่อโลก เพื่อเรา กันเถอะ

เนื่องในวันขยะอิเล็กทรอนิกส์สากล หรือ International E-Waste Day 2022 ซึ่งปีนี้ชูแนวคิด Recycle it all, no matter how small! เก็บขยะ E-Waste ชิ้นเล็กๆใกล้ตัวคุณไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยของเรา และเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้อย่างยั่งยืน เอไอเอสจึงขอเชิญชวนคนไทยมองหา E-Waste เล็กๆ และนำไปทิ้งได้ที่จุดรับทิ้ง ณ AIS Shop และพาร์ทเนอร์กว่า 2,400 จุดทั่วประเทศ หรือ จะฝากทิ้งกับพี่ไปรษณีย์ หรือ ไปรษณีย์ไทยสาขาใกล้บ้าน เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนรีไซเคิลตามกระบวนการ Zero Landfill  

AIS

วันขยะอิเล็กทรอนิกส์สากล หรือ International E-Waste Day เริ่มตั้งแต่ 14 เมษายน ปี 2002 เพื่อรณรงค์และสร้างการตระหนักรู้ พร้อมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการมาถึงของเทคโนโลยีดิจิทัล 

ทั้งนี้จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ พบว่า ทั่วโลกสร้าง E-Waste ขนาดเล็กแล้วกว่า 22 ล้านตันในปี 2019 คิดเป็นประมาณ 40% ของ E-Wasteทั้งหมดที่ผลิตทั่วโลก และหากปริมาณของ E-Waste เล็กๆ เหล่านี้ยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับ E-Wasteทั้งหมดที่โตราว 3% ต่อปี ก็จะเป็นตัวเลขถึง 29 ล้านตันภายในปี 2573 ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงกับการเพิ่มขึ้นของมลพิษหากไม่ถูกนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธีตามมาตรฐานสากล

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า “นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาบริการดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตของคนไทยแล้ว เรายังมีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมของคนไทย โดยเป็นแกนนำในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์  E-Waste พร้อมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหา ผลกระทบและวิธีการแยก E-Waste อย่างถูกวิธีและยั่งยืน

โดยพบว่าปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยในการครอบครอง E-Waste ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ หูฟัง ที่มักถูกทิ้งไว้ในบริเวณต่างๆ ของบ้าน มากถึง 5 กก. ต่อคน และมีแต่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราการเติบโตของดิจิทัล ซึ่งแน่นอนว่าจะนำมาซึ่งมลพิษต่อคนในครอบครัวและสิ่งแวดล้อม หากไม่มีกระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี” 

“ดังนั้น โครงการ “คนไทยไร้ E-waste” จากจุดเริ่มต้นในปลายปี 2019 – 2022 ที่ได้ร่วมกับพันธมิตรกว่า 142 องค์กรเพื่อรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธีและยั่งยืน ที่ปัจจุบันได้ร่วมกันเก็บ E-Waste ได้แล้วถึง 351,300 ชิ้น ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ 3,513,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ หรือเทียบเท่าต้นไม้ขนาดใหญ่ 390,333 ต้น

พร้อมตั้งเป้าว่า ภายในปี 2023 เราจะนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีให้ได้ถึง 500,000 ชิ้น จึงขอเป็นตัวแทนคนไทยเชิญชวนให้นำ E-Waste ขนาดเล็ก 4 ประเภท ได้แก่ 1.มือถือ/แท็บเล็ต 2.สายชาร์จ 3.หูฟัง 4.แบตเตอรี่มือถือ  มาทิ้งได้ที่

  • AIS shop และพันธมิตรทั่วประเทศกว่า 142 องค์กร ที่มีจุดรับทิ้งจำนวนกว่า 2,400 จุด
  • ฝากทิ้ง E-Waste กับพี่ไปรษณีย์ ที่พร้อมมารับถึงหน้าบ้าน หรือทิ้งได้ที่ไปรษณีย์ไทยสาขาใกล้บ้าน ฟรี

“เพราะ E-Waste คือขยะอันตราย ถ้าทิ้งไม่ถูกที่ และกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี ก็จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ทั้งของเราและบุตรหลานได้ ทั้งนี้การทิ้งให้ถูกที่ และเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี จะทำให้ E-Waste สามารถกลับมาสร้างประโยชน์ หลังผ่านการรีไซเคิลออกมาเป็นวัตถุดิบต่างๆ เช่น เงิน ทอง ทองแดง พลาสติก ตะกั่ว อันจะสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งลดการฝังกลบที่จะเป็นมลพิษต่อโลกในระยะยาวอีกด้วย” นางสายชล กล่าวย้ำ 

.fb-background-color {
background: #ffffff !important;
}
.fb_iframe_widget_fluid_desktop iframe {
width: 100% !important;
}

from:https://www.mobileocta.com/ais-warns-dont-forget-e-waste/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=ais-warns-dont-forget-e-waste

สตูดิโอไอเดียเก๋ จับซากมือถือและเครื่องเกมเก่ามาแยกส่วน รังสรรค์เป็นผลงานศิลปะ เปิดขายผ่านเว็บไซต์

ทุกวันนี้เรากำลังเผชิญกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นโลก มีรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา มนุษย์ได้สร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์บนผืนโลกเป็นจำนวนเกินกว่า 50 ล้านตัน หรือเทียบเท่ากับกำแพงเมืองจีนเลยทีเดียว แถมยังคงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปีจนถึงตอนนี้ ทางสตูดิโอศิลปะ Grid Studio ได้ผุดไอเดียที่น่าสนใจในการช่วยลดทอนปัญหาดังกล่าว โดยการนำสินค้าไอทีที่ชำรุดมาแยกส่วน สร้างเป็นงานศิลปะสุดเก๋ไก๋ขึ้นมา แล้ววางจำหน่ายให้ผู้ที่ชื่นชอบได้ซื้อไปสะสมกัน

ผลงานที่ Grid Studio รังสรรค์ขึ้นมา มีด้วยกันหลายอย่าง ทั้งเครื่องเกม โทรศัพท์มือถือ นาฬิกาอัจฉริยะ และเครื่องเล่นเพลง โดยเน้นไปที่สินค้าที่มีความคลาสสิกในอดีต เช่น Gameboy, Nokia, iPhone และ BlackBerry

ทางสตูดิโออธิบายว่า กว่าจะสร้างผลงานออกมาได้แต่ละชิ้นต้องใช้เวลาพอสมควร เริ่มจากขั้นตอนแรกสุดคือ การรวบรวมซากของอุปกรณ์ในรุ่นนั้น ๆ ในหลากหลายช่องทางเท่าที่จะหาได้ จับมาชำแหละแยกส่วน ทำความสะอาดด้วยอัลตราโซนิกแล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นจึงนำไปตกแต่ง ติดเข้ากับฉาก และใส่กรอบให้เรียบร้อยเป็นอันเสร็จ ซึ่งทุกกระบวนการต้องทำด้วยความประณีตเป็นอย่างมาก เพื่อให้ลูกค้าได้งานที่เนี้ยบที่สุด ด้วยเหตุนี้ทำให้งานบางชิ้นอาจต้องใช้เวลาทำนานเป็นสัปดาห์

ยิ่งเป็นสินค้ารุ่นเก่าเท่าไหร่ ยิ่งหาของได้ยากเท่านั้น และยิ่งยากขึ้นไปอีกเพราะ Grid Studio ต้องเฟ้นหาเอาที่มีสภาพดี ๆ ยกตัวอย่างเช่น iPhone รุ่นแรกสุด ซึ่งออกวางจำหน่ายมาตั้งแต่ปี 2550 หรือเกือบ 15 ปีมาแล้ว ส่วนใหญ่สภาพสวย ๆ คงไม่พ้นตกอยู่ในมือของนักสะสม สตูดิโอจึงต้องใช้ความพยายามค่อนข้างมากกว่าจะได้มาแต่ละชิ้น

สำหรับสินค้าของ Grid Studio ราคาจะแตกต่างกันไปตามความยากง่ายในการสร้างสรรค์ ต้นทุนการผลิต และปัจจัยอื่น ๆ เช่น Pixel รุ่นดั้งเดิมมีราคา 259 ดอลลาร์ (ประมาณ 8,899 บาท) ส่วน Nokia รุ่น E71 มีราคา 158 ดอลลาร์ (ประมาณ 5,429 บาท)

ถือเป็นการนำศิลปะมาประยุกต์ใช้ได้อย่างชาญฉลาด ไม่ใช้เพียงแค่ช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังได้ผลงานศิลปะสวย ๆ เอาไว้ชื่นชมอีกด้วย

สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่สนใจ สามารถเข้าไปดูสินค้าทั้งหมดของ Grid Studio ได้ที่เว็บไซต์ gridstudio.cc ถ้าชอบก็สั่งซื้อกันได้นะครับ ทางสตูดิโอมีบริการจัดส่งทั่วโลกเลย ช่วงนี้มีโปรโมชันลดราคาเนื่องในโอกาสวันคุ้มครองโลกด้วย

 

อ้างอิง : World Economic Forum

from:https://droidsans.com/grid-studio-repurposes-e-waste-into-art/

AIS ชวนรักษ์โลก…เปิดบริการฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์กับบุรุษไปรษณีย์ ฟรี ๆ จากหน้าบ้าน

คาดว่าหลาย ๆ คนน่าจะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste อยู่ในบ้านกันบ้างอย่างน้อย ๆ ก็ 2 – 3 ชิ้น แต่ไม่รู้ว่าจะเอาไปทิ้งที่ไหนดี ทิ้งในถังขยะทั่วไปก้กลัวจะไปเกิดอันตรายกับพนักงานกำจัดขยะเข้า หรือถ้าคิดไกลหน่อยก็กลัวว่าอาจจะไปทำลายสิ่งแวดล้อมเข้า แล้วยิ่งสถานการณ์ COVID-19 แบบนี้ การจะออกไปหาที่สำหรับทิ้ง E-Waste ยิ่งไม่ใช่เรื่องเลย… AIS เห็นแบบนี้ก็เลยขอเปิดตัวโครงการเก็บตัวได้…แต่อย่าเก็บ Waste” ซึ่งเป็นบริการฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์กับบุรุษไปรษณีย์ที่ขี่รถผ่านหน้าบ้านได้แบบฟรี ๆ 

เป็นเรื่องที่น่าจะรู้กันดีว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์เนี่ย เป็นขยะที่ไม่สามารถกำจัดได้เหมือนกับขยะทั่วไป เพราะมันเป็นขยะอันตรายที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ถ้าเอาไปทิ้ง หรือกำจัดไม่ถูกวิธี (อย่างเช่นเผา หรือฝังดิน) ก็จะเป็นการปล่อยสารพิษที่เป็นอันตรายต่อตัวเองและสิ่งแวดล้อมได้

ก่อนหน้านี้ทาง AIS เคยจับมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” มาแล้ว โดยให้เอาเหล่า E-Waste ไปทิ้งได้ที่จุดวางถังรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตามสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ทั่วประเทศ หรือจุดรับทิ้ง E-Waste ตาม AIS Shop ทั่วประเทศก็ได้ แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันทำให้การเดินทางออกนอกบ้านเพื่อทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ดูจะไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ แถมยังเสี่ยงเชื้อโรคอีกต่างหาก

คราวนี้ทาง AIS ก็เลยไปจับมือกับไปรษณีย์ไทย จัดโครงการใหม่ขึ้นมาเป็น เก็บตัวได้…แต่อย่าเก็บ Waste” เพื่ออำนวยความสะดวกและลดความเสี่ยงลงไป เพราะสามารถฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้กับบุรุษไปรษณีย์ที่ขี่ผ่านหน้าบ้านของเราได้โดยไม่มีค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น

วิธีการฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์กับบุรุษไปรษณีย์ก็ง่าย ๆ แค่นำเอาขยะดังกล่าวใส่กล่องและเอากระดาษปะพร้อมเขียนหน้ากล่องว่า “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” จากนั้นก็เอาไปฝากกับบุรุษไปรษณีย์ที่หน้าบ้านเราได้เลย



 

สำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste ที่จะฝากไปรษณีย์ไปกำจัดได้จะมีทั้งหมด 5 ประเภทคือ

  1. มือถือ หรือแท็บเล็ต
  2. สายชาร์จ
  3. หูฟัง
  4. พาวเวอร์แบงก์
  5. แบตเตอรี่มือถือ

แค่นี้เราก็สามารถกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่วางหลบ ๆ ซ่อน ๆ เอาไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของบ้านได้แบบถูกวิธีกันแล้วล่ะครับ (บางคนอยากทิ้งให้ถูกวิธี…แต่ก็ไม่รู้จะเอาไปทิ้งที่ไหน ผมด้วยคนนึงล่ะ 555)

 

ที่มา : อีเมลประชาสัมพันธ์

from:https://droidsans.com/ais-e-waste-disposal-service/

ญี่ปุ่นผลิต “เหรียญโอลิมปิก 2020” รีไซเคิลจากมือถือ 6.21 ล้านเครื่อง และขยะอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เกือบ 8 หมื่นตัน

ตอนนี้หลาย ๆ คนน่าจะได้เห็นโฉมหน้าเหรียญรางวัลของกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 32 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Tokyo 2020: Olympic Games กันไปแล้ว แต่ทราบกันหรือไม่ครับว่า เหรียญเหล่านี้ล้วนถูกทำขึ้นจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น โดยเป็นการเปิดรับบริจาคจากชาวญี่ปุ่นทั่วทั้งประเทศ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม สามารถรวบรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กต่าง ๆ ได้มากถึง 78,985 ตัน นับเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่บริจาคผ่าน NTT docomo อย่างเดียวแล้วมีจำนวนมากถึง 6.21 ล้านเครื่อง

ตอนนี้หลายประเทศเริ่มตระหนักได้อย่างจริงจังเกี่ยวกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นและมากขึ้นทุกปีแบบหยุดไม่อยู่ ดังนั้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจึงได้เห็นแคมเปญรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้เห็นอยู่บ่อยครั้งตามสื่อต่าง ๆ และโซเชียลมีเดีย ส่วนวิธีที่ญี่ปุ่นเลือกใช้ในครั้งนี้ คือ การรีไซเคิล สกัดเอาโลหะมีค่าจากขยะเหล่านั้นมาหลอมเป็นเหรียญรางวัลตามที่กล่าวไปนั่นเอง โดยสามารถสกัดทอง เงิน และทองแดง ออกมาได้รวมแล้วกว่า 5,700 กิโลกรัม ผลิตออกมาได้ทั้งหมดประมาณ 5,000 เหรียญสำหรับแจกจ่ายให้นักกีฬา

  • ทอง 32 กิโลกรัม
  • เงิน 3,500 กิโลกรัม
  • ทองแดง 2,200 กิโลกรัม

จากตัวเลขจะเห็นได้ว่า เป็นปริมาณที่เยอะเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน และอันที่จริงในขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังมีโลหะมีค่าอื่น ๆ ปะปนอยู่อีกหลายอย่างนอกเหนือจากทอง เงิน และทองแดงด้วยนะครับ เช่น ทองคำขาว นิกเกิล โคบอลต์ อะลูมิเนียม และสังกะสี เป็นต้น แต่พวกนี้ไม่ได้มีกล่าวถึงในรายงาน

เรื่องน่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ แคมเปญเปิดรับบริจาคเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กและโทรศัพท์มือถือในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาตร์ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตเหรียญรางวัลเลยทีเดียวครับ

ปล. อันที่จริงนี่ไม่ใช่ข่าวสดใหม่เสียทีเดียว เพราะแคมเปญการเปิดรับบริจาคนี้เริ่มมาตั้งแต่ 1 เมษายน 2560 และสิ้นสุดไปตั้งแต่ 31 มีนาคม 2562 แล้ว แต่เห็นแล้วน่าสนใจดี เลยหยิบมานำเสนอให้ได้อ่านกันครับ

 

ที่มา : Olympics (1, 2)

from:https://droidsans.com/tokyo-2020-medals-made-frome-smartphone/

ไปรษณีย์ไทย จับมือ AIS แก้ปัญหา e-waste รับขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดให้จากหน้าบ้าน

ไปรษณีย์ไทย เดินหน้าแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมมือกับ AIS ดันแคมเปญ ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์ กับบุรุษไปรษณีย์เพื่อนำมากำจัดให้อย่างถูกวิธี

e-waste ไปรษณีย์ไทย
Photo by John Cameron on Unsplash

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถย่อยสลายและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะที่ความรู้และจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ในไทยยังมีไม่ทั่วถึงเพียงพอ

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมมือกับเอไอเอส ดันแคมเปญ “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กับพี่ ๆ บุรุษไปรษณีย์ เพื่อแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้อย่าง มือถือ แทปเล็ต สายชาร์จ หูฟัง พาวเวอร์แบงก์ แบตเตอรี่มือถือ ไปส่งต่อให้หน่วยงานที่มีบริการกำจัดอุปกรณ์ e-waste อย่างถูกต้องให้ฟรี เพียงแค่นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ใส่กล่องแล้วเขียนหน้ากล่องว่า “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” แล้วฝากมากับบุรุษไปรษณีย์ที่มาส่งจดหมายที่บ้าน

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ระบุว่า Pain Point หลักของปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์คือความไม่สะดวกในการนำขยะไปทิ้งที่จุดรับทิ้ง การเข้าไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึงที่บ้านเพื่อส่งต่อให้เอไอเอสนำไปกำจัดและรีไซเคิลอย่างถูกต้องจะสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้

ก่อนหน้านี้ไปรษณีย์ไทยและเอไอเอสเคยร่วมกันทำแคมเปญ “คนไทยไร้ E-Waste” โดยร่วมกันตั้งจุดรับทิ้งขยะ e-waste เพื่อแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์มาแล้ว

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ไปรษณีย์ไทย จับมือ AIS แก้ปัญหา e-waste รับขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดให้จากหน้าบ้าน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/thai-post-ais-e-waste-2021/

เอไอเอส ผนึก กระทรวงทรัพยฯ เดินหน้าชวนคนไทย ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) อย่างถูกวิธี พร้อมขยายจุดรับทิ้งทั่วประเทศ

เอไอเอส และ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมพลังสร้างเครือข่ายคนไทยไร้ E-Waste ทั่วประเทศ สร้างการตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่าน 2 ความร่วมมือหลัก

–          ขยายจุดวางถังรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ณ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด หรือ ทสจ. ทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่ต้องการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี

–          ร่วมกับ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม. เพื่อเป็นตัวแทนสื่อสาร สร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บและทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง

AIS E-Waste

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ 

โดยมี รมว.ทส. เป็นประธานมีหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะมาตรการ แนวทาง และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ประสบผลสำเร็จต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 

ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน/ประชาสังคม ภาคการศึกษา และภาคีเครือข่าย ทส. ดำเนินโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” เพื่อรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ประเภทซากโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ สายชาร์จ แบตเตอรี่ หูฟัง พาวเวอร์แบงก์ และนำไปจัดการอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยรายได้จากการรีไซเคิล จะนำไปมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาต่อไป

ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นในประเทศมีมากกว่า 400,000 ตันต่อปี แต่มีการเก็บรวบรวมและนำไปจัดการอย่างถูกต้องเพียง 500 ตัน ส่วนที่เหลือจะถูกเก็บไว้ตามบ้านเรือน ขายเป็นสินค้ามือสอง ขายให้รถเร่/ซาเล้ง นอกจากนี้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2557 มีการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในปริมาณประมาณ 900 ตัน อย่างไรก็ตาม ในปี 2560 ปริมาณนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มีมากกว่า 50,000 ตัน ทั้งนี้ ยังมีการตรวจพบโรงงานและสถานประกอบกิจการถอดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดำเนินการอย่างไม่ถูกหลักวิชาการ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม จึงต้องมีการรวบรวมและนำไปจัดการอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “วันนี้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ที่เป็นอุปกรณ์สื่อสารและ ICT นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของคนทั่วทั้งโลก โดยมีตัวเลขจาก The global E-Waste 2020 by the United Nation University and the United Nations Institute for Training and Research, the International Telecommunication Union and the International Solid Waste Association ที่รายงานเมื่อปี 2562 ว่า ทั่วโลกมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึง 53.6 ล้านเมตริกตัน และมีการใช้งานต่อคนถึงคนละ 7.3 กิโลกรัม 

ซึ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้รับการ recycle อย่าง ถูกวิธี เพียง 17.4% หรือคิดเป็น 9.3 ล้านเมตริกตันเท่านั้น ในขณะที่ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ของเสียอันตรายจากชุมชนโดยกรมควบคุมมลพิษ ปี 2562 ประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) อยู่ที่ 400,000 ตัน นี่คือสิ่งที่เราควรต้องให้ความสำคัญและบริหารจัดการร่วมกันก่อนจะสายเกินไป

ดังนั้นในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มีเป้าหมายในการเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ พร้อมร่วมดูแลรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศให้พัฒนา และเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน เราจึงให้ความสำคัญต่อการจัดการปัญหาขยะทุกประเภท รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ที่นับได้ว่าเป็นขยะอีกหนึ่งประเภทที่จะต้องมีการคัดแยกและนำไปกำจัดอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน 

ที่ผ่านมาเราจึงอาสาเข้ามาเป็นศูนย์กลางและจัดทำโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” ขึ้น โดยมีเป้าหมายในการปลูกจิตสำนึกคนไทยให้เข้าใจและตระหนักถึงการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมในการกำจัด โดยจัดทำถังรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ซึ่งประกอบไปด้วย โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, พาวเวอร์แบงก์, สายชาร์จ, หูฟัง มาทิ้ง ได้ ณ จุดบริการของ AIS และจุดบริการของภาคีเครือข่ายซึ่งปัจจุบันมีแล้วมากกว่า 2,300 จุดทั่วประเทศ จากนั้นส่งต่อไปทำลายอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลในรูปแบบของ Zero Landfill

โดยล่าสุด ได้รับเกียรติจาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้การสนับสนุน ร่วมเป็นอีก 1 ภาคีเครือข่ายหลัก ยกระดับภารกิจ คนไทยไร้ E-Waste สู่วาระแห่งชาติ ในการขยายจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) พร้อมร่วมบูรณาการส่งต่อองค์ความรู้และปลูกจิตสำนึกคนไทย ผ่านการทำงานของ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม. ที่จะเป็นตัวแทนหลักที่เข้าถึงประชาชนทั่วประเทศเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับโทษภัยของขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste), ให้ข้อมูลการจัดเก็บและทิ้งอย่างถูกวิธี 

ตลอดจนส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเอไอเอสต้องขอขอบคุณกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมกลุ่ม ทสม. ที่เห็นความสำคัญของโครงการนี้และร่วมสนับสนุนอย่างดี โดยยืนยันว่า เราจะร่วมเป็นอีก 1 พลังสานต่อภารกิจของกระทรวงฯ  ในการดูแลปกป้องสิ่งแวดล้อมของบ้านเราเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกหลานเราในอนาคตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป”

ปัจจุบันโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” สามารถรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้จำนวนกว่า 6.3 ตัน โดยทางเอไอเอส ได้นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ที่เก็บรวบรวมได้จากจุดรับทิ้ง นำส่งให้กับ บริษัท เทส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดอย่างถูกวิธีด้วยกระบวนการ Zero Landfill (การจัดการขยะทำให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้เกิดมูลค่าได้อีกครั้ง) ต่อไป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ewastethailand.com

from:https://www.mobileocta.com/ais-joins-mnre-to-continue-to-invite-thai-people-dispose-of-electronic-waste-e-waste-correctly/

ดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ จับมือ ‘โจนส์สลัด’ จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกวิธี ลดความเสี่ยงขยะอันตรายปนเปื้อนในดินและน้ำ สร้างแหล่งอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน

ลูกค้าสลัดปลอดสารพิษของโจนส์สลัดสามารถนำซากมือถือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดกลางและเล็ก รวมไปถึงอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้ที่ถังขยะอิเล็กทรอนิกส์ของดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ ได้ที่ร้านโจนส์สลัด สาขาเดอะ มาร์เก็ต แบงคอก ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิลด์, ร้านโจนส์สลัด สาขาศาลาแดง, และร้านโจนส์สลัด สาขาเซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

dtac

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกจัดประเภทเป็นขยะอันตรายที่มีสัดส่วนสูงถึง 65% จากขยะอันตรายทั้งหมดที่จัดเก็บได้ทั่วประเทศ ซึ่งได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 13% เท่านั้น ทั้งนี้จากการคาดการณ์ปริมาณซากโทรศัพท์มือถือจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า โทรศัพท์มือถือเป็นซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่พบมากที่สุดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2564 คาดว่าจะพบซากขยะโทรศัพท์มือถือจำนวน 13.42 ล้านเครื่อง และอุปกรณ์เล่นภาพ/เสียงขนาดพกพาอีก 3.65 ล้านเครื่อง สำหรับซากมือถือ อุปกรณ์เชื่อมต่อ

รวมไปถึง อุปกรณ์ติดตัวประเภทนาฬิกาอัจฉริยะ (smart watch) นับเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นขยะอันตราย สามารถปล่อยสารเคมีอันตราย เช่น สารหนู สารตะกั่ว สารปรอท สารแคทเมียม ฯลฯ ปนเปื้อนในแหล่งน้ำและแหล่งดิน ซึ่งถูกใช้เป็นแหล่งเพาะปลูก จากกรณีศึกษาแหล่งชุมชนคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้เชี่ยวชาญของกรมควบคุมมลพิษ และสำนักสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 จ.นครราชศรีมา เก็บตัวอย่างน้ำผิวดินและตัวอย่างดิน 4 จุด พบสารหนูและตะกั่วเกินค่ามาตรฐานของดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรมจำนวน 1 จุด ที่สาธารณะ (โคกขอนแก่น) ต.บ้านเป้า อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งการปนเปื้อนเหล่านี้ เกิดจากขั้นตอนการคัดแยก รื้อ และถอดชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยการเททิ้งเศษหรือสารอันตรายลงดิน

นายอาริยะ คำภิโล กรรมการบริหารและเจ้าของร้านโจนส์สลัด กล่าวว่า “ความร่วมมือกับดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ ถือเป็นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญและเป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างโจนส์สลัดและดีแทคที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน ในแต่ละปี โจนส์สลัดสั่งซื้อผักสลัดปลอดสารพิษมากถึง 700 ตันต่อปี จากเกษตรกรในเครือข่าย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนสำคัญที่ช่วยเพาะปลูก ดูแล และส่งมอบพืชผักมาให้เราปรุงสลัดที่สดใหม่ด้วยความใส่ใจและห่วงใยผู้บริโภค

นี่จึงถึงเวลาแล้วที่โจนส์สลัดจะได้ตอบแทนด้วยการช่วยดูแลแหล่งดินและน้ำที่ใช้เพาะปลูกให้ปลอดจากสารเคมีร้ายแรงปนเปื้อนอันเป็นผลมาจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกวิธี ลูกค้าของโจนส์สลัดสามารถนำซากมือถือและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ มาทิ้งที่เราได้ เราจะร่วมกับดีแทคนำไปจัดการและรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้สารเคมีปนเปื้อนกลับมาทำร้ายสุขภาพผ่านจานอาหารของเรา”

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด มหาชน กล่าวว่า “ดีแทคมีความยินดีและขอขอบคุณที่โจนส์สลัดร่วมกำหนดเป้าหมายไปกับเราในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและเพื่อนร่วมโลก ขยะที่เราจะจัดเก็บร่วมกับโจนส์สลัดจะเป็นสัดส่วนสำคัญจากเป้าหมายที่เราตั้งใจจะจัดเก็บซากมือถือและอุปกรณ์เชื่อมต่อให้ได้รวม 50,000 ชิ้นภายในสิ้นปีนี้ แต่ก็ยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดในระบบ

ทั้งนี้ การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีความรับผิดชอบถือเป็นเป้าหมายสำคัญตามแผนงานการจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสภาวะอากาศ (Environment Management System and Climate) ของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ดีแทค นอกจากขยะประเภทซากมือถือและอุปกรณ์เสริมที่ดีแทคจัดเก็บจากลูกค้าและผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว”

ดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ คัดเลือกบริษัทรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานสากล จัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านนำมาทิ้งไว้ที่ศูนย์บริการดีแทคสาขาทั่วประเทศ และที่ร้านโจนส์สลัดตามสาขาที่กำหนด เมื่อบริษัทรีไซเคิลได้รับซากขยะอิเล็กทรอนิกส์จะทำการลบข้อมูล และทำลายหน่วยความจำโดยการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อลบข้อมูล 3 รอบ และเขียนข้อมูลทับอีก 1 รอบ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมมั่นใจว่าจะไม่มีข้อมูลของเจ้าของขยะอิเล็กทรอนิกส์รั่วไหลออกไปได้ หลังจากนั้นจะทำการคัดแยกชิ้นส่วนตามประเภทวัสดุ เช่น โลหะ พลาสติก เหล็ก แผงวงจร จากนั้นจะเข้ากระบวนการย่อยสลายเพื่อนำกลับไปเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมใหม่

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.dtac.co.th/sustainability/ewaste/

from:https://www.mobileocta.com/dtac-think-hai-d-partners-with-jones-salad-to-provide-e-waste-disposal-services-to-promote-food-safety/