คลังเก็บป้ายกำกับ: แลกเงินเยนช่วงไหนดี

ทำลายสถิติ! เงินบาทแตะ 30.86 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี

ต้นปีหลายนักวิเคราะห์มองว่ากลางปีนี้ค่าเงินบาทจะกลับมาอ่อนค่า แต่ตอนนี้ค่าเงินบาทลงมาต่ำ 31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแล้ว ไหนดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกส่อแววจะเป็นขาลงอีกครั้งสวนทางแบงก์ชาติของไทยที่ (คาดว่า) ยังคงดอกเบี้ยฯ ไว้ให้ผลตอบแทนการลงทุนบางอย่างยังน่าสนใจกว่าประเทศอื่น และมีเงินไหลเข้าไทย

แต่หลังจากนี้ค่าเงินบาทจะเป็นอย่างไร? แบงก์ชาติเตรียมตัวอย่างไรไว้บ้าง?

ภาพโดย Peter Hellberg from Stockholm, Sweden (Thai baht) [CC BY-SA 2.0 (http://creativecommons.org/licenses/by-sa/2.0)%5D, via Wikimedia Commons

เงินบาทต่ำ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี

วันนี้ (21 มิ.ย. 2562) ค่าเงินบาทแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี โดยเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 30.86 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากเมื่อวานนี้ (20 มิ.ย.) ปิดตลาดที่ระดับ 30.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุหลักมาจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าที่กลายเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น

  • ราคาทองคำเพิ่มขึ้น 2.0% แตะระดับ 1,387 ดอลลาร์ต่อออนซ์
  • ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นกว่า 4.4% แตะระดับ 64.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังสหรัฐฯขู่โจมตีอิหร่าน

กรุงไทยชี้เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องหากแบงก์ชาติเล็งขึ้นดอกเบี้ยฯ

จิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย บอกว่า ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ ดัชนี STOXX50 ของยุโรป และดัชนี FTSE100 ของอังกฤษปรับตัวขึ้นทั้งหมดหลังจากธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกมีทีท่าผ่อนคลายนโยบายการเงิน ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง กลายเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินเยนแข็งค่า 0.5% อยู่ที่ระดับ 107.3 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าต่ำที่สุดของเงินเยนในรอบ 1 ปี ขณะที่กดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 6 ปี

ค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วตามภูมิภาคเอเชียและกลุ่มตลาดเกิดใหม่ เพราะระยะสั้นตลาดมั่นใจมากว่า FED (ธนาคารกลางสหรัฐ) จะลดดอกเบี้ยเดือนหน้า และ Donald Trump จะเจรจากับ Xi jinping ได้ในช่วงสิ้นสัปดาห์ “

ทั้งนี้ภายในวันนี้กรอบค่าเงินบาทวันนี้อยู่ที่ 30.80-31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าผู้นำเข้าจะทยอยสะสมเงินดอลลาร์หลังจากการปรับแข็งค่าในระยะสั้น ทว่าหากเงินบาทแข็งค่าต่อไป คาดว่าผู้ส่งออกจะชะลอการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐลงเช่นกัน (เพื่อเก็งกำไร)

สิ่งที่ต้องจับตามองในสัปดาห์หน้าคือ ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หากคงมุมมองว่าต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าประเทศอื่น ในขณะที่ต่างประเทศเลือกจะผ่อนคลายนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตามคาดว่ากรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทเดือนนี้อยู่ที่ 30.50-31.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ภาพจาก Unsplash

แบงก์ชาติย้ำเงินบาทผันผวน ผู้ประกอบการต้องทำประกันค่าเงิน

วชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเร็วกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค สาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งหากค่าเงินบาทยังเข็งค่าต่อเนื่องไม่สอดคล้องกับพื้นฐานของไทยอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและผู้ประกอบการ

ธปท. จะเพิ่มความเข้มงวดในการติดตามธุรกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ไทยเป็นแหล่งพักเงินระยะสั้นเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่ ธปท. ไม่พึงประสงค์

ทั้งนี้ระยะต่อไปค่าเงินบาทยังมีความผันผวนภาคเอกขนต้องพิจารณาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้น

สรุป  

ค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่า แม้ปัจจัยหลักจะมาจากต่างประเทศ เช่น ความเสี่ยงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า ทำให้ต่างชาติมองว่าบาทเป็น Safe Haven เลยนำเงินเข้ามาพักในตลาดเงินตลาดทุนของไทย แต่ปัญหาคือถ้าเมื่อไรที่ต่างชาติเริ่มขึ้นดอกเบี้ย หรือดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ารวดเร็ว อาจเห็นเงินไหลออกจากบาทอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/baht-appreciation-in-6-years/