คลังเก็บป้ายกำกับ: แฟรนไชส์

รวม แฟรนไชส์ น่าลงทุน ในปี 2023 งบจำกัดก็ปังได้

ในยุคที่เศรษฐกิจไม่เป็นใจแบบนี้ หลายคนที่อยากทำธุรกิจร้านอาหาร อยากมีร้านเป็นของตัวเองอาจะต้องคิดมากขึ้นพอสมควรเพราะการจะเปิดร้านได้ต้องอาศัยทั้งทักษะ ฝีมือ และการบริหารจัดการภายในร้านที่ดี เพื่อตัดปัญหาที่เราต้องจัดการหลายอย่างเอง ตัวเลือกการซื้อแฟรนไชส์จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่หลายคนเลือกเนื่องจากมีความสะดวกมากกว่าการทำร้านของตัวเอง อีกทั้งชื่อเสียงของแบรนด์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าอยากเข้าร้านของเรา ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า แฟรนไชส์น่าลงทุน ประจำปี 2566 จะมีอะไรน่าลงทุนบ้าง

หมวดธุรกิจร้านอาหาร

เนื้อเทพ

เนื้อเทพ NueaThep

ร้านเฉพาะ เอาใจสายชอบกินเนื้อที่นอกจากเมนูก๋วยเตี๋ยวที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังมีเมนูเนื้ออีกมากมายไม่ว่าจะเป็นลวกจิ้ม กะเพราเนื้อ เกาเหลาเนื้อ โดยเนื้อเทพคัดแต่เนื้อเกรดพิเศษ พร้อมทั้งสูตรที่เป็นเอกลักษณ์ในแต่ละเมนู ทำให้ได้สัมผัสของเนื้อที่ไม่เหมือนใคร พร้อมเสิร์ฟในราคาย่อมเยาเพื่อให้เข้าถึงได้ทุกคน

ราคาแฟรนไชส์ : 19,990 บาท

ภาพจากเพจ Chicky Chic

Chicky Chic

แบรนด์ไก่ป๊อปที่อร่อยแบบไม่เหมือนใครและไม่เหมือนใคร มีสาขาทั่วประเทศมากถึง 220 สาขาทั่วไทยและสปป.ลาว แถมไม่ได้มีเพียงแค่ไก่ป๊อปแต่ยังมีไก่ทอด มันฝรั่งทอดและขนมทานเล่นอื่นๆ อีกมากมายจึงไม่แปลกใจที่แฟรนไชส์นี้จะเป็นที่รู้จักและเป็นที่จับตาของใครหลายคน

ราคาแฟรนไชส์ : 30,000 บาท

ภาพจากเพจ ไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิดเถิดเทิง

ไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิดเถิดเทิง

แฟรนไชส์ลูกชิ้นทอดสุดฮิตที่ไม่ว่าจะไปที่ไหนทั่วประเทศคุณจะต้องพบเจอแน่นอน ด้วยราคาที่เข้าถึงง่าย รสชาติอร่อย เมนูหลากหลาย จึงไม่เป็นที่สงสัยที่จะถูกอกถูกใจลูกค้ามากมาย รวมถึงกลายเป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ที่เติบโตไวมากๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ราคาแฟรนไชส์ : เริ่มต้น 10,990 บาท

ภาพจากเพจหม่าล่ากวนอู

หม่าล่ากวนอู

“จัดจ้าน หน้าแดง” คือสโลแกนของแฟรนไชส์หม่าล่ากวนอู ความโดดเด่นของแฟรนไชส์นี้หลังจากที่เราลงทุนแฟรนไชส์ไป จะมีเพียงแค่พริกหม่าล่าผงเท่านั้นที่ทางแฟรนไชส์จะให้ซื้อ ส่วนวัตถุดิบนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าของร้านเลยว่าจะบริหารต้นทุนอย่างไร เพราะแต่ละทำเล แต่ละพื้นที่มีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน จึงเป็นความได้เปรียบของเจ้าของร้านที่สามารถรังสรรค์เมนูได้หลากหลายมากขึ้น

ราคาแฟรนไชส์ : เริ่มต้น 25,000 บาท

หมวดธุรกิจร้านเครื่องดื่ม 

ภาพจากเพจ Nuocha

Nuocha

ความโดดเด่นของ Nuocha นั้นไม่ได้มีแค่เพียงชานมไข่มุกที่เป็นจุดเด่นเท่านั้น แต่ยังมีขนมปังปิ้งสูตรลับเฉพาะที่พร้อมจะมัดใจลูกค้าอีกด้วย ด้วยราคาเริ่มต้นที่แก้วละ 19 บาทและเมนูมากมายกว่า 70 เมนูทำให้สามารถขายได้ในหลากหลายทำเล ทั้งหน้าโรงเรียน ใกล้ออฟฟิต ใกล้ตลาด

ราคาแฟรนไชส์ : 19,900 บาท

อัน อัน ชานมไข่มุก

อีกหนึ่งแฟรนไชส์ชานมไข่มุกมีสาขามากถึง 300 สาขาภายในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น เพราะด้วยเมนูที่หลากหลายและการดูแลของทางแบรนด์ที่จะมีการสอนสูตรเมนูใหม่ อยู่เสมอ ทำให้เมนูไม่จำเจและมีความแตกต่างจากร้านอื่นๆ มากขึ้น

ราคาแฟรนไชส์ : 39,900 บาท

Hop Chafe

ร้านชานมไข่มุกที่มีจุดเด่นที่เรื่องของราคาเพราะราคาแก้วละ 20 ราคาเท่านั้นแถมฟรีไข่มุกอีกด้วย มีสาขาทั่วไทยเกือบ 200 สาขาทำให้เป็นจุดแข็งในเรื่องของ Branding แถมการันตีคืนทุนไว กำไรสูง

ราคาแฟรนไชส์ : 39,900 บาท

โกโก้ไอ้ต้น

กลายเป็นไวรัลและการบอกต่อแบบปากต่อปากในเวลาไม่กี่เดือนจนเกิดเป็นกระแสการพูดถึงมากมายสำหรับ “โกโก้ไอ้ต้น” ร้านโกโก้สุดปั่นที่เอารูปตัวเองมาปั้นให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้อย่างรวดเร็วจนปัจจุบันมีสาขามากกว่า 50 สาขาทั่วประเทศ

ราคาแฟรนไชส์ : 35,900 บาท

หมวดธุรกิจร้านของหวาน

โก๋นักบิน

ด้วยรสชาติที่ไม่เหมือนปาท่องโก๋ที่ไหน พร้อมทั้งสังขยาและเครื่องจิ้มที่ไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะกินตอนเช้า ตอนสาย หรือมื้อระหว่างวันก็ได้เสมอ ทำให้โก๋นักบินกลายเป็นปาท่องโก๋ที่ใครๆ อยากลิ้มลอง

ราคาแฟรนไชส์ : 39,000 บาท

ขนมโตเกียว TOKYO DIFF

ขนมโตเกียวที่ใส่ความคิดสร้างสรรค์ด้านเมนูและความหลากหลายของไส้ ความพิเศษของแป้งสูตรลับ และการดูแลตลอดระยะเวลาที่ร่วมธุรกิจกัน ทำให้ Tokyo Diff กลายเป็นขนมโตเกียวที่น่าจับตามองมาก

ราคาแฟรนไชส์ : 49,000 บาท

Maru Waffle

วาฟเฟิลฮ่องกงที่เติบโตอย่างรวดเร็วภายในเวลา 4-5 ปีเปิดไปแล้วกว่า 130 สาขา ที่เจ้าของแฟรนไชส์กล่าวว่าส่วนใหญ่ที่มาลงทุนแฟรนไชส์มาจากลูกค้าเก่าที่เคยมาลิ้มลองแล้วอยากร่วมลงทุนธุรกิจนี้ รับรองได้ว่าเป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ที่คืนทุนได้ไวแน่นอน

ราคาแฟรนไชส์ : 33,000 บาท

Little Egg Waffle Tea&Milk

ปิดท้ายด้วยวาฟเฟิลสูตรไข่ไก่สดเจ้าแรกในประเทศไทยและเป็นเจ้าแรกที่มีแป้งวาฟเฟิลแบบทูโทน พร้อมด้วยเครื่องดื่มกว่า 40 เมนูให้ได้วางขาย กลายเป็นร้านที่จบได้ในตัวทั้งขนมและเครื่องดื่ม พร้อมทั้งความยืดหยุ่นของธุรกิจที่สามารถทำแฟรนไชส์แบบไม่ต้องมีหน้าร้านก็ได้

ราคาแฟรนไชส์ : 35,000 บาท

Source : Sale Here,taokaecafe.com,wongnai,Longtunfranchise

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post รวม แฟรนไชส์ น่าลงทุน ในปี 2023 งบจำกัดก็ปังได้ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/popular-franchise-2023/

TOA เปิดตัวธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ FIX & BUILD ตั้งเป้า 5 ปี ขยายกว่า 300 สาขา

TOA ผู้นำเรื่องการทาสีอาคารและวัสดุก่อสร้างครบวงจร รุกธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ปล่อยโมเดลแฟรนไชส์ใหม่ FIX and BUILD

TOA FIX & BUILD

จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เครื่องมือช่าง ไฟฟ้า ประปา ฮาร์ดแวร์ สีและเคมีภัณฑ์ ถูก ครบ จนในที่เดียว เปิดตัวสาขาแรกที่ซอยลาซาล 75 ย่านบางนา กรุงเทพฯ รับส่วนลดสูงสุด 1,200 บาทต่อใบเสร็จ

จตุภัทร์ ตั้งคารวคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุ บริษัทได้วางทิศทางการดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์การเติบโตของธุรกิจที่มากกว่าสี (Growing Beyond Color) จึงเดินหน้าบุกธุรกิจวัสดุก่อสร้างต่อเนื่อง และเข้าร่วมทุนกับบริษัทฮาร์ดแวร์ เอ็กซ์เพิร์ต จำกัด ก่อตั้ง บริษัท อินโคซอร์ส จำกัด (Incosource) มุ่งสู่การเป็นผู้นำซอร์สซิ่งสินค้าฮาร์ดแวร์และวัสดุก่อสร้างด้วยระบบการบริหารจัดการแบบ SRM ร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ

ล่าสุด ปั้นแบรนด์ FIX and BUILD พัฒนาเป็นโมเดลธุรกิจร้านแฟรนไชส์ จำหน่ายวัสดุก่อสร้างเกี่ยวกับงานช่างครบวงจร ตอบโจทย์ลูกค้าและช่างผู้รับเหมา มีสินค้าหลากหลายชนิด อาทิ อุปกรณ์ทาสีในแบรนด์ FIXTON และอุปกรณ์ประปา ท่อ ลูกบิดต่างๆ ในแบรนด์ FIX and BUILD ทั้งเครื่องมือช่าง ไฟฟ้า ประปา ฮาร์ดแวร์ สีและเคมีภัณฑ์ ตั้งเป้าภายใน 5 ปีขยายสาขาให้ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 300 แห่ง

TOA FIX & BUILD

ร้านแฟรนไชส์ FIX and BUILD พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจอยากลงทุนเปิดร้านเป็นของตนเองสามารถสร้างรายได้ด้วยงบลงุทนที่ไม่มาก มีให้เลือก 3 ขนาด ตั้งแต่ S, M, L. ทั้งอาคารพาณิชย์ไปจนถึงร้านค้ารูปแบบ Stand Alone ขนาด 450-500 ตร.ม. ที่ดูแลโดยทีมงานมืออาชีพ ตั้งแต่การออกแบบและช่วยดูแลบริหารร้าน ทั้งระบบบัญชี ระบบซื้อขายและการบริหารจัดการสต๊อกสินค้า รวมทั้งด้านการตลาดด้วย ซึ่งปี 2565 นี้ มีผู้สนใจลงทุนเปิดร้าน FIX and BUILD แล้ว 30 แห่งทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ที่มา – TOA

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post TOA เปิดตัวธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ FIX & BUILD ตั้งเป้า 5 ปี ขยายกว่า 300 สาขา first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/toa-fix-and-build-franchise-model/

ไข่หวานบ้านซูชิ ตั้งเป้ารุก 28 จังหวัด จ่อขยายแฟรนไชส์เป็น 200 สาขา ภายในปี 2565

ไข่หวานบ้านซูชิ แฟรนไชส์ซูชิชื่อดัง ตั้งเป้าขยายกลุ่มแฟรนไชส์ให้ได้ 200 สาขา ใน 28 จังหวัด ภายในปี 2565 พร้อมชูจุดเด่น “หน้าใหญ่ ไซส์แน่น”

ไข่หวานบ้านซูชิ

บริษัท ไข่หวานบ้านซูชิ (ประเทศไทย) จำกัด ปัจจุบันบริหารแฟรนไชส์ที่ 150 สาขา และตั้งเป้าขยายกลุ่มแฟรนไซส์ให้ได้ 200 สาขาภายในปี 2565 เปิดรับสมัครแฟรนไชส์ ในพื้นที่ 28 จังหวัด คือ

เชียงราย, พะเยา, แพร่, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, อุตรดิตถ์, ชัยภูมิ, บึงกาฬ, มุกดาหา, หนองคาย, หนองบัวลำพู, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ชัยนาท, พิจิตร, เพชรบูรณ์, สมุทรสงคราม, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี, ตราด, สระแก้ว, เพชรบุรี, กระบี่, ชุมพร, นราธิวาส, ปัตตานี, สตูล, ยะลา

นางสาวอมรา ไทยรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไข่หวานบ้านซูชิ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดโอกาสในการร่วมแบรนด์เป็นครอบครัว “ไข่หวานบ้านซูชิ” ที่ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 6 ปี กับแนวคิดร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทซูชิ “หน้าใหญ่ ไซส์แน่น” จุดเด่นสูตรลับที่ไม่มีใครเหมือน ไม่สามารถเลียบแบบได้ กับสูตรน้ำส้มและน้ำซอสโชยุเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์เท่านั้น

โดยสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ได้แก่ การฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ ช่วยดูแลวัตถุดิบและส่วนผสมหลัก ได้รับวัตถุดิบและอุปกรณ์ชุดแรก สัญญาระยะเวลา 3 ปี ไม่มีการเก็บเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ไม่มีค่าธรรมเนียมรายเดือน จัดการรูปแบบร้านและบริหารการขายเองได้ รังสรรค์เมนูเพิ่มหรือลดได้ และมีการสอนเทคนิคเพิ่มยอดขาย

สำหรับใครที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสามารถกรอกใบสมัครตามลิงก์นี้ https://forms.gle/NzLVLZr397PhfaMe8

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ไข่หวานบ้านซูชิ ตั้งเป้ารุก 28 จังหวัด จ่อขยายแฟรนไชส์เป็น 200 สาขา ภายในปี 2565 first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/kaiwan-will-expand-to-28-province/

FamilyMart เตรียมเปิดหน้าร้านแบบไม่ใช้พนักงาน ใช้แต่กล้องวงจรปิดและระบบเซ็นเซอร์

ปลายปี 2024 FamilyMart เตรียมเดินหน้าเปิดร้านอีก 1,000 แห่ง ภายในร้านจะขายสินค้าแบบเดียวกับสาขาทั่วไป แต่ความแตกต่างที่กำลังจะเกิดขึ้นคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากกว่าสาขาอื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วไป เนื่องจากขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก

FamilyMart

ถ้าเทียบอันดับผลิตภาพแรงงานซึ่งมีความสำคัญมากต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับญี่ปุ่นแล้วถือว่าอยู่ในอันดับต่ำที่สุดของกลุ่ม G7 และอยู่อันดับที่ 21 จากสมาชิก 37 ประเทศในกลุ่ม OECD ถือว่าอยู่อันดับต่ำสุดในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง G7 และอยู่ในอันดับที่ไม่สูงมากนักสำหรับกลุ่มประเทศ OECD

เนื่องจากญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ระบบอัตโนมัติจึงมีบทบาทสำคัญในการรับบทพระเอกเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้แทน

สำหรับธุรกิจค้าปลีกในส่วนของเรื่องสุขอนามัย ความสะอาดต่างๆ ยังต้องใช้บุคลากรเข้าไปดูแลจัดการด้านนี้อยู่ตามที่กฎหมายกำกับ แต่สำหรับระบบจ่ายเงินถือเป็นส่วนสำคัญสำหรับร้านค้าที่เน้นระบบอัตโนมัติ FamilyMart จะใช้กล้องวงจรปิดติดเพเดานและกล้องที่ใช้ระบบ AI รวมทั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับบนชั้นวางสินค้าเพื่อตรวจสอบขณะลูกค้าหยิบจับสินค้าออกจากชั้น เมื่อลูกค้ายืนอยู่ในช่องจ่ายเงิน ชื่อสินค้าและราคาจะปรากฏบนหน้าจอ จากนั้นลูกค้าก็สามารถจ่ายเงินได้ทั้งเงินสดและระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเอาการอ่านบาร์โค้ดที่ยุ่งยากออก แต่ก็จะทำให้ลูกค้าที่ต้องการขโมยของยากขึ้นด้วย

ระบบดังกล่าวที่ FamilyMart กำลังจะทำนี้จะปกป้องความเป็นส่วนตัวให้ลูกค้าด้วย โดยเฉพาะข้อมูลที่ยืนยันตัวตน เช่น จะไม่เก็บข้อมูลที่เป็นระบบตรวจจับใบหน้าไว้ ลูกค้าไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันไว้ในสมาร์ทโฟนล่วงหน้า ไม่ต้องเตรียมข้อมูลยืนยันตัวตนตามระบบไบโอเมตริกซ์ก่อนเข้าร้านเลย ทางร้านระบุว่าอาจจะมีสินค้าราว 3,000 รายการเหมือนกับหน้าร้านทั่วไป ทั้งนี้ ได้มีการทดลองขายในโตเกียวช่วงกรกฎาคมที่ผ่านมาแล้ว ร้านมีพื้นที่ขนาด 50 ตารางเมตรหรือราว 30% ของขนาดหน้าร้านปกติ ใช้กล้องตรวจจับประมาณ 50 ตัว มีสินค้าราว 750 รายการ ในกรณีที่มีลูกค้ามาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ก็จะมีการมอนิเตอร์ยืนยันตัวตนในช่องจ่ายเงินด้วย

FamilyMart
Photo: FamilyMart in Malaysia

ปัจจุบัน FamilyMart นี้มีหน้าร้านอยู่ในญี่ปุ่นราว 16,000 แห่ง บริษัทเดินหน้าขยายสาขาจำนวนมากขนาดนี้หลังจากที่มีการยืนยันระบบปฏิบัติการแล้วพบว่าการให้บริการพร้อมกันในคราวเดียว 10 คนนั้น ไม่มีปัญหาติดขัด โดยระบบดังกล่าวใช้บริการจากบริษัท Touch To Go ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับร้านค้าที่ไม่มีพนักงาน เป็นบริษัทในเครือของ East Japan Railway ที่ FamilyMart ถือหุ้นอยู่ด้วย

อย่างไรก็ดี ระบบอัตโนมัตินี้ทำให้ร้านมีต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่าร้านทั่วไปราว 20% แต่ในส่วนต้นทุนของแรงงานลดลงเพราะไม่จำเป็นต้องใช้พนักงาน ยกเว้นในส่วนของรับสินค้าและสต็อกสินค้า ผลสำรวจจากคณะกรรมการการค้าที่เป็นธรรมของญี่ปุ่นพบว่าเฉพาะค่าแรงงานในร้านแฟรนไชส์มีค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานราว 60% ด้านประธานบริษัท Kensuke Hosomi กล่าวกับ Nikkei ว่า ตอนนี้ เราสามารถเปิดหน้าร้านในพื้นที่ที่ไม่ทำกำไรได้ เพราะเราต้องการแก้ปัญหาสังคม ช่วยเหลือผู้คนในพื้นที่ที่ขาดแคลนซุปเปอร์มาเก็ต

ญี่ปุ่นมีคอนวีเนียนสโตร์ราว 50,000 แห่งแต่ก็มีจำนวนลดลงครั้งแรกในปี 2019 อีกหลายบริษัทในญี่ปุ่นต่างก็พยายามปรับตัวโดยการใช้ระบบอัตโนมัติเข้าไปในการให้บริการมากขึ้น เช่น 7-Eleven ก็เริ่มใช้ระบบจดจำใบหน้ามาใช้ในการจ่ายเงิน Lawson ก็มีระบบให้ลูกค้าใช้สมาร์ทโฟนตัวเองอ่านบาร์โค้ดสินค้าได้

ที่มา – Nikkei Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post FamilyMart เตรียมเปิดหน้าร้านแบบไม่ใช้พนักงาน ใช้แต่กล้องวงจรปิดและระบบเซ็นเซอร์ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/familymart-will-launch-unstaff-shop-by-the-end-of-2024/

เถ้าแก่น้อย ลุยธุรกิจสตรีทฟู้ดเกาหลี ตั้งเป้าขยายแฟรนไชส์ Bomber Dog 45 สาขา

TKN หรือ บมจ. เถ้าแก่น้อย ฟู้ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง ส่งบริษัท เถ้าแก่น้อย เรสเตอรองท์ แอนด์ แฟรนไชส์ จำกัด (TKNRF) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของ TKN ปั้นแบรนด์สตรีทฟู้ดเกาหลี เตรียมเปิดขายแฟรนเชส์ บอมเบอร์ด๊อก (Bomber Dog) อาหารทานเล่นสไตล์เกาหลีอีก 45 สาขา เปิดโอกาสสำหรับคนที่อยากมีร้านค้าเป็นของตัวเอง ด้วยงบลงทุนเริ่มต้นที่ 123,000 บาท

อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู้ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TKN ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสาหร่ายทะเลแปรรูปทั้งในและต่างประเทศภายใต้ตราสินค้า “เถ้าแก่น้อย” รวมถึงขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์ ระบุว่า ที่เหลือของปีนี้ TKN เตรียมผลักดัน TKNRF เดินหน้าขยายธุรกิจร้านอาหาร ซึ่ง TKNRF ได้ศึกษาและทดลองวางกลยุทธ์รูปแบบร้านอาหารและเมนูต่างๆ ที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย จึงเป็นที่มาของแผรนไชส์อาหารสตรีทฟู้ดเกาหลี ที่มีจุดเด่นคือผู้บริโภคท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวให้ความนิยมอย่างมาก

TKNRF ตั้งเป้าขยายแฟรนไชส์ บอมเบอร์ด๊อก (Bomber Dog) ร้านสตรีทฟู้ดเกาหลีในช่วงที่เหลือของปี 2564 จำนวน 45 สาขา เฉลี่ยเปิด 8-10 สาขาต่อเดือน คาดว่าจะเปิดอีก 100 สาขาในปี 2565 ปัจจุบันมีสาขาในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ปั๊มน้ำมัน และ Cloud Kitchen แล้วทั้งสิ้น 18 สาขา เตรียมเปิดในเดือนกันยายนนี้อีก 8 สาขา เน้นขยายสาขาที่พื้นที่ปั๊มน้ำมันเป็นหลัก คาดว่าจะมียอดขายที่เติบโตจากธุรกิจนี้มากกว่า 100% ภายในปีนี้ และยังเพิ่มช่องทางสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารชั้นนำเช่น Lineman, Grab, Food Panda เพื่อรองรับผู้บริโภคด้วย

Bomber Dog

รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ของบอมเบอร์ด๊อกมี 2 รูปแบบ คือแบบรถเข็นจะมีค่าแฟรนไชส์เริ่มต้นที่ 123,000 บาทและแบบตั้งบนพื้นที่ มีขนาดพื้นที่ 2.5×2.5 เมตร มีค่าแฟรนไชส์เริ่มต้น 260,000 บาท

บอมเบอร์ด๊อก เป็นร้านสตรีทฟู้ดเกาหลี มีเมนูทานเล่น เช่น คอร์นดอก, ฮอทดอก ต็อกโบกี เฟรนช์ฟราส์ ไก่ป๊อบ ไก่ทอดเกาหลี รสชาติอร่อยเหมือนต้นตำรับ เข้าถึงง่าย ตอบโจทย์คนเมืองที่รีบเร่งเดินทาง ทานง่าย สะดวก รวดเร็ว

TKNRF

ที่มา – เถ้าแก่น้อย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เถ้าแก่น้อย ลุยธุรกิจสตรีทฟู้ดเกาหลี ตั้งเป้าขยายแฟรนไชส์ Bomber Dog 45 สาขา first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/tknrf-expand-bomber-dog-franchise-in-2021/

CRG ปั้นแบรนด์ร้านอาหาร “อร่อยดี” ใช้กลยุทธ์สตรีทฟู้ดเข้าถึงง่าย ขยายร้านด้วยแฟรนไชส์

มากกว่าร้านสะดวกซื้อ คือร้านสะดวกทาน บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG เปิดตัวแฟรนไชส์ร้านอาหาร “อร่อยดี” จับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการร้านอาหารไทยแนวสตรีทฟู้ด ที่มีทั้งความสะดวก รสชาติอร่อย ในทำเลดี และราคาไม่แพง

ภาพจาก facebook.com/CRGAroiDeeRestaurant/

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG เล่าภาพรวมของธุรกิจร้านอาหารในปี 2563 ว่า มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 3.85-3.89 แสนล้านบาท โดยหดตัวลง 9.7-10.6% จากเมื่อปีที่แล้ว จากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนเป็นการสั่งอาหาร Delivery ไปทานที่บ้าน หรือที่ทำงาน แทนการนั่งรับประทานในร้าน รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด

นอกจากนี้การหดตัวลงของตลาดธุรกิจร้านอาหาร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกำลังการซื้อที่ลดลงเช่นกัน แต่ในขณะที่ความท้าทายของการทำธุรกิจอาหารมีมากขึ้น เพราะการแข่งขัน และต้นทุนที่สูง

เราจึงมักเห็นร้านอาหารหลายแห่งมีการแข่งขันกันออกเมนูอาหารใหม่ๆ และเปิดบริการ Delivery เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และหาทางผลักดันยอดขาย

อาหารแนวสตรีทฟู้ด-เดลิเวอรี ทางรอดของธุรกิจร้านอาหารในยุคนี้

สำหรับมูลค่าตลาดของอาหารสตรีทฟู้ด คาดการณ์ว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 25% ของมูลค่าธุรกิจร้านอาหารทั้งหมด หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งนับรวมถึงทั้งร้านอาหารขนาดเล็ก และขนาดใหญ่

CRG จึงต้องการสร้างแบรนด์ อร่อยดี ในการทำตลาดอาหารสตรีทฟู้ด ด้วยเมนูอาหารไทยที่หลากหลาย เข้าถึงง่าย ราคาไม่แพง เช่น เมนูข้าวผัดรถไฟ ข้าวผัดกระเพรา และผัดมาม่าใส่ไข่ เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายกว่า 60% ที่เป็นพนักงานออฟฟิศ หรือคนทำธุรกิจส่วนตัว อายุ 25-45 ปี ที่ส่วนใหญ่แล้วต้องการทานอาหารไทย

ส่วนทำเลที่ตั้งของร้านกว่า 53% อยู่ในพื้นที่ปั๊มน้ำมัน สร้างความสะดวกให้ลูกค้าแวะทานอาหารในช่วงที่เร่งรีบได้เป็นอย่างดี ซึ่งสะดวกกว่าการซื้ออาหารในร้านสะดวกซื้อ เพราะการซื้ออาหารจากร้านสะดวกซื้อ ไม่มีที่ให้นั่งทาน แถมต้องอุ่นอาหารอีกเช่นกัน นอกจากนี้ยอดขายส่วนใหญ่ของร้านอาหารอร่อยดีกว่า 70% มาจากช่องทาง Delivery เป็นหลัก

ยิ่งในยุคนี้ที่ตลาดธุรกิจร้านอาหารเติบโตลดลงกว่า 9.7-10.6% จากปัจจัยหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง อาหารไทย แนวสตรีทฟู้ดที่มีราคาไม่แพงจึงกลายเป็นทางเลือกสำคัญ ในการเข้าถึงลูกค้า ในช่วงที่กำลังซื้อลดลง

ขยายแฟรนไชส์ ตั้งเป้า 300 สาขาใน 5 ปี

นอกจากเมนูอาหารแนวสตรีทฟู้ด เข้าถึงง่าย ราคาไม่แพงแล้ว CRG ยังต้องการปั้นแฟรนไชส์ร้านอาหารอร่อยดีด้วยเช่นกัน โดยตั้งเป้าหมายว่าต้องการขยายสาขาให้ได้ 300 สาขาทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี แบ่งเป็น สาขาแฟรนไชส์ 70% และสาขาของบริษัทเองอีก 30%

การขยายสาขาโดยใช้กลยุทธ์แฟรนไชส์นี้นับว่ามีความน่าสนใจ เนื่องจากในปัจจุบันที่ยอดขายของร้านอาหารอร่อยดีกว่า 70% มาจากช่องทางการสั่ง Delivery ทำให้ยิ่งมีการขยายสาขาแฟรนไชส์ออกไปมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นการขยายพื้นที่การให้บริการ Delivery ตามไปด้วยเช่นเดียวกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/crg-%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b8%ad%e0%b8%a3/

CRG ปั้นแบรนด์ร้านอาหาร “อร่อยดี” ใช้กลยุทธ์สตรีทฟู้ดเข้าถึงง่าย ขยายร้านด้วยแฟรนไชส์

มากกว่าร้านสะดวกซื้อ คือร้านสะดวกทาน บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG เปิดตัวแฟรนไชส์ร้านอาหาร “อร่อยดี” จับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการร้านอาหารไทยแนวสตรีทฟู้ด ที่มีทั้งความสะดวก รสชาติอร่อย ในทำเลดี และราคาไม่แพง

ภาพจาก facebook.com/CRGAroiDeeRestaurant/

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG เล่าภาพรวมของธุรกิจร้านอาหารในปี 2563 ว่า มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 3.85-3.89 แสนล้านบาท โดยหดตัวลง 9.7-10.6% จากเมื่อปีที่แล้ว จากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนเป็นการสั่งอาหาร Delivery ไปทานที่บ้าน หรือที่ทำงาน แทนการนั่งรับประทานในร้าน รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด

นอกจากนี้การหดตัวลงของตลาดธุรกิจร้านอาหาร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกำลังการซื้อที่ลดลงเช่นกัน แต่ในขณะที่ความท้าทายของการทำธุรกิจอาหารมีมากขึ้น เพราะการแข่งขัน และต้นทุนที่สูง

เราจึงมักเห็นร้านอาหารหลายแห่งมีการแข่งขันกันออกเมนูอาหารใหม่ๆ และเปิดบริการ Delivery เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และหาทางผลักดันยอดขาย

อาหารแนวสตรีทฟู้ด-เดลิเวอรี ทางรอดของธุรกิจร้านอาหารในยุคนี้

สำหรับมูลค่าตลาดของอาหารสตรีทฟู้ด คาดการณ์ว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 25% ของมูลค่าธุรกิจร้านอาหารทั้งหมด หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งนับรวมถึงทั้งร้านอาหารขนาดเล็ก และขนาดใหญ่

CRG จึงต้องการสร้างแบรนด์ อร่อยดี ในการทำตลาดอาหารสตรีทฟู้ด ด้วยเมนูอาหารไทยที่หลากหลาย เข้าถึงง่าย ราคาไม่แพง เช่น เมนูข้าวผัดรถไฟ ข้าวผัดกระเพรา และผัดมาม่าใส่ไข่ เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายกว่า 60% ที่เป็นพนักงานออฟฟิศ หรือคนทำธุรกิจส่วนตัว อายุ 25-45 ปี ที่ส่วนใหญ่แล้วต้องการทานอาหารไทย

ส่วนทำเลที่ตั้งของร้านกว่า 53% อยู่ในพื้นที่ปั๊มน้ำมัน สร้างความสะดวกให้ลูกค้าแวะทานอาหารในช่วงที่เร่งรีบได้เป็นอย่างดี ซึ่งสะดวกกว่าการซื้ออาหารในร้านสะดวกซื้อ เพราะการซื้ออาหารจากร้านสะดวกซื้อ ไม่มีที่ให้นั่งทาน แถมต้องอุ่นอาหารอีกเช่นกัน นอกจากนี้ยอดขายส่วนใหญ่ของร้านอาหารอร่อยดีกว่า 70% มาจากช่องทาง Delivery เป็นหลัก

ยิ่งในยุคนี้ที่ตลาดธุรกิจร้านอาหารเติบโตลดลงกว่า 9.7-10.6% จากปัจจัยหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง อาหารไทย แนวสตรีทฟู้ดที่มีราคาไม่แพงจึงกลายเป็นทางเลือกสำคัญ ในการเข้าถึงลูกค้า ในช่วงที่กำลังซื้อลดลง

ขยายแฟรนไชส์ ตั้งเป้า 300 สาขาใน 5 ปี

นอกจากเมนูอาหารแนวสตรีทฟู้ด เข้าถึงง่าย ราคาไม่แพงแล้ว CRG ยังต้องการปั้นแฟรนไชส์ร้านอาหารอร่อยดีด้วยเช่นกัน โดยตั้งเป้าหมายว่าต้องการขยายสาขาให้ได้ 300 สาขาทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี แบ่งเป็น สาขาแฟรนไชส์ 70% และสาขาของบริษัทเองอีก 30%

การขยายสาขาโดยใช้กลยุทธ์แฟรนไชส์นี้นับว่ามีความน่าสนใจ เนื่องจากในปัจจุบันที่ยอดขายของร้านอาหารอร่อยดีกว่า 70% มาจากช่องทางการสั่ง Delivery ทำให้ยิ่งมีการขยายสาขาแฟรนไชส์ออกไปมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นการขยายพื้นที่การให้บริการ Delivery ตามไปด้วยเช่นเดียวกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/crg-aroi-dee-restaurant-franchise/

นักธุรกิจไทยมองสองชั้น ซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารต่างแดนได้มากกว่าที่คิด

การซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจร้านอาหารต่างประเทศ เป็นมากกว่าแค่การขยายอาณาจักรและปลุกปั้นรายได้ แต่เป็นการเรียนรู้โนฮาวด์ ประสบการณ์อันเลอค่าและหามิได้ 

ภาพจาก : shutterstock

มาเริ่มต้นที่อิมแพ็ค กรุ๊ป” จากการความเชี่ยวชาญบริหารศูนย์แสดงสินค้าและประชุม แต่เมื่ออยู่ในสังเวียนของธุรกิจร้านอาหารประสบการณ์ของอิมแพ็ค เรียกว่าชั่วบินยังน้อยมาก จากการมีร้านอาหารราว 30 สาขา พร้อมกับวางเป้าหมายเป็นเดิมพันจะขยายธุรกิจร้านอาหารโดยมีสาขา 60 สาขา ภายใน 3 ปีก็ตาม

เป็นเรื่องไม่ง่ายนัก การโดดเข้ามาสมรภูมิธุรกิจร้านอาหาร สำหรับ พอลล์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เล่าว่า เราตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น สึโบฮาจิ เป็นแบรนด์แรกเลยก็ว่า

พอลล์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด

“ผมซื้อแฟรนไชส์เพื่อเรียนรู้ระบบการจัดการวัตถุดิบ อย่าง แซลมอน ล็อบสเตอร์ เพราะขึ้นชื่อว่าญี่ปุ่น วัตถุดิบอาหารต้องได้มาตรฐาน ขั้นตอนการบริหารจัดการวัตถุดิบส่งตรงจากญี่ปุ่นมาถึงไทยดำเนินการอย่างไรให้สดใหม่”

นอกจากแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นแล้ว กลุ่มอิมแพ็ค ตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ “เดอะคอฟฟี่ อะคาเดมิคส์” แบรนด์ดังจากฮ่องกง อิมแพ็ค ไม่มองว่าการดำเนินธุรกิจต้องประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะเราต้องการเรียนรู้มาร์เก็ตติ้ง โดยเฉพาะการทำโซเชียลมีเดียสำหรับเดอะคอฟฟี่ อะคาเดมิคส์ ที่สร้างกระแสฮือฮามาแล้วในฮ่องกง หรือการบริหารโอเปอเรชั่นต่างๆ

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจฟู้ดเซอร์วิสครบวงจร เล่าว่า กลุ่มเซ็นมีประสบการณ์ในธุรกิจร้านอาหารร่วม 28 ปี การตัดสินใจจะซื้อกิจการหรือแฟรนไชส์เรายึดหลักดีเอ็นเอของแบรนด์ก่อน และมองหาพันธมิตรมีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอเติมเต็มกับที่เราต้องการหรือไม่

“ก่อนหน้านี้ได้ซื้อแฟรนไชส์ซูชิซู เมนูของอาหารเสี่ยวหลงเปาแต่เป็นร้านอาหารของญี่ปุ่น ขณะนี้มีจำนวน 10 สาขา ตอนตัดสินใจซื้อเรามองว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจ อยากเรียนรู้โนฮาวด์มีการบริหารจัดการธุรกิจใช้คนน้อย และบริหารต้นทุนอาหารได้ดี ราคาจึงไม่แพงมากนัก เรียกว่าซื้อง่ายขายคล่องสนอผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี”

สำหรับประสบการณ์ซื้อกิจการ ตำมั่ว แบรนด์จำหน่ายส้มตำ ไก่ย่าง สิ่งที่เราได้ประโยชน์นำโนฮาวด์แบรนด์ไทยไปขยายหรือต่อยอด นอกจากนี้ตำมั่ว ยังเป็นอาหารเข้ามาเติมเต็มพอร์ตโฟลิโอให้ธุรกิจอาหารเซ็น กรุ๊ป แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

แง่คิดของนักธุรกิจ อย่างบุญยง ผู้คว่ำหวอดในธุรกิจมาอย่างโชกโชน มองว่า การพัฒนาแบรนด์เองง่ายกว่า แต่ต้องใช้ระยะเวลาปั้นแบรนด์ให้ติดตลาด การซื้อกิจการ หรือแฟรนไชส์ สามารถแจ้งได้เร็ว สร้างการเติบโตได้ดีกว่า

สรุป : หลักการเลือกซื้อกิจการ – ควบรวม

  • การซื้อกิจการ ต้องดูดีเอ็นเอของแบรนด์
  • การควบรวมกิจการ ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรคล้ายกัน
  • แบรนด์สตาร์ทอัพ ต้องใช้เวลาปรับให้เข้ากับระบบ
  • การซื้อแบรนด์ต้องดูจิ๊กซอร์ในการต่อยอดธุรกิจ
  • นำโนฮาวด์ของแบรนด์มาการบริหารจัดการ
  • การซื้อแบรนด์หรือแฟรนไชส์ถูกหรือแพงต้องมองที่ความคุ้มค่า

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/restaurant-franchise/

OfficeMate บุกโมเดลแฟรนไชส์ เดินเกมด้วย Relationship Marketing

OfficeMate เปิดร้านโมเดลแฟรนไชส์เป็นครั้งแรก มองการเติบโตในตลาดต่างจังหวัด อาศัย Relationship ของคนในพื้นที่ ตั้งเป้าในอนาคตต้องมี 1 อำเภอ 1 สาขาให้ได้

เปลี่ยนร้านเครื่องเขียนในพื้นที่เป็นคู่ค้าด้วยแฟรนไชส์

ในปีนี้ถือเป็นการขยับตัวครั้งใหญ่ในรอบหลายปีของ OfficeMate ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับโมเดลธุรกิจมากมาย เพื่อให้เข้ากับการทำตลาดในยุคนี้

จนได้เห็นการเปิดตัวหลายโปรเจ็คต์ใหญ่ๆ ด้วยกัน ทั้งคลังสินค้าไฮเทคอัจฉริยะมูลค่า 1,000 ล้านบาท บนพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ถนนสุวินทวงศ์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อย

อีกทั้งยังได้เปิดแผนธุรกิจจากเป้าหมายที่ต้องมีรายได้มากกว่า 10,000 ล้านนบาท และอัพสเกลจากผู้จำหน่ายสินค้าอุปกรณ์สำนักงาน สู่การขายทุกอย่างที่ภาคธุรกิจควรมี เรียกง่ายๆ ว่าเป็นเพื่อนคู่คิดสำหรับองค์กร

ในเดือนหน้าได้เริ่มเปิดร้าน OfficeMate Plus เป็นโมเดลแฟรนไชส์เป็นครั้งแรก จะมีร้านต้นแบบร้านแรกที่รังสิต จากนั้นก็ทยอยขยายสาขามากขึ้นเรื่อยๆ

วรวุฒิ อุ่นใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) เล่าถึงที่มาที่ไปของการทำโมเดลแฟรนไชส์ว่า

“ความสำคัญของตลาดในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นตลาดที่ซื้อขายด้วย Relationship ไม่ว่าจะองค์กรหน่วยงานใหญ่ หรือหน่วยงานรัฐก็ซื้อตาม Relationship ที่มีอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นร้านที่ขายเครื่องเขียน หรืออุปกรณ์สำนักงานในพื้นที่ เป็นร้านโลคอล คนกลุ่มนี้จะมี Relation ที่ดีกับลูกค้าอยู่แล้ว สามารถทำให้เติบโตแบบวินวินได้ในอนาคต”

วรวุฒิเสริมอีกว่า เท่าที่สำรวจตลาดมาร้านขายอุปกรณ์สำนักงาน หรือร้านเครื่องเขียนโลคอลในต่างจังหวัดมีเป็นหมื่นรายทั่วประเทศ แต่สิ่งที่จะทำให้เขามาเป็นแฟรนไชส์กับ OfficeMate ได้คือ มีสินค้าครบ มีระบบครบ ระบบโลจิสติกส์ คลังสินค้า มีอินฟราสตรัคเจอร์ที่ดี เป็นสิ่งที่เสริมธุรกิจกันได้

อยากเป็นแฟรนไชส์ 100%

ในปีนี้ตั้งเป้าเปิดร้านแฟรนไชส์ 15 สาขา แต่เป้าหมายใหญ่ในอนาคตอยากมี 1 อำเภอ 1 แฟรนไชส์ภายใน 10 ปี ปัจจุบันประเทศไทยมีทั้งหมด 900 อำเภอทั่วประเทศ

นอกจากเรื่องการอาศัย Relationship กับลูกค้าแล้ว การมีแฟรนไชส์ยังสามารถช่วยเรื่องการกระจายสินค้าได้ด้วย เป็นจุด Click&Collect ได้ ก็คือสั่งซื้อจากออนไลน์ แล้วมารับสินค้าที่หน้าร้าน รวมถึงเป็นฮับของระบบโลจิสติกส์

ในอนาคตร้านค้าปลีกของ OfficeMate ทั้งหมด 72 สาขา ก็อาจจะให้แฟรนไชส์บริหารหมดเลยก็ได้ เพราะต้องการเป็นโมเดลแฟรนไชส์ 100% ในอนาคต

สรุป

ในการขยายธุรกิจในยุคนี้ จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์แฟรนไชส์เข้ามาช่วยในการสบายปีกได้เร็วขึ้น ยิ่งในพื้นที่ต่างจังหวัดจำเป็นต้องใช้คนในพื้นที่เพราะมีความชำนาญ และรู้จักคนในพื้นที่อย่างดี เรียกว่าเป็นการเดินเกมที่สำคัญของ OfficeMate

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/office-mate-plus-franchise/

จุดจบร้านกาแฟแฟรนไชส์! 1 ใน 10 ร้านกาแฟของเกาหลีใต้ปิดตัวลง เพราะแข่งต่อไม่ไหว

หรือว่าจะถึงตอนอวสานของเชนร้านกาแฟในเกาหลีใต้ ปีที่ผ่านมาพบว่า มีร้านกาแฟท้องถิ่นปิดตัวไปไม่ต่ำกว่า 10% ทั้งประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยุคนี้ใครๆ ก็สนใจมาเล่นในตลาดกาแฟ อย่างร้านอาหารกับร้านสะดวกซื้อก็ลงมาเล่นกันสนุกสนาน

  • อ่านข่าวนี้จบ เราน่าจะกลับมาทบทวนตลาดร้านกาแฟในไทยกันบ้างไหม?
Coffee กาแฟ ร้านกาแฟ
Coffee Photo: Shutterstock

ฟองสบู่เชนร้านกาแฟในเกาหลีใต้?

ตามรายงานของ Korea Herald ระบุว่า ตลาดร้านกาแฟแฟรนไชส์ในเกาหลีใต้ได้เข้าสู่จุดอิ่มตัว และได้ทยอยปิดตัวสาขากันไปไม่น้อย คิดเป็นตัวเลขไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่ง โดยตัวเลขร้านกาแฟแฟรนไชส์ในเกาหลีใต้มีทั้งหมดกว่า 11,198 แห่ง

  • หรือพูดอีกอย่างได้ว่า ในปีที่ผ่านมา 1 ใน 10 ของร้านกาแฟแฟรนไชส์ในเกาหลีใต้ได้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ

Lee Kyung-hee ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจในเกาหลีใต้ บอกว่า สถานการณ์ของตลาดกาแฟในเกาหลีใต้เรียกได้ว่าเป็น “สงครามกาแฟ” (coffee war) เพราะนอกจากเชนร้านกาแฟที่เปิดสาขากันอย่างนับไม่ถ้วน ในด้านของ “บรรดาร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ ต่างก็เอาเมนูเครื่องดื่มกาแฟเข้ามาขายในร้าน ไม่เว้นแม้แต่ในออฟฟิศยุคนี้ ก็ต้องมีเครื่องชงกาแฟไว้ให้พนักงานกันแล้ว สงครามกาแฟในเกาหลีใต้รุนแรงมากจริงๆ”

ภาพของการขายกาแฟในร้านสะดวกซื้อ อาจเทียบได้กับบ้านเรา อย่างในเซเว่น อีเลฟเว่นที่ขายกาแฟสดในราคาที่สามารถแข่งขันกับร้านกาแฟท้องถิ่นได้ ส่วนในเกาหลีใต้จากข้อมูลเปิดเผยว่า กาแฟในร้านสะดวกซื้อมีราคาไม่เกิน 1,000 วอนหรือไม่ถึงถึง 1 ดอลลาร์ด้วยซ้ำ ด้วยราคาที่ต่ำขนาดนี้จึงไม่แปลกที่จะทำให้ร้านกาแฟท้องถิ่นอยู่ยาก

ภาพจาก Shutterstock

ตัวอย่างเชนร้านกาแฟเกาหลีใต้ที่กำลังทุรนทุราย

รายแรกคือ Cafe Droptop เชนร้านกาแฟท้องถิ่นในเกาหลีใต้ที่ก่อตั้งมา 7 ปีแล้ว

ถ้าดูจากจำนวนสาขาของ Cafe Droptop ทั่วประเทศมีทั้งหมด 240 สาขา ถือว่าแข็งแกร่งในระดับหนึ่ง (ถ้าไม่นับแบรนด์ต่างชาติอย่าง Starbucks ที่มีมากกว่า 1,000 สาขา) แต่ทั้งนี้ด้วยการแข่งขันจากรอบทิศทางในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ทำให้เชนร้านกาแฟท้องถิ่นรายนี้ต้องปลดพนักงานออกไปกว่า 1 ใน 5 เพื่อลดต้นทุนของบริษัทให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ต่อไป

ส่วนอีกรายคือ Caffe Bene เชนร้านกาแฟรายนี้ออกอาการหนักหนาสาหัส เพราะเพิ่งยื่นต่อศาลเพื่อขอคุ้มครองการล้มละลายไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ที่มา – Inside Retail

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/south-korea-coffee-chain-fallout/