คลังเก็บป้ายกำกับ: เอชแอนด์เอ็ม

H&M กำลังถูกบอยคอตต์ในจีน หลังประกาศไม่ได้บังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง

ก่อนหน้านี้ ที่สหรัฐฯ ออกมาประกาศแบนสินค้าที่มีการบังคับใช้แรงงานในมณฑลซินเจียง จีน ซึ่งแบรนด์เสื้อผ้า H&M ก็เคยออกมาประกาศเช่นกัน ว่าไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตจีนที่บังคับใช้แรงงานเหล่านี้ ล่าสุด H&M กำลังเผชิญปัญหาจากการถูกแบนในจีน 

H&M in China

เคยมีการรายงานจากสถาบัน ASPI ระบุว่า H&M เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ใช้ประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานผ่านผู้ผลิตเส้นด้าย ขณะที่ H&M เองก็ออกแถลงการณ์ปฏิเสธว่า ไม่ได้บังคับใช้แรงงาน หลังจากนั้น 8 เดือน ก็มีกระแสจากประเทศในตะวันตกกรณีต้านจีนที่ใช้แรงงานอุยกูร์ ซึ่ง H&M ก็เจอกระแสโต้กลับจากกลุ่มเยาวชนคอมมิวนิสต์ที่ได้รับอิทธิพลจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน ให้ความเห็นร้อนแรงใน Weibo ว่า ต้องการหาเงินในจีน แต่ก็ปล่อยข่าวลือผิดๆ ที่นำไปสู่การบอยคอตต์ฝ้ายจากซินเจียง

ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาทั้งอังกฤษ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปก็ประกาศคว่ำบาตรเจีนอย่างเป็นทางการกรณีที่จีนปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ในจีน ซึ่งหนึ่งในห้าของสิ่งทอก็มีฝ้ายหรือเส้นด้ายที่มาจากภูมิภาคนี้

นอกจาก H&M แล้วก็อาจจะมีบริษัท Nike ที่น่าจะเป็นรายถัดไป หลังจากที่บริษัทเผยแพร่แถลงการณ์บนเว็บไซต์เพื่อแสดงความกังวลถึงการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง ไนกี้ก็ระบุว่าแหล่งผลิตของบริษัทไม่ได้มาจากภูมิภาคนี้ และยืนยันว่าซัพพลายเออร์ในสัญญาไม่ได้ใช้สิ่งทอหรือใยด้ายมาจากภูมิภาคนี้ แน่นอนว่า หลังจากที่ไนกี้เผยแพร่แถลงการณ์เช่นนี้ออกไป ก็กลายเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้รับการค้นหาข้อมูลอย่างหนักจาก Weibo ซึ่งก็มีการซักถามมาว่าทางไนกี้ได้ร่วมบอยคอตต์ด้ายจากภูมิภาคนี้หรือไม่ ทางไนกี้ได้ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นนี้

Photo : Shutterstock

ขณะที่นักแสดงจีน Huang Xuan ที่เซ็นสัญญากับ H&M ได้ประกาศว่าเขาอาจจะยกเลิกสัญญาและยังระบุว่า H&M พยายามทำลายชื่อเสียงของประเทศ ทั้งนี้ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน 3 รายยักษ์ใหญ่ที่มีทั้ง Pinduoduo, Jingdong และ Tmall ได้เอาช่องค้นหา H&M ในแพลตฟอร์มออกและยังเอาสินค้าออกจากการจัดจำหน่ายด้วย ซึ่งทาง H&M ในจีนก็ได้ออกมาโพสต์ข้อมูลใน Weibo ว่า (การไม่สนับสนุนการบังคับใช้แรงงานชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ในซินเจียง) ไม่ได้เป็นการแสดงจุดยืนทางการเมืองใดๆ H&M Group เคารพต่อลูกค้าคนจีนเสมอ และยืนยันว่าจะลงทุนและพัฒนาในจีนต่อไป

H&M คือค้าปลีกแฟชั่นที่มียอดขายสูงเป็นอันดับสองของโลก รองจาก Inditex ที่มี Zara เป็นเจ้าของ และจีนถือเป็นตลาดรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ทั้งนี้ ด้าน CCTV ก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ H&Mว่า มีการประเมินผิด มีความพยายามจะเล่นบทฮีโร่แต่ก็เป็นการกระทำที่ต้องมีการชดใช้ราคาแพง

ที่มา – The New York Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post H&M กำลังถูกบอยคอตต์ในจีน หลังประกาศไม่ได้บังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/chinese-consumer-in-china-will-boycott-h-and-m/

หลังสหรัฐฯ แบน: H&M ประกาศ ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตจีนที่บังคับใช้แรงงานในซินเจียง

H&M เริ่มแล้ว ค้าปลีกแฟชั่นยักษ์ใหญ่สัญชาติสวีเดนระบุว่า ไม่ได้ทำงานกับโรงงานผลิตสิ่งทอในซินเจียงและจะไม่ใช้วัตถุดิบจากพื้นที่แห่งนี้แล้ว 

H&M, เอชแอนด์เอ็ม, Hennes & Mauritz ภาพจาก H&M

ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ สร้างปัญหาให้กันและกันมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด H&M ที่ถือเป็นแบรนด์แฟชั่นค้าปลีกขนาดใหญ่ก็ออกมาเผยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่ายุติความสัมพันธ์กับผู้ผลิตใยสังเคราะห์จากจีน เนื่องจากมีข้อมูลเผยแพร่ออกมาว่า มีการบังคับใช้แรงงานจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ 

ทั้งนี้ รายงานจากสถาบัน think tank อย่าง ASPI (Australian Strategic Policy Institute) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า H&M คือหนึ่งในแบรนด์ที่ได้รับประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานผ่านผู้ผลิตเส้นด้าย dyed yarn (เส้นด้ายที่ผ่านกระบวนการย้อมสีก่อนนำไปทอผ้าต่อ มีราคาสูงเพราะบวกราคาย้อมสีไปแล้ว) 

ทั้งนี้ H&M ระบุว่าไม่เคยมีความเกี่ยวข้องใดๆ กับโรงงาน Huafu ใน Anhui ที่อยู่ในซินเจียง ตามลิสต์ที่มีการเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่ามีการบังคับใช้แรงงาน แต่  H&M ก็ยอมรับว่าเกี่ยวข้องทางอ้อมกับ Shangyu ใน Zhejiang ซึ่งก็เป็นของ Huafu Fashion แต่ H&M ก็ยืนยันว่า Shangyu ไม่ได้มีการบังคับใช้แรงงาน

ขณะเดียวกันกลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า ชาวอุยกูร์กว่าล้านคนถูกทรมานในค่ายปรับทัศนคติในจีน (political re-education camps) รัฐบาลสหรัฐฯ ก็เคยเผยแพร่รายงาน The Chinese Communist Party’s Human Rights Abuses in Xinjiang มาก่อน

กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในซินเจียง โดยระบุว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้ค่ายเพื่อกักกันชาวอุยกูร์ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก และสามาชิกชนกลุ่มน้อย Turkic Muslim ในซินเจียง จีน 

มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลากหลายรูปแบบ ทั้งบังคับใช้แรงงาน ทรมานร่างกาย ล่วงละเมิดทางเพศ สอดแนมตลอดเวลา และยังทำให้ครอบครัวแตกแยก ไปจนถึงกดปราบการแสดงออกถึงความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์และสมาชิกฯ บังคับให้คุมกำเนิดด้วย และมาตรการเข้มข้นที่จะทำให้ไม่สามารถขยายครอบครัวต่อไปได้

H&M, เอชแอนด์เอ็ม, Hennes & Mauritz ภาพจาก H&M 

ทั้งนี้ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศข้อจำกัดในการนำเข้าเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเส้นผม และสินค้าเทคโนโลยีต่างๆ ที่มาจากบริษัทจีน โดยเฉพาะสินค้าที่บังคับใช้แรงงานในมณฑลซินเจียงด้วย นี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ H&M ต้องออกมาประกาศชัดเจนว่าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับบริษัทที่เข้าข่ายบังคับใช้แรงงานในจีน ทั้งนี้ก็เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากการพยายามแบนสินค้าของสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็พยามสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคว่าแบรนด์ไม่ได้ผลิตจากแรงงานที่ถูกบังคับและทรมานในซินเจียง

ที่มา – South China Morning Post, The New York Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/h-and-m-end-chinese-supplier-cause-of-forced-labour/