คลังเก็บป้ายกำกับ: สิ่งทอ

สื่อจีนรายงาน: BCI องค์กรพัฒนาฝ้ายในจีน ไม่พบการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง

ประเด็นเรื่องการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียงกำลังกลายเป็นประเด็นร้อนที่ทั้งสหภาพยุโรป อังกฤษ แคนาดา อเมริกาประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานแล้ว ขณะเดียวกันแบรนด์แฟชั่นหลายรายไม่ว่าจะเป็น H&M, Nike, Zara, Burberry และ BCI (The Better Cotton Initiative องค์กรพัฒนาฝ้ายเพื่อความยั่งยืนที่ไม่แสวงผลกำไร)

ทั้งหมดล้วนออกมาประกาศไม่ขอข้องเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานดังกล่าว จนทำให้ชาวจีนรุมโจมตีคว่ำบาตรไม่ซื้อสินค้ากลับ ศิลปินดังหลายรายก็ออกมาระงับสัญญาและประกาศว่าจะยกเลิกสัญญาด้วยกัน

CGTN China Xinjiang forced labor

BCI สำนักงานในเซี่ยงไฮ้ จีน เปิดเผย ไม่พบการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง

สถานการณ์ล่าสุดตอนนี้ สำนักข่าวจีน CGTN รายงานว่า องค์กรพัฒนาฝ้ายหรือ BCI ที่มีสำนักงานอยู่ในจีนออกมาแถลงว่า ไม่พบการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง โดยผู้แทน BCI ประจำสำนักงานที่เซี่ยงไฮ้กล่าวแถลงการณ์ผ่านแอคเคาท์ WeChat เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า BCI สาขาเซี่ยงไฮ้นั้นมีการจดทะเบียนก่อตั้งขึ้นในปี 2012 สำนักงานมีทั้งภาคีที่สองและสามที่มีความน่าเชื่อถือได้พิสูจน์แล้วว่า โครงการซินเจียงไม่มีการบังคับใช้แรงงานใดๆ ในการนี้ BCI สำนักเซี่ยงไฮ้จะสื่อสารกับหุ้นส่วนในซินเจียงต่อไป เพื่อการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานในการพัฒนาฝ้ายอย่างยั่งยืนต่อไป

นอกจากนี้ มีบทสัมภาษณ์พิเศษของ Wu Yan หัวหน้าผู้แทนจาก BCI สำนักงานสาขาเซี่ยงไฮ้ ได้พูดคุยผ่านทาง CCTV ที่ออกอากาศไปเมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมาเปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ทาง BCI สำนักเซี่ยงไฮ้ได้ติดตามเรื่อง กลไกในการรับรอง กระบวนการในการพิจารณา รวมถึง การประเมินตนเองของผู้ผลิต โดยมีทีมผู้ตรวจสอบที่น่าเชื่อถือของทาง BCI เป็นภาคีที่สองและแยกการรายงานโดยมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบเป็นภาคีที่สามอีกที

CGTN China Xinjiang forced labor

การแถลงการณ์ระงับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซินเจียงและยึดใบอนุญาตในซินเจียง เกิดขึ้นโดย BCI สำนักงานใหญ่

ทั้งนี้ จากการรายงานจากต่างประเทศถึงกรณีบังคับใช้แรงงานในซินเจียง ทางสำนักงานเซี่ยงไฮ้ได้ตรวจสอบโครงการในซินเจียงกันอย่างเข้มมงวด เราได้ยื่นตรวจสอบรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ และยังยื่นตรวจสอบรายงานที่ทำโดยผู้ตรวจสอบซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ภาคีที่สามเช่น SGS หลายปีที่แล้ว

การตัดสินใจแถลงการณ์ดังกล่าวดำเนินการโดยสำนักงานใหญ่ที่ต้องการระงับใบอนุญาติในซินเจียงเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้ายจากซินเจียงเกือบ 500,000 ตันเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานโลกหรือเข้าสู่การผลิตสิ่งทอที่ทำจากฝ้าย ด้าน Liu Haoran ผู้จัดการโครงการ BCI สำนักงานเซี่ยงไฮ้ ระบุว่า ทางองค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ BCI ระงับใบอนุญาตในซินเจียงและเรียกร้องให้ BCI อ้างการตัดสินใจนั้นทำโดยไม่มีองค์กรสิทธิมนุษยชนเข้ามาเกี่ยวข้อง

ในจีน BCI ได้พยายามดูแลทั้งในหูเป่ย์ เหอเป่ย์ ชานตง และกานซู เพื่อสนับสนุนชาวไร่ที่เป็นคนตัวเล็กตัวน้อยกว่า 100,000 รายในพื้นที่เหล่านี้ ทั้งนี้ CGTN ระบุว่า ทาง BCI ไม่ได้ตอบข้อซักถาม กรณีที่ทาง BCI อ้างว่ามีการบังคับใช้แรงงานในซินเจียงแต่ก็ได้เอาแถลงการณ์ออกจากเว็บไซต์ไปแล้ว ซึ่งปีที่ผ่านมา BCI ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า มีการวิจัยพบว่ามีความเสี่ยงที่จะมีการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง แถลงการณ์ดังกล่าวระงับใบอนุญาตการผลิตฝ้ายจากซินเจียงตั้งแต่เดือนมีนาคม และลดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคนี้

BCI มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เจนีวาและลอนดอน มีสำนักงานที่เป็นสาขาภูมิภาคอยู่ในจีน อินเดียและปากีสถาน มีพนักงานทั้งในบราซิล โมซัมบิก ตุรกีและสหรัฐอเมริกา BCI ถือเป็นโครงการพัฒนาฝ้ายเพื่อความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ที่มา – CGTN, BCI

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post สื่อจีนรายงาน: BCI องค์กรพัฒนาฝ้ายในจีน ไม่พบการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/cgtn-report-bci-shanghai-says-no-forced-labor-found-in-xinjiang/

หลังสหรัฐฯ แบน: H&M ประกาศ ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตจีนที่บังคับใช้แรงงานในซินเจียง

H&M เริ่มแล้ว ค้าปลีกแฟชั่นยักษ์ใหญ่สัญชาติสวีเดนระบุว่า ไม่ได้ทำงานกับโรงงานผลิตสิ่งทอในซินเจียงและจะไม่ใช้วัตถุดิบจากพื้นที่แห่งนี้แล้ว 

H&M, เอชแอนด์เอ็ม, Hennes & Mauritz ภาพจาก H&M

ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ สร้างปัญหาให้กันและกันมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด H&M ที่ถือเป็นแบรนด์แฟชั่นค้าปลีกขนาดใหญ่ก็ออกมาเผยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่ายุติความสัมพันธ์กับผู้ผลิตใยสังเคราะห์จากจีน เนื่องจากมีข้อมูลเผยแพร่ออกมาว่า มีการบังคับใช้แรงงานจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ 

ทั้งนี้ รายงานจากสถาบัน think tank อย่าง ASPI (Australian Strategic Policy Institute) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า H&M คือหนึ่งในแบรนด์ที่ได้รับประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานผ่านผู้ผลิตเส้นด้าย dyed yarn (เส้นด้ายที่ผ่านกระบวนการย้อมสีก่อนนำไปทอผ้าต่อ มีราคาสูงเพราะบวกราคาย้อมสีไปแล้ว) 

ทั้งนี้ H&M ระบุว่าไม่เคยมีความเกี่ยวข้องใดๆ กับโรงงาน Huafu ใน Anhui ที่อยู่ในซินเจียง ตามลิสต์ที่มีการเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่ามีการบังคับใช้แรงงาน แต่  H&M ก็ยอมรับว่าเกี่ยวข้องทางอ้อมกับ Shangyu ใน Zhejiang ซึ่งก็เป็นของ Huafu Fashion แต่ H&M ก็ยืนยันว่า Shangyu ไม่ได้มีการบังคับใช้แรงงาน

ขณะเดียวกันกลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า ชาวอุยกูร์กว่าล้านคนถูกทรมานในค่ายปรับทัศนคติในจีน (political re-education camps) รัฐบาลสหรัฐฯ ก็เคยเผยแพร่รายงาน The Chinese Communist Party’s Human Rights Abuses in Xinjiang มาก่อน

กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในซินเจียง โดยระบุว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้ค่ายเพื่อกักกันชาวอุยกูร์ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก และสามาชิกชนกลุ่มน้อย Turkic Muslim ในซินเจียง จีน 

มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลากหลายรูปแบบ ทั้งบังคับใช้แรงงาน ทรมานร่างกาย ล่วงละเมิดทางเพศ สอดแนมตลอดเวลา และยังทำให้ครอบครัวแตกแยก ไปจนถึงกดปราบการแสดงออกถึงความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์และสมาชิกฯ บังคับให้คุมกำเนิดด้วย และมาตรการเข้มข้นที่จะทำให้ไม่สามารถขยายครอบครัวต่อไปได้

H&M, เอชแอนด์เอ็ม, Hennes & Mauritz ภาพจาก H&M 

ทั้งนี้ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศข้อจำกัดในการนำเข้าเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเส้นผม และสินค้าเทคโนโลยีต่างๆ ที่มาจากบริษัทจีน โดยเฉพาะสินค้าที่บังคับใช้แรงงานในมณฑลซินเจียงด้วย นี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ H&M ต้องออกมาประกาศชัดเจนว่าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับบริษัทที่เข้าข่ายบังคับใช้แรงงานในจีน ทั้งนี้ก็เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากการพยายามแบนสินค้าของสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็พยามสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคว่าแบรนด์ไม่ได้ผลิตจากแรงงานที่ถูกบังคับและทรมานในซินเจียง

ที่มา – South China Morning Post, The New York Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/h-and-m-end-chinese-supplier-cause-of-forced-labour/

เวียดนามมาแรง แซงจีนเรียบร้อย: จีนไม่ใช่ผู้ส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอรายใหญ่ให้สหรัฐแล้ว

ก่อนหน้านี้ จีนเคยเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของบริษัทสินค้าแฟชั่นสหรัฐฯ​ แต่ตอนนี้ ดูเหมือนว่าเวียดนามแซงหน้าเรียบร้อยแล้ว 

Chinese President Xi Jinping gives a speech during the Tsinghua Universitys ceremony for Russian President Vladimir Putin, unseen, at Friendship Palace on April 26, 2019 in Beijing, China. (Photo by Kenzaburo Fukuhara – Pool/Getty Images)

หลังจากที่เจอพิษโควิด-19 กระหน่ำอย่างหนักหน่วงตามด้วยความตึงเครียดระหว่างสองมหาอำนาจโลกระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ สหรัฐฯ​ นำเข้าเสื้อผ้าจากจีนลดลง โดยปี 2019 สหรัฐฯ นำเข้าจากจีนเกือบ 30% ต่อมา นำเข้าลดลงอยู่ที่ 20% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 

ผลสำรวจจากสมาคมอุตสาหกรรมแฟชั่นสหรัฐฯ (USFIA) สำรวจจากผู้บริหารระดับสูง 25 รายจากบริษัทแฟชั่นชั้นนำ ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน 2020 แบ่งเป็นบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 1,000 คนอยู่ที่ 68% พนักงาน 500-999 คน อยู่ที่ 5% พนักงาน 100-499 คนอยู่ที่ 16% และพนักงานน้อยกว่า 100 คนอยู่ที่ 11%

บริษัทที่ทำแบบสำรวจนำเข้าจากจีน 100.0% ทั้งในปี 2019 และปี 2020 ขณะที่เวียดนามมีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปี 2019 เป็น 95.2% ในปี 2020 / ภาพจาก USFIA

สหรัฐฯ​ นำเข้าสินค้าจากหลากหลายประเทศซึ่งก็มีทั้งจีน เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ด้วย ผลสำรวจราว 29% ระบุว่า มีการนำเข้าสินค้าจากเวียดนามมากกว่านำเข้าจากจีนในปีนี้ มีอัตราที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้ว 25% 

ข้อมูลจากสำนักงานสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ สหรัฐฯ เผยว่า สหรัฐฯ ยังคงนำเข้าจากจีนอย่างน้อย 30% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แต่จีนมีการลดราคาอย่างหนักเพื่อให้ออเดอร์จากต่างประเทศยังคงที่ได้ต่อไปและอยู่รอดได้แม้ความต้องการต่ำ 

ผลกระทบจากการขึ้นภาษีต่อต้านจีนจากสงครามการค้า / ภาพจาก USFIA

กราฟจากด้านบนสะท้อนให้เห็นว่า ผลกระทบจากการขึ้นภาษีต่อต้านจีนจากสงครามการค้า มีทั้งความต้องการย้ายไปหาแหล่งซัพพลายเออร์อื่นที่ไม่ใช่จีน แต่หันไปหาประเทศอื่นในอาเซียนแทน เพิ่มขึ้นเป็น 100% จากที่ก่อนหน้านั้นในปี 2019 มีความต้องการเช่นนี้อยู่ที่ 77% เท่านั้น

นอกจากนี้ การปรับตัวของจีนด้วยการหันมาลดราคา หั่นราคาสินค้าให้ถูกลงเพื่อคงความต้องการของลูกค้าให้มีอยู่ต่อไปก้เพิ่มมากขึ้น จากเดิมปี 2019 อยู่ที่ 50% เป็น 90% นั่นหมายความว่า ลูกค้าจะยังอยู่กับจีนต่อไป ตราบใดที่จีนลดราคา นอกจากนี้ก็เป็นปัจจัยทางด้านราคาและความสามารถในการแข่งขันที่บริษัทต่างๆ อยากให้สหรัฐฯ ให้ความสนใจจริงจังมากขึ้น เพราะการตั้งกำแพงภาษีจากสงครามการค้าดังกล่าวกระทบต่อธุรกิจอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าต่อหน่วยที่สหรัฐฯ นำเข้าจากจีนนั้นลดลงจาก 2.25 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70.09 บาทต่อตารางเมตรในปีก่อนหน้า ลดลงอยู่ที่ 1.88 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ  58.56 บาทในช่วงครึ่งปีแรก 2020 ราคาที่จีนเสนอให้นั้น ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียราว 30% 

เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯ นำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากจีนราว 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9.34 แสนล้านบาท ราว 90% จากยอดนำเข้าทั้งหมด ซึ่งบวกค่าภาษีจากสงครามการค้าเพิ่มขึ้นอีก 7.5% 

สหรัฐฯ นำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากจีนลดลงอย่างมาก ขณะที่เวียดนามและอาเซียนกลับเพิ่มขึ้น / ภาพจาก USFIA

ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่นำไปสู่สงครามการค้าสร้างผลกระทบอย่างหนักต่อผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคที่ต้องแบกรับราคาที่บวกเพิ่มขึ้นจากภาษี บริษัทแฟชั่นสัญชาติสหรัฐฯ ก็ต้องบวกราคาเพิ่มจากภาษีเช่นกัน ต้นทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นจากการดิสรัปโดยโควิด-19 ทำให้บริษัทต่างๆ เริ่มคิดหันเหจากจีนจริงจัง

เรื่องนี้ Sheng Lu ซึ่งเป็นรองศาสตราจารย์ด้านแฟชั่นและเครื่องนุ่งห่มจากมหาวิทยาลัย Delaware ระบุว่า เหตุการณ์เช่นนี้อาจนำไปสู่การลดการพึ่งพาจีนระยะยาวและหันไปหาแหล่งผลิตที่มีราคาถูกกว่าได้ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีแค่สงครามราคา ภาษี แต่ยังบวกเรื่องประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ผู้บริโภคเรียกร้องให้แบนสินค้าที่ผลิตมาจากการใช้แรงงานชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงอย่างผิดกฎหมายอีกด้วย 

ผลสำรวจพบว่า เมื่อถามคำถามว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแหล่งซัพพลายเออร์ในช่วง 2 ปีข้างหน้าหรือไม่ พบว่า บังคลาเทศมีการเปลี่ยนแปลงสูงเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 55% ตามด้วยอินโดนีเซีย 45% และเวียดนาม 40% แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าต้องการเพิ่มการนำเข้าจากประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ

ขณะที่ เมื่อถามว่าการนำเข้าจากประเทศใดที่คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในอีก 2 ปีข้างหน้า พบว่า จีนเป็นอันดับหนึ่งที่จะต้องมีความเปลี่ยนแปลงราว 70.0% หมายความว่าน่าอาจจะลดการนำเข้าจากจีน ทั้งนี้ ไม่ได้มีการระบุว่าจะมีแผนลดการพึ่งพาจากจีนในปริมาณเท่าใด ขณะที่เวียดนามนั้นอยู่ที่ 15% เม็กซิโก 15% ฯลฯ

เมื่อเปรียบเทียบแบบสำรวจความคิดเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อแหล่งซัพพลายเออร์ใหญ่อย่างจีน พบว่าผลสำรวจในปี 2020 มองว่า ในอีกสองปีข้างหน้าบริษัทต่างๆ จะลดการพึ่งพาจากจีนอยู่ที่ 70% แม้จะลดลงจากปี 2019 ที่มองว่า 76.7% แต่ก็ถือว่าเป็นอัตราที่สูง อีกทั้งแรงจูงใจการหั่นราคาลงของจีนทำให้ครองใจบริษัทต่างๆ ได้มากขึ้น

ขณะที่เวียดนามนั้น แนวโน้มที่จะพึ่งพาเวียดนามจากผลสำรวจปี 2020 อยู่ที่ 40.0% ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ก็ถือว่าลดลงจาก 2 ปีก่อนหน้า และมีความต้องการอยู่กับเวียดนามเช่นเดิมอยู่ที่ 40.0% ถือว่าเพิ่มขึ้นจาก 2 ปีก่อนหน้า

เวียดนามในปัจจุบันถือเป็นประเทศที่มาแรงที่สุดแห่งยุคสมัย มีการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มกว่า 3 ทศวรรษ มูลค่ารวม 1.95 หมื่นล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.07 แสนล้านบาท ซึ่งก็มีเกาหลีใต้ลงทุนมากที่สุด ตามด้วยไต้หวัน ฮ่องกง และจีนตามลำดับ

ภาพจาก Getty Images

ไม่กี่ปีมานี้ จีนส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอไปยังประเทศต่างๆ น้อยลง แต่ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ จีนส่งออกสิ่งทอเพิ่มขึ้น 31% ขณะที่เครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับก็ลดลงราว 16% จีนอาจจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแก่หลายประเทศในเอเชีย แต่สงครามการค้าไม่น่าจะผลักดันให้บทบาทจีนสำคัญอีกต่อไป คลื่นลูกใหม่ที่น่าสนใจกว่าอย่างเวียดนามกำลังลดบทบาทจีนลงเรื่อยๆ 

ที่มา – SCMPUSFIA 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/vietnam-surpass-china-for-clothes-exporter-to-usa/

ปรับความคิดจากผลิต เป็นออกแบบ-ชูนวัตกรรม ยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอ 2 แสนล้านเติบโตอย่างยั่งยืน

ในอดีตไทยเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของโลกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพราะค่าแรงต่ำ และงานออกมามีคุณภาพสูง แต่ตอนนี้ค่าแรงที่สูงขึ้น ทำให้ไทยต้องปรับกระบวนการคิดใหม่ จากรับผลิต เป็นสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ออกมาเพื่อแข่งขันในตลาดโลก

นวัตกรรมคือแรงผลักดันให้ตลาดเติบโต

ทุกอุตสาหกรรมในตอนนี้ต้องปรับแนวคิดเรื่องความเป็นเจ้าของกิจการ และการนำนวัตกรรมมาปรับใช้ ซึ่งตัวอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ปัจจุบันมีมูลค่ารวมในประเทศไทยราว 2 แสนล้านบาท และเป็นหนึ่งในสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกที่สำคัญ แต่หากยังเน้นการรับผลิตอยู่ ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องหากจะสนองนโยบาย Thailand 4.0

เซิ่น จุ้น ชิน กรรมการผู้จัดการ จีอีพี สปิ่นนิ่ง จำกัด เล่าให้ฟังว่า การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า หรือ Value Added เป็นเรื่องจำเป็นในตอนนี้ แต่จะทำได้บริษัทเอกชน และหน่วยงานภาครัฐต้องช่วยกันปรับความคิด และสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมให้กับผู้ทำธุรกิจสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มก่อน

ภาพ pexels.com

“การพัฒนานวัตกรรมเครื่องนุ่งห่ม และสิ่งทอต้องเริ่มจากระดับเส้นใย เพราะถ้าจะไปแข่งเรื่องดีไซน์ เราคงต้องพัฒนาอีกระยะหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องเส้นใย เราแค่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาตร์ เพื่อพัฒนาเส้นใยให้มีจุดเด่นมากขึ้น และไม่ใช่แค่เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการทอผ้า”

จากคอลลาเจนใช้ดื่ม สู่การนำมาใช้ในสิ่งทอ

สำหรับ จีอีพี สปิ่นนิ่ง ได้คิดค้นเส้นใยแบบใหม่ภายใต้ชื่อ Filagen (ฟิลาเจน) โดยนำคอลลาเจนที่สกัดจากเกล็ดปลาทะเลเข้าไปในเส้นใยวิสโคสเรยน เพื่อสร้างคุณสมบัติพิเศษ 4 อย่างที่เส้นใยธรรมดาทำไม่ได้ เช่นรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิว, กำจัดกลิ่นกาย, ป้องกันรังสี UV และให้อุณหภูมิที่เย็นสบาย

ภาพโดย Steve Evans from Bangalore, India (Flickr) [CC BY 2.0 (http://creativecommons.org/licenses/by/2.0)%5D, via Wikimedia Commons

ขณะเดียวกันจากการพัมนาเส้นใยดังกล่าว ยังได้พาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมสิ่งทอให้ความสนใจ และนำเส้นใยนี้ไปประยุกต์ใช้กับสินค้าของแต่ละบริษัท เช่น Grand Sport ในการผลิตชุดกีฬา, In Nine by Wacoal ในการผลิตชุดชั้นในสำหรับหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงอื่นๆ อีก 50 รายในประเทศไทย และจะเป็น 100 รายในอนาคต

แบรนด์ไทยโอกาสในตลาดโลก แต่ต้องทำให้เป็น

พลพัฒน์ อัศวะประภา เจ้าของแบรนด์ Asava เสริมว่า นวัตกรรมก็ถือเป็นหนึ่งในเรื่องจำเป็น เพราะงานออกแบบเครื่องนุ่งห่มแบรนด์ไทยนั้นไม่เป็นรองใครในโลก แต่การจะเติบโตได้ในระดับนั้น ต้องมีความคิดสร้างสรรคืที่มากกว่าเดิม ประกอบกับต้องทำสินค้าที่มี High Value เพื่อเพิ่มมูลค่าในการแข่งขัน

สรุป

แม้อุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มจะมีโอกาส แต่ด้วยอัตราการเติบโตเพียงเล็กน้อย หรือแค่เลขหลักเดียวต่อปี ทำให้ถ้าจะเติบโตกว่านี้ หรือสามารถแข่งขันได้มากกว่าแค่รับผลิตเหมือนบังคลาเทศ การมีนวัตกรรม และเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับอุตสาหกรรมนี้จึงจำเป็นมากที่สุด

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/textile-innovation-in-thailand/

จุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดยุคแรงงานจีนราคาถูก เมื่อเทคโนโลยีและคุณภาพ คือสิ่งที่มาแทนที่

ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศที่ครองความยิ่งใหญ่ คือ จีน ทั้งเรื่องของแรงงาน วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนต่ำกว่าประเทศอื่นๆ และยังมีตลาดขนาดใหญ่รองรับ รวมถึงการส่งออกด้วย

แต่มาวันนี้อะไรๆ ก็อาจจะเปลี่ยนไป เพราะดูเหมือนลูกค้าหลายประเทศเปลี่ยนการซื้อสินค้าสิ่งทอจากจีนไปประเทศอื่นแทน เพราะจีนเริ่มมีต้นทุนที่แพงขึ้น และความต้องการของลูกค้าที่อยากได้สินค้ามีคุณภาพ

แน่นอนว่า จีน ยังครองความเป็นอันดับ 1 อยู่ ด้วยแรงงานกว่า 4.6 ล้านคน สร้าง GDP และตัวเลขส่งออกกว่า 284,000 ล้านดอลลาร์ แต่ด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยมากกว่า 12% ต่อปี ทำให้ “ราคา” ไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบสำหรับจีนอีกต่อไป

ยิ่งวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าบางอย่าง เช่น ฝ้าย, ขนสัตว์ ภาษีนำเข้าอุปกรณ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้จีนแข่งขันได้ยาก โดยเฉพาะกับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อิตาลี ที่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อลดต้นทุน

ความน่าสนใจในฐานะ “ฐานการผลิต” ลดน้อยลง

จุดเด่นของจีนคือ การมีประชากรเยอะมากที่สุด ทำให้แรงงานมีราคาต่ำ และมีตลาดที่ใหญ่ที่สุด แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 2008 ถึง 2016 ช่องว่างต้นทุนการผลิตเส้นด้ายในอุตสาหกรรมสิ่งทอของอิตาลีและจีน ลดลงประมาณ 30% โดยปัจจุบันห่างกัน 0.57 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม จากเดิม 0.82 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม

Shiu Lo Mo-ching ประธานของ Hong Kong General Chamber of Textiles Ltd และ CEO ของโรงงานสิ่งทอ Wah Fung Group บอกว่า ค่าจ้างแรงงานจีนที่เพิ่มสูงขึ้น 25% แม้จะยังห่างจากค่าจ้างแรงงานในอิตาลี แต่การต้องใช้เวลาส่งวัตถุดิบไปให้ถึงจีน ผลิตและส่งสินค้ากลับมาขายที่ยุโรป ขณะที่ค่าจ้างแรงงานไม่ได้ถูกเหมือนก่อน ทำให้จีน “น่าสนใจน้อยลง” ในฐานะฐานการผลิต

เปรียบเทียบกันแล้ว เมื่อแบรนด์เสื้อผ้ายุโรปต้องผลิตคอลเลคชั่นเสื้อผ้าให้มากขึ้น เร็วขึ้น และปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการลูกค้า ทำให้ฐานการผลิตควรอยู่ใกล้ และทำงานได้เร็ว ทำให้จีนไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดอีกต่อไป ดังนั้นช่วง 10 เดือนแรกของปีที่แล้ว อิตาลีได้นำเข้าสิ่งทอจากจีนลดลง 8.7%

ส่วนที่สำคัญอีกประการคือ ผู้บริโภค ให้ความสนใจกับคุณภาพและกระบวนการผลิตมากขึ้น เรียกว่า นอกจากต้องคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายแล้ว ยังมีการตรวจสอบย้อนกลับถึงกระบวนการผลิต ทำให้หลายแบรนด์ในยุโรป เปลี่ยนกลับไปใช้ฐานการผลิตในอิตาลี ซึ่งระบุได้ชัดเจนว่า “Made in Italy” รวมถึงระบุชื่อโรงงานผลิตได้ กลายเป็นแต้มต่อที่เหนือกว่าแบรนด์คู่แข่ง

ลาก่อนประเทศจีน เมื่อค่าจ้างแรงงานไม่ตอบโจทย์

Olesia Pryimak เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า “Opri” จากยูเครน บอกว่า มีการสั่งสิ่งทอจากจีนลดลง 60% เทียบกับ 2 ปีก่อนหน้านี้ และเปลี่ยนไปสั่งจากตุรกีแทน เพราะมีคุณภาพ ราคา ที่ดีกว่าและอยู่ใกล้กับยุโรปมากกว่า

แม้ว่าเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าหลายเจ้าอาจจะยังบอกตัวเลขที่ชัดเจนไม่ได้ในตอนนี้ว่าการสั่งซื้อสิ่งทอจากจีนลดลงแค่ไหน แต่ถ้าดูภาพรวมการส่งออกของจีนก่อน 10 เดือนแรกของปี 2016 เพิ่มขึ้น 1.4% แต่ลดลง 4.1% ในเดือนตุลาคม

นอกจากนี้มีโรงงานผลิตสิ่งทอขนาดใหญ่ในจูไห่ เมืองอุตสาหกรรมทางใต้ของจีน ที่มีการจ้างงานกว่า 1,100 คน แต่จากค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้โรงงานมีการลงทุนเครื่องจักรและเทคโนโลยีมากขึ้น และจะลดการจ้างงานลง 2 ใน 3 ภายใน 2 ปีจากนี้ และมีข่าวว่า โรงงานขนาดเล็กหลายแห่งอาจปิดตัวลง

สรุป

เป็นไปได้ว่า นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดยุคแรงงานจีนราคาถูก แต่ย้อนกลับไปดูเรื่องของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ความต้องการผู้บริโภค มีเรื่อง Customized และ Personalized ทำให้เจ้าของแบรนด์ต้องปรับตัว คุณภาพและแหล่งที่มาของวัตถุดิบและการผลิต กลายเป็นสิ่งที่คนซื้อให้ความสนใจมากขึ้น เรื่องนี้ ไทยเอง ก็ต้องคิดให้หนักเช่นกัน

ที่มา: Reuters

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/end-of-low-cost-labor-chinese/