คลังเก็บป้ายกำกับ: ยาง

รวม 7 แนวคิดแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรแพง อาหารแพง น้ำท่วมของพลเอกประยุทธ์

ไม่ใช่ครั้งแรก ที่พลเอกประยุทธ์จะเสนอแนวคิดแก้ปัญหาเรื่องหนึ่งเพื่อไปสร้างปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง 

หลังจากที่วานนี้ พลเอกประยุทธ์เสนอแนวทางแก้ปัญหาผักชีแพง ด้วยการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทหาร ให้ทหารปลูกผักชี เพื่อลดภาระประชาชน หลายคนฮือฮา ว่านายกรัฐมนตรีคิดแบบนี้ได้อย่างไร เพราะมันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แถมผักชีไม่ใช่พืชที่ปลูกง่าย กว่าผักชีจะปลูกได้ กว่าจะโตต้องใช้เวลานาน กว่าจะถึงเวลานั้นผักชีคงราคาลดลงแล้ว 

prayut solutions

หลายคนตั้งคำถาม เราจะมีนายกฯ ไว้ทำไม หรือเราจะมีรัฐบาลไว้ทำไม ถ้าคิดแต่จะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่หลายคนอาจไม่แปลกใจกับแนวคิดพลเอกประยุทธ์เช่นนี้ ถ้าไปย้อนดูผลงาน หรือข้อเสนอต่างๆ ที่ผ่านๆ มา เราจะพบว่า พลเอกประยุทธ์ มักแก้ปัญหาด้วยการโยกให้ไปทำอีกอย่างหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา หรือผลักภาระให้ประชาชนจัดการตัวเอง 

พลเอกประยุทธ์ อาจเสมือนบิดาแห่งการแก้ปัญหา แก้ด้วยการกลับไปเริ่มแก้ปัญหาที่ตัวเองก่อน 

จากการสำรวจแนวคิดพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาย้อนหลัง พบว่า บางที พลเอกประยุทธ์ อาจเป็นสารตั้งต้นแนวคิดของประชาชนฝั่งอนุรักษ์นิยมที่นิยมพลเอกประยุทธ์เสียจนไม่คิดว่า ปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ประชาชนแก้ด้วยตัวเองไม่ได้ โครงสร้างทางสังคมกดทับจนเกิดความไม่เท่าเทียม ประชาชนแก้ด้วยตัวเองไม่ได้ รัฐบาลต้องออกนโยบายเข้ามาช่วยเหลือ ไม่อย่างนั้นแล้ว เราจะมีรัฐบาลไว้ทำไม?

Prayut Chanocha

ไปดูแนวคิดเก่าๆ ที่พลเอกประยุทธ์เคยเสนอไว้ ไม่แปลกใจ ทำไมทุกปัญหา ประชาชนต้องแก้ที่ตัวเอง

15 กันยายน 2557

แนะชาวสวนยาง ไปขายยางที่ดาวอังคาร

ช่วงเวลานี้เกิดขึ้นหลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลก่อนหน้า ราคายางสูงขึ้นมาก ขายได้กิโลกรัมละ 70 บาท แต่ชาวสวนยางเรียกร้องอยากให้ขายยางได้กิโลกรัมละ 100 บาท พลเอกประยุทธ์จึงแนะนำให้ไปขายชาวสวนยางไปขายยางที่ดาวอังคาร

4 กรกฎาคม 2558

อาหารทะเลแพง ก็ให้คนรวยมีสตางค์เขาทานไป ไม่ใช่ว่าต้องเท่าเทียม ผมทำให้ไม่ได้

หลังจากนั้น ก็มีช่วงที่ราคาอาหารทะเลแพงขึ้นมาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พูดในรายการคืนความสุข ให้คนในชาติ ระบุเรื่องอาหารทะเลแพง ให้หาอาหารอื่นบริโภคไปก่อน แพงก็อย่าไปทาน ให้คนรวยมีสตางค์เขาทานไป ไม่ใช่ว่าต้องเท่าเทียม ผมทำให้ไม่ได้ ถ้าอยากทานของแพงก็ต้องทำงานหนัก หาเงินให้มาก รัฐบาลช่วยในส่วนที่ช่วยได้ มีตลาดสำหรับผู้มีรายได้น้อย ก็ทำให้ทั้งหมด ทำไปแล้ว

ดึงมาเท่ากันหมดไม่ได้หรอก เพราะมีหลายระดับด้วยกัน เราจะแก้ด้วยความสงบ มีเสถียรภาพให้เข้มแข็ง มีรายได้เข้าประเทศ เฉลี่ยแบ่งปันได้ทุกคน อันนี้เขาเรียกว่าความเท่าเทียมด้วยความพอเพียงนะ

18 มีนาคม 2558

มะนาวแพง ก็ไปปลูกเอง 

ผู้สื่อข่าวยังคงเพียรถาม หวังจะหาทางแก้ปัญหาจากราคาสินค้าเกษตรแพง แต่พลเอกประยุทธ์ยังคงมีแนวทางการตอบเช่นเดิม ก็คนเดียวกัน คงตอบได้แค่นี้แหละ เมื่อถามเรื่องปัญหาราคามะนาวแพง พลเอกประยุทธ์ระบุว่า จะให้ไปควบคุมราคาได้อย่างไร คนปลูกก็ต้องลงทุน ต้องหาโอกาสที่จะขึ้นราคาหน้าแล้ง เพราะปลูกยาก วิธีแก้ปัญหาก็ควรปลูกไว้กินเอง มันก็จบแล้ว

8 กรกฎาคม 2558

ข้าวปลูกไม่ได้ ก็หันมาขายหมามุ่ย

พลเอกประยุทธ์ยังไม่หยุดให้คำแนะนำเรื่องข้าว เขากล่าวให้โอวาทกับคณะโครงการเยาวชนไทยในสหรัฐอเมริกา เยือนแผ่นดินแม่ ความตอนหนึ่งว่า ผมก็สนับสนุนเรื่องสมุนไพร วันนี้ชาวบ้านปลูกข้าว ปลูกพืชอะไรไม่ได้ก็เดี๋ยวมาปลูกพืชสมุนไพรได้ไหม เอาเอกชนมาลงทุน ตั้งโรงงานเพิ่ม วันนี้เราขายหมามุ่ยได้กิโลละ 800 หมามุ่ยอินเดีย ตอนเขาเอาไปทำกลับมาเป็นยาสำเร็จรูปกลับมา 80,000 บาท แล้วทำไมยังโง่ปลูกอย่างอื่นอยู่

12 มิถุนายน 2562

น้ำท่วม เดี๋ยวผักตบขยายพันธุ์ ต้องช่วยกันเก็บผักตบ

เรื่องผักตบชวา วิธีง่ายๆ ที่คนไทยจะช่วยกันดูแลรักษาแม่น้ำลำคลอง ช่วยกันแก้ปัญหาผักตบลอยเต็มคลอง เรื่องปัญหาน้ำท่วมขัง ต้องไปดูที่ประตูระบายน้ำว่ามีขยะอะไรมากมายเต็มไปหมด ผักตบชวานี่ขยายพันธุ์จำนวนมาก ประชาชนคนไทยทุกคนต้องช่วยกัน คนละไม้คนละมือ อยู่ริมตลิ่งก็ช่วยกันเก็บคนละ 3 ต้น ไม่ต้องรอเงินจากภาครัฐ ช่วยกันเก็บคนละ 3 ต้น เก็บไปทุกวัน ซื้อเรือซื้อรถมาเก็บผักตบยังไงก็ซื้อไม่พอ

5 กันยายน 2562

น้ำท่วมหนัก ให้ชาวนาเปลี่ยนอาชีพไปเลี้ยงปลาแทน

สุโขทัยถือเป็นพื้นที่น้ำท่วมหนักมาตลอด นานเท่าไรก็ยังแก้ไม่หาย พลเอกประยุทธ์เดินทางตรวจน้ำท่วมที่สุโขทัย ไปยังประตูระบายน้ำ จากนั้นก็สั่งการว่า ถ้าเป็นไปได้ ชาวนาที่ทำนา เปลี่ยนอาชีพเลี้ยงปลาแทนแล้วกัน

4 พฤศจิกายน 2564

ผักชีแพง สั่งการให้ทหารปลูกผักชีในพื้นที่ทหาร 

ล่าสุด พลเอกประยุทธ์ยังคงท็อปฟอร์มเช่นเคย หลังจากรัฐมนตรีเกษตรชี้แจงว่าไทยกำลังประสบปัญหาราคาพืชผักแพง เพราะปัจจัยน้ำท่วมและน้ำมันราคาแพงขึ้น พลเอกประยุทธ์ยังคงแก้ปัญหาเก่าด้วยการสร้างปัญหาใหม่เช่นเดิม คือสั่งการให้ใช้พื้นที่ทหารหันมาปลูกผักชี ให้ทหารช่วยกันปลูกผักชี เพื่อลดภาระราคาผักชีแพงให้กับประชาชน

และนี่ก็คือตัวอย่างคร่าวๆ ของการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรแบบย้ายปัญหาจากที่หนึ่งเพื่อไปสร้างปัญหาอีกที่หนึ่ง ซึ่งไม่ใช่แค่ราคาสินค้าเกษตรแพง ยังมีเรื่องน้ำท่วม เรื่องอาหารแพงอีก ยิ่งพลเอกประยุทธ์แก้ปัญหาเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งยืนยันความคิดจากคำถามที่ประชาชนสงสัยกันว่า ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเราจะมีรัฐบาลไว้ทำไม ??

ที่มา – MGR Online, ประชาไท (1), (2), กรุงเทพธุรกิจ, NBT, เรื่องเล่าเช้านี้

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post รวม 7 แนวคิดแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรแพง อาหารแพง น้ำท่วมของพลเอกประยุทธ์ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/prayut-solutions/

“คนไทยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์” B-Quick ยังรุ่งเรืองต่อไป ขยายสาขาเพิ่มทั่วประเทศไทยไม่หยุด

รถยนต์สำหรับคนไทยไม่ใช่แค่ยานพาหนะ แต่เป็นสถานะทางสังคม แถมตลาดก็ไม่ใช่เล็กๆ B-Quick ประเมินว่ามีประมาณ 8 – 10 ล้านคันที่วิ่งอยู่บนถนน แล้วถ้าต้องเปลี่ยนยางสักครั้ง สินค้า High-end ก็เป็นทางเลือกแรกๆ

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ภาพลักษณ์คือสิ่งสำคัญของคนไทย ยางรถต้องมีแบรนด์

ประเทศไทยตลาดขนาดใหญ่อันดับ 2 ของรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Nikkei Asian Review มองว่า เจ้าของรถยนต์ชาวไทยมีความยินดีที่จะใช้จ่ายกับการตกแต่งอุปกรณ์ราคาสูง โดยเฉพาะล้อยางรถยนต์

Ichiro Tsuzuku ประธานของ B-Quick บอกว่า “คนไทยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ สินค้ากลุ่ม High-end แม้ว่าจะแพงกว่า แต่ก็ขายดีกว่า” 

  • อย่างเช่นยาง Michelin ที่มีราคา 4,890 บาท เทียบกับยางประเภทเดียวกันที่เป็นแบรนด์โนเนมราคาประมาณ 2,690 บาท แม้จะถูกกว่า 40% แต่ความนิยมของบางที่มีแบรนด์โด่งดังก็ไม่ได้รับความนิยมน้อยลงไปกว่าแบรนด์โนเนมแต่อย่างใด

B-Quick ครองแชร์ในตลาดยางรถยนต์ไทยที่ 20% ตลาดไปได้สวย โดยเฉพาะรุ่นที่มีราคาสูง ปัจจุบัน B-Quick มีสาขาอยู่ในไทย 140 แห่งทั่วประเทศ และมีพนักงานประมาณ 400 คน โดยให้บริการทั้งเรื่อง ยาง การซ่อมบำรุงระบบเบรก แบตเตอรี่ โช้คอัพ ช่วงล่าง ระบบแอร์รถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และซ่อมรอยแตกกระจกรถยนต์

B-Quick ประมาณการณ์ว่ารถยนต์ในไทยมีประมาณ 8 – 10 ล้านคันที่ใช้งานจริง นอกจากตลาดในกรุงเทพแล้ว ต่างจังหวัดก็มีการขยายตัวของรถยนต์สูงมาก ทำให้ B-Quick วางแผนที่จะขยายออกไปมากขึ้น

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ขยายต่างจังหวัด ใช้โมเดลเกาะ Hypermarket

หนึ่งในทางลัดที่ B-Quick ทำได้คือการไปเปิดสาขาใน Hypermarket ต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นของ เครือ Central หรือ Tesco Lotus ที่กำลังแข่งกันเปิดสาขาไปทั่วประเทศ B-Quick กำลังใช้โอกาสนี้ในการขยายธุรกิจเช่นกัน ลูกค้ามาช้อปปิ้งก็เอารถยนต์มาเข้าศูนย์บริการไปพร้อมกันเลย

ปีนี้ B-Quick วางแผนไว้ว่าจะเปิดสาขาเพิ่มอีก 10 – 12 แห่งในประเทศไทย

ความท้าทายของ B-Quick

ตลาดไปได้สวยบวกกับตลาดรถยนต์ที่โตขึ้นมาในปี 2016 (หลังจากที่ไม่ได้โตมา 5 ปีแล้ว) แต่ก็มีคู่แข่งใหม่ที่น่ากลัวคือ Autobacs Seven จากญี่ปุ่นที่ไปจับมือกับ PTG Energy โดยประกาศไว้ว่า ภายใน 5 ปีนี้จะขยายสาขาให่ได้ 140 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 7 แห่งที่มีอยู่ตอนนี้ ถือเป็นการประกาศศึกผู้ให้บริการศูนย์รถยนต์ที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม Marubeni จากญี่ปุ่น คือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน B-Quick ถึง 90%

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ที่มา – Nikkei Asian Review

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/b-quick-thailand-tires-car/

“คนไทยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์” B-Quik ยังรุ่งเรืองต่อไป ขยายสาขาเพิ่มทั่วประเทศไทยไม่หยุด

รถยนต์สำหรับคนไทยไม่ใช่แค่ยานพาหนะ แต่เป็นสถานะทางสังคม แถมตลาดก็ไม่ใช่เล็กๆ B-Quik ประเมินว่ามีประมาณ 8 – 10 ล้านคันที่วิ่งอยู่บนถนน แล้วถ้าต้องเปลี่ยนยางสักครั้ง สินค้า High-end ก็เป็นทางเลือกแรกๆ

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ภาพลักษณ์คือสิ่งสำคัญของคนไทย ยางรถต้องมีแบรนด์

ประเทศไทยตลาดขนาดใหญ่อันดับ 2 ของรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Nikkei Asian Review มองว่า เจ้าของรถยนต์ชาวไทยมีความยินดีที่จะใช้จ่ายกับการตกแต่งอุปกรณ์ราคาสูง โดยเฉพาะล้อยางรถยนต์

Ichiro Tsuzuku ประธานของ B-Quik บอกว่า “คนไทยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ สินค้ากลุ่ม High-end แม้ว่าจะแพงกว่า แต่ก็ขายดีกว่า” 

  • อย่างเช่นยาง Michelin ที่มีราคา 4,890 บาท เทียบกับยางประเภทเดียวกันที่เป็นแบรนด์โนเนมราคาประมาณ 2,690 บาท แม้จะถูกกว่า 40% แต่ความนิยมของบางที่มีแบรนด์โด่งดังก็ไม่ได้รับความนิยมน้อยลงไปกว่าแบรนด์โนเนมแต่อย่างใด

B-Quik ครองแชร์ในตลาดยางรถยนต์ไทยที่ 20% ตลาดไปได้สวย โดยเฉพาะรุ่นที่มีราคาสูง ปัจจุบัน B-Quick มีสาขาอยู่ในไทย 140 แห่งทั่วประเทศ และมีพนักงานประมาณ 400 คน โดยให้บริการทั้งเรื่อง ยาง การซ่อมบำรุงระบบเบรก แบตเตอรี่ โช้คอัพ ช่วงล่าง ระบบแอร์รถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และซ่อมรอยแตกกระจกรถยนต์

B-Quik ประมาณการณ์ว่ารถยนต์ในไทยมีประมาณ 8 – 10 ล้านคันที่ใช้งานจริง นอกจากตลาดในกรุงเทพแล้ว ต่างจังหวัดก็มีการขยายตัวของรถยนต์สูงมาก ทำให้ B-Quik วางแผนที่จะขยายออกไปมากขึ้น

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ขยายต่างจังหวัด ใช้โมเดลเกาะ Hypermarket

หนึ่งในทางลัดที่ B-Quik ทำได้คือการไปเปิดสาขาใน Hypermarket ต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นของ เครือ Central หรือ Tesco Lotus ที่กำลังแข่งกันเปิดสาขาไปทั่วประเทศ B-Quik กำลังใช้โอกาสนี้ในการขยายธุรกิจเช่นกัน ลูกค้ามาช้อปปิ้งก็เอารถยนต์มาเข้าศูนย์บริการไปพร้อมกันเลย

ปีนี้ B-Quik วางแผนไว้ว่าจะเปิดสาขาเพิ่มอีก 10 – 12 แห่งในประเทศไทย

ความท้าทายของ B-Quik

ตลาดไปได้สวยบวกกับตลาดรถยนต์ที่โตขึ้นมาในปี 2016 (หลังจากที่ไม่ได้โตมา 5 ปีแล้ว) แต่ก็มีคู่แข่งใหม่ที่น่ากลัวคือ Autobacs Seven จากญี่ปุ่นที่ไปจับมือกับ PTG Energy โดยประกาศไว้ว่า ภายใน 5 ปีนี้จะขยายสาขาให่ได้ 140 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 7 แห่งที่มีอยู่ตอนนี้ ถือเป็นการประกาศศึกผู้ให้บริการศูนย์รถยนต์ที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม Marubeni จากญี่ปุ่น คือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน B-Quik ถึง 90%

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ที่มา – Nikkei Asian Review

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/b-quik-thailand-tires-car/