[PR] เก็บเกี่ยวประโยชน์ของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างชาญฉลาด

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ประเทศในอาเซียน 10 ประเทศได้รวมตัวกันเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ เออีซี ที่มีประชากรรวมถึง 600 ล้านคน และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( GDP ) มูลค่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ที่กลายมาเป็นตลาดเดียวระดับภูมิภาครองรับการไหลเวียนของสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุนหมุนเวียนต่าง ๆ [1] ได้อย่างเสรีและเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก

universal-robot-asian-industry

ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยใหญ่เป็นอันดับสองในอาเซียนรองจากอินโดนิเซีย แต่ก็เป็นเรื่องน่าห่วงที่คนไทยจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่เข้าใจโอกาสและความท้าทายที่มากับเออีซี สำหรับประเทศไทยแล้ว นอกจากขนาดเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ที่ตั้งของประเทศยังเป็นศูนย์กลางเส้นทางเศรษฐกิจสายเอเซียนตะวันออก-ตะวันตก ( East-West Economic Corridor ) ที่ครอบคลุมเวียตนามถึงเมียนมาร์ เป็นความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์การค้า หนุนให้มีสถานภาพเป็นสมาชิกหลักของเออีซีได้เลยทีเดียว หากแรงงานมีความรู้และเท่าทันที่จะปรับตัวรับโอกาสอย่างเหมาะสม

ความหมายต่อธุรกิจ

สภาพตลาดของเออีซี คือ ตลาดเดียวและมีฐานการผลิตร่วมกันระดับภูมิภาค ที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์จากค่าใช้จ่ายการผลิตที่ต่ำลง อย่างไรก็ตาม จะมีอัตราการแข่งขันสูงขึ้น ธุรกิจที่ไม่สามารถชิงความได้เปรียบของสถานการณ์ก็จะล้าหลัง ต้องนั่งมองคู่แข่งที่รู้จักประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีกับธุรกิจรักษาฐานการเติบโตธุรกิจแซงหน้าไป

ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากไทย-เยอรมันที่มีมูลค่าการลงทุน 1.2 พันล้านบาทเพื่อพัฒนาโรงงานขนาดสองหมื่นตารางเมตร ติดตั้งหุ่นยนต์ช่วยงาน เพื่อให้รับกับการสร้างโอกาสจากตลาดเกิดใหม่ที่เป็นผลจากความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียน[2] การลงทุนกับหุ่นยนต์ใช้งานไม่เพียงแต่เป็นองค์ประกอบหลักของกลยุทธ์การเติบโตธุรกิจเท่านั้น แต่เป็นการยกความสามารถในการผลิตและศักยภาพของแรงงาน หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด ดังนั้นจึงรองรับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ แม้ในรูปแบบการผลิต High Mix Low Volume คือ เน้นสินค้าในเชิงคุณภาพความหลากหลายมากกว่าปริมาณก็ตาม

ในสภาวการณ์เช่นนี้ เจ้าของธุรกิจต้องก้าวให้ทันพัฒนาการใหม่ ๆ ในประเทศ และภูมิภาค เพื่อก้าวผ่านการแข่งขันธุรกิจที่ดุเดือดนี้ไปให้ได้ เออีซีจะกลายเป็นสนามแข่งที่ทุกธุรกิจ ทุกบริษัทจะลงแข่งอย่างเท่าเทียม และสร้างโอกาสการขยายตัวและนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ( SMEs ) ที่เมื่อแข่งกับบริษัทขนาดใหญ่แล้วมักมีสายป่านทางการเงินต่ำกว่ามาก

ความหมายต่อบุคคล

มีรายงานการสำรวจว่าเออีซีจะสามารถสร้างตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นได้ถึง 14 ล้านตำแหน่งภายในปี พ.ศ. 2586[3] หมายความว่าจะมีโอกาสในการเติบโตมากขึ้นแม้ในอุณหภูมิการแข่งขันสูงเช่นนี้ เน้นการอัพเกรดทักษะฝีมืออย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทย ประเด็นสำคัญคือการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่ภาครัฐได้พยายามหาทางในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

ส่วนของการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ หรือการเข้าการฝึกอบรมหรือเรียนรู้การแก้ปัญหาขั้นต้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่จำเป็นนั้น ความรู้เบื้องต้นทางภาษาอังกฤษถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยลดการเสียเวลาได้ แต่ก็ยังดีที่ว่า หุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ ในยุคปัจจุบัน มีความคล่องตัวและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมาก ผู้ปฏิบัติงานสามารถเรียนรู้การใช้งานได้โดยง่าย ลดปัญหาจากความไม่เข้าใจภาษาลงได้ ยิ่งไปกว่านั้น การที่มนุษย์และหุ่นยนต์สามารถทำงานอยู่ข้างกันในที่จำกัดได้เป็นประจำทุกวัน ช่วยบ่มเพาะความคุ้นเคยและความเชือมั่นต่อการใช้หุ่นยนต์ และยังยกระดับความสามารถของแรงงานขององค์กรได้อีกด้วย

วิทยาการด้านหุ่นยนต์คือกุญแจหลัก

ประเทศไทยเป็นแหล่งตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ และเป็นผู้เล่นแถวหน้าในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ของภูมิภาคนี้ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบหลักสองประการที่ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในประเทศ และการมีฐานแรงงานที่มีความคล่องตัว มีประสบการณ์และศักยภาพในการทำงานด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เช่น หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ ก็จะถือเป็นองค์ประกอบที่สาม เออีซีได้เปิดเวทีการทดลองตลาดเชิงกลยุทธ์และการขยายธุรกิจ แต่ที่สำคัญที่สุดของการยกระดับทักษะศักยภาพก็ยังอยู่ในมือขององค์กรธุรกิจและพนักงานนั่นเอง

universal-robot-asian-food-industry

สำหรับผู้ผลิตวงการยานยนต์ที่ใช้หุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ในสายการผลิตนั้นจะได้รับประโยชน์สองต่อ ต่อที่หนึ่ง บริษัทมีความยืดหยุ่นคล่องตัวในกระบวนการผลิตเนื่องจากผลกระทบจากหุ่นยนต์มีเพียงน้อยนิด และต่อที่สอง สร้างโอกาสให้แก่พนักงานในการเติบโตด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญ

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วเมื่อตอนต้น ประเทศไทยมีศักยภาพพร้อมที่จะเล่นบทบาทตัวเชื่อมสำคัญของเออีซี ดังนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจจะต้องจดจำไว้เสมอว่าตนมีความรับผิดชอบในการชี้นำ พัฒนาพนักงานกลุ่มแรงงานของตน ด้วยการวางนโยบายธุรกิจระยะยาวที่นำเอาเทคโนโลยีมาเป็นตัวเสริม เช่น หุ่นยนต์ที่สามารถร่วมกับมนุษย์ได้นั้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กลายมาเป็นตัวดึงดูดแรงงงานฝีมือ รวมทั้งนักลงทุน

 

บทความโดย

เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Universal Robots
Universal Robots

 

เกี่ยวกับยูนิเวอร์แซล โรบอทส์

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นผลแห่งความสำเร็จในการวิจัยค้นคว้าด้านหุ่นยนต์อย่างหนักหน่วงติดต่อกันหลายปี ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทประกอบด้วย หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ UR3 UR5 และ UR10 หุ่นยนต์แขนกลเหล่านี้ตั้งชื่อรุ่นตามน้ำหนักที่รับในหน่วยกิโลกรัม\

ตั้งแต่ UR ตัวแรกก้าวเข้าสู่ตลาดเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2551 บริษัทก็ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำตลาดได้ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกที่ให้ความสนใจในการนำหุ่นยนต์มาใช้งาน ระยะเวลาในการคืนทุนโดยเฉลี่ยสำหรับหุ่นยนต์ UR นี้เพียง 195 วันเท่านั้นถือเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทยูนิเวอร์แซล โรบอทส์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก พร้อมด้วยงานพัฒนาวิจัยและผลิต เป้าหมายการจำหน่ายทั่วโลกอยู่ที่ การเติบโตยอดรายได้เท่าตัวทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2560 สนใจเยี่ยมชมเว็บไซต์ ได้ที่ www.universal-robots.com

[1] http://aseanup.com/benefits-asean-economic-community-aec/

[2] http://www.nationmultimedia.com/business/Thai-German-Meat-Product-eyes-AEC-30262684.html

[3] http://www.straitstimes.com/business/6-things-you-need-to-know-about-asean-economic-community

from:https://www.techtalkthai.com/universal-robots-asian-industry/