[PR] ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อหนุนธุรกิจสู่ตำแหน่งผู้นำอุตสาหกรรมยา โดย เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

อุปสงค์ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประเทศไทยรวมไปถึงเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์และมาเลย์เซีย อัตราการเติบโตของการยอมรับการลงทุนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่างเพิ่มขึ้น ดังข้อมูลของสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ ( IFR ) ปรากฎว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วในแถบเอเชียด้วยตัวเลขประเมินจำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในสต็อกที่เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างน้อย 4,000 ยูนิตนับแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2560[1] ผู้ผลิตต่างสนใจลงทุนกับเทคโนโลยีนี้เพราะมีข้อได้เปรียบเชิงธุรกิจหลายประการ เช่น เพิ่มศักยภาพการผลิต และลดค่าใช้จ่าย

Universal Robots

ภาคส่วนสาธารณสุขของไทยเติบโต

เมื่อปีพ.ศ. 2545 ที่ไทยเปิดตัวโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชากรไทยได้รับการประกันสุขภาพ ปลุกเร้าการเติบโตธุรกิจเภสัชกรรม ให้กลายมาเป็นตลาดขนาดใหญ่เป็นที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องมีขนาดเป็นสองเท่าภายในปี พ.ศ. 2563 เวลานี้ อุตสาหกรรมยา และเภสัชกรรมเติบโตรับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

การส่งออกเภสัชกรรมมีมูลค่าประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งไปยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียตนามและกัมพูชา ภายในปี พ.ศ. 2563 จะมีผู้มีอายุ 60ปี เป็น 18% ของจำนวนประชากรในประเทศ เทียบอัตราส่วนกับประชากรวัยทำงาน 6:1[2] ดังนั้น จากจำนวนประชากรสูงอายุของประเทศที่เพิ่มขึ้นคาดได้ว่าส่งผลต่อการเติบโตในภาคส่วนสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ภาครัฐฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมสาธารณสุข เห็นได้จากงบประมาณสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณภาพ ( value chain )[3] มุ่งหวังให้ก้าวทันความต้องการที่ขยายตัว ดังนั้น ผู้ผลิตทั้งหลายจึงมีความจำเป็นต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นกุญแจสำคัญสำหรับผู้ผลิตในการเข้าโค้งสู่เส้นชัย

พัฒนาการของหุ่นยนต์

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ปลดลูกตุ้มน้ำหนัก รวมทั้งลดอัตราก๊าซคาร์บอนของหุ่นยนต์ แขนกลหุ่นยนต์ที่รับน้ำหนักได้ ( payload ) 3 ก.ก. มีน้ำหนักเพียง 11 ก.ก. เท่านั้น และปริมาณก๊าซคาร์บอนเพียง 5 นิ้ว เรื่องของความปลอดภัยก็เป็นอีกประเด็นที่ไม่ต้องกังวลเลย ด้วยฟีเจอร์ที่ฝังมากับในแขนกลที่สามารถรับสัมผัสแรงกระแทก ซึ่งหุ่นยนต์จะหยุดการเคลื่อนไหวเมื่อสัมผัสสิ่งสัมผัสกีดขวางเส้นทางการเคลื่อนที่ ทำให้รั้วกั้นเพื่อความปลอดภัยก็จะไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป หลังจากการประเมินความเสี่ยงแล้ว

ประโยชน์ที่โดดเด่นเช่นนี้ทำให้หุ่นยนต์เหมาะอย่างยิ่งต่อการใช้งานในการผลิตทางเภสัชกรรม ภายในพื้นที่การผลิตที่มีความหนาแน่นของคนต่อตารางฟุตสูง เพราะอาศัยคนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ความท้าทายเช่นนี้สามารถจัดการได้ด้วยหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ ทำงานคู่ไปกับคนผู้ควบคุมเครื่องจักรกล หุ่นยนต์จึงเป็นตัวผลักดันกำลังการผลิต เพิ่มความคล่องตัวในโรงงานในส่วนต่าง ๆ เช่น การประกอบชิ้นส่วนและบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์ทางการแพทย์ การเตรียมใบสั่งจ่ายเภสัชการสำหรับร้านขายยาและโรงพยาบาล

หุ่นยนต์เพื่อการผลิตในภาคส่วนงานสาธารณสุข

ศักยภาพและคุณภาพของการผลิตจะเกิดประโยชน์เมื่อติดตั้งหุ่นยนต์ในจุดต่าง ๆ อย่างมีกลยุทธ์บนสายพานการผลิตซึ่งต้องใช้ความเที่ยงตรงแม่นยำ เช่น งานผลิตเครื่องช่วยฟัง ซึ่งขนาดของคอมโพเน้นท์ที่จำเป็นต้องใช้มีขนาดเล็กมาก ท้าทายศักยภาพการผลิตที่ต้องรับมือให้ได้ ซึ่งเป็นจุดที่หุ่นยนต์สามารถเข้ามาช่วยจัดการกับชิ้นส่วนที่มีขนาดเป็นเพียงมิลิเมตรเท่านั้นได้ด้วยความแม่นยำ ไม่ก่อความเสียหายต่อองค์ประกอบสำคัญ ๆ อื่นที่เกี่ยวข้อง วิธีนี้ไม่ลดคุณภาพและยังเร่งอัตราความเร็วในการผลิตได้อีกด้วย หุ่นยนต์ทำงานได้เร็วเพียงไม่กี่วินาทีต่อรอบเท่านั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารสายการผลิตและคอมโพเน้นท์ที่ใช้งาน

นอกจากนี้ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ติดตั้งใช้ในโรงงานนั้นสามารถทำการตั้งโปรแกรมได้ง่าย คล่องตัวและยืดหยุ่นในการใช้งาน เคลื่อนย้ายสะดวก ปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อย มีฟีเจอร์และอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่ายแบบบิลท์อิน ทำให้ผู้ผลิตได้เปรียบอย่างยิ่งยามต้องตัดสินใจเชิงธุรกิจ สามารถก้าวกระโดดได้รวดเร็ว รองรับวิศวกรรมการแพทย์ และหมายถึงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่สั้นลง กระบวนการผลิตต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตอบสนองทั้งคอมโพเน้นท์ใหม่ที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา และรับขนาดที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ยาปริมาณเพียงเล็กน้อย จนถึงแคปซูลขนาดใหญ่ เป็นการช่วยลดเวลาในการวางสินค้าออกสู่ตลาด และกำจัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องลงไปกับการปรับปรุงยกเครื่องสายพานการผลิต

universal-robot-pharmaceutical-industry-2

อนาคตสดใส

ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมด้านสาธารณสุขที่กำลังขยายตัว ส่งสัญญานมายังภาคส่วนเภสัชกรรมให้เร่งพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการผลิต และความสามารถในการแข่งขัน ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น และรักษาตำแหน่งผู้นำในการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมให้ดี อัตราการเติบโตและตำแหน่งทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสาธารณสุขของประเทศในทศวรรษต่อไปน่าจะขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตเลือกที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในธุรกิจของตนเองหรือไม่นั่นเอง

universal-robot-pharmaceutical-industry

 

เกี่ยวกับยูนิเวอร์แซล โรบอทส์

UR Logotype

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นผลแห่งความสำเร็จในการวิจัยค้นคว้าด้านหุ่นยนต์อย่างหนักหน่วงติดต่อกันหลายปี ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทประกอบด้วย หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ UR3, UR5 และ UR10 หุ่นยนต์แขนกลเหล่านี้ตั้งชื่อรุ่นตามน้ำหนักที่รับในหน่วยกิโลกรัม

ตั้งแต่ UR ตัวแรกก้าวเข้าสู่ตลาดเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2551 บริษัทก็ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำตลาดได้ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกที่ให้ความสนใจในการนำหุ่นยนต์มาใช้งาน ระยะเวลาในการคืนทุนโดยเฉลี่ยสำหรับหุ่นยนต์ UR นี้เพียง 195 วันเท่านั้นถือเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทยูนิเวอร์แซล โรบอทส์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก พร้อมด้วยงานพัฒนาวิจัยและผลิต เป้าหมายการจำหน่ายทั่วโลกอยู่ที่ การเติบโตยอดรายได้เท่าตัวทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2560 สนใจเยี่ยมชมเว็บไซต์ ได้ที่ www.universal-robots.com

[1] International Federation of Robotics, 2014 http://www.ifr.org/industrial-robots/statistics/)

[2] Bangkok Post, April 2013 http://www.bangkokpost.com/tech/local-news/346542/thailand-robot-revolution-is-rising

[3] Pharmaphorum, April 2014 http://www.pharmaphorum.com/articles/thailand-pharmaceutical-market-update-2014

from:https://www.techtalkthai.com/universal-robot-pharmaceutical-industry/