คลังเก็บป้ายกำกับ: UPDATE_DRIVER

ล้างเครื่อง Reset PC เหมือนได้คอมใหม่ ง่าย ทำได้ไว ไม่ต้องลงวินโดว์ฉบับปี 2023

ล้างเครื่องใหม่อัพเดต 2023 Reset PC ไม่ต้องลงวินโดว์ใหม่ ทำงาน เล่นเกมลื่นไหล

ล้างเครื่อง

ล้างเครื่อง Reset PC ในโอกาสใดบ้าง ทำไมถึงต้องทำ? วิธีการนี้ เป็นทำให้คอมเครื่องเก่าหรือเครื่องที่ใช้อยู่นั้นกลับมาทำงานได้ตามปกติ เหมือนกับตอนที่ลงวินโดว์ใหม่ๆ รวมถึงทำให้คนที่อาจเจอปัญหากับการใช้ซอฟต์แวร์ หรือไฟล์ระบบทำงานไม่ปกติ การแก้ปัญหาในเบื้องต้นอาจยังไม่พอ ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่น คุณอาจได้คอมมือสอง ที่เป็นมรดกตกทอดจากพี่ หรือซื้อคอมมือสองมา แล้วอยากจะทำให้เหมือนเครื่องใหม่ พร้อมเคลียร์พื้นที่ในระบบให้พร้อมสำหรับใช้งาน หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น บางครั้งก็จอฟ้า BSOD รวมไปถึงเมื่อต้องการจะขายโน๊ตบุ๊ค หรือเปลี่ยนมือให้คนอื่นใช้ จำเป็นต้องเคลียร์ข้อมูล เพื่อความปลอดภัย นอกจากวิธีการ Recovery แล้ว การ Reset PC ก็ทำให้คอมของคุณกลับมาเหมือนลงวินโดว์ใหม่แบบ Clean ได้เช่นกัน ให้คอมกลับมาทำงานลื่นไหล เหมือนได้คอมเครื่องใหม่ โดยที่ไม่ต้องใช้แฟลชไดรฟ์ มาบูทเครื่องเพื่อลงวินโดว์ใหม่ให้เสียเวลาแล้ว ด้วยขั้นตอนเหล่านี้ คุณสามารถทำด้วยวิธีนี้ทั้งบนโน๊ตบุ๊คหรือพีซีของคุณ


ล้างเครื่อง Reset PC เหมือนได้คอมใหม่

เงื่อนไขและสิ่งที่ต้องเตรียม

  • มีวินโดว์ที่ติดตั้งเอาไว้ก่อนแล้ว หรือเป็นระบบจากเครื่องเก่า (แต่วิธีอาจต่างกันไปใน Windows แต่ละเวอร์ชั่น)
  • จะเป็นวินโดว์แท้ หรือยังไม่ได้ Activate อย่างเป็นทางการ ก็ทำได้ แต่ผลที่ได้อาจไม่เหมือนกัน 100% ถ้าไม่ใช่วินโดว์แท้ติดเครื่อง ก็อาจจะต้อง Activate ใหม่ด้วยคีย์เดิม
  • ต้องมีอแดปเตอร์หรือที่ชาร์จ ที่เสียบชาร์จไฟเอาไว้ได้ กรณีที่เป็นโน๊ตบุ๊ค และชาร์จเอาไว้จนกว่าจะเสร็จสิ้นขั้นตอน
  • ไม่จำเป็นต้องมีแฟลชไดรฟ์ในการบูต ไม่ต้องอาศัยแผ่นติดตั้ง Windows ง่ายและสะดวกกว่าเยอะ
  • ย้ำอีกครั้ง หากคุณมีข้อมูลสำคัญ ให้โยกย้าย สำรองเอาไว้ เช่น Document, Photo, Video, Download หรืออื่นๆ ใส่เอาไว้ใน External Drive เอาไว้ก่อนดีที่สุด

Backup สำรองข้อมูลในส่วนใดบ้าง?

ล้างเครื่อง
  • Desktop: เป็นอีกที่หนึ่งที่หลายคนใช้ในการเก็บไฟล์และจัดวางโฟลเดอร์งาน เพื่อให้เปิดใช้งานได้สะดวก ซึ่งบางครั้งต้องเช็คให้ถี่ถ้วนว่านำมาครบหรือไม่
  • Document: ส่วนใหญ่จะใช้ในการเก็บไฟล์งาน และเอกสาร ข้อมูลต่างๆ ภายในนี้ ซึ่งอาจจะเป็นโฟลเดอร์ซับซ้อน ให้เริ่มเก็บจากโฟลเดอร์หลักมาให้ครบ
  • Pictures: ไฟล์ภาพ และไฟล์ที่ได้จากการ Capture อาจเข้าไปอยู่ในโฟลเดอร์ Screenshot หากยังต้องใช้ ก็ไม่ควรลืมสำรองเอาไว้ด้วย
  • Videos: โฟลเดอร์ที่ใช้เก็บไฟล์วีดีโอต่างๆ รวมไฟล์ที่ Capture มาเป็นวีดีโอ ก็จะอยู่ในนี้ด้วยเช่นกัน
  • Downloads: อาจจะเลือกเก็บเป็นบางไฟล์ หรือบางโปรแกรมที่นำมาใช้ โดยใช้เป็นไฟล์ที่มีการอัพเดตใหม่ หรืออาจจะสำรองเอาไว้ทั้งหมด เพื่อนำไปแยกการใช้งานอีกครั้ง
  • Music: เพลง เสียง และอื่นๆ ถ้ามีสิ่งสำคัญให้สำรองเอาไว้ก่อน
  • นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องของ Sticker note หรืออื่นๆ ให้ลองดูว่าเราเพิ่มเติมการใช้งานอื่นใดเข้าไปบ้าง เพราะบางอย่างไม่ต้องสำรองไฟล์ แค่ใช้ Log-in เดิม เช่น Google account หรือ Microsoft account สิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็พร้อมให้คุณใช้งานได้ทันที

ประโยชน์ และข้อควรระวังในการล้างเครื่อง Reset PC

  1. การ Reset PC ช่วยให้คุณได้คอมเหมือนเครื่องที่เพิ่งลงวินโดว์มาใหม่ๆ แต่อาจจะมีแตกต่างกันไปบ้าง ตามเวอร์ชั่น รวมถึงควรต้องเตรียมไดรเวอร์หรือแหล่งดาวน์โหลด เพื่อการอัพเดตได้อย่างรวดเร็ว
  2. แต่การ Reset จะทำให้โปรแกรม และข้อมูลของคุณหายไปทั้งหมด ยกเว้นว่า คุณจะสำรองข้อมูลเอาไว้แล้ว หรือจะเลือกเป็นแบบ Keep Data
  3. การ Reset PC เช่นนี้ อาจไม่ได้ส่งผลให้การเล่นเกม เฟรมเรตพุ่ง โดยตรง แต่ก็ช่วยให้การเล่นเกมโดยรวมดีขึ้น เพราะมีการ Clear Cache, ลบไฟล์ขยะ และกำจัดสิ่งที่เป็น Process ของซีพียู แรม เป็นต้น
  4. ข้อควรระวัง สำรองข้อมูล ต่ออแดปเตอร์จ่ายไฟไว้ตลอด โปรแกรมกับไดรเวอร์ต้องหามาเตรียมเอาไว้ กรณีที่อุปกรณ์บางอย่าง ใช้ไดรเวอร์เฉพาะ

ขั้นตอนในการ Reset PC

ล้างเครื่อง

สำหรับใครที่ใช้ Windows 10 และ Windows 11 กดปุ่ม Start เลือก Settings แล้วไปที่ Update & Security ในหน้านี้จะมีตัวเลือกค่อนข้างเยอะ ควรเลือกให้ถูกต้องตามขั้นตอน

Advertisementavw
ล้างเครื่อง

เลือกที่ Recovery ที่อยู่ในแถบซ้ายมือ บริเวณใกล้กับ Activation จากนั้น ไปที่หัวข้อ Reset this PC ทางด้านขวา กดปุ่ม Get started

ล้างเครื่อง

จากนั้นจะเข้าสู่หน้าที่ให้เราเลือกว่าจะทำการ Reinstall Windows แบบใด จะมีให้เลือก 2 แบบ ที่มีการใช้งานต่างกันคือ

ล้างเครื่อง
  • Keep my files: จะเป็นการ Reset ระบบ พร้อมเก็บข้อมูลส่วนตัวของคุณไว้ เช่น ภาพ วีดีโอ Document และอื่นๆ รวมถึงโปรแกรมที่คุณใช้) ข้อดีคือ คุณไม่ต้องไปโปรแกรมเดิมมาลงใหม่ ไฟล์ข้อมูลของคุณจะไม่หายไปไหน แต่คุณจะต้องรอนานมากในขั้นตอนนี้ นานชนิดบางทีคุณลงวินโดว์ใหม่ เร็วกว่า
  • Remove Everything: เป็นแบบที่เหมาะกับคนที่ต้องการความเร็ว และเคลียร์ไฟล์ รวมถึงซอฟต์แวร์ที่มีปัญหาต่างๆ ออกทั้งหมด ในส่วนนี้จะใช้เวลาไม่มาก และได้ผลค่อนข้างดี เพราะจะแก้ปัญหาบางอย่างที่อาจจะไม่สามารถทำได้ใน Error checking หรือการ Uninstall Program เพียงอย่างเดียว

ซึ่งถ้าคุณสำรองไฟล์ข้อมูลต่างๆ เอาไว้ตั้งแต่ต้นเรียบร้อยแล้ว ให้เลือกที่ Remove everything ได้เลยครับ ให้คลิ๊กตรงนี้

ล้างเครื่อง

เมื่อเข้ามาที่ Additional settings หรือการตั้งค่าพื้นฐาน สามารถเลือก Change settings ได้

ล้างเครื่อง

ให้ตั้งเป็นค่าเดิมไว้ คือ Off ตรงนี้ถ้าเลือก On ก็จะเข้าเงื่อนไขของระบบ เช่น ลบได้ไว แต่ไม่ปลอดภัย รวมถึงเฉพาะข้อมูลที่อยู่ในไดรฟ์นี้ จะหายไปเมื่อติดตั้งวินโดว์ จากนั้นกด Confirm จากนั้นคลิ๊ก Next ต่อไป

ล้างเครื่อง

มาถึงตรงนี้ หากเป็นโน๊ตบุ๊ค ระบบจะแจ้งเลยว่า ให้ต่อสายอแดปเตอร์เข้ากับเครื่อง เพื่อทำการชาร์จไฟ ซึ่งอาจเกิดปัญหาได้ หากไฟดับ แบตหมดขณะที่กำลัง Reset อยู่ หากของใครไม่ยอม Reset ให้ ลองเสียบสายชาร์จดูครับ

ล้างเครื่อง

เมื่อเข้าหน้า Ready to reset this pc ระบบบอกว่าพร้อมแล้ว สำหรับการ Reset เลือกที่ Reset ได้เลย

ล้างเครื่อง

ให้รอสักครู่ ระบบกำลังทำการ Preparing หรือจัดเตรียมลำดับสักครู่ ก่อนจะทำการ Reset จะนานหรือไม่ขึ้นอยู่กับความแรงของโน๊ตบุ๊ค

Reset PC Cleanup 2023 31

ระหว่างขึ้นหน้าจอสีดำ อย่าเพิ่งทำอะไร หรือไปถอดปลั๊ก ให้รอกระบวนการ Reset ไปสักระยะ จากนั้นระบบจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการติดตั้ง Windows อีกครั้งหนึ่ง บนหน้าจอสีฟ้าๆ ให้รอจนกว่าจะเสร็จสิ้น

เสร็จแล้วระบบจะให้เราทำการตั้งค่าต่างๆ ก่อนจะใช้งาน Windows ซึ่งตรงนี้ จะคล้ายกับที่เราติดตั้ง Windows ใหม่นั่นเอง ใครที่อยากดูรายละเอียดตรงนี้ให้ครบๆ สามารถคลิ๊กดูบทความ สอนลงวินโดว์ ฉบับเต็ม ได้เลยครับ

ล้างเครื่อง

ขั้นแรก เลือก Region ตรงนี้จะเลือก Thailand หรือจะคลิ๊ก Yes ไปก่อน แล้วค่อยตั้งค่า เมื่อเข้าสู่ Windows แล้ว ก็ได้

ล้างเครื่อง

ต่อมา Keyboard layout เลือก US จากนั้น Language ให้เลือก ภาษาไทย แล้ว Next เลือก Thai Kedmanee

ล้างเครื่อง

เมื่อเข้ามาหน้าการเชื่อมต่อเครือข่าย ตรงนี้แนะนำว่าให้กด I don’t have internet ไปก่อนครับ เพราะไม่อย่างนั้น คุณจะต้อง Log-in Microsoft account ก่อน ซึ่งจะใช้เวลาค่อนข้างนาน

ล้างเครื่อง

ต่อมาระบบจะถามว่า ใครจะเป็นคนที่ใช้เครื่องนี้ ใส่ชื่อเราที่เป็นเจ้าของเครื่องก็ได้ครับ แล้วกด Next

ล้างเครื่อง

ส่วนของ Password หรือรหัส ใครจะตั้งเลยก็ได้ หากใช้เครื่องคนเดียว แต่ถ้าใช้กันหลายคน อาจจะเอาไว้ตั้งทีหลังก็ได้ครับ กด Next

ล้างเครื่อง

ในหัวข้อ Choose Privacy Settings นี้ จะให้คุณเลือกเปิดใช้งานความเป็นส่วนตัวของคุณ ตัวอย่างเช่น Location เพื่อให้ระบบรายงานเส้นทาง สภาพอากาศ รวมถึงการบริการต่างๆ จากไมโครซอฟท์ เมื่ออยู่ในพื้นที่นั้นๆ หรือไม่ หรือจะเป็น Find my device ในการเปิดให้ค้นหาอุปกรณ์ของคุณ กรณีที่เกิดการสูญหาย รวมถึง Diagnostic data จะส่งข้อมูลบางส่วนให้กับเว็บไซต์จากเบราว์เซอร์ที่คุณใช้ เพื่อให้ทำงานร่วมกับอุปกรณ์และเปิดใช้งานฟีเจอร์เกี่ยวกับ Activity และอื่นๆ เพื่อรายงานความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้งาน หรือจะเป็น Inking & Typing เป็นต้น

ล้างเครื่อง

รอจนกว่าระบบจะบูตเข้าสู่หน้า Desktop ตรงนี้ถ้าเป็นโน๊ตบุ๊คแบรนด์ต่างๆ อาจจะมีขั้นตอนที่เพิ่มเติมเข้ามา รวมถึงแอพพลิเคชั่นที่จะติดตั้งเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ ไม่ต้องตกใจ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปได้เลย นั่นคือการอัพเดตสิ่งต่างๆ ให้พร้อมสำหรับการใช้งาน

ล้างเครื่อง

สิ่งที่คุณจะต้องทำต่อไปคือ ต่ออินเทอร์เน็ต จะใช้ WiFi หรือสาย LAN ก็ตามสะดวกครับ ตรงนี้ผมแนะนำว่า หากคุณจะเครือข่ายนี้ที่บ้านเป็นค่าปกติ ก็เชื่อมต่ออัตโนมัติได้เลย เพราะจะต้องใช้อินเทอร์เน็ตอีกพอสมควรในการอัพเดตและติดตั้งสิ่งต่างๆ ภายในเครื่อง

ล้างเครื่อง

ให้ทำการ Update Windows, ลงโปรแกรม และย้ายไฟล์ของคุณกลับมาวางเอาไว้ที่เดิม เป็นอันเสร็จสิ้น

ทั้งหมดนี้ จะใช้เวลาอยู่ที่ราวๆ 10 กว่านาที ถามว่าเร็วกว่าลง Windows ใหม่มั้ย บอกเลยว่าใกล้เคียงกัน แต่…ไม่ต้องเตรียมแฟลชไดรฟ์ ไม่ต้องใช้แผ่นลง ลดเวลาไปไม่น้อยเลย


ข้อสังเกตหลังการ Reset

  • Windows หลักตัวเดิมของคุณเป็นเวอร์ชั่นใด เมื่อ Reset จะกลับไปเป็นแบบเดิมคือ ระบบตั้งต้น
  • ต้องอัพเดตไดรเวอร์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นชิปเซ็ต เมนบอร์ด การ์ดจอ และอื่นๆ
  • ต้องเตรียมโปรแกรมและซอฟต์แวร์ใหม่ให้พร้อม เมื่อติดตั้งเสร็จให้ Activate ใหม่อีกครั้ง
  • อย่าลืม หากใครใช้ระบบ 2 ภาษา แล้วต้องใช้งานปุ่ม “Grave Accent” หรือปุ่มตัวหนอนในการสลับภาษา สามารถทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย สำหรับคนที่ใช้ Windows 11

วิธีสลับภาษาด้วยปุ่ม Grave Accent

ล้างเครื่อง
  1. คลิ๊กขวาที่ปุ่ม Win แล้วเลือก Settings
  2. เลือกที่ Time & Language ที่อยู่ทางแถบด้านซ้าย
  3. จากนั้นเลือก Language & Region
  4. เลื่อนลงมาด้านล่าง แล้วเลือก Typing
  5. ในหน้า Typing ให้เลือก Advance keyboard settings
  6. หน้านี้ ให้เลื่อนลงมาด้านล่าง ดูในหัวข้อ Switch input methods ให้คลิ๊กที่หัวข้อ Input language hot keys
  7. เลือกที่ between input languages
  8. แล้วเลือก Change key sequence…
  9. หน้าต่างที่ปรากฏขึ้น ให้เลือกใส่เครื่องหมาย Grave Accent แล้ว Ok
  10. เท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้น การสลับภาษาด้วยปุ่มตัวหนอน

สรุปการล้างเครื่อง

ล้างเครื่อง

โดยสรุปกับขั้นตอนการล้างเครื่อง Reset PC ไม่ได้ยุ่งยากใช่มั้ยครับ ด้วยการทำไม่กี่ขั้นตอนนี้ สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบ ในกรณีที่เกิดสิ่งผิดปกติในการใช้งาน เช่น ไดรเวอร์ ซอฟต์แวร์ และยูทิลิตี้ต่างๆ ที่ลงไปในเครื่อง แล้วทำให้ระบบทำงานผิดเพี้ยน หรือใช้งานมานาน แล้วอยากจะล้างระบบ เพื่อเคลียร์สิ่งต่างๆ ให้ระบบกลับมาเฟรชเหมือนใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญ ที่อยากจะย้ำในทุกครั้งที่ต้องทำสิ่งใดเกี่ยวกับระบบ แนะนำว่าให้สำรองข้อมูลต่างๆ เอาไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย รวมถึงเตรียมสายชาร์จ ในกรณีที่ใช้โน๊ตบุ๊ค และมีอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อ จากนั้นทำทีละขั้นตอนแบบไม่ต้องรีบร้อน และหลังจากที่ล้างเครื่องเรียบร้อยแล้ว ใครที่ไม่แน่ใจ ผมอยากให้ดูในแต่ละขั้นตอนให้ครบถ้วน ก่อนจะลงมือทำจะดีที่สุดครับ ย้ำว่า การเตรียม สำรองข้อมูล และโปรแกรมบางส่วนไว้ ช่วยให้หลัง Reset ง่ายขึ้น ส่วนถ้ามีติดตรงจุดใด สามารถคอมเมนต์กันเอาไว้ได้เลยครับ สุดท้ายนี้ ปปป

from:https://notebookspec.com/web/683632-reset-pc-windows-11-2023

Advertisement

วิธีเช็ค การ์ดจอฟรี! ดูสเปค ความร้อน เทียบความแรงปี 2022 เพื่อคอมเล่นเกมแบบคุ้มๆ

วิธีเช็ค การ์ดจอ 2022 ดูสเปค เช็คความเร็ว เพิ่มเฟรมเรตแบบฟรีๆ มือใหม่ยังใช้ได้

วิธีเช็ค การ์ดจอ

วิธีเช็ค การ์ดจอ เมื่อเวลาที่คุณต้องการทราบรุ่นของการ์ดจอที่ใช้ รหัสหรือซีรีส์ รวมถึงอุณหภูมิ และสภาพการทำงาน มีวิธีการอยู่มากมาย ตั้งแต่การสังเกตอาการจากฮาร์ดแวร์ภายนอก ไปจนถึงใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจเช็ค เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ยิ่งในปี 2022 นี้แล้ว กราฟิกการ์ดรุ่นรุ่นใหม่ก็มีออกมามากมาย รวมถึงบางคนที่ชื่นชอบการ์ดจอมือ 2 ก็อยากได้ความมั่นใจ เมื่อต้องเลือกการ์ดจอให้โดนใจ ประหยัดเงิน แต่จะดูจากตรงไหนบ้าง ในบทความนี้เรามีวิธีตรวจเช็คและแนะนำซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ช่วยให้คุณสามารถใช้งานและเล่นเกมกับการ์ดจอของคุณได้อย่างมั่นใจ แต่จะมีแบบไหนบ้าง มาชมในบทความนี้กันได้เลยครับ

วิธีเช็ค การ์ดจอ ด้วยซอฟต์แวร์ฟรี!


วิธีเช็ค สเปคการ์ดจอ

และอย่างที่ได้เกริ่นเอาไว้ในข้างต้น การตรวจเช็ค หรือวิธีเช็ค การ์ดจอ ไม่ว่าจะเป็นของใหม่ หรือของมือสอง มีด้วยกันหลายวิธี ในเบื้องต้นขอกล่าวถึงการ์ดจอใหม่กันก่อน บางท่านอาจจะถามว่าจะเช็คของใหม่ไปเพื่อเหตุผลใด เพราะยังใช้งานได้ปกติ และอย่างน้อยๆ ก็ยังมีประกัน ขอตอบดังนี้ครับ เรื่องของการตรวจเช็ค การ์ดจอใหม่ คงไม่ได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับว่าใช้งานได้หรือไม่โดยตรง เพราะของใหม่ แกะออกจากซอง ก็ถือว่าพร้อมใช้งาน ผ่านมาตรฐาน QC ของทางผู้ผลิตมาอยู่แล้ว แต่หลายท่านอยากจะตรวจเช็คว่า การ์ดจอรุ่นที่ใช้เป็นการ์ดสเปคอะไร เช่น ความเร็วสัญญาณนาฬิกา GPU clock, Memory clock, CUDA core, Stream processor หรือว่ามี Bus width แค่ไหน จะได้เอามาเทียบกับการ์ดจอตัวเก่าที่ใช้ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น รวมอาจจะใช้วิธีการ Benchmark หรือทดสอบ เพื่อวัดผลกันไปเลยว่า จะแรงกว่าการ์ดจอตัวเก่ามากน้อยแค่ไหน รวมถึงการทดสอบเพื่อประเมินว่า การ์ดจอจะร้อนมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะใช้ในการออกแบบหรือเลือกติดตั้งการระบายความร้อนภายในเคสนั่นเอง วันนี้จึงขอนำเอาวิธีตรวจเช็ค การ์ดจอในแบบต่างๆ มาให้ได้ชมกันครับ

Advertisementavw

เช็คขั้นต้นด้วย GPUz

ถ้าจะตรวจเช็คแค่สเปคของการ์ดจอใหม่ หรือจะใช้กับการ์ดจอมือสอง โปรแกรมอย่าง AIDA64 ที่ใช้ดูสเปคโดยรวม หรือจะใช้ดูรายละเอียดลงลึกก็จะมี GPUz ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐาน ไม่มีค่าใช้จ่ายและใช้งานได้ดี แต่ในการเริ่มต้นนี้ เราอยากจะแนะนำให้ใช้ GPUz เพราะสะดวก ติดตั้งง่ายและยังไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย โดยสามารถเข้าไปดาวน์โหลดมาติดตั้งได้ที่ ดาวน์โหลด GPUz ปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่น 2.47.0

วิธีเช็ค การ์ดจอ
GPUz

ในหน้าของโปรแกรม มีด้วยกัน 4 แท็ป และในแต่ละแท็ปก็จะแบ่งฟังก์ชั่นการทำงานที่ต่างกันไป ประกอบด้วย

  • Graphic Card: เป็นส่วนสำคัญสำหรับคนที่ต้องการดูรายละเอียดของการ์ดจอที่ติดตั้งเอาไว้ทั้งหมด
  • Sensors: รายงานข้อมูลหรือสถานะของการ์ดจอ เช่น สัญญาณนาฬิกา แรงดันไฟ และอุณหภูมิในแบบเรียลไทม์เป็นต้น
  • Advanced: รายละเอียดในเชิงลึกของการ์ดจอ เช่น Driver, DirectX หรือการสนับสนุน API ต่างๆ
  • Validation: การอัพเดตข้อมูล หรือมีฟี๊ดแบ๊คไปยังผู้พัฒนา
วิธีเช็ค การ์ดจอ

สำหรับใครที่ต้องการทราบข้อมูลของการ์ดจอเป็นหลัก แท็ปแรก Graphic Card จะบอกรายละเอียดต่างๆ ของการ์ดจอให้คุณทราบอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ชื่อรุ่น รุ่นของชิป GPU, แม้กระทั่ง Code Name, ทรานซิสเตอร์ ไปจนถึงการเชื่อมต่อ ตรงนี้สำคัญนะครับ เพราะคุณจะสามารถเปรียบเทียบกับการ์ดรุ่นเดิมของคุณได้อย่างชัดเจน แม้จะยังไม่ได้ทดสอบด้วยเกมหรือการ Benchmark ก็ตาม เพราะอย่างน้อย คุณจะได้ทราบถึงตัวเลขของ ความเร็วสัญญาณนาฬิกา จำนวน CUDA core หรือจะเป็น VRAM และ Bus width หรือ Interface ตัวเลขเหล่านี้ ล้วนแต่มีผลต่อการเล่นเกมด้วยกันทั้งสิ้น

นอกจากนี้ โปรแกรมยังใช้วิธีเช็ค การ์ดจอ ที่เป็นการตรวจการ์ดจอปลอม หรือ Fake Graphic card ได้อีกด้วย โดยเฉพาะการ์ดที่ถูกแปลไบออส เปลี่ยนไดรเวอร์ หรือมีการดัดแปลงไม่ตรงรุ่น ซึ่งจะรายงานผลให้เราทราบได้จากโลโก้ที่บอกรุ่นและแบรนด์ของกราฟิกชิปด้านบนนั่นเอง

วิธีเช็ค การ์ดจอ

แต่ใน GPUz นั้น ไม่ได้มีแค่เพียงข้อมูลของกราฟิกการ์ดหรือฟีเจอร์ และเทคโนโลยีในแต่ละรุ่นเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ และเหมาะกับการให้เกมเมอร์ได้ตรวจเช็คการ์ดจอที่ใช้อยู่ได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสัญญาณนาฬิกา แรงดันไฟ โหลดการทำงาน และยังรายงานอุณหภูมิให้ผู้ใช้ได้ทราบในแบบเรียลไทม์ ในส่วนของ GPU temp. และ GPU voltage นับเป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับคนที่ชอบโอเวอร์คล็อกหรือเพิ่มความเร็วในการทำงานของการ์ดจอ เพื่อให้มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย อาจใช้ควบคู่ไปกับซอฟต์แวร์อื่นๆ เช่น Furmark, OCCT หรือโปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบ เพื่อช่วยให้คุณดูสถานะต่างๆ ของการ์ดจอได้อย่างแม่นยำ


ดูง่ายๆ ด้วย Task Manager

วิธีเช็ค การ์ดจอ

แต่ถ้าคุณต้องการทราบสถานะในเบื้องต้น เช่น Process ในการทำงานทั่วไป แค่เปิด Task Manager ของ Windows ก็สามารถดูได้แล้ว ด้วยการกดปุ่ม Ctrl+Shift+Esc เมื่อเข้าสู่หน้าต่าง ให้คลิ๊กที่แท็ป Performance เลื่อนไปที่ GPU ที่อยู่ทางด้านซ้าย คุณจะเห็นแถบสถานะอยู่ทางด้านขวา ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของ GPU, Video Decode หรือจะเป็นการใช้งาน VRAM นอกเหนือจากกราฟิกและหน่วยความจำ รวมถึงเวอร์ชั่นของไดรเวอร์


OCCT ตรวจเช็ค ดูอุณหภูมิ

วิธีเช็ค การ์ดจอ

OCCT ก็เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับคนที่ต้องการเช็คสเปคการ์ดจอ และทดสอบฮาร์ดแวร์อื่นๆ เพราะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย และบอกรายละเอียดได้ดี โดยดาวน์โหลด OCCT มาใช้ได้ทันที ไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน แต่หากคุณใช้งานแล้วชื่นชอบ ก็สามารถ Donate ให้กับทีมพัฒนา เพื่อจะได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ มาให้เราได้ใช้กันครับ ในหน้าโปรแกรม เข้าไปที่ Sysinfo และเลือกไปที่แท็ป GPU ก็จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการ์ดจอที่ติดตั้งอยู่บนระบบมาให้คุณได้ทราบ ประกอบไปด้วย

  • Video Chipset: ข้อมูลรุ่น ชิป และ VRAM ตรงนี้ หากมีการ์ดมากกว่า 1 ตัวที่ติดตั้งเอาไว้ ก็จะมีดรอปดาวน์ลิสต์ไว้ให้เลือกเปิดดูรายละเอียดของการ์ดอีกรุ่นให้ได้ทราบ เช่น บางรุ่นมี iGPU บนซีพียู และการ์ดจอแยก
  • Video Card: รายงานถึงรุ่นและซีรีส์ รวมถึงการเชื่อมต่อหรืออินเทอร์เฟสที่ติดต่อกับซีพียูและเมนบอร์ด
  • Performance: สเปคของกราฟิก VRAM และรายละเอียดด้านเทคนิคต่างๆ เอามาใช้ในการเปรียบเทียบกับการ์ดจอตัวเก่าของคุณได้เลย
วิธีเช็ค การ์ดจอ

นอกจากนี้ OCCT ยังสามารถใช้วิธีเช็ค การ์ดจอด้วยการทดสอบกราฟิกการ์ดได้เช่นกัน โดยจะมีทั้งในส่วนของ 3D Standard, 3D Adaptive และ VRAM ซึ่งจะทำให้เราได้ทราบถึงประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และการใช้พลังงาน สำหรับคนที่ทำการโอเวอร์คล็อกการ์ดจอ ก็จะได้ฟังก์ชั่นในส่วนนี้ เพื่อดูว่าการ์ดจอมีความนิ่งมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากการ์ดจอไม่สามารถรันได้จนจบหรือเกิดปัญหาระหว่างการทดสอบ เช่น บลูสกรีน ค้างแฮงก์ หรือเครื่องดับ ก็ต้องนำมาปรับจูนกันใหม่อีกครั้ง


เช็คข้อมูลพื้นฐานการ์ดจอ AIDA64

วิธีเช็ค การ์ดจอ

AIDA64 ก็เป็นอีกวิธี เช็คการ์ดจอภายในเครื่องของคุณได้ในแบบเบื้องต้น โดยเป็นโปรแกรมที่บอกฮาร์ดแวร์ทุกอย่างที่อยู่ภายในระบบให้ได้ทราบอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม การ์ดจอ Storage และ Network รวมถึงซอฟต์แวร์ ซึ่งจะแยกย่อยรายละเอียดให้ได้ทราบอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี โปรแกรมนี้จะมีทั้งแบบ Trial หรือทดลองใช้ ถ้าต้องการเปิดใช้งานแบบครบถ้วน ก็จะมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย ซึ่งจะไม่ได้เปิดฟีเจอร์ให้ใช้งานได้เต็ม เหมาะกับคนที่ใช้ซอฟต์แวร์พื้นฐาน ต้องการแค่ตรวจเช็คข้อมูลฮาร์ดแวร์ทั่วไป แต่ถ้าต้องใช้งานบ่อย เช็คอุปกรณ์เป็นประจำ และใช้การทดสอบเพื่อหาข้อมูล และอัพเกรดบ่อย ตัวเต็มอย่าง Pro version ก็น่าสนใจ เพราะราคาไม่สูงมากนัก

วิธีเช็ค การ์ดจอ

และนอกจากนี้ยังมีวิธีเช็ค การ์ดจอ ด้วยการ Benchmark สำหรับทดสอบฮาร์ดแวร์ในส่วนต่างๆ และหนึ่งในนั้นก็คือ การทดสอบประสิทธิภาพของ GPU ได้อีกด้วย โดยผลทดสอบสามารถนำไปอ้างอิงการทำงานของการ์ดรุ่นอื่นๆ นำมาใช้ในการเปรียบเทียบได้อีกด้วย แต่หากต้องการจะได้ผลทดสอบทั้งหมด ก็จะต้องเป็นเวอร์ชั่นเต็มที่มีค่าใช้จ่ายครับ


ซอฟต์แวร์บันเดิลของเมนบอร์ด

ในแง่ของการตรวจเช็ค ดูข้อมูลพื้นฐานและการรายงานสถานะ ก็ยังมีซอฟต์แวร์อีกมากมายให้คุณได้ตรวจเช็ค แต่ในปัจจุบันก็จะมีโปรแกรมที่บันเดิลมากับพีซีหรือโน๊ตบุ๊ค รวมถึงเมนบอร์ดของแต่ละค่าย มาเป็นอีกหนึ่งวิธีเช็ค การ์ดจอได้อย่างง่ายดายและมักจะฟรี อย่างเช่น Acer PredatorSense, ASUS ROG, HP OMEN Gaming Hub, MSI Dragon Center หรือจะเป็น Lenovo Vantage เป็นต้น

วิธีเช็ค การ์ดจอ

ตัวอย่างจาก MSI Center เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ในซอฟต์แวร์ จมะมีทั้งส่วนที่เป็น CPU และ GPU โดยจะบอกรายละเอียดของทั้งสัญญาณนาฬิกาของการ์ดจอ, Usage หรือระดับการใช้งาน และพัดลม รวมถึงรายละเอียดพื้นฐานทั่วไปได้ อย่างน้อยใช้ในการตรวจเช็คสถานะของการ์ด เพื่อการใช้งานได้อย่างอุ่นใจหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นเกม


GeForce Experience

วิธีเช็ค การ์ดจอ

GeForce Experience เป็นโปรแกรมที่มากับไดรเวอร์การ์ดจอจากค่าย nVIDIA ที่ให้ฟังก์ชั่นบอกรายละเอียดตัวการ์ด สเปค และสถานะต่างๆ ไว้อย่างครบครัน และใช้งานง่าย โดยเมื่อติดตั้งแล้วก็พร้อมใช้งานได้ทันที โดยส่วนของ Performance Monitoring จะทำหน้าที่ในการบอกข้อมูลของการ์ดจอ เช่น GPU clock, Temp, Voltage หรือ Fan speed และอื่นๆ จะเห็นได้ว่าสามารถบอกรายละเอียดสำคัญๆ ได้เกือบครบครันเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นการทำงานในแบบเรียลไทม์ ทำให้เช็คข้อมูลได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะคนที่โอเวอร์คล็อกการ์ดจอ ผ่านโปรแกรมใดๆ ก็ตามแต่ แล้วทำงาน Burn-in เพื่อทดสอบ หรือคิดถึงความร้อนเมื่อเล่นเกมต่อเนื่องนานๆ ก็สามารถใช้ฟีเจอร์นี้ในการตรวจสอบได้ ซึ่งในฟีเจอร์การแสดงผลบนโปรแกรมนี้ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเหล่าเกมเมอร์ ใช้ในระหว่างการเล่นเกมได้ ฟังก์ชั่นครบ เป็นซอฟต์แวร์ที่เหมาะทั้งเกมเมอร์ สตรีมเมอร์และนักโอเวอร์คล็อกได้ดีทีเดียว

AMD Adrenalin สำหรับการ์ดจอ AMD

AMD Driver Tuning เป็นฟีเจอร์การโอเวอร์คล็อกการ์ดจอแบบง่ายๆ เพื่อเพิ่มความเร็ว และเฟรมเรตให้กับเกม โดยในแท็ปแรกจะมีรายละเอียดความเร็วและการใช้งานของ CPU, GPU, RAM ให้ทราบในแบบเรียลไทม์ รวมถึงแสดงผลอุณหภูมิ และ Usage ของ GPU ให้เห็นอยู่ด้วย ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้มอนิเตอร์หรือตรวจสอบสถานะของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ในเบื้องต้น ส่วนถ้าต้องการปรับแต่งความเร็วของกราฟิกที่ใช้ให้เพิ่มมากขึ้น สามารถเลือกเป็นแบบ Automatic ได้ จากนั้นลงมาดูที่ด้านล่าง ก็จะมีให้เลือกว่าจะใช้เป็นค่า Default ซึ่งเป็นความเร็วปกติของตัวการ์ด

วิธีเช็ค การ์ดจอ

MSI Afterburner เช็คอุณหภูมิ ดูเฟรมเรต ปรับแต่งการ์ดจอ

วิธีเช็ค การ์ดจอ

MSI Afterburner เป็นโปรแกรมยอดฮิตติดตลาดสำหรับคอเกมและคนที่ชอบการปรับแต่ง โอเวอร์คล็อกการ์ดจอ รวมถึงฟีเจอร์ที่ใช้ร่วมกับการ์ดจอในเวอร์ชั่นทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊ค ซึ่งถือว่าตอบโจทย์การใช้งานได้ดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบสภาพการ์ดจอโดยทั่วไป ความเร็วสัญญาณนาฬิกา สเปคหรือการเชื่อมต่อ และรอบพัดลม โปรแกรมนี้สามารถตรวจเช็คได้เกือบครอบคลุม แต่ที่เป็นไฮไลต์ของ MSI Afterburner นี้ ไม่ได้อยู่ที่วิธีเช็ค การ์ดจอเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการปรับแต่ง โอเวอร์คล็อก และการดูเฟรมเรตของเกมที่คุณเล่น ว่าให้จำนวนเฟรมต่อวินาทีได้ดีมากน้อยเพียงใด ในขณะที่หาฟีเจอร์นี้ได้ยากจากโปรแกรมอื่นๆ ในท้องตลาด

วิธีเช็ค การ์ดจอ

หน้าตาของ MSI Afterburner จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ในการใช้วิธีเช็ค การ์ดจอคือ แถบด้านบนจะรายงานความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ GPU, Memory (VRAM) และแรงดันไฟ (Voltage) รวมถึง Temp หรืออุณหภูมิ ในแบบเรียลไทม์ ที่สำคัญใช้คู่ไปกับการเล่นเกม ทำงาน หรืออะไรก็ตาม ที่จะต้องมีโหลดของกราฟิกเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณจะสามารถดูตัวเลขและเปรียบเทียบได้ง่ายยิ่งขึ้น

ด้านซ้ายตามลูกศร ที่เป็นส่วนของ Settings หรือการตั้งค่าโปรแกรม ด้วยการคลิ๊กที่รูปเฟือง ก็จะเข้าสู่หน้าต่างการตั้งค่าให้ทันที ตามตัวอย่างด้านบนนี้ หากคุณต้องการจะเพิ่มการรายงานเฟรมเรตของเกม ให้เลือกที่แท็ป Monitoring ในส่วนของ Active hardware monitoring graphs ตรงนี้คุณสามารถเลือกสิ่งที่คุณอยากให้ปรากฏอยู่บนเกม ด้วยการใส่เครื่องหมายหน้าหัวข้อที่ต้องการ เช่น GPU usage, Memory usage หรือ frame rate, frame time จะเลือกเป็น min, average หรือ max frame rate ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังให้คุณเลือกแสดงอุณหภูมิของซีพียู กราฟิกการ์ด หรืออื่นๆ ได้จากจุดนี้เลย และยังปรับตั้งค่าการแสดงผลให้สอดคล้องกับหน้าจอ หรือให้ปรากฏบนเกมของคุณได้ตามที่ต้องการอีกด้วย

ส่วนใครที่อยากจะใช้ฟีเจอร์ในการ Benchmark สำหรับเกมที่ไม่มีฟังก์ชั่นทดสอบโดยตรง ก็สามารถสร้างคีย์ลัดในการเริ่มต้นการทดสอบ และจบการทดสอบ จากนั้นระบบจะรวมเอาข้อมูลมาสรุปไว้ให้เป็นไฟล์ *.txt เพื่อให้ผู้ใช้นำมาเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น

ส่วนแถบทางด้านขวา จะเป็นส่วนของโพรไฟล์ ให้กับผู้ใช้ที่เมื่อตั้งค่าหรือกำหนดสิ่งต่างๆ เอาไว้แล้ว สามารถจัดเก็บเป็น Profile เพื่อที่เมื่อปรับแต่งได้ถูกใจหรือชื่นชอบในค่าที่ได้ แล้วใช้กับฮาร์ดแวร์ที่เป็นการ์ดจอตัวโปรด แล้วสามารถเร่งประสิทธิภาพให้กับเกมได้ดีแล้ว ก็เลือกจัดเก็บเอาไว้ แล้วนำมาใช้ได้ภายหลัก หรือหาก OC การ์ดจอแล้วได้ผลลัพทธ์ไม่ถูกใจ หรือค่าเดิมที่ตั้งเอาไว้เสถียรกว่า ก็นำโพรไฟล์ที่ชอบกลับมาใช้ได้อีกด้วย

วิธีเช็ค การ์ดจอ

มาดูในส่วนของ Hardware monitor กันบ้าง คุณสามารถดูสถานะ ตรวจเช็คเรื่องของ GPU usage, Temp, VID หรืออื่นๆ ได้ในรูปแบบของกราฟ ซึ่งทำให้เรามอนิเตอร์ได้ตลอดเวลา หากเกิดความผิดพลาด หรือจะเช็คความร้อน แรงดันไฟได้จากจุดนี้ ซึ่งบางครั้งการ์ดที่ถูกโมดิฟายมา เช่น จูนแรงดันไฟ รอบพัดลม เราจะตรวจสอบความผิดปกติได้จากส่วนนี้เลย

วิธีเช็ค การ์ดจอ

และตรงกลางโปรแกรม ที่เป็นส่วนของ Overclock และปรับแต่ง อาจจะไม่ได้ใช้กับการตรวจเช็คการ์ดจอโดยตรง แต่ก็ช่วยให้ผู้ใช้ปรับแต่งความเร็วสัญญาณนาฬิกา และแรงดันไฟ รอบพัดลมได้สะดวก เพราะเป็นแบบสไลด์บาร์ แค่เลื่อนแถบมาทางด้านขวา ก็เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น และมีผลต่อเฟรมเรตที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน เพียงแต่จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญและการสังเกตของผู้ใช้แต่ละคน ในการตั้งค่าให้อยู่ในระดับที่สูง ประสิทธิภาพดี และมีเสถียรภาพใช้งานได้จริงนั่นเอง

วิธีเช็ค การ์ดจอ

และภาพด้านบนนี้ คือสิ่งที่เกมเมอร์หลายคนอยากทราบ เมื่อเล่นเกม นั่นคือ ข้อมูลของเฟรมเรตที่ปรากฏให้เห็น ก็จะทำให้เราได้ทราบว่า เกมที่เล่น ความละเอียดที่ตั้งเอาไว้ รวมถึงการปรับแต่งการ์ดจอของคุณให้ผลอย่างไรต่อการเล่นเกม และประเมินได้ว่า จะสามารถรีดความเร็วให้มากขึ้น และไปต่อได้มั้ย ซึ่งจะมีเรื่องของ GPU usage และ Temp. เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยที่ MSI Afterburner นี้ หากปรับแต่งดีๆ ก็ดูน่าใช้งานและการมองเห็นข้อมูลได้สะดวก เหมาะอย่างมากสำหรับนักโอเวอร์คล็อก เกมเมอร์ และผู้ใช้ทั่วไป นำไปใช้งานในชีวิตประจำวัน


Conclusion

วิธีเช็ค การ์ดจอในปัจจุบัน ถือว่าทำได้ง่ายมาก เพราะมีเครื่องมือมากมายมาช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ ยูทิลิตี้ มีทั้งแบบฟรีและมีค่าใช้จ่าย จะเป็นแบบออนไลน์ ก็มีให้เลือก อย่างไรก็ดีการเลือกใช้ ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดูสเปค เพื่อเช็คข้อมูลตัวการ์ดให้ถูกต้อง หรือนำมาเปรียบเทียบกับการ์ดจอตัวเก่า หรือเอามาเช็คให้ถูกรุ่น เพื่อความแน่ใจ อย่างเช่น GPUz เป็นต้น หรือจะใช้ในการมอนิเตอร์หรือตรวจเช็ค ก็มีทั้ง AIDA64, OCCT ซึ่งรับหน้าที่นี้ได้ดี แต่ถ้าจะเน้นการใช้งานแบบครอบคลุม ก็มี MSI Afterburner ที่นอกจากจะเช็คฮาร์ดแวร์ได้แล้ว ยังเพิ่มฟีเจอร์การปรับแต่ง โอเวอร์คล็อกการ์ดจอเข้าไปอีกด้วย ที่สำคัญยังโชว์เฟรมเรตให้กับการเล่นเกม สำหรับคอเกมในการเปรียบเทียบการ์ดจอตัวใหม่ กับการ์ดตัวเดิมว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ตรงนี้อยู่ที่การเลือกใช้ของแต่ละบุคคล แนะนำว่าชื่นชอบแนวไหน ถนัดแบบใด ก็เลือกใช้กันตามสะดวกครับ

from:https://notebookspec.com/web/665074-how-to-check-graphic-card-2022

NVIDIA Studio เพิ่มพลังกราฟิกการ์ด GeForce RTX ให้นักสร้างคอนเทนต์ ด้วย Studio Driver 2022

NVIDIA Studio 2022 เพิ่มประสิทธิภาพให้กราฟิกการ์ด GeForce RTX บนพีซีและโน๊ตบุ๊ค สร้างคอนเทนต์ระดับมืออาชีพ

NVIDIA Studio

หลายๆ ท่านที่ใช้งานกราฟิกการ์ดของทาง NVIDIA นั้น น่าจะได้ดาวน์โหลด Driver โดยตรงจากเว็บไซต์ของทาง NVIDIA มากกว่าที่จะโหลดจากเว็บไซต์ของผู้ผลิตกราฟิกการ์ด ด้วยเหตุผลเรื่องของความเร็วในการออกไดรเวอร์อีกทั้งยังรองรับการใช้งานทั่วไปได้ครอบคลุมทั้งหมด เมื่อเข้าไปค้นหาไดร์เวอร์จากทางเว็บไซต์ของทาง NVIDIA โดยตรงนั้น เวลาที่ตัวเว็บไซต์ทำการแสดงผลการค้นหาจะมีการแสดงผลไดร์เวอร์ที่ชื่อว่า NVIDIA Studio Driver หรือเลือกไดรเวอร์ Game Ready Driver โดยเลือกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ NVIDIA Studio ให้ได้ทราบถึงประสิทธิภาพและเทคโนโลยีใหม่นี้ จะช่วยให้การทำงานด้าน Studio และ Content Creator ดีขึ้นได้อย่างไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งแบบเดสก์ทอปพีซีและโน๊ตบุ๊คที่สามารถใช้งาน NVIDIA Studio ให้ได้ทราบกัน รวมถึงขั้นตอนในการอัพเดตไดร์เวอร์ เพื่อให้การใช้งานนั้นง่ายขึ้น

Advertisementavw

NVIDIA Studio


nVIDIA Studio คือ?

ในอดีตคอมพิวเตอร์พีซีเดสก์ทอปหรือโน๊ตบุ๊ต ก็จะถูกแบ่งแยกตามรูปแบบการใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พีซีทั่วไป ใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์พื้นฐาน งานสำนักงาน ชีวิตประจำวันและความบันเทิง เช่น ดูหนัง เล่นเกมเป็นต้น เช่นเดียวกับโน๊ตบุ๊ค ที่มาพร้อมประสิทธิภาพในการประมวลผลพื้นฐาน และส่วนที่เป็นงานเฉพาะทาง เช่น งานสตูดิโอ ตัดต่อ เรนเดอร์กราฟิกสามมิติ ก็จะเป็นกลุ่มของเวิร์กสเตชั่น ที่มักจะมากับขุมพลังที่แรง ไม่ว่าจะเป็นซีพียูไฮเอนด์ และกราฟิกการ์ดอย่าง nVIDIA Quadro เป็นต้น รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่ทำให้การทำงานไหลลื่น และลดเวลาในการทำงานลงไปได้มากกว่าการใช้พีซีหรือโน๊ตบุ๊คทั่วไปนั่นเอง

NVIDIA Studio
NVIDIA STUDIO DRIVER

แม้ว่าพีซีโน๊ตบุ๊คในปัจจุบัน จะมาพร้อมกับพลังในการเล่นเกมที่สูง ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หรือ GPU ระดับไฮเอนด์อย่าง GeForce GTX หรือ RTX ซึ่งสามารถรองรับการเล่นเกม ด้วยฟีเจอร์และศักยภาพ ที่ทำให้เฟรมเรตลื่นไหลได้ดี แต่หลายคนก็ได้นำกราฟิกการ์ดเหล่านี้มาใช้ในการทำงานด้าน Content Creator ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น งานตัดต่อวีดีโอ กราฟิกสามมิติ หรืองานในรูปแบบของ Workstation รวมถึงสนองความต้องการในด้านของการเป็นยูทูปเบอร์หรือสตรีมเมอร์ บางคนสามารถเลือกการ์ดจอได้เพียงแบบเดียว เพราะเน้นเล่นเกมเป็นหลัก GeForce RTX ก็ดูจะเหมาะสมกว่า ส่วน NVIDIA Quadro ให้ประสิทธิภาพที่ดีในการทำงานสตูดิโอกับการสร้างสรรค์งานเหล่านี้ แต่ก็ไม่ตอบโจทย์การเล่นเกมได้เต็มที่มากนัก ด้วยสิ่งนี้ทำให้ทาง NVIDIA ได้นำเสนอทางเลือกที่เหมาะสมให้ผู้ใช้ในกลุ่มนี้ ให้สามารถใช้งานกราฟิก GPU ในกลุ่มของ GeForce RTX ในด้านของ Autodesk / Photoshop / Lightroom / Premiere Pro / OBS Studio ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยสิ่งที่เรียกว่า NVIDIA Studio Driver


ไดร์เวอร์ของ NVIDIA

Game Ready Driver ไดรเวอร์นี้ใช้สำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ ซึ่งในทุกๆ การอัพเดตนั้นทาง NVIDIA จะได้มีการอัพเดตในเรื่องของประสิทธิภาพของชิปกราฟิกกับการเล่นเกมส์ต่างๆ ออกมาให้ทันกับเกมใหม่ๆ ที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นประจำ

NVIDIA Studio

นอกไปจากเรื่องของประสิทธิภาพแล้วนั้น บน Game Ready Driver นั้นจะมีการอัพเดตในเรื่องของข้อผิดพลาดในการแสดงผลในเกมใหม่ต่างๆ ออกมาอย่างสม่ำเสมอ แถมทุกครั้งที่ทาง NVIDIA มีการปล่อยชิปกราฟิกรุ่นใหม่ๆ ออกมาจะมีการอัปเดท Game Ready Driver ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการเปิดตัวชิปกราฟิกนั้นๆ ออกมาด้วยทุกครั้ง

Game Ready Driver นั้นจะเป็นชุดไดร์เวอร์ใหญ่ๆ ที่ภายในจะมีชุดไดร์เวอร์ย่อยสำหรับชิปกราฟิกของทาง NVIDIA อยู่ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกันคือ

  • ไดร์เวอร์ของตัวชิปกราฟิกซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลไปถึงการแสดงผลของตัวชิปกราฟิกนั้นๆ โดยเฉพาะ
  • ไดร์เวอร์ HD Audio Driver หรือไดร์เวอร์ในส่วนของการประมวลผลเสียงเมื่อทำการเชื่อมต่อกราฟิกการ์ดไปยังหน้าจอที่มีลำโพงติดตั้งอยู่ด้วยผ่านทางพอร์ตการเชื่อมต่อแบบ HDMI
  • ไดร์เวอร์ NVIDIA PhysX หรือไดร์เวอร์สำหรับการประมวลผลทางด้านฟิสิกส์สำหรับเกมส์ที่ถูกออกแบบมารองรับการใช้งานกับเทคโนโลยี PhysX ผลที่ได้จะทำให้การประมวลผลทางด้านฟิสิกส์ในเกมส์(ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของความสมจริงในการเคลื่อนไหวของวัตถุในเกมส์ ไปจนกระทั่งการประมวลผลทางด้าน AI ของตัวละครต่างๆ ในเกม) สมจริงมากยิ่งขึ้น เกมส์ที่รองรับเทคโนโลยี PhysX นั้นจะย้ายการประมวลผลทางด้านฟิสิกส์มาทำที่ชิปกราฟิกแทนที่การประมวลผลบนหน่วยประมวลผล(CPU) ทำให้หน่วยประมวลผลจะทำงานน้อยลงทำให้ผู้พัฒนาเกมส์สามารถที่จะโปรแกรมให้เกมส์ใช้งานหน่วยประมวลผลในการประมวลผลส่วนอื่นๆ ได้ดีกว่าเดิม

NVIDIA Studio Driver

NVIDIA Studio

มาถึงไฮไลต์ในครั้งนี้ NVIDIA Studio Driver ซึ่งเป็นไดร์เวอร์สำหรับกราฟิกการ์ดของทาง NVIDIA ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิปกราฟิกของทาง NVIDIA ในการออกแบบทางด้าน 3 มิติโดยเฉพาะ ซึ่งจริงๆ แล้วนั้น NVIDIA Studio Driver มีมานานแล้ว ในอดีตนั้นทาง NVIDIA จะใช้ชื่อไดร์เวอร์นี้เป็นอย่างอื่นและการดาวน์โหลดบนเว็บไซต์จะแยกกับ Game Ready Driver

โดยในช่วงแรก NVIDIA Studio Driver ถูกออกแบบแยกกันกับ Game Ready Driver ทำให้ในการใช้งานทางด้านการเล่นเกมโดยตรงนั้นประสิทธิภาพในการเล่นเกมเมื่อใช้ NVIDIA Studio Driver จะต่างจาก Game Ready Driver ซึ่งทำให้ทาง NVIDIA ปรับปรุงไดร์เวอร์ให้กับผู้ใช้งานแบบยกเครื่องใหม่ให้กับ NVIDIA Studio Driver ด้วยการนำ Game Ready Driver มาเป็นฐานในการพัฒนา แล้วเพิ่มโมดูลที่รองรับการใช้งานทางด้านการออกแบบ 3 มิติเพิ่มเข้ามาทำให้ผู้ใช้งานที่ต้องทำงานทางด้านการออกแบบ 3 มิติไปด้วยและเล่นเกมไปด้วยนั้น ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์แยกกันอีกต่อไป

nVIDIA Stu 00

โดยที่ NVIDIA Studio Driver พัฒนาด้วยการใช้ Game Ready Driver เป็นหลัก ดังนั้นโมดูลปกติทั้ง 3 โมดูลบน Game Ready Driver จึงถูกนำเข้ามาใช้งานใน NVIDIA Studio Driver ด้วย นอกไปจากนั้น NVIDIA Studio Driver มีการเพิ่มโมดูลไดร์เวอร์สำหรับการออกแบบกราฟิก 3 มิติที่สำคัญเข้ามาอีกจำนวนหนึ่งโดยส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือชุดคำสั่งการเข้าถึงการออกแบบทางด้าน 3 มิติด้วย CUDA Cores ของทาง NVIDIA นั้นเอง

ผู้ใช้ทั่วไปสามารถโหลด NVIDIA Studio Driver มาใช้งานได้ไหม? ขอให้ข้อมูลแบบนี้ว่า ในปัจจุบันนั้นสามารถที่จะทำได้แล้ว ณ ปัจจุบันนี้นั้นทาง NVIDIA ได้มีการพัฒนา NVIDIA Studio Driver โดยมีฐานมาจาก Game Ready Driver แล้ว ดังนั้นในเรื่องของการใช้งานทางด้านการเล่นเกมประสิทธิภาพที่ได้จึงไม่ค่อยมีความแตกต่างกันเท่าไรนัก ดังนั้นหากผู้ใช้ไม่ได้ต้องทำงานทางด้านการออกแบกราฟิก 3 มิติด้วย ก็ยังไม่แนะนำให้โหลด NVIDIA Studio Driver มาใช้งาน เพราะเมื่อทำการติดตั้งแล้วนั้น NVIDIA Studio Driver จะใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่า Game Ready Driver นั่นเอง


กราฟิกชิปที่รองรับ NVIDIA Studio Driver

NVIDIA Studio Driver เวอร์ชันปัจจุบัน(ล่าสุด ณ เวลาที่เขียนบทความคือ 512.59) นั้นจะรองรับชิปกราฟิกของทาง NVIDIA ตั้งแต่สถาปัตยกรรม NVIDIA® Maxwell ขึ้นไปหรือตั้งแต่ชิปกราฟิกในซีรีย์ GeForce GTX 9xx เป็นต้นมา ซึ่งสามารถแยกชิปกราฟิกที่ NVIDIA Studio Driver รองรับเป็นส่วนของชิปกราฟิกสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ Desktop และโน๊ตบุ๊คได้ดังต่อไปนี้

ชิปกราฟิกบนเครื่อง Desktop

สถาปัตยกรรม ชิปกราฟิกที่รองรับ
Ampere GeForce RTX 3090 Ti, GeForce RTX 3090, GeForce RTX 3080 Ti, GeForce RTX 3080, GeForce RTX 3070 Ti, GeForce RTX 3060 Ti, GeForce RTX 3070, GeForce RTX 3060, GeForce RTX 3050
Turing NVIDIA TITAN RTX, GeForce RTX 2080 Ti, GeForce RTX 2080 SUPER, GeForce RTX 2080, GeForce RTX 2070 SUPER, GeForce RTX 2070, GeForce RTX 2060 SUPER, GeForce RTX 2060, GeForce GTX 1660 SUPER, GeForce GTX 1650 SUPER, GeForce GTX 1660 Ti, GeForce GTX 1660, GeForce GTX 1650
Volta NVIDIA TITAN V
Pascal NVIDIA TITAN Xp, NVIDIA TITAN X, GeForce GTX 1080 Ti, GeForce GTX 1080, GeForce GTX 1070 Ti, GeForce GTX 1070, GeForce GTX 1060, GeForce GTX 1050 Ti, GeForce GTX 1050

ชิปกราฟิกบนโน๊ตบุ๊ค

สถาปัตยกรรม ชิปกราฟิกที่รองรับ
Ampere GeForce RTX 3080 Ti Laptop GPU, GeForce RTX 3080 Laptop GPU, GeForce RTX 3070 Ti Laptop GPU, GeForce RTX 3070 Laptop GPU, GeForce RTX 3060 Laptop GPU, GeForce RTX 3050 Ti Laptop GPU, GeForce RTX 3050 Laptop GPU, NVIDIA RTX A5500 Laptop GPU, NVIDIA RTX A5000 Laptop GPU, NVIDIA RTX A4500 Laptop GPU, NVIDIA RTX A4000 Laptop GPU, NVIDIA RTX A3000 12GB Laptop GPU, NVIDIA RTX A3000 Laptop GPU, NVIDIA RTX A2000 8GB Laptop GPU, NVIDIA RTX A2000 Laptop GPU, NVIDIA RTX A1000 Laptop GPU, NVIDIA RTX A500 Laptop GPU
Turing GeForce RTX 2080 SUPER, GeForce RTX 2080, GeForce RTX 2070 SUPER, GeForce RTX 2070, GeForce RTX 2060, GeForce RTX 2050, GeForce GTX 1660 Ti, GeForce GTX 1650 Ti, GeForce GTX 1650
NVIDIA T1200 Laptop GPU, NVIDIA T600 Laptop GPU, Quadro RTX 8000, Quadro RTX 6000, Quadro RTX 5000, Quadro RTX 4000, Quadro RTX 3000, Quadro T2000, Quadro T1000, GeForce MX450
Volta NVIDIA Quadro GV100
Pascal GeForce GTX 1080, GeForce GTX 1070, GeForce GTX 1060, GeForce GTX 1050 Ti, GeForce GTX 1050, NVIDIA Quadro GP100, NVIDIA Quadro P6000, NVIDIA Quadro P5000, NVIDIA Quadro P4000, NVIDIA Quadro P3000, NVIDIA Quadro P2000, NVIDIA Quadro P1000, NVIDIA Quadro P600, NVIDIA Quadro P400, GeForce MX350, GeForce MX330, GeForce MX250, GeForce MX230
Maxwell NVIDIA Quadro M6000, NVIDIA Quadro M5000, NVIDIA Quadro M4000, NVIDIA Quadro M2000, NVIDIA Quadro K2200, NVIDIA Quadro K1200, NVIDIA Quadro K620, NVIDIA NVS 810

ข้อกำหนดของ nVIDIA Studio Driver

กราฟิก GPU: GeForce RTX 3050, RTX A1000 or higher
ซีพียู: Intel Core i5 (H Series) latest gen, AMD Ryzen r5 (H Series) last gen, or higher
แรม: 16 GB or more
SSD: 512 GB NVMe SSDs or larger
จอแสดงผล: Factory calibrated IPS displays with wide color gamuts (available in 4K and 1440p)


ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานคู่กับ nVIDIA Studio Driver

สำหรับซอฟต์แวร์ในการออกแบบทางด้าน 3 มิติที่ทาง NVIDIA ออกมาประกาศว่า NVIDIA Studio Driver รองรับการใช้งานอย่างเป็นทางการนั้นจะประกอบไปด้วย

  • Unreal Engine 5(หรือแอปพลิเคชันสำหรับการออกแบบทางด้าน 3 มิติที่โหลดจาก Epiuc Games Launcher ในหัวข้อ Unreal Engine Marketplace)
  • Cinema4D
  • Chaos Vantage
  • NVIDIA Omniverse Create
  • Autodesk 3ds Max

นอกไปจากนั้นแล้วแอพพลิเคชันสำหรับการออกแบบทางด้านกราฟิก 3 มิติที่ใช้งาน API อย่าง Open Computing Language (OpenCLTM software), OpenGL®, Vulkan® และ DirectX นั้น NVIDIA Studio Driver ก็จะรองรับด้วยเช่นกัน ทว่าในการรองรับนั้นอาจจะไม่เต็มที่เหมือนกับแอปพลิเคัชันที่มีรายชื่อรองรับโดยตรงจากทาง NVIDIA

NVIDIA Studio

หลายท่านอาจจจะมีคำถามต่อมาว่าหากใช้ NVIDIO Studio Driver ร่วมกับชิปกราฟิกของทาง NVIDIA เพื่อการออกแบบกราฟิก 3 มิติ ในโปรแกรมที่รองรับแล้วนั้นจะมีผลดีอย่างไร? เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะผลในการทดสอบที่ปรากฏดีกว่าการใช้งานหน่วยประมวลผล (CPU) ในการประมวลผลภาพอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างจากทาง NVIDIA เมื่อใช้ชิปกราฟิก GeForce RTX 3090 คู่กับ NVIDIA Studio Driver 512.58 ในการแรนเดอร์กราฟิก 3 มิติบนโปรแกรม Cinema4D เทียบกับการเรนเดอร์ผ่านทางกราฟิก GPU ด้วยการใช้ NVIDIA Studio Driver ใช้เวลาสั้นกว่า ผลที่ได้บน AMD Ryzen Threadripper 3990X

นอกไปจากนี้ ในส่วนของโปรแกรมที่ทาง NVIDIA ออกมาระบุว่ารองรับโดยตรงก็จะสามารถทำการเรียกใช้ฟีเจอร์เฉพาะตัวของชิปกราฟิกของทาง NVIDIA ได้ภายในการใช้ชุดคำสั่งเดียวเท่านั้น อย่างเช่นโปรแกรมออกแบบ 3 มิติที่ใช้เอนจิ้น Unreal Engine 5 ก็จะสามารถที่จะทำการแรนเดอร์ภาพกราฟิกโดยใช้เทคโนโลยี RTX-accelerated ray tracing และ NVIDIA DLSS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของทาง NVIDIA เองอีกด้วย

NVIDIA Studio

พิเศษสำหรับท่านที่ใช้ชิปกราฟิกที่รองรับกับเทคโนโลยี RTX-accelerated ray tracing โดยเฉพาะแล้วนั้นจะทำให้คุณสามารถที่จะทำการประมวลการตกกระทบของแสงแบบสมจริงได้อย่างง่ายดาย ดังเช่นตัวอย่างงานของคุณ Averkin harkens ในชื่อ When We Were Kids ซึ่งถูกสร้างสรรค์ผ่านทางโปรแกรมออกแบบ 3 มิติชื่อดังอย่าง Autodesk 3ds Max ก็ได้มีการใช้งานการแรนเดอร์ทางด้านแสงผ่านทาง RTX GPU-accelerated viewport และ RTX-accelerated AI denoising ที่ดูแล้วสมจริงมากมากเลยทีเดียว

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่ง กับความสะดวกสบายที่คุณจะได้รับเมื่อใช้งานชิปกราฟิก NVIDIA ร่วมกับ NVIDIA Studio Driver กับโปรแกรมการออกแบบ 3 มิติที่รองรับ การแรนเดอร์กราฟิก 3 มิติไม่ต้องใช้เวลานานอีกต่อไป ด้วยกราฟิกการ์ดที่คุณใช้เล่นเกมอยู่นั่นเอง


ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกับ nVIDIA Studio Driver

NVIDIA Studio

สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับการใช้งานคู่กับ NVIDIA Studio Driver ไม่มีความซับซ้อน ขอเพียงแค่เครื่องคอมของคุณทั้งพีซีเดสก์ทอปหรือโน๊ตบุ๊ค ใช้ชิปกราฟิกที่ NVIDIA Studio Driver รองรับเท่านี้ก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ทาง NVIDIA ก็ได้มีการร่วมกับผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์แบรนด์ต่างๆ เพื่อทำการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานร่วมกับ NVIDIA Studio Driver โดยตรง ซึ่งล่าสุดที่ทาง NVIDIA ประกาศรองรับการใช้งานร่วมกันอย่างเป็นทางการแล้วนั้นจะมีรายชื่อดังต่อไปนี้

ท่านใดที่ต้องทำงานทางด้านกราฟิก 3 มิติ และต้องการที่จะซื้อเครื่องโน๊ตบุ๊คเพื่อการทำงานทางด้าน 3 มิติที่รองรับเทคโนโลยีของทาง NVIDIA นั้นก็สามารถที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก nVIDIA กันได้แล้วเวลานี้

ที่มา : NVIDIA 1, NVIDIA 2

from:https://notebookspec.com/web/649267-nvidia-studio-drivers-2022

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ 4 ขั้นตอน ง่ายแต่ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เล่นเกมลื่น 2021

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ เพิ่มความแรงใน 4 ขั้นตอน nVIDIA, Radeon 2021 และซอฟต์แวร์ช่วยดาวน์โหลด

Driver VGA Cov

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ เป็นเรื่องที่ผู้ใช้อาจจะต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเกมเมอร์ ที่ต้องการประสิทธิภาพในการเล่นเกมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการอัพเดตไดรเวอร์กราฟิกการ์ดนั้น ไม่ได้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากมายนัก เรียกว่าถ้าคุณเป็นมือใหม่ ก็สามารถเข้าใจกระบวนการได้ในการลองอัพเดตการทำงานในไม่กี่ครั้ง ประโยชน์ในการลงไดรเวอร์ใหม่ หรือการอัพเดต ก็มีอยู่มากมายเลยทีเดียว ในครั้งนี้เราจึงนำกระบวนการติดตั้งและลงไดรเวอร์ใหม่ มาให้กับผู้ใช้ที่เป็นมือใหม่ หรือต้องการมองหาวิธีในการอัพเดตที่ไม่ยุ่งยาก ด้วยวิธีการ 4 ขั้นตอน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้คอมหรือเพิ่งประกอบคอม ลงวินโดว์ใหม่ ได้ปรับใช้ในการปรับปรุงคอมเกมมิ่งของตนให้ดียิ่งขึ้น ในช่วงวันหยุดปลายปี 2021 นี้

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ วิธีเพิ่มประสิทธิภาพง่ายๆ

ข้อดีของการลงไดรเวอร์การ์ดจอ

หลายคนคิดว่าแค่ลงวินโดว์ใหม่ แล้วใช้งานได้เลย จะทำงานหรือเล่นเกม ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ก็เป็นเช่นนั้น เพราะระบบตะค้นหาไดรเวอร์ที่เหมาะสม แล้วติดตั้งให้ ผู้ใช้จะสามารถเปิดโปรแกรม เกม และใช้งานได้ทันที แต่ถ้าลองเช็คเวอร์ชั่นดูดีๆ อาจจะเป็นไดรเวอร์ที่เก่า ซึ่งหากคุณต้องการเรียกประสิทธิภาพในการทำงานของระบบให้ดีขึ้น รวมถึงเสถียรภาพและการทำงานร่วมกับฟีเจอร์บนการ์ดจอได้อย่างเต็มที่ รองรับฟังก์ชั่นใหม่ๆ รวมถึงการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นได้ การลงไดรเวอร์ การ์ดจอใหม่ จะช่วยให้คุณได้สัมผัสกับศักยภาพได้มากขึ้นอีกด้วย

Advertisementavw
  • มีเสถียรภาพที่ดีขึ้น ด้วยการปรับปรุงความเข้ากันได้ให้กับระบบ
  • เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการ์ดจอ
  • แก้ไขปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นบนไดรเวอร์เวอร์ชั่นเก่า
  • เพิ่มความเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์
  • ให้ระบบสามารถทำงานเข่ากับการ์ดจอและซอฟต์แวร์ รวมถึงเกมได้ดียิ่งขึ้น
  • เปิดความสามารถให้กับการ์ดจอหรือเกมที่เล่น

1.เช็คเวอร์ชั่นไดรเวอร์

ก่อนจะลงไดรเวอร์ การ์ดจอใหม่ หรือลงไดรเวอร์ปัจจุบัน ก่อนการอัพเดต ก็อาจจะต้องเช็คเวอร์ชั่นของไดรเวอร์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องของคุณ โดยมีวิธีในการเช็คเวอร์ชั่นของไดรเวอร์การ์ดจอ อยู่หลายวิธีทีเดียว แต่ที่น่าสนใจและเหมาะสมที่สุด นั่นคือ การใช้เครื่องมือในการใช้เครื่องมือในการอัพเดตไดรเวอร์ของแต่ละค่าย ที่คุณเคยติดตั้งไว้ เช่น GeForce Experience หรือ AMD Radeon Software

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

โดยใน GeForce Experience สามารถเข้าไปดูได้ในหน้า Driver > Currently Installed เช่นจากตัวอย่างนี้ จะบอกว่าเป็นเวอร์ชั่น 496.76 และยังมี Release Date บอกเอาไว้ด้วยว่า วันที่ 16 เดือน 11 ปี 2021 ซึ่งสามารถนำไปเทียบกับเวอร์ชั่นล่าสุดในเว็บไซต์ได้

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

ส่วนการเช็คไดรเวอร์จากค่าย Radeon สามารถเช็คเวอร์ชั่นของไดรเวอร์ที่ใช้ ผ่านทาง Radeon Software เข้าไปในหน้า Settings > System > Software & Driver ตัวอย่างนี้ เข้าไปดูในหน้า Driver Version จะบอกเอาไว้ว่า 20.10.20.02-200616a ประมาณนี้ ซึ่งนำไปเทียบกับหน้าเว็บไซต์ เพื่อทำการอัพเดตได้ทันที

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

แต่ถ้าในกรณีที่คุณติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ว่ามานี้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น GeForce Experience หรือ Radeon Software ก็สามารถเลือกอัพเดตไดรเวอร์แบบง่ายๆ ผ่านทางซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้เลย ผ่านทางฟีเจอร์ของแต่ละค่าย อย่างเช่นใน GeForce Experience เอง เลื่อนขึ้นมาจาก Currently Installed จะมีแถบที่เรียกว่า Check for update ซึ่งให้ผู้ใช้คลิ๊ก เพื่อให้ระบบทำการสแกนไดรเวอร์ใหม่ให้ แต่ถ้าโดยทั่วไปแล้วระบบจะทำการตรวจเช็คให้อัตโนมัติ และแจ้งให้เราได้ทราบ จากนั้นให้คลิ๊ก Download ที่เป็นปุ่มสีเขียวแบบนี้ เพื่อทำการดาวน์โหลดไดรเวอร์ตัวใหม่เมื่อใดก็ได้ ตามความสะดวกของคุณ ซึ่งแนะนำว่าอาจจะเป็นช่วงที่คุณกำลังจะเลิกงานหรือปิดเครื่อง เมื่อติดตั้งไดรเวอร์ พร้อมติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ก็ปิดเครื่องหรือรีสตาร์ทระบบ จะได้ไม่เสียเวลาการทำงานของคุณ เมื่อเปิดคอมขึ้นมาใหม่ ก็สามารถใช้งานไดรเวอร์ใหม่ได้ทันที


2.อัพเดตไดรเวอร์อัตโนมัติ

การลงไดรเวอร์ การ์ดจอ ผ่านเครื่องมืออัตโนมัติของผู้ผลิตชิปกราฟิกทั้ง 2 ค่าย ก็เป็นตัวเลือกที่สะดวกไม่น้อยเลย เพราะระบบจะทำการติดตั้งเครื่องมือเล็กๆ หรือใช้เอนจิ้นบางอย่างในการตรวจสอบไดรเวอร์เดิมที่คุณมีอยู่ จากนั้นจะแนะนำไดรเวอร์ที่เหมาะสมกับคุณให้ทำการอัพเดต ข้อดีคือ แม้ว่าคุณจะไม่ทราบว่า การ์ดจอในคอมหรือโน๊ตบุ๊คของคุณจะเป็นรุ่นใด ก็ยังสามารถอัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอรุ่นใหม่ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมีให้เลือกทั้งจากค่าย nVIDIA GeForce และ AMD Radeon

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

มาดูกันที่เครื่องมือจากทาง GeForce กันก่อน แบบแรกจะเป็นเครื่องมืออย่างง่ายของค่ายนี้ สามารถคลิ๊กเข้ามาเพื่อใช้งานได้ ที่นี่ โดยจะเป็นเอนจิ้นในการสแกนหาไดรเวอร์ที่เหมาะสมของระบบ แต่ต้องอาศัยจาวาสคริปต์ในการติดตั้งเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันหลายคนอาจไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งระบบจะร้องขอให้ติดตั้งในกรณีที่จะใช้เครื่องมือนี้ในการตรวจเช็คไดรเวอร์ให้อัตโนมัติ แต่ถ้าคิดว่าไม่สะดวก ก็อาจใช้วิธีด้านล่างนี้ต่อไป

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

ซึ่งวิธีนี้ก็คือ การดาวน์โหลด GeForce Experience มาใช้นั่นเอง ด้วยการคลิ๊กเข้าไป ที่นี่ จากนั้นดาวน์โหลดโปรแกรมจากทาง nVIDIA มาใช้ข้อดีคือ ไม่ต้องไปยุ่งยากตรวจเช็คหรือตรวจหาไดรเวอร์ของคุณให้วุ่นวาย แต่โปรแกรมจะทำการเช็ค และแจ้งการอัพเดตให้กับคุณได้ทันที พร้อมเมื่อไรก็คลิ๊กดาวน์โหลดมาติดตั้งได้ทันที สะดวกมากกว่า

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

แต่ถ้าคุณใช้การ์ดจอของทาง AMD Radeon ก็สามารถใช้เครื่องมือ Radeon Software มาใช้ได้เช่นกัน รูปแบบการทำงานจะคล้ายกันกับคู่แข่ง คือ ติดตั้งซอฟต์แวร์ Radeon Adrenalin 2020 จากนั้นให้ซอฟต์แวร์เป็นตัวจัดการ ตรวจพบเวอร์ชั่นใหม่ ระบบจะแจ้งอัพเดตให้เราทราบอัตโนมัติ พร้อมตอนไหน ก็ดาวน์โหลดไดรเวอร์มาอัพเดตได้ทันที


Tips

2 Graphic Int Discrete

ทริคง่ายๆ ของคนที่ใช้โน๊ตบุ๊ค นอกจากการลงไดรเวอร์ การ์ดจอ ซึ่งมีทั้งกราฟิกในตัวซีพียูและการ์ดจอแยกมาด้วยนั้น เช่น AMD Ryzen ที่มี RX Vega มาในตัว ใช้คู่กับ nVIDIA GeForce GTX หรือ RTX series เป็นต้น ซึ่งเป็นการ์ดจอแยก ให้ผู้ใช้เลือกการทำงานของกราฟิกการ์ด แม้ว่าในบางครั้งระบบจะสามารถจัดการสลับกราฟิกที่ใช้ให้เหมาะสมได้ ซึ่งค่าเริ่มต้นจะเป็น Auto-select ก็ตาม แต่การกำหนดให้ใช้กราฟิกแยกโดยตรง ก็จะเป็นเหมือนต้องการใช้ศักยภาพของการ์ดจอแยกเฉพาะ ในหัวข้อ Preferred graphic processor: ให้เลือก High-performance nVIDIA processor ด้วยการระบุไปเลยว่า หากเปิดแอพฯ นี้ ให้ใช้การ์ดจอแยก


3.อัพเดตไดรเวอร์ด้วยตัวเอง

แต่ถ้าในกรณีที่คุณทราบหรือสามารถตรวจสอบการ์ดจอ รวมถึงพอเข้าใจในเวอร์ชั่นและการอัพเดตไดรเวอร์อยู่บ้าง อาจใช้วิธีการติดตั้งไดรเวอร์แบบ Manual หรือการอัพเดตด้วยการค้นหาเวอร์ชั่นที่เหมาะสมกับการ์ดจอของคุณเองได้ ด้วยการเข้าไปค้นหาจากเครื่องมือที่แต่ละค่ายจัดเตรียมเอาไว้ให้ได้เลย

nVIDIA GeForce

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

สำหรับค่าย nVIDIA สามารถค้นหาไดรเวอร์การ์ดจอที่เหมาะสมกับระบบที่คุณใช้ในรูปแบบ Manual ได้จาก ที่นี่ แล้วเลือกไปตามขั้นตอน โดยระบบจะมีให้เลือกตั้งแต่ ซีรีส์ เช่น Product Type ซึ่งมีทั้ง GeForce, Quadro รวมถึงซีรีส์ จะแยกเป็นพีซีและโน๊ตบุ๊ค ไปจนถึงรุ่นของ GPU แต่ละรุ่น โดยมีรหัสต่อท้าย Ti, SUPER และรุ่นอื่นๆ สุดท้ายจะเป็นระบบปฏิบัติการที่คุณใช้ เมื่อได้ทั้งหมดแล้ว ให้คลิ๊กที่ช่อง Search ระบบจะเริ่มต้นค้นหาไดรเวอร์ที่เหมาะสมกับการ์ดจอที่คุณใช้มากที่สุด

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

จากตัวอย่างนี้ เราใช้กราฟิก GeForce GTX1650 โดยให้คลิ๊กที่ Product Type เป็น GeForce จากนั้นเลือก Product series: GeForce GTX 16 series (Notebooks) แล้วเลือก Product: เป็น GeForce GTX1650 แล้วเลือก Operating System: Windows 11 จากนั้นคลิ๊กที่ Search

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

เลื่อนลงมาดูด้านล่าง จะมีรายการของไดรเวอร์ปรากฏให้คุณได้เลือกใช้ สามารถเช็คว่าไดรเวอร์ใดที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะมีหลายเวอร์ชั่นและช่วงเวลาให้ได้เลือก ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเลือกล่าสุด ที่เพิ่งอัพเดตแบบสดๆ ร้อนๆ หรือจะเลือกเวอร์ชั่นก่อนหน้าเล็กน้อย ที่คุณอาจจะมั่นใจได้มากกว่า อย่างไรก็ดีตัวเลขเวอร์ชั่นเหล่านี้ จะเป็นตัวบอกคุณได้ เมื่อใช้ตัวไหนแล้วประสิทธิภาพลดหรือไม่เข้ากับการ์ดจอของคุณนัก ก็สามารถเปลี่ยนได้ถูกต้องตรงรุ่นนั่นเอง

*WHQL เป็นไดรเวอร์ที่ผ่านการทดสอบจาก Windows Hardware Quality Labs แล้ว ว่ามีความเสถียรและพร้อมสำหรับการใช้งานบน Windows ในเวอร์ชั่นที่กำหนด

ในการลงไดรเวอร์ การ์ดจอจะมีให้เลือก 2 รูปแบบ ประกอบด้วย

  1. nVIDIA GeForce Driver & GeForce Experience: ใช้สำหรับคนที่ต้องการอัพเดตโปรแกรม GeForce Experience เวอร์ชั่นใหม่ พร้อมไปกับการอัพเดตไดรเวอร์
  2. nVIDIA GeForce Driver: เหมาะสำหรับคนที่ต้องการติดตั้งเพียงแค่ไดรเวอร์การ์ดจอ nVIDIA GeForce เท่านั้น ไม่ต้องการอัพเดตส่วนเพิ่มเติมอื่นๆ หรือคนที่ไม่ได้ต้องการจะใช้ GeForce Experience เพื่อลดการใช้พื้นที่และใช้แรมน้อยลง

AMD Radeon

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

แต่สำหรับคนที่จะดาวน์โหลดและติดตั้งไดรเวอร์ AMD Radeon สามารถเข้ามาดาวน์โหลดได้ ที่นี่ โดยวิธีการใช้งานจะคล้ายกับค่าย nVIDIA เช่นกัน โดยเมื่อเข้ามายังหน้า Driver support ตามลิงก์ที่ให้ไว้แล้ว ให้เลือกกราฟิกที่คุณต้องการ โดยเริ่มจากรูปแบบ เช่น Graphic, Professional…Server, Chipset หรืออื่นๆ ซึ่งหากเป็นการ์ดจอติดตั้งอยู่ในคอมของคุณเลือกที่ Graphics ช่องถัดไป ให้เลือกการ์ดจอที่คุณใช้ เช่นตัวอย่าง AMD Radeon 6000 series แล้วเลือกรุ่นของการ์ดในช่องต่อมา AMD Radeon 6600 series และสุดท้ายจะเป็นโมเดลที่คุณใช้งานตามตัวอย่างเป็น RX 6600 XT เป็นต้น จากนั้นให้กด Submit

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

เมื่อกด Submit เพื่อเป็นการยืนยันว่าเงื่อนไขของการ์ดที่เราใช้อยู่นั้นเป็นรุ่นอะไร ผลลัพทธ์ที่ให้มา จะเป็นไดรเวอร์ทางเลือก ให้คุณเลือกตามระบบปฏิบัติการที่คุณใช้ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าแตกต่างจากการค้นหาไดรเวอร์ของคู่แข่งในขั้นตอนบางอย่างเล็กน้อย กรณีที่คุณใช้ Windows 11 ก็สามารถคลิ๊กดาวน์โหลดที่ไดรเวอร์ภายใต้เงื่อนไข Windows 11 – 64-bit Edition ได้เลย

ให้คลิ๊กที่รูปหน้าจอทางด้านขวา ในหัวข้อ Install จากนั้นให้เลือกที่ Install แล้วรอจนกว่าระบบจะ Install เสร็จสิ้น แล้ว Restart Now เพื่อให้เริ่มการทำงานของระบบใหม่อีกครั้ง เป็นการ Optimize แล้วอย่าลืม Save งานหรือสิ่งที่ทำอยู่ ก่อนที่ระบบจะเริ่มต้น Restart เพื่อความปลอดภัย


5.ซอฟต์แวร์ช่วยอัพเดต ง่าย ปัง!

แต่ในบางกรณีการลงไดรเวอร์ การ์ดจอ ก็ยังมีตัวช่วยอย่างเช่นซอฟต์แวร์ทางเลือก มาอำนวยความสะดวกให้กับการใช้งานได้เช่นกัน ข้อดีของซอฟต์แวร์เหล่านี้คือ ใช้ซอฟต์แวร์ตัวเดียว ในการกำหนดการอัพเดต ตรวจเช็คและ Optimize ระบบได้พร้อมๆ กัน แต่จุดสังเกตก็คือ ผู้ใช้ควรจะต้องทำความเข้าใจโปรแกรมเหล่านี้ให้ท่องแท้ ก่อนที่จะใช้งานแบบเปิดทำงานอัตโนมัติ หรือทำการปรับแต่งเพื่อให้เหมาะกับรูปแบบการทำงานของคุณ รวมถึงโปรแกรมที่ติดตั้งลงไป อาจจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบอยู่บ้าง การปรับปรุงหรืออัพเกรดสิ่งใดๆ ก็ตาม ก็อาจมีผลกระทบต่อระบบที่ใช้ได้เช่นกัน โดยตัวอย่างซอฟต์แวร์ช่วยดาวน์โหลดที่ว่านี้ ประกอบด้วย

Driver Booster

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

ซอฟต์แวร์ตัวช่วยในการดาวน์โหลด Driver Booster ที่มีอินเทอร์เฟสเป็นกันเอง ดูง่าย ให้การอัพเดตไดรเวอร์อุปกรณ์ของคุณแบบไม่ยุ่งยาก สามารถตรวจเช็คไดรเวอร์ได้ในคลิ๊กเดียว ก็พร้อมในการดาวน์โหลดและอัพเดตได้ตามกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็น เมนบอร์ด ชิปเซ็ต คอนโทรลเลอร์ รวมไปถึงการ์ดต่อพ่วงหรือกราฟิกการ์ด และยังมีฟีเจอร์ช่วยในการแก้ไขปรับปรุงระบบ ไม่ว่าจะ เสียงลำโพงไม่ดัง เสียงไม่ออก ต่อเน็ตเวิร์กไม่ได้ รวมไปถึงฟีเจอร์ในการ Remove/ Uninstall Program มาในตัว แต่การใช้งานตามที่ได้แจ้งไว้ในเบื้องต้น ผู้ใช้ควรศึกษาการตั้งค่าฟังก์ชั่นการตรวจเช็ค อัพเดตและการปรับปรุงระบบด้วยตัวเองแบบ Manual ก่อนจะเข้าสู่การตั้งค่าอัตโนมัติ


DriverMax

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

DriverMax โปรแกรมช่วยในการดาวน์โหลดและอัพเดตไดรเวอร์ให้แบบอัตโนมัติ เป็นซอฟต์แวร์ตัวเล็กๆ ที่มีฟังก์ชั่นจัดเต็ม สำหรับคนที่เริ่มต้นการดูแลระบบอย่างจริงจัง รวมถึงอยากลดขั้นตอนในการดูแลรักษาให้รวดเร็วยิ่งขึ้น รองรับการใช้งานทั้งบน Windows 7, Vista 32-bit ไปจนถึง Windows 11 โดยที่ DriverMax นี้ทำงานในแบบมัลติฟังก์ชั่น คือ สแกน ตรวจเช็ค ดาวน์โหลด อัพเดต รองรับอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันได้มากมายทีเดียว ซึ่งรวมไปถึงโปรแกรมประเภท Open AL, DirectX, C++ Runtime หรือ Java เป็นต้น ให้ความปลอดภัยสูง ในกรณีที่คุณไม่มั่นใจว่าไดรเวอร์ใหม่ จะเหมาะหรือมีความเสถียรและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้หรือไม่ ก็สามารถ Backup ไดรเวอร์เดิมเอาไว้ และ Restore กลับมาได้เช่นกัน รวมถึงการตั้งเวลาให้ซอฟต์แวร์ทำการสแกนหรืออัพเดตในช่วงที่ว่างจากการทำงานเป็นต้น


Driver Talent

ลงไดรเวอร์ การ์ดจอ

Driver Talent เป็นอีกหนึ่งซอฟต์แวร์ที่มีโซลูชั่น ให้คุณได้ทำการอัพเดตไดรเวอร์รวดเร็ว และสะดวกได้ในคลิ๊กเดียวเท่านั้น ซึ่งหากใช้งานแล้วถูกใจ ก็สามารถเลือกซื้อในเวอร์ชั่น Pro ได้ในราคา 8.99USD หรือประมาณ 300 บาทเท่านั้น รองรับการทำงานทั้ง Windows 7, XP รุ่นเก่า มาจนถึง Windows 10 โดยฟีเจอร์สำคัญนั่นคือ การค้นหาไดรเวอร์ และดาวน์โหลดมาติดตั้งให้กับคอมของคุณได้อัตโนมัติ และยังรองรับการแก้ไข เมื่อไดรเวอร์เกิดปัญหา ดาวน์โหลดไดรเวอร์มารอก่อนได้ และติดตั้งในภายหลัง เพิ่มเติมในส่วนของการ Backup และ Restore มาให้ รวมถึงการ Remove/ Uninstall รวมไปถึงการดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง อินเทอร์เฟสอาจจะดูซับซ้อนไปบ้าง แต่ก็มีลูกเล่นให้คลิ๊กและใช้งานได้ไม่ยากนัก ใช้เวลาทำความเข้าใจไม่นาน


Conclusion

AMD Driver performance

ก่อนจะจบในเรื่องของการลงไดรเวอร์ การ์ดจอ หากคุณเป็นคนหนึ่งซึ่งใช้การ์ดจอจาก nVIDIA GeForce ไม่ว่าจะเป็นการ์ดรุ่นเก่า หรือเพิ่งเปลี่ยนมาใหม่ แล้วต้องการจะเพิ่มเฟรมเรตให้ไหลลื่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางคนก็เพิ่งซื้อการ์ดจอมาใหม่ ติดตั้งลงเครื่องแล้วลงเกมเล่นเลย บางทีอาจจะพอสังเกตได้ว่า ภาพที่ได้อาจจะไม่ลื่นไหล หรือไม่แรงเท่าที่ควรจะเป็น ไม่ได้เฟรมเรตตามที่คิด สิ่งหนึ่งอาจเป็นเพราะยังไม่ได้ทำการ Optimize Driver ให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ หรือใช้ไดรเวอร์เก่า ที่เคยใช้กับการ์ดจอตัวเดิม ประสิทธิภาพของตัวการ์ดจอใหม่ จึงไม่ได้แสดงออกมาเต็มที่ การอัพเดตไดรเวอร์ก็เป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพได้ แต่การปรับแต่งไดรเวอร์อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้การเล่นเกมลื่นขึ้น และบางส่วนก็ทำให้ภาพสวยขึ้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งคุณสามารถเข้าไปดูวิธีการปรับแต่งไดรเวอร์ nVIDIA กันก่อนได้เลย

สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากไว้สำหรับคนที่ติดตั้งวินโดว์ใหม่ หรืออัพเกรดการ์ดจอ รวมไปถึงการประกอบคอมใหม่ นอกจากในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ที่ต้องใส่ใจในการติดตั้งให้ละเอียด เช่น สล็อตที่ติดตั้ง การต่อสายที่พอร์ตแสดงผลบนการ์ดจอ การระบายความร้อน รวมถึงสายไฟเลี้ยงจากเพาเวอร์ซัพพลาย ที่ควรจะต้องต่อให้ครบ ปรับระบบทิศทางการระบายอากาศภายในให้ไหลเวียนได้ดีแล้ว ก็ควรจะต้องคำนึงถึงการติดตั้งหรืออัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอ เพื่อให้การเล่นเกมของคุณไหลลื่น เฟรมเรตต่อเนื่องไม่สะดุด และการปรับแต่งไดรเวอร์การ์ดจอให้เหมาะกับการเล่น ควบคู่กันไปกับการตั้งค่าภายในเกมอย่างเหมาะสม เท่านี้ก็จะช่วยให้คุณใช้งานคอมเล่นเกมตัวโปรดได้อย่างเต็มที่ คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไปในยุคที่การ์ดจอราคาแพงเช่นนี้

from:https://notebookspec.com/web/629437-4-step-install-vga-driver-2021

วิธีเช็ค การ์ดจอ 5 ซอฟต์แวร์ตรวจสอบ เช็คสเปค อุณหภูมิ และปรับแต่งการ์ดจอ 2021

วิธีเช็ค การ์ดจอ ด้วย 5 ซอฟต์แวร์ ตรวจเช็คสเปคการ์ดจอ อุณหภูมิ เฟรมเรต ง่ายนิดเดียว

วิธีเช็ค การ์ดจอ

วิธีเช็ค การ์ดจอที่คุณใช้กันอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นการ์ดจอบนพีซีตั้งโต๊ะ หรือจะเป็นการ์ดจอบนโน๊ตบุ๊คที่หลายๆ คนใช้กันอยู่ ก็มีด้วยกันหลายรูปแบบ แต่ทำไมต้องเช็คล่ะ? คำตอบก็คือ บางคนอาจสงสัยว่า การ์ดจอที่ได้รับมานั้น ตรงตามสเปคหรือเปล่า รุ่นตรงหรือไม่ หรือซื้อมือสองมาจะโดนย้อมแมวมั้ย รวมถึงบางกลุ่มก็ชอบที่จะตรวจเช็คความร้อน อาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้บนการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค เพราะยากที่จะเช็คว่าพัดลมทำงานผิดปกติหรือเปล่า หรือความร้อนสูงเกินไปหรือไม่ และสุดท้ายก็คือ เรื่องของเฟรมเรตในการเล่นเกม เพราะบางครั้งสายตาคนเราอาจไม่เท่ากัน หลายครั้งที่มีคนกังวลใจในความลื่นไหลในการเล่นเกม จะสามารถเช็คเฟรมเรตว่าตัวเกมลื่นไหลดีหรือไม่ หรือว่าการอัพเกรด เปลี่ยนการ์ดจอใหม่ เฟรมเรตจะดีขึ้นหรือไม่ รวมไปถึงการอัพเดตไดรเวอร์ จะทำให้เฟรมเรตสูงขึ้นมั้ย การเช็คด้วยซอฟต์แวร์เพิ่มเติม ช่วยให้เราตัดสินใจในการทำสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

วิธีเช็ค การ์ดจอ 5 ซอฟต์แวร์ 2021

  1. Windows Task Manager
  2. GPUz
  3. GeForce Experience
  4. OCCT
  5. MSI Afterburner

แนะนำโปรแกรมวิธีเช็ค การ์ดจอ

สำหรับวิธีเช็ค การ์ดจอ การใช้โปรแกรมเสริม หรือเป็นซอฟต์แวร์ยูทิลิตี้ เป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวก และรวดเร็ว เนื่องจากฟีเจอร์บางอย่างบน Windows หรือ Driver เอง ก็ไม่สามารถรายงานสิ่งต่างๆ ได้ละเอียดมากนัก จึงต้องอาศัยโปรแกรมในกลุ่ม 3rd Party มาช่วยตรวจเช็คได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบสถานะการทำงาน สเปคของการ์ดจอ อุณหภูมิความร้อน และความผิดปกติ ไปจนถึงการเช็คเฟรมเรต ที่เป็นตัววัดประสิทธิภาพของการ์ดจอได้อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้เราทราบผลของการอัพเกรดการ์ดจอ หรือการอัพเดตไดรเวอร์ ว่ามีผลต่อการเล่นเกมมากน้อยเพียงใด โดยโปรแกรมที่นำมาแนะนำในวันนี้ เป็นแบบไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ให้ฟังก์ชั่นในการทำงานได้ดีทีเดียว จะประกอบไปด้วยอะไรบ้างนั้น ไปชมกันเลยครับ

Advertisementavw

Windows Task Manager ดูสเปค เช็คสถานะแบบง่ายๆ

วิธีเช็ค การ์ดจอ

ตัวช่วยในการตรวจเช็คสเปค วิธีเช็ค การ์ดจอ และการทำงานของการ์ดจอในเบื้องต้น เป็นฟีเจอร์หนึ่งที่อยู่ในระบบปฏิบัติการ Windows โดยในเวอร์ชั่น Windows 10 ที่ผ่านมา ก็เริ่มมีการใช้งานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สำหรับ Task Manager แบบใหม่นี้ นอกจากจะมีสถานะของ ซีพียู, RAM, Storage และ WiFi แล้ว ก็ยังมีในส่วนของการ์ดจอหรือ GPU มาให้ตรวจเช็คการทำงานได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น บนโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ มีทั้งการ์ดจอบนซีพียู AMD Radeon Vega ก็มีรายละเอียดมาให้ และการ์ดจอแยกอย่าง nVIDIA GeForce GTX1650 ที่เพิ่มเติมเข้ามา และเรายังมีบทความทิปการใช้งาน Task Manager แบบง่ายๆ มาแนะนำกันด้วย

สามารถเข้าใช้งาน Task Manager ได้ด้วยการกดปุ่ม Ctrl + Shift + Esc หรือเลือกคลิ๊กขวาที่มุมล่างซ้ายของหน้าจอ แล้วเลือกที่เมนู Task Manager จากนั้นคลิ๊กที่แท็ป GPU ด้านซ้ายมือ

วิธีเช็ค การ์ดจอ

โดยภายในหัวข้อ GPU นี้ ก็ยังแยกดูสถานะของการทำงานในแต่ละส่วนเอาไว้ด้วย เช่น 3D การประมวลผลเกม, Copy, Video Encode การเข้ารหัสวีดีโอ, Video Decode การถอดรหัสวีดีโอ รวมถึงสถานะการใช้ VRAM และการแชร์หน่วยความจำหลัก (ในกรณีที่ใช้ร่วมกับแรมระบบ) ซึ่งผู้ใช้สามารถเช็ค ของกราฟิกการ์ดได้จากตรงนี้เลย โดยเฉพาะในเรื่องของ Process ที่เปลี่ยนแปลงไป และถ้าสังเกตในช่องด้านซ้าย จะเห็นว่า นอกจากจะบอกรุ่นของการ์ดจอ ยังบอกระดับการ Process ไว้อย่างชัดเจน แสดงเป็น Percentage (%) และถือว่าเป็นจุดสังเกตความผิดปกติได้เลย โดยเฉพาะคนที่โดนโค๊ตหรือเข้าเว็บไซต์ ที่แอบนำกราฟิกของเราไปใช้ในการขุด Crypto สังเกตง่ายๆ คือ หากมี Process สูงขึ้นผิดปกติ แต่คุณไม่ได้เล่นเกมแต่อย่างใด ให้ประเมินไว้ก่อนว่ามีความผิดปกติ ลองตรวจเช็คว่ามีสิ่งใด ทำให้กราฟิกการ์ดเราทำงานเยอะจนผิดปกติ

วิธีเช็ค การ์ดจอ

และหากต้องการดูเป็นตัวเลข เพื่อเก็บรายละเอียดได้มากขึ้น ให้เลื่อนลงมาด้านล่างสุด จะมีข้อมูลบอกอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น Utilization ที่บอกระดับการทำงานของ GPU หรือจะเป็นการใช้ Memory ของกราฟิกไปมากเท่าไรแล้ว และยังมีการแชร์หน่วยความจำหลัก รวมไปถึง VRAM ของการ์ดจอ แต่ที่น่าสนใจก็คือ บอกอุณหภูมิของการ์ดจอเอาไว้ด้วยเลย รวมถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไม่น้อยเลยก็คือ Driver version วันเวลาอัพเดตของไดรเวอร์ ที่ทำให้ผู้ใช้เอง สามารถบันทึกหรือใช้ในการตัดสินใจว่าจะอัพเดตเป็นเวอร์ชั่นใหม่ดีมั้ย หรือหากลงไดรเวอร์ใหม่ไปแล้ว ยังไม่ถูกใจ ก็สามารถหาดาวน์โหลดเวอร์ชั่นเดิมมาใช้ได้ทันที แต่น่าเสียดายที่ไม่มีช่องทางคลิ๊กไปอัพเดตได้ทันที เพราะต้องเข้าผ่าน Device Manager หรือไปที่ Windows Update แทน แต่ในภาพรวมถือว่าเหมาะกับคนที่ใช้งานพื้นฐาน สามารถตรวจเช็คได้ และง่ายต่อการดูแล

จุดเด่น ข้อสังเกต
ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ได้บอก GPU clock และ Mem clock
บอกสเปค อุณหภูมิและสถานะการ์ดจอได้ ไม่มีฟีเจอร์ทดสอบ
ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม มีใน WIndows แล้ว

GPUz สเปคละเอียด ดูอุณหภูมิและสถานะ

วิธีเช็ค การ์ดจอ

เรียกว่าเป็นวิธีเช็ค การ์ดจอยอดฮิตของเหล่านักเล่นเกม หรือชอบการตรวจเช็คการ์ดจอที่ละเอียดขึ้นก็ว่าได้สำหรับโปรแกรม GPU-Z ที่สามารถบอกข้อมูลการ์ดจอที่คุณใช้ได้อย่างครบถ้วน ว่ากันตั้งแต่สเปค ไปจนถึงสถานะของการ์ดจอ รวมถึงอุณหภูมิในการทำงานแบบเรียลไทม์ หน้าหลักๆ ในการใช้งาน อยู่ที่ในแท็ป Graphic card ซึ่งจะบอกตั้งแต่ชื่อรุ่น Code Name ไปจนถึง Core clock, Memory clock รวมถึงบรรดา Shaders, CUDA core และ Memory Type ซึ่งหากคุณซื้อการ์ดจอมาใหม่ หรือซื้อการ์ดมือสองมา แล้วไม่มั่นใจ สามารถใช้โปรแกรมนี้ในการตรวจเช็คข้อมูลต่างๆ ได้ทันที แนะนำว่าถ้าเป็นไปได้ เวลาที่จะซื้อการ์ดจอมือสอง นอกจากตรวจเช็คสภาพภายนอกให้ครบถ้วนแล้ว มีโอกาสต่อการ์ดจอเข้าเครื่อง และเช็คด้วยโปรแกรมนี้ได้ ก็จะดีไม่น้อยเลย ซึ่งโปรแกรมนี้ป้องกันการย้อมแมว ในการใช้การ์ดจอปลอมมาหลอกคุณได้ ซึ่งหากเป็นการ์ดจอที่ทำหลอกมา จะขึ้นรูป Fake แทนโลโก้ด้านบนอย่างชัดเจน

วิธีเช็ค การ์ดจอ

และอีกจุดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากก็คือ Sensor หรือเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการตรวจสอบสถานะของการ์ดจอในแบบเรียลไทม์นั่นเอง ในส่วนนี้จะช่วยให้คุณเช็คสัญญาณนาฬิกา GPU และ VRAM รวมถึงโหลด แรงดันไฟ และอุณหภูมิ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากกับเหล่านักโอเวอร์คล็อก และชอบความท้าทายในการปรับแต่ง เพื่อเร่งประสิทธิภาพในการทำงานออกมาได้แบบสุดๆ และมีผลต่อเฟรมเรตที่มากขึ้น โดยเช็คแรงดันไฟและอุณหภูมิในส่วนนี้ได้ เพื่อดูจุดที่เสถียรมากที่สุด บนความเร็วของ GPU ที่ดีที่สุด และเช็คอาการ Fail ของระบบ เมื่อไปถึงจุดที่ไม่สามารถดันสัญญาณนาฬิกาต่อไปได้ ทำให้คุณได้ทราบถึงขีดจำกัดในการปรับแต่งบนการ์ดจอตัวโปรดของคุณเอง นอกจากนี้คุณยังสามารถเก็บ Log เอาไว้ เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการทำงานของระบบได้อีกด้วย นับว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ค่อนข้างอเนกประสงค์ไม่น้อยเลย

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ GPU-z

จุดเด่น ข้อสังเกต
บอกรายละเอียดของการ์ดจอได้ครบถ้วน ใช้ทดสอบไม่ได้
แจ้งสถานะและอุณหภูมิได้แบบเรียลไทม์ ให้ความแม่นยำสูง
มีฟีเจอร์แจ้งการ์ดจอปลอม

GeForce Experience ตรวจเช็ค โชว์ได้เรียลไทม์ อัพเดตไดรเวอร์สะดวก

วิธีเช็ค การ์ดจอ

เป็นโปรแกรมที่ใช้งานร่วมกับไดรเวอร์ nVIDIA GeForce เพียงแต่ว่าเลือกจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ตามถนัด เพราะบางคนอาจจะอยากใช้แค่ไดรเวอร์ให้กับตัวการ์ดจอ nVIDIA เท่านั้น แต่ถ้าต้องการเครื่องมืออำนวยความสะดวกเพิ่มเติม เช่น แนะนำการอัพเดตไดรเวอร์ รายงานสถานะของการ์ดจอได้แบบเรียลไทม์ หรือเป็นตัวช่วยในการไลฟ์สตรีม และการปรับแต่งไดรเวอร์ เพื่อให้เหมาะกับการเล่นเกมในแต่ละเกม ได้แบบแยกโพรไฟล์ เพื่อให้สอดคล้องกับการเล่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องไปหาโปรแกรมอื่นๆ มาใช้งานให้วุ่นวาย เพียงแต่สนับสนุนการใช้งานร่วมกับการ์ดจอ nVIDIA เท่านั้น

ส่วนถ้าจะใช้ร่วมกับ Radeon อาจจะต้องเลือก AMD Radeon Software Adrenalin 2020 มาใช้แทน โดยเข้าไปที่ https://www.amd.com/en/support ตามลิงก์นี้ หรือจะใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการค้นหาบน Google ด้วยคำว่า “AMD Driver” ซึ่งจะมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ Radeon Adrenalin 2020 สำหรับใช้ในการปรับแต่ง ตรวจสอบ เช็คข้อผิดพลาด แนวทางแก้ไข รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเล่นเกม ไปจนถึงการใช้งานฟีเจอร์ ที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาให้ใช้งานกันอย่างครบครัน

วิธีเช็ค การ์ดจอ

การใช้งานไม่ค่อยยุ่งยากนัก เพราะเมื่อคุณติดตั้งโปรแกรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเปิดใช้งานได้ทันที โดยฟังก์ชั่นที่ใช้ในการตรวจสอบการทำงานของการ์ดจอ สามารถเข้าไปได้ที่ Settings หรือคลิ๊กที่ปุ่มรูปเฟืองที่อยู่มุมขวาด้านบนหน้าต่างโปรแกรม แล้วเลือก Performance Monitoring

วิธีเช็ค การ์ดจอ

และหน้าตาของฟังก์ชั่น Performance Monitoring จะเป็นแบบด้านบนนี้ จะเห็นได้ว่าสามารถบอกรายละเอียดสำคัญๆ ได้เกือบครบครันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น GPU Clock, Temp, Voltage, Utilization, Power, Fan speed และ Memory clock ซึ่งทำงานในแบบเรียลไทม์ ทำให้เช็คข้อมูลได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะคนที่กังวล เมื่อต้องเล่นเกม หรือใช้งานเป็นเวลานาน และการโอเวอร์คล็อก นอกจากนี้ยังเลือกเป็น Overlay หรือสถานะต่างๆ ให้ลอยอยู่บนหน้าเดสก์ทอปได้ตลอดเวลาอีกด้วย

วิธีเช็ค การ์ดจอ

การปรับ Overlay ก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเหล่าเกมเมอร์และผู้ใช้งานได้ไม่น้อยทีเดียว จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า โปรแกรมสามารถแสดงให้เห็นฉากหลังได้ และใช้ Text สีเขียวในการตัดสีให้เด่นจากพื้นหลังสีดำ และยังบอกรายละเอียด Core clock, Mem clock และ Temp รวมถึง Frame per second และ CPU Utilized เอาไว้ให้เห็นอีกด้วย เรียกว่ามีครบเครื่อง แถมยังใช้ในระหว่างการเล่นเกมได้ ฟังก์ชั่นครบ แม้ว่าอาจจะต้องปรับแต่งอยู่บ้างให้เข้ากับการใช้งานของเราในช่วงแรก แต่ถ้ามองกันแบบยาวๆ จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจของเหล่าเกมเมอร์ และสตรีมเมอร์ได้ดีทีเดียว

จุดเด่น ข้อสังเกต
บอกรายละเอียดการ์ดจอได้เกือบครอบคลุม ใช้ในการทดสอบไม่ได้
รายงานข้อมูลบนหน้าจอได้ตลอดเวลา
มีฟังก์ชั่นเป็นประโยชน์สำหรับคอเกมเยอะ

OCCT ทดสอบเป็นหลัก เช็คความร้อน พร้อม Benchmark

วิธีเช็ค การ์ดจอ

สำหรับโปรแกรม OCCT ในเวอร์ชั่นหลังๆ มานี้ จัดว่าดีต่อใจทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ชอบการทดสอบ ปรับแต่ง ตรวจเช็คระบบของพีซีกันให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะโปรแกรมดังกล่าว นอกจากจะใช้ตรวจเช็คสเปคคอมได้แล้ว ยังทำหน้าที่เป็น Hardware Monitor รวมถึง Test ได้จบครบครันในตัว แม้ว่าจะเป็นโปรแกรมแบบไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าใครอยากจะสนับสนุนผู้พัฒนา ก็สามารถ Donate หรือบริจาคเป็นค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นกำลังใจกันได้ ซึ่งคุณจะได้การเข้าสู่หน้าต่างการทดสอบได้ทันที ไม่ต้องรอหน่วงเวลา 10 วินาทีเป็นการตอบแทน สำหรับฟังก์ชั่นการใช้งานบน OCCT มีด้วยกัน 4 ส่วนหลัก ประกอบด้วย

  • Benchmark – ทดสอบประสิทธิภาพของซีพียู ซึ่งมีทั้ง Single Thread และ Multi Thread รวมถึง Memory หรือ RAM ที่มีทั้ง Read/ Write และ Combine
  • Test – เป็นคีย์หลักสำหรับบทความนี้ เพราะใช้ในการตรวจเช็คเสถียรภาพ และระดับการทำงานของการ์ดจอ ซึ่งจะบอกได้ตั้งแต่ ความเร็ว VRAM อุณหภูมิ สถานะการทำงาน และพลังงาน
  • Monitor – การตรวจเช็คสถานะของฮาร์ดแวร์ แบบเดียวกับ Hardware Momitor แต่ดูง่ายกว่ามาก เพราะมีทั้งกราฟ และตัวเลข
  • Sysinfo – รายละเอียดของฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม การ์ดจอ เมนบอร์ด ชิปเซ็ต เป็นต้น
วิธีเช็ค การ์ดจอ

โดยมีทั้งการทดสอบ CPU, Linpack, Memory, 3D, VRAM, Power และเลือกทดสอบเป็นรายอุปกรณ์ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม การ์ดจอ จุดเด่นของซอฟต์แวร์นี้อยู่ที่ การทสดอบด้วยการ Burn อุปกรณ์ให้ทำงานแบบ Full load ในระดับ 100% และเลือกปรับการทำงานของ Core ให้เป็นแบบ Multi thread หรือ Single ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้ว ยังรายงานอุณหภูมิ แรงดันไฟ การจ่ายไฟ ระดับไฟ พัดลม สัญญาณนาฬิกา และการใช้งาน พร้อมทั้งบอกความเร็วสัญญาณนาฬิกาไว้อย่างครบถ้วน ส่วนถ้าเป็น Grahic card นั้น สามารถเลือกจำกัดการทำงานของ GPU Usage ได้ตามต้องการได้ เรียกว่าทำงานคู่กันไปทั้งการตรวจเช็ค การ์ดจอ และการทดสอบเพื่อดูเสถียรภาพ ซึ่งโปรแกรมนี้เหมาะกับเหล่าฮาร์ดคอร์ หรือเกมเมอร์ที่ Geek ที่ซีเรียสกับการให้ความสำคัญด้านความเร็ว ความร้อน และการรีดศักยภาพของตัวการ์ดไปได้แบบสุดๆ

วิธีเช็ค การ์ดจอ

ด้านล่างในแถบของ Temperature ก็เอาใจคนที่ชอบการรายงานสถานะแบบเรียลไทม์ โดยเฉพาะอุณหภูมิ เพราะบางคนโอเวอร์คล็อก หรือเพิ่งแกะเปลี่ยนซิลิโคนลงไปในการ์ดจอ และต้องการตรวจเช็คว่าความร้อนลดลงมั้ย หรือการติดตั้งสมบูรณ์รึเปล่า กรณีที่ติดตั้งฮีตซิงก์กลับไปไม่แนบสนิดหรือเกิดความผิดปกติ ความร้อนขึ้นสูง ก็จะได้แก้ไขทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความเสียหายได้ในภายหลัง

วิธีเช็ค การ์ดจอ

นอกจากการเช็คอุณหภูมิแล้ว ยังเช็คความเร็วสัญญาณนาฬิกาได้ตั้งแต่รอบสัญญาณพื้นฐาน ไปจนถึงเมื่อมีโหลดการทำงาน เช่น การเล่นเกม ในแบบเรียลไทม์ได้เช่นกัน ตรงนี้เหมาะกับคนที่ชอบโอเวอร์คล็อก เพราะจะได้ทราบขีดสุดความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ปรับขึ้นในแต่ละรอบ เพื่อให้ได้ความเร็ว และเสถียรภาพลงตัวกันอย่างเหมาะสมมากที่สุด

ลิงก์ดาวน์โหลด OCCT

จุดเด่น ข้อสังเกต
บอกข้อมูลอุปกรณ์ในเครื่องได้ละเอียด ไม่สนับสนุนการแสดงผลบนหน้าจอตลอดเวลา
ทดสอบเสถียรภาพและการทำงานได้
แจ้งรายละเอียดของอุณหภูมิได้ครบครัน

MSI Afterburner โชว์เฟรมเรต เน้นเกมเมอร์ โอเวอร์คล็อก

วิธีเช็ค การ์ดจอ

โปรแกรมเช็คประสิทธิภาพ และรายงานเฟรมเรตในการเล่นเกม ซึ่งเป็นจุดเด่นของโปรแกรมนี้ ซึ่งครอบคลุมถึงการโอเวอร์คล็อกการ์ดจอได้อีกด้วย นับว่าเป็นอีกโปรแกรมสำหรับสาย Advance ที่จะยกระดับการปรับแต่งให้สูงขึ้น และทำได้ค่อนข้างง่าย ตามที่ได้เห็นบนหน้าต่างแรกของโปรแกรม บอกทั้ง Core clock, Mem clock, Voltage และ Temp ที่บอกรายละเอียดได้ในแบบเรียลไทม์เช่นกัน เพียงแต่ผู้ใช้อาจจะต้องทำความเข้าใจกับระบบของซอฟต์แวร์บ้างในช่วงแรก เพราะอย่างที่บอกคือ เน้นผู้ใช้ในกลุ่มที่เน้นการปรับแต่งมากขึ้นนั่นเอง โดยสามารถปรับแต่งเป็นโพรไฟล์เก็บเอาไว้ใช้ได้ตามเกมหรือรูปแบบการทำงานที่ต้องการ

วิธีเช็ค การ์ดจอ

หน้าต่างของโปรแกรม ที่สามารถรายงานข้อมูลต่างๆ ตามที่ต้องการให้ปรากฏขณะที่เล่นเกม ไม่ว่าจะเป็น GPU Usage, Temp, VRAM, Clock และ Framerate ที่บอกได้ทั้ง Max, Min และ Average ขึ้นอยู่กับผู้ใช้จะเลือกให้เป็นแบบใด ถ้าชอบที่จะเน้นเป็นเรื่องเฟรมเรต อาจปรับแต่งขนาดของ Font ให้ในส่วนของ FPS ให้ใหญ่ขึ้นได้

วิธีเช็ค การ์ดจอ

การปรับให้แสดงผลไม่ได้จำกัดแค่ด้านในด้านหนึ่ง แต่ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าให้แสดงผลในส่วนใด เช่น ตรงกลาง ด้านซ้าย ด้านล่าง หรืออื่นๆ ขึ้นอยู่กับการปรับแต่ง เช่นเดียวกับรูปแบบของ Font และกราฟิกที่ปรากฏ ก็เลือกได้ตามต้องการ ปรับแต่งให้สวยตามใจชอบได้ ไม่ซับซ้อนมากนัก

วิธีเช็ค การ์ดจอ

โดยที่ผู้ใช้สามารถเข้ามาปรับแต่งได้จากหน้านี้ เมื่อติดตั้งและเข้าสู่โปรแกรมแล้ว ให้คลิ๊กที่รูปเฟือง สำหรับการ Settings โดยการเลือกสิ่งที่อยากให้ปรากฏอยู่บนหน้าต่าง เช่น Framerate, Clock, Mem หรือจะเป็น Usage ก็ตาม แล้วใส่เครื่องหมายตรง Show in On-screen display เท่านั้น และยังมีรายละเอียดอีกมากมาย สำหรับโปรแกรมตัวนี้ ที่จะให้คุณได้ใช้งานอย่างสนุกสนาน นับเป็นโปรแกรมที่คู่ควรกับเหล่าเกมเมอร์มากๆ โดยเฉพาะคนที่ต้องการมองเห็นเฟรมเรตในการเล่นเกม และเช็คผลการทดสอบได้เป็นตัวเลขเห็นๆ ไม่ต้องมโน

ดาวน์โหลด MSI Afterburner

จุดเด่น ข้อสังเกต
รองรับการโอเวอร์คล็อกการ์ดจอ ไม่มีโหมดการทดสอบ
บอกรายละเอียดสเปคได้
แสดงผลบนหน้าจอแบบตลอดเวลาได้ On screen

Conclusion

วิธีเช็ค การ์ดจอ

สำหรับทั้ง 5 ซอฟต์แวร์ที่เราเอามาแนะนำสำหรับตรวจเช็คการ์ดจอกันในวันนี้ ต่างก็มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างกันออกไป และจะมีบางส่วนที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน เช่น ฟังก์ชั่น Monitor ที่ใช้ในการตรวจเช็คการทำงาน และสามารถรายงานสถานะของการ์ดจอได้ใกล้เคียงกัน แต่ถ้าจะเน้นความเรียบง่าย Task Manager ให้คุณใช้งานได้ทันที แบบไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม แต่ถ้าจะเน้น Burn หรือทดสอบหนักหน่วงแนะนำให้ไป OCCT ส่วนถ้าอยากได้ฟังก์ชั่นครอบคลุม จัดการง่าย ปรับแต่งเข้ากับเกมได้สะดวก GeForce Experience คือคำตอบ แต่ถ้าอยากให้รายงานเฟรมเรตได้ในแบบเรียลไทม์ ก็ต้องใช้ MSI Afterburner เป็นทางออกที่ดีสำหรับคุณ ชอบแบบไหนก็เลือกได้ตามใจชอบเลยครับ

from:https://notebookspec.com/web/625972-5-software-check-graphic-card

AMD Driver 2021 เพิ่มเฟรมเรต เล่นเกมไหลลื่น ภาพสวยขึ้น ปรับแต่งไดรเวอร์การ์ดจอ Radeon software Adrenalin

AMD Driver 2021 เพิ่มเฟรมเรต เล่นเกมไหลลื่น ภาพสวยขึ้น ปรับแต่งไดรเวอร์การ์ดจอ Radeon Software Adrenalin

AMD Driver

AMD Driver ปรับแต่งไดรเวอร์การ์ดจอ เชื่อว่าหลายคนในที่นี้อาจจะได้เจอกับอาการเล่นเกมช้ากระตุกหรือภาพไม่สวยสิ่งต่างๆเหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับการ์ดจอตัวเก่าหรือว่าการ์ดจอตัวใหม่ที่คุณเพิ่งซื้อมาก็เป็นได้ ซึ่งก่อนหน้านี้เราเคยแนะนำการปรับแต่งการ์ดจอ nVIDIA ไปแล้ววันนี้เรามาแนะนำในส่วนของไดรเวอร์ AMD Radeon กันเพิ่มเติมหลังจากที่ก่อนหน้านี้ เราได้นำเสนอในส่วนของการดาวน์โหลด การติดตั้งไดรเวอร์ รวมถึงซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Radeon Adrenalin 2020 กันไปบ้างแล้ว แต่ถ้าใครจำไม่ได้หรือเป็นมือใหม่ อยากจะทำตั้งแต่เริ่มต้น ก็สามารถเข้าไปดูที่บทความ รวม AMD Driver 2021 อัพเดตไดรเวอร์ เล่นเกมลื่น เพิ่มความเร็ว ในไม่กี่คลิ๊ก นี้ได้เลย และเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ https://www.amd.com/en/support ตามลิงก์นี้ หรือจะใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการค้นหาบน Google ด้วยคำว่า “AMD Driver” ก็ได้เช่นกัน

AMD Driver 2021 เพิ่มเฟรมเรต เล่นเกมไหลลื่น


ดาวน์โหลดไดรเวอร์ AMD

AMD Driver

ขั้นแรกก่อนจะไปปรับแต่งกราฟิกและฟีเจอร์ต่างๆ บนไดรเวอร์กราฟิก AMD Radeon ก็ต้องดาวน์โหลดไดรเวอร์มาติดตั้งในระบบเสียก่อน ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใช้ก็ต้องมีกราฟิกการ์ดของ AMD หรืออย่างน้อยมีซีพียู AMD ที่มีกราฟิกอยู่ในตัว เช่น AMD “G” series หรือซีพียูในโน๊ตบุ๊คนั่นเอง วิธีการให้ Search ในเว็บเบราว์เซอร์ AMD Driver หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ AMD และเลือกไดรเวอร์ให้ตรงกับการ์ดจอที่ใช้งานอยู่

AMD Driver

ในหน้าเว็บไซต์ไดรเวอร์ AMD จะใช้ชื่อ Radeon Software Adrenalin 2020 Edition โดยที่มีตัวเลือกเป็นแบบ Auto-Detect and Install Update ให้สำหรับคนที่อยากจะให้ระบบตรวจเช็ค และทำการอัพเดตให้อัตโนมัติ ด้วยการกด Download Now แล้วทำตามขั้นตอนได้เลย

AMD Driver

ส่วนถ้าใครที่ชำนาญแล้ว จะเลือกใช้เป็นวิธีแบบ Manual ก็สามารถทำได้เช่นกัน ให้เลื่อนลงมาด้านล่าง จะมีฟังก์ชั่นสำหรับเลือกกราฟิกชิปที่ติดตั้งอยู่ในระบบ โดยเลือกตั้งแต่กราฟิก > series > รุ่น > รุ่นย่อย เมื่อเลือกได้แล้ว ให้คลิ๊กที่ปุ่ม Submit ด้านล่าง ภาพด้านบนเป็นตัวอย่าง การเลือกไดรเวอร์ของกราฟิกการ์ด ส่วนด้านล่าง จะเป็นการเลือกไดรเวอร์ของกราฟิก ที่มาพร้อมกับซีพียู เช่น AMD ที่ลงท้ายด้วย “G” series นั่นเอง

AMD Driver

ติดตั้งไดรเวอร์ AMD

AMD Driver

เมื่อเริ่มดับเบิลคลิ๊กบนไฟล์ Setup ของไดรเวอร์แล้ว จะมีทั้งแบบที่อัพเดตเพิ่มเติมจากไดรเวอร์เก่าของคุณ ตามตัวอย่างด้านบนนี้ ให้คลิ๊กที่รูปหน้าจอทางด้านขวา ในหัวข้อ Install จากนั้นให้เลือกที่ Install แล้วรอจนกว่าระบบจะ Install เสร็จสิ้น

AMD Driver

เมื่อติดตั้งไดรเวอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้คลิ๊ก Restart Now สักครั้ง เพื่อให้ระบบ Optimize อย่าลืม Save งานหรือสิ่งที่ทำอยู่ ก่อนที่ระบบจะเริ่มต้น Restart เพื่อความปลอดภัย


AMD Driver

เข้าไปในไดรเวอร์ แล้วเลือก แท็ป Gaming จะมีให้เลือก 2 แบบ

  • Global Graphic: คือการปรับค่าต่างๆ ในภาพรวมของระบบ ไม่ได้เจาะจงลงลึกไปในแต่ละเกม
  • Game Graphic: ระบบจะ Detect บรรดาเกมต่างๆ ในเครื่องให้ สามารถเลือกคลิ๊กปรับแต่งได้ทีละเกม ข้อดีคือ สามารถแยกความเหมาะของระบบให้เหมาะกับเกมได้ละเอียดยิ่งขึ้น

คลิ๊กเข้าไปในเกม ตัวอย่าง PUBG เราจะเห็นรายละเอียดดังนี้

Graphic Profile – มีให้เลือก 4 แบบ

  • Gaming
  • Esports
  • Power Saving
  • Standard

เมื่อจะให้ระบบพร้อมสำหรับการเล่นเกม สามารถเลือกที่โหมด Gaming ได้เลย เพื่อให้ระบบ Optimize ให้กับเราในเบื้องต้น เพื่อการเล่นเกมที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องไปปรับแก้ส่วนอื่นๆ ที่ยังไม่แน่ใจ


Radeon Anti Lag

AMD Driver

เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ทาง AMD เปิดมาให้ช่วยลดอาการกระตุกของเกมได้ดี ด้วยการจัดการการประมวลผล 4 ส่วนรวมกันนั้นก็คือ ซีพียู, การ์ดจอ, เมาส์, คีย์บอร์ด ให้สามารถตอบสนองการทำงานให้เร็วมากที่สุด ให้เลือกเป็น Enable ไว้ได้ มีให้เลือก Enable/Disable


Radeon Chill

AMD Driver

เป็นฟีเจอร์ที่มีมาตั้งแต่กราฟิกในยุค Radeon 500 series ทำหน้าที่ลดการใช้พลังงานของกราฟิกการ์ด โดยเฉพาะตัวการ์ดที่แรงๆ เมื่อเทียบกับตัวเกม ที่ไม่ได้ต้องการศักยภาพในการเรนเดอร์กราฟิกมากนัก บางทีทะลุไป 100-200fps ก็อาจจะเป็นการใช้พลังของการ์ดจอมากเกินไป ฟีเจอร์นี้จะช่วยควบคุมการใช้พลังงาน แต่ยังคงความสวยงาม และอัตราเฟรมเรตที่ต่อเนื่องได้ รวมถึงลดความร้อนได้ในตัว

AMD Driver

ในข้อนี้จะเลือกเป็น Enable ก็ได้ หากประเมินว่าเกมไม่ต้องใช้พลังเยอะ แต่ถ้าการ์ดจอดูสูสี เรียกเฟรมเรตได้ไม่สูงนักจะ Disable ก็ได้เช่นกัน เมื่อเลือกแล้ว จะมีให้ตั้งระดับเฟรมเรตต่ำสุดสูงสุด เลือกให้เหมาะกับเกมและการ์ดจอที่ใช้ มีให้เลือก Enable/Disable


Radeon Boost

AMD Driver

ฟีเจอร์ที่ใส่มาในไดรเวอร์ Ardranalin 2020 เป็นการปรับความละเอียดของภาพแบบเรียลไทม์ ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องไปยุ่งกับค่า Settings หลักของเกม ทำให้สามารถเร่งเฟรมเรตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะในฉากที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น การโจมตีจากศัตรูที่อยู่รอบตัวในเกม Action หรือการแข่งขันรถใน Racing เป็นต้น มีให้เลือก Enable/Disable อาจเลือกเป็น Enable ได้เลย การ์ดไม่แรงมาก ก็ช่วยให้ลื่นขึ้นได้เล็กน้อย


Radeon Image Sharping

AMD Driver
AMD Driver

การทำภาพให้มีความคมชัดมากยิ่งขึ้น หลังจากที่มีการเปิดในใช้ Image Sharpening ภาพจะคมชัดขึ้น รวมถึงความเข้มของสี ข้อดีของฟีเจอร์นี้คือ ไม่ลดทอนประสิทธิภาพการเล่นเกมลดลงมากนัก เรียกว่ามีผลกระทบนิดหน่อย แต่ทำให้ภาพมีความคมชัดสวยงามขึ้น ให้เลือก Enable ไว้ได้


Radeon Enhanced Sync

AMD Driver

เทคโนโลยีที่ V-Sync ทำงาน เมื่อการ์ดจอให้เฟรมเรตที่สูงกว่าอัตรารีเฟรชของจอภาพ เพื่อให้เกิดภาพที่ลื่นไหลดูสมูทมากขึ้น Enable ไว้หากอยากได้ภาพลื่นสบายตา แต่ถ้าไม่ได้สนใจเรื่องอาการภาพขาด ที่อาจจะเกิดขึ้นไม่บ่อย หรือเล่นบนจอ Hz สูงๆ อยู่แล้วจะ Disable ก็ได้ เพื่อเฟรมเรตขั้นสุด


Wait for Vertical Refresh

AMD Driver

มีให้เลือก Always off, Off, Unless application specified, On, Unless application specified, Always On เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดอาการ Tearing หรือภาพขาดได้ กรณีที่เฟรมเรตกับรีเฟรชเรตไม่สอดคล้องกัน ตรงนี้แก้ได้ด้วยการเลือก On หรือ Always On กรณีที่ตัวเกมไม่มีให้เปิด V-Sync แต่ถ้าเกมมีให้ปรับอยู่แล้ว เลือก Off หรือ Always off ก็ได้

  • Always off
  • Off, Unless application specified
  • On, Unless application specified
  • Always On

หากต้องการปรับแต่งรายละเอียดที่ลึกมากขึ้น ให้คลิ๊กที่ปุ่ม Advanced ด้านใต้นี้


Anti-Aliasing

AMD Driver

มีให้เลือก Use application settings, Enhance application settings, Override application settings เลือกตามความแรงของการ์ดจอที่ใช้ และตัวเกมที่เล่นเป็นหลัก

AMD Driver
  • Use application settings: ให้การตั้งค่าของเกม เป็นตัวควบคุมการใช้ AA อย่างเหมาะสม
  • Enhance application settings: ไดรเวอร์จะเป็นตัวกำหนดในการเพิ่มประสิทธิภาพของ AA ในเกมให้ดียิ่งขึ้น
  • Override application settings: ตัวกราฟิกจะเป็นตัวควบคุมระดับ AA ให้ใช้ร่วมกับเกมได้อย่างเต็มที่มากที่สุด อาจจะต้องใช้ทรัพยากรที่หนักหน่วงมากขึ้น

Morphological Anti-Aliasing

AMD Driver

คือ MLAA ก็คือเทคโนโลยีที่จะมาช่วยทำให้ขอบภาพส่วนต่างๆ มีความคมชัดยิ่งขึ้น ภาพเนียนสวยงามกว่าเดิม โดยจะใช้การทำงานจาก GPU โดยตรง (DirectCompute) ในการลบเหลี่ยมมุมของ Pixel ตามขอบภาพหลังจากการประมวลผลภาพออกมาแล้ว ซึ่งต่างจาก MSAA ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันตรงที่ MSAA จะทำการลบเหลี่ยมมุมเหล่านั้นออกในขณะทำการ render ของ GPU นั่นเอง อยากได้ภาพสวยเนียนให้ Enable แต่อยากได้เฟรมเรตเยอะๆ เลือก Disable


Anisotropic Filtering

AMD Driver

เป็นวิธีลดความไม่ชัดเจนของสภาพแวดล้อมและพื้นผิวในตัวเกมในระยะที่ห่างไกลออกไป ถ้า Enable ก็จะช่วยให้เห็นวัตถุในระยะไกลชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ก็แลกกับการประมวลผลของการ์ดจอที่หนักขึ้นด้วยเช่นกัน มีให้เลือก 2x, 4x, 8x และ 16x ดังนั้นถ้าสเปคไม่แรงมาก แนะนำเลือกให้ค่าน้อยเข้าไว้ เช่น 2x หรือ Disable ไปเลย เฟรมเรตก็จะลื่นขึ้น


Texture Filtering Quality

AMD Driver

ตัวเลือกที่ช่วยให้เวลาคุณเคลื่อนที่เข้าใกล้วัตถุอย่างกำแพง พื้นผิวของกำแพงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงกระทันหันให้คุณเห็นเด่นชัด ส่วนใน Anisotropic คุณจะเห็นวัตถุที่ยื่นออกจากคุณไปไกล ๆ อย่างถนนหรือทางเดินชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในนี้มีให้เลือกทั้ง Standard, High และ Performance ถ้าเล่นเกมที่เน้นการเคลื่อนไหวเร็วๆ เปิดแค่ Standard หรือ High ก็พอ แต่ถ้าเล่นสไตล์ที่เก็บรายละเอียดฉาก หรืออยากได้ภาพสวยงาม ก็ไป Performance ได้เลย


Surface Format Optimization

AMD Driver

เป็นการเปิดให้กราฟิกทำการเปลี่ยนรูปแบบการเรนเดอร์ของพื้นผิวต่างๆ ในเกมตามความเหมาะสม ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น และลดการใช้หน่วยความจำตัวการ์ดให้น้อยลง มีให้เลือกEnable/Disable โดยปกติ AMD จะแนะนำให้ Enable เป็นค่าปกติ


Tessellation Mode

AMD Radeon Driver 2021 Tessalation2

เป็นการจำลองพื้นผิวหรือ Texture ภายในเกม ให้ดูมีมิติและมีความสมจริงมากขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยการใช้พลังการประมวลผลที่หนักหน่วง ถ้าหากใช้เครื่องไม่แรง หรือพอดีๆ กับเกมที่เล่นเฟรมเรตกำลังสวยๆ มีให้เลือก AMD Optimize, Use application settings, Override Optimize แต่แนะนำให้ใช้ AMD Optimize แต่ถ้าเครื่องแรง เฟรมเรตสูงๆ จะเปิดเป็น Override Optimize ก็ได้ เพราะได้ภาพที่ดูมีมิติ แม้เฟรมเรตจะดรอปลงมาบ้างก็ตาม


AMD Driver Tuning

สุดท้ายเพิ่มเติมการโอเวอร์คล็อกการ์ดจอแบบง่ายๆ เพื่อเพิ่มความเร็ว และเฟรมเรตให้กับเกม มีให้เลือก Enable และ Disable

AMD Driver performance

โดยให้หน้าแรกจะเป็นแท็ป Matric ซึ่งจะมีรายละเอียดความเร็วและการใช้งานของ CPU, GPU, RAM ให้ทราบในแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้มอนิเตอร์หรือตรวจสอบสถานะของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ในเบื้องต้น ส่วนถ้าต้องการปรับแต่งความเร็วของกราฟิกที่ใช้ให้เพิ่มมากขึ้น สามารถคลิ๊กไปที่แท็ป Performance แล้วเลือกที่ Tuning คลิ๊กที่ GPU มีให้เลือก Global Tuning จุดนี้จะเป็นโพรไฟล์ของเกม ที่ถูกเซ็ตมาให้เหมาะกับการใช้งาน

AMD Driver Tuning2

แท็ป Tuning Control มีให้เลือก Automatic และ Manual ถ้าหากคุณยังเป็นมือใหม่ และอยากจะให้ระบบทำการปรับแต่งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่เป็นภาระกับตัวการ์ดมากเกินไป สามารถเลือกเป็นแบบ Automatic ได้ จากนั้นลงมาดูที่ด้านล่าง ก็จะมีให้เลือกว่าจะใช้เป็นค่า Default ซึ่งเป็นความเร็วปกติของตัวการ์ด เพื่อที่จะกำหนดเป็นค่าเดิม หลังจากที่โอเวอร์คล็อกแล้ว อาจจะไม่เสถียร และการคลิ๊กที่ Overclock GPU ก็จะเป็นการเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้น เหมาะสำหรับเกมเมอร์ ที่ต้องการรีดพลังให้กับกราฟิกได้มากกว่าเดิม

AMD Driver Tuning3

แต่ถ้าคุณเริ่มชำนาญมากขึ้น หรือลองปรับแต่งบ่อยแล้ว จะเลือกเป็นแบบ Manual หรือการจูนด้วยตัวเองได้ ตรงนี้จะทำให้กราฟิกไปยังจุดที่เร็วที่สุดได้มากกว่า แต่ก็ใช้ความชำนาญ และสังเกตเรื่องของประสิทธิภาพและความเร็ว เพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะเร็วอย่างเดียวไม่พอ ระบบจะต้องทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพอีกด้วย ดังนั้นผู้ใช้จะต้องหมั่นเช็คเรื่องของการทำงาน อุณหภูมิ และความเร็วที่เหมาะสมให้มากที่สุด เพื่อความปลอดภัย

AMD Driver Tuning4

ในกรณีที่เลือก Overclock GPU ระบบจะค้นหาความเร็วที่เหมาะสมให้เอง ในกรณีที่เลือก Manual จะให้เราเลื่อนสไลด์บาร์ด้วยตัวเอง ระบบจะรายงานความเร็วในการโอเวอร์คล็อกให้ได้ทราบ หลังจากที่ทำการปรับแต่งจนเสร็จสิ้น แนะนำว่าให้ลองเก็บเป็นข้อมูลเฉพาะสำหรับเครื่องของคุณ เผื่อครั้งหน้าจะได้ปรับแต่งได้สะดวกมากขึ้น


Conclusion

โดยพื้นฐานค่า Default ในการทำงานของกราฟิกการ์ดเอง ก็สามารถตอบโจทย์ในแง่ความเร็วได้ตามความเหมาะสมของประสิทธิภาพ ความละเอียดและ Detail ในเกมได้ดีพอสมควรอยู่แล้ว เพียงแต่การปรับแต่งในหัวข้อต่างๆ เหล่านี้ ทำให้คุณสามารถกำหนดรายละเอียดให้เหมาะกับความต้องการของคุณได้มากขี้น ซึ่งรวมทั้งเรื่องความไหลลื่น และความสวยงาม สมจริงเข้าไปด้วย เพราะบางอย่างมีผลต่อการเล่นเกมอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความคมชัด การมองเห็นสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือการให้รายละเอียดในระยะใกล้ไกล ที่จะทำให้การตอบสนองหรือความแม่นยำสูงขึ้น และสร้างโอกาสหรือชัยชนะได้มากกว่า แต่ก็ต้องให้สมดุลกับเรื่องของเฟรมเรตและความไหลลื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการปรับแต่ในลูกเล่นต่างๆ บน AMD Driver นี้ ก็ต้องอาศัยการสังเกต และการจัดสรรสิ่งต่างๆ ให้เหมาะกับตัวคุณ และเกมแต่ละเกมให้ลงตัวมากที่สุดด้วยครับ

from:https://notebookspec.com/web/616341-amd-driver-adrenalin-2021-2

ไดรเวอร์ nVIDIA 2021 ตั้งค่าการ์ดจอ เพิ่มเฟรมเรต ภาพในเกมสวย ปรับแต่งง่าย แค่นิ้วคลิ๊ก

ไดรเวอร์ nVIDIA 2021 ตั้งค่าการ์ดจอ เพิ่มเฟรมเรต ภาพในเกมสวย ปรับแต่งง่าย แค่นิ้วคลิ๊ก

ไดรเวอร์ NVIDIA

ไดรเวอร์ nVIDIA หลายคนที่ใช้การ์ดจอ GeForce อาจจะเป็นรุ่นเก่า ที่ซื้อมานาน บางทีที่เล่นเกมแล้ว อยากจะให้เฟรมเรตไหลลื่นยิ่งขึ้น หรือบางคนเพิ่งซื้อการ์ดจอมาใหม่ ประกอบลงเครื่องแล้วเล่นเกมเลย ภาพที่ได้อาจจะไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควร แม้จะเป็นการ์ดจอแรงๆ แต่ก็ไม่ได้เฟรมเรตตามที่คิด สิ่งหนึ่งอาจเป็นเพราะยังไม่ได้ทำการ Optimize Driver ให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ หรือใช้ไดรเวอร์เก่า ที่เคยใช้กับการ์ดจอตัวเดิม ประสิทธิภาพของตัวการ์ดจอใหม่ จึงไม่ได้ถูกรีดออกมาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย การอัพเดตไดรเวอร์ก็เป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพได้ แต่การปรับแต่งไดรเวอร์อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้การเล่นเกมลื่นขึ้น และบางส่วนก็ทำให้ภาพสวยขึ้นได้เช่นเดียวกัน ถ้าวันนี้คุณเจอกับอาการนั้นอยู่ เรามีวิธีในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการเล่นเกมมาแนะนำกัน สำหรับผู้ใช้การ์ดจอ GeForce นี้

ไดรเวอร์ nVIDIA

วิธีดาวน์โหลดไดรเวอร์ nVIDIA อย่างง่าย

ไดรเวอร์ NVIDIA

เริ่มดาวน์โหลดไดรเวอร์ nVIDIA GeForce ด้วยการเข้าไปที่ลิงก์ของ nVIDIA.com โดยตรง หรือจะเข้าทางลิงก์นี้ Click ก็สามารถเข้าไปยังหน้าดาวน์โหลดไดรเวอร์ได้แล้ว โดยในขั้นตอนนี้ค่อนข้างสำคัญทีเดียว เพราะคุณจะต้องจำให้ได้ว่า การ์ดจอหรือกราฟิกการ์ด ที่คุณใช้อยู่นั้นเป็นรุ่นอะไร จากนั้นจึงเลือกไปทีละขั้นตอน ซึ่งจะมีให้เลือก ซีรีส์ เช่น Product Type จะมีทั้ง GeForce, Quadro รวมถึงซีรีส์ จะแยกเป็นทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊ค ไปจนถึงรุ่น ที่จะมีต่อท้าย Ti, SUPER และอื่นๆ สุดท้ายจะเป็นระบบปฏิบัติการที่คุณใช้ เมื่อได้ทั้งหมดแล้ว ให้คลิ๊กที่ Search ระบบจะทำการค้นหาไดรเวอร์ ที่เหมาะสมกับการ์ดจอที่คุณใช้มากที่สุด

ไดรเวอร์ NVIDIA

เมื่อระบบค้นหาไดรเวอร์ nVIDIA เสร็จสิ้น ก็จะได้ไดรเวอร์ที่ระบบแนะนำและเหมาะสมที่สุด ให้ได้ใช้งาน โดยบางเวอร์ชั่น จะเป็นไดรเวอร์ที่เรียกว่า WHQL กำกับมาด้วย แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีแล้วจะใช้ไม่ได้ แต่อาจจะมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในภายหลัง และหากเป็นเวอร์ชั่นใหม่กว่าที่มีอยู่ในระบบเดิมของคุณ ให้คลิ๊กที่ปุ่ม Download ได้ทันที

*WHQL เป็นไดรเวอร์ที่ผ่านการทดสอบจาก Windows Hardware Quality Labs แล้ว ว่ามีความเสถียรและพร้อมสำหรับการใช้งานบน Windows ในเวอร์ชั่นที่กำหนด

ไดรเวอร์ NVIDIA

เมื่อเลือกไดรเวอร์ nVIDIA GeForce ในเวอร์ชั่นที่ต้องการได้แล้ว ให้คลิ๊กที่ปุ่ม Download สีเขียวที่อยู่ตรงกลางได้เลย

ไดรเวอร์ NVIDIA

เมื่อดาวน์โหลดไฟล์ไดรเวอร์เสร็จสิ้น ก็เตรียมพร้อมสำหรับการติดตั้งได้แล้ว ตัวไฟล์จะมีขนาดประมาณ 700MB

ไดรเวอร์ NVIDIA

เมื่อดับเบิลคลิ๊กที่ไฟล์ไดรเวอร์ nVIDIA ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์ เพื่อ Unzip หรือแตกไฟล์ แล้วระบบจะเข้าสู่หน้าต่างเริ่มการติดตั้ง ซึ่งจะมีให้เลือกทั้ง 2 แนวทาง คือ

ไดรเวอร์ NVIDIA
  • แบบแรก nVIDIA GeForce Driver & GeForce Experience: ใช้สำหรับคนที่ต้องการอัพเดตโปรแกรม GeForce Experience เวอร์ชั่นใหม่ พร้อมไปกับการอัพเดตไดรเวอร์
  • แบบที่สอง nVIDIA GeForce Driver: เหมาะสำหรับคนที่ต้องการติดตั้งเพียงแค่ไดรเวอร์การ์ดจอ nVIDIA GeForce เท่านั้น ไม่ต้องการอัพเดตส่วนเพิ่มเติมอื่นๆ หรือคนที่ไม่ได้ต้องการจะใช้ GeForce Experience เพื่อลดการใช้พื้นที่และใช้แรมน้อยลง

เมื่อเลือกแล้ว ให้คลิ๊กที่ Agree and Continue ที่เป็นปุ่มสีเขียว ซึ่งอยู่ด้านล่างสุดของหน้าต่าง

ไดรเวอร์ NVIDIA

หน้าต่างการติดตั้งไดรเวอร์ต่อมาจะเป็นทางเลือกสำหรับการ Install ซึ่งจะมีแบบแรก ที่ทาง nVIDIA แนะนำคือ Express เพราะจะเป็นการติดตั้งทุกสิ่งที่เหมาะกับการใช้งานให้ ไม่ว่าจะเป็นไดรเวอร์หรือซอฟต์แวร์ ไม่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นรูปแบบที่ส่วนใหญ่มักจะใช้กันเพราะรวดเร็ว ส่วนถ้าต้องการเลือกติดตั้งเฉพาะบางอย่าง ไม่เอาทั้งหมด สามารถใส่เครื่องหมายหน้าหัวข้อ Custom ได้ จากนั้นคลิ๊ก Next

ไดรเวอร์ NVIDIA

ในกรณีที่เลือก Custom (Advanced) จะเห็นได้ว่าหน้าต่างติดตั้ง จะมีตัวเลือกอยู่ด้านใน 4 หัวข้อ ซึ่งในแต่ละอันนั้น คุณสามารถเลือกจะติดตั้งหรือไม่ก็ได้ ผ่านทางการใส่เครื่องหมายถูก ในแต่ละช่อง ประกอบด้วย

  • Graphic Driver: ไดรเวอร์ จำเป็นต้องติดตั้งหรืออัพเดต
  • HD Audio Driver: เป็นการอัพเดตไดรเวอร์ Sound เมื่อใช้สายต่อร่วมกับการ์ดจอ
  • nVIDIA GeForce Experience: ซอฟต์แวร์อเนกประสงค์ ข่วยเพาเวอร์อัพให้กับการเล่นเกมได้ แต่ถ้าไม่ต้องการใช้ ก็ไม่ต้องติดตั้งได้เช่นกัน
  • PhysX System Software: อัพเดตการทำงานของ PhysX ที่ผู้พัฒนาเกมหรือซอฟต์แวร์หลายค่ายยังคงรองรับ โดยจะเริ่มจากกราฟิกซีรีส์ 900 series ของทาง nVIDIA ขึ้นไป
ไดรเวอร์ NVIDIA

ในส่วนนี้ รอจนกว่ากระบวนการติดตั้ง ที่เป็นแถบสีเขียวจะสิ้นสุด ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป จะใช้เวลาไม่นานมาก

ไดรเวอร์ NVIDIA

สุดท้าย เมื่อระบบติดตั้งไดรเวอร์และซอฟต์แวร์เสร็จสิ้น ทางด้านซ้ายมือจะแจ้งว่าเป็น Finish และระบบจะให้ผู้ใช้ทำการ Restart ระบบปฏิบัติการใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่แนะนำ ให้กด Restart Now ได้ทันที แต่ถ้ายังทำงานอยู่ และยังไม่อยากเริ่มต้นระบบใหม่ ก็ให้คลิ๊กที่ Restart Later ไปก่อน และพร้อมเมื่อใด ก็ค่อยรีสตาร์ทอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดี หากคุณต้องการจะเริ่มเล่นเกมกับไดรเวอร์ใหม่ในทันที แนะนำว่าในขั้นนี้ ให้คุณกด Restart Now จะดีที่สุด เพื่อให้ระบบ Windows และ Driver ทำการ Optimize ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานนั่นเอง

ปรับแต่งไดรเวอร์ nVIDIA อัพเกรดประสิทธิภาพให้กับการเล่นเกม

ไดรเวอร์ NVIDIA

เริ่มต้นเมื่อต้องการจะปรับแต่งไดรเวอร์ nVIDIA ให้เข้าไปที่ nVIDIA Control Panel ด้วยการคลิ๊กเมาส์ขวาบนหน้าเดสก์ทอป จากนั้นคลิ๊กเพื่อเปิดใช้งาน

ไดรเวอร์ NVIDIA

สิ่งแรกที่ควรจะต้องปรับให้ใช้งาน โดยเฉพาะคนที่ใช้โน๊ตบุ๊คที่มีทั้งกราฟิกบนซีพียู เช่น Intel HD Graphic หรือ AMD RX Vega และมีการ์ดจอแยกมาด้วยก็คือ ให้ผู้ใช้เลือกการทำงานของกราฟิกการ์ด แม้ว่าในบางครั้งระบบจะสามารถจัดการสลับกราฟิกที่ใช้ให้เหมาะสมได้ ซึ่งค่าเริ่มต้นจะเป็น Auto-select ก็ตาม แต่การกำหนดให้ใช้กราฟิกแยกโดยตรง ก็จะเป็นเหมือนต้องการใช้ศักยภาพของการ์ดจอแยกเฉพาะ ในหัวข้อ Preferred graphic processor: ให้เลือก High-performance nVIDIA processor ด้วยการระบุไปเลยว่า หากเปิดแอพฯ นี้ ให้ใช้การ์ดจอแยกนั่นเอง

ไดรเวอร์ NVIDIA

ในแท็ปแรกของหน้า nVIDIA Control Panel เมื่อหน้าต่างนี้ปรากฏขึ้น จะปรากฏเมนู Adjust Image settings with preview ในส่วนนี้จะเป็นการปรับเปลี่ยนการทำงานของ Hardware-accelerated 3D ที่ใช้งานบน Direct3D หรือ OpenGL มีให้เลือกว่าต้องการความสวยงามของกราฟิกที่จะใช้ ให้เลือกที่ Quality แต่ถ้าต้องการความลื่นไหล ให้ภาพที่ต่อเนื่อง ความละเอียดบางส่วนจะลดลงบ้าง ให้เลือกที่ Performance ในส่วนนี้สามารถกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นได้เลย

ไดรเวอร์ NVIDIA

Power management mode – ให้ตั้งเป็น Optimal Power หรือ Prefer maximum performance ได้เลย บนพีซี

Preferred graphic processor – ส่วนใหญ่ค่าเริ่มต้นจะเป็น Auto-Select สำหรับโน๊ตบุ๊ค แต่ถ้าเป็นพีซี ก็มักจะใช้การ์ดจอที่เราเสียบต่อเอาไว้เป็นหลัก เช่น ต่อจอแสดงผลบนการ์ดจอแยก ก็จะเริ่มต้นด้วยการ์ดจอนั้นๆ ซึ่งเราสามารถกำหนดให้เป็น High Performance ได้เลยในกรณีที่เน้นเล่นเกมเป็นหลัก หรือการทำงานอื่นๆ ที่ใช้การประมวลผลจากการ์ดจอนั่นเอง

ไดรเวอร์ NVIDIA

Image Sharpening – ความคมชัดของภาพ ในที่นี้จะเกี่ยวกับการแสดงผลภาพกราฟิกอยู่ด้วย โดยจะเพิ่มความคมชัดและรายละเอียดของพื้นผิวและสิ่งต่างๆ ของออปเจกต์ให้เด่นชัดขึ้น หากมีการ Enable หรือ On และยังเลือกระดับได้ตั้งแต่ 0, 0.5 และ 1.0 ซึ่งจะได้ความสวยงามและสมจริง แต่ก็จะใช้ทรัพยากรของระบบมากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ดี Sharpening จะไม่สามารถใช้งานร่วมกับหน้าจอในโหมด HDR ได้

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่นเกมให้สูงขึ้น หากคุณใส่เครื่องหมายหน้า GPU Upscale เพื่อการเรนเดอร์บนความละเอียดที่ต่ำกว่า และใช้ GPU ในการ Upscale บนความละเอียดที่เป็น Native ของจอคุณได้

ไดรเวอร์ NVIDIA

Ambient occlusion – คือการจำลองแสงเงาระหว่างวัตถุในฉาก ตัวอย่างตามภาพจะเห็นได้ว่าตัวฉากมีความมืดเพิ่มขึ้นตามสภาพแวดล้อม ซึ่งจะมีผลต่อเงาในฉากมีความลึกตื้นแตกต่างกัน ตัวเลือกนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของเงาหรือ Shadow Quality เป็นเพียงการแสดงผลเงาโดยรวมของฉากเท่านั้น ซึ่งหากคุณไม่ซีเรียสเรื่องนี้ แต่เน้นที่เฟรมเรตให้ลื่นมากกว่า การเลือก Off ก็ดูน่าสนใจ แต่ถ้าอยากให้สวยสมจริงขึ้นอีกนิด เน้นเป็น Performance ก็ได้ ส่วนถ้าจะไปขั้นสุด เครื่องที่ใช้แรงดีอยู่แล้ว ก็เปิดเป็น Quality ได้เช่นกัน

ไดรเวอร์ NVIDIA

Anisotropic filtering – การลดความไม่คมชัดเจนของสภาพแวดล้อมและพื้นผิวในตัวเกมในระยะที่ห่างไกลออกไป แบ่งเป็นหลายระดับ เช่น bilinear, trilinear, anisotropic 2x 4x 8x 16x ตัวเลขเหล่านี้ มีค่ายิ่งมากก็จะเห็นวัตถุในระยะไกลชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ก็แลกกับการประมวลผลของการ์ดจอที่หนักขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าสเปคไม่แรงมาก แนะนำเลือกให้ค่าน้อยเข้าไว้ หรือ Off ไปเลย กรณีที่อยากให้เฟรมเรตลื่น

ไดรเวอร์ NVIDIA

Antialiasing FXAA – เน้นการเกลี่ยขอบภาพให้ดูเบลอ นุ่มกลมกลืน มากกว่าจะเป็นการเน้นให้ขอบภาพคมชัดเหมือน AA ตัวอื่น FXAA มันจะดูเหมือนว่าไม่ค่อยมีมิติ แต่ข้อดีคือ ไม่ใช้ทรัพยากรเครื่องมากนัก ถ้าเทียบกับ MSAA ที่ให้ภาพคมชัดสมจริง ไม่เน้นเบลอให้กับการเกลี่ยภาพ สิ่งที่ได้คือ ภาพจะคมทั้งฉาก และแน่นอนว่าใช้ทรัพยากรหนักหน่วงพอสมควร (เครื่องไม่แรงให้ Off ไว้ได้)

ไดรเวอร์ NVIDIA

CUDA – GPUs – เปิดเป็น All

ไดรเวอร์ NVIDIA

Low Latency Mode – จะเป็นการนำเฟรมของภาพที่ได้ไปยังคิวการเรนเดอร์ได้ก่อนที่ GPU จะเรียกร้องมาเพื่อเรนเดอร์เป็นภาพแสดงผลบนหน้าจอ ซึ่งเป็นนัยว่าจะลดเวลาในการตอบสนองที่สั้นลงกว่าการทำงานปกติ อย่างไรก็ดีกรณีที่เกมนั้น เน้นหนักที่การทำงานของ GPU ก็จะค่อนข้างเห็นผลได้ดี โดยเฉพาะในช่วง 60fps. ขึ้นไป แต่ถ้าเกมเน้นหนักไปที่ซีพียู ฟีเจอร์นี้อาจไม่จำเป็นมากนัก แนะนำว่าให้เปิดการทำงานหัวข้อ Max Frame Rate ดีกว่า

ไดรเวอร์ NVIDIA

Max frame rate – เปิดการทำงานของเฟรมเรตให้สูงสุด ไม่จำกัด ข้อดีคือ เฟรมก็จะไปถึงจุดสูงสุดได้ แต่ก็อาจจะสะดุดได้ ตรงนี้ให้ Off เป็นค่าเริ่มต้นไว้ แต่ถ้าอยากให้สอดคล้องกับจอที่ใช้ กรณีที่เล่นเกมใดเป็นประจำ และพอจะเห็นเฟรมเรตเฉลี่ยที่เกิดขึ้น ก็สามารถตั้งเป็น On และเลือกระดับเฟรมเรตให้เหมาะสม เพื่อให้ภาพที่ได้มีความนุ่มนวลเข้ากับจอแสดงผลได้ดี

ไดรเวอร์ NVIDIA

MFAA – เป็นเทคโนโลยีลดรอยหยักในเกม ที่มีมาตั้งแต่ในยุค GPU Maxwell ว่ากันตั้งแต่ GeForce GTX970/ 980 และรุ่นใหม่ๆ ต่อมา ซึ่งมี MSAA มาเป็นตัวช่วยให้ภาพมีความสวยงาม เรียบเนียนมากขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยการใช้ทรัพยากรที่หนักหน่วง ดังนั้น MFAA จึงได้รับการพัฒนามาให้กับผู้เล่น ที่ทำให้ภาพมีความเรียบเนียนเช่นกัน แต่ใช้ทรัพยากรน้อยลงกว่า และให้ภาพที่ดูสวยงามไม่แพ้กัน โดยที่ MFAA จะให้ผลเทียบเท่าการทำงาน 4x MSAA ซึ่งหากกราฟิกที่คุณใช้อยู่ในระดับกลางๆ จะ On ไว้ก็ไม่เสียหาย

ไดรเวอร์ NVIDIA

Texture filtering Quality – คือตัวเลือกที่ช่วยให้เวลาคุณเคลื่อนที่เข้าใกล้วัตถุอย่างกำแพง พื้นผิวของกำแพงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงกระทันหันให้คุณเห็นเด่นชัด ส่วนใน Anisotropic คุณจะเห็นวัตถุที่ยื่นออกจากคุณไปไกล ๆ อย่างถนนหรือทางเดินชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในนี้มีให้เลือกทั้ง Quality, High Quality, Performance และ High Performance ถ้าเล่นเกมที่เน้นการเคลื่อนไหวเร็วๆ เปิดแค่ Performance ก็พอ แต่ถ้าเล่นสไตล์ที่เก็บรายละเอียดฉาก หรืออยากได้ภาพสวยงาม ก็ไป High Quality ได้เลย

ไดรเวอร์ NVIDIA

Threaded optimization – ให้เกมสามารถตอบสนองกับซีพียูได้เต็มที่ โดยเฉพาะซีพียูที่มีหลายเธรด เท่าที่เกมจะกำหนดมาให้ ตั้งไว้เป็น Auto ได้เลย

Conclusion

ไดรเวอร์ NVIDIA

สำหรับวิธีการในการปรับแต่งไดรเวอร์ ให้สามารถเล่นเกมได้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการ์ดจอ nVIDIA ที่คุณใช้งาน เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีรายละเอียดเล็กๆ และการใช้ซอฟต์แวร์ในการรีดพลังออกมาได้อีก เช่น การโอเวอร์คล็อก หรือเพิ่มสัญญาณนาฬิกาให้กับ GPU และ VRAM ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แต่อาจจะมีผลต่ออายุการใช้งานของการ์ดจอที่ใช้งานอยู่ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นเพียงการปรับแต่งในเบื้องต้น แต่ก็มีผลต่อคุณภาพ อัตราเฟรมเรต และการเล่นเกมอยู่ไม่น้อย ดังนั้นแนะนำว่าให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม ซึ่งต้องดูว่าคุณชื่นชอบในเรื่องของภาพ หรือให้ความสำคัญกับเฟรมเรตมากกว่ากัน ก็สามารถเลือกปรับไปตามการ์ดจอที่คุณใช้ได้อย่างเหมาะสม สุดท้ายนี้ก็ขอให้สนุกกับการเล่นเกมโปรดตามที่คุณต้องการครับ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมในจุดใด เราจะมาเสริมกันในบทความนี้กันต่อครับ

from:https://notebookspec.com/web/613343-customize-nvidia-driver-2021

รวม aMD driver 2021 อัพเดตไดรเวอร์ เล่นเกมลื่น เพิ่มความเร็ว ในไม่กี่คลิ๊ก

ในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพีซีหรือโน๊ตบุ๊ค AMD ไม่ได้มีแค่การอัพเกรดฮาร์ดแวร์ แต่ยังรวม AMD driver 2021 เข้าไปด้วย ซึ่งหลายคนอาจเคยประสบปัญหาในการใช้งาน หรืออุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นซีพียู เมนบอร์ด การ์ดจอ ไม่สามารถแสดงศักยภาพได้เต็มที่ เพราะแค่การติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ หรือใช้อุปกรณ์เดิม แต่ไม่อัพเดตไดรเวอร์ ก็คงจะไม่เพียงพอ รวมไปถึงคนที่ใช้สเปคของ AMD ก็ยังมีลูกเล่นมาให้ใช้อีกมากมายเลยทีเดียวครับ

AMD Adrenalin 2020 cov 1

รวม AMD Driver 2021

ดาวน์โหลดไดรเวอร์ AMD ได้ที่ไหน

สำหรับคนที่เริ่มต้นการใช้งานเซ็ตคอมประกอบ พีซีสำเร็จรูปหรือโน๊ตบุ๊คจาก AMD ก็ตาม สามารถเข้าไปดาวน์โหลดไดรเวอร์จาก AMD Driver มาใช้ได้ทันที โดยเข้าไปที่ https://www.amd.com/en/support ตามลิงก์ดังกล่าวนี้ หรือจะใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการค้นหาบน Google ด้วยคำว่า “AMD Driver” ซึ่งจะมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ Radeon Adrenalin 2020 สำหรับใช้ในการปรับแต่ง ตรวจสอบ เช็คข้อผิดพลาด แนวทางแก้ไข รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเล่นเกม ไปจนถึงการใช้งานฟีเจอร์ ที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาให้ใช้งานกันอย่างครบครัน สามารถดูข้อมูลในรวม AMD Driver 2021 นี้ได้เลย

ดาวน์โหลด AMD Driver อย่างไรได้บ้าง

รวม AMD Driver 2021

เข้าไปที่ https://www.amd.com/en/support จากนั้นเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการดาวน์โหลดมาใช้ เช่น เมนบอร์ด การ์ดจอ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ก็ตาม

รวม AMD Driver 2021

Chipset: ถ้าต้องการเลือกไดรเวอร์ชิปเซ็ตของเมนบอร์ด ให้ดูจากหน้ากล่องหรือโมเดลบนโปรแกรมตรวจสอบ จากนั้นเลือกชิปเซ็ต AMD ให้ตรงกับรุ่น ตัวอย่างเช่น X570 ให้เลือก Chipset ในช่องแรก ต่อมาเลือกซ็อกเก็ต AM4 และสุดท้ายเลือกที่ชิปเซ็ต X570 แล้วคลิ๊ก Submit และไปสู่การดาวน์โหลดได้ทันที

รวม AMD Driver 2021

รวม AMD Driver 2021 ส่วนถ้าเป็นซีพียูที่มาพร้อมกราฟิกในตัว อย่างเช่น AMD G series เช่น Ryzen 5 3400G, Ryzen 5 4600G เป็นต้น ซึ่งก็ต้องใช้ไดรเวอร์มาติดตั้ง เพื่อช่วยให้ระบบทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และแก้ไขจุดบกพร่อง พร้อมรองรับการทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นในอนาคตอีกด้วย

รวม AMD Driver 2021

อีกส่วนหนึ่งก็สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ กราฟิกการ์ด ซึ่งในปัจจุบัน AMD มีทั้งที่เป็น RX 5700 series และ RX 6000 series เช่น RX 6800 XT หรือ RX 6900 XT ซึ่งการ์ดจอ ต้องอาศัยไดรเวอร์ที่ดีในการรีดประสิทธิภาพของการ์ด เพื่อเพิ่มเฟรมเรตในการเล่นเกม และเข้ากันได้กับซอฟต์แวร์ต่างๆ อีกด้วย รวมไปถึงผู้ใช้จะได้รับฟีเจอร์ที่ช่วยในการใช้งานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบฮาร์ดแวร์ โอเวอร์คล็อก การสตรีมมิ่งและอื่นๆ อีกมากมาย

ดาวน์โหลดไดรเวอร์แบบอัตโนมัติ

รวม AMD Driver 2021

นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีดาวน์โหลดด้วยการใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ที่เรียกว่า AMD Driver Autodetect Tool ซึ่งโปรแกรมนี้ จะช่วยให้คุณไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปที่เว็บไซต์และเลือกไดรเวอร์ เพื่อดาวน์โหลดหลายขั้นตอน แต่จะค้นหาไดรเวอร์ใหม่ พร้อมดาวน์โหลดมาติดตั้งให้ทันที ที่คุณเปิดการทำงานซอฟต์แวร์นี้ โดยสามารถเข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ได้ที่ คลิ๊ก

เมื่อติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวเรียบร้อย ระบบจะตรวจเช็คฮาร์ดแวร์ที่อยู่ภายในเครื่องของคุณ แล้วเลือกไดรเวอร์ที่เหมาะสม หรือเป็นเวอร์ชั่นที่อัพเดตล่าสุดให้ ไม่ว่าจะเป็น ชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดหรือจะเป็นกราฟิก GPU บนการ์ดจอก็ตาม จากนั้นคลิ๊กที่ Install สำหรับการติดตั้งไดรเวอร์กันต่อไป ยกเว้นว่าตรวจเช็คแล้วไม่เจอ ให้ลองทำการสแกนใหม่อีกครั้ง หรืออาจเป็นเพราะไดรเวอร์ที่คุณมีในระบบนั้น ใหม่ล่าสุดแล้ว จึงไม่ต้องอัพเดตแต่อย่างใด

การติดตั้ง AMD Driver

รวม AMD Driver 2021กับการติดตั้งไดรเวอร์จะมี 2 รูปแบบด้วยกันคือ Express และ Custom ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้จะต่างกันเล็กน้อยคือ Express จะเป็นการติดตั้งทั้งไดรเวอร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงยูทิลิตี้อื่นๆ เข้าไปด้วยพร้อมกัน ส่วน Custom จะมีให้เลือกฟังก์ชั่นว่าจะให้ติดตั้งพร้อมกันไปด้วย หรือเลือกแค่ไดรเวอร์เท่านั้น

รวม AMD Driver 2021

ตามที่ได้อ้างอิงไปในข้างต้น หน้าต่างโปรแกรมที่ปรากฏขึ้น เพื่อเริ่มการติดตั้งจะระบุว่ามีทั้ง Accept and Express Install และ Accept and Custom Install ให้เลือกตามความต้องการ

รวม AMD Driver 2021

หากคลิ๊กแบบ Express ที่เป็นหัวข้อทางด้านซ้าย ก็จะเริ่มทำการติดตั้งไดรเวอร์ AMD โดยระบบจะทำการสแกน เพื่อเช็คระบบเล็กน้อย

รวม AMD Driver 2021

หากไดรเวอร์นั้นตรงกับอุปกรณ์และใช้งานร่วมกันได้ ระบบก็จะทำการติดตั้งให้ทันที แต่ถ้าไม่ตรงกับเงื่อนไขหรือฮาร์ดแวร์ที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นโมเดลหรือ Windows ก็จะหยุด เพื่อให้เราไปค้นหาไดรเวอร์ที่ตรงรุ่นกันอีกรอบหนึ่ง

รวม AMD Driver 2021

เมื่อติดตั้งไดรเวอร์เรียบร้อย ก็จะแจ้งให้ได้ทราบ ซึ่งคุณจะเลือก Restart Now หรือ Close ก็ได้ ถ้าหากคุณต้องการให้ระบบทำงานร่วมกับไดรเวอร์ได้เต็มที่ หรือต้องการจะเล่นเกมและใช้งานต่อไป แนะนำให้ Restart Now สักรอบ และกลับมาใช้งานของคุณได้ หลังจากที่ Windows และไดรเวอร์ ได้ทำการ Optimize ให้เสร็จสิ้น

รวม AMD Driver 2021

Custom Install: ในการติดตั้งแบบ Custom นี้มีข้อดีตรงที่ ไม่ต้องเลือกติดตั้งซอฟต์แวร์หรือสิ่งอื่นๆ เพิ่มเติมเข้าไปใหม่ ทำให้ลดเวลาในการติดตั้งลง และไม่เปลืองพื้นที่ในการติดตั้ง โดยจะเข้ามาในหน้าแรกนี้ เพื่อเริ่มการติดตั้ง

รวม AMD Driver 2021

เลือกในหัวข้อ Custom Install แล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

รวม AMD Driver 2021

ในหน้าใหม่ จะมีให้เลือกทั้ง Uninstall Current Software สำหรับคนที่อยากจะถอนไดรเวอร์เดิมที่ติดตั้งอยู่ในปัจจุบันออก แต่ถ้าไม่ได้มีปัญหาในการใช้งานอะไร แค่อยากอัพเดต ก็ให้เลือก Install เพื่อเริ่มการทำงานต่อไป

รวม AMD Driver 2021

จากนั้น เมื่อเข้าสู่หน้าการติดตั้ง ระบบจะเปิดฟังก์ชั่นที่จะติดตั้งลงบนคอมมาให้ดูทั้งหมด ซึ่งคุณสามารถเอาเครื่องหมายถูกด้านหลังหัวข้อที่ไม่ต้องการออกก่อนที่จะติดตั้งได้ ซึ่งถ้าหากคุณต้องการอัพเดตแค่ AMD Display Driver ก็ให้ใส่เครื่องหมายในหัวข้อนั้น แล้วคลิ๊ก Install ได้ทันที จากนั้นรอจนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการ แล้วจึง Restart ใหม่อีกครั้ง

ซอฟต์แวร์ AMD Radeon Adrenalin 2020

รวม AMD Driver 2021

Adrenalin 2020 เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 ในเวลานั้นเรียกว่าได้การตอบรับจากผู้ใช้กันอย่างล้นหลาม เพราะเป็นซอฟต์แวร์อเนกประสงค์ ครบเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ ประสิทธิภาพและให้เสถียรภาพในการทำงานที่ดี รวมถึงการปรับปรุงอินเทอร์เฟส ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ประกอบไปด้วยหน้าหลักๆ คือ Gaming, Streaming และ Performance

รวม AMD Driver 2021

AMD Radeon Software Adrenalin 2020 Edition มาพร้อมฟีเจอร์ใหม่ที่ทันสมัย พร้อมแอพพลิเคชั่นด้านเกมมิ่งที่ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมด รวม AMD Driver 2021 ให้ผู้ใช้ควบคุมการใช้งานได้ง่ายขึ้น ทั้งด้านฟีเจอร์และการตั้งค่าการเล่นเกม การสตรีมมิ่ง และอื่นๆ อีกมากมาย เกมเมอร์สามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นการทำงาน ของซอฟต์แวร์โดยตรงแบบเต็มรูปแบบโดยใช้หน้าอินเทอร์เฟซเดียวกันบนคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีหน้าโปรไฟล์ผู้ใช้ใหม่สำหรับผู้ใช้มือใหม่ที่สามารถตั้งค่าการทำงานล่วงหน้าด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว ทำให้เป็นเรื่องง่าย และรวดเร็ว

Radeon Boost – มอบประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 23% ในระหว่างการเล่นเกมแบบ Fast-Motion โดยลดความละเอียดของภาพแบบไดนามิก เพิ่มเฟรมเรตและความลื่นไหลในการเล่น และเพิ่มการตอบสนองด้วยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของภาพเพียงเล็กน้อย[v] โดยฟีเจอร์ Radoen™ Boost จะเข้าไปรองรับในเกมชั้นนำมากมายเมื่อเปิดตัว และจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

AMD Link – ฟีเจอร์อินเทอร์เฟซที่ปรับปรุงใหม่ให้ตรงกับรูปลักษณ์ใหม่ของแอปพลิเคชั่นบนคอมพิวเตอร์ โดยซอฟต์แวร์ AMD Link จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสตรีมเกมบนโทรศัพท์มือถือได้ ทำให้คุณสามารถเล่นเกมคอมพิวเตอร์คุณภาพสูงบนโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ตได้จากทุกที่

Integer Display Scaling – ฟีเจอร์การปรับขนาดภาพบนหน้าจอตั้งแต่หนึ่งพิกเซลไปจนถึงสี่ หรือมากกว่านั้น ทำให้เกมคลาสสิคย้อนยุคปรับความคมชัดของภาพได้เพิ่มขึ้นบนจอแสดงผล PPI คุณภาพสูง โดยไม่มีการลดทอนประสิทธิภาพ

DirectML Media Filters – ฟีเจอร์การลดสัญญาณรบกวน และยกระดับสัญญาณภาพด้วยการใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อล้างไฟล์ภาพ หรือวิดีโอต่างๆ ให้คุณภาพที่ดีกว่าตัวกรองสัญญาณ และการอัพเกรดแบบเดิม

AMD Radeon RX6800 XT 046

Radeon Image Sharpening3 และ Radeon Anti-Lag4 – ฟีเจอร์ Radeon™ Image Sharpening3 เพิ่มการรองรับเกมต่างๆ บน DirectX® 11 ไปจนถึง DX® 9, DX® 12 และ Vulkan® และปัจจุบันฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับระดับความคมชัดของภาพได้ด้วย และฟีเจอร์ Radeon™ Anti-Lag4 ที่เพิ่มการสนับสนุนบน DX® 9 สำหรับกราฟิกการ์ดรุ่นก่อนซีรีย์ Radeon™ RX 5000

Game Center จะช่วยให้เกมเมอร์สามารถเล่นเกมได้จากศูนย์กลาง โดยไม่ต้องเข้าร้านค้าเกมออนไลน์ สามารถปรับการตั้งค่าซอฟต์แวร์ Radeon Software ในแต่ละเกมได้ และติดตามข้อมูลการเล่นเกม และประสิทธิภาพในการเล่นของคุณได้ นอกจากนี้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ใหม่ จะช่วยให้ผู้ใช้เรียกดูข้อมูลเกม, การแนะนำการใช้งานต่างๆ, วิดีโอสาธิตการใช้งานกราฟิกการ์ด Radeon และอื่นๆ อีกมากมายผ่านทางออนไลน์ได้ โดยที่ไม่ต้องออกจากเกม

อุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับ Radeon Adrenalin 2020

Radeon Software Adrenalin 2020 Edition 21.1.1 is compatible
Radeon™ RX 6900 Series Graphics AMD Radeon™ R9 Fury Series Graphics
Radeon™ RX 6800 Series Graphics AMD Radeon™ R9 Nano Series Graphics
Radeon™ RX 5700 Series Graphics AMD Radeon™ R9 300 Series Graphics
Radeon™ RX 5600 Series Graphics AMD Radeon™ R9 200 Series Graphics
Radeon™ RX 5500 Series Graphics AMD Radeon™ R7 300 Series Graphics
Radeon™ VII AMD Radeon™ R7 200 Series Graphics
Radeon RX Vega Series Graphics AMD Radeon™ R5 300 Series Graphics
AMD Radeon™ Pro Duo AMD Radeon™ R5 200 Series Graphics
Radeon™ RX 500 / Radeon 500X Series Graphics AMD Radeon™ HD 8500 – HD 8900 Series Graphics
Radeon™ RX 400 Series Graphics AMD Radeon™ HD 7700 – HD 7900 Series Graphics

ถอนการติดตั้ง Uninstall Adrenalin 2020

สำหรับคนที่ใช้ไดรเวอร์หรือซอฟต์แวร์ Adrenalin 2020 แล้วเกิดปัญหาในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานไม่เข้ากับซอฟต์แวร์อื่นๆ หรือต้องการเช็คระบบใหม่ รวมไปถึงเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ตัวใหม่ ซึ่งไม่ได้อยู่ในค่าย AMD ก็สามารถถอนการติดตั้งได้ ด้วยวิธีการง่ายที่ง่าย และไม่ซับซ้อน ด้วยการเริ่มต้นจากฟีเจอร์ Uninstall บน Windows 10 นั่นเอง

รวม AMD Driver 2021

เริ่มต้นด้วยการเข้าไปยัง Control Panel ด้วยการกดปุ่ม Windows จากนั้นพิมพ์ “Control Panel” ซึ่งจะปรากฏรายการดังกล่าวบน Start Menu หรือ คลิ๊กขวา ที่มุมซ้ายล่างของหน้าจอ แล้วเลือก Settings จากนั้น ให้เข้าไปหาหัวข้อ App หรือถ้าใน Control Panel ให้เลือกหัวข้อ Programs and Feature

รวม AMD Driver 2021

เมื่อเข้ามายังหน้านี้แล้ว จะมีตัวเลือกสำหรับ Uninstall or change a program ให้เข้าไปดูในตารางโปรแกรมที่มีอยู่มากมาย และเลือกที่ AMD Software จากนั้นคลิ๊กที่ปุ่ม Uninstall

รวม AMD Driver 2021

เมื่อหน้าต่างของ AMD Radeon Software Installer แสดงขึ้นมา ให้คลิ๊ก Uninstall ที่มุมขวาล่างของหน้าต่าง

รวม AMD Driver 2021

จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการในการถอนโปรแกรม AMD ออกมา ให้รอจนกว่าแถบสถานะเลื่อนไปจนเสร็จสิ้น

รวม AMD Driver 2021

เมื่อแถบสีแดงวิ่งไปจนสุดหน้าต่าง พร้อมกับตัวโปรแกรมแจ้งว่า AMD Software has been successfully uninstalled ให้คลิ๊ก Finish หรือ Restart เพื่อเตรียมการใช้งานต่อไปได้ทันที

AMD Radeon RX6800 XT 068

เป็นอย่างไรกันบ้าง กับการรวม AMD Driver 2021 สำหรับการใช้งานไดรเวอร์ AMD ซึ่งเป็นการรวม AMD Driver 2021 มาให้ได้ใช้งานกันอย่างครบครัน ซึ่งไดรเวอร์นั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาหรือบั๊กที่เกิดขึ้นในการติดตั้งฮาร์ดแวร์เก่าหรือใหม่ก็ตาม ก็ยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้งานมากขึ้นอีกด้วย โดยในส่วนของเมนบอร์ด ชิปเซ็ต ก็จะทำให้ฮาร์ดแวร์และระบบทำงานได้อย่างคล่องตัว หรือถ้าเป็นการ์ดจอก็จะทำให้โอกาสในการเล่นเกมไหลลื่นยิ่งขึ้น เพราะมีการปรับปรุงให้เข้ากับเอนจิ้นของเกมในแต่ละตัวได้ดีกว่าเดิม และเพิ่มเฟรมเรตให้สูงขึ้นเช่นกัน

from:https://notebookspec.com/web/578521-amd-driver-adrenalin-2021

รวม Intel driver 2021 ค้นหาไดรเวอร์ วิธีอัพเดตแบบง่ายๆ เพิ่มความเร็วโน๊ตบุ๊ค

หลายคนซื้อคอมหรือโน๊ตบุ๊คมาใหม่ คำถามที่ตามมาก็มีมากมาย หนึ่งในนั้นคือเรื่องของไดรเวอร์ รวม Intel driver 2021 ผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็จะจัดเตรียมไดรเวอร์ที่มีความเสถียรและมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการปรับปรุงฮาร์ดแวร์ให้ทำงานได้ดีขึ้น พร้อมสำหรับผู้ใช้ที่จะนำไปอัพเดตไดรเวอร์ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งหากโน๊ตบุ๊คที่คุณใช้เริ่มทำงานช้า ส่วนหนึ่งก็อาจจะเกิดจากความไม่เข้ากันของอุปกรณ์และไดรเวอร์ สามารถเพิ่มความเร็วโน๊ตบุ๊คได้ได้ด้วยการ Update driver ด้วยตัวเอง

รวม Intel Driver 2021

รวม Intel Driver 2021


ซื้อคอมหรือโน๊ตบุ๊คมาใหม่ ต้องลงไดรเวอร์หรือไม่?

ไดรเวอร์เป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ ที่จะทำให้ทั้งคู่สามารถรู้จัก เข้าใจและทำงานร่วมกับอุปกรณ์นั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ โดยพื้นฐาน OS ก็จะมีข้อมูลที่เป็นไดรเวอร์เบื้องต้น สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ เอาไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ชิปเซ็ต เมนบอร์ด คอนโทรลเลอร์ การ์ดจอ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่เชื่อมต่อหรือติดตั้งมาในตัวเครื่อง สังเกตได้จากรายการอุปกรณ์บน Device Manager ที่จะรายงานได้อย่างถูกต้อง

รวม Intel Driver 2021

แต่ในเมื่อ Windows ก็มีไดรเวอร์มาให้ พร้อมใช้งานได้แล้ว ทำไมยังจะต้องติดตั้งไดรเวอร์เพิ่ม นั่นก็เพราะไดรเวอร์ที่มาพร้อมกับ Windows เป็นเพียงไดรเวอร์ในเบื้องต้น เพื่อให้ใช้งานได้ แต่ยังไม่ได้เป็นตัวใหม่ล่าสุด ที่จะทำให้ใช้งานอุปกรณ์ได้อย่างเต็มที่ หรือเป็นไดรเวอร์เวอร์ชั่นเก่านั่นเอง ดังนั้นการอัพเดตไดรเวอร์ใหม่ ไปพร้อมๆ กับการ Update Windows จึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อซื้อคอมหรือโน๊ตบุ๊คมาให้ ไม่ว่าจะเป็น Intel หรือ AMD และอื่นๆ

นอกจากนี้ไดรเวอร์จะมาพร้อมการแก้ไขบั๊กหรือความผิดปกติบางอย่าง ที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานซอฟต์แวร์หรือตัวเกม ซึ่งส่งผลให้ระบบทำงานได้ตามปกติ หรือบางครั้งก็เป็นการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามาให้กับคอเกมได้ใช้ รวมไปถึงการปรับแต่งฟีเจอร์ สำหรับการใช้งานที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของภาพในเกม และประสิทธิภาพในการประมวลผล ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การอัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอ มีความสำคัญทั้งในแง่ของการทำให้การ์ดจอตัวเดิมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และการ์ดจอใหม่ ก็ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพนั่นเอง


หาไดรเวอร์ได้จากที่ใด?

รวม Intel Driver 2021

การหาไดรเวอร์เป็นปัญหาสำคัญของหลายๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ค่อยชำนาญในการเข้ามาตรวจเช็คระบบ เพื่อการ Update driver นี้

1.เว็บไซต์ผู้ผลิต เช่น เว็บไซต์ของผู้ผลิตโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น nVIDIA, AMD หรือ Intel เป็นต้น
2.เว็บไซต์ผู้ผลิตแต่ละราย อย่างเช่น อุปกรณ์ที่เป็น การ์ดจอ กราฟฟิกการ์ด หรือเมนบอร์ดนั่นเอง
3.เว็บไซต์ Third party เป็นเว็บไซต์ที่มีบริการให้ดาวน์โหลดไดรเวอร์ แต่มีแบบครอบจักรวาลทุกอุปกรณ์ ทุกรุ่นและมีในหลายๆ เวอร์ชั่น แต่บางครั้งก็ไม่ได้อัพเดตมากนัก

แล้วจะทราบได้อย่างไร ว่าไดรเวอร์ที่จะนำมาใช้นั้น เป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือ Update driver แล้ว ตรงนี้ให้สังเกตใน Properties หรือใน About โดยบางโปรแกรมจะติดตั้งอยู่บริเวณมุมหรือแท็บที่สร้างขึ้นมา อย่างเช่น Version 256.xx หรือ 259.xx ขึ้นอยู่กับว่าผู้พัฒนาจะเลือกติดตั้งไว้บริเวณใด แต่ที่สำคัญ ผู้ใช้ต้องจำให้ได้ว่าในเวอร์ชันเก่านั้น เป็นเวอร์ชันใด เพื่อที่จะได้ทราบว่าการ Update driver ที่ทำเสร็จไปนั้น เป็นการเปลี่ยนเป็นเวอร์ชันใหม่อย่างแท้จริง?


แก้ปัญหาอัพเดตไดรเวอร์ไม่ได้

1.Remove ไดรเวอร์ตัวเก่า: ในบางครั้งปัญหาในการอัพเดตไดรเวอร์ใหม่ไม่ได้ ก็อาจเกิดจากการติดที่ไดรเวอร์ตัวเก่า สิ่งที่ต้องทำก็คือ การใช้วิธี Remove หรือ Uninstall ขั้นตอนที่ง่ายที่สุดก็คือ เข้าไปใน Device Manager แล้วเลือกที่อุปกรณ์ที่ต้องการ Uninstall Driver แล้วคลิ๊กขวา จากนั้นเลือก Uninstall Device แล้วรีบูตระบบใหม่อีกครั้ง แต่ถ้าไม่สามารถ Remove driver เดิมออกไปได้ ก็ต้องหาทางออกอื่น เพื่อให้การ Update driver เป็นไปอย่างสมบูรณ์ เช่นการใช้โปรแกรมช่วย Uninstall หรือ Remove Program นั่นเอง

Driver Sweeper ลบไดรเวอร์เก่า
การติดตั้งไดรเวอร์หรือลงไดรเวอร์ใหม่ บางครั้งก็ไม่ได้ง่ายเสมอไป เพราะหลายครั้งที่เมื่อติดตั้งไดรเวอร์ตัวใหม่ลงไป กลายเป็นว่าใช้ไม่ได้เพราะยังมีไฟล์เดิมหลงเหลืออยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ส่งผลต่อการติดตั้งไดรเวอร์ไม่สมบูรณ์ ซึ่งก็ทำให้การใช้งานอุปกรณ์ไม่ปกติหรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ เพราะสิ่งเหล่านี้คือตัวขับเคลื่อนในการบอกให้กับระบบได้ทราบว่าสิ่งที่ติดตั้งอยู่นี้ทำหน้าที่อะไร แล้วใช้งานอย่างไรได้บ้าง นั่นก็หมายถึง การทำงานในภาพรวมที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก ในการแก้ไขปัญหาที่บางทีไม่สามารถที่จะแค่ Uninstall ออกไปแล้วจบ แต่ต้องหมายถึงการ Clean บรรดาไฟล์ระบบหรือไฟล์ต่างๆ ที่ติดมากับลงไดรเวอร์เก่าให้สะอาดหมดจดนั่นเอง ซึ่งอาจใช้ซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Driver Sweeper เป็นตัวช่วยก็ได้

รวม Intel Driver 2021

2.ให้ Update Windows ก่อน: เป็นวิธีค่อนข้างพื้นฐาน และหลายคนมักจะมองข้ามไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่มีเครื่องเก่า ไม่ค่อยได้อัพเดตวินโดว์ หรือปิด Update ก็มักจะเจอกับปัญหานี้ โดยเฉพาะไดรเวอร์ใหม่ๆ จะรอเช็คอัพเดตของวินโดว์ ซึ่งหากไม่ได้อัพเดต Patch ใหญ่ ก็มีโอกาสติดตั้งไดรเวอร์ใหม่ไม่ได้เช่นกัน ส่วนวิธีการ Update Windows 10 นั้นก็เพียง เข้าไปที่ Settings > Update & Security > Check Update แล้วรอให้การอัพเดตและติดตั้งเสร็จสิ้น จากนั้นให้ลองติดตั้งไดรเวอร์ nVIDIA ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

3.ไดรเวอร์ไม่ตรงกับอุปกรณ์: การอัพเดตไดรเวอร์ไม่ตรงรุ่น ก็ส่งผลต่อการทำงานบางอุปกรณ์ได้เช่นกัน ซึ่งเราต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม บางครั้งการใช้ไดรเวอร์ใหม่หรือไดรเวอร์ไม่ตรงรุ่น ก็อาจเกิดปัญหาได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าเกิดลงไดรเวอร์ใหม่ๆ ไปแล้ว ใช้งานไม่ถูกใจ ก็แก้ไขได้โดยไม่ต้อง Remove Driver แต่ใช้วิธี Roll Back ไดรเวอร์ได้เช่นกัน ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

  1. เปิดฟีเจอร์ Device Manager ด้วยการเข้าไปที่ Control Panel หรือถ้าเป็น Windows 10 สามารถคลิกขวาที่มุมด้านล่างซ้ายของหน้าจอ แล้วเลือกที่ Device Manager ได้เลย
  2. เมื่อเข้าสู่ Device Manager ให้เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการ Roll Back เช่น กราฟิก ชิปเซ็ต หรือคอนโทรลเลอร์ Intel ในกรณีที่หาไดรเวอร์อุปกรณ์ที่ต้องการไม่พบ สามารถเลือก Scan for hardware change เพื่อค้นหาได้
  3. แต่ในกรณีที่เคยอุปกรณ์ถูกปิดไว้ (Disable) เพื่อไม่ให้ทำงานเพราะอาจมีปัญหา ก็สามารถคลิกที่เมนู View > Show hidden devices เพื่อเปิดการทำงานของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่บนระบบทั้งหมด
  4. เมื่อเจอไดรเวอร์อุปกรณ์ที่ต้องการ ให้คลิกขวาที่รายชื่อ แล้วเลือก Properties เพื่อเข้าสู่หน้าต่างการแก้ไข จากนั้นคลิ๊กที่คำสั่ง Roll back แล้วรีสตาร์ทอีกครั้ง
  5. ในหน้าต่าง Properties นั้น ให้เลือกไปที่แท็บ Driver จากนั้นคลิกที่ Roll Back Driver
  6. ระบบจะกล่องคำถามเพื่อยืนยันการทำงาน ?Are you sure you would like to roll back to the previously installed driver software?? ให้คลิก Yes เพื่อยืนยันการทำงาน
  7. รอจนกว่าระบบจะทำการ Roll Back เสร็จสิ้น พร้อมกับการ Restart หนึ่งครั้่ง เมื่อเข้าสู่ระบบอีกครั้ง ไดรเวอร์จะถูกเปลี่ยนไป ให้ตรวจสอบอีกครั้งว่าการทำงานกลับเป็นปกติหรือไม่

อุปกรณ์ใดต้องอัพเดตไดรเวอร์บ้าง?

รวม Intel Driver 2021

สำหรับสเปคคอม Intel หรือโน๊ตบุ๊คที่ใช้พื้นฐานซีพียู Intel ไม่ว่าจะเป็น Celeron, Pentium, Core i family หรือจะเป็น Xeon ก็ตาม ก็ควรจะต้องติดตั้งและ รวม Intel Driver 2021 เพื่ออัพเดตไดรเวอร์เพิ่มเติมด้วยกันทั้งสิ้น รวมไปถึงบรรดาคอนโทรลเลอร์บนเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่อพ่วงที่นำมาใช้ หลายส่วนต้องทำการอัพเดตไดรเวอร์ เพื่อให้ใช้งานได้เต็มที่ และได้รับการแก้ไขบั๊กหรือปัญหาเล็กๆ น้อยๆ โดยเฉพาะในเรื่องความ Compatible หรือเข้ากันได้กับซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้งาน


อัพเดตไดรเวอร์บน Windows 10

รวม Intel Driver 2021

1.เข้าไปที่ Device Manager จากนั้นเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการอัพเดตไดรเวอร์ ตัวอย่างนี้ เป็นชิปกราฟิกบนโน๊ตบุ๊ค จากนั้นคลิ๊กขวา แล้วเลือก Update Driver

รวม Intel Driver 2021

2.เมื่อเลือก Update จะเข้ามาสู่หน้าต่างให้เลือกรูปแบบการอัพเดต หากเลือกแบบแรก Search automatically for Update driver software ระบบจะทำการอัพเดตจากไฟล์ไดรเวอร์ที่อยู่ในเครื่อง หรืออัพเดตอัตโนมัติ หากมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเอาไว้ รูปแบบนี้ก็น่าสนใจและสะดวก

รวม Intel Driver 2021

3.แต่ถ้าเลือกแบบที่ 2 ด้วยการคลิ๊กที่ Browse my computer for driver software ระบบจะเลือกติดตั้งไดรเวอร์จากไฟล์เก่าที่เราเคยดาวน์โหลดมาติดตั้งไว้ แต่ถ้าในกรณีที่คุณดาวน์โหลดตัวใหม่มา ก็ให้เลือก Browse เพื่อค้นหาโฟลเดอร์ปลายทางที่เก็บไฟล์ไว้ และเมื่อเจอแล้ว ก็ให้คลิ๊ก Ok จากนั้นคลิ๊ก Next เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไป

รวม Intel Driver 2021

4.เมื่อระบบมีการค้นหาไดรเวอร์ใหม่ที่เก็บเอาไว้จนพบ ให้คลิ๊ก Device ที่ต้องการอัพเกรด จากนั้นคลิ๊ก Next อีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าไม่แน่ใจ อยากจะค้นหาเพิ่มเติมในเครื่อง ให้คลิ๊กที่ Have Disk

Screenshot 122

5.ระบบจะค้นหาไฟล์ไดรเวอร์และติดตั้งใหม่ ในขั้นตอนนี้รอจนกว่าการค้นหาจะเสร็จสิ้น

รวม Intel Driver 2021

6.เมื่อระบบค้นหาและติดตั้งเป็นที่เรียบร้อย ก็ให้คลิ๊ก Close ซึ่งอาจจะรีสตาร์ทอีกครั้ง เพื่อให้ระบบ Optimize และทำงานได้เต็มรูปแบบ


ทางลัดค้นหาไดรเวอร์ Intel

  • รวม Intel Driver 2021 ดาวน์โหลดไดรเวอร์ซีพียู Intel ที่นี่
  • รวม Intel Driver 2021 ดาวน์โหลดไดรเวอร์กราฟิก Intel ที่นี่
  • รวม Intel Driver 2021 ดาวน์โหลดไดรเวอร์ชิปเซ็ต Intel ที่นี่

วิธีการอัพเดตไดรเวอร์ Intel

รวม Intel Driver 2021

1.สามารถเข้าไปที่ Download Center ของทาง Intel ในหน้านี้จะมีให้ตัวกรองให้คุณได้เลือกไดรเวอร์ตามอุปกรณ์ที่ต้องการใช้งาน

รวม Intel Driver 2021

2.คลิ๊กที่ View by product ตรงนี้จะมีดรอปดาวน์ให้เลือก กรณีที่เป็นชิปเซ็ต จะมีให้เลือกทั้ง Desktop, Mobile, Server และ Legacy chipset หากเป็นโน๊ตบุ๊คให้เลือก Mobile Chipset

รวม Intel Driver 2021

3.เมื่อเลือกได้แล้ว ให้ไปที่ Filter by ทางด้านขวา จะเป็นตัวกรองที่ให้ระบุระบบปฏิบัติการที่คุณใช้ เช่น Windows 10, Windows 32-bit หรือ 64-bit เป็นต้น

รวม Intel Driver 2021

5.เมื่อระบบคัดกรองข้อมูลตามที่คุณระบุมาทั้งหมด ก็จะออกมาเป็นผลลัพธ์ที่เป็นไดรเวอร์ใหม่ล่าสุด จากนั้นสามารถดาวน์โหลดไปติดตั้งและอัพเดตต่อได้ทันที


Intel Driver & Support Assistant

รวม Intel Driver 2021

นอกจากนี้ก็ยังมีฟีเจอร์การช่วยเหลือจาก Intel ซึ่งเป็นบริการสำหรับการค้นหาและติดตั้งไดรเวอร์ได้ง่ายขึ้น เรียกว่า Intel DSA หรือ Intel Driver & Support Assistant โดยที่ Service นี้ จะเป็นการติดตั้งยูทิลิตี้เพื่อตรวจสอบฮาร์ดแวร์ภายในเครื่องของเรา และระบบจะตรวจเช็คไดรเวอร์และสิ่งที่จะต้องอัพเดตภายในเครื่องให้อัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะกับมือใหม่ และคนที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการอัพเดตที่มีความซับซ้อน เพราะ IDS นี้ง่าย กับการทำงานแค่ไม่กี่คลิ๊กเท่านั้น

รวม Intel Driver 2021

ช่วงที่มีการติดตั้ง ระบบจะให้ยืนยันและทำความเข้าใจกับเงื่อนไข ในการใช้งานซอฟต์แวร์นี้ หากตกลงก็เพียง Click I agree to the license… แล้วคลิ๊ก Install ได้เลย

Intel DSA 3

เมื่อเรียกให้ Intel IDS ทำงาน ระบบจะใช้เวลาเล็กน้อยในการสแกนฮาร์ดแวร์และไดรเวอร์ แล้วจะรายงานสิ่งที่คุณจะต้องอัพเดต เช่น ตัวอย่างจากโน๊ตบุ๊คนี้ จะมีไดรเวอร์ Wireless adaptor ที่มีไดรเวอร์ใหม่ แนะนำให้อัพเดตนั่นเอง คุณแค่คลิ๊กดาวน์โหลดมาติดตั้งเท่านั้น


โปรแกรมช่วยอัพเดตไดรเวอร์ Intel

รวม Intel Driver 2021 นอกจากการอัพเดตไดรเวอร์ด้วยตัวเองแล้ว ยังมีโปรแกรมสำหรับการ Update driver ให้อัตโนมัติ ด้วยการตรวจเช็คและแจ้งเตือน เพื่อให้เราสามารถอัพเดตไดรเวอร์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องไปกดอัพเดตทีละตัว แต่โปรแกรมจะใช้วิธีการสแกนทั้งระบบและตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ใดอยู่ในเครื่อง จากนั้นจะเข้าไปค้นหาไดรเวอร์ในแบบออนไลน์ แล้วทำการอัพเดตให้ทันทีหรือเลือกจะคลิก Update driver ในภายหลังก็ได้ ซึ่งโปรแกรมลักษณะนี้ก็มีอยู่ด้วยกันหลายตัว อย่างเช่น Driver Genius หรือ Driver Max เป็นต้น

Driver Booster

เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการอัพเดตไดรเวอร์ให้กับระบบ พร้อมการสแกนไดรเวอร์ให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปยุ่งวุ่นวายหรือตั้งค่าแต่อย่างใด โดยเป็นโปรแกรมขนาดประมาณ 10MB ที่มีให้เลือกดาวน์โหลดในแบบทดลองใช้งาน แม้จะไม่ใช่ตัวเต็ม และถูกทอนฟังก์ชั่นบางส่วนลง แต่ก็ยังดาวน์โหลดและสแกนไดรเวอร์มาใช้งานได้เหมือนกัน หากใครใช้งานแล้วถูกใจ ก็เลือกลงทะเบียนซื้อเป็นตัวเต็มออนไลน์ได้ทันที

Driver Fighter

เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทำให้การดาวน์โหลดสะดวกขึ้น ใช้งานง่ายๆ ทั้งการสแกนค้นหา การตรวจสอบและอัพเดตไดรเวอร์ให้เสร็จสรรพ ผู้ใช้ก็แทบจะไม่ต้องทำอะไร คลิกแล้วนั่งรอได้เลย หน้าตาจะค่อนข้างดูเรียบง่าย เน้นความเป็นกันเองในการใช้งาน มีเครื่องมือพื้นฐานทำให้การใช้งานรวดเร็ว หากต้องการให้ระบบทำงานทันที เพียงคลิกที่ Scan for driver update แม้ว่าจะต้องติดตั้งโปรแกรมและใช้เวลาในการค้นหาอยู่บ้าง แต่ก็คุ้มค่า เนื่องจากตัวซอฟต์แวร์ มีเครื่องมืออื่นๆ ให้สามารถใช้งานเพิ่มเติมได้อีกด้วย ค่อนข้างจะอเนกประสงค์มากทีเดียว


ในภาพรวมของการอัพเดตไดรเวอร์ในปัจจุบันนี้ ค่อนข้างง่ายกว่าในอดีตอย่างมาก แม้ว่าจะมีความหลากหลาย ในเรื่องของโมเดลและอุปกรณ์ แต่เครื่องมือในการคัดกรองและค้นหา ก็ทันสมัยมากขึ้น ทำให้เรื่องยาก กลายเป็นเรื่องง่ายๆ และยังมีการอัพเดตแบบอัตโนมัติอีกด้วย เช่นเดียวกับในการรวม Intel Driver 2021 ครั้งนี้ เราเตรียมมาให้สำหรับการเริ่มต้นของมือใหม่ และคนที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ด้วยลิงก์ในการดาวน์โหลดไดรเวอร์แบบต่างๆ มาให้เกือบครบ ส่วนถ้าใครติดปัญหาในการอัพเดตไดรเวอร์ นอกเหนือจากที่เราจัดเตรียมไว้ให้นี้ ก็สามารถสอบถามเข้ามาในคอมเมนต์ด้านล่างนี้กันได้เลยครับ

from:https://notebookspec.com/web/576309-update-intel-driver-2021

รวม nVidia driver 2020 วิธีดาวน์โหลด ติดตั้งและปรับแต่ง เล่นเกมลื่น

สำหรับคนที่เป็นคอเกม แล้วเพิ่งประกอบคอมหรือซื้อการ์ดจอใหม่ แต่เล่นเกมกลับไม่ลื่นไหล อาจเป็นเพราะคุณยังไม่ได้อัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอ เรารวม nVidia Driver 2020 แบบครบชุดมาให้ ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดไดรเวอร์ อัพเดต และการปรับแต่งใช้งาน เพื่อให้การเล่นเกมลื่นขึ้น

nvidia driver cov3

รวม nVidia Driver 2020 ดาวน์โหลด ติดตั้งและปรับแต่ง

ทำไมต้องอัพเดตไดรเวอร์

รวม nVidia Driver 2020

หลายคนอาจมีคำถามว่า ถ้าไม่อัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอได้หรือไม่ คำตอบคือใช้งานได้ แต่ถ้าไม่ได้อัพเดตนานๆ หรือเป็นเวอร์ชั่นที่เก่ามากๆ บางครั้งอาจมีต่อการเล่นเกมใหม่ๆ หรือเกมเก่าๆ บางเกม ก็อาจไม่ไหลลื่นเท่าที่ควร เพราะต้องให้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และไดรเวอร์ทำงานร่วมกัน ระบบจึงจะสามารถ Optimize ให้สามารถขับเคลื่อนการ์ดจอได้อย่างเต็มที่

รวม nVidia Driver 2020

นอกจากนี้หากสังเกตข้อมูลในการอัพเดตแต่ละครั้ง ไดรเวอร์จะมาพร้อมการแก้ไขบั๊กหรือความผิดปกติบางอย่าง ที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานซอฟต์แวร์หรือตัวเกม ซึ่งส่งผลให้ระบบทำงานได้ตามปกติ หรือบางครั้งก็เป็นการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามาให้กับคอเกมได้ใช้ รวมไปถึงการปรับแต่งฟีเจอร์ สำหรับการใช้งานที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของภาพในเกม และประสิทธิภาพในการประมวลผล ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การอัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอ มีความสำคัญทั้งในแง่ของการทำให้การ์ดจอตัวเดิมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และการ์ดจอใหม่ ก็ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพนั่นเอง

วิธีการดาวน์โหลดไดรเวอร์ nVIDIA

รวม nVidia Driver 2020

การรวม NVidia Driver 2020 กับวิธีใช้งานต่างๆ เริ่มต้นให้เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์สำหรับดาวน์โหลดไดรเวอร์ nVIDIA แล้วเข้าสู่การเริ่มต้นดาวน์โหลดไดรเวอร์ได้ทันที

รวม nVidia Driver 2020

Product Type: เลือกรูปแบบของการ์ดจอที่คุณใช้ มีให้เลือกทั้งที่เป็น GeForce, Titan, Quadro และอื่นๆ ในกรณีที่เป็นการ์ดจอที่ใช้ทั่วไป เลือกที่ “GeForce”

รวม nVidia Driver 2020

Product Series: ซีรีส์ของการ์ดจอ ซึ่งจะมีทั้งที่เป็นการ์ดจอพีซีเดสก์ทอป และการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค หากเป็นโน๊ตบุ๊ค จะมี (Notebooks) ต่อท้ายซีรีส์

รวม nVidia Driver 2020

Product: จะเป็นโมเดลหรือรุ่นของการ์ดจอนั้นๆ เช่น GeForce GTX 1050 หรือ GeForce RTX 2080 เป็นต้น

รวม nVidia Driver 2020

Operating System: จะให้เลือกให้ตรงกับระบบปฏิบัติการที่ใช้ เช่น Windows 10 64-bit หรือ Windows 7, Windows 8.1 เป็นต้น

รวม nVidia Driver 2020

Download Type: มีให้เลือก 2 แบบคือ Game Ready Driver (GRD) หรือ Studio Driver (SD)

Language: เป็นการเลือกภาษา ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกเป็นภาษาอังกฤษในแบบสากล

รวม nVidia Driver 2020

เมื่อเลือกข้อมูลจากตัวกรองทั้งหมด ให้คลิ๊กที่ Search เพื่อทำการค้นหาไดรเวอร์ใหม่ล่าสุด สำหรับการ์ดจอที่คุณมี

วิธีติดตั้งไดรเวอร์

รวม nVidia Driver 2020

เริ่มแรกให้ดับเบิลคลิ๊กที่ไฟล์ติดตั้งไดรเวอร์ nVIDIA ที่ดาวน์โหลดมาได้ก่อนหน้านี้ จากนั้นระบบจะเข้าสู่หน้าจอติดตั้ง ซึ่งจะมีให้เลือกทั้ง 2 แบบคือ

  • nVIDIA GeForce Driver & GeForce Experience: สำหรับคนที่ต้องการอัพเดตโปรแกรม GeForce ใหม่ไปพร้อมกับไดรเวอร์
  • nVIDIA GeForce Driver: สำหรับคนที่ต้องการติดตั้งแค่ไดรเวอร์การ์ดจอเท่านั้น

เมื่อเลือกแล้ว ให้คลิ๊กที่ Agree and Continue ที่เป็นปุ่มสีเขียว

รวม nVidia Driver 2020

จากนั้นจะเข้าสู่หน้าต่างถัดไปคือ Option ในการติดตั้ง มีให้เลือก 2 แบบเช่นกันคือ Express เน้นแบบเร่งด่วน ให้เป็นรูปแบบมาตรฐานไป ส่วนถ้าต้องการเลือกเฉพาะฟังก์ชั่น ให้เลือก Custom ได้เช่นกัน แล้วคลิ๊ก Next

รวม nVidia Driver 2020

ในกรณีที่เลือก Custom จะเห็นว่ามีหน้าต่างเพิ่มขึ้นมา เป็นตัวเลือกในการติดตั้ง ตามความต้องการของคุณ หัวข้อใดไม่ต้องการ สามารถเอาเครื่องหมายหน้าฟังก์ชั่นนั้นๆ ออกได้ ซึ่งในที่นี้แนะนำว่าให้อัพเดตทั้งหมด เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเพิ่มเติมกันในภายหลัง แล้วคลิ๊ก Next

รวม nVidia Driver 2020

จากนั้นรอจนกว่าระบบจะทำการติดตั้งไดรเวอร์เสร็จสิ้น

รวม nVidia Driver 2020

เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ก็สามารถกด Close ได้เลย หรือถ้าให้พร้อมสำหรับการใช้งาน อาจรีสตาร์ทวินโดว์อีกครั้ง ก็ถือว่าเสร็จสิ้น สังเกตจากตัวเลขเวอร์ชั่นด้านบนของหน้าต่างโปรแกรม จะระบุไว้ว่า 460.89 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดสำหรับกราฟิกการ์ดรุ่นที่ใช้อยู่นี้

อัพเดตไดรเวอร์แบบอัตโนมัติได้หรือไม่?

รวม nVidia Driver 2020

รวม NVidia Driver 2020 ครั้งนี้หลายคนคงอยากทราบว่าจะสามารถอัพเดตไดรเวอร์ nVIDIA แบบอัตโนมัติได้หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันก็มีโปรแกรมสำหรับอัพเดตไดรเวอร์ฟรีให้เลือกมากมาย อาทิ Driver Booster, Driver Talent, Free Driver Scout หรือ DriverHub เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วก็พอจะให้เซ็ตเพื่อใช้งานได้ เพียงแต่ส่วนใหญ่โปรแกรมเหล่านี้ จะเน้นที่ตรวจเช็คฮาร์ดแวร์ และอัพเดตเวอร์ชั่นล่าสุด โดยจะแจ้งเตือนเราก่อน เพียงแต่ในบางครั้งฮาร์ดแวร์อย่างการ์ดจอ ก็มีหลายซีรีส์ หลายเวอร์ชั่น ในกราฟิกชุดเดียวกัน ดังนั้นโปรแกรมอาจไม่สามารถคัดกรองตามที่เราต้องการได้ละเอียดมากพอ ซึ่งก็อาจส่งผลต่อการใช้งานด้วยเช่นกัน

ติดตั้งไดรเวอร์การ์ดจอไม่ได้ ทำอย่างไร?

มีหลายคนพบปัญหา ไม่สามารถติดตั้งไดรเวอร์ได้ แม้จะดาวน์โหลดในเวอร์ชั่นที่เหมาะสมมาใช้แล้วก็ตาม ปัญหานี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยวิธีแก้ไขที่มักมีการใช้กัน และส่วนใหญ่ได้ผลคือ

รวม nVidia Driver 2020

Update Windows: เป็นวิธีค่อนข้างพื้นฐาน และหลายคนมักจะมองข้ามไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่มีเครื่องเก่า ไม่ค่อยได้อัพเดตวินโดว์ หรือปิด Update ก็มักจะเจอกับปัญหานี้ โดยเฉพาะไดรเวอร์ใหม่ๆ จะรอเช็คอัพเดตของวินโดว์ ซึ่งหากไม่ได้อัพเดต Patch ใหญ่ ก็มีโอกาสติดตั้งไดรเวอร์ใหม่ไม่ได้เช่นกัน ส่วนวิธีการ Update Windows 10 นั้นก็เพียง เข้าไปที่ Settings > Update & Security > Check Update แล้วรอให้การอัพเดตและติดตั้งเสร็จสิ้น จากนั้นให้ลองติดตั้งไดรเวอร์ nVIDIA ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

DDU: หรือ Display Driver Uninstall ที่มาพร้อมฟังก์ชั่นในการ Uninstall หรือลบไดรเวอร์การ์ดจอเดิมออกไป เพื่อแก้ปัญหาการติดตั้งไดรเวอร์ใหม่ไม่ได้หรือไดรเวอร์ที่ใช้อยู่เดิมไม่มีประสิทธิภาพ ต้องการติดตั้งไดรเวอร์ใหม่เข้าไปแบบสะอาดหมดจด ไม่มีสิ่งตกค้างเช่น รีจิสทรีหรือไฟล์ติดตั้งเดิม ที่อาจส่งผลต่อการทำงานบนไดรเวอร์การ์ดจอเวอร์ชั่นใหม่นั่นเอง แต่สำหรับ DDU นี้จะมีข้อดีคือ กรณีที่อัพเดตไดรเวอร์ใหม่แล้วมีปัญหา อยากจะใช้ไดรเวอร์เก่า ก็ถอดถอนได้สะดวกดีทีเดียว

ปรับแต่งไดรเวอร์ nVIDIA สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพ

และสำหรับใครที่ติดตั้งไดรเวอร์ nVIDIA เป็นที่เรียบร้อย แล้วอยากให้กราฟิกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือให้เหมาะกับการใช้งานมากขึ้น ก็ยังมีวิธีในการปรับแต่งแบบง่ายๆ บนไดรเวอร์ ไม่ว่าจะเป็นพีซีเดสก์ทอปหรือโน๊ตบุ๊คก็ตาม ด้วยวิธีการง่ายๆ ในเบื้องต้นดังนี้

รวม nVidia Driver 2020

วิธีเปิดใช้งาน ให้คลิ๊กขวาบนหน้า Desktop และเลือก nVIDIA Control Panel เมื่อหน้าต่างนี้ปรากฏขึ้น ให้เลือกเมนู Adjust Image settings with preview ให้หน้านี้จะเป็นการเปลี่ยนการทำงานของ Hardware-accelerated 3D ที่ใช้งานบน Direct3D หรือ OpenGL มีให้เลือกว่าจะเน้น Quality สำหรับความสวยงาม หรือเลือก Performance ถ้าต้องการประสิทธิภาพ

รวม nVidia Driver 2020
รวม nVidia Driver 2020

หัวข้อถัดมาคือ Manage 3D settings ในส่วนนี้จะให้ผู้ใช้ เลือกการทำงานของกราฟิกการ์ด โดยเฉพาะเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่อาจมีการ์ดจอบนซีพียูและการ์ดจอแยก nVIDIA ซึ่งหากต้องการให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเกมหรือแอพฯ นั้นๆ ดีขึ้น ด้วยการระบุไปเลยว่า หากเปิดแอพฯ นี้ ให้ใช้การ์ดจอแยก ก็สามารถทำได้เช่นกัน

รวม nVidia Driver 2020

ซึ่งโดยปกติระบบจะมีให้เลือกทั้ง Integrate graphic หรือออนซีพียู, High Performance nVIDIA Processor รวมไปถึง Auto select ซึ่งหากคุณใช้งานโน๊ตบุ๊ค ขณะที่เสียบชาร์จไฟอยู่ ก็สามารถเลือกการ์ดจอแยก nVIDIA ได้เลย แต่ถ้าใช้ข้างนอก ต้องการประหยัดแบตด้วย ก็เลือก Integrate graphic ได้ ส่วนถ้าไม่อยากยุ่งยาก ก็ให้เลือก Auto select ได้เลย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับวิธีง่ายๆ ในการดาวน์โหลด ติดตั้งและปรับแต่งไดรเวอร์ nVIDIA สำหรับคนที่เพิ่งซื้อการ์ดจอมาใหม่ หรืออัพเดตไดรเวอร์เก่าบนการ์ดจอตัวเดิม รวมไปถึงผู้ที่ใช้โน๊ตบุ๊คเกมมิ่ง น่าจะพอคลายข้อสงสัยกันไปได้บ้างแล้ว ส่วนใครที่มีติดขัดขั้นตอนใด ก็ส่งมาสอบถามกันได้นะครับ

from:https://notebookspec.com/web/553824-howto-install-nvidia-driver-2020