คลังเก็บป้ายกำกับ: THAILAND_SMART_CITY_EXPO_2022

รัฐบาลหนุนงาน “Thailand Smart City Expo 2022” เต็มสูบ ในฐานะเวทีเปิดตัวเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วประเทศ เสริมคุณภาพชีวิตประชาชน [Guest Post]

รองนายกรัฐมนตรีให้เกียรติร่วมเปิดงาน “Thailand Smart City Expo 2022” งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระดับนานาชาติด้านเมืองอัจฉริยะ ระหว่าง 30 พ.ย.2 ธ.ค. นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชี้เป็นเวทีดันไทยก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่านความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ด้านผู้จัดงานเผยได้นำสินค้าและบริการทั้งไทยและนานาชาติร่วมแสดง พร้อมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้ความรู้ คาดผู้ร่วมงานไม่น้อยกว่า 8,000 คน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานพิธีเปิดงาน “Thailand Smart City Expo 2022” กล่าวว่า รัฐบาลมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หลายภาคส่วนมีความสนใจและตื่นตัวในการร่วมกันพัฒนาประเทศตามแนวทางการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 โดยมีเป้าหมายในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเมืองให้มีความน่าอยู่ อย่างยั่งยืน มีความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

ที่ผ่านมา ภาครัฐ ได้ส่งเสริมการพัฒนาเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการออกแบบนโยบายการขับเคลื่อนของประเทศ ให้เหมาะสมกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ และมีเมืองที่ได้รับ “ตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย” แล้ว 30 เมือง จาก 23 จังหวัด ซึ่งเป็นการแสดงถึงความพร้อมในการพัฒนาเมืองโดยมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

สำหรับการจัดงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระดับนานาชาติด้านเมืองอัจฉริยะ หรือ Thailand Smart City Expo 2022 จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะได้อย่างก้าวกระโดด และยั่งยืนเร็วยิ่งขึ้น

“การจะบรรลุถึงเป้าหมายในการพัฒนา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน สถาบันการศึกษา และพันธมิตร นานาประเทศ ซึ่งวันนี้ ถือเป็นหนึ่งในแบบอย่างของความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีต่อการพัฒนาประเทศอย่างมีส่วนร่วม” รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศทุกมิติ ผ่านนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” โดยมีเป้าหมายเพื่อการกระจายความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำของประชากร ในประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” และบูรณาการศาสตร์ที่หลากหลายเพื่อการพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ของผู้คน ตามบริบทของสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของพื้นที่ ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อเป็นกลไกที่เป็นรูปธรรม ในการผลักดันให้เกิดเมืองอัจฉริยะในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ  ที่ผ่านมามีเมืองยื่นข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองทั้งสิ้น 66 ข้อเสนอฯ และมีเมืองที่ได้รับการประกาศเป็น “เมืองอัจฉริยะ” แล้ว 30 พื้นที่ อาทิ ภูเก็ต ขอนแก่น พิษณุโลก อุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา เทศบาลนครระยอง เทศบาลเมืองแสนสุข เทศบาลนครยะลา เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงราย และ สามย่านสมาร์ตซิตี้ เป็นต้น ซึ่งพลวัตเหล่านี้จะกระตุ้นให้เมืองอื่น ๆ ที่มีความประสงค์จะดำเนินการได้มีต้นแบบของการพัฒนาเมืองต่อไป ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลยังให้ความสำคัญ  กับการสร้างบุคลากรด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จึงเกิดโครงการบ่มเพาะนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ หรือ Smart City Ambassadors ที่เป็นทูตเทคโนโลยี ลงพื้นที่ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกว่า 150 คน ในหน่วยงานร่วมพัฒนาเมืองใน 56 จังหวัด ทั่วประเทศ 

สำหรับการจัดงาน Thailand Smart City Expo 2022 นี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ขอใช้โอกาสนี้เป็นเวทีเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้สนใจสามารถมาศึกษาเรียนรู้ ตลอดจนระดมสมอง ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ทั้งยังเป็นการรวมตัวของผู้นำเมืองมากกว่า 100 เมือง ทำให้เกิดเครือข่ายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่เข็มแข็งในอนาคต รวมถึง จะมีพิธีมอบรางวัล The Smart City Solutions Awards 2022 เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่ผลงานต้นแบบของบริการเมืองอัจฉริยะ และเป็นต้นแบบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริการประชาชนต่อไป อีกทั้งการจัดกิจกรรมต่างๆ และองค์ความรู้ที่จะเกิดขึ้น ภายในงาน Thailand Smart City Expo 2022 นี้ จะช่วยเสริมให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทยสามารถพัฒนาได้แบบก้าวกระโดดอย่างยั่งยืน และเป็นรูปธรรม ยิ่งขึ้น

นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในฐานะผู้จัดงาน “Thailand Smart City Expo 2022” กล่าวว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และเข้ามาสู่การดำเนินชีวิตในทุกมิติ ดังนั้นทุกประเทศทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่ออำนวยความสะดวกและยกระดับการดำรงชีวิตของประชาชน และเสริมสร้างความปลอดภัยของพลเมือง ทั้งด้านที่อยู่อาศัย สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม

บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด จึงมองเห็นถึงความจำเป็นและการเติบโตของอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จึงจัดงาน “Thailand Smart City Expo 2022” งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระดับนานาชาติด้านเมืองอัจฉริยะขึ้น ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.–2 ธ.ค. นี้ เพื่อรวบรวมสินค้าและเทคโนโลยีฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาจัดแสดงให้ผู้บริหารเมือง ผู้นำชุมชน สามารถเลือกหาสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นที่จะสามารถต่อยอดความเสร็จของการพัฒนาเมืองให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะมีผู้ร่วมงานไม่น้อยกว่า 8,000 คน และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากพันธมิตรที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วทุกมุมโลกมาให้ความรู้ และจุดประกายแนวคิดการพัฒนาเมืองโดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมให้สอดรับกับอัตลักษณ์ของแต่ละเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสินค้า 7 กลุ่มที่ครอบคลุมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในทุกมิติ ได้แก่ระบบจัดการด้านพลังงาน ระบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ระบบโรงงานอุตสาหกรรมและร้านค้าปลีก ระบบด้านสุขภาพและโรงพยาบาล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบขนส่งและยานยนต์ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมกว่า 150 บูธ โดยภายในงานยังจะมีกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมงาน อาทิ สัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทุกด้านในการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ สร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญในหลายอุตสาหกรรม การจัดแสดงหุ่นยนต์อัจฉริยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Metaverse กับเทคโนโลยี AR และ 3D Interactive เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมงาน “Thailand Smart City Expo 2022” ได้ ระหว่างวันที่  30 พ.ย.–2 ธ.ค. นี้ ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยสามารถลงทะเบียนเข้าชมงานล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ https://thailandsmartcityexpo.com

 

from:https://www.techtalkthai.com/thailand-smart-city-expo-2022-guest-post/

Advertisement

ขอเชิญร่วมงาน Thailand Smart City Expo 2022 ภาพเมืองแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร มาดูได้ที่งานนี้เท่านั้น [Guest Post]

พบกับที่สุดแห่งงาน Hybrid Exhibition จัดร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ที่จะรวบรวมนวัตกรรมด้านเมืองอัจฉริยะ ทั้ง 7 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก เช่น 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗧𝗲𝗹𝗲𝗰𝗼𝗺 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗗𝗼𝗺𝗼𝘁𝗶𝗰𝘀 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗘𝗻𝗲𝗿𝗴𝘆 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗜𝗻𝗱𝘂𝘀𝘁𝗿𝘆 𝗮𝗻𝗱 𝗥𝗲𝘁𝗮𝗶𝗹 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗘𝗻𝘃𝗶𝗿𝗼𝗻𝗺𝗲𝗻𝘁 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗠𝗼𝗯𝗶𝗹𝗶𝘁𝘆 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗛𝗲𝗮𝗹𝘁𝗵𝗰𝗮𝗿𝗲 ภาพเมืองแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร มาดูได้ที่งานนี้เท่านั้น Thailand Smart City Expo 2022  ห้ามพลาด! 30 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม 2565 ณ ฮอลล์ 3-4 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

พบกับกิจกรรมและสัมมนา สร้างเสริมเมืองอัจฉริยะ

☑SMART TECHNOLOGIES พบเทคโนโลยีและโซลูชันจากกว่า 150+ แบรนด์ที่จะมาจัดแสดงประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ : พบกว่า 150+ แบรนด์ที่จะมาจัดแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อสานต่อโครงการพัฒนาทั้งในระดับประเทศ จังหวัด ชุมชน พร้อมเพิ่มศักยภาพให้กับโครงการอสังหาฯ ชั้นนำในภาคเอกชน งานสำหรับผู้เขียนและผู้ประมูลโครงการที่ไม่ควรพลาด


☑𝗦MART CITY INSIGHTS สัมมนากว่า 20+ หัวข้อจากผู้นำเมืองและผู้เชี่ยวชาญด้าน Smart City ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ : ไปฟังแนวคิดการบริหารพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับโลก กับสัมมนากว่า 20+ หัวข้อ โดยผู้นำเมืองในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่จะบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เจาะลึกแนวคิด นโยบายการส่งเสริมการลงทุนเมืองอัจฉริยะและกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า


☑𝗦MART CITIES 𝗦HOWCASE การจัดแสดงโครงการเมืองอัจฉริยะที่ได้รับการรับรองกว่า 30 เมืองของประเทศไทย : การจัดแสดงโครงการเมืองอัจฉริยะกว่า 30 เมืองของประเทศไทย โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษกิจดิจิทัล (depa) เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา ยกระดับคุณภาพในด้านสาธารณูปโภค และชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง

☑𝗦MART 𝗖OMPETITION ชมการแข่งขัน Drone Soccer 2022 ครั้งแรกในไทย จุดประกายแนวคิดด้านการขนส่งและความปลอดภัยสำหรับเมืองในอนาคต : ครั้งแรกในไทย! กับการแข่งขัน Drone Soccer 2022 ที่จะจัดขึ้นในงาน Thailand Smart City Expo 2022 เพื่อจุดประกายแนวคิด ต่อยอดระบบขนส่งอัจฉริยะและการรักษาความปลอดภัยสำหรับเมืองในอนาคต

ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะได้ที่งาน Thailand Smart City Expo 2022
ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

วันที่ : 30 November – 02 December 2022
เวลา :10.00-18.00 Hrs.
สถานที่ : Hall 3-4, G Floor, Queen Sirikit National Convention Center (QSNCC)
สอบถามเพิ่มเติม :  02-229-3524-5

from:https://www.techtalkthai.com/thailand-smart-city-expro-2022-hybrid-exhibition-guest-post/

ขอเชิญร่วมงาน Thailand Smart City Expo 2022 ภาพเมืองแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร มาดูได้ที่งานนี้เท่านั้น [Guest Post]

พบกับที่สุดแห่งงาน Hybrid Exhibition จัดร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ที่จะรวบรวมนวัตกรรมด้านเมืองอัจฉริยะ ทั้ง 7 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก เช่น 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗧𝗲𝗹𝗲𝗰𝗼𝗺 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗗𝗼𝗺𝗼𝘁𝗶𝗰𝘀 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗘𝗻𝗲𝗿𝗴𝘆 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗜𝗻𝗱𝘂𝘀𝘁𝗿𝘆 𝗮𝗻𝗱 𝗥𝗲𝘁𝗮𝗶𝗹 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗘𝗻𝘃𝗶𝗿𝗼𝗻𝗺𝗲𝗻𝘁 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗠𝗼𝗯𝗶𝗹𝗶𝘁𝘆 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗛𝗲𝗮𝗹𝘁𝗵𝗰𝗮𝗿𝗲 ภาพเมืองแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร มาดูได้ที่งานนี้เท่านั้น Thailand Smart City Expo 2022  ห้ามพลาด! 30 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม 2565 ณ ฮอลล์ 3-4 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

พบกับกิจกรรมและสัมมนา สร้างเสริมเมืองอัจฉริยะ

☑SMART TECHNOLOGIES พบเทคโนโลยีและโซลูชันจากกว่า 150+ แบรนด์ที่จะมาจัดแสดงประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ : พบกว่า 150+ แบรนด์ที่จะมาจัดแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อสานต่อโครงการพัฒนาทั้งในระดับประเทศ จังหวัด ชุมชน พร้อมเพิ่มศักยภาพให้กับโครงการอสังหาฯ ชั้นนำในภาคเอกชน งานสำหรับผู้เขียนและผู้ประมูลโครงการที่ไม่ควรพลาด


☑𝗦MART CITY INSIGHTS สัมมนากว่า 20+ หัวข้อจากผู้นำเมืองและผู้เชี่ยวชาญด้าน Smart City ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ : ไปฟังแนวคิดการบริหารพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับโลก กับสัมมนากว่า 20+ หัวข้อ โดยผู้นำเมืองในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่จะบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เจาะลึกแนวคิด นโยบายการส่งเสริมการลงทุนเมืองอัจฉริยะและกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า


☑𝗦MART CITIES 𝗦HOWCASE การจัดแสดงโครงการเมืองอัจฉริยะที่ได้รับการรับรองกว่า 30 เมืองของประเทศไทย : การจัดแสดงโครงการเมืองอัจฉริยะกว่า 30 เมืองของประเทศไทย โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษกิจดิจิทัล (depa) เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา ยกระดับคุณภาพในด้านสาธารณูปโภค และชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง

☑𝗦MART 𝗖OMPETITION ชมการแข่งขัน Drone Soccer 2022 ครั้งแรกในไทย จุดประกายแนวคิดด้านการขนส่งและความปลอดภัยสำหรับเมืองในอนาคต : ครั้งแรกในไทย! กับการแข่งขัน Drone Soccer 2022 ที่จะจัดขึ้นในงาน Thailand Smart City Expo 2022 เพื่อจุดประกายแนวคิด ต่อยอดระบบขนส่งอัจฉริยะและการรักษาความปลอดภัยสำหรับเมืองในอนาคต

ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะได้ที่งาน Thailand Smart City Expo 2022
ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

วันที่ : 30 November – 02 December 2022
เวลา :10.00-18.00 Hrs.
สถานที่ : Hall 3-4, G Floor, Queen Sirikit National Convention Center (QSNCC)
สอบถามเพิ่มเติม :  02-229-3524-5

from:https://www.techtalkthai.com/thailand-smart-city-expo-2022-hybrid-exhibition-guest-post/

“เมืองอัจฉริยะ” สร้างคุณภาพชีวิตให้คนเมือง Thailand Smart City Expro 2022 [Guest Post]

“เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City” เป็นหนึ่งในแนวทางที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกจังหวัดของประเทศ เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

คำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ไม่ใช่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต  รายได้ ที่อยู่อาศัย สุขภาพ ความปลอดภัยของทุกคนในเมืองนั้น หรือประเทศนั้นต้องดีขึ้นด้วย แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ปลอดภัยในรูปแบบการบริหารจัดการเมืองที่จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตของผู้คน ความปลอดภัย ประเทศไทยได้มีการกำหนดพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็เมืองอัจฉริยะต้นเเบบในแต่ละปี

โดยปี 2561-2562 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 10 เมืองใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ต่อมา ปี 2562-2563 มีการกำหนดเป้าหมายเมืองอัจฉริยะเป็น 30 เมืองใน 24 จังหวัด ปี 2563-2564 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 60 เมืองใน 30 จังหวัด และปี 2565 เมืองอัจฉริยะ 100 เมืองใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร  ภายใต้ความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น

ขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) กล่าวว่า การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City) คือ การทำอย่างไรให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งคำว่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไม่ได้หมายความว่า ต้องเป็นเมืองที่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม 100% แต่หมายถึงคนในพื้นที่นั้นๆ ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี มีรายได้ที่ดี มีความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย

“เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน จนปี 2562 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการดำเนินการเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง และได้เห็นโซลูชั่นต่างๆ หลังจากนั้นประเทศก็ได้มาขยายผลเกิดเมืองอัจฉริยะขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากการตีความของคำว่าเมืองอัจฉริยะสามารถดำเนินการได้หลากหลาย  จึงได้มีการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

5 หลักเกณฑ์ตั้ง “เมืองอัจฉริยะ” ในไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่าสำหรับหลักเกณฑ์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะประกอบด้วย 5 เกณฑ์สำคัญ คือ ดังนี้

1.ต้องกำหนดพื้นที่และเป้าหมายชัดเจน ว่าจะขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในรูปแบบไหน จะเป็นเมืองที่มีนวัตกรรมทั้งหมด 100% หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม Green หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เป็นต้น
2.ต้องมีแนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมือง จะต้องวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน มีสาธารณูปโภคที่จำเป็น มีระบบ และมีเทคโนโลยีต่างๆ ร่วมด้วย  
3.ต้องมีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองที่ปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เพียงข้อมูลด้านจำนวนคน จำนวนเศรษฐกิจ แต่เป็นชีวิตของคนในเมือง ต้องเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง  
4.ต้องมีบริการเมืองอัจฉริยะตามลักษณะ 7 ด้าน ได้แก่

  • สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
  • พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
  • เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)  
  • การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living )
  • การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
  • พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 
  • ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)

5.ต้องมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน คือ ไม่ได้พึ่งพิงงบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้คนภายนอกเข้ามาดำเนินการสนับสนุนได้

เปลี่ยน Mindset ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

ผศ.ดร.ณัฐพล  กล่าวอีกว่า ในการสร้างเมืองอัจฉริยะนั้น ดีป้าได้แบ่งเมืองเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมีประมาณ 70 เมืองที่เข้าร่วม และกลุ่มเมืองที่ได้รับการประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง ประมาณ 30 เมืองใน 23 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด

โดยการแบ่งเมืองออกเป็น 2 ประเภทนั้น เนื่องจากหากเป็นกลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะแสดงว่าอาจจะยังไม่ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์และกำลังจัดทำแผนงานอยู่ ส่วนกลุ่มที่ประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะแล้วนั้น กลุ่มนี้ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์แล้วเพียงแต่ในส่วนของการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะอาจจะไม่ได้ครบทั้ง 7 ด้าน

“อุปสรรคหลักของการสร้างเมืองอัจฉริยะ คือ Mindset แบบเดิมว่าเมืองอัจฉริยะต้องเป็นเรื่องที่ภาครัฐลงทุน ขาดความรู้ความเข้าใจว่าจริงๆ แล้วเมืองอัจฉริยะไม่ได้เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องลงทุนเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ทางดีป้า ได้มีการสร้างคนรุ่นใหม่ และพยายามจะดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเมืองอัจฉริยะ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

โดยมีการสร้างคนรุ่นใหม่ ลงไปทำงานกับคนในพื้นที่ ผ่านโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งรุ่นแรกดำเนินการ Youth Ambassador  หรือนักดิจิทัลพัฒนาเมืองไปแล้ว 30 คน ปีนี้จะเพิ่มเป็น 150 คน  เพื่อช่วยปรับมุมมอง เปลี่ยน Mindset ของคนในพื้นที่ ให้ร่วมกันขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

เพิ่มช่องทางลงทุนเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน

ขณะที่ในส่วนของภาคเอกชนนั้น ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวด้วยว่าดีป้าพยายามผลักดันให้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ต้องทำให้ภาคเอกชนได้กำไรจากการทำร่วมด้วย เพราะรอการลงทุนจากภาครัฐอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ   

ภาครัฐต้องสร้างระบบการลงทุนที่เหมาะสม โดยภาครัฐอาจต้องสร้างงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อขจัดข้อจำกัดในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ และเพิ่มโอกาส ช่องทางการลงทุนให้แก่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม  

“ตอนนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI: Board of Investment) ได้เพิ่มสิทธิแก่ผู้ที่จะนำโซลูชั่นไปใช้ในเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเขตเมืองอัจฉริยะสูงสุดถึง 8 ปี ซึ่งแสดงว่า ประชาชนจะรับการบริการที่ดี  โดยไม่ต้องอาศัยการลงทุนจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่สามารถหาช่องทางจากเอกชนไปทำงานร่วมกับภาครัฐในพื้นที่ และทางดีป้าได้จัดทำบัญชีบริการดิจิตอล เพื่อให้เอกชนเข้ามาลิสต์รายการที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เลือกใช้และผ่านกระบวนการพัสดุได้ง่ายขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

“เมืองอัจฉริยะ” ต้องแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจะเป็นเมืองอัจฉริยะได้ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนในพื้นที่อยู่แล้ว ดังนั้น เมืองอัจฉริยะจะต้องมีการกำหนดแนวทางอย่างชัดเจนว่าจะเป็นGoGreen ได้อย่างไร รวมถึงการแก้ปัญหาด้านมลพิษ ด้านน้ำ รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมทุกด้วย

การดูแลสุขภาพของคนในเมือง ทำอย่างไรให้คนในเมืองเข้าถึงการบริการสาธารณสุข และมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ที่เมืองอัจฉริยะต้องดำเนินการอยู่แล้ว เพียงแต่จะเป็นโจทย์หลักหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัญหาหลักของแต่ละเมืองร่วมด้วย ซึ่งแต่ละเมืองก็มีโจทย์หลักและปัญหาหลักที่แตกต่างกัน

โดยในปี 2566 ดีป้าจะมีการสร้างความร่วมมือในส่วนของท้องถิ่น และภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะมากขึ้น และพยายามทำให้เมืองอัจฉริยะมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนกัน เรียนรู้ ช่วยเหลือกัน รวมถึงพยายามหาโซลูชั่นใหม่ๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็น 5G  หรือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมมากขึ้น  

“การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย เป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ทุกคนไม่ว่าจะคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ และคนในอนาคต สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศจะเป็นการเปลี่ยนแปลง Ecosystem หรือระบบนิเวศของไทย ที่จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะภาคประชาชน ซึ่งเป็นพลัง มิติการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ เพราะถ้าอาศัยเพียงภาครัฐคงไม่สำเร็จ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

เปิดเวทีเมืองอัจฉริยะ Thailand Smart City Expo 2022

“Thailand Smart City Expo 2022” เป็นอีกหนึ่งงานของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทย ภายใต้ความร่วมมือของดีป้า  และบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เอ็น.ซี.ซี.) ร่วมจัดงานขึ้น ระหว่าง วันที่ 30 พ.ย.–2 ธ.ค. 65 ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และเกิดความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระหว่างผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ที่นำโซลูชั่นมาใช้ กับภาคประชาชน ชุมชนที่ถือเป็นผู้ใช้นวัตกรรม โซลูชั่นและร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งในส่วนของดีป้า จะนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ได้ดำเนินการไป และแผนเป้าหมายต่างๆ

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นรูปแบบไฮบริด มีการจัดแสดงครอบคลุม 7 กลุ่มประเภทสินค้า รวมกว่า 300 บูธ ได้แก่ ระบบจัดการด้านพลังงาน ระบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ระบบโรงงานอุตสาหกรรมและร้านค้าปลีก ระบบด้านสุขภาพและโรงพยาบาล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบขนส่งและยานยนต์ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

โดยภายในงานยังจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ สัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทุกด้านในการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ สร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญในหลายอุตสาหกรรม การจัดแสดงหุ่นยนต์อัจฉริยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Metaverse กับเทคโนโลยี AR และ 3D Interactive ผ่านแอปพลิเคชัน “Graffity Mappers”

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

 

from:https://www.techtalkthai.com/ncc-exhibition-thailand-smart-city-expro-2022/

“เมืองอัจฉริยะ” สร้างคุณภาพชีวิตให้คนเมือง Thailand Smart City Expro 2022 [Guest Post]

“เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City” เป็นหนึ่งในแนวทางที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกจังหวัดของประเทศ เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

คำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ไม่ใช่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต  รายได้ ที่อยู่อาศัย สุขภาพ ความปลอดภัยของทุกคนในเมืองนั้น หรือประเทศนั้นต้องดีขึ้นด้วย แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ปลอดภัยในรูปแบบการบริหารจัดการเมืองที่จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตของผู้คน ความปลอดภัย ประเทศไทยได้มีการกำหนดพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็เมืองอัจฉริยะต้นเเบบในแต่ละปี

โดยปี 2561-2562 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 10 เมืองใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ต่อมา ปี 2562-2563 มีการกำหนดเป้าหมายเมืองอัจฉริยะเป็น 30 เมืองใน 24 จังหวัด ปี 2563-2564 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 60 เมืองใน 30 จังหวัด และปี 2565 เมืองอัจฉริยะ 100 เมืองใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร  ภายใต้ความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น

ขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) กล่าวว่า การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City) คือ การทำอย่างไรให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งคำว่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไม่ได้หมายความว่า ต้องเป็นเมืองที่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม 100% แต่หมายถึงคนในพื้นที่นั้นๆ ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี มีรายได้ที่ดี มีความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย

“เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน จนปี 2562 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการดำเนินการเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง และได้เห็นโซลูชั่นต่างๆ หลังจากนั้นประเทศก็ได้มาขยายผลเกิดเมืองอัจฉริยะขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากการตีความของคำว่าเมืองอัจฉริยะสามารถดำเนินการได้หลากหลาย  จึงได้มีการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

5 หลักเกณฑ์ตั้ง “เมืองอัจฉริยะ” ในไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่าสำหรับหลักเกณฑ์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะประกอบด้วย 5 เกณฑ์สำคัญ คือ ดังนี้

1.ต้องกำหนดพื้นที่และเป้าหมายชัดเจน ว่าจะขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในรูปแบบไหน จะเป็นเมืองที่มีนวัตกรรมทั้งหมด 100% หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม Green หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เป็นต้น
2.ต้องมีแนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมือง จะต้องวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน มีสาธารณูปโภคที่จำเป็น มีระบบ และมีเทคโนโลยีต่างๆ ร่วมด้วย  
3.ต้องมีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองที่ปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เพียงข้อมูลด้านจำนวนคน จำนวนเศรษฐกิจ แต่เป็นชีวิตของคนในเมือง ต้องเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง  
4.ต้องมีบริการเมืองอัจฉริยะตามลักษณะ 7 ด้าน ได้แก่

  • สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
  • พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
  • เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)  
  • การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living )
  • การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
  • พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 
  • ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)

5.ต้องมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน คือ ไม่ได้พึ่งพิงงบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้คนภายนอกเข้ามาดำเนินการสนับสนุนได้

เปลี่ยน Mindset ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

ผศ.ดร.ณัฐพล  กล่าวอีกว่า ในการสร้างเมืองอัจฉริยะนั้น ดีป้าได้แบ่งเมืองเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมีประมาณ 70 เมืองที่เข้าร่วม และกลุ่มเมืองที่ได้รับการประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง ประมาณ 30 เมืองใน 23 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด

โดยการแบ่งเมืองออกเป็น 2 ประเภทนั้น เนื่องจากหากเป็นกลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะแสดงว่าอาจจะยังไม่ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์และกำลังจัดทำแผนงานอยู่ ส่วนกลุ่มที่ประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะแล้วนั้น กลุ่มนี้ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์แล้วเพียงแต่ในส่วนของการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะอาจจะไม่ได้ครบทั้ง 7 ด้าน

“อุปสรรคหลักของการสร้างเมืองอัจฉริยะ คือ Mindset แบบเดิมว่าเมืองอัจฉริยะต้องเป็นเรื่องที่ภาครัฐลงทุน ขาดความรู้ความเข้าใจว่าจริงๆ แล้วเมืองอัจฉริยะไม่ได้เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องลงทุนเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ทางดีป้า ได้มีการสร้างคนรุ่นใหม่ และพยายามจะดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเมืองอัจฉริยะ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

โดยมีการสร้างคนรุ่นใหม่ ลงไปทำงานกับคนในพื้นที่ ผ่านโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งรุ่นแรกดำเนินการ Youth Ambassador  หรือนักดิจิทัลพัฒนาเมืองไปแล้ว 30 คน ปีนี้จะเพิ่มเป็น 150 คน  เพื่อช่วยปรับมุมมอง เปลี่ยน Mindset ของคนในพื้นที่ ให้ร่วมกันขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

เพิ่มช่องทางลงทุนเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน

ขณะที่ในส่วนของภาคเอกชนนั้น ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวด้วยว่าดีป้าพยายามผลักดันให้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ต้องทำให้ภาคเอกชนได้กำไรจากการทำร่วมด้วย เพราะรอการลงทุนจากภาครัฐอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ   

ภาครัฐต้องสร้างระบบการลงทุนที่เหมาะสม โดยภาครัฐอาจต้องสร้างงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อขจัดข้อจำกัดในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ และเพิ่มโอกาส ช่องทางการลงทุนให้แก่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม  

“ตอนนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI: Board of Investment) ได้เพิ่มสิทธิแก่ผู้ที่จะนำโซลูชั่นไปใช้ในเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเขตเมืองอัจฉริยะสูงสุดถึง 8 ปี ซึ่งแสดงว่า ประชาชนจะรับการบริการที่ดี  โดยไม่ต้องอาศัยการลงทุนจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่สามารถหาช่องทางจากเอกชนไปทำงานร่วมกับภาครัฐในพื้นที่ และทางดีป้าได้จัดทำบัญชีบริการดิจิตอล เพื่อให้เอกชนเข้ามาลิสต์รายการที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เลือกใช้และผ่านกระบวนการพัสดุได้ง่ายขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

“เมืองอัจฉริยะ” ต้องแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจะเป็นเมืองอัจฉริยะได้ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนในพื้นที่อยู่แล้ว ดังนั้น เมืองอัจฉริยะจะต้องมีการกำหนดแนวทางอย่างชัดเจนว่าจะเป็นGoGreen ได้อย่างไร รวมถึงการแก้ปัญหาด้านมลพิษ ด้านน้ำ รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมทุกด้วย

การดูแลสุขภาพของคนในเมือง ทำอย่างไรให้คนในเมืองเข้าถึงการบริการสาธารณสุข และมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ที่เมืองอัจฉริยะต้องดำเนินการอยู่แล้ว เพียงแต่จะเป็นโจทย์หลักหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัญหาหลักของแต่ละเมืองร่วมด้วย ซึ่งแต่ละเมืองก็มีโจทย์หลักและปัญหาหลักที่แตกต่างกัน

โดยในปี 2566 ดีป้าจะมีการสร้างความร่วมมือในส่วนของท้องถิ่น และภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะมากขึ้น และพยายามทำให้เมืองอัจฉริยะมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนกัน เรียนรู้ ช่วยเหลือกัน รวมถึงพยายามหาโซลูชั่นใหม่ๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็น 5G  หรือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมมากขึ้น  

“การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย เป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ทุกคนไม่ว่าจะคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ และคนในอนาคต สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศจะเป็นการเปลี่ยนแปลง Ecosystem หรือระบบนิเวศของไทย ที่จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะภาคประชาชน ซึ่งเป็นพลัง มิติการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ เพราะถ้าอาศัยเพียงภาครัฐคงไม่สำเร็จ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

เปิดเวทีเมืองอัจฉริยะ Thailand Smart City Expo 2022

“Thailand Smart City Expo 2022” เป็นอีกหนึ่งงานของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทย ภายใต้ความร่วมมือของดีป้า  และบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เอ็น.ซี.ซี.) ร่วมจัดงานขึ้น ระหว่าง วันที่ 30 พ.ย.–2 ธ.ค. 65 ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และเกิดความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระหว่างผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ที่นำโซลูชั่นมาใช้ กับภาคประชาชน ชุมชนที่ถือเป็นผู้ใช้นวัตกรรม โซลูชั่นและร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งในส่วนของดีป้า จะนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ได้ดำเนินการไป และแผนเป้าหมายต่างๆ

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นรูปแบบไฮบริด มีการจัดแสดงครอบคลุม 7 กลุ่มประเภทสินค้า รวมกว่า 300 บูธ ได้แก่ ระบบจัดการด้านพลังงาน ระบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ระบบโรงงานอุตสาหกรรมและร้านค้าปลีก ระบบด้านสุขภาพและโรงพยาบาล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบขนส่งและยานยนต์ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

โดยภายในงานยังจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ สัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทุกด้านในการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ สร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญในหลายอุตสาหกรรม การจัดแสดงหุ่นยนต์อัจฉริยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Metaverse กับเทคโนโลยี AR และ 3D Interactive ผ่านแอปพลิเคชัน “Graffity Mappers”

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

 

from:https://www.techtalkthai.com/ncc-exhibition-thailand-smart-city-expro-2022-guest-post/

“เมืองอัจฉริยะ” สร้างคุณภาพชีวิตให้คนเมือง Thailand Smart City Expo 2022 [Guest Post]

“เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City” เป็นหนึ่งในแนวทางที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกจังหวัดของประเทศ เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

คำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ไม่ใช่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต  รายได้ ที่อยู่อาศัย สุขภาพ ความปลอดภัยของทุกคนในเมืองนั้น หรือประเทศนั้นต้องดีขึ้นด้วย แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ปลอดภัยในรูปแบบการบริหารจัดการเมืองที่จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตของผู้คน ความปลอดภัย ประเทศไทยได้มีการกำหนดพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็เมืองอัจฉริยะต้นเเบบในแต่ละปี

โดยปี 2561-2562 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 10 เมืองใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ต่อมา ปี 2562-2563 มีการกำหนดเป้าหมายเมืองอัจฉริยะเป็น 30 เมืองใน 24 จังหวัด ปี 2563-2564 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 60 เมืองใน 30 จังหวัด และปี 2565 เมืองอัจฉริยะ 100 เมืองใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร  ภายใต้ความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น

ขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) กล่าวว่า การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City) คือ การทำอย่างไรให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งคำว่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไม่ได้หมายความว่า ต้องเป็นเมืองที่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม 100% แต่หมายถึงคนในพื้นที่นั้นๆ ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี มีรายได้ที่ดี มีความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย

“เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน จนปี 2562 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการดำเนินการเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง และได้เห็นโซลูชั่นต่างๆ หลังจากนั้นประเทศก็ได้มาขยายผลเกิดเมืองอัจฉริยะขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากการตีความของคำว่าเมืองอัจฉริยะสามารถดำเนินการได้หลากหลาย  จึงได้มีการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

5 หลักเกณฑ์ตั้ง “เมืองอัจฉริยะ” ในไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่าสำหรับหลักเกณฑ์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะประกอบด้วย 5 เกณฑ์สำคัญ คือ ดังนี้

1.ต้องกำหนดพื้นที่และเป้าหมายชัดเจน ว่าจะขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในรูปแบบไหน จะเป็นเมืองที่มีนวัตกรรมทั้งหมด 100% หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม Green หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เป็นต้น
2.ต้องมีแนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมือง จะต้องวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน มีสาธารณูปโภคที่จำเป็น มีระบบ และมีเทคโนโลยีต่างๆ ร่วมด้วย  
3.ต้องมีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองที่ปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เพียงข้อมูลด้านจำนวนคน จำนวนเศรษฐกิจ แต่เป็นชีวิตของคนในเมือง ต้องเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง  
4.ต้องมีบริการเมืองอัจฉริยะตามลักษณะ 7 ด้าน ได้แก่

  • สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
  • พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
  • เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)  
  • การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living )
  • การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
  • พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 
  • ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)

5.ต้องมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน คือ ไม่ได้พึ่งพิงงบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้คนภายนอกเข้ามาดำเนินการสนับสนุนได้

เปลี่ยน Mindset ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

ผศ.ดร.ณัฐพล  กล่าวอีกว่า ในการสร้างเมืองอัจฉริยะนั้น ดีป้าได้แบ่งเมืองเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมีประมาณ 70 เมืองที่เข้าร่วม และกลุ่มเมืองที่ได้รับการประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง ประมาณ 30 เมืองใน 23 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด

โดยการแบ่งเมืองออกเป็น 2 ประเภทนั้น เนื่องจากหากเป็นกลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะแสดงว่าอาจจะยังไม่ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์และกำลังจัดทำแผนงานอยู่ ส่วนกลุ่มที่ประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะแล้วนั้น กลุ่มนี้ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์แล้วเพียงแต่ในส่วนของการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะอาจจะไม่ได้ครบทั้ง 7 ด้าน

“อุปสรรคหลักของการสร้างเมืองอัจฉริยะ คือ Mindset แบบเดิมว่าเมืองอัจฉริยะต้องเป็นเรื่องที่ภาครัฐลงทุน ขาดความรู้ความเข้าใจว่าจริงๆ แล้วเมืองอัจฉริยะไม่ได้เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องลงทุนเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ทางดีป้า ได้มีการสร้างคนรุ่นใหม่ และพยายามจะดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเมืองอัจฉริยะ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

โดยมีการสร้างคนรุ่นใหม่ ลงไปทำงานกับคนในพื้นที่ ผ่านโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งรุ่นแรกดำเนินการ Youth Ambassador  หรือนักดิจิทัลพัฒนาเมืองไปแล้ว 30 คน ปีนี้จะเพิ่มเป็น 150 คน  เพื่อช่วยปรับมุมมอง เปลี่ยน Mindset ของคนในพื้นที่ ให้ร่วมกันขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

เพิ่มช่องทางลงทุนเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน

ขณะที่ในส่วนของภาคเอกชนนั้น ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวด้วยว่าดีป้าพยายามผลักดันให้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ต้องทำให้ภาคเอกชนได้กำไรจากการทำร่วมด้วย เพราะรอการลงทุนจากภาครัฐอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ   

ภาครัฐต้องสร้างระบบการลงทุนที่เหมาะสม โดยภาครัฐอาจต้องสร้างงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อขจัดข้อจำกัดในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ และเพิ่มโอกาส ช่องทางการลงทุนให้แก่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม  

“ตอนนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI: Board of Investment) ได้เพิ่มสิทธิแก่ผู้ที่จะนำโซลูชั่นไปใช้ในเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเขตเมืองอัจฉริยะสูงสุดถึง 8 ปี ซึ่งแสดงว่า ประชาชนจะรับการบริการที่ดี  โดยไม่ต้องอาศัยการลงทุนจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่สามารถหาช่องทางจากเอกชนไปทำงานร่วมกับภาครัฐในพื้นที่ และทางดีป้าได้จัดทำบัญชีบริการดิจิตอล เพื่อให้เอกชนเข้ามาลิสต์รายการที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เลือกใช้และผ่านกระบวนการพัสดุได้ง่ายขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

“เมืองอัจฉริยะ” ต้องแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจะเป็นเมืองอัจฉริยะได้ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนในพื้นที่อยู่แล้ว ดังนั้น เมืองอัจฉริยะจะต้องมีการกำหนดแนวทางอย่างชัดเจนว่าจะเป็นGoGreen ได้อย่างไร รวมถึงการแก้ปัญหาด้านมลพิษ ด้านน้ำ รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมทุกด้วย

การดูแลสุขภาพของคนในเมือง ทำอย่างไรให้คนในเมืองเข้าถึงการบริการสาธารณสุข และมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ที่เมืองอัจฉริยะต้องดำเนินการอยู่แล้ว เพียงแต่จะเป็นโจทย์หลักหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัญหาหลักของแต่ละเมืองร่วมด้วย ซึ่งแต่ละเมืองก็มีโจทย์หลักและปัญหาหลักที่แตกต่างกัน

โดยในปี 2566 ดีป้าจะมีการสร้างความร่วมมือในส่วนของท้องถิ่น และภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะมากขึ้น และพยายามทำให้เมืองอัจฉริยะมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนกัน เรียนรู้ ช่วยเหลือกัน รวมถึงพยายามหาโซลูชั่นใหม่ๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็น 5G  หรือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมมากขึ้น  

“การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย เป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ทุกคนไม่ว่าจะคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ และคนในอนาคต สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศจะเป็นการเปลี่ยนแปลง Ecosystem หรือระบบนิเวศของไทย ที่จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะภาคประชาชน ซึ่งเป็นพลัง มิติการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ เพราะถ้าอาศัยเพียงภาครัฐคงไม่สำเร็จ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

เปิดเวทีเมืองอัจฉริยะ Thailand Smart City Expo 2022

“Thailand Smart City Expo 2022” เป็นอีกหนึ่งงานของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทย ภายใต้ความร่วมมือของดีป้า  และบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เอ็น.ซี.ซี.) ร่วมจัดงานขึ้น ระหว่าง วันที่ 30 พ.ย.–2 ธ.ค. 65 ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และเกิดความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระหว่างผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ที่นำโซลูชั่นมาใช้ กับภาคประชาชน ชุมชนที่ถือเป็นผู้ใช้นวัตกรรม โซลูชั่นและร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งในส่วนของดีป้า จะนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ได้ดำเนินการไป และแผนเป้าหมายต่างๆ

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นรูปแบบไฮบริด มีการจัดแสดงครอบคลุม 7 กลุ่มประเภทสินค้า รวมกว่า 300 บูธ ได้แก่ ระบบจัดการด้านพลังงาน ระบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ระบบโรงงานอุตสาหกรรมและร้านค้าปลีก ระบบด้านสุขภาพและโรงพยาบาล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบขนส่งและยานยนต์ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

โดยภายในงานยังจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ สัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทุกด้านในการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ สร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญในหลายอุตสาหกรรม การจัดแสดงหุ่นยนต์อัจฉริยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Metaverse กับเทคโนโลยี AR และ 3D Interactive ผ่านแอปพลิเคชัน “Graffity Mappers”

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

 

from:https://www.techtalkthai.com/ncc-exhibition-thailand-smart-city-expo-2022-guest-post/

[Guest Post] ดีป้า ร่วมกับ เอ็น.ซี.ซี. จัดงาน Thailand Smart City Expo 2022 หนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

“ดีป้า” จับมือ “เอ็น.ซี.ซี.” ร่วมจัดงาน Thailand Smart City Expo 2022 งานเดียวเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เสริมความรู้เมืองอัจฉริยะ ผู้บริหารเมือง ผู้ร่วมประมูลโครงการ และประชาชนทั่วไป พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพในการพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ความต้องการของเมือง ขณะที่พันธมิตรทั้งจากภาครัฐ-เอกชน-ต่างประเทศ ร่วมโชว์นวัตกรรมคึกคัก อาทิ สมาคมไอโอที, สำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ, ผู้ประกอบการจีน-ญี่ปุ่น-มาเลเซียเกาหลี ฯลฯ ปักหมุดจัดงานหลังการจัดงานประชุม APEC วันที่ 30 พ.ย.–2 ธ.ค. 65 ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เอ็น.ซี.ซี.) เปิดเผยว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยี และนวัตกรรม ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และเข้ามาสู่การดำเนินชีวิตในทุกมิติ ฉะนั้นทุกประเทศทั่วโลกต่างมุ่งพัฒนาเมืองให้ก้าวไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต และเสริมสร้างความปลอดภัยของพลเมือง ทั้งด้านที่อยู่อาศัย สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลไทยก็ให้ความสำคัญและเดินหน้าพัฒนาเมืองอัจฉริยะมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ด้วยปัจจัยที่ได้กล่าวมานี้ เอ็น.ซี.ซี.ฯ จึงมองเห็นถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่จะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงมีแนวคิดที่จะจัดงาน Thailand Smart City Expo 2022 งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระดับนานาชาติด้านเมืองอัจฉริยะ ที่รวบรวมสินค้าและเทคโนโลยีฯ มาจัดแสดง เพื่อให้ผู้บริหารเมือง ผู้นำชุมชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสามารถเลือกหาสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น

“เอ็น. ซี. ซี. มีความยินดีที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เล็งเห็นศักยภาพและให้การสนับสนุนการจัดงาน Thailand Smart City Expo 2022 อย่างเป็นทางการในครั้งนี้ โดยเรามีเป้าหมายที่สัมพันธ์กันสอดคล้องตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ที่มุ่งมั่นส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง”นายศักดิ์ชัย กล่าว

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ได้ดึงพันธมิตรที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วทุกมุมโลกมาให้ความรู้ และจุดประกายแนวคิดการพัฒนาเมืองโดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมให้สอดรับกับอัตลักษณ์ของแต่ละเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พ.ย.–2 ธ.ค. 2565 ในรูปแบบไฮบริด มีการจัดแสดงครอบคลุม 7 กลุ่มประเภทสินค้า รวมกว่า 300 บูธ ได้แก่ ระบบจัดการด้านพลังงาน ระบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ระบบโรงงานอุตสาหกรรมและร้านค้าปลีก ระบบด้านสุขภาพและโรงพยาบาล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบขนส่งและยานยนต์ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยภายในงานยังจะมี กิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ สัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทุกด้านในการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ สร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญในหลายอุตสาหกรรม การจัดแสดงหุ่นยนต์อัจฉริยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Metaverse กับเทคโนโลยี AR และ 3D Interactive ผ่านแอปพลิเคชัน “Graffity Mappers”

ด้าน ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะแล้ว 30 พื้นที่ใน 23 จังหวัด อีกทั้งได้รับความเห็นชอบแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพิ่มเติมจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ ที่มี นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมาอีก15 พื้นที่ใน 14 จังหวัด

ดร.ภาสกร กล่าวต่อว่า กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทยจะต้องมีการบูรณาการการทำงานในทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม และตอบโจทย์ความต้องการอย่างตรงจุด ดังนั้นความร่วมมือกับ เอ็น.ซี.ซี. ในการจัดงาน Thailand Smart City Expo 2022 จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยผลักดันประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะได้อย่างสมบูรณ์ ผ่านการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่มุ่งเน้นให้ คน เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดแผนการพัฒนาเมือง รวมถึงโครงการที่ตอบสนองบริบทของพื้นที่ และความต้องการของประชาชนให้กับผู้บริหารเมือง ทั้งระดับประเทศ จังหวัด และชุมชน อันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ยกระดับสังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่มุ่งส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วประเทศ

โดยในงาน Thailand Smart City Expo 2022 ดีป้า ได้นำ Showcase ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมาจัดแสดง รวมถึงเปิดเวทีให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองอัจฉริยะมาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ ตลอดจนพิธีมอบรางวัล The Smart City Solution Awards 2022 เพื่อเป็นการส่งเสริมผลงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วย

ขณะที่ นายนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไอโอที กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม จะช่วยนำมาประเทศไทยไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ ซึ่งไอโอที (IoT : Internet of Things) คือเทคโนโลยีพื้นฐานในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานในด้าน ระบบ command center, การวางผังเมือง หรือ การประยุกต์ใช้ดาต้าที่มีส่วนช่วยในการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการต่อยอดเทคโนโลยีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหน่วยงานต่างๆ หรือเมืองต่างๆ จะสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาองค์กร ชุมชน เมืองหรือแม้แต่พัฒนาตัวเราเอง ได้อย่างเหมาะสม

ดังนั้น ความร่วมมือกับ เอ็น.ซี.ซี. ในครั้งนี้ทางสมาคมฯ และสมาชิกได้เตรียมนำผลงานต่างๆ ที่ได้ร่วมทำกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน รวมถึงกลุ่มสตาร์ทอัพ มาจัดแสดงไว้ภายในงาน ภายใต้ IoT Pavilion เพื่อโชว์นวัตกรรมจากบริษัทเทคโนโลยีในระดับตั้งแต่เล็ก-กลาง-ใหญ่ และไฮไลท์สำคัญคือการเปิดเวทีให้มีการนำเสนอไอเดียนวัตกรรมที่น่าสนใจหรือธุรกิจจากกลุ่มสตาร์ทอัพให้กับนักลงทุนเพื่อให้เกิดการร่วมทุนหรือการซื้อผลงานไปผลิตในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างการแข่งขันและยกระดับเทคโนโลยีให้เข้ากับบริบทเมืองไทย และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค รวมถึงการจัดเสวนาบอกเล่านวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เมืองควรมีเพื่อนำไปใช้งานหรือพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะได้อย่างเป็นรูปธรรม และแนวโน้มอุตสาหกรรมที่ควรมุ่งเน้นหรือ สนับสนุน เช่น BCG (Bio-Circular-Green Economy) การผสมผสานของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม, ESG (Environment-Social-Governance) แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนที่ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นต้น ซึ่งไอโอทีจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยเร่งกระบวนการให้เมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงและเติมเต็มความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนประเทศสู่เมืองอัจฉริยะต่อไป

นายประพัทธ์พงษ์ อุปลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า สำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) เป็นหน่วยงานช่วยพัฒนาเมืองอัจฉริยะทางด้านวิชาการที่รวมแหล่งองค์ความรู้จากนักวิจัย ดังนั้น ความร่วมมือกับ เอ็น.ซี.ซีฯ ในครั้งนี้จะเป็นเวทีถ่ายทอดองค์ความรู้ของสำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) ให้ไปสู่ท้องถิ่น เพื่อขยายผลงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้าง ผ่านการนำเสนองานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการแก้มลิงใต้ดิน Bangkok พื้นที่นำร่องสวนเบญจกิติ 130 ไร่ รองรับน้ำได้ 1 แสนลบ.ม. แก้ปัญหาน้ำท่วม กทม., โครงการออกแบบป้ายรถเมล์อัจฉริยะเตือนภัยฝุ่น ตรวจวัดฝุ่นได้แบบเรียลไทม์ ,โครงการพัฒนาเส้นทางจักรยานลอยฟ้าเลียบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 21 กิโลเมตร ส่งเสริมการท่องเที่ยว ออกกำลังกายและพัฒนาพื้นที่สาธารณะ สร้างทางเลือก ในการเดินทางให้กับประชาชน และโครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงรกร้างให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สวนสาธารณะฉบับกระเป๋า (Pocket Park) แห่งแรกชุมชนคลองเตย เป็นต้น ซึ่งผลงานวิจัยต่างๆ เหล่านี้ สามารถเป็นแนวทางให้ภาครัฐโดยเฉพาะองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นได้เข้าใจถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเมืองของตนและนำไปต่อยอดในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อพัฒนาเมืองต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมงาน Thailand Smart City Expo 2022 ได้ ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.–2 ธ.ค. 65 ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

สอบถามเพิ่มเติม 02-203-3525 Email: thailandsmartcity@nccexhibition.com
หรือดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ https://thailandsmartcityexpo.com/

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-depa-ncc-thailand-smart-city-expo-2022/