คลังเก็บป้ายกำกับ: RUCKUS

แนะนำนวัตกรรม Networking & Cabling ในงาน TTT 2022 Reinforce: Enterprise IT Infrastructure Day

อัปเดตนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านเครือข่ายล่าสุดสำหรับ Campus, Edge, Data Center และ Branch ไม่ว่าจะเป็น 5G, Software-defined Networking, SD-WAN, Wi-Fi 6 และ Cabling รวมไปถึงการทำ Network Modernization เพื่อพลิกโฉมองค์กรสู่การเป็น Digital Workplace ในงาน TTT 2022 Reinforce: Enterprise IT Infrastructure Day วันที่ 5 ตุลาคม 2020 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม BITEC

📆 วันพุธที่ 5 ตุลาคม 2022
⏰ เวลา 8:00 – 17:00 น.
🏢 Grand Hall, BITEC Bangna
🇹🇭 บรรยายภาษาไทยทุกเซสชัน

กำหนดการบรรยาย Track 3: Networking

13:30 – 14:00 พลิกโฉมธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์มการเชื่อมต่อ 5G อัจฉริยะ
คุณภุชงค์ เจริญสุข Enterprise Product Marketing Manager, AIS Business
14:00 – 14:30 Software-defined Networking แบบ Multi-domain สำหรับองค์กรขนาดใหญ่
คุณธิติ พิพัฒน์ธนวงศ์ Enterprise Networking Product Sales Specialist, Cisco
14:30 – 15:00 ขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Network Modernization
คุณประคุณ เลาหกิตติกุล Country Manager (Thailand), HPE Aruba
15:00 – 15:30 พักรับประทานอาหารว่างและเยี่ยมชมบูธ
15:30 – 16:00 ก้าวข้ามขีดจำกัดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และแพลตฟอร์มบนเครือข่าย พร้อมรับความต้องการทางธุรกิจยุคดิจิทัล
คุณสมยศ อุดมนิโลบล Country Manager, Alcatel-Lucent Enterprise
16:00 – 16:30 พลิกโฉมระบบเครือข่ายสู่การเชื่อมต่อแห่งอนาคต
คุณพงศ์ภวัน พูนประชา System Engineer (Thailand), CommScope และคุณธีระพล สุขประไพพัฒน์ System Engineer (Thailand & Myanmar), Ruckus
16:30 – 17:00 Lucky Draw และกล่าวปิดงานโดย TechTalkThai

งานสัมมนานี้เหมาะสำหรับ: CIO, CTO, CISO, DPO, IT Manager, Compliance Manager, Cloud Architect, Security Engineer, Security Analyst, Network Engineer, IT Admin, IT Auditor และผู้ที่สนใจด้าน Cloud, Data Center, Networking และ Cybersecurity

🎉 พิเศษ!! ลงทะเบียนและเข้าร่วมงานเพื่อลุ้นรับ MacBook Air (M2), AirPods Max และ Sandisk Extreme Portable SSD อย่างละ 2 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 130,000 บาท

ดูรายละเอียด กำหนดการ และลงทะเบียนได้ที่: https://conf.techtalkthai.com/re22/

เกี่ยวกับงานสัมมนา TTT 2022 Reinforce: Enterprise IT Infrastructure Day

จากซีรีส์งานสัมมนาออนไลน์ TTT Virtual Summit ที่มีคนติดตามมากกว่า 8,000 คน สู่งานสัมมนาใหญ่ Enterprise IT Infrastructure Day ส่งท้ายปี 2022 ในรูปแบบ Physical Event ภายใต้แนวคิด Reinforce เสริมแกร่งรากฐานระบบ IT พลิกโฉมสู่ธุรกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืนและมั่นคงปลอดภัย ภายในงานท่านจะได้อัปเดตแนวโน้ม นวัตกรรม แนวทางปฎิบัติ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจทางด้าน IT Infrastructure สำหรับองค์กร ครอบคลุมทั้งด้าน Cloud & Data Center, Networking, Cybersecurity และ Standards & Compliance ผ่านการบรรยายรวม 20 เซสชัน

นอกจากนี้ยังมีบูธจัดแสดงนวัตกรรมสำหรับองค์กรอีกกว่า 30 บูธ สำหรับให้ผู้เข้าร่วมงานขอคำปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแชร์ประสบการณ์ด้าน Enterprise IT Infrastructure โดยตรงกับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงาน องค์กร และบริษัท IT/Consult ชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

from:https://www.techtalkthai.com/ttt-2022-reinforce-track-3-networking/

Advertisement

How to : การใช้งาน CommScope RUCKUS Managed Wi-Fi ด้วย IoT Suite สำหรับอาคารพักอาศัย

โซลูชั่นสำหรับเจ้าของอาคารห้องพักอาศัย (MDU) เพื่อสร้างรายได้แบบใหม่จากค่าเช่าบริการ Wi-Fi ในขณะที่สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการของภาพรวม ผ่านแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะใหม่อีกด้วย

ลองนึกภาพว่าคอมมิวนิตี้ของอพาร์ทเม้นท์ในอนาคตที่สามารถทำได้มากกว่าเป็นเพียงบ้านและที่พักอาศัย ลองนึกภาพว่าคุณสามารถเฝ้าติดตามสิ่งต่างๆ เช่น พลังงานที่คุณใช้ไป หรือ การแจ้งให้คุณทราบหากมีคนพยายามจะบุกรุกเข้ามาในบ้านของคุณ หรือแม้แต่การแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำรั่วหรือไฟไหม้ ลองนึกภาพคอมมิวนิตี้ของอพาร์ทเม้นท์ที่ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย แต่เป็นสถานที่ที่ช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ คุณไม่จำเป็นต้องจินตนาการอีกต่อไป เพราะด้วยโซลูชั่น RUCKUS WIFI และ IoT Suite รวมทั้งแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะอื่นๆ สำหรับบ้านอีกมากมาย ที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างง่ายดายและคุ้มค่า ซึ่งมีประสิทธิภาพกับอาคารที่มีผู้พักอาศัยหลายยูนิตร่วมกัน

โซลูชั่นของ RUCKUS Wi-Fi และ IoT Suite ช่วยให้คุณทำทุกอย่างที่ต้องการได้ด้วยแอพพลิเคชั่นใหม่ ซึ่งรวมถึงระบบเครือข่ายที่ใช้ IP แบบปกติเป็นพื้นฐาน ช่วยปรับการจัดการให้คล่องตัวในขณะเดียวกันก็ช่วยลดค่าใช้จ่าย ยิ่งไปกว่านั้นคุณสามารถนำระบบใหม่นี้ไปใช้งานด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือ หลายเดือน

นี่คือประตูทางเข้าออนไลน์, เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ, เครื่องตรวจจับควันและการรั่วซึม, ชุดควบคุมไฟและผ้าม่านไร้สาย ซึ่งกำลังเป็นจริงตามที่เจ้าของอพาร์ทเม้นท์ต่างคาดหวัง และด้วยโซลูชั่น RUCKUS ที่มีการจัดการแบบรวมศูนย์ทำให้ทุกอย่างเป็นจริงได้

ด้วยระบบ Wi-Fi ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานทั่วโลกและเป็นเครือข่ายสำหรับ IoT แอพพลิเคชั่น จึงทำให้เป็นฟังก์ชั่นการใช้งานสมาร์ทโฮมอันชาญฉลาด สามารถเสนอให้กับผู้พักอาศัยได้ง่าย โดยมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมจากค่าเช่าต่อเดือนไม่มาก และเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับผู้พักอาศัยเพราะว่าบ้านของพวกเขามีการติดตั้งฟังก์ชั่นสมาร์ทโฮมในราคาที่ถูกลงมาก โดยพวกเขาสามารถติดตั้งได้เองและยิ่งดีมากสำหรับผู้จัดการฝ่ายอาคารและเจ้าของอาคาร เพราะไม่เพียงแต่จะสร้างรายได้ใหม่ๆเพิ่มเติมในแต่ละเดือน แต่ยังทำให้การจัดการในเรื่องสำคัญๆอย่าง ความปลอดภัยในคอมมิวนิตี้ การควบคุมการเข้าอาคาร การจัดการเกี่ยวกับการใช้พลังงานต่างๆ ทั้งหมดนี้สามารถทำได้ง่ายด้วยเครือข่ายเดียว จากการใช้รูปแบบเดิมที่มีหลายเครือข่าย ในการควบคุมและติดตั้งกล้อง เพื่อความปลอดภัยนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและค่อนข้างซับซ้อน

RUCKUS เสนอโซลูชั่น Wireless ที่ครบวงจรซึ่งรวมเทคโนโลยี IoT ใน Wi-Fi ที่ช่วยให้โซลูชั่นนี้ใช้งานง่ายและลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ IoT เพิ่มเติม ด้วยการเปิดใช้บริการจากเจ้าของห้องพักซึ่งสามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างไม่จำกัดและจะช่วยทำให้การบริหารจัดการดีขึ้นมาก ช่วยให้ใช้เวลากับไลฟ์สไตล์ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้อยู่ในเครือข่ายไร้สายเพียงหนึ่งเดียว ไม่จำเป็นต้องมีบิลเรียกเก็บหลายๆใบจากเครือข่าย IoT ตามแอพพลิเคชั่นต่างๆ

เครือข่ายของ RUCKUS เพียงหนึ่งเดียวที่รองรับแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะสำหรับบ้านได้ทั้งหมด ทั้งสมาร์ทอพาร์ทเม้นท์, สมาร์ทคอมมิวนิตี้และเจ้าของอาคารผู้มีวิสัยทัศน์ ภายในปี 2025 วงการไอทีคาดการณ์ว่าจะมีอุปกรณ์ IoT มากถึง 75,000 ล้านชิ้นที่ถูกนำมาใช้งานทั่วโลก กับความต้องการที่สูงมากขนาดนั้น หากไม่ใช่เพราะการเลือก managed wireless ที่มีความสามารถสูง เราจะไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ได้เลย ถึงเวลาแล้วที่จะเลิกจินตนาการและลงมือทำให้มันเป็นจริง

ท่านที่สนใจผลิตภัณฑ์ของ Ruckus สามารถติดต่อได้ที่อีเมล์ TH-Ruckus@ingrammicro.com

from:https://www.enterpriseitpro.net/how-to-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-commscope-ruckus-managed-wi-fi-%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2-iot-suite-%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%ab/

How to : การใช้งาน CommScope RUCKUS Managed Wi-Fi ด้วย IoT Suite สำหรับอาคารพักอาศัย

โซลูชั่นสำหรับเจ้าของอาคารห้องพักอาศัย (MDU) เพื่อสร้างรายได้แบบใหม่จากค่าเช่าบริการ Wi-Fi ในขณะที่สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการของภาพรวม ผ่านแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะใหม่อีกด้วย

ลองนึกภาพว่าคอมมิวนิตี้ของอพาร์ทเม้นท์ในอนาคตที่สามารถทำได้มากกว่าเป็นเพียงบ้านและที่พักอาศัย ลองนึกภาพว่าคุณสามารถเฝ้าติดตามสิ่งต่างๆ เช่น พลังงานที่คุณใช้ไป หรือ การแจ้งให้คุณทราบหากมีคนพยายามจะบุกรุกเข้ามาในบ้านของคุณ หรือแม้แต่การแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำรั่วหรือไฟไหม้ ลองนึกภาพคอมมิวนิตี้ของอพาร์ทเม้นท์ที่ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย แต่เป็นสถานที่ที่ช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ คุณไม่จำเป็นต้องจินตนาการอีกต่อไป เพราะด้วยโซลูชั่น RUCKUS WI-FI และ IoT Suite รวมทั้งแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะอื่นๆ สำหรับบ้านอีกมากมาย ที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างง่ายดายและคุ้มค่า ซึ่งมีประสิทธิภาพกับอาคารที่มีผู้พักอาศัยหลายยูนิตร่วมกัน

โซลูชั่นของ RUCKUS Wi-Fi และ IoT Suite ช่วยให้คุณทำทุกอย่างที่ต้องการได้ด้วยแอพพลิเคชั่นใหม่ ซึ่งรวมถึงระบบเครือข่ายที่ใช้ IP แบบปกติเป็นพื้นฐาน ช่วยปรับการจัดการให้คล่องตัวในขณะเดียวกันก็ช่วยลดค่าใช้จ่าย ยิ่งไปกว่านั้นคุณสามารถนำระบบใหม่นี้ไปใช้งานด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือ หลายเดือน

นี่คือประตูทางเข้าออนไลน์, เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ, เครื่องตรวจจับควันและการรั่วซึม, ชุดควบคุมไฟและผ้าม่านไร้สาย ซึ่งกำลังเป็นจริงตามที่เจ้าของอพาร์ทเม้นท์ต่างคาดหวัง และด้วยโซลูชั่น RUCKUS ที่มีการจัดการแบบรวมศูนย์ทำให้ทุกอย่างเป็นจริงได้

ด้วยระบบ Wi-Fi ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานทั่วโลกและเป็นเครือข่ายสำหรับ IoT แอพพลิเคชั่น จึงทำให้เป็นฟังก์ชั่นการใช้งานสมาร์ทโฮมอันชาญฉลาด สามารถเสนอให้กับผู้พักอาศัยได้ง่าย โดยมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมจากค่าเช่าต่อเดือนไม่มาก และเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับผู้พักอาศัยเพราะว่าบ้านของพวกเขามีการติดตั้งฟังก์ชั่นสมาร์ทโฮมในราคาที่ถูกลงมาก โดยพวกเขาสามารถติดตั้งได้เองและยิ่งดีมากสำหรับผู้จัดการฝ่ายอาคารและเจ้าของอาคาร เพราะไม่เพียงแต่จะสร้างรายได้ใหม่ๆเพิ่มเติมในแต่ละเดือน แต่ยังทำให้การจัดการในเรื่องสำคัญๆอย่าง ความปลอดภัยในคอมมิวนิตี้ การควบคุมการเข้าอาคาร การจัดการเกี่ยวกับการใช้พลังงานต่างๆ ทั้งหมดนี้สามารถทำได้ง่ายด้วยเครือข่ายเดียว จากการใช้รูปแบบเดิมที่มีหลายเครือข่าย ในการควบคุมและติดตั้งกล้อง เพื่อความปลอดภัยนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและค่อนข้างซับซ้อน

RUCKUS เสนอโซลูชั่น Wireless ที่ครบวงจรซึ่งรวมเทคโนโลยี IoT ใน Wi-Fi ที่ช่วยให้โซลูชั่นนี้ใช้งานง่ายและลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ IoT เพิ่มเติม ด้วยการเปิดใช้บริการจากเจ้าของห้องพักซึ่งสามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างไม่จำกัดและจะช่วยทำให้การบริหารจัดการดีขึ้นมาก ช่วยให้ใช้เวลากับไลฟ์สไตล์ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้อยู่ในเครือข่ายไร้สายเพียงหนึ่งเดียว ไม่จำเป็นต้องมีบิลเรียกเก็บหลายๆใบจากเครือข่าย IoT ตามแอพพลิเคชั่นต่างๆ

เครือข่ายของ RUCKUS เพียงหนึ่งเดียวที่รองรับแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะสำหรับบ้านได้ทั้งหมด ทั้งสมาร์ทอพาร์ทเม้นท์, สมาร์ทคอมมิวนิตี้และเจ้าของอาคารผู้มีวิสัยทัศน์ ภายในปี 2025 วงการไอทีคาดการณ์ว่าจะมีอุปกรณ์ IoT มากถึง 75,000 ล้านชิ้นที่ถูกนำมาใช้งานทั่วโลก กับความต้องการที่สูงมากขนาดนั้น หากไม่ใช่เพราะการเลือก managed wireless ที่มีความสามารถสูง เราจะไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ได้เลย ถึงเวลาแล้วที่จะเลิกจินตนาการและลงมือทำให้มันเป็นจริง

ท่านที่สนใจผลิตภัณฑ์ของ Ruckus สามารถติดต่อได้ที่อีเมล์ TH-Ruckus@ingrammicro.com

from:https://www.enterpriseitpro.net/commscope-ruckus-managed-wi-fi/

[VDO] ทดสอบจริง AP จาก COMMSCOPE RUCKUS ให้ประสิทธิภาพเต็มเปี่ยม

ในเดือนมีนาคม 2021 บริษัท Packet6 ได้ทำการทดสอบ Access points cloud-managed มาตรฐาน Wi-Fi 6 (APs) โดยใช้ Cloud-Managed ทั้งหมดจากผู้ให้บริการ 5 ราย และ Access Point ที่ใช้ในการสตรีมจาก 4 แบรนด์ ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยการใช้งานจริง ที่มีปริมาณค่อนข้างหนาแน่น (high-density environment)

สำหรับวีดีโอนี้แสดงให้เห็นถึงบางส่วนของการทดสอบของแต่ละช่วงที่ AP ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อส่งมอบภาพที่มีความละเอียดคมชัดสูงไม่มีการติดขัดสำหรับวีดีโอระดับ HD ด้วยการสตรีมต่อผู้เข้าชมถึง 30 clients ขณะที่เครือข่ายต้องแบกรับข้อมูลเพิ่มขึ้นรวมถึงการส่งข้อมูลเสียงที่เกิดขึ้น โดยการทดสอบฉบับเต็มได้เปิดเผยให้เห็นว่าภายใต้ข้อมูลที่ส่งไปพร้อมกัน ทั้งเสียงและวีดีโอที่ต้องสตรีมให้กับผู้เข้าชมมากถึง 60 clients มีเพียง CommScope RUCKUS® AP เท่านั้นที่ได้สามารถรองรับตามมาตราฐานบริการในระดับองค์กร

เพื่อทดสอบว่า AP หนึ่งเครื่องสามารถส่งมอบภาพที่คมชัดด้วยความละเอียดสูง กับวีดีโอระดับ HD ต่อผู้เข้าชม 30 clients และได้มาตราฐานตามการวัดคุณภาพของเสียง VoIP MOS และยังสามารถรองรับปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้อีกถึง 30 clients

การทดสอบ
AP แต่ละแบรนด์ที่ทดสอบทำการสตรีมที่ความละเอียด 1080p ไปยังแล็ปท็อป (Dell) ที่เปิดใช้งานอยู่บน Wi-Fi 6 จำนวน 30 เครื่อง หลังจากผ่านไป 1 นาที เมื่อเครือข่ายเชื่อมต่อ จึงได้เพิ่มแท็บเล็ต (Apple iPad) จำนวน 5 เครื่องบน Wi-Fi 5 ที่มีการสร้างคอลแบบ VoIP เสมือนกำลังใช้งานจริง และนอกจากนี้ยังได้เพิ่ม แล็ปท็อป/แท็บเล็ต ที่กำลังใช้งานในการดาวน์โหลดไฟล์ขนาดต่างๆบน Wi-Fi 5 อีกถึง 25 เครื่อง ซึ่งเชื่อมต่อด้วย AP ตัวเดียวกัน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://packet6.com/wifi6-ap-stress-test เพื่ออ่านเนื้อหาได้จากบล็อกโพสต์ต่างๆของ Packet6 และ www.wifi6stresstest.com สำหรับรายงานฉบับเต็ม
ติดต่อ TH-Ruckus@ingrammicro.com

from:https://www.enterpriseitpro.net/commscope-ruckus-2/

เรื่องราวของเหล่าสุนัข COMMSCOPE ที่จะทำให้เห็นถึงความง่ายดายในการใช้งาน RUCKUS Unleash

เพื่อนขนปุยจอมป่วนซึ่งจบการศึกษาจากสถาบันฝึกอบรบ CommScope’s Ruckus Unleashed แสดงให้เห็นถึงความง่ายดายในการนำ Ruckus Unleashed Access Point (AP)ซึ่งไม่จำเป็นต้องมี ผู้ควบคุมของเราไปใช้งาน เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก รับชมความคล่องแคล่วอันน่าทึ่งของเหล่าสุนัขที่นำ Unleashed Aps ไปใช้งานในคลังสินค้า, สำนักงานและร้านกาแฟ มันง่ายมากๆ มนุษย์ก็ทำได้!

AP ของ CommScope Ruckus มีมาตรฐาน Wifi ล่าสุดของ IEEE นั่นก็คือ IEEE 802.11ax หรือ Wifi6 ระดับ Multigigabit ที่สามารถรับส่งข้อมูลแบบทั้ง SU และ MU MIMO บนย่านความถี่ 5 GHz และ 2.4 GHz ซึ่งรองรับจำนวนอุปกรณ์ที่ใช้งานจำนวนเยอะ ซึ่งมีหลายรุ่นให้เลือกใช้งานสำหรับ AP Indoor โดยรุ่นที่เป็น Indoor จะสามารถใช้งานในพื้นที่ของอาคารและมีการกระจายสัญญาณอย่างทั่วถึง CommScope Ruckus AP ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม คลื่นในการรับส่งข้อมูลมีการทำงานที่เสถียร รวดเร็วและแรงที่สุด อีกทั้งยังรองรับระบบ Security ที่เป็น WPA 2 และ WPA 3 ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ที่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งมีคุณสมบัติของ AP Indoor มีดังนี้

• รองรับการทำงานแบบ Dual-band, Dual-concurrent ซึ่งมีการสนับสนุนด้วยกันหลายหลายแบบ มีทั้งน้อยที่สุดตั้งแต่ 2 spatial stream (2×2:2) จนถึงมากที่สุดที่ 8 spatial steam (8×8:8)
• รองรับจำนวนอุปกรณ์ได้สูงสุดที่ 1024 อุปกรณ์พร้อมๆกัน
• 802.11ax สามารถทำ data rate ได้สูงสุดที่ 2974 Mbps
• ในรุ่นของ 802.11ax จะมาพร้อมกับพอร์ท 2.5 GbE Ethernet เพื่อให้สามารถรองรับจำนวน data rate ได้สูงสุดที่ 2974 Mbps

• เทคโนโลยีของ BeamFlex+™ สิทธิบัตรที่คนทั่วโลกต้องยอมรับในความสามารถของการสะท้อน เปลี่ยนทิศทางเพื่อให้คุณภาพของ Wi-Fi ที่มีสมรรถนะในการใช้งานที่สูงขึ้น
• เทคโนโลยีของ ChannelFly™ สิทธิบัตรที่โดดเด่นในเรื่องของการจัดการช่องสัญญาณ โดยการนำ Machine learning (ML) เข้ามามีส่วนรวมในการตัดสินใจหรือปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณเมื่อมีความหนาแน่นเกิดขึ้นในแต่ละช่องสัญญาณ
• CommScope Ruckus APs สามารถทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์ควบคุม APs ได้หลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การทำงานร่วมกับ Cloud Controller, On-premised (physical/virtaul appliances) หรือแม้แต่ทำงานโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ควบคุม
• รองรับการทำงานของ Mesh Networking ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายโดยการใช้ความสามารถของ Wi-Fi ในการ รับ-ส่ง ข้อมูลระหว่าง AP แต่ละตัว
• รองรับการทำงานร่วมกับ Location Based Service (LBS) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลของอุปกรณ์ และผู้ใช้งาน เพื่อนำมาต่อยอดในเรื่องของการตลาดและมีรุ่นให้เลือกใช้งาน ดังต่อไปนี้
• CommScope Ruckus APs รองรับการทำงานด้านความปลอดภัยแบ WPA3 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เข้ามาช่วยป้องกันการโจมตีจากบุคคลที่ไม่หวังดี

ท่านใดสนใจสามารถติดต่อได้ที่ สนใจติดต่อ TH-Ruckus@ingrammicro.com

from:https://www.enterpriseitpro.net/commscope-ruckus/

Ruckus Cloud เทคโนโลยีที่ช่วยตอบโจทย์อย่างแท้จริง [ทดลองฟรี!]

การใช้เทคโนโลยีคลาวด์มาเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการด้านเครือข่ายสามารถตอบโจทย์ในด้านเทคนิคไปจนถึงประโยชน์ในเชิงของธุรกิจ  โดยเราสามารถแบ่งข้อดีของการใช้ Network Management-as-a-service ได้คือ

1. Network Management-as-a-service ทำให้สามารถดึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Wi-Fi 5 และ Wi-Fi 6 ออกมาได้ดีกว่าแพลตฟอร์มเดิม มีการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัยที่ดีขึ้น แก้ปัญหาได้เร็วและตรงจุด

2. ผู้จัดการด้านระบบสามารถที่จะคอยสอดส่องและมอนิเตอร์เครือข่ายจากที่ใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ที่หน้างานจริง ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ละเอียดมากกว่าเดิม

3. สิ่งที่สำคัญของการใช้งานแพลตฟอร์มแบบ Network Management-as-a-service ก็คือการลดต้นทุนอย่างเห็นได้ชัด ทุกๆ อย่างจะเน้นเป็นลักษณะเช่าใช้งาน ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์คอนโทรลเลอร์ตัวใหม่ และไม่มีค่าบริการอื่นๆ เพิ่มเติมแต่อย่างใด

 

  Ruckus Cloud Free Trial: https://ruckusapac.com/ruckus-cloud-free-trial/

Ruckus Cloud คือแพลตฟอร์ม Network Management-as-a-service ที่มากไปด้วยคุณสมบัติในการบริหารจัดการเครือข่ายที่เหนือกว่า ด้วย 11 เหตุผลที่สำคัญ

  1. ยกระดับประสิทธิภาพของ Wi-Fi 6
    เมื่อนำ AP มาตรฐาน Wi-Fi 6 ของ RUCKUS มาใช้ร่วมกับ RUCKUS Cloud จะทำให้ได้ทั้งประสิทธิภาพการทำงาน และความสามารถเหนือระดับ ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่า
  1. ผสานการทำงานระหว่างเครือข่ายใช้สาย และไร้สาย
    RUCKUS Cloud ผสานการจัดการทั้งเครือข่ายสายเคเบิลและแบบไร้สายเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้ง่ายกับฝ่ายไอทีในการจัดสรรทรัพยากร จัดการ ปรับแต่ง และแก้ปัญหา ICX multigigabit Switch และ Access Point ได้ภายใต้หน้าจอควบคุมเดียวกัน 
  1. จัดการเครือข่ายได้อย่างอัจฉริยะ ประกันคุณภาพการบริการ
    ฝ่ายไอทีสามารถมองเห็นกิจกรรมบนเครือข่ายได้อย่างครอบคลุม ด้วยการผนวกรวม RUCKUS Analytics เข้ากับ RUCKUS Cloud จนเป็นโซลูชั่นที่จัดการเครือข่ายได้อย่างฉลาด สร้างความมั่นใจในคุณภาพการให้บริการ 

  1. รักษาความปลอดภัยในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้ ทั้งบุคคลภายนอก และ BYOD
    สร้างความปลอดภัยในการเข้าถึงเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สายสำหรับผู้ใช้ทุกคน ผ่านระบบ RUCKUS Cloudpath® Enrollment System 
  1. จัดการ IoT ได้อย่างทรงพลัง
    RUCKUS Cloud AP ได้รับการพัฒนาให้พร้อมรองรับ IoT อย่างเต็มที่ ด้วยชุด RUCKUS IoT Suite ที่รวมเอาองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานด้านเน็ตเวิร์กทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาไว้ด้วยกัน ผสานเข้ากับระบบ RUCKUS Cloud เพื่อสร้างเครือข่ายที่เข้าถึง IoT ได้อย่างปลอดภัย 
  1. จัดการผ่าน Mobile Application
    RUCKUS Cloud ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้งานบนอุปกรณ์พกพาโดยเฉพาะ ทำให้ฝ่ายไอทีใช้ในการจัดสรร จัดการ ปรับแต่ง และแก้ปัญหาเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สายได้จากทุกที่ทั่วโลก 
  1. วิเคราะห์ตำแหน่งการใช้งาน
    RUCKUS Cloud ผสานเข้ากับระบบ RUCKUS SpoT ที่เป็นชุดผลิตภัณฑ์ระบุตำแหน่งผู้ใช้ Wi-Fi ที่ให้บริการอิงตามตำแหน่งที่ตั้ง (LBS) ผ่านคลาวด์ รวมทั้งทำงานร่วมกับโซลูชัน third-party ได้ สร้างความคุ้มค่ามากขึ้น และให้ประสบการณ์ใช้งานที่เหนือระดับ 
  1. จัดการหลายไซต์งานพร้อมกันจากศูนย์กลางได้(Multi-site management)
    หน้าคอนโซลผ่านเว็บของ RUCKUS Cloud ออกแบบให้ใช้ง่าย ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทีมงานด้านไอทีได้เป็นอย่างดีทั้งการจัดสรร จัดการ และควบคุมเครือข่ายทั้งแบบมีสายและไร้สาย จัดการได้หลายไซต์งานพร้อมกันผ่านหน้าต่างอินเทอร์เฟซอันเดีย 
  1. Zero-touch maintenance
    Wi-Fi AP ที่จัดการผ่าน RUCKUS Cloud จะได้รับการอัปเดตทั้งเฟิร์มแวร์และการตั้งค่าให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอแบบอัตโนมัติเมื่อเชื่อมต่อกับคลาวด์ โดยไม่ต้องลงแรงเองแม้แต่นิดเดียว ฝ่ายไอทีไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการอัปเดตต่างๆ อีกต่อไป 
  1. รองรับการปรับเปลี่ยนระบบได้ยืดหยุ่นสูงมาก
    จากการควบคุมทุกอย่างผ่านคลาวด์ ทำให้ฝ่ายไอทีสามารถใช้ RUCKUS Cloud เพิ่มลด Access Point และ Switch ได้ตามต้องการหลายไซต์งาน โดยจัดการได้ผ่านอินเทอร์เฟซหนึ่งเดียว ไม่ต้องคอยกังวลเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบในอนาคต 
  1. วางระบบได้อย่างยืดหยุ่นเต็มที่
    RUCKUS Cloud เปิดให้ฝ่ายไอทีโยกย้ายการจัดการ และการควบคุมสถาปัตยกรรมต่างๆ ไปยัง public cloud, private cloud หรือแม้แต่ดาต้าเซ็นเตอร์ของตัวเอง ปรับตัวได้ความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป

ข้อมูลจาก https://ruckusapac.com/cloudseyeview/
ติดต่อสอบถามได้ที่ TH-Ruckus@ingrammicro.com

from:https://www.enterpriseitpro.net/ruckus-cloud-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%b5%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b9%82/

Ruckus Cloud เทคโนโลยีที่ช่วยตอบโจทย์อย่างแท้จริง [ทดลองฟรี!]

การใช้เทคโนโลยีคลาวด์มาเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการด้านเครือข่ายสามารถตอบโจทย์ในด้านเทคนิคไปจนถึงประโยชน์ในเชิงของธุรกิจ  โดยเราสามารถแบ่งข้อดีของการใช้ Network Management-as-a-service ได้คือ

1. Network Management-as-a-service ทำให้สามารถดึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Wi-Fi 5 และ Wi-Fi 6 ออกมาได้ดีกว่าแพลตฟอร์มเดิม มีการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัยที่ดีขึ้น แก้ปัญหาได้เร็วและตรงจุด

2. ผู้จัดการด้านระบบสามารถที่จะคอยสอดส่องและมอนิเตอร์เครือข่ายจากที่ใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ที่หน้างานจริง ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ละเอียดมากกว่าเดิม

3. สิ่งที่สำคัญของการใช้งานแพลตฟอร์มแบบ Network Management-as-a-service ก็คือการลดต้นทุนอย่างเห็นได้ชัด ทุกๆ อย่างจะเน้นเป็นลักษณะเช่าใช้งาน ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์คอนโทรลเลอร์ตัวใหม่ และไม่มีค่าบริการอื่นๆ เพิ่มเติมแต่อย่างใด

   Ruckus Cloud Free Trial: https://ruckusapac.com/ruckus-cloud-free-trial/

Ruckus Cloud คือแพลตฟอร์ม Network Management-as-a-service ที่มากไปด้วยคุณสมบัติในการบริหารจัดการเครือข่ายที่เหนือกว่า ด้วย 11 เหตุผลที่สำคัญ

  1. ยกระดับประสิทธิภาพของ Wi-Fi 6
    เมื่อนำ AP มาตรฐาน Wi-Fi 6 ของ RUCKUS มาใช้ร่วมกับ RUCKUS Cloud จะทำให้ได้ทั้งประสิทธิภาพการทำงาน และความสามารถเหนือระดับ ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่า
  1. ผสานการทำงานระหว่างเครือข่ายใช้สาย และไร้สาย
    RUCKUS Cloud ผสานการจัดการทั้งเครือข่ายสายเคเบิลและแบบไร้สายเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้ง่ายกับฝ่ายไอทีในการจัดสรรทรัพยากร จัดการ ปรับแต่ง และแก้ปัญหา ICX multigigabit Switch และ Access Point ได้ภายใต้หน้าจอควบคุมเดียวกัน 
  1. จัดการเครือข่ายได้อย่างอัจฉริยะ ประกันคุณภาพการบริการ
    ฝ่ายไอทีสามารถมองเห็นกิจกรรมบนเครือข่ายได้อย่างครอบคลุม ด้วยการผนวกรวม RUCKUS Analytics เข้ากับ RUCKUS Cloud จนเป็นโซลูชั่นที่จัดการเครือข่ายได้อย่างฉลาด สร้างความมั่นใจในคุณภาพการให้บริการ 

  1. รักษาความปลอดภัยในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้ ทั้งบุคคลภายนอก และ BYOD
    สร้างความปลอดภัยในการเข้าถึงเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สายสำหรับผู้ใช้ทุกคน ผ่านระบบ RUCKUS Cloudpath® Enrollment System 
  1. จัดการ IoT ได้อย่างทรงพลัง
    RUCKUS Cloud AP ได้รับการพัฒนาให้พร้อมรองรับ IoT อย่างเต็มที่ ด้วยชุด RUCKUS IoT Suite ที่รวมเอาองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานด้านเน็ตเวิร์กทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาไว้ด้วยกัน ผสานเข้ากับระบบ RUCKUS Cloud เพื่อสร้างเครือข่ายที่เข้าถึง IoT ได้อย่างปลอดภัย 
  1. จัดการผ่าน Mobile Application
    RUCKUS Cloud ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้งานบนอุปกรณ์พกพาโดยเฉพาะ ทำให้ฝ่ายไอทีใช้ในการจัดสรร จัดการ ปรับแต่ง และแก้ปัญหาเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สายได้จากทุกที่ทั่วโลก 
  1. วิเคราะห์ตำแหน่งการใช้งาน
    RUCKUS Cloud ผสานเข้ากับระบบ RUCKUS SpoT ที่เป็นชุดผลิตภัณฑ์ระบุตำแหน่งผู้ใช้ Wi-Fi ที่ให้บริการอิงตามตำแหน่งที่ตั้ง (LBS) ผ่านคลาวด์ รวมทั้งทำงานร่วมกับโซลูชัน third-party ได้ สร้างความคุ้มค่ามากขึ้น และให้ประสบการณ์ใช้งานที่เหนือระดับ 
  1. จัดการหลายไซต์งานพร้อมกันจากศูนย์กลางได้(Multi-site management)
    หน้าคอนโซลผ่านเว็บของ RUCKUS Cloud ออกแบบให้ใช้ง่าย ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทีมงานด้านไอทีได้เป็นอย่างดีทั้งการจัดสรร จัดการ และควบคุมเครือข่ายทั้งแบบมีสายและไร้สาย จัดการได้หลายไซต์งานพร้อมกันผ่านหน้าต่างอินเทอร์เฟซอันเดีย 
  1. Zero-touch maintenance
    Wi-Fi AP ที่จัดการผ่าน RUCKUS Cloud จะได้รับการอัปเดตทั้งเฟิร์มแวร์และการตั้งค่าให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอแบบอัตโนมัติเมื่อเชื่อมต่อกับคลาวด์ โดยไม่ต้องลงแรงเองแม้แต่นิดเดียว ฝ่ายไอทีไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการอัปเดตต่างๆ อีกต่อไป 
  1. รองรับการปรับเปลี่ยนระบบได้ยืดหยุ่นสูงมาก
    จากการควบคุมทุกอย่างผ่านคลาวด์ ทำให้ฝ่ายไอทีสามารถใช้ RUCKUS Cloud เพิ่มลด Access Point และ Switch ได้ตามต้องการหลายไซต์งาน โดยจัดการได้ผ่านอินเทอร์เฟซหนึ่งเดียว ไม่ต้องคอยกังวลเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบในอนาคต 
  1. วางระบบได้อย่างยืดหยุ่นเต็มที่
    RUCKUS Cloud เปิดให้ฝ่ายไอทีโยกย้ายการจัดการ และการควบคุมสถาปัตยกรรมต่างๆ ไปยัง public cloud, private cloud หรือแม้แต่ดาต้าเซ็นเตอร์ของตัวเอง ปรับตัวได้ความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป

ข้อมูลจาก https://ruckusapac.com/cloudseyeview/
ติดต่อสอบถามได้ที่ TH-Ruckus@ingrammicro.com

from:https://www.enterpriseitpro.net/ruckus-cloud-ingram-micro/

เปิดตัว Ruckus R350: WiFi 6 Access Point ราคาคุ้มค่าที่รองรับการเชื่อมต่อ IoT ได้หลากหลาย

การอัปเกรดระบบเครือข่ายภายในองค์กรให้รองรับ WiFi 6 เพื่อเตรียมรับกับการกลับมาทำงานของพนักงานและการใช้บริการของลูกค้านั้น ถือเป็นหนึ่งในโครงการการลงทุนด้านระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นจังหวะที่หลายธุรกิจถือโอกาส Renovate ระบบ Infrastructure พื้นฐานหลายอย่างภายในอาคารสำนักงานและสาขาต่างๆ สำหรับลูกค้า รวมถึงยังทำการอัปเกรด IT Infrastructure กันยกใหญ่ด้วยเช่นกัน

CommScope Ruckus ในฐานะของผู้พัฒนาเทคโนโลยีระบบ Network Infrastructure ชั้นนำของโลก จึงได้ทำการเปิดตัว Ruckus R350 อุปกรณ์ WiFi 6 Access Point ที่เน้นเรื่องของความคุ้มค่าเป็นหลัก ด้วยการเป็นอุปกรณ์ AP รุ่นเล็กแต่ยังคงมีประสิทธิภาพที่สูงและมีความสามารถที่หลากหลาย สามารถตอบโจทย์กลยุทธ์การทำ Digital Transformation ขององค์กรได้ในระยะยาว ทำให้การอัปเกรดระบบ WiFi ของหลายๆ องค์กรสามารถเลือกใช้งาน Ruckus R350 ในระยะยาวได้อย่างเหมาะสม

Ruckus R350: Indoor Wi-Fi 6 Access Point รุ่นล่าสุดที่เน้นความคุ้มค่าสำหรับองค์กร

Ruckus R350 นี้เป็น WiFi 6 Access Point ตามมาตรฐาน 802.11ax สำหรับติดตั้งใช้งานภายในอาคาร โดยเหมาะสำหรับการใช้งานภายในออฟฟิศขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางที่แต่ละห้องไม่ได้มีขนาดใหญ่มากนัก หรือภายในร้านค้าต่างๆ ของห้างสรรพสินค้า เพื่อให้บริการ WiFi ที่มีประสิทธิภาพสูงและมั่นคงอยู่ รวมถึงยังรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายอื่นๆ อย่าง BLE และ ZigBee ได้โดยไม่ต้องมีระบบเครือข่ายหรืออุปกรณ์แยกเฉพาะ

จุดเด่นของ Ruckus R350 นี้ก็คือการที่ตัว Access Point มีความสามารถที่แทบจะไม่ได้แตกต่างไปจาก AP รุ่นใหญ่รุ่นอื่นๆ เลย แต่ออกแบบมาให้ Hardware มีความ Minimal รองรับการใช้งานได้แทบจะพอดีๆ เพื่อให้ราคาของอุปกรณ์รุ่นนี้มีความคุ้มค่าสูงที่สุด และทำให้ตลาดของ Ruckus ที่เดิมเคยเป็นตลาดของ Premium Enterprise WiFi เท่านั้นเปิดมาสู่ตลาดของ Premium Small & Medium Business ได้ด้วย เพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกหรือห้างร้านต่างๆ สามารถเลือกใช้ AP ที่มีคุณภาพสูงในระดับที่โรงแรมห้าดาวหรือสนามบินใช้งานได้ในราคาที่จับต้องได้อย่างคุ้มค่า

Credit: CommScope Ruckus

สำหรับความสามารถเด่นๆ ของ Ruckus R350 ที่น่าสนใจ ก็มีด้วยกันดังต่อไปนี้

ประสิทธิภาพสูง กระจายสัญญาณได้ครอบคลุม ด้วย BeamFlex และ ChannelFly

AP รุ่นนี้ใช้เสาสัญญาณแบบ 2×2:2 รองรับย่านความถี่ทั้ง 2.4GHz และ 5GHz ซึ่งทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 574 Mb/s และ 1200 Mb/s ตามลำดับ แต่ด้วยการใช้งานทั่วๆ ไปภายในองค์กรหรือภาคธุรกิจ ความเร็วระดับนี้ก็ถือว่าตอบโจทย์ได้สำหรับงานแทบทุกประเภทแล้ว

แน่นอนว่าเทคโนโลยีที่เป็นไฮไลท์เด่นของ Ruckus อย่าง BeamFlex ที่ช่วยเพิ่มระยะความครอบคลุมของสัญญาณและลดสัญญาณรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็ยังคงมีอยู่ ทำให้ Ruckus นั้นมีความครอบคลุมของพื้นที่มากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้เทคโนโลยีตามมาตรฐานทั่วไป ด้วยการรองรับ Antenna Pattern มากถึง 64 รูปแบบ

อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกใส่เข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพก็คือ ChannelFly ที่ AP ของ Ruckus จะเลือกใช้ช่องสัญญาณที่ว่างมากที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นได้รับ Throughput ที่สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ในการเชื่อมต่ออยู่เสมอ

AP รุ่นนี้ยังคงรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้สูงสุดถึง 256 อุปกรณ์เหมือนกับอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้า และสามารถให้บริการได้ 16 SSID ต่อ AP เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถออกแบบระบบเครือข่ายและแบ่งส่วนของเครือข่ายได้อย่างยืดหยุ่น

Credit: CommScope Ruckus

รองรับการเสริมระบบเครือข่ายเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ IoT ได้ทันที

สำหรับธุรกิจองค์กรที่มีแผนการทำ Digital Transformation ด้วยอุปกรณ์ IoT นั้น Ruckus R350 ก็สามารถทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เครือข่ายเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้ด้วยหลากหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการ WiFi ตามปกติด้วยการแบ่ง SSID เฉพาะสำหรับอุปกรณ์เหล่านี้เพิ่มเข้ามา หรือการติดตั้ง USB Module เสริมเพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อสำหรับ Bluetooth Low Energy (BLE) และ ZigBee เข้ามาได้ในอุปกรณ์เดียวกัน ทำให้เราสามารถใช้ระบบเครือข่ายเดียวให้บริการทั้งผู้ใช้งานทั่วไปไปพร้อมๆ กับการเชื่อมต่อ IoT ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย

และด้วยความที่ Ruckus R350 นี้เป็นอุปกรณ์รุ่นเล็กสุดในระดับ Entry Level ดังนั้นไม่ว่าธุรกิจองค์กรจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ Ruckus ก็ยังสามารถตอบโจทย์ด้านระบบเครือข่าย IoT ได้อย่างครอบคลุม

เชื่อมต่อสัญญาณได้ไกลขึ้น ด้วยการทำ Mesh Networking

ในอดีตการทำ Mesh Networking อาจไม่ได้รับความนิยมมากนักด้วยประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายไร้สายที่ยังไม่สูงมาก แต่ปัจจุบันด้วย WiFi 6 การทำ Mesh Networking จึงตอบโจทย์มากขึ้นกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะใน Ruckus R350 ที่มีย่านความถี่ 5GHz ในความเร็วสูงสุดถึง 1200 Mb/s ทำให้สามารถใช้ย่านความถี่ 5GHz ในการเชื่อมต่อ Mesh และให้บริการเครือข่ายแก่อุปกรณ์ต่างๆ ในส่วนที่เชื่อมต่อเพิ่มไปนี้ในย่านความถี่ 2.4GHz ได้ด้วยความเร็วสูงสุด 574Mb/s

การตั้งค่า Mesh Networking บน Ruckus R350 นี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ติ๊กเพื่อเปิดใช้ความสามารถนี้บนหน้าจอบริหารจัดการเท่านั้น AP ก็พร้อมที่จะเชื่อมต่อ Mesh ให้ได้ทันที

บริหารจัดการได้หลากหลาย ตอบโจทย์การใช้งานได้หลายรูปแบบ

Ruckus R350 แต่ละชุดนี้สามารถรองรับการบริหารจัดการได้ทั้งผ่าน Cloud ด้วย Ruckus Cloud, บริหารจัดการผ่าน Software หรือ Appliance ด้วย Ruckus SmartZone และ ZoneDirector, บริหารจัดการผ่าน AP กันเองในแบบ Controller-less ด้วย Ruckus Unleashed ไปจนถึงการใช้งานได้ในแบบ Standalone เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และงบประมาณขององค์กรได้ตามต้องการ

ไม่ต้องอัปเกรดระบบ LAN ก็ยังใช้งาน Ruckus R350 ได้

จุดเด่นสุดท้ายที่ทำให้ Ruckus R350 มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากก็คือการเป็น WiFi 6 Access Point ที่สามารถติดตั้งใช้งานได้โดยไม่ต้องอัปเกรดระบบเครือข่าย ด้วยอุปกรณ์ที่รองรับ Uplink เพียงแค่ 1GbE ช่องเดียว รวมถึงใช้ไฟผ่าน PoE เพียงแค่ 12.62W ก็ทำให้องค์กรที่ยังไม่พร้อมอัปเกรดระบบเครือข่ายให้มีความเร็วสูงขึ้นหรืออัปเกรดระบบ PoE ให้จ่ายไฟมากขึ้น สามารถอัปเกรดมาใช้ WiFi 6 ได้โดยยังไม่ต้องกังวลถึงประเด็นเหล่านั้น ซึ่งจุดนี้เองจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรได้อย่างมหาศาลท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจอย่างในปัจจุบันนี้

Credit: CommScope Ruckus

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Ruckus R350 ได้ที่ https://www.commscope.com/product-type/enterprise-networking/wireless-access-points/indoor/r350/

สนใจติดต่อทีมงาน Ruckus ประจำประเทศไทยได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันระบบ WiFi สำหรับธุรกิจองค์กร และโซลูชันอื่นๆ ด้านระบบเครือข่าย สามารถติดต่อทีมงาน CommScope Ruckus ประจำประเทศไทยได้ทันทีที่ Email Pongwut.assaneewuttikorn@Commscope.com หรือโทร 08-66097719

from:https://www.techtalkthai.com/ruckus-r350-wifi-6-access-point-with-iot-networking-option-introduction/

CommScope ประกาศแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ “Charles Treadway”

ผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย CommScope ออกแถลงการณ์ว่า ซีอีโอคนเดิมที่อยู่มานานกว่า 15 ปี คุณ Eddie Edwards ได้ก้าวลงจากตำแหน่งแล้ว พร้อมระบุชื่อผู้เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนเป็น Charles “Chuck” Treadway

คุณ Treadway นี้เข้ามาอยู่ทั้งในตำแหน่งประธานบริษัท, ซีอีโอ, และกรรมการบอร์ดบริหารของ CommScope ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 17 ปีทั้งในตำแหน่งซีอีโอ และซีโอโอ

ภารกิจหลักของซีอีโอคนใหม่นี้คือการผลักดันการเติบโตของธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและเครือข่ายไร้สายยุคใหม่ ท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด 19

ทั้งนี้ CommScope เพิ่งปิดดีลซื้อกิจการอื่น “ครั้งแรกของตัวเอง” จากการซื้อกิจการผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม Arris ซึ่งเป็นเจ้าของ Ruckus Networks ด้วยมูลค่ารวมกว่า 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2019 Ruckus นี้อยู่ในตลาดมากว่า 2 ปีในด้านเครือข่ายแบบคอนเวอร์เจนต์ เครือข่ายไฟเบอร์ 5G และ IoT

ที่มา : CRN

from:https://www.enterpriseitpro.net/commscope-ceo/

โลกของ Switching ยุคใหม่: ทำไมเครือข่ายองค์กรถึงต้องก้าวมาใช้ 100GbE?

เครือข่ายในองค์กรกำลังได้รับแรงกดดันอย่างหนัก โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเราได้เห็นการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้อย่างกว้างขวางที่ทาง IDC เรียกว่า 3rd Platform ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์พกพาที่เห็นกันทั่วไปแล้วในปัจจุบัน การพึ่งพาแอพพลิเคชั่นบนคลาวด์มากขึ้นเพื่อให้บริการที่สำคัญต่างๆ ไปจนถึง Internet of Things ซึ่งองค์กรทั้งหลายต่างมองหาวิธีในการปฏิรูปทางดิจิตอลเพื่อรับเอาเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้มาใช้ แต่บ่อยครั้งที่เครือข่ายแบบเก่าที่มีอยู่เดิมกลายเป็นอุปสรรคในการรับเทคโนโลยีใหม่เข้ามา การปฏิรูปทางดิจิตอลจึงต้องมาจากการปฏิรูปเครือข่ายขององค์กรก่อน โดยเร่งการนำแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานใหม่เข้ามาใช้งาน

ปัจจัยข้างต้นนี้จึงผลักดันให้องค์กรต่างๆ พิจารณาเลือกสวิตช์กิกะบิตอีเธอร์เน็ตที่เร็วกว่าเดิม แม้หลายองค์กรมักใช้คอร์สวิตช์อยู่ที่ 10 – 40 GbE และสวิตช์ระดับ Aggregation อยู่ที่ 16GbE ก็ตาม แต่ด้วยอุปกรณ์เครือข่ายและแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในปัจจุบัน ทำให้ความต้องการแบนด์วิธพุ่งขึ้นไปถึงระดับ 100GbE นอกจากนี้ หลายองค์กรยังต้องการแพลตฟอร์มสำหรับจัดการที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น สามารถจัดการโพลิซีบนเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สายได้จากศูนย์กลาง รวมทั้งสามารถควบคุมด้านความปลอดภัยได้อย่างละเอียด มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง เรียกได้ว่าปัญหาทั้งหลายที่องค์กรกำลังเผชิญเกี่ยวกับเครือข่ายได้มาถึงจุดอิ่มตัวที่พร้อมลงทุนครั้งใหม่แล้ว โดยเฉพาะการลงทุนกับแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานแบบใหม่ที่คาดหวังให้รองรับเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมดทั่วทั้งเครือข่ายขององค์กรในอีกหลายปีข้างหน้า

ปัญหาด้านเน็ตเวิร์กที่องค์กรกำลังเผชิญ

มีหลายปัจจัยมากที่รวมกันมาเป็นภาระให้เครือข่ายขององค์กรในปัจจุบัน แม้ปัจจัยดังกล่าวจะมีมากมายนับไม่ถ้วน แต่ประเด็นที่มีผลกระทบชัดเจนมากที่สุดก็คือเรื่องของขนาดระบบที่ต้องรองรับ อันเกิดจากจำนวนผู้ใช้และอุปกรณ์บนเครือข่ายที่มีจำนวนมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก จนแทบจะกล่าวได้ว่า กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วที่ทั้งพนักงานและบุคคลภายนอกจะเชื่อมต่อจากอุปกรณ์พร้อมกันหลายเครื่องเข้ามายังเครือข่ายขององค์กร มาใช้ทรัพยากรบนเครือข่ายทั้งหมดพร้อมกัน และนอกจากจะมีอุปกรณ์จำนวนมหาศาลเข้ามารุมถลุงทรัพยากรบนเครือข่ายแล้ว แอพพลิเคชั่นต่างๆ ก็ยังมีความต้องการมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นที่ใช้แบนด์วิธมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะแพลตฟอร์มประสานงานผ่านวิดีโอ ที่สร้างทราฟิกข้อมูลปริมาณมากจนกินทรัพยากรส่วนใหญ่บนเครือข่าย ที่ควรใช้โครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลมารองรับ ยิ่งมีความก้าวหน้าทางด้านมาตรฐานเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมาก็ยิ่งทำให้ปัญหานี้ทวีความร้ายแรงมากขึ้น อย่างการเปิดตัว Wi-Fi 6 (802.11ax) ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพของทราฟิกเครือข่ายไร้สายภายในองค์กร รองรับรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ มากมาย พร้อมกับสร้างภาระให้เครือข่ายเดิมมากขึ้นไปอีก

การจะก้าวทันความก้าวหน้าทั้งหลายเหล่านี้ องค์กรต่างๆ ก็ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงด้านเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจากระดับกิกะบิตขึ้นมาสู่หลายกิกะบิตสำหรับระดับ Access และการเปลี่ยนขึ้นมาสู่ระดับ 40GbE และ 100GbE สำหรับระดับ Aggregation และ Core ตามลำดับ ซึ่งกระแสนี้คาดว่าจะยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในอีกหลายปีข้างหน้า

รูปที่ 1: พยากรณ์การลงทุนด้านสวิตช์อีเธอร์เน็ตทั่วโลกในช่วงปี 2018 – 2023 อิงตามระดับความเร็ว (หน่วยเป็นพันล้านดอลลาร์ฯ) แหล่งข้อมูล: รายงาน Datacenter Network QView ประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2018 จาก IDC
ความต้องการในยุคถัดไปของเน็ตเวิร์ก

การที่จะพิชิตอุปสรรคที่มีผลต่อความต้องการทางธุรกิจยุคใหม่นั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนโฉมระบบเครือข่ายระดับองค์กรอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่จะเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานจากแบบกิกะบิตไปสู่ระดับหลายกิกะบิต หรือการปรับเปลี่ยนมาตรฐานของอุปกรณ์สวิตช์ (ดังรูปที่ 2) โดยเครือข่ายต่างๆ กำลังลดความซับซ้อนลงจาก 3 ระดับ มาเป็นแบบ 2 ระดับ ที่หันมาใช้สถาปัตยกรรมแบบลำต้นแตกแขนงเป็นกิ่งไม้เหมือนกับดาต้าเซ็นเตอร์ ที่ทำให้ขยายระบบออกไปได้ในวงกว้างขณะที่ยังสามารถใช้ประโยชน์จากสายไฟเบอร์ที่มีอยู่เดิมได้

รูปที่ 2: คาดการณ์สัดส่วนพอร์ตบนสวิตช์อีเธอร์เน็ตในช่วงปี 2017 – 2023 แบ่งตามประเภทผลิตภัณฑ์ แหล่งข้อมูล: รายงานพยากรณ์สวิตช์อีเธอร์เน็ตประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2018 ของ IDC

องค์กรทั้งหลายมีความต้องการมากมายเวลาพิจารณาที่จะเปลี่ยนโฉมระบบเน็ตเวิร์กใหม่ แต่องค์ประกอบที่สำคัญจริงๆ ที่โครงสร้างพื้นฐานยุคใหม่ควรมีนั้นได้แก่

• การที่องค์กรจำเป็นต้องรองรับความเร็วและปริมาณข้อมูลที่เพียงพอในปัจจุบัน อย่างคอร์สวิตช์ที่มีแบนด์วิธแค่ 10GbE อาจไม่พอแล้วสำหรับเครือข่ายของหลายองค์กร โดยองค์กรชั้นนำต่างมองแพลตฟอร์มระดับ 25GbE, 40GbE หรือแม้แต่ 100GbE แทนทั้งสิ้น

• เมื่อวางระบบโครงสร้างพื้นฐานใหม่นั้น ประเด็นที่ควรพิจารณาอย่างแรกๆ คือด้านความปลอดภัย โดยแพลตฟอร์ม Switching ยุคใหม่ควรรองรับการเข้ารหัสแบบ MACsec ได้ถึง 128 หรือ 256 บิต รวมทั้งให้การควบคุมด้านความปลอดภัยได้อย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการโจมตีแบบ DHCP Snooping หรือตรวจสอบ Dynamic ARP ได้ ไปจนถึงการป้องกันการโจมตีแบบ Denial-of-Service, การล็อก MAC Address, และให้ระบบความปลอดภัยหลายระดับหลายรูปแบบด้วยกัน

• สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือด้านความเสถียรและการรองรับการขยายระบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบที่เน้นความต่อเนื่องในการทำงานสูงด้วยระบบ Failover ที่แทบไม่มีช่องโหว่, การอัพเกรดซอฟต์แวร์ระหว่างทำงานได้ (ISSU) และการสำรองระบบ, การสลับเปลี่ยนพาวเวอร์ซัพพลายและพัดลมได้ระหว่างทำงาน สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับลูกค้าระดับองค์กร

• ผู้ซื้อระดับองค์กรเริ่มมองหาแพลตฟอร์มจัดการที่ผสานการควบคุมทั้งเครือข่ายมีสายและไร้สายร่วมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดใช้งาน การยืนยันตน การเข้าถึงทั้งผู้ใช้และอุปกรณ์ รวมทั้งโพลิซีการใช้งาน เช่นเดียวกับความสามารถจากศูนย์กลางทั้งการมองเห็น การตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูล

• องค์กรทั้งหลายต่างมองการปรับแต่งเครือข่ายให้เข้ากับความต้องการที่จำเพาะของตัวเอง ดังนั้นองค์ประกอบที่จะมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานเน็ตเวิร์กสำหรับองค์กรสมัยใหม่ก็ควรจะรองรับการผสานความสามารถเพิ่ม การขยายระบบ และมีความยืดหยุ่นด้วย ซึ่งสวิตช์ที่เปิดรับการผสานการทำงานเพิ่มหรือ Stackable ทั้งระดับคอร์และ Aggregation จะเพิ่มความสามารถ และอำนวยความสะดวกในการจัดการจากศูนย์กลาง และไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ในที่เดียวกัน

• ข้อมูลได้กลายเป็นสิ่งมีค่าสำหรับธุรกิจยุคใหม่ ซึ่งแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายยุคใหม่มีบทบาทสำคัญมากในการช่วยให้องค์กรรวบรวมข้อมูลเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นบนสภาพแวดล้อมการทำงานของตัว ช่วยตรวจสอบเทรนด์จากข้อมูลในอดีตในการทำนายลักษณะการใช้งานในอนาคต เช่นเดียวกับให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับประเภทแอพพลิเคชั่นที่ผู้ใช้และอุปกรณ์กำลังใช้งานบนเครือข่าย และวัตถุประสงค์ในการใช้งานบนเครือข่าย การได้ข้อมูลกิจกรรมเกี่ยวกับลูกค้าและบุคคลภายนอกบนเครือข่ายนั้นทำให้มีโอกาสสร้างรายได้ใหม่มากขึ้น แต่ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องใช้กลไกการรวบรวมผ่านระบบอนาไลติก และแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ

• ช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีการพัฒนาแพลตฟอร์มจัดการเครือข่ายผ่านคลาวด์มากมายที่เปิดให้องค์กรสามารถใช้งานจากศูนย์กลางได้ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุม ตรวจสอบ หรือวิเคราะห์เครือข่ายในองค์กรจากแพลตฟอร์มบนคลาวด์โดยตรง ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับองค์กรที่ต้องการลดจำนวนทีมด้านไอที หรือมีระบบกระจายตามสาขาจำนวนมากที่จำเป็นต้องได้รับการจัดการจากศูนย์กลางเดียวกัน

• หนึ่งในประโยชน์ของแพลตฟอร์มจัดการเครือข่ายผ่านคลาวด์ก็คือ ความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน ด้วยโมเดลการจัดซื้อตามปริมาณการใช้งาน ที่จ่ายเพียงแค่ความสามารถในการจัดการเครือข่ายที่จำเป็นได้ ซึ่งตอนนี้มีผู้ให้บริการหลายเจ้าต่างเสนอโมเดลการชำระเงินตามการใช้งานจริงสำหรับแพลตฟอร์มจัดการเครือข่ายแบบ On-Premise ด้วย

โมเดลใหม่ในการออกแบบเครือข่ายขององค์กร

องค์กรในปัจจุบันมีทางเลือกมากมายในการออกแบบเครือข่ายองค์กรของตัวเอง แม้จะมีฟีเจอร์หลักๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นเป็นเกณฑ์ที่องค์กรส่วนใหญ่กำลังมองหาในเครือข่ายยุคใหม่ก็ตาม แต่ก็มีโมเดลสถาปัตยกรรมทางเลือกเพิ่มขึ้นมาหลากหลายแบบสำหรับออกแบบเครือข่ายขององค์กรด้วย

เมื่อก่อนนั้น เราเคยยึดติดกับมาตรฐานการออกแบบเครือข่ายแบบลำดับชั้นที่ต้องมี 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่ Core, Aggregation, และ Access แต่ตอนนี้มีโมเดลใหม่ๆ เกิดขึ้นมาที่เปิดให้ปรับแต่งเข้ากับความต้องการที่จำเพาะขององค์กรได้มากขึ้น

ตัวอย่างการออกแบบสถาปัตยกรรมเครือข่ายระดับองค์กรยุคใหม่นั้น ได้แก่
• Multi-Chassis Trunking (MCT): สถาปัตยกรรมนี้เป็นการเชื่อมต่อสวิตช์สองตัวที่อยู่แยกกัน เพื่อสร้างเป็นหน่วยรวมศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบลอจิคัล แล้วแตกแขนงออกไปในรูปแผนผังกิ่งไม้ไปยังระดับ Aggregation และ Access ตามลำดับ ถือเป็นการวางระบบแบบ Active-Active ที่ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่สามารถรองรับการขยายเครือข่ายได้มาก

• Stacking: สถาปัตยกรรมนี้เป็นการเชื่อมต่อสวิตช์สิบกว่าตัวที่ลักษณะเหมือนกันเข้าด้วยกัน ให้สามารถจัดการได้ภายใต้ที่อยู่ไอพีเดียวกัน ทำให้ได้สถาปัตยกรรมแบบ Active-Standby แต่มีความพิเศษที่สำคัญมากตรงที่สวิตช์ทั้งหลายนี้ไม่จำเป็นต้องมาเชื่อมผสานกันหรือ Stack ทางกายภาพ โดยสามารถเชื่อมต่อด้วยกันแบบเวอร์ช่วล จัดการจากศูนย์กลางด้วยกันได้แม้จริงๆ จะมีตำแหน่งห่างกันมากสุดถึง 10 กิโลเมตร รูปแบบการติดตั้งลักษณะนี้เหมาะกับเครือข่ายหลายประเภท ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่

• การสร้าง Campus Fabric: กรณีนี้จะเชื่อมต่อสวิตช์เข้าด้วยกันแบบเวอร์ช่วลได้มากถึง 36 ตัว เพื่อสร้างขึ้นเป็นเครือข่ายขนาดกลาง ประกอบด้วยสวิตช์ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นเดียวกันก็ได้

ตัวเลือกที่น่าสนใจ: Ruckus Networks

Ruckus ได้เปิดตัวสวิตช์สำหรับ Core และ Aggregation แบบจำนวนพอร์ตหนาแน่นสูง แบบ Next-Gen ในชื่อรุ่น ICX 7850 ที่รองรับได้ทั้ง 10/25/40/100GbE แต่ละสวิตช์มี Capacity มากถึง 6.4Tbps สามารถ Stack ซ้อนกันได้มากถึง 12 ตัว จนทำให้ได้แบนด์วิธรวมทั้งหมดหรือ Capacity มากถึง 76.8Tbps รวมทั้งได้จำนวนพอร์ตรวมถึง 288 พอร์ตที่ 100 GbE หรือมากถึง 576|พอร์ตที่ความเร็ว 10/25GbE เมื่อซ้อนสวิตช์กันถึง 12 ตัวด้วย สวิตช์ที่นำมาซ้อนเชื่อมต่อกันนี้สามารถตั้งอยู่ห่างจากกันได้มากถึง 10 กิโลเมตร

สวิตช์ ICX 7850 นี้มาพร้อมกับ Hitless Failover, MCT, และ ISSU ใช้งานร่วมกับสวิตช์อื่นในตระกูล ICX ของ Ruckus ได้อย่างลงตัว ซึ่งทุกโมเดลในกลุ่มนี้ใช้ซอฟต์แวร์ Fastlron เหมือนกัน และจัดการได้ผ่าน Ruckus SmartZone Network Controller ทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่น พร้อมทางเลือกในการจัดการเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สายแบบยูนิฟายด์ รวมทั้งสร้างความยืดหยุ่นในการออกแบบวางระบบเครือข่ายขององค์กรด้วย นอกจากนี้ ICX 7850 ยังรองรับ MACsec256 และมีระบบสำรองไฟฟ้าเป็นออพชั่นเสริม ใช้งานได้กับสายเคเบิลอีเธอร์เน็ตมาตรฐานทั่วไป

ความท้าทาย

ตลาดเครือข่ายระดับองค์กรนั้นมีการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากหลายองค์กรไม่ได้ยึดติดกับผู้จำหน่ายรายใดรายหนึ่งสำหรับโครงสร้างพื้นฐานบนทุกเลเยอร์ของเครือข่ายองค์กร จึงเป็นผลให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทคโนโลยีสวิตชิ่งทั้งในระดับ Access, Aggregation, และ Core

ดังนั้น ความสามารถของ Ruckus ICX 7850 ที่รองรับสภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้างพื้นฐานแตกต่างกันเช่นนี้ได้จึงเป็นผลดีต่อองค์กรอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ดี Ruckus ก็ยังต้องแข่งกับผู้จำหน่ายด้านเน็ตเวิร์กรายก่อนหน้าที่มีบทบาทกับระบบดั้งเดิมขององค์กรอยู่ดี ถือว่าเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับ Ruckus ในฐานะบริษัทที่มีองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการแข่งกับผู้จำหน่ายรายอื่น ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทั้งระบบสำหรับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเครือข่ายระดับองค์กร

บทสรุป

Ruckus ได้นำ ICX 7850 เข้าสู่ตลาดได้ในเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากกำลังมีกระแสความต้องการอย่างมากในด้านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายแบบใหม่สำหรับองค์กร ความต้องการด้านเครือข่ายนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนจากจำนวนผู้ใช้ อุปกรณ์ และแอพพลิเคชั่นที่เพิ่มขึ้นจนสร้างภาระให้แก่ทรัพยากรบนเครือข่ายเดิม รวมไปถึงความก้าวหน้าที่สำคัญหลายประการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายก็ยิ่งตอกย้ำความต้องการนี้เพิ่มขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นด้านความเร็วในการสวิตชิ่งอีเธอร์เน็ตที่พัฒนาให้รองรับความต้องการด้านแบนด์วิธ ไปจนถึงฟีเจอร์ในการจัดการและด้านความปลอดภัยบนสวิตช์เหล่านี้ที่ก้าวล้ำอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันนั้น องค์กรทั้งหลายต่างก็หันมาทองหาแนวทางใหม่ในการสร้างเครือข่ายของตัวเองที่เหมาะกับความต้องการและเป้าหมายที่จำเพาะสำหรับเครือข่าย ตัวสวิตช์ ICX 7850 เองก็มีทั้งความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่น มีความสามารถสูงมาก นับเป็นสมาชิกใหม่ในกลุ่มสวิตช์อีเธอร์เน็ตของครอบครัว Ruckus ที่เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจในปัจจุบัน และสนับสนุนการใช้งานรูปแบบใหม่ของเครือข่ายองค์กรในทศวรรษหน้าได้

เกี่ยวกับนักวิเคราะห์:
Brandon Butler นักวิเคราะห์วิจัยอาวุโสด้านเครือข่ายระดับองค์กร
Brandon Butler เป็นนักวิจับอาวุโสของกลุ่มงานโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่ IDC ซึ่งดูแลเกี่ยวกับเครือข่ายระดับองค์กร โดยเขามีบทบาทในการวิเคราะห์กระแสนิยมด้านเทคโนโลยีและการตลาด รวมทั้งทำนายและวิเคราะห์คู่แข่งด้านอีเธอร์ดน็ตสวิตชิ่ง เราท์ติ้ง เครือข่ายแลนไร้สาย และตลาดใหม่ที่เกี่ยวข้องอย่าง SDN และ SD-WAN


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ Ruckus ได้ที่ บริษัท อินแกรม ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด TH-Ruckus@ingrammicro.com

หรือติดต่อที่
K. PONGWUT ASSANEEWUTTIKORN
BUSINESS DEVELOPMENT MANAGER , SP AND STRATEGIC ACCOUNTS
Mobile: +668-66097719
Email:Pongwut.assaneewuttikorn@Commscope.com

from:https://www.enterpriseitpro.net/%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87-switching-%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88-%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3/