คลังเก็บป้ายกำกับ: LEADERSHIP

แจกฟรี Whitepaper: Personalization at Scale ภาษาไทย สรุปสถิติและปัจจัยสำคัญสู่การเป็น Experience Leader สำหรับธุรกิจองค์กร

การก้าวสู่การเป็น Experience Leader ในกลุ่มธุรกิจองค์กรนั้นจะช่วยให้ธุรกิจมีลูกค้ารายใหม่ ๆ มากขึ้น และสร้างความประทับใจในประสบการณ์ของแบรนด์ เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าตลอดชีพสำหรับลูกค้าแต่ละรายได้อย่างยั่งยืน ทำให้ธุรกิจองค์กรหลายแห่งต่างเร่งวางกลยุทธ์เพื่อปรับให้ธุรกิจของตนกลายเป็น Experience Leader ในอุตสาหกรรมกันในช่วงนี้

อย่างไรก็ดี การเป็น Experience Leader นั้นไม่เพียงแต่ที่ธุรกิจจะต้องสามารถส่งมอบประสบการณ์เฉพาะบุคคลหรือ Personalized ได้เท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า Personalization at Scale ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคลสำหรับฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ที่มีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจในหลากหลายช่องทางและหลายบริบทให้ได้

เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถปรับนำแนวคิด Personalization at Scale ไปใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น Adobe จึงได้ร่วมมือกับ Forrester จัดทำ Whitepaper ในหัวข้อ “Personalization at Scale: นำเสนอประโยชน์ที่ลูกค้าและธุรกิจได้รับจากประสบการณ์ที่เป็นเลิศ” ความยาว 24 หน้า โดยมีการสำรวจลูกค้าและผู้นำธุรกิจในกลุ่ม B2C และ B2B จำนวนหลายพันราย และมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

  • Experience Leader จะดำเนินการเพื่อสร้างประสบการณ์ Personalization at Scale
  • บริษัทต่าง ๆ ต้องเชี่ยวชาญและมีความสามารถใหม่ ๆ ในด้านข้อมูล เนื้อหา และรู้จักประสานวิธีการที่หลากหลายตลอดเส้นทางการดำเนินธุรกิจ
  • รูปแบบการดำเนินงานที่มีเจ้าของหลายรายและมีการประสานงานร่วมกันเป็นอย่างดี จะช่วยเสริมพลังให้การสร้างประสบการณ์ Personalization at Scale เป็นกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ

ผู้ที่สนใจรายละเอียดฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลด Whitepaper ฉบับภาษาไทยได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ https://go.techtalkthai.com/2023/02/personalisation-at-scale/

from:https://www.techtalkthai.com/free-download-whitepaper-personalization-at-scale/

ปีที่ 5 IMET MAX โครงการบ่มเพาะผู้นำ ไม่เน้นปาร์ตี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย เน้นเรียนจากผู้นำตัวจริง

เข้าสู่ปีที่ 5 แล้วสำหรับ IMET MAX โครงการที่มุ่งพัฒนา และยกระดับ ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง ให้เป็นผู้นำที่ดี และสามารถสร้างประโยชน์ที่มีคุณค่าให้ตนเอง, สังคม และประเทศ

จุดแข็งของ IMET MAX นอกจาก Mentor ระดับผู้นำแถวหน้าของประเทศ ยังมีเรื่องเนื้อหาที่เข้มข้นตลอดระยะเวลา 12 เดือน ไม่เน้น Networking หรือปาร์ตี้เหมือนกับโครงการอื่น ที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการเข้าร่วม

IMET MAX ปีที่ 5 นี้จะมีใครเข้ามาเป็น Mentor บ้าง และความสำเร็จของ Mentee รุ่นก่อนเป็นอย่างไร Brand Inside เตรียมคำตอบไว้ให้ดังนี้

IMET MAX

IMET MAX โครงการบ่มเพาะผู้นำที่แตกต่าง

IMET MAX เป็นโครงการบ่มเพาะผู้นำของ มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย หรือ IMET เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ก่อตั้งมา 40 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถด้านการบริหาร การจัดการ ผ่านการประสานความร่วมมือกับหลายภาคส่วน สร้างขีดความสามารถให้กับผู้นำองค์กร

ก่อนหน้านี้ IMET เคยจัดอบรมต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนานักธุรกิจส่วนภูมิภาคทุกระดับทั่วประเทศ ที่มีผู้เข้าอบรมรวมกว่า 18,000 คน และมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้เข้ากับยุคสมัย พร้อมมีคณะกรรมการใหม่ ๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนหน่วยงาน จนเมื่อ 4 ปี ก่อน IMET ได้เริ่มโครงการ IMET MAX ที่เน้นบ่มเพาะผู้นำองค์กรรุ่นใหม่โดยเฉพาะ

“เราเริ่ม IMET MAX เมื่อ 4 ปีก่อน เพราะเชื่อว่าผู้บริหารรุ่นใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขาอาจมีปัญหา แต่ไม่รู้จะไปคุยกับใคร IMET MAX จึงขอช่วยพวกเขา ชวนคิด ช่วยคิด และสะท้อนมุมมองต่าง ๆ ในการคิด” ธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) และประธานโครงการ IMET MAX กล่าว

IMET MAX
ธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) และประธานโครงการ IMET MAX

คนต้องลับคมด้วยคน เหมือนเหล็กลับคมด้วยเหล็ก

ธนพล ยังเสริมว่า จากความเชื่อเรื่อง คนต้องลับคมด้วยคน เหมือนกับเหล็กลับคมด้วยเหล็ก ทำให้ IMET MAX ชักชวนผู้นำระดับแถวหน้าของประเทศเข้ามาเป็น Mentor ในโครงการ และพัฒนา Mentee ตามหลักการ Wisdom for Life and Social Values

“ตอนนี้เราเห็นหลักสูตรผู้นำเยอะมาก แต่จะเน้น Networking หรือปาร์ตี้ มากกว่า แต่ของ IMET MAX ไม่ใช่เลย เพราะเราเน้นสอน และชวนคิดจริง ๆ เพื่อช่วย Mentee ให้ค่อย ๆ เติบโต และเป็นคนดีของสังคม ทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครเข้าร่วมโครงการ”

ตลอดระยะเวลา 4 ปีของ IMET MAX มูลนิธิ IMET ได้สร้าง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับ Mentor และ Mentee รวมแล้วกว่า 155 คน โดยในปีนี้โครงการ IMET MAX เปิดรับสมัครผู้นำรุ่นใหม่ที่เป็นคนดี มีศักยภาพสูง และมีความต้องการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ Mentoring ให้เข้าร่วมโครงการ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

IMET MAX

รู้จัก Mentor ทั้ง 12 ท่านที่เข้าร่วมโครงการ IMET MAX

สำหรับโครงการ IMET MAX รุ่นที่ 5 ได้รับเกียรติจาก 12 ผู้บริหารชั้นนำของประเทศที่ล้วนเป็นผู้บริหารระดับสูงและเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมมาร่วมเป็น Mentor ประกอบด้วย

  • กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
  • จรีพร จารุกรสกุล คุณจรัมพร โชติกเสถียร
  • ธีรพงศ์ จันศิริ
  • บรรยง พงษ์พานิช
  • ปรีชา เอกคุณากูล
  • ไพรินทร์ ชูโชติถาวร
  • ภาณุ อิงคะวัต
  • วรรณิภา ภักดีบุตร
  • วิรไท สันติประภพ
  • วิบูลย์ ตวงสิทธิสมบัติ
  • สมประสงค์ บุญยะชัย

ทั้งหมดนี้จะมาให้คำชี้แนะ คำปรึกษา ช่วยคิด และชวนคิด รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้บริหารรุ่นใหม่ให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา และสามารถประยุกต์คุณค่าที่ตนได้รับให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง และสังคม ผ่านความรู้ที่มาจากผู้นำในองค์กรเอกชน, หน่วยงานรัฐ และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด และในฐานะ Mentor ของโครงการ IMET MAX เล่าให้ฟังว่า ถือเป็นอีกปีที่เข้ามาเป็น Mentor และ IMET MAX คือโครงการที่แตกต่างผ่านการเน้นเรื่องจริยธรรม สร้างธรรมาภิบาลให้กับผู้เรียน สู่การเป็นผู้นำที่ดีในระยะยาว

IMET MAX
กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด และในฐานะ Mentor ของโครงการ IMET MAX
IMET MAX
ปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีวิลเอนจีเนียริง ในฐานะ Mentee รุ่นที่ 1 และคณะทำงานโครงการ IMET MAX

ประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อน

ปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีวิลเอนจีเนียริง ในฐานะ Mentee รุ่นที่ 1 และคณะทำงานโครงการ IMET MAX เล่าให้ฟังว่า การได้เข้าร่วมโครงการนี้ได้รับประสบการณ์ที่ไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อน ผ่านการสอนที่แตกต่าง และเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Mentor ได้อย่างต่อเนื่อง

“การสร้างคนอาจไม่ใช่การผลิตออกมาให้เห็นได้ทันที ต้องค่อย ๆ สร้างความมั่นใจให้กับพวกเขา เหมือนที่ IMET MAX ทำ ที่ส่งต่อความคิดที่ดีไปยังชุมชนต่าง ๆ ผ่านผู้บริหารที่เข้าร่วม และไม่ว่าจะเป็นสายการเงิน, ข้าราชการ หรือทำธุรกิจทั่วไป และ NGO ก็สามารถเข้ามาเป็น Mentee ในโครงการนี้ได้”

ทั้งนี้คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัครโครงการ IMET MAX รุ่นที่ 5 ประกอบด้วย

  • มีอายุระหว่าง 35-45 ปี (วันสุดท้ายของวันที่รับสมัคร ต้องมีอายุครบ 35 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 46 ปีบริบูรณ์ โดยวันเกิดของผู้สมัครอยู่ระหว่างวันที่ 31 ม.ค. 2520 – 31 ม.ค. 2531)
  • เป็นผู้ที่มีความท้าทายในชีวิตและเชื่อว่ากระบวนการ Mentoring สามารถช่วยให้พบ Wisdom for Life and Social Values ที่พึงประสงค์
  • เป็นผู้ที่ตระหนักถึงความสำคัญและมีความต้องการที่จะสร้างคุณค่าแก่ผู้อื่นและสังคม
  • สามารถเข้าร่วมการ Mentoring (จำนวน 8 ครั้ง) และกิจกรรมภาคบังคับได้ครบถ้วนตามที่โครงการกำหนด
    เป็นผู้ที่ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของกฎหมาย ศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยและไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงในทางเสื่อมเสีย
  • เป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่บทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร มีความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ตลอดจนมีศักยภาพในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคมในประเภทต่าง ๆ ดังนี้
    • ผู้บริหารธุรกิจภาคเอกชน (Business Professional) ที่มีโอกาสก้าวหน้าอย่างสูงในเส้นทางอาชีพ มีบทบาทสำคัญในหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ ตลอดจนมีผลงานอันประจักษ์และเป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
    • ผู้ประกอบการธุรกิจ (Business Entrepreneur) ที่เป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วนหลักผู้มีบทบาทสำคัญในการบริหารและขับเคลื่อนองค์กรซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตสูงหรือสร้างสรรค์คุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้บริโภค อุตสาหกรรมและสังคม
    • ทายาทธุรกิจ (Business Successor) ของกิจการที่มีศักยภาพสูง ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญและโดดเด่นในการบริหารงาน ตลอดจนขับเคลื่อนและต่อยอดธุรกิจให้เจริญเติบโตและยั่งยืน
    • อาจารย์และนักวิชาการ (Academic) ที่มีผลงานโดดเด่นในด้านวิชาการ การสอน การเป็นที่ปรึกษาให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน หรือได้ดำรงตำแหน่งบริหารที่มีบทบาทสำคัญสถาบันการศึกษา
    • เจ้าหน้าที่และบุคลากรภาครัฐ (Government and Public Official) ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายหรือการบริหารหน่วยงานภาครัฐ อันนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติและประโยชน์สุขของประชาชน
    • ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อพัฒนาสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มุ่งภารกิจหลักอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และมีบทบาทอย่างสูงทางความคิดหรือการดำเนินงานอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่พึงปรารถนา
    • ผู้มีวิชาชีพเฉพาะทาง (Specialist) อาทิ แพทย์ เภสัชกร สถาปนิก วิศวกร ผู้ประกาศข่าว ศิลปิน นักเขียน นักแสดง ฯลฯ ที่มีผลงานเชิงประจักษ์อันเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาชีพและเป็นผู้มีบทบาทอย่างสูงทางความคิดหรือมีความชำนาญการเฉพาะทางที่สามารถขับเคลื่อน พัฒนาความก้าวหน้าและรังสรรค์คุณค่าแก่สาขาวิชาชีพ อุตสาหกรรม หรือประชาสังคม
    • ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
  • ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือเป็นคู่ชีวิต สามี ภรรยาที่จดทะเบียนหรือมิได้จดทะเบียนตามกฎหมายกับ Mentee ของโครงการรุ่นก่อนหน้า (IMET MAX รุ่นที่ 4)

หากตรงตามคุณสมบัติดังกล่าว ผู้สมัครดำเนินการสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2566 โดยการสมัครจะนับว่าสมบูรณ์เมื่อผู้สมัครกรอกใบสมัครผ่านระบบออนไลน์ครบถ้วนและสมบูรณ์ ตลอดจนส่งเอกสารเพิ่มเติมทาง e-mail ที่ imetmax5@gmail.com

อ้างอิง // IMET MAX

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ปีที่ 5 IMET MAX โครงการบ่มเพาะผู้นำ ไม่เน้นปาร์ตี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย เน้นเรียนจากผู้นำตัวจริง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/imet-max-5th-yrs/

เจอหัวหน้าแบบนี้ลาออกดีกว่า! เผย 5 สัญญาณ ของหัวหน้าที่ทำงานด้วยยังไงก็ไม่รุ่ง

เช็ก 5 สัญญาณ ของหัวหน้าที่ทำงานด้วยแล้วไม่รุ่ง เจอหัวหน้าแบบนี้ลาออกอาจจะเป็นคำตอบที่จะทำให้ชีวิตการทำงานราบรื่นและรุ่งกว่าเก่า

ถ้าพูดถึง ความเป็นผู้นำ หลายคนอาจนึกถึงคนที่มีความฉะฉาน มีการตัดสินใจที่เด็ดขาดฉับไว

แต่ในอีกด้านหนึ่งการเป็นผู้นำหรือการเป็นหัวหน้าหมายถึงการเป็นผู้ขับเคลื่อนกลุ่มก้อนของคนจำนวนหนึ่งเพื่อไปสู่จุดหมายหนึ่งๆ ในแง่นี้ ความเป็นผู้นำจึงหมายถึง ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์คนอื่นและก้าวไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ด้วยกัน

แต่ที่โชคร้ายก็คือทุกวันนี้เราเห็นผู้คนในระดับหัวหน้าจำนวนมากยังไม่เข้าใจความเป็นผู้นำในแง่มุมนี้ หลายคนยังขาดทักษะมนุษยสัมพันธ์ (People Skill) และ ความฉลาดทางด้านอารมณ์ (Emotional Intelligence)

และนี่คือ 5 สัญญาณของหัวหน้าที่ขาดทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์และอารมณ์จนอาจสร้างความตึงเครียดโดยไม่จำเป็นและฉุดรั้งความสามารถของทีมโดยรวมลง

1. จู้จี้จุกจิก

หัวหน้าที่ขาดความสามารถอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าการจัดหมายถึงการควบคุม และแน่นอนการควบคุมชนิดที่จับผิดการกระทำทุกฝีก้าว ควบคุมทุกกระบวนการ และจี้ข้อผิดพลาดที่ไม่ได้สลักสำคัญแทนที่จะมองดูภาพรวม ทำให้บรรยากาศภายในทีมแย่ลงซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาคือการที่ลูกทีมแสดงศักยภาพได้ไม่ดีเหมือนเดิม 

ในทางตรงกันข้าม ถ้าหัวหน้าเปลี่ยนจาก “ควบคุม” เป็น “ส่งเสริม” ให้ลูกทีมได้มีอิสระและอำนาจที่จะตัดสินใจและทำงานด้วยตัวเองมากเพียงพอศักยภาพและความสร้างสรรค์ของทีมก็จะถูกปลดปล่อยออกมา สิ่งที่สำคัญคือหัวหน้าต้องเข้าใจลูกทีมว่าถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร และควรจะส่งเสริมและให้คำแนะนำอย่างไร

2. ยึดไอเดียของตัวเองเป็นที่ตั้ง

หัวหน้าที่ไม่เข้าใจลูกน้อง ไม่เห็นศักยภาพที่แท้จริงของลูกน้อง มักจะเป็นคนที่เอาความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งและไม่เปิดรับไอเดียใหม่ๆ ซึ่งแน่นอนว่านี่เป็นผลร้ายต่อบริษัทเพราะการจัดการแบบนี้จะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ที่มักจะเกิดจากการระดมความคิดหลากหลายมุมมองมักจะไม่เกิดขึ้น

และที่สำคัญคือสมาชิกในทีมก็จะไม่ได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองเพราะไม่ได้ขัดเกลาทักษะในการคิดและลงมือทำด้วยตัวเองและที่สำคัญก็อาจจะกระทบกับสุขภาพจิตเพราะบรรยากาศทีมไม่ได้สร้างความรู้สึกที่ว่าเรามีคุณค่ามากเพียงพอ

3. เป็นผู้พูดที่ฟังไม่เป็น

ชีวิตการทำงาน

อีกหนึ่งความผิดพลาดของหัวหน้าคือการเป็นผู้พูดที่ฟังไม่เป็น ไม่เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น และถ้าแย่ไปกว่านั้นก็อาจถึงขั้นไม่ฟังข้อผิดพลาดของตัวเองและไม่ยอมรับข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์จากคนอื่น ซึ่งแน่นอนว่านอกจากจะไม่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ยังอาจสร้างบรรยากาศการทำงานที่น่าหน่ายใจ

4. ไม่ส่งเสริมคนในทีม

หัวหน้าที่ขาดความสามารถจะไม่เข้าใจว่าลูกน้องแต่ละคนเป็นอย่างไร และสามารถส่งเสริมศักยภาพอย่างไรได้บ้าง จึงไม่สามารถมอบงานหรือให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการศักยภาพได้

ในทางกลับกันหัวหน้าที่ดีจะมอบโอกาสให้กับคนในทีมไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงาน การให้คำแนะนำที่เหมาะสม ไปถึงการสอนงานแบบจริงจัง แน่นอนว่านอกจากพนักงานแต่ละคนจะได้พัฒนาตัวเองภายใต้หัวหน้าแบบนี้แล้ว บรรยากาศการทำงานภายในทีมก็จะดีเพราะทีมจะทราบว่านี่คือพื้นที่แห่งโอกาส

5. ไม่ว่างตลอดเวลา

สัญญาณสุดท้ายของหัวหน้าที่ไม่ดีคือหัวหน้าที่มักจะไม่มีตัวตนและหายไปกับงาน “สำคัญ” หรืองาน “ด่วน” อยู่เสมอโดยไม่ได้ให้ความสนใจว่าการพบปะและทำงานร่วมกับคนในทีมก็เป็นอีกหนึ่งงานสำคัญที่จะทำให้ทีมก้าวไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ด้วยกัน 

ที่มา – Inc

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เจอหัวหน้าแบบนี้ลาออกดีกว่า! เผย 5 สัญญาณ ของหัวหน้าที่ทำงานด้วยยังไงก็ไม่รุ่ง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/5-signals-point-out-that-your-leader-is-unacceptable/

Leadership Vision: IBM กับทิศทางการสนับสนุน Partner และ Ecosystem ปี 2021 บทสัมภาษณ์คุณสิริกร บุญเสริมสุวงศ์ IBM Thailand

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ หนึ่งในยักษ์ใหญ่ทางด้าน Enterprise IT ที่มีการขยับตัวที่น่าจับตามองมากที่สุดนั้นก็คือ IBM ที่มีทั้งการเข้าซื้อกิจการครั้งใหญ่อย่าง Red Hat, การปรับกลยุทธ์ของธุรกิจ และแผนการแยกบริษัท แต่หลังจากนี้ไป IBM จะเดินหน้าต่อไปในทิศทางไหน? และในประเทศไทย IBM จะจับมือกับพันธมิตรรายใดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใดบ้าง? มาพบกับคำตอบของคำถามเหล่านี้ได้ในบทความ “IBM กับทิศทางการสนับสนุน Partner และ Ecosystem ปี 2021” บทสัมภาษณ์คุณสิริกร บุญเสริมสุวงศ์ Partner Ecosystem Leader ไอบีเอ็ม ประเทศไทย

ผู้ถูกสัมภาษณ์: คุณสิริกร บุญเสริมสุวงศ์

บริษัท: ไอบีเอ็ม ประเทศไทย

ตำแหน่ง: Partner Ecosystem Leader

ประวัติโดยย่อ: คุณสิริกรมีประสบการณ์กว่า 20 ปีในธุรกิจซอฟต์แวร์และระบบไอที รวมถึงการดูแลลูกค้าตั้งแต่กลุ่มธนาคาร โทรคมนาคม และประกันภัยขนาดใหญ่ ไปจนถึงลูกค้าระดับ SME

ช่องทางการติดต่อ:

คร่าวๆ เกี่ยวกับทิศทางของไอบีเอ็มในปัจจุบัน

วันนี้โฟกัสหลักของไอบีเอ็มคือการนำ Hybrid Cloud และ AI เข้าช่วยลูกค้าใน 3 ด้านหลัก คือ หนึ่ง ลดต้นทุน ช่วยแนะนำลูกค้าว่าข้อมูลส่วนไหนควรอยู่ on premise ส่วนไหนควรอยู่บน Cloud การประมวลผลส่วนไหนควรรันบน Cloud ส่วนไหนไม่จำเป็น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุดแต่มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่โดน Lock-in หรือหากองค์กรจะสร้างแพลตฟอร์มใหม่ๆ รวมถึงทำ Application Modernization ซึ่งต้องใช้ API และอยู่บน Container เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ แต่มีข้อมูลอยู่หลาย Cloud แถมยังมีระบบ Legacy แบบเดิมๆ อยู่ด้วย ตรงนี้เราจะนำ Cloud Satellite เข้าไปช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร

สอง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมี Ecosystem ของ Business Partner เป็นกลจักรสำคัญ จับมือกันเข้าไปช่วยลูกค้าดูว่าทำอย่างไรที่งานแอดมินที่มีขั้นตอนซ้ำๆ ตอนนี้ใช้คนทำแถมกินเวลามหาศาล ตรงนี้ AI หรือ Automation จะเข้าไปช่วยลดเวลาการทำงานที่เดิมเป็นหลักอาทิตย์ให้เหลือหลักนาทีหรือวินาทีได้อย่างไร เพื่อให้คนสามารถไปโฟกัสที่งานในส่วนที่สร้างคุณค่าให้องค์กรมากขึ้น

และสาม ช่วยปกป้ององค์กรจากภัยไซเบอร์ อย่างทุกวันนี้หลายองค์กรเริ่มใช้ Cloud ซึ่ง Cloud ไม่ได้ปลอดภัย 100% เมื่อ Cloud ควรมีการ Encryption ส่วนนี้ก็ไม่ควรที่จะกิน Resources และกลายเป็นตัวทำให้รันระบบได้ช้า หรือเปิดช่องให้แฮคเกอร์โจมตีได้ขณะ Decrypt หรือทำอย่างไรลูกค้ามั่นใจได้ว่าข้อมูลอยู่บนระบบที่ปลอดภัยจริงๆ Keep Your Own Key (KYOK) คือใครก็ไม่มีกุญแจเข้าไปดูข้อมูลของลูกค้าได้

เหล่านี้คือสิ่งที่ไอบีเอ็มและ Partner ของเรากำลังจับมือกัน เพื่อเข้าไปช่วยลูกค้า ไอบีเอ็มเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีและประสบการณ์ในการทำงานในทุกอุตสาหกรรม ส่วน Partner ของเราก็คือคนที่สเกล คือส่วนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมให้กับองค์กรไทย

ทิศทางความร่วมมือกับ Business Partner และ Ecosystem ของไอบีเอ็มในปัจจุบัน

เมื่อต้นปี ไอบีเอ็มมีการปรับโมเดล Go-to-market ใหม่ ตั้งทีมขึ้นมาช่วยลูกค้าที่ต้องการใช้เทคโนโลยีของไอบีเอ็ม โดยเป้าหมายในปีนี้คือการเพิ่มการสนับสนุน Ecosystem Partners ไอบีเอ็มได้ประกาศลงทุน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุน Partners ทั่วโลกต่อเนื่องสามปี

นอกจากนี้ยังมีการสร้างความร่วมมือระยะยาวกับพันธมิตรระดับโลกอย่าง Adobe, SalesForce, SAP, ServicesNow, Deloitte, EY, Tata Consultancy Services และ WiPro เป็นต้น

รวมถึงล่าสุดที่ได้มีการประกาศขยาย Ecosystem ของ IBM Cloud for Financial Services ที่ริเริ่มมาจากความร่วมมือกับธนาคารอย่าง Bank of America, BNP Paribas และ MUFG แต่วันนี้มีการดึง Partner เข้ามาเพิ่มกว่า 90 ราย ทั้งหน่วยงานคอนซัลท์ ISVs, ผู้ให้บริการ Software as a Service (SaaS) รวมถึง SAP ซึ่งจะทำให้หน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างสถาบันการเงินและธนาคาร สามารถมั่นใจว่าตัวเองปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่กำกับดูแลอยู่ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างแอพหรือบริการใหม่ๆ ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพจากผู้ให้บริการบน Cloud โดยมั่นใจได้ว่าเครื่องมือและเวนเดอร์เหล่านี้ได้รับการ Verify ทั้งในแง่คุณภาพและ Compliance ตามข้อกำหนดของอุตสาหกรรมการเงินทั้งในไทยและระดับโลก

ตัวอย่างการจับมือ Partner ร่วมสนับสนุนธุรกิจในปีที่ผ่านมา?

ปีที่ผ่านมาถือเป็นปีที่คึกคัก มีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย อย่างการที่เราจับมือกับ MFEC ช่วยพัฒนา Security Operations Center ให้กับ PTT Digital เพื่อดูแลเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้ให้กับเครือ ปตท. ทั้งเครือ การที่เราจับมือกับ Metro Systems นำเทคโนโลยี IBM Cloud Pak for Data ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดาต้าและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) แบบครบวงจรที่รองรับการประมวลผลผ่านคลาวด์ เข้าไปช่วยสร้างประสบการณ์ช็อปปิ้งแบบเฉพาะบุคคล (personalized) เชื่อมต่อห้างฯ-ออนไลน์แบบไร้ขีดจำกัดเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ห้างในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป

หรือแม้แต่ความร่วมมือรูปแบบใหม่ๆ กับเอไอเอส ในการร่วมกันให้บริการ Cloud Managed Services สำหรับแพลตฟอร์มคลาวด์ทั้งแบบ Public, Hybrid และ On-Premise โดยมีช่วยควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชันให้ต่อเนื่อง รวมถึงมอนิเตอร์ Microservices และ Container แบบ Remote ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงบนพื้นฐานแนวคิดแบบ Zero-Touch Operations และรองรับการขยับขยายไปยังเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Internet of Things (IoT) และ 5G ในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย

ทิศทางการสนับสนุน Partner และ Ecosystem ของไอบีเอ็มในปีนี้

สิ่งที่เราได้เริ่มทำไปแล้วคือ Cloud Engagement Fund ที่เพิ่มเงินสนับสนุนและ Cloud Credit ให้กับลูกค้า IBM Cloud การส่งทีม Hybrid Cloud Build Team เข้าช่วยให้ความรู้และสนับสนุน Partner ในการออกแบบ สร้าง และ Migrate บนระบบและซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาสำหรับ Hybrid Cloud

นอกจากนี้ยังมีการเปิด Red Hat Marketplace ที่เป็นบริการ One-stop ช่วยเร่งการสร้างนวัตกรรมบน OpenShift บนคลาวด์ใดก็ได้ และล่าสุดยังได้มีการดึงพาร์ทเนอร์ในไทยเข้าร่วมแพลตฟอร์ม Cloud for Financial Services ร่วมกับ Partner ระดับโลก เป็นต้น

ไอบีเอ็มยังมีทีม Marketing ที่ช่วยสนับสนุน Partner ในการทำตลาดและแคมเปญดิจิทัลตลอดเส้นทางการซื้อ

from:https://www.techtalkthai.com/leadership-vision-ibm-partnership-and-ecosystem-2021-by-ibm-thailand/

Leadership Vision: แนวโน้มน่าจับตามองวงการ Wiring/Cabling ปี 2021 บทสัมภาษณ์คุณ Eric Chng แห่ง Panduit

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ระบบโครงสร้างพื้นฐานในระดับ Layer 1 ของระบบเครือข่ายอย่างการเดินสายเองก็ต้องรองรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในอนาคตให้ได้ ในปี 2021

วงการ Wiring มีอะไรน่าจับตามองบ้าง? การเดินสายสัญญาณเครือข่ายในทุกวันนี้มีประเด็นใดที่องค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ?

พบกับคำตอบของคำถามเหล่านี้ได้ใน Leadership Vision: แนวโน้มน่าจับตามองวงการ Wiring/Cabling ปี 2021 บทสัมภาษณ์คุณ Eric Chng แห่ง Panduit

ผู้ถูกสัมภาษณ์: คุณ Eric Chng

บริษัท: Panduit

ตำแหน่ง: Technical Director & Country Manager Thailand

ช่องทางการติดต่อ:

Website บริษัท: https://www.panduit.com/
อีเมล์ติดต่อ: eric.chng@panduit.com
LinkedIn: https://www.linkedin.com/in/eric-chng-596332106/

ในปี 2020 ที่ผ่านมา ธุรกิจ Wiring ทั่วโลกเป็นอย่างไร?

จากผลสำรวจของ BSRIA ตลาดของระบบโครงสร้างสายสัญญาณคาดว่าจะลดลง 12% จากปี ค.ศ.2019 ที่มีมูลค่า 6.6 พันล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ เทียบกับปี ค.ศ.2020 ที่มีมูลค่า 5.8 พันล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแต่ละประเทศ และการเกิดโรคระบาดซึ่งมีผลโดยตรงกับเศรฐกิจในภาพรวม รวมถึงการแทรกแซงของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนโครงสร้างเศรฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยังส่งผลกระทบโดยตรงของตลาดในภาพรวม โดยเฉพาะการท่องเที่ยว โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ ร้านค้าปลีกรวมถึงศูนย์ข้อมูลก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ในส่วนของตลาดการศึกษายังสามารถนั้นยังประคองตัวได้ดี

เป็นที่น่าสนใจว่าการระบาดของโรคระบาดจะส่งผลกระทบกับตลาดและการเติบโตของราคาของสายทองแดง และสายใยแก้วนำแสง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายเชื่อมต่อใยแก้วนำแสง ถายในปี ค.ศ.2024 มีการคาดการว่าตลาดของสายใยแก้วนำแสงจะมีการเติบโตขึ้น 33% เมื่อเทียบกับมูลค่าของตลาดระบบโครงสร้างสายสัญญาณทั่วโลก

ในปี 2021 ที่กำลังจะมาถึงนี้ มองแนวโน้มเรื่องของการทำ Wiring ว่าเป็นอย่างไร?

ตลาดระบบโครงสร้างสายสัญญาณของเอเชียแปซิฟิกมีการแนวโน้มลดลง 10% ในปี ค.ศ.2020 และนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่าจะกลับมาโตขึ้นในปีคศ.2021 และจะกลับไปเติบโตเท่ากับตัวเลขในปี ค.ศ.2019 ถายในสิ้นปี ค.ศ.2022 ซึ่งสอดคล้องกับที่หลายประเทศได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการเติบโตขี้นของ GDP ในปี ค.ศ.2021 เช่นกัน

นวัตกรรมใหม่ทางด้าน Wiring ที่เกี่ยวข้องกับ Data Center ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง?

นวัตกรรมใหม่ๆของสายเคเบิ้ลในด้านการออกแบบ และโครงสร้างของสายใยแก้วนำแสง รวมถึงสายเชื่อมต่อในแบบต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในโซลูชั่นของศูนย์ข้อมูล สายทองแดงที่ใช้มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กลง โซลูชั่นสายใยแก้วนำแสงที่มีจำนวนจำนวนคอร์ที่มากขึ้น สามารถใช้งานได้ในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของสายสัญญาณสูง

ยกตัวอย่างเช่นสายเชื่อมต่อ UTP CAT6A ขนาดเล็ก 28AWG ที่ใช้พื้นที่ของตู้ Rack เละรางเก็บสายลดลง รวมถึง UTP โซลูชั่นที่สามารถใช้งานได้ 48 พอร์ตต่อจำนวน Rack 1U สายใยแก้วนำแสงจำนวน 96 คอร์ต่อ Rack 1U (48 พอร์ต LC Duplex) หรือแม้กระทั่งโซลูชั่นสายใยแก้วนำแสงจำนวน 144 คอร์ต่อ Rack 1U (72 พอร์ต LC Duplex) ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายบนพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของสายสัญญาณสูงและ โซลูชั่นสายสำเร็จรูปจากโรงงานผู้ผลิต (ตลับต่อสายใยแก้วนำแสง และสายใยแก้วนำแสงสำเร็จรูป) โซลูชั่นข้างต้นนนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากในโซลูชั่นศูนย์ข้อมูล และยังสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

นวัตกรรมใหม่ทางด้าน Wiring ที่เกี่ยวข้องกับ Campus Networking ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง?

ในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยได้รับการพัฒนานวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการใช้งานสายสัญญาณ UTP CAT6A เพื่อรองรับการใช้งาน PoE++ ตลอดจนการใช้งาน และแนวทางปฏิบัติในการติดตั้ง Wifi6 ดังนั้นการเลือกสายสัญญาณ และอุปกรณ์เชื่อมต่อจึงมีความสำคัญมากในการใช้งานในอนาคตของระบบโครงสร้างสายสัญญาณ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานปลั๊ก RJ45 แบบฟิลด์เทอร์มิเน็ต ที่จุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ปลายทาง ตลอดจนการใช้งานสายเชื่อมต่อ UTP 28AWG ขนาด 6 หรือ 8 นิ้วสำหรับการเชื่อมต่อโดยตรงนั้นกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีกด้วย โซลูชั่นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะทำให้ลดต้นทุนในการติดตั้งให้น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

นวัตกรรมใหม่ทางด้าน Wiring ที่เกี่ยวข้องกับ IoT และ Smart Building ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง?

Single Pair Ethernet (SPE) เป็นวิวัฒนาการของเทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตที่ปฏิวัติการเข้าถึงข้อมูลและการควบคุมอุปกรณ์ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ใน IoT (Internet Of Things) และระบบโคงสร้างอาคารอัจฉริยะ นั่นเป็นเปิดใช้งานการสื่อสาร TCP / IP ไปยังเซ็นเซอร์ของระบบเครือข่าย ทำให้ลดการซับซ้อนของการทำงานของอีเทอร์เน็ตชั้นกายภาพ (Physical Layer) จากใช้งานสายสัญญาณ 4 คู่ลงมาเหลือเพียง 1 คู่ แม้ว่า SPE จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ก็มีศักยภาพที่จะเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ต่อไปใน IoT และระบบอาคารอัจฉริยะ

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต้องเริ่มทำ Wiring ใหม่ภายในองค์กรสำหรับปี 2021 ได้แก่อะไรบ้าง?

เราเชื่อว่าการเติมโตของเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับธุรกิจโครงสร้างสายสัญญาณในปี ค.ศ.2021 ความเร็วของการขยายตัวของเมืองจะเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศ การลงทุนในกลุ่มศูนย์ข้อมูลยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบคลาวด์โทรคมนาคมและ ISP เพื่อขับเคลื่อนและรองรับกระแสการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล เช่นการศึกษาออนไลน์ การทำงานระยะไกล ระบบอีคอมเมิร์ซ เกม และความบันเทิงเป็นต้น

Panduit จะสามารถช่วยตอบโจทย์เหล่านี้ให้กับธุรกิจองค์กรได้อย่างไร?

Panduit เป็นผู้ผลิตระบบสายสัญญาณโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพชั้นนำ ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา การออกแบบและจัดหาโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพแบบ end-to-end สำหรับความต้องการของระบบโครงสร้างสายสัญญาณของคุณ เราเป็นแบรนด์ระดับโลกที่เชื่อถือได้และได้รับการพิสูจน์มาแล้วด้วยประสบการณ์มากกว่า 60 ปี เราภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำ และเป็นส่วนหนึ่งพัฒนาอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ

from:https://www.techtalkthai.com/leadership-vision-wiring-and-cabling-trends-for-2021-by-eric-chng-panduit/

15 ข้อที่เจ้าของ SME ควรคิด เพื่อสู้ศึกธุรกิจในปี 2021

ในปี 2021 นี้เจ้าของธุรกิจควรหันมาปรับตัวหรือใส่ใจในเรื่องอะไรมากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงท่ามกลางวิกฤติโควิด 19 ที่ยังเป็นความท้าทายใหญ่ในปัจจุบัน 

15 ข้อที่เจ้าของ SME ควรคิดสู้ศึกธุรกิจปี 2021
15 ข้อที่เจ้าของ SME ควรคิดสู้ศึกธุรกิจปี 2021

ก่อนเข้าสู่เนื้อหา เราลองมาดูกันก่อนว่าในปีที่ผ่านมา แบรนด์ใหญ่ระดับโลก ออกมารับมือกับสถานการณ์โควิด และเป็นตัวอย่างที่ดีให้เจ้าของธุรกิจ SME ได้เรียนรู้ในประเด็นใดกันบ้าง

1. ตอบให้ได้ว่าธุรกิจของเราเกิดมาเพื่ออะไร

ถ้าเราสามารถตอบตัวเองได้ว่าธุรกิจของเราเกิดมาเพื่ออะไร หรือเรากำลังทำธุรกิจเพื่อช่วยคนกลุ่มไหนอยู่ เราก็จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้แม้ว่าจะเจอวิกฤติหนักแค่ไหนก็ตาม สำหรับตัวอย่างที่น่าสนใจในช่วงโควิดที่ผ่านมาก็เช่น แบรนด์ Burger King ที่ทำแคมเปญชวนคนไปซื้ออาหารของคู่แข่งอย่าง McDonald ในประเทศอังกฤษ หรือแบรนด์ Nike ที่บริจาครองเท้ามูลค่ารวมกว่า 5.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น

2. ปรับตัวก่อนได้เปรียบกว่า

Agile คือคำศัพท์ในแวดวงธุรกิจที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยในปีที่ผ่านมา หากแปลให้เห็นภาพมากขึ้น Agile ก็คือการปรับแผนธุรกิจให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น มากกว่าที่จะทำตามแผนใหญ่ที่ตั้งไว้ในตอนแรก ตัวอย่างแบรนด์ที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในช่วงโควิดก็เช่น แบรนด์ Nike ที่ทำแคมเปญ “Play Inside, Play for the World” เพื่อส่งเสริมให้คนปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่างของรัฐบาล

3. อย่าคิดแต่เรื่องผลกำไร

ลูกค้าจะรู้สึกผูกผันกับแบรนด์ที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือสังคมมากกว่าแบรนด์ที่มีจุดยืนเพื่อแสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ Dove ที่รณรงค์ให้วัยรุ่นหญิงกว่า 35 ล้านคนทั่วโลกเกิดความรักและรู้สึกเคารพตัวเองมากขึ้นมาตั้งแต่ปี 2005 หรือแบรนด์ Unilever ที่ผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เป็นต้น

4. ผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์และห่วงใยสิ่งแวดล้อม

ในปีที่ผ่านมาเราอาจจะได้ยินปัญหาเรื่องฟาสต์แฟชั่นกันบ่อย เพราะฟาสต์แฟชั่นคือการเร่งผลิตเสื้อออกมาตามสมัยนิยม โดยพยายามลดต้นทุนทั้งด้านวัสดุและแรงงานให้ต่ำที่สุด รวมทั้งทำให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลายไปโดยไม่รู้ตัว เพราะต้องนำทรัพยากรมาใช้ในการผลิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในปัจจุบันผู้คนในสังคมจึงพยายามรณรงค์ให้ธุรกิจหันมาใส่ใจห่วงโซ่การผลิตที่คำนึงถึงความเป็นมนุษย์มากขึ้น และทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยลง

5. แบ่งกำไรมาช่วยเหลือสังคม

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในช่วงที่โควิด 19 ระบาดรุนแรง ลูกค้าจะรู้สึกประทับใจและอยากมาซื้อสินค้าของแบรนด์หรือธุรกิจที่ออกมาช่วยเหลือผู้คนในสังคมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตินี้ ในทางกลับกัน ลูกค้าก็จะเกิดความรู้สึกต่อต้านแบรนด์หรือธุรกิจที่ทอดทิ้งพนักงาน และไม่มีจุดยืนออกมาช่วยเหลือสังคม

10 ข้อที่ SME ควรรู้เพื่อสู้ศึกธุรกิจปี 2021
10 ข้อที่ SME ควรรู้เพื่อสู้ศึกธุรกิจปี 2021

เมื่อเห็นตัวอย่างของแบรนด์ระดับโลกดังนี้แล้ว SME อย่างเราควรเริ่มต้นครุ่นคิดหรือปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เพื่อให้ธุรกิจพัฒนาไปได้อย่างดียิ่งขึ้น

1. วางแผนธุรกิจให้เรียบร้อยก่อนออกสินค้า

เมื่อคิดอยากตั้งธุรกิจอะไรขึ้นมาสักอย่าง เราควรวางแผนเกี่ยวกับธุรกิจนั้นให้เรียบร้อยและชัดเจนก่อนที่จะผลิตสินค้า เช่น ลองวิเคราะห์คู่แข่งว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจเรามีจุดเด่นและแตกต่าง จะใช้การตลาดแบบไหน ต้องมีกระแสเงินสดเท่าไหร่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหญ่ที่จะตามมา ทั้งนี้ แผนธุรกิจก็เป็นสิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ธุรกิจในช่วงนั้น

2. สร้างเรื่องเล่าของแบรนด์เพื่อทำให้ธุรกิจโดดเด่นจากคู่แข่ง

ในช่วงเริ่มทำธุรกิจ หลายๆ คนอาจจะครุ่นคิดเรื่องการตั้งชื่อแบรนด์ การทำโลโก้ หรือการออกแบบเว็บไซต์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้สำคัญก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจมักจะหลงลืม คือการสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ออกไป เพราะถ้าเราสามารถนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ของเราได้ดี ลูกค้าก็จะจดจำแบรนด์ของเราได้มากกว่าแบรนด์อื่นๆ

3. การบริหารเงินคือเส้นเลือดสำคัญของการทำธุรกิจ

ในช่วงเริ่มต้น เจ้าของธุรกิจหลายๆ คนอาจจะตั้งราคาสินค้าให้ต่ำเข้าไว้ เพื่อดึงดูดลูกค้ามาจากคู่แข่ง แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าเราปรับลดราคาสินค้าให้ต่ำลงเป็นระยะเวลานาน แต่ค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ เช่น ค่าพนักงาน ค่าการตลาด ต้นทุนการผลิต ค่าขนส่ง ฯลฯ ยังสูงแบบเดิม ธุรกิจของเราก็จะขาดทุนในที่สุด ดังนั้น เราควรเน้นการสื่อสารถึงคุณค่าของสินค้าที่เราสามารถส่งมอบให้ลูกค้าแล้วตั้งราคาให้เหมาะสมจะดีกว่า

4. เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณของลูกค้า

เจ้าของธุรกิจมักจะอยากขยายฐานลูกค้าให้ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นคือแทนที่จะมุ่งทำการตลาดไปที่กลุ่มเป้าหมายหลัก พวกเขากลับเน้น “ปริมาณ” มากกว่า “คุณภาพ” ของลูกค้าจริงๆ ดังนั้น เราจึงควรถามตัวเองอยู่เสมอว่า ธุรกิจของเราเกิดมาเพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มไหน แล้วเราอยากต่อยอดธุรกิจให้พัฒนาไปอย่างไรในอนาคต ถ้าตอบคำถามได้ตามนี้เราถึงจะสามารถขยายกลุ่มลูกค้าได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น

4. สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องคิดเมื่อรับพนักงานเข้ามา

การบริหารพนักงานเป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจ ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับพนักงานที่พบได้บ่อยก็เช่น กว่าจะได้พนักงานหนึ่งคนมาต้องผ่านกระบวนการรับสมัครและการคัดเลือกที่ใช้ระยะเวลานาน แต่หลายๆ ครั้งก็กลับได้พนักงานที่ไม่เหมาะกับองค์กร หรือทำงานได้ไม่นานก็ลาออกอยู่ดี ปัญหานี้เกิดจากการที่เจ้าของธุรกิจมักจะจ้างพนักงานเข้ามาช่วยทำงานอย่างเดียว แต่ไม่ได้มองไปถึงขั้นที่ว่าพนักงานคนนั้นจะช่วยให้ธุรกิจ “เติบโตอย่างยั่งยืน” ได้หรือเปล่า

5. เลือกคนผิดชีวิตเปลี่ยน

ในขณะที่การจ้างพนักงานอาจจะไม่ได้เป็นความเสี่ยงมากสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ แต่สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีงบประมาณจำกัดแล้ว กว่าจะเสียเงินจ้างพนักงานหนึ่งคนได้ก็ต้องผ่านการคิดคำนวณมาอย่างดี ดังนั้น เมื่อจะคัดเลือกใครเข้ามาในทีม ขอให้เราพิจารณาอย่างละเอียดก่อนว่า คนๆ นั้นมีทัศนคติและนิสัยเหมาะสมที่จะมาทำงานในธุรกิจของเราหรือไม่ 

6. ระวังข้อมูลสำคัญของธุรกิจรั่วไหล

ข้อมูลที่ว่านั้นรวมไปถึงกลยุทธ์ของธุรกิจและรหัสสำคัญต่างๆ เช่น รหัสล็อกอินเข้าคอมพิวเตอร์ของบริษัท เพราะมีโอกาสสูงที่ผู้ไม่หวังดีจะนำข้อมูลส่วนนี้มาหาผลประโยชน์จากเรา วิธีป้องกันปัญหานี้ คือให้เราระมัดระวังเสมอเมื่อจะให้รหัสสำคัญกับใคร และอย่าลืมเปลี่ยนพาสเวิร์ดของโปรแกรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีคนลาออก

7. ถ้าบริหารคนเดียวไม่ไหวควรแบ่งให้เอาท์ซอร์สช่วยเหลือ

ในช่วงปีสองปีแรกเจ้าของธุรกิจคงจะต้องทำงานบางส่วนแบบหัวหมุน จนส่งผลให้แบ่งเวลามาดูด้านอื่นๆ ได้ไม่ทั่วถึง เช่น ขาดการดูแลหรือควบคุมพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดความผิดพลาดในด้านต่างๆ เช่น การบริหารเงิน การจ้างพนักงาน ดังนั้น วิธีที่จะแก้ปัญหานี้ได้คือให้จ้างเอาท์ซอร์สเข้ามาเพื่อช่วยในเรื่องในเรื่องที่เจ้าของธุรกิจไม่ถนัดหรือไม่มีเวลาดูแลมากพอ

8. เรื่องที่ควรฉุกคิดก่อนตัดสินใจลงทุน

ในการทำธุรกิจเราอาจจะใช้บริการที่ช่วยบริหารระบบหลังบ้านหลายอย่าง เช่น บริการจัดการสต็อคสินค้า บริการจัดทำบัญชี ซึ่งสองบริการนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ แต่หลายๆ ครั้งเจ้าของธุรกิจก็มักจะหลงเชื่อคำโฆษณา และเผลอไปลงทุนในเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ที่ดูเหมือนจะเป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจ แต่ความจริงแล้วไม่ได้จำเป็นสำหรับธุรกิจตัวเองเสียด้วยซ้ำ ส่งผลให้ใช้จ่ายเงินไปอย่างสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

9. ธุรกิจเติบโตเร็วเกินไปใช่ว่าดี

การที่ธุรกิจเติบโตเร็วเกินไปอาจจะส่งผลเสียในระยะยาว ปัญหาที่พบได้บ่อยคือเจ้าของต้องการขยายธุรกิจจึงนำเงินสดออกมาใช้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ขาดกระแสเงินสดและต้องกู้ยืมเงิน ทำให้เกิดหนี้ในที่สุด นอกจากนี้ ในช่วงที่เราเร่งขยายธุรกิจ พนักงานก็ยิ่งต้องทำงานหนักมากกว่าปกติ ทำให้พวกเขารู้สึกเหนื่อย หมดไฟและมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง

ที่มา : Forbes 1, Forbes 2, contentgrip, martechtoday, smallbusinessbc, investopedia, smallbizclub, business

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post 15 ข้อที่เจ้าของ SME ควรคิด เพื่อสู้ศึกธุรกิจในปี 2021 first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/sme-2021-entrepreneur-leadership/

เปิดเคล็ดลับฉบับหัวหน้า ปรับอารมณ์ตัวเองและพนักงานอย่างไร ไม่ให้จมกับโควิด

McKinsey เปิดงานวิจัย เผยเคล็ดลับฉบับผู้นำองค์กร

เมื่อสถานการณ์โควิดกลับมาวิกฤติอีกครั้ง ในฐานะหัวหน้าหรือผู้นำ เราควรทำอย่างไร เพื่อช่วยให้พนักงานคลาย “ความกลัว” หรือ “ความกังวล” และมีแรงใจกลับมาสู้กับงานอีกครั้ง

เปิดงานวิจัย เคล็ดลับปรับอารมณ์ไม่ให้จมกับสถานการณ์โควิด
เปิดงานวิจัย เคล็ดลับฉบับหัวหน้า ปรับอารมณ์ตัวเองและพนักงานอย่างไร ไม่ให้จมกับสถานการณ์โควิด

1. การสื่อสารสำคัญที่สุด

นี่เป็นช่วงเวลาที่เราจำเป็นต้องสื่อสารกับพนักงานให้บ่อยขึ้น และในฐานะหัวหน้าเราก็ควร “อัพเดต” ให้พนักงานทราบเสมอว่า เรากำลังดำเนินการอะไรอยู่เพื่อให้พวกเขาปลอดภัยที่สุด 

ถ้าเราไม่คอยอัพเดตเรื่องราวต่างๆ หรือสื่อสารบ่อยๆ พนักงานก็จะจินตนาการถึงสถานการณ์ของบริษัทในทางที่เลวร้ายกว่าความเป็นจริง เช่น บริษัทกำลังจะปิดตัวลงหรือเปล่า หัวหน้าใส่ใจความรู้สึกของพวกเราหรือไม่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งกดดันตัวเองให้มีคำตอบสำหรับทุกคำถาม อย่างน้อยที่สุดก็ขอให้เราซื่อสัตย์กับพนักงาน โดยสารภาพไปตามตรงว่า “เรายังไม่ทราบว่าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร แต่หวังว่าเราจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ให้ได้เร็วที่สุด” นอกจากนี้ เราอาจจะ “จัดเซสชั่นพูดคุยกับพนักงานแบบ 1:1” ถึงแม้ว่าในช่วงเวลาปกติจะไม่ได้พูดคุยกันแบบนี้ก็ตาม 

2. หัวหน้าต้องใส่ใจทั้ง “สุขภาพกาย” และ “สุขภาพจิต” ของพนักงาน

เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าพนักงานแต่ละคนกำลังรับมือกับอะไรอยู่บ้าง ถ้าเราไม่ได้พูดคุยกับพวกเขาโดยตรง สิ่งสำคัญในช่วงเวลานี้ คือเราควรสังเกตว่า มีพนักงานคนไหนพฤติกรรมเปลี่ยนไปหรือเปล่า เช่น ขาดประชุมออนไลน์บ่อย, เข้าประชุมออนไลน์แต่ปิดกล้อง, ไม่ตอบอีเมลหรือแชทงาน, ส่งงานช้ากว่ากำหนด, ลาป่วยบ่อยกว่าเมื่อก่อน เป็นต้น ถ้าเห็นสัญญานเหล่านี้เราอาจจะลองพูดคุยกับพนักงานเป็นการส่วนตัว เพื่อที่เราจะสามารถช่วยเขาเท่าที่ทำได้ เพราะบางคนอาจจะกำลังแบกภาระอันหนักอึ้งอยู่ เช่น มีหนี้ หรือต้องจัดเวลามาเลี้ยงลูกและทำงานที่บ้านไปพร้อมๆ กัน

หลายบริษัทจึงจัด การประชุมออนไลน์สั้นๆ ในช่วงเช้า เพื่ออัพเดตความคืบหน้าของงาน และเพื่อ ไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบ ของพนักงานว่า “ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง” ซึ่งการที่หัวหน้าพูดคุยหรือวิดิโอคอลกับพนักงานเพียงวันละ 10 นาที ก็ช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นได้ระดับหนึ่งแล้ว

นอกจากนี้ ถ้าบริษัทมี “โปรแกรมให้คำปรึกษา” พนักงานก็จะรู้สึกสบายใจมากขึ้น สิ่งสำคัญคือถ้าพบว่าพนักงานคนไหนต้องการ “ความช่วยเหลือ” เรื่องใดเป็นพิเศษ เราจะได้ช่วยแก้ปัญหาได้ทัน นอกจากนี้ การใส่ใจในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี เช่น ส่งขนมไปให้พนักงานถึงบ้าน เพื่อช่วยส่งเสริมกำลังใจในการทำงาน เป็นต้น

WFH
ประชุมงานออนไลน์

3. มอง “โควิด” เป็น “โอกาส”

แทนที่จะถามว่า ทำไมเรื่องนี้ถึงเกิดกับเรา ให้ลองมองว่าเรื่องนี้เกิดขึ้น เพื่อให้เราได้เรียนรู้ 

วิกฤติเป็นสิ่งที่น่ากลัว แต่เราสามารถ “เรียนรู้” จากวิกฤติได้ หน้าที่ของเราคือทำให้พนักงานเข้าใจว่า โควิดเป็นเพียง “ความท้าทาย” หนึ่งที่จะช่วยให้พวกเขาแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งในฐานะผู้นำเราก็ควรสร้าง “แรงบันดาลใจ” ในการเผชิญหน้ากับปัญหาให้พนักงานด้วยเช่นเดียวกัน เช่น เราจะทำให้บริษัทเติบโตขึ้นหลังจบสถานการณ์โควิดอย่างไร ที่สำคัญให้เราเน้นย้ำกับพนักงานเสมอว่า ถ้าเราผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้เราจะรู้สึก “ภูมิใจ” 

เรายังสามารถมองว่าสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสให้เราได้ “ให้กำลังใจ” พนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานในตำแหน่งที่ไม่สามารถทำงานจากที่บ้าน สิ่งที่เราสามารถทำเพื่อตอบแทนและแสดงความขอบคุณในความเสียสละของพวกเขาก็เช่น ให้เวลาพวกเขาพักเบรคมากขึ้น ให้สวัสดิการอาหารฟรี เพื่อให้พวกเขามีพลังกายและพลังใจทำงานต่อไปในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้

ช่วงเวลานี้ยังเปิดโอกาสให้เราได้ “รับฟังความคิดเห็น” ของพนักงานมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะช่วยให้บริษัทดำเนินกิจการต่อไปได้ นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อดีของสถานการณ์โควิด คือเมื่อต้องเปลี่ยนมาสื่อสารกันทางออนไลน์ทั้งหมด การประชุมต่างๆ ก็มีความ “กระชับ” มากขึ้น ทำให้เราสามารถใช้เวลาที่เหลือไปทำงานให้เกิดประโยชน์ได้ 

อย่างไรก็ดี นอกจากเราจะใส่ใจความรู้สึกของพนักงานแล้ว สิ่งที่ห้ามละเลยเป็นอันขาด คือ “การใส่ใจความรู้สึกของตัวเอง” เพราะการเป็น “หัวหน้า” ไม่ใช่เรื่องง่าย และด้วยตำแหน่งแล้วเราจำเป็นต้องรับมือกับความเครียดหรือความกดดันต่างๆ มากมาย 

1. “ความผิดพลาด” คือบทเรียน เพราะหัวหน้าก็ผิดพลาดได้

การ กลัวความผิดพลาดไม่ได้ช่วยให้เราผิดพลาด น้อยลง

ด้วยความที่เราเป็นหัวเรือใหญ่ของบริษัท การกลัวความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะหากเกิดอะไรไม่ดีขึ้นก็อาจจะส่งผลกระทบไปในวงกว้างได้ อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกกลัวนี้กลับส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของเราโดยไม่รู้ตัว 

วิธีการแก้ปัญหานี้ คือเราควรทำความเข้าใจและ ให้คำจำกัดความอารมณ์” และ “ความรู้สึก” ของเรา เช่น ถ้าเรามีหน้าร้านแล้วเรากลัวว่าลูกค้าจะไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่างหรือสวมหน้ากากอนามัย เราก็อาจจะพูดระบายออกมาให้ตัวเองเข้าใจสถานการณ์ว่า “ฉันรู้สึกกังวลว่าจะไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของลูกค้าที่มาซื้อสินค้าภายในร้าน” เพราะ เมื่อได้พูดออกมาเราจะรู้สึกดีขึ้น ขั้นถัดมาให้เราลอง ลิสต์ความกังวล” หรือ “ความจริงต่างๆ ที่ต้องยอมรับให้ได้ และเขียน แผนการสำหรับเตรียมรับมือ ออกมา

2. หัวหน้าไม่จำเป็นต้อง “เข้มแข็ง” ตลอดเวลา

เราอาจจะเผลอยึดติดกับความคิดที่ว่า คนเป็นหัวหน้าต้อง “เข้มแข็ง” ตลอดเวลา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั่นนับเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะเราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ที่เกิดความรู้สึกเครียดหรือกดดันได้เสมอ ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเราซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเองแล้วยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า เราก็รู้สึกเครียดและกังวลเช่นเดียวกัน พนักงานก็จะยิ่งรู้สึกว่า ไม่ใช่ตัวเขาเองคนเดียวที่รู้สึกไม่ดี แต่ยังมีคนอีกมากที่ต้องดิ้นรนเพื่อผ่านมรสุมนี้ไปด้วยกัน

3. อย่าลืม “ใจดี” กับตัวเอง

เพื่อป้องกันการเกิดอาการ “หมดไฟ” เราควรรู้จักวิธีการ “ชาร์จพลัง” ให้กับตัวเอง ซึ่งแต่ละคนก็คงมีวิธีการผ่อนคลายที่แตกต่างกันไป บางคนก็อาจจะคลายความกังวลโดยการโทรศัพท์หาคนที่ตัวเองคุยด้วยแล้วรู้สึกสบายใจ บางคนก็อาจจะไปเดินเล่นหรือปั่นจักรยานในบรรยากาศที่มีธรรมชาติล้อมรอบ ซึ่ง “การออกกำลังกาย” ก็เป็นวิธีการที่ซีอีโอหลายคนใช้เพื่อสร้างพลังในการทำงานให้กับตัวเอง นอกจากนี้ ในช่วงก่อนนอน เราก็สามารถสงบจิตใจได้ด้วย การอ่านหนังสือดีๆ สักเล่มด้วยเช่นเดียวกัน

4. หาช่วงเวลา “พักเบรค” จากการติดตามข่าวสาร

ในสถานการณ์เช่นนี้คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะคอยติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ แต่ในบางครั้ง การติดตามข่าวสารตลอดเวลาก็ทำให้เราเครียดและเหนื่อยล้าโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น เราควรจัดสรรเวลาพักเบรคหรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นเวลาที่เราหนีห่างจากโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้เราผ่อนคลายหรือรู้สึกสงบมากยิ่งขึ้น เมื่อรู้สึกดีขึ้นสมองของเราก็จะทำงานได้ดี และอาจจะเกิดไอเดียดีๆ ในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยไม่รู้ตัว

5. อย่าลืมวางแผนระยะยาว

ในช่วงเวลาวิกฤติเราอาจจะยุ่งอยู่กับการประชุมต่างๆ ทั้งประชุมที่มีอยู่แล้วเป็นประจำและประชุมด่วน อย่างไรก็ตาม การที่เรายุ่งเช่นนี้อาจจะไม่ใช่สัญญาณที่ดีนัก เพราะ นอกจากจะวุ่นอยู่กับการวางแผนรับมือรายวัน เราก็ควรคิดและวาง “แผนระยะยาว” สำหรับอนาคต ด้วย

ที่มา : mckinsey, ehstoday, uxdesign, HBRAPA, keap

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เปิดเคล็ดลับฉบับหัวหน้า ปรับอารมณ์ตัวเองและพนักงานอย่างไร ไม่ให้จมกับโควิด first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/leader-deal-with-covid-19-mckinsey/

มารู้จักกับ IMET MAX โครงการบ่มเพาะผู้นำรุ่นใหม่ พร้อมเผย Mentor ผู้บริหารแนวหน้าชั้นนำของไทย

ปัจจุบันมีโครงการด้านผู้นำไม่กี่โครงการในประเทศไทยที่จะมีผู้บริหารระดับประเทศจากทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจพร้อมที่จะให้คำแนะนำไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธุรกิจ ด้านการจัดการชีวิตส่วนตัว ภายในระยะเวลา 8 เดือน และรวมถึงหลังจากการเข้าอบรมแล้วด้วย

ธนพล ศิริธนชัย (ซ้าย) ประธานโครงการ IMET MAX และ สนั่น อังอุบลกุล (ขวา) – ประธานกรรมการบริหาร IMET

Brand Inside ได้เข้าร่วมการสัมภาษณ์พิเศษกับ คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย หรือ IMET และ คุณธนพล ศิริธนชัย ประธานโครงการ IMET MAX (Mentorship Academy for Excellent Leaders) ว่าโครงการดีๆ อย่าง IMET MAX นั้นมีที่มาของโครงการอย่างไร และโครงการนี้มีประโยชน์ต่อผู้บริหารและผู้ประกอบการอย่างไรบ้าง และจะสามารถเข้าร่วมโครงการดีๆ แบบนี้ได้เช่นไร

ประวัติของ IMET

จุดเริ่มต้นของ IMET ต้องเล่าย้อนไปตั้งแต่ปลายปี 2524 หลังจากที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เยือนสหรัฐฯ นำมาสู่การริเริ่มก่อตั้ง IMET และในช่วงปี 2525 ผู้แทนของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน  ได้เข้ามาสำรวจบรรยากาศในประเทศไทย และทำงานร่วมกับผู้แทนไทย จนมีพิธีลงนามในเดือนกันยายน 2525 และมีการก่อตั้ง IMET ในวันที่ 14 ก.พ. 2526

สำหรับ IMET นั้นก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือของ 3 สถาบันภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย และ 3 สถาบันการศึกษา คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ อีกหนึ่งสถาบันคือ TMA

ขณะที่เงินทุนในการก่อตั้ง IMET ในช่วงแรกมาจากองค์การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development) หรือ USAID ซึ่งได้สนับสนุนในสมัยนั้นประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับประธานมูลนิธิตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประกอบไปด้วย ดร. เชาวน์ ณ ศีลวันต์ (2526-2531) ดร.อำนวย  วีรวรรณ (2531-2536) คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา (2536 – 2547) คุณชุมพล พรประภา (2554 – ปัจจุบัน) ซึ่งแต่ละรายเป็นบุคคลคุณภาพของสังคมไทย

โครงการของ IMET จากอดีตสู่ปัจจุบัน

โครงการต่างๆ ของ IMET นั้นมีจุดเริ่มต้นว่า ในอดีตว่าประเทศไทยนั้นมีจุดอ่อนด้านการจัดการ ดังนั้นเป้าหมายของ IMET ในอดีตคือการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการในต่างจังหวัดให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยโครงการในอดีตนั้น เช่น โครงการพัฒนานักธุรกิจชั้นนำส่วนภูมิภาค โครงการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางส่วนภูมิภาค

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาช่วยเหลือร่วมมือกับอาจารย์มหาลัย เพื่อต่อยอดพัฒนาบุคลากร เช่น จุฬาฯ-IMET หรือ NIDA-IMET และยังรวมไปถึงเน้นเรื่องธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น คือคนรุ่นเก่า สู่คนรุ่นใหม่ เพื่อสารเจตนารมณ์ต่อไป

ขณะที่ในยุคปัจจุบัน โครงการของ IMET เช่น บริการคลินิกธุรกิจพี่เลี้ยงอาสาสมัคร การนำธุรกิจไทยไปลงทุนใน กัมพูชา หรือแม้แต่ เวียดนาม และรวมไปถึงโครงการล่าสุดคือ IMET MAX ที่เรากำลังจะกล่าวถึง

IMET MAX คืออะไร

โครงการ IMET MAX นั้นย่อมาจาก IMET Mentorship Academy for Excellent Leaders โดยโครงการดังกล่าวนั้นเป็นการพัฒนาผู้นำระดับสูงรุ่นใหม่ โดยให้เข้ามาเป็นรุ่นน้อง (Mentee) และได้มีโอกาสรับการพัฒนาด้วยกระบวนการเมนเทอริ่ง (Mentoring Process) ซึ่งประกอบด้วยการให้ข้อคิดและชี้แนะแนวทางทั้งในด้านการทำงาน ด้านธุรกิจ จนไปถึงเรื่องการใช้ชีวิตจากพี่เลี้ยง (Mentor)

คุณธนพล ศิริธนชัย ประธานโครงการ IMET MAX ได้อธิบายให้ฟังในเรื่องนี้ว่า รูปแบบของการเรียนรู้ ไม่ได้เกิดจากการอ่านหนังสือ หรือการเล่าเรียนเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่สำคัญเกิดจากการที่เราสามารถสะท้อนมุมมอง แนวคิด รวมทั้งการเรียนรู้จากประสบการณ์จาก Mentor ที่เป็นผู้นำองค์กรผู้มากประสบการณ์ได้ โดยระยะเวลาของการเรียนรู้ในโครงการนี้จะอยู่ที่ 8 เดือน

โดยโครงการ IMET MAX เริ่มจัดกิจกรรมในรุ่นแรกเมื่อปี 2561 มี Mentor เข้าร่วมทั้งสิ้น 12 ท่าน และมี Mentee เข้ารับการพัฒนาทั้งสิ้น 24 ท่าน ขณะที่รุ่นที่ 2 นั้นจัดขึ้นในปี 2562 ที่ผ่านมามี Mentor เข้าร่วม 12 ท่าน และมี Mentee เข้ารับการพัฒนาทั้งสิ้น 36 ท่าน 

1 ใน Mentor คนสำคัญในรุ่นก่อนหน้า เช่น คุณขัตติยา อินทรวิชัย ในสมัยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้เข้าร่วมโครงการ IMET MAX ในฐานะ Mentor รุ่น 1 และ 2 หรือ ศ.(พิเศษ)กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด คุณปฐมา จันทรักษ์ รองประธานกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด คุณประภาส ชลศรานนท์ รองประธาน บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นต้น

สำหรับ Mentee ที่จบโครงการนี้ไปต่างก็นำความรู้ และสิ่งที่ได้จากโครงการนำลงไปพัฒนาองค์กรของตัวเองที่ทำอยู่ รวมถึงต่อยอดสิ่งที่ได้จากโครงการนี้มา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้และเรื่องของจริยธรรมด้านต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อสังคมในระยะยาว ขณะที่การวัดผลของโครงการนั้นมีการทำผลสำรวจและตอบรับ โดยจะเน้นเรื่องสำคัญคือ Social Value เห็นเป็นรูปธรรมในช่วงที่ผ่านมา เช่น จิตสาธารณะ ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมานั้น Mentee หลายๆ รายได้ช่วยเหลือสังคม ไม่ว่าจะเป็น การบริจาค การร่วมมือกับภาครัฐเพื่อช่วยเหลือในด้านต่างๆ ฯลฯ

เผย Mentor รุ่น 3

สำหรับ Mentor โครงการ IMET MAX รุ่นที่ 3 นั้นถือว่าเป็นผู้ที่มากประสบการณ์จากหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงินการธนาคาร บริษัทไอทีชั้นนำ บริษัทพลังงาน รวมไปถึงการทำงานในภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น

  1. คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย (มหาชน) 
  2. ศ.(พิเศษ) กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด  
  3. คุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย 
  4. คุณจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 
  5. คุณณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ ที่ปรึกษาธุรกิจ บริษัท อีเลิร์นนิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด 
  6. คุณนาถ ลิ่วเจริญ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทซีดีจี และกลุ่มบริษัทจีเอเบิล 
  7. คุณบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) 
  8. ดร.ประวิช  รัตนเพียร อดีต รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  9. คุณพรรณี  ชัยกุล อดีต ประธานกรรมการ บริษัท โอกิลวี่ ประเทศไทย 
  10. ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) 
  11. คุณสนั่น  อังอุบลกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
  12. คุณปฐมา จันทรักษ์ รองประธานกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด   

ไม่เพียงแค่นั้น Mentor หลายๆ ท่านเองยังเคยผ่านประสบการณ์ทั้งภาครัฐและเอกชนมาแล้ว เช่น คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร หรือแม้แต่ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นต้น ซึ่ง Mentee ในโครงการจะได้รับฟังมุมมอง รวมถึงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ชวนคิด ในเรื่องต่างๆ ที่มีมิติหลากหลาย

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการนั้นอยู่ในช่วงอายุ 30-45 ปี และมีกำหนดคุณสมบัติที่สำคัญของ Mentee ไว้ 3 ประการ คือ 

  1. เป็นนักบริหารที่มีศักยภาพระดับสูงหรือมีความมุ่งมั่นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม
    หรือประเทศชาติ 
  2. เป็นผู้ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อย 
  3. เป็นผู้ที่มีความต้องการและเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองผ่านกระบวนการเมนเทอริ่ง

คุณธนพลฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้สมัครเข้าโครงการนั้น ทางโครงการจะเฉลี่ยทายาทธุรกิจ ผู้นำองค์กรของรัฐ องค์กรต่างๆ ที่สามารถสร้างความแตกต่างได้ รวมไปถึงเกลี่ยชายหญิงเท่ากัน นอกจากนี้ยังเปิดกว้างให้ผู้นำรุ่นใหม่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำ “คุณค่าเพื่อสังคม” ไปสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรหรือสังคมในโอกาสแรกด้วย”

ขณะที่คุณสนั่น ยังได้กล่าวเสริมถึงโครงการ IMET MAX รุ่นที่ 3 นี้ยังเน้นเรื่องของความเป็นผู้นำ แต่สิ่งที่จะสอนคือมากกว่านั้น เช่น ชวนคิด ช่วยคิด ว่าทำอะไรได้บ้าง ต่อยอดอะไรได้บ้าง และมองว่าโครงการนี้เป็น Lifetime Relationship สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน นอกจากนี้ต่างคนทั้ง Mentor และ Mentee ส่วนใหญ่มาจากคนละอุตสาหกรรมถือว่าแชร์กันแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

ด้านอัตราส่วนผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 3 นี้คือ Mentor 1 ท่าน ต่อ Mentee 3 คน 

สรุป

IMET MAX ถือเป็น 1 โครงการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ที่ได้ผู้ที่มากประสบการณ์จากหลากหลายธุรกิจ รวมไปถึงการทำงานในภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย หรือท่านอื่นๆ นอกจากนี้โครงการดังกล่าวไม่ใช่แค่ต่อยอดเพียงแค่ผู้นำองค์กรหรือทายาทธุรกิจเท่านั้น แต่เป้าหมายของโครงการนี้คือการต่อยอดไปยังสังคมและบุคคลอื่นๆ ภายหลัง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ไม่ใช่แค่องค์กร แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยภายหลัง

สำหรับ IMET MAX รุ่นที่ 3 พร้อมรับสมัคร Mentee ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 นี้ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย www.imet.or.th หรืออีเมล์ imetmax3@gmail.com

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/introduce-to-imet-and-imet-max-leadership-program/

5 สิ่งที่ผู้บริหาร/ผู้นำด้าน IT ควรทำตาม

การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมไม่ใช้แค่ต้องรู้วิธีในการนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ แต่ต้องรู้จักการเป็นผู้ตามด้วย โดย 5 สิ่งที่ผู้บริหารและผู้นำด้าน IT ควรทำตามประกอบด้วย

1. ความมั่นคงปลอดภัยบนอุปกรณ์พกพา

การโจมตีอุปกรณ์พกพาถือเป็นภัยคุกคามอันดับต้นๆ สำหรับผู้บริหาร เนื่องจากอุปกรณ์ของพวกเขาส่วนใหญ่มักมีข้อมูลสำคัญเก็บอยู่ แต่กลับได้รับการยกเว้นจากมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการสนับสนุน การใช้แอปพลิเคชันส่วนบุคคล หรือการพิสูจน์ตัวตนแบบไม่ต้องใช้ 2-Factor Authentication ดังนั้นแล้ว เพื่อปกป้องตนเองจากการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่พนักงาน ผู้บริหารจึงควรปฏิบัติการนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนอุปกรณ์พกพาด้วยเช่นกัน

2. นโยบายการดูแลรหัสผ่าน

การเป็นผู้บริหารหรือผู้นำไม่ได้ทำให้มีสิทธิ์ในการใช้รหัสผ่านแบบง่ายๆ ตรงกันข้าม รหัสผ่านต่างๆ ของพวกเขาเหล่านั้นยิ่งต้องแข็งแกร่งเพียงพอ เนื่องจากต้องใช้ปกป้องข้อมูลสำคัญหรือข้อมูลความลับขององค์กรที่ถูกจัดเก็บอยู่ภายใน ดังนั้น ผู้บริหารและผู้นำที่ดีควรยึดปฏิบัติตามนโยบายการดูแลรหัสผ่าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้รหัสผ่านที่มีความยาวในระดับหนึ่ง ประกอบด้วยตัวเลขและอักขระพิเศษ เป็นต้น

3. การลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัย

การลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัยไม่สามารถกระทำได้อย่างสะเปะสะปะ แต่ควรพิจารณาจากสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยในองค์กรแนะนำมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง COVID-19 ที่กระตุ้นให้หลายๆ บริษัทต้องเร่งทำ Digital Transformation และเปิดให้พนักงานสามารถ Work from Home ได้ สิ่งเหล่านี้มักมาพร้อมกับช่องโหว่ใหม่ๆ ที่แฮ็กเกอร์สามารถใช้โจมตี เมื่อมีช่องโหว่มากขึ้น การโจมตีก็จะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความเสี่ยงขององค์กรเพิ่มสูงขึ้นตาม แล้วทำไมการลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัยถึงไม่เพิ่มตามไปด้วยล่ะ?

4. การรับมือกับเหตุแพร่ร้ายที่ไม่คาดฝัน

จากเหตุ COVID-19 ที่แพร่ระบาดในขณะนี้ ทำให้เราทราบว่า การแพร่ระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือวิกฤตการณ์ของสังคมในอนาคตจำเป็นต้องมีการรับมืออย่างสร้างสรรค์ ชัดเจน โปร่งใส และเอาใจใส่ แน่นอนว่าการเป็นผู้บริหาร/ผู้นำจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงออกมาตรการเพื่อทำให้มั่นใจว่าพนักงานภายในองค์กรของตนมีความปลอดภัยและ “รู้สึก” ปลอดภัย

5. การตอบแทน/สนับสนุนสังคม

การทำบุญ การกุศล หรือการสนับสนุนสังคมช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ทั้งลูกค้าและพนักงานในองค์กร ซึ่งบางทีสิ่งเหล่านี้อาจไม่ได้เริ่มต้นที่ตัวผู้บริหารเอง แต่เป็นโครงการที่มาจากพนักงาน ผู้บริหาร/ผู้นำที่ดีควรนำโครงการต่างๆ มาพิจารณ์ ซึ่งถ้าเห็นว่าสอดคล้องกับค่านิยมขององค์กรก็ควรให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากร บุคลากร หรือเงินก็ดี เหล่านี้จะช่วยให้ได้ใจพนักงานมากยิ่งขึ้น

ที่มา: https://www.idginsiderpro.com/article/3563415/5-areas-it-leaders-should-be-followers.html

from:https://www.techtalkthai.com/5-things-it-leaders-should-follow/

งานวิจัยชี้ 5 ลักษณะผู้นำยอดคนต้อง “รู้จักตัวเอง-ตั้งอยู่ในความถูกต้อง”

การเป็นตัวของตัวเองเป็นสิ่งที่ดีแต่เมื่อคนๆ หนึ่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศแล้วเราอาจต้องหยิบยกคำพูดขึ้นมาเตือนเขาว่า

“อย่าเป็นตัวของตัวเองนักเลย เป็นใครสักคนที่นิสัยดีกว่านี้เถอะ”
— Mignon McLaughlin วาทะของนักเขียนและนักข่าวสาวชาวอเมริกัน

แล้วผู้นำควรมีบุคลิกภาพแบบไหนล่ะ เราสามารถตอบคำถามนี้อย่างง่ายๆ ด้วยการมโนภาพบอสที่เรารักที่สุดแล้วคิดดูว่าพวกเขามีลักษณะแบบไหน แต่ถ้ายังไม่ชัดเจน ผลวิจัย Center for Creative Leadership ศึกษาบุคลิกภาพของผู้นำที่ประสบความสำเร็จระดับโลก ทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ หรือนักการศึกษา และพบบุคลิกภาพร่วมบางอย่างที่มีอยู่ในตัวผู้นำทรงอิทธิพลทุกคน

1. รู้จักตัวเอง

สติเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้นำเพราะพวกเขาต้องรู้ว่าตัวเองมีจุดดีจุดด้อยอะไรแล้วหาพนักงานที่มาช่วยงานของตัวเองได้ตรงจุด หากไม่เคยสำรวจตัวเองก็ไม่คิดพัฒนาตัว สุดท้ายก็เผลอมั่นใจไปว่าตัวเองนั้นเก่งทุกอย่างและไม่ฟังเสียงใคร แต่บางครั้งก็สำรวจตัวเองก็เป็นเรื่องยาก ลองหาลูกน้องที่เชื่อใจได้และล้อมวงคุยอย่างเปิดอกเพื่อขอคำแนะนำว่าคุณควรปรับปรุงตัวตรงไหน

2. อ่อนน้อมถ่อมตน

คุณอยากทำงานกับบอสที่คิดว่าตัวเองถูกตลอดไหมล่ะ เมื่อคุณก้าวเป็นผู้นำทีมของคุณมักหันมาหาคุณยามต้องการคำตอบหรือข้อยุติบางอย่าง แต่อย่าเผลอให้คำตอบไปทั้งๆ ที่ตัวเองก็ไม่แน่ใจ แนะแนวทางที่น่าจะถูกต้องเพื่อให้ลูกน้องไปทำงานต่อ ขอความคิดเห็น นำเสนอแนวทาง แล้วคุณจะรู้ว่าจริงๆ แล้วลูกน้องของคุณอาจมีศักยภาพในการคิดมากกว่านั้น

3. ช่างสงสัย

หาลูกน้องช่างสงสัยที่ชอบตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ มาอยู่ใกล้ตัวเข้าไว้ ผู้นำที่จ่อมจมอยู่กับงานอันล้นหลามจะมองไม่เห็นปัญหาและโอกาสรอบตัว ถ้ามีคนเชื่อใจได้คอยสะกิดบอกก็จะช่วยให้คุณมองงานที่ทำได้รอบด้านและตัดสินใจได้เฉียบขาดยิ่งขึ้น

4. ตั้งอยู่ในความถูกต้อง

ผู้นำต้องไม่เป็นคนสับปลับปลิ้นปล้อน พวกเขาต้องรักษาคำพูดและมีหลักการที่ตัวเองยึดถืออย่างหนึ่งอย่างใด ลองคิดภาพว่าหากคุณเป็นคนชอบผิดคำพูด เมื่อเกิดปัญหาร้ายแรงหรือเหตุการณ์ร้ายแรงอะไรขึ้นจะไม่มีลูกน้องคนไหนฟังคำสั่งคุณเพราะไม่แน่ใจว่าหากทำผิดพลาดจะโดนคุณปัดความรับผิดชอบใส่หรือเปล่า

5. อารมณ์ขัน

งานของผู้นำมักยิ่งใหญ่และนำมาซึ่งความเครียดเสมอ แต่ผู้นำที่ดีจะรู้จักควบคุมอารมณ์และแสดงอารมณ์ขันเล็กๆ น้อยๆ เพื่อสื่อสารให้ทุกคนทราบว่าตน “เอาอยู่” ยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงถึงขั้นคอขาดบาดตาย การมีอารมณ์ขันเล็กๆ จะช่วยให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดจนดูเหมือนไม่มีทางออกผ่อนคลาย และทุกคนเชื่อถือว่าคุณมีแผนควบคุมสถานการณ์อยู่แล้ว (แต่ก็อย่าตลกไร้สาระจนไม่มีใครเชื่อถือ อย่าลืมว่าคุณไม่ใช่ตัวโจ๊กประจำเวทีนะ)

สุดท้าย อย่าลืมว่าเพียงแค่นั่งลงบนเก้าอี้ผู้นำก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะคู่ควรกับเก้าอี้นั่นทันที การขัดเกลาตัวเองและเสริมสร้างทักษะด้านต่างๆ จะทำให้คนรอบตัวคุณยอมรับว่าคุณคู่ควรกับตำแหน่งได้ทีล่ะน้อย ที่สำคัญคุณยังเป็นมนุษย์และความสวยงามของมนุษย์คือเราขอโทษเมื่อทำผิด และให้โอกาสผู้อื่นเมื่อรู้ว่าเขาคู่ควร

ที่มา: Center for Creative Leadership

from:https://www.thumbsup.in.th/5-types-of-the-great-leaders