คลังเก็บป้ายกำกับ: HP_ENTERPRISE

HPE อัปเกรดระบบจัดการไอทีใหม่เป็นแบบ AI ด้วยการซื้อ OpsRamp

Hewlett Packard Enterprise (HPE) ได้เพิ่มแพลตฟอร์มจัดการระบบไอทีแบบ “AI” และแมชชีนเลิร์นนิ่ง เข้ามาในบริการคลาวด์ On-Premises แบบ Pay-Per-Use อย่าง GreenLake ด้วยการซื้อบริษัท OpsRamp

แพลตฟอร์มอัพเดทใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการบริการไอที พร้อมทั้งตรวจสอบการทำงานของไฮบริดคลาวด์ ทั้งนี้ OpsRamp ถือเป็นหนึ่งในทูล AI ยอดนิยมของ MSP ในการนำมาช่วยจัดการด้านบริการไอทีให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ

โดยล่าสุด OpsRamp ก็ได้คะแนนเต็ม 5 ดาวในรายงาน 2022 Partner Program Guide ของสำนักข่าว CRN ด้วย ทางด้าน David Stinner ผู้ก่อตั้งและประธานของ US itek ที่เป็น MSP ในกรุงนิวยอร์ก ยังกล่าวว่า “นี่เป็นจุดเปลี่ยนของ HPE และ GreenLake ที่ยิ่งใหญ่มาก”

“ในที่สุด HPE ก็พบผู้จำหน่ายที่สามารถเอาเข้ามาตอบสนองความต้องการได้อย่างครบวงจร ทั้งกับองค์กรต่างๆ และลูกค้าที่เป็นระดับ MSP ทำให้ HPE กลายเป็นเวนเดอร์สำหรับ MSP ที่น่าจับตามองมาก แข่งกับแพลตฟอร์ม AI อื่นที่ MSP ใช้กันอยู่อย่าง MSPbots.ai ได้เลย”

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – crn

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-gets-ai-based-it-management-boost-with-opsramp-acquisition/

Advertisement

[VDO] กรณีศึกษา – ออริจิน พร็อพเพอร์ตี้ จัดการแรนซั่มแวร์ด้วยเทคโนโลยีจาก HPE Cohesity

ทุกวันนี้เราจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับเรื่องของภัยคุกคามทางไซเบอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภัยคุกคามจากเจ้าตัวแรนซั่มแวร์ ทำให้บ่อยครั้งเราต้องตั้งคำถามว่า องค์กรทั้งหลายเตรียมตัวรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ อย่างเจ้าตัวแรนซั่มแวร์ได้ดีเพียงพอแล้วหรือยัง?

บทความในครั้งนี้เราจะมาลองพูดคุยกันทาง คุณศิรวุฒิ จันทแสงสว่าง Senior vice president of system information technology บริษัท ออริจิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด มหาชน เกี่ยวกับแนวทางที่ทาง ออริจิน ได้มีประสบการณ์กับแรนซั่มแวร์ตลอดจน การใช้แบ็กอัพจากของ Cohesity

สำหรับ ออริจิน พร็อพเพอร์ตี้ นั้นเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก ประกอบด้วย คอนโดมีเนี่ยม, บ้าน, โรงแรม นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอาหาร และโลจิสติกส์ รวมถึงการมีค่ายเพลงด้วยเช่นกัน เนื่องจากทางบริษัทมีข้อมูลไหลเวียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากภายนอกเช่นข้อมูลที่สำคัญของลูกค้า รวมถึงข้อมูลของการดำเนินธุรกิจและระบบแอปพคิเชั่นของบริษัทเอง ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก ทำให้ระบบไอทีส่วนใหญ่ที่คุณศิรวุฒิดูแลนั้นจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นหลัก

HPE Cohesity ช่วยแก้ปัญหาแรนซั่มแวร์

ในช่วงที่ผ่านมา ออริจิน พร็อพเพอร์ตี้ ได้มีการใช้งานผลิตภัณฑ์ด้านแบ็กอัพจาก HPE Cohesity เพื่อทำการปกป้องและสำรองข้อมูลของบริษัทควบคู่กันไป ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนดำเนินการธุรกิจอย่างต่อเนื่องหรือ Business continuity planning (BCP Plan) และล่าสุดทาง ออริจิน พร็อพเพอร์ตี้ ได้ตรวจพบว่ามีมัลแวร์ประเภทแรนซั่มแวร์เข้ามาโจมตี โดยการลบข้อมูลของบริษัททิ้งไปและซอฟต์แวร์แบ็กอัพดั้งเดิมก็โดนเข้ารหัสไปด้วยก่อให้เกิดปัญหาแก่การทำงาน

แต่อย่างไรก็ตามก่อนหน้านั้นทางทีมงานได้มีการสำรองข้อมูลทั้งหมดไว้บน HPE Cohesity ทางคุณศิรวุฒิและทีมงานของ ออริจิน พร็อพเพอร์ตี้ ก็สามารถดึงข้อมูลที่สำรองไว้เอาไว้กลับขึ้นมาเพื่อใช้งานได้อย่างปกติ และที่สำคัญการกู้คืนยังใช้เวลาไม่นานอีกด้วย (จากต้องใช้เวลาถึง 2 วันในการกู้คืนระบบทั้งหมดลดลงเหลือแค่ 3 ชั่วโมงเท่านั้น) และก็สามารถกลับมารันระบบได้ปกติ แทบจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อโปรดักส์ชั่นของธุรกิจเลย

จะเห็นได้ว่า การเตรียมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นเรื่องที่องค์กรควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก การวางแผนระบบ BCP นับเป็นหนึ่งในความจำเป็นขององค์กรที่ไม่ควรละเลย รวมไปถึงการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ประสิทธิภาพก็จะช่วยในการบริหารจัดการงานต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

from:https://www.enterpriseitpro.net/case-stud-origin-properties-and-hpe-cohesity/

เก็บเกี่ยวประสิทธิภาพของ HPC ได้อย่างง่ายดาย ด้วย HPE GreenLake for HPC

โซลูชั่น HPE GreenLake for HPC ได้รวมเทคโนโลยีชั้นนำ ความเชี่ยวชาญด้านการประมวลผล และบริการระดับมืออาชีพของเราเพื่อส่งต่อประสบการณ์ใช้งานเหนือระดับ ทำให้คุณสามารถนำเอาเวลาไปแก้ปัญหาที่ซับซ้อนขององค์กรดีกว่า

มาร่วมสัมผัสการใช้งานเหนือระดับ กับ HPE GREENLAKE ผ่านทางข้อดีต่างๆ อาทิ

– HPE GreenLake for HPC มีพร้อมสำหรับ Workload หลายแบบที่ต้องการ
– ระบุตำแหน่ง Workload HPC ของคุณเช่น ในดาต้าเซ็นเตอร์ บนโคโล หรือ Edge
– HPE มีบริการติดตั้งให้ครบวงจร พร้อมให้ทุกงานเริ่มได้ทันที
– ปรับขนาดที่เหมาะสมกับคุณ ไม่ต้องจ่ายเกินจำเป็น จ่ายแค่เท่าที่ใช้งานจริง
– เข้าถึงบริการ HPE ที่ครอบคลุมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะที่ใช้ชิปประมวลผลชั้นนำอย่าง AMD EPYC

ซึ่งทางบริษัท เมโทรคอนเนค เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของผลิตภัณฑ์ HPE และยังได้ร่วมมือกับทางบริษัท เมโทรโปรเฟสชั่นแนลโปรดักส์ซึ่งมีความเชียวชาญในการติดตั้งและให้บริการสินค้า HPC ให้กับทางลูกค้าทุกท่าน

ดาวน์โหลดข้อมูลฟรีที่นี่ (ลุ้นของรางวัลพิเศษ)

หากสนใจขอรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อสอบถาม อีเมล์ : mktmcc@metroconnect.co.th

หมายเหตุ : หลังจากกรอกข้อมูลแล้ว ทางทีมงานจะจัดส่ง Link สำหรับดาวน์โหลด Infographic ให้ท่านผ่านทางอีเมล์ที่ระบุ (พร้อมลุ้นรางวัลและของที่ระลึกที่ทางเราจะสุ่มแจกให้ผู้โชคดี)

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-greenlake-for-hpc-metroconnect/

HPE ยืนยัน ยอดกำไรที่พุ่งเป็นประวัติการณ์ เพราะลูกค้าพอใจบริการ GreenLake

ผู้ที่ซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์จาก Hewlett Packard Enterprise ต่างมีส่วนร่วมในการทำให้ได้ยอดกำไรจากดำเนินงานสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทั้งสิ้นสำหรับกลุ่มธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ประมวลผล โดยทำยอดแตะ 14.7 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสสี่ของปีงบประมาณ 2022

เมื่อเทียบกับตัวเลขผลส่วนต่างกำไรก่อนหน้าที่อยู่ในช่วง 11 – 13 เปอร์เซ็นต์ หรือโดยเฉพาะถ้าเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2021 ที่อยู่แค่ 9.4 เปอร์เซ็นต์ และถ้ามองที่รายรับรวมของธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ที่พุ่งแตะ 3.7 พันล้านดอลลาร์ฯ แล้ว

ถือว่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ไตรมาสเดียวกันของปี 2021 ถึง 16 เปอร์เซ็นต์ (หรือมากถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคิดที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่) เลยทีเดียว อย่างไรก็ดี ผู้บริหาร HPE ถึงกับต้องออกมาอธิบายว่าไม่ได้จงใจขึ้นราคาเพื่อให้ผลงานด้านกำไรทำลายสถิติแบบนี้

โดย CFO คุณ Tarek Robbiati กล่าวกับนักลงทุนในงานประชุมผู้ถือหุ้นประจำไตรมาส 4 ปี 2022 ว่า “ปัจจัยที่กระตุ้นความต้องการโซลูชั่นด้านเซิร์ฟเวอร์ของเรามาจากรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และยุทธศาสตร์ด้านราคา ลูกค้าซื้อเพราะพอใจบริการ GreenLake มากกว่าเป็นผลจากการเพิ่มส่วนต่างกำไร”

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Theregister

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-hits-record-compute-profit-margin/

HPE เตรียมขายหุ้นในบริษัทร่วมทุนกับจีน H3C ที่เหลือทิ้งทั้งหมด

HPE ตั้งใจจะขายหุ้นที่เหลือของจอยต์เวนเจอร์ในจีนอย่าง H3C ทั้งหมด แม้ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาจะทำผลประกอบการเติบโตเป็นที่น่าพอใจก็ตาม H3C เป็นบริษัทผู้ให้บริการอุปกรณ์ไอทีในจีน ทั้งเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และบริการที่เกี่ยวข้องจาก HPE

ปัจจุบัน HPE ถือหุ้นอยู่ 49 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นของบริษัทบริการด้านไอทีของจีนชื่อ Unisplendour Corporation หลังจากก่อนหน้านี้ที่ HPE ขายหุ้นในส่วนที่เคยถือส่วนใหญ่ของบริษัทไปเมื่อปี 2015 เป็นมูลค่าประมาณ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ซึ่งดีลดังกล่าวมีข้อตกลงที่เปิดให้ HPE สามารถขายหุ้นที่เหลือให้ Unisplendour ได้ แลกกับเงินสดที่มีมูลค่ารวมเท่ากับ 15 เท่าของกำไรหลังหักภาษีเป็นระยะเวลาย้อนหลัง 12 เดือนของ H3C จริงๆ เดดไลน์ก็คือเมื่อวันที่ 31 ตุลาคมปีที่แล้ว

แต่ HPE ได้ขยายเวลาข้อตกลงดังกล่าวมาถึง 31 ธันวาคม ซึ่งล่าสุดก็ตัดสินใจใช้สิทธิ์ตามเงื่อนไขนี้แล้ว อ้างอิงตามรายละเอียดในแบบฟอร์ม 8-K ที่ยื่นต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (SEC) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Theregister

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-to-offload-remaining-stake-in-chinese-joint-venture-h3c/

ม.เชียงใหม่สุดเจ๋ง ดึง HPC ภายใต้ชื่อ “เอราวัณ” เพิ่มประสิทธิภาพด้านข้อมูล

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เพิ่มศักยภาพด้านการวิจัยและการประมวลผลข้อมูล โดยนำเอาเทคโนโลยี High Performance Computing (HPC) มาใช้งาน เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการเจ็บป่วยของประชาชนในเขตภาคเหนือเป็นอย่างมาก ภายใต้การสนุบสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการต้นทุนและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ล่าสุดเพิ่งได้เปิดตัวระบบ HPC ตัวใหม่ล่าสุดภายใต้ชื่อว่า “เอราวัณ (Erawan)”  เป็นเทคโนโลยี HPC จาก HPE อันประกอบด้วยคุณสมบัติมากมายเช่น CPU AMD EPYC 7742 @2.25 GHz จำนวนรวม384 คอร์, หน่วยความจำขนาดรวม 6.144 เทราไบต์, สตอเรจแบบ NVMe ขนาดรวม 103.68 เทราไบต์ และตัวประมวลผล GPU NVIDIA HGX A100 ขนาดรวม 1920 กิกะไบต์

แหล่งข้อมูล – https://hpc.cmu.ac.th/about

from:https://www.enterpriseitpro.net/high-performance-computing-erawan/

[คลิป VDO] หุ้น Nutanix ดิ่งกว่า 13% หลัง HPE ยืนยันไม่ได้จะซื้อ (ณ ตอนนี้)

หุ้น Nutanix ร่วงกว่า 13% ในช่วงก่อนเวลาซื้อขายทางการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากคู่กรณีที่เคยมีข่าวลือร่วมกันอย่าง Hewlett Packard Enterprise (HPE) ที่ออกมาเฟิร์มกับ Investing.com ว่า “ไม่เคยมีการพูดคุย” กับ Nutanix เรื่องจะซื้อกิจการมาก่อน

เมื่อตุลาคมที่ผ่านมา Nutanix เริ่มมองหาบริษัทที่จะเข้ามาซื้อบริษัทตัวเองหลังจากกล่าวว่ามีหลายเจ้าให้ความสนใจ อ้างอิงจากข่าวของ Wall Street Journal ต่อมาเมื่อต้นเดือนธันวาคม บลูมเบิร์กก็รายงานว่า HPE แสดงความสนใจและจัดคุยรายละเอียดกันแล้ว

จนทำให้โฆษก HPE ต้องรีบออกมาแก้ข่าวดังกล่าว แถมข่าวหลังจากนั้นก็ประโคมว่า HPE ไม่สนใจบริษัทนี้แล้ว ทั้งนี้ เฮดจ์ฟันด์ที่ลงทุนอยู่อย่าง Legion Partners Asset Management พยายามกดดัน Nutanix ให้ขายต่อให้บริษัทที่มีศักยภาพสูงให้ได้ราคาดีที่สุด

ซึ่งพอไม่มี HPE อยู่ในลิสต์แล้ว ก็ไม่รู้จะมีบริษัทยักษ์ใหญ่รายไหนควรค่าแก่การซื้อกิจการที่น่าจับตามองต่อหรือเปล่า ฝั่งโฆษกของ Nutanix ก็ออกมาให้ข่าวกับ Investing.com เช่นกันว่า “เราขอไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวลือเรื่องนี้”

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Investing

from:https://www.enterpriseitpro.net/nutanix-sinks-as-hpe-confirms-it-is-not-discussing/

HPE อเมริกาเหนือปรับโครงสร้างใหม่ เน้นขาย GreenLake

Hewlett Packard Enterprise ได้ปรับโครงสร้างองค์กรฝั่งงานขายใหม่ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ เพื่อเจาะตลาดใหม่สำหรับบริการคลาวด์ GreenLake ที่คิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณที่ใช้งานจริง (Pay-per-use) ให้มียอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ

โครงสร้างใหม่ที่ใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ได้เปลี่ยนการบริหารจากตามภูมิภาค เป็นอิงตามกลุ่มตลาดและลูกค้า พร้อมจัดทีมขายที่จำเพาะแต่ละด้าน นำโดยรองประธาน Joe Ayers ที่ดูตลาดระดับโกลบอล, เชิงพาณิชย์, และ SMB ในฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ มาก่อน

ที่ตอนนี้เข้ามานำทีมที่แบ่งตามกลุ่มตลาดใหม่ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริการทางการเงิน, กลุ่มบริการทางการแพทย์และชีววิทยา, กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม, กลุ่มพลังงานและระบบเทคโนโลยีชั้นสูง, และกลุ่มรีเทลและธุรกิจประกันภัย

นอกจากทีมเซลล์แล้ว พาร์ทเนอร์ก็จะต้องถูกแบ่งใหม่ตามไปด้วยตามความถนัดในแต่ละกลุ่มตลาด โดย HPE คาดว่ายอดขายหลักในช่วงปีงบประมาณ 2023 นี้จะเป็นบริการดาต้าและคลาวด์สตอเรจ รวมทั้งยอดค่าบริการ HPE GreenLake

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – CRN

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-north-america-restructures-to-drive-greenlake-sales/

HPE เพิ่มบริการ Kubernetes ของ AWS เข้ามาใน GreenLake แล้ว

Hewlett-Packard Enterprise (HPE) ประกาศว่า บริการไพรเวทคลาวด์ระดับองค์กร HPE GreenLake ได้เพิ่มความสามารถด้านไฮบริดคลาวด์ใหม่ๆ เข้ามามากมายให้ได้เข้าถึงกันทั่วโลก โดยเฉพาะการรองรับซอฟต์แวร์ Kubernetes ของ AWS

รวมไปถึงการพัฒนาทูลอนาไลติกให้วัดปริมาณการใช้งานและค่าบริการทั้งฝั่งไพรเวทและพับลิกคลาวด์ได้ดียิ่งขึ้นด้วย โดยเมื่อ 6 เดือนก่อน HPE ได้เปิดตัว HPE GreenLake Private Cloud Enterprise ที่เป็นบริการแบบ Managed Service ใหม่ที่ HPE สร้างไพรเวทคลาวด์ให้ลูกค้าตั้งแต่ออกแบบ ติดตั้ง และจัดการระบบทั้งเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจให้ที่ดาต้าเซ็นเตอร์ On-Premises หรือตามตำแหน่งที่ตั้ง Edge หรือโคโลเคชั่นของลูกค้าเลย

บริการแบบจ่ายเท่าที่ใช้ (Pay-as-you-Go) นี้ เปิดให้เฉพาะลูกค้ารายแรกๆ ในสหรัฐฯ และอังกฤษใช้ก่อน จนปัจจุบันเปิดกว้างครอบคลุมถึง 52 ประเทศทั่วโลกแล้ว อ้างอิงจากคำประกาศของ HPE ในงานประชุม HPE Discover Frankfurt 2022 เมื่อวันพุธที่ผ่านมา

การซัพพอร์ต Amazon Elastic Kubernetes Service (EKS) Anywhere จะทำให้องค์กรต่างๆ ที่เป็นลูกค้าของ AWS สามารถใช้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบคอนเทนเนอร์แบบเดียวกันนี้ในไพรเวทคลาวด์ของตัวเอง และรันแอพคอนเทนเนอร์บนระบบไฮบริดคลาวด์ได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – DCK

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-greenlake-adds-aws-kubernetes-service/

อาจเป็นไปได้ที่ HPE จะเข้าซื้อกิจการของ Nutanix เพิ่มศักยภาพด้านคลาวด์

สำนักข่าว Bloomberg ระบุว่า Hewlett Packard Enterprise หรือ HPE ได้แสดงความสนใจที่จะเข้าไปเทคโอเวอร์บริษัทด้านคลาวด์ คอมพิวติ้งอย่าง Nutanix รายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้

แหล่งข่าวไม่ระบุนาม ได้ให้สัมภาษณ์ว่าก่อนหน้านี้สักในช่วงเดือนที่ผ่านมา HPE ได้มีการเจรจากับทาง Nutanix โดยการพูดคุยของทั้งสองบริษัทนี้ยังไม่ชัดเจน และยังไม่บรรลุเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับราคาการซื้อขายครั้งนี้

สำหรับ Nutanix นั้นตัวเลขการเทรดพุ่ง 4.3% อยู่ที่ราคา 29.46 USD เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าของบริษัทไปอยู่ที่ 6,700 ล้านดอลลาร์ ส่วน HPE ลดลงมาเล็กน้อยประมาณ 2.9% ที่ตัวเลข 16.29 เหรียญ มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 21,000 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตามตัวแทนของทาง HPE ปฏิเสธจะให้ความเห็น ส่วนตัวแทนของ Nutanix ระบุคล้ายกันคือไม่มีความเห็นต่อข่าวลือดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – DCK

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-eyes-acquisition-of-nutanix/