คลังเก็บป้ายกำกับ: EDB_POSTGRES_ENTERPRISE

EDB Postgres ออกเวอร์ชันใหม่ 5.0 ยกระดับความมั่นคงการให้บริการ

EDB Postgres ได้ออกเวอร์ชันใหม่หรือ Postgres Distributed 5.0 (PGD 5.0) โดยพัฒนาความสามารถด้าน HA และประสิทธิภาพในการใช้งาน รวมถึงป้องกันการสูญเสียข้อมูล

credit : wikipedia

EDB Postgres เป็นฐานข้อมูล PostgreSQL สำหรับองค์กร (สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ https://www.techtalkthai.com/edb-postgres-review-the-enterprise-db-supports-by-ibm-professional/ ) ทั้งนี้ในเวอร์ชันใหม่ มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้

  • HA – ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าระบบโดยให้แต่ละมาสเตอร์โหนด หรือ ดาต้าเบส หรือเซิร์ฟเวอร์ถูกปกป้องโดยโหนดสแตนบายด์ 1 ตัวหรือมากกว่า 
  • Multiple Group – PGD node จะต้องสังกัดอยู่ภายใต้อย่างต้องหนึ่งกลุ่มโหนด โดยพื้นฐานที่สุดคือต้องมีหน้าน้อย 1 กลุ่มโหนดใน PGD Cluster
  • Multiple Master– แต่ละโหนดในกลุ่ม PGD จะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากสมาชิกและสามารถถูกเขียนได้โดยตรงจากผู้ใช้ โดยความแตกต่างระหว่างการสแตนบายด์แบบ Hot และ Warm คือจะมีเซิร์ฟเวอร์มาสเตอร์เพียงตัวเดียวที่ยอมรับการเขียน ส่วนโหนดอื่นจะสแตนบายด์ไว้พร้อมรับการ Replicate จากมาสเตอร์หรือโหนดสแตนบายด์อื่น 
  • Logical Replication – เป็นการ Replicate แถวของข้อมูลที่ไม่ได้เป็นการเขียนที่อยู่ของบล็อกจริงและการ Replicate แบบไบต์ต่อไบต์ ทั้งนี้ Index ไม่เปลี่ยนแปลงจึงไม่มีการเขียนที่หนักหน่วง โดยขั้นตอนคือจะเริ่มจากการทำสำเนา Snapshot ของข้อมูลจากโหนดต้นทางก่อน เมื่อมีการ Commit ก็จะส่งไปยังโหนดอื่นในระดับเรียลไทม์ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงก็จะถูก Replicate โดยไม่ต้อง Execute SQL มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ถูกเขียนมีความแม่นยำและรวดเร็ว
  • Asynchronous – โดยพื้นฐานแล้วการเปลี่ยนแปลงที่โหนด PGD จะไม่ถูก Replicate ไปยังโหนดอื่นจนกว่าจะมีการ Commit ที่จุดนั้นก่อน 
  • Mesh Topology – โหนดทุกตัวเชื่อมต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรง จะไม่มีการส่งต่อยกเว้นเสียแต่ว่าเกิดกรณีพิเศษเช่น มีการเพิ่มหรือลบโหนด

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ https://www.enterprisedb.com/docs/pgd/latest/overview/

ที่มา : https://www.infoworld.com/article/3689161/edbs-postgres-distributed-50-boosts-availability-performance.html

from:https://www.techtalkthai.com/edb-postgres-5-0-released/

Advertisement

รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์! 3 แนวทางทำ Digital Transformation ติดสปีดการพัฒนาศักยภาพให้องค์กรของคุณ

Digital Transformation(DX) ครอบคลุมถึงกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงให้องค์กรก้าวทันเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ ประกอบด้วย คน กระบวนการทำงาน และเทคโนโลยี อย่างไรก็ดีแม้จะมีเทคโนโลยีล้ำมากแค่ไหน แต่หากระบบการทำงานยังเป็นแบบเดิม แอปพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐานยังเป็นแบบเก่า องค์กรก็ไม่สามารถนำประโยชน์จากเทคโนโลยีของโลกอย่าง Cloud, AI, Blockchain หรืออื่นๆ เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ไม่เพียงแค่นั้นองค์กรยังต้องดำเนินการเชิงกลยุทธ์เพื่อเปิดใจให้พนักงานเปิดรับกับเรื่องใหม่ด้วยเช่นกัน

การทำ DX ไม่ใช่แค่ทำให้องค์กรมีก้าวทันไปกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เท่านั้น แต่สำคัญขนาดที่ว่าหากองค์กรใดไม่สามารถก้าวไปสู่เรื่องนี้ใด้ องค์กรนั้นจะค่อยๆ สูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันในที่สุด อย่างไรก็ดี DX เป็นเพียงแค่การวางแผนในภาพกว้าง ท้ายที่สุดผู้บริหารขององค์กรต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าท่านเหมาะสมกับเทคโนโลยีอะไร และจะก้าวไปอย่างไร ซึ่งเพียง 2-3 ปีที่ผ่านมา การมาถึงของโรคระบาดได้กระตุ้นองค์กรให้ความสำคัญกับนโยบายนี้มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

สำหรับท่านใดที่ยังไม่ทราบว่าแนวทางใดในภาพของ DX ที่ท่านควรมองหา ในบทความนี้เราขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ 3 เทรนด์ที่องค์กรมองหาเมื่อพูดถึง Digital Transformation ในทุกวันนี้ครับ

1.) Microservices

Microservices เป็นสถาปัตยกรรมในการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยออกแบบแบ่งส่วนเป็นบริการย่อยเพื่อทำงานตอบโจทย์ฟังก์ชันทางธุรกิจ โดยบริการสามารถคุยกันได้ผ่าน API หรือ AMQP ซึ่งการออกแบบเช่นนี้มีคุณประโยชน์มหาศาลต่อวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างจาก Monolithic ที่ผนึกทุกอย่างเป็นก้อนเดียวกัน หากพูดถึงประโยชน์หลักของ Microservices สามารถอธิบายได้ดังนี้

  1. Agility – การที่สามารถแบ่งบริการเป็นส่วนย่อยได้ทำให้องค์กรจัดสรรหน้าที่ของผู้รับผิดชอบได้รวดเร็วมากขึ้น เมื่อแต่ละคนดูแลเฉพาะหน้าที่ของตนได้ การทำงานก็ว่องไวและมีประสิทธิภาพสูง
  2. Flexible Scaling – จากการที่บริการมีหน้าที่แยกกันชัดเจนหลายส่วน ทำให้ผู้ดูแลสามารถขยายระบบในเชิงของปริมาณเพื่อรับโหลดที่เพิ่มขึ้นในบริการนั้น ๆ ได้อย่างทันท่วงที
  3. Easy Deployment – การนำส่งซอฟต์แวร์ (Continuous Delivery) กลายเป็นเรื่องง่าย ยิ่งเมื่อเทียบกับ Monolithic เพราะ Microservices ทำให้องค์กรสามารถทดสอบฟังก์ชันใหม่ได้อย่างสะดวก โดยไม่กระทบบริการอื่น 
  4. Technology Freedom – ความอิสระของบริการยังนำไปสู่การพิจารณาเลือกเทคโนโลยี ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา Framework และไลบรารีที่ต่างกันออกไปได้ ด้วยเหตุนี้เององค์กรที่ออกแบบแอปพลิเคชันในแนวทางของ Microservices จะมีโอกาสรับความโดดเด่นของแต่ละเครื่องมือหรือภาษาได้อย่างแท้จริง
  5. Reusable Code – แนวคิดแบบโมดูลเพื่อทำฟังก์ชันเฉพาะหน้าที่ ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถนำบริการต้นแบบนี้ไปใช้เป็นพื้นฐานของหน้าที่อื่นได้โดยไม่ต้องลงแรงเขียนใหม่ ด้วยเหตุนี้จึงประหยัดเวลาลงไปได้เช่นกันหากมีการวางแผนมาเป็นอย่างดี
  6. Resilience – อีกหนึ่งจุดเด่นของ Microservices ที่เหนือกว่า Monolithic อย่างเห็นได้ชัดคือไร้จุดอ่อนที่ทำให้ทั้งแอปล่ม กล่าวคือหากมีบริการเสียบางส่วน ทั้งแอปก็ยังคงใช้ได้แต่อาจทำเพียงแค่ฟังก์ชันนั้นไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น แอปธนาคารที่ท่านอาจไม่สามารถซื้อกองทุนได้แต่ยังโอนเงินได้ตามปกติเพราะไส้ในของแอปเหล่านี้คือการทำงานแบบ Microservices นั่นเอง

แต่เมื่อพูดถึงการทำ Microservices ในเชิงการปฏิบัติการจริงนั้น ศัพท์ที่ได้ยินประการแรกมักจะมีเรื่องของ Container เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอเนื่องจากเป็นท่าปกติที่องค์กรมักเลือกใช้เพื่อ implement ระบบ Microservices เพราะตอบโจทย์ภาพของ isolation ชัดเจน รวมทุกอย่างไว้ภายใน ตลอดจนมีส่วน Orchrestration ที่ช่วยควบคุมการทำ Scale-out และ Availability

อีกประการคือ DevOps ที่ว่าด้วยเรื่องของวัฒนธรรมของนักพัฒนาและผู้ดูแลที่คาบเกี่ยวกันอย่างแยกไม่ออก รวมไปถึงแนวคิดการพัฒนาและนำส่งซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า CI/CD สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ในลักษณะของ Microservices ที่ซับซ้อนและมีเครื่องมือเกี่ยวพันมากมายภาย ซึ่งเมื่อผสานรวมกันจึงนำไปสู่ความท้าทายเหล่านี้

  1. CI/CD Pipeline Management – Microservices ได้เพิ่มจำนวนขององค์ประกอบที่ทีมต้องจัดการเพิ่มขึ้นมากเทียบกับ Monolithic เช่น เดิมท่านอาจมีแค่ 5-6 pipeline ในองค์กร แต่เมื่อแตกย่อยแอปพลิเคชันออกเป็นหลายส่วนจำนวน pipeline อาจจะพุ่งสูงขึ้นถึงหลักร้อยได้
  2. Managing Microservices – อย่างที่ทราบแล้วว่าจำนวนของบริการกลายเป็นความซับซ้อนใหม่ ยิ่งในองค์กรใหญ่ที่มีแอปพลิเคชันนับร้อยการดูแลต้องเป็นที่เรื่องที่ถูกวางแผนมาเป็นอย่างดี เช่น จะขยายฟังก์ชันไหนเพื่อเพิ่มความสามารถและจำนวนเท่าไหร่ถึงเพียงพอกับสถานการณ์ เป็นต้น
  3. Monitoring – แต่ละบริการมีการสื่อสารกันผ่าน API แล้วท่านจะทราบได้อย่างไรว่าแต่ละ Request จากผู้ใช้ผ่านไปยังส่วนใดของบริการบ้าง? นี่คือหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหาให้กับแอปพลิเคชัน หากไม่ทราบเรื่องเหล่านี้ได้การแก้ปัญหาก็จะล่าช้า

Microservices มีประโยชน์มากมายต่อการปรับตัวสู่โลก Cloud native โดยจะเห็นได้ว่ามีทั้งความยืดหยุ่นในเชิงของปริมาณและความสามารถ ทำให้ท่านนำส่งฟีเจอร์ใหม่ต่อผู้ใช้ได้รวดเร็ว และทนทานต่อการสูญเสีย อีกด้านหนึ่ง Microservices ก็แฝงมาด้วยความท้าทายที่องค์กรต้องก้าวเข้ามาหรือควรมีที่ปรึกษาประสบการณ์สูงเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านั้น 

โดย Stream เองถือเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ให้บริการธุรกิจมาแล้วหลายแห่งเพื่อช่วยลูกค้าออกแบบระบบ Microservices มาแก้ปัญหาทางธุรกิจ ซึ่งทีมงาน Stream สามารถให้บริการได้ตั้งแต่การเก็บ Requirement ออกแบบและพัฒนาโซลูชัน พร้อมดูแลภายหลังการติดตั้ง ครอบคลุมถึงการพัฒนาแอปพลิชันบน Web และ Mobile ผ่านระบบคลาวด์หรือตามที่ลูกค้าต้องการ 

ในกระบวนการทำงานทีมงานจะทำการออกแบบระบบในแนวทางของ Microservices และอาศัยคอนเซปต์แนวคิดของ DevSecOps เข้ามาเพื่อให้การทำงานคล่องตัว อัตโนมัติ และที่สำคัญคือมั่นคงปลอดภัยในทุกขึ้นตอน อย่างไรก็ดีทีมงาน Stream ได้นำเทคโนโลยี Low-code มาใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ซึ่งหลอมรวมกันเพื่อสร้างแอปพลิเคชันให้ลูกค้าทั้ง Web และ Mobile

นอกจากนี้ Stream ยังมีทีมงานที่สามารถให้บริการในเทคโนโลยี BlockChain ได้ ซึ่งคือเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบแชร์ โดยรับประกันว่าข้อมูลจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง (Immutable) หรือแก้ไขได้ เพราะทุกคนในเครือข่ายจะถือข้อมูลที่ตรงกันการแก้ไขหรือเพิ่มข้อมูลจะกระทบต่อทุกคนให้ต้องยอมรับร่วมกันเสียก่อน โดยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ในอีกหลายด้านเช่น การพิสูจน์ตัวตนในวงการธุรกิจการให้บริการทางการเงิน (eKYC) ที่ทำให้การทำธุรกรรมมีความโปร่งใสมากขึ้น

ท่านใดสนใจบริการของ Stream สามารถติดต่อทีมงานได้ตามที่อยู่ด้านล่าง

2.) Relational Database Platform

ปัจจุบันองค์กรทั่วโลกให้การยอมรับและตื่นตัวกับการแสวงหาโอเพ่นซอร์สเข้ามาใช้งานในองค์กรแทบทุกอย่าง โดยหากพูดถึงประโยชน์นั้น ปัจจัยแรกคือ การลดต้นทุนเนื่องจากโอเพ่นซอร์สเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและนำมาใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งหากเทียบกับซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกมาเพื่อการค้าในองค์กรที่มักมีมูลค่าหลายล้านหรือหลายสิบล้านก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ

ปัจจัยที่สอง โอเพ่นซอร์สเป็นเรื่องที่เปิดกว้างเพราะเผยโค้ดให้เห็นถึงการทำงาน ทำให้ทุกคนสามารถแชร์ความรู้และสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ได้ กล่าวคือไอเดียจากคนจำนวนมากย่อมดีกว่าซอฟต์แวร์ทางการค้าที่สร้างโดยบุคคลไม่กี่คน ซึ่งนอกจากเรื่องฟีเจอร์แล้วความเปิดกว้างนี้ยังส่งผลไปถึงเรื่อง Security ที่เปิดให้ทุกคนรีวิวได้อย่างโปร่งใส ลดโอกาสเกิดช่องโหว่

ปัจจัยสุดท้าย โอเพ่นซอร์สถือเป็นเทรนด์ที่สามารถดึงดูดคนเก่งๆ ได้ และริเริ่มทดลองได้ง่ายด้วย ยิ่งในองค์กรขนาดเล็กอาจจะใช้เพียงแค่เวอร์ชัน Community ซึ่งในหลายซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สก็มักมีการต่อยอดเพื่อการค้า เช่น ปรับแต่งให้มีความสามารถระดับสูงที่เหมาะกับองค์กรเป็นต้น

ฐานข้อมูลถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรมาแต่ไหนแต่ไร ในปัจจุบันก็มีกระแสที่องค์กรได้เล็งเห็นความสามารถว่าโอเพ่นซอร์สก็ทำงานได้ดีไม่แพ้ซอฟต์แวร์เพื่อการค้า อีกทั้งยังยืดหยุ่นเปิดกว้างมากกว่า หากพูดถึง PostgreSQL หรือ Postgres ก็คือ RDBMS โอเพ่นซอร์สที่น่าจะคุ้นหูใครหลายคน และเป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ที่น่าสนใจในยุคนี้เลยก็ว่าได้ โดยมีความสามารถโดดเด่นดังนี้

  1. Multiversion concurrency control (MVCC) ทำให้แต่ละ Transaction ไม่มีผลต่อกันจัดการเรื่อง Read Lock และการันตีคุณสมบัติ ACID โดยนำเสนอการแบ่งแยกระดับ Transaction เป็นสามระดับคือ Read Commit, Repeatable Read และ Serializable
  2. รองรับการทำ replica โหนดแบบ asynchronous ทำให้สามารถทำ query โหนดแบบ Read-only รวมถึงยังมีความสามารถ Replication แบบ Synchronous ที่การันตีการเขียนข้อมูลของแต่ละ Transaction
  3. รองรับข้อมูลได้หลากหลายชนิด เช่น Binary, JSON, Date/Time, Enum, Array, IPv4/IPv6 เป็นต้น ดังนั้นหากเจอกับข้อมูลหลากชนิด PostgreSQL ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมขององค์กร
  4. รองรับคำสั่งทำ Inheritance ตัวอย่างเช่น INHERITS (table_name) ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้ปฏิบัติงานอาจต้องการสร้าง Table ใหม่ที่มีโครงสร้างเดิมเพียงแค่มี Column เข้ามา ซึ่งเป็นเรื่องง่ายใน PostgreSQL นอกจากนี้ Statement ยังดูสะอาดตาไม่ซับซ้อนอีกด้วย
  5. โดยปกติแล้วคอลัมน์ของ Relational Model ควรเป็น Atomic แต่ในมุมของ PostgreSQL ไม่ได้มีข้อกำหนดและทำให้คอลัมน์มีข้อมูลย่อยที่เข้าถึงได้จากการ Query ยกตัวอย่างเช่น สามารถสร้างตัวแปร array ได้และเรียกดูข้อมูลเข้าไปถึง array ภายในได้เช่น ‘Select * from Table_name where Table_name.Column[index of array]’
  6. ความสามารถในการค้นหา ‘Full-text Search‘ ก็น่าสนใจไม่น้อยเพราะปกติการใช้ ‘Like’ ให้ค้นหาได้อย่างแม่นยำอาจต้องเพิ่ม Regex Expression เข้ามาร่วมด้วยแต่ความเก่งของ PostgreSQL คือสามารถค้นหาได้โดยไม่ต้องทำเช่นนั้น เช่น การค้นหา work ในชุดข้อมูลที่มีหลายรูปแบบของ “Working, works, worked และอื่นๆ”

และจากความโดดเด่นเหล่านี้เอง PostgreSQL จึงดึงดูดให้องค์กรจำนวนมากสนใจใช้งาน แต่ในการทำงานขององค์กรอาจจะยังไม่เพียงพอนัก ด้วยเหตุนี้เองจึงมีบริษัทที่ชื่อว่า EnterpriseDB (EDB) ได้ต่อยอดให้ PostgreSQL มีฟีเจอร์สำหรับการทำงานระดับสูง เช่น

  • Security – ตรวจสอบระดับ Session ได้ว่ามีกิจกรรมใดเกิดขึ้นในฐานข้อมูล ซึ่งเหนือกว่า PostgreSQL ธรรมดาที่ user ID อาจถูกแชร์กัน รวมถึงมีกลไกช่วยป้องกันการโจมตีแบบ SQL Injection และยังได้รับการรับรองจากกระทรวงการป้องกันของสหรัฐฯ และ FIPS 140-2 พร้อมเครื่องมือสำหรับช่วยดูแลข้อมูลให้เป็นไปตาม GDPR
  • Enterprise Manager –  ลูกค้าของ EDB PostrgreSQL จะได้รับเครื่องมือช่วยเหลือมากมายจากเครื่องมือ Postgres Enterprise Manager เช่น Dashboard แสดงผลที่ปรับแต่งได้ แม้กระทั่งความสามารถคาดการณ์ความจุของพื้นที่จัดเก็บ ไปจนถึงมีส่วนช่วยวิเคราะห์และบริหารจัดการ Log ดูว่าในการทำงานมีประสิทธิภาพส่วนใดที่ติดขัด เป็นต้น
  • Data Adapters – ทีมงาน EDB เป็นผู้พัฒนาหลักในการพัฒนาเรื่อง Foreign Data Wrapper (FDW) บนมาตรฐานของ SQL/MED โดยเป็นหัวหอกในการพัฒนา FDWs for MySQL, MongoDB และ Hadoop รวมถึงการเชื่อมต่อ PostgreSQL และ Oracle เข้าด้วยกันโดยไม่ต้องมีซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์สริม
  • Migration Toolkit – มีเครื่องมือรองรับการย้ายค่ายจากฐานข้อมูลเดิมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยรองรับฐานข้อมูลยอดนิยมต่างๆเช่น Oracle, Sybase, Microsoft SQL Server และ MySQL ซึ่งเครื่องมือ Migration ของ EDB Postgres นี้การันตีความสามารถรองรับ Stored Procedures และ PL/SQL ได้ซึ่งเหนือกว่าเครื่องมือทั่วไป
  • Failover Manager – ผู้ใช้งาน EDB PostgreSQL มั่นใจได้ว่าการทำงานของระบบจะไม่มีสะดุดเพราะมีเครื่องมือทำ Failover โดยรองรับคลัสเตอร์ได้หลายกลุ่ม อีกทั้งยังทำได้อัตโนมัติทั้งไปและกลับ หรือการทำ Virtual IP และ Load Balancer 
  • Backup & Recover – สามารถทำการ Backup และกู้คืนข้อมูลได้จาก Local และรีโมต มีการบีบอัดข้อมูลเพื่อลดพื้นที่ และรองรับการสำรองข้อมูลแบบ incremental รวมถึงกู้คืนได้ใน Point-in-time และออกรายงานต่างๆ ได้

โดย Stream เองเป็นทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการโซลูชันของ EDB PostgreSQL สำหรับองค์กรด้วยเช่นกัน ซึ่งมีความพร้อมที่จะนำโซลูชันเข้าไปเสนอ ออกแบบ ทดสอบ สร้างระบบร่วมกับลูกค้าและดูแลต่อเนื่องหลังการติดตั้ง สนใจติดต่อทีมงานได้ตามที่อยู่ด้านล่าง

3.) Multi-cloud Management

คลาวด์ได้ช่วยให้องค์กรมีความคล่องตัวและเพิ่มความล้ำสมัยทางนวัตกรรมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งธุรกิจได้ผ่านก้าวแรกนั้นมาแล้วจนเข้าสู่สถานการณ์ที่มีการผสมผสานคลาวด์หลายแห่ง โดยเหตุผลขององค์กรที่ก้าวสู่ Multi-cloud คือ ไม่ต้องการถูกผูกขาดการให้บริการ หรือต้องการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะกับความต้องการจริงๆเพราะแต่ละผู้ให้บริการคลาวด์มีความโดดเด่นต่างกันออกไป อย่างไรก็ดี Multi-cloud จึงได้พาองค์กรก้าวเข้าสู่ความท้าทายใหม่ดังนี้

  1. ความมั่นคงปลอดภัย – ข่าวคลาวด์ที่หลุดออกมาเกี่ยวกับเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลหรือถูกโจมตี สาเหตุหลักเพราะคลาวด์แต่ละเจ้ามีเครื่องมือควบคุมการเข้าถึง หรือเครื่องมือมอนิเตอร์ต่างกัน วิธีการคอนฟิคก็แตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้เองโอกาสที่ทีมงาน Security ขององค์กรจะคอนฟฟิคผิดพลาดก็มีเพิ่มขึ้น(Misconfiguration) หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคอนฟิคก็ต้องตามแก้ไขอัปเดตในแต่ละคลาวด์ซึ่งอาจทำได้ไม่ทั่วถึง (Config Drift)
  2. ขาดทักษะในการทำงาน – ต้องยอมรับว่ายังมีผู้ปฏิบัติงานอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้งานคลาวด์ แต่ด้วยสถานการณ์บังคับให้เจอกับคลาวด์หลายเจ้าพร้อมกัน ก็อาจทำให้การเรียนรู้เป็นไปได้ช้า ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ยังไม่นับปัญหาเรื่องบุคคลากรด้านไอทีที่มีน้อยอยู่แล้ว ซึ่งย้อนกลับไปที่เรื่องความมั่นคงปลอดภัยจากความไม่รู้
  3. ปรับการใช้งานให้เหมาะสม – Multi-cloud เป็นส่วนหนึ่งในความคาดหวังว่าจะช่วยองค์กรลดต้นทุนได้ แต่หากขาดเครื่องมือ Visibility ก็ไม่มีทางที่จะทราบได้เลยว่ามีการใช้งานทรัพยากรอะไรอยู่บ้าง ใช้งานจริงอยู่เท่าไหร่ ปรับลดอะไรได้บ้าง นี่คือค่าใช้จ่ายแฝงที่องค์กรต้องหาให้เจอ
  4. การปรับตัวที่ดี – องค์กรต้องปรับมาตรฐานการทำงานให้เป็น Baseline ก่อนว่าจะนำคลาวด์มาใช้งานร่วมกันด้วยวิธีปฏิบัติเดียวกันได้อย่างไร โดยเฉพาะความเป็น Orchrestration, Automation, Security และ Visibility (ทั้งในเรื่องค่าใช้จ่าย ทรัพยากร และ Security) ซึ่งแต่ละผู้ให้บริการคลาวด์มีเครื่องมือเหล่านี้ของตัวเองอยู่แล้ว แต่ก็อยู่ในกรอบความรู้และความเชี่ยวชาญในค่ายของตนเองเท่านั้น ตรงนี้เองคือโจทย์ใหญ่ที่องค์กรต้องศึกษาและปรับใช้ นอกจากนี้การทำ Microservices ที่ดีจะทำให้แตกแขนงออกสู่ความหลากหลายของคลาวด์ได้ ตลอดจนทำให้องค์กรได้ประโยชน์อย่างสูงสุดทั้งเรื่องของค่าใช้จ่ายและประสิทธิภาพ 

จะเห็นได้ว่าโจทย์ของ Multi-cloud กลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาทันที ต้องมีการวางแผนจัดการกับความซับซ้อนในการบริหารจัดการรายวันให้เป็นมาตรฐาน รวมถึงต้องอัปเดตความสามารถให้เท่าทันกับฟีเจอร์ใหม่ของผู้ให้บริการด้วย ซึ่งเครื่องมือในท้องตลาดมีมากมายแต่มีอยู่ชื่อหนึ่งที่หลายคนคุ้นเคยและองค์กรใช้งานมานานแล้วนั่นคือ VMware โดยเมื่อไม่นานนี้ได้มีการเปิดตัวโซลูชันใหม่ที่ชื่อ Aria เพื่อบริหารจัดการ Multi-cloud โดยเฉพาะรองรับกับคลาวด์เจ้าต่างๆ และเมื่อผสานเข้ากับระบบ Virtualize แบบเดิมที่มีอยู่แล้วก็เรียกได้ว่าเติมเต็มสู่การบริหารจัดการคลาวด์ได้อย่างครบวงจร

สำหรับ Aria ได้ผนึกเอาความสามารถเดิมที่ VMware มีอยู่แล้วเช่น vRealize, CloudHealth และ Tanzu ประกอบกับความสามารถใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามา โดยมีความสามารถใน 4 มุมมอง คือ

  • Cost – ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นภาพและเทรนด์ของค่าใช้จ่าย ช่วยวิเคราะห์และออกรายงานทำให้องค์กรวางแผนด้านการเงินได้แม่นยำสอดคล้องกับแผนทางธุรกิจ
  • Performance – แน่นอนว่า VMware สามารถมองเห็นภาพของทรัพยากรต่างๆ ในทุกคลาวด์ได้อยู่แล้ว ซึ่งการเสริมพลังด้าน AI ได้ยกระดับการใช้งานข้อมูลให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดและองค์กรสามารถวางแผนด้านการปฏิบัติการได้ง่ายขึ้น
  • Security – มุมมองอันดับแรกของ Multi-cloud ก็คือจะทำอย่างไรให้การคอนฟิคทุกคลาวด์นั้นเป็นอย่างมีมาตรฐานในแนวทางเดียวกัน โดยเครื่องมือ Aria จะปรับให้การใช้งานเป็นไปได้ตามเป้าหมายและตรงประเด็นกับ Compliance อีกด้วย
  • Automation – ความยากของการปฏิบัติงานบนคลาวด์ที่แตกต่างกันคือจะทำอย่างไรถึงจะทำงานได้รวดเร็วและลดการพึ่งพาคนให้น้อยที่สุดขจัดความยุ่งยากและข้อผิดพลาด โดยแนวทางของ DevOps ได้บรรจุรวมอยู่ในโซลูชัน Aria ที่รองรับการทำ Infrastructure as Code ตลอดจนการทำ CI/CD ได้อย่างมั่นใจ

นอกจากความโดดเด่นที่กล่าวมาฟีเจอร์ชูโรงของ Aria ที่ถูกพูดถึงมากก็คือเทคโนโลยี Aria Graph ที่สามารถเชื่อมโยงภาพของการใช้งานเช่น Application, User, Config และ Dependency เข้าด้วยกันได้ ช่วยขจัดภาพอันซับซ้อนเปิดทางให้แอดมินเข้าใจความสัมพันธ์ มองเห็นถึงปัญหาต้นตอและจัดการได้อย่างคล่องตัวจากศูนย์กลาง หากปราศจากเรื่องนี้แล้วการบริหารจัดการสินทรัพย์มหาศาลในระบบ Multi-cloud คงเป็นไปได้ยาก

ความท้าทายเรื่องของความซับซ้อนด้านทักษะนั้นไม่เกิดขึ้นกับ VMware เพราะแอดมินส่วนใหญ่ต่างคุ้นเคยกับหน้าตาของเครื่องมืออยู่แล้วเช่น vSphere หรือส่วนบริหารจัดการ Tanzu ท่านจะเห็นได้ว่าถูกผนวกเข้ามาได้อย่างไร้รอยต่อ เช่นเดียวกันกับ Aria ที่ไม่ได้ทำให้งานของท่านยากขึ้นหรือต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด โดยโซลูชันนี้เองเป็นพระเอกหลักของการให้บริการ Multi-cloud Management ที่ Stream นำมาใช้ให้บริการทุกท่าน หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อทีมงานได้ตามที่อยู่ด้านล่างครับ

เกี่ยวกับ Stream

บริษัท Stream ก่อตั้งเมื่อปี 1998 จากการเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการด้านไอทีแก่ลูกค้าในตลอด 24 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อช่วงปี 2019 บริษัทได้มีการขยายความเชี่ยวชาญจากเพียงแค่ไอทีสู่โซลูชันดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อช่วยลูกค้าก้าวเข้าสู่โลกแห่ง Digital Transformation ได้อย่างมั่นใจ

ผลงานบางส่วนคือ Stream ได้ให้บริการกลุ่มธุรกิจประกันให้เป็น InsurTech ด้วยการสร้างแอปพลิเคชัพลิเคชันสำหรับประกันโดยเฉพาะ สามารถออกแบบ UX-UI สำหรับบริการประเภทต่างๆ ให้เหมาะกับลักษณะของธุรกิจประกัน อาทิเช่น การทำแอป e-Claim สำหรับการเคลมประกันผ่าน VDO conference มีวิธีการยืนยันตัวตนในการเข้าแอปโดยการใช้เทคโนโลยี Blockchain ด้วยการทำ e-KYC เพื่อความปลอดภัย และรับส่งข้อมูลมหาศาลผ่านโซลูชั่น Managed File Transfer โดยในกรณีของงานแอปพลิเคชันทีมงานของ Stream มีความเชี่ยวชาญในการทำงานบนสถาปัตยกรรมแบบ Microservices ร่วมกับเทคโนโลยี Cloud และ Container ทำให้มั่นใจว่าแอปพลิเคชันของลูกค้าจะรองรับนวัตกรรมใหม่แห่งยุคสมัยและเข้าสู่ Digital Transformation ได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ Stream ยังได้มีโอกาสให้บริการลูกค้าในอีกหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การทำ Digital Core Bank ให้กลุ่มสถาบันการเงิน ให้คำปรึกษาองค์กรภาครัฐด้านการทำ Digital Transformation เช่น ระบบเก็บและบันทึกข้อมูลกับ IoT สู่ Big Data เป็นต้น ตลอดจนอุตสาหกรรมค้าปลีกเกี่ยวกับ Digital Process ประกอบด้วยการจัดการ Workflow อย่างอัตโนมัติร่วมกับ RPA หรือทำ Digital Supply Chain ด้วย e-Procurement เป็นต้น

หากลูกค้าในกลุ่มธุรกิจใดต้องการทำ Digital Transformation สามารถติดต่อ Stream เพื่อรับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล ซึ่งจะสะดวกรวดเร็วเหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจ ตรงกับเป้าหมายขององค์กร โดยสามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายการตลาด อีเมล marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233

ที่มา :

  1. https://learn.microsoft.com/en-us/devops/deliver/what-are-microservices
  2. https://aws.amazon.com/microservices/
  3. https://blog.opstree.com/2021/06/02/major-devops-challenges-faced-while-implementing-microservices/
  4. https://www.datamation.com/cloud/what-is-microservices/
  5. https://en.wikipedia.org/wiki/Digital_transformation
  6. https://en.wikipedia.org/wiki/EnterpriseDB
  7. https://en.wikipedia.org/wiki/PostgreSQL
  8. https://arctype.com/blog/postgresql-features-list/
  9. https://www.cio.com/article/191102/5-challenges-every-multicloud-strategy-must-address.html
  10. https://cloudsecurityalliance.org/blog/2021/05/18/the-challenges-managing-multi-cloud-environments/
  11. https://techbeacon.com/enterprise-it/4-essential-open-source-tools-cloud-management
  12. https://www.vmware.com/products/aria.html

from:https://www.techtalkthai.com/3-digital-transformation-trends-with-stream/

CIO, IDC and EDB Webinar: Fuelling innovation with open source database transformation [10 พ.ย. 2022 เวลา 9.30น.]

CIO, IDC and EDB ขอเรียนเชิญทุกท่านรับชม Webinar หัวข้อ Fuelling innovation with open source database transformation ในวันที่ 10 พ.ย. 2022 เวลา 9.30น. – 10.30น. เพื่อเรียนรู้ถึงเทคโนโลยี Open Source Database สำหรับการ Transform ธุรกิจ พร้อมกลยุทธ์ของการนำ Open Source Software ไปใช้เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมของธุรกิจองค์กร โดยมีรายละเอียด กำหนดการ และวิธีการลงทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายดังนี้

หัวข้อ: CIO, IDC and EDB Webinar: Fuelling innovation with open source database transformation

ผู้บรรยาย: Linus Lai – Vice president digital business, trust and services, IDC Asia-Pacific / Byron Connolly – Australia’s editor-in-chief, CIO / William McDonald – Regional Director, ANZ, EDB / Ajit Gadge – Field CTO, EDB

วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2022 เวลา 9.30น. – 10.30น. (เวลาประเทศไทย)

ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference

ภาษา: อังกฤษ

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)https://attendee.gotowebinar.com/register/9107536714418192144?source=EDB+Marketing

ธุรกิจองค์กรทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่างต้องดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีดิจิทัล ในขณะที่ลูกค้านั้นต่างล้วนต้องการให้บริษัทเปิดช่องทางดิจิทัลเพื่อให้การเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

งานวิจัยของ IDC ที่เผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้ได้ระบุถึงหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจดิจิทัล ซึ่งก็คือการใช้ข้อมูลและองค์ความรู้ในเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและความแตกต่าง รวมถึงสร้างวัฒนธรรมที่จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้

การดำเนินธุรกิจโดยใช้ข้อมูลขับเคลื่อนนั้น ความสำคัญของการทำ Data Modernisation จึงถูกยกระดับให้สูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ความสามารถในการพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ที่สามารถใช้งานข้อมูลและผสมผสานเข้ากับระบบนิเวศดิจิทัลเพื่อเติมเต็มห่วงโซ่คุณค่า ได้ทำให้องค์กรหลายแห่งต้องสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลด้วย Open Source

ในขณะที่การใช้โซลูชัน Open Source นั้นมีข้อดีหลายประการ แต่ธุรกิจองค์กรนั้นก็ยังคงต้องอาศัยความช่วยเหลือในการย้ายระบบและปรับปรุงระบบให้ทันสมัย และสร้างคุณค่าสูงสุดได้บนแพลตฟอร์มข้อมูลบน Multicloud

เข้าร่วม Webinar ในครั้งนี้เพื่อเรียนรู้ถึงประเด็นดังต่อไปนี้

  • หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจดิจิทัล
  • เทคโนโลยี Open Source จะเข้ามาขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่างไร
  • กลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และรับมือกับการขาดแคลนบุคลากร
  • คุณสมบัติของผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ

ลงทะเบียนเข้าร่วม Webinar ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ผู้ที่สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อเข้าร่วม Webinar ในหัวข้อนี้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันทีที่ https://attendee.gotowebinar.com/register/9107536714418192144?source=EDB+Marketing โดยทีมงานขอความกรุณากรอกข้อมูลชื่อบริษัทด้วยชื่อเต็มของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการจัดการกับข้อมูลการลงทะเบียน

from:https://www.techtalkthai.com/cio-idc-and-edb-webinar-fuelling-innovation-with-open-source-database-transformation-10112022/

EDB Postgres ระบบจัดการข้อมูลระดับองค์กร พร้อมดูแลด้วยความเชี่ยวชาญจาก IBM

เมื่อพูดถึงระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลสมัยใหม่ต้องยอมรับว่าเป็นยุคแห่งโอเพ่นซอร์สจริงๆ เนื่องจากความสามารถที่เสริมแต่งได้มากมาย แต่ไม่มีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ดี PostgreSQL น่าจะเป็นชื่อที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคงนึกถึงเป็นชื่อแรก โดยวันนี้ทีมงาน TechTalkThai จะมาเล่าให้ฟังถึงฟีเจอร์ต่างๆของระบบจัดการฐานข้อมูลที่ชื่อ EDB Postgres ที่ต่อยอดมาจาก PostgreSQL แต่เพิ่มฟีเจอร์ให้ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร พร้อมทั้งยังเสริมกำลังด้วยการดูแลจาก IBM ทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าระบบของท่านจะได้รับการดูแลอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง

Postgres มีรากฐานจุดกำเนิดมานานเกือบ 40 ปีแล้ว โดยการเดินทางเริ่มต้นขึ้นที่มหาวิทยาลัย Berkeley ประเทศสหรัฐอเมริกาจากคุณ Michael Stonebraker ซึ่งผู้พัฒนาได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Ingres (RDBMS ตัวแรก) เพราะเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาด้วย ถัดมาในปี 1996 หลังจากโปรเจ็คของ Stonebraker จบลงไม่นานก็มีผู้นำมาต่อยอดให้ Postgres รองรับ SQL Query แทน POSTQUEL จนกลายเป็น PostgreSQL และเริ่มต้นสู่ PostgreSQL.org เปิดกว้างการเข้าร่วมจากนักพัฒนาทั่วโลกนับแต่นั้นมา

จุดเด่นที่ทำให้ PostgreSQL เป็นโอเพ่นซอร์สที่มีผู้ใช้จำนวนมากมีหลายด้าน ประการแรกคือความสามารถที่ขาดไม่ได้อย่าง Multiversion concurrency control (MVCC) ที่ทำให้แต่ละ Transaction ไม่มีผลต่อกันจัดการเรื่อง Read Lock และการันตีคุณสมบัติ ACID โดยนำเสนอการแบ่งแยกระดับ Transaction เป็นสามระดับคือ Read Commit, Repeatable Read และ Serializable

ประการที่สอง PostgreSQL ยังรองรับการทำ replica โหนดแบบ asynchronous ทำให้สามารถทำ query โหนดแบบ Read-only รวมถึงยังมีความสามารถ Replication แบบ Synchronous ที่การันตีการเขียนข้อมูลของแต่ละ Transaction

ประการที่สาม PostgreSQL รองรับข้อมูลได้หลากหลายชนิดเช่น Binary, JSON, Date/Time, Enum, Array, IPv4/IPv6 เป็นต้น ดังนั้นหากเจอกับข้อมูลหลากชนิด PostgreSQL ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมขององค์กร

ยังไม่นับเรื่องที่ PostgreSQL เป็น Object-relational database (ORDBMS) พร้อมกับอีกหลายปัจจัยที่สนับสนุนให้ PostgreSQL อยู่ในใจของใครหลายๆคน อย่างไรก็ดีการปฏิบัติจริงนั้นองค์กรอาจพบความท้าทายมากมายเมื่อทุกอย่างเป็นโอเพ่นซอร์ส ตัวอย่างเช่นความสามารถด้าน Security การเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการ การทำ Migration และอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เองจึงนำไปสู่ PostgreSQL ในเวอร์ชันอัปเกรตจากทีมงานของ EnterpriseDB หรือ EDB Postgres

ยกระดับโอเพ่นซอร์สสู่ 6 ความสามารถระดับองค์กรด้วย EDB Postgres

1.) Security 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Security ถือเป็นเรื่องใหญ่ขององค์กรในปัจจุบันที่ไม่สามารถมองข้ามได้อีกแล้ว เนื่องจากส่งผลเสียหายอย่างมากและมีบทลงโทษที่รุนแรง ในส่วนของผู้ใช้งาน EDB Postgres ท่านจะได้รับสิทธิพิเศษดังนี้

  • สามารถตรวจสอบระดับ Session ได้ว่ามีกิจกรรมใดเกิดขึ้นในฐานข้อมูล ซึ่งเหนือกว่า PostgreSQL ธรรมดาที่ user ID อาจถูกแชร์กัน
  • มีความสามารถป้องกับการโจมตีรูปแบบของ SQL Injection ซึ่งตามปกติแล้ว PostgreSQL ไม่ได้มีพร้อมใช้ นักพัฒนาต้องทำการเขียนลอจิกดักไว้เอง
  • EDB Postgres ได้การรับรองจากกระทรวงการป้องกันของสหรัฐฯ และ FIPS 140-2 รวมถึงมีเครื่องมือสำหรับช่วยดูแลข้อมูลให้เป็นไปตาม GDPR
  • ช่วยปิดบังข้อมูลสำคัญได้ด้วย Data Redaction หรือ Dynamic Data masking 
  • แอปพลิเคชันในรูปแบบ multi-tenant ยังได้รับการป้องกันระดับ Row-level เพื่อจำกัดการเข้าถึงอย่างไม่เหมาะสม 

2.) Enterprise Manager

การจัดการฐานข้อมูลจริงๆในระดับองค์กรก็เป็นเรื่องยุ่งยากอยู่ไม่น้อย หากเป็นไปได้ก็คงจะดีกว่าถ้าผู้ดูแลระบบจะสามารถทำงานได้ง่าย โดยลูกค้าของ EDB PostrgreSQL จะได้รับเครื่องมือช่วยเหลือมากมายจากเครื่องมือ Postgres Enterprise Manager ดังนี้

  • รวมศูนย์การทำงานที่เครื่องมือนี้ต่อยอดมากจาก pgAdmin ซึ่งนิยมใช้กับ PostgreSQL อยู่แล้ว ดังนั้นหากมีประสบการณ์เดิมกับ PostgreSQL ก็จะสามารถทำงานด้วยเครื่องมือเดียวหรือทำงานร่วมกันได้ 
  • มีหน้า Dashboard แสดงผลที่สามารถปรับแต่งได้
  • รองรับการทำงานกับ SMTP และ SNMP พร้อมตั้งแจ้งเตือนตามเวลาที่กำหนดได้
  • ช่วยคาดการณ์ความจุของพื้นที่จัดเก็บได้
  • มีหน้าจอช่วยวิเคราะห์และบริหารจัดการ Log
  • สามารถแสดงผลประสิทธิภาพการทำงานได้ว่าส่วนใดติดขัด
  • มีหน้าจอช่วยปรับจูนให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

3.) Failover Manager

ฐานข้อมูลไม่ควรล่มคือปัจจัยหลักที่องค์กรควรต้องคิดเป็นอันดับแรก ซึ่ง EDB PostgreSQL มีฟีเจอร์สำคัญที่จะช่วยให้การทำงานของท่านเป็นไปได้อย่างปลอดภัย

  • รองรับการทำคลัสเตอร์ได้หลายกลุ่มตามความต้องการ
  • ติดตั้งง่ายพร้อมมีระบบมอนิเตอร์การทำงาน
  • มีระบบการแจ้งเตือนเมื่อพบเจอความผิดพลาด
  • ป้องกันไม่ให้เกิดการผิดพลาดของข้อมูล
  • ทำการ Failover ได้อัตโนมัติ และสามารถย้ายไปย้ายกลับได้ พร้อมทั้งมีระบบทดสอบการตั้งค่า
  • รองรับการทำ Virtual IP และ Load Balancer เพื่อการทำงานอย่างยืดหยุ่น

4.) Backup & Recovery

เมื่อไม่สามารถต้านทานการสูญเสียได้ ระบบ Backup คือสิ่งเดียวที่ช่วยบรรเทาความเสียหายให้อยู่ในขอบเขตจำกัด จากภัยคุกคามใดๆ ด้วยเหตุนี้ในทุกแผนของระบบไอที Backup ถือเป็นหัวข้อหลักที่องค์กรต้องเตรียมการไว้ อย่างไรก็ดีในระบบฐานข้อมูลแบบโอเพ่นซอร์สท่านอาจจะต้องเผชิญกับโปรเจ็คที่เกี่ยวข้องในหัวข้อนี้มากมาย ปัญหาคือทีมงานต้องเสียเวลาจัดการเพิ่มเติมอีก แต่ผู้ใช้งาน EDB PostgreSQL จะได้รับความสามารถเหล่านี้เข้ามาแล้ว

  • สามารถทำการ Backup และกู้คืนข้อมูลได้จาก Local และรีโมต
  • มีการบีบอัดข้อมูลเพื่อช่วยลดทราฟฟิคและพื้นที่จัดเก็บ
  • รองรับ Block level incremental backup เพิ่มความรวดเร็วในการสำรองและกู้คืน 
  • ใช้งานง่าย ออกรายงานได้ จัดการได้จากศูนย์กลาง รวมถึงทำงานได้กับ CRON job
  • กู้คืนได้แบบ Point-in-time

5.) Data Adapters

เป็นเรื่องธรรมดาที่องค์กรต้องมีการเชื่อมต่อแหล่งข้อมูลอื่นๆ ซึ่งทีมงาน EDB เป็นผู้พัฒนาหลักในการพัฒนาเรื่อง Foreign Data Wrapper (FDW) บนมาตรฐานของ SQL/MED โดยเป็นหัวหอกในการพัฒนา FDWs for MySQL, MongoDB และ Hadoop รวมถึงการเชื่อมต่อ PostgreSQL และ Oracle เข้าด้วยกันโดยไม่ต้องมีซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์สริมเช่น Standalone Replicate Server เป็นต้น

6.) Migration Toolkit

องค์กรที่สนใจ EDB Postgres หมดกังวลไปได้เลยกับการย้ายจากฐานข้อมูลเดิมเพราะมีเครื่องมือช่วยเหลือในการย้ายค่ายรองรับทั้ง Oracle, Sybase, Microsoft SQL Server และ MySQL มาสู่ PostgreSQL ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งได้และมีการโหลดแบบ Parallel ให้กระบวนการเร็วขึ้น โดยเครื่องมือ Migration ของ EDB Postgres นี้การันตีความสามารถรองรับ Stored Procedures และ PL/SQL ได้ซึ่งเหนือกว่าเครื่องมือทั่วไป

สำหรับผู้ใช้งานท่านใดที่มองหาทางเลือกเพื่อย้ายจาก Oracle หรือใช้ทำงานควบคู่อีกระบบหนึ่ง EDB Postgres มีความพร้อมอย่างยิ่งทั้งด้านฟีเจอร์และคำสั่ง PL/SQL ช่วยให้ทีมงานสามารถใช้ทักษะเดิมต่อไปได้โดยไม่ต้องเรียนรู้ใหม่ แต่ได้สิทธิพิเศษเรื่องราคาและความเป็นโอเพ่นซอร์สระดับองค์กรอย่างแท้จริง อย่างไรก็ดีสุดท้ายแล้วการดูแลก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งพาร์ทต่อไปเราจะแนะนำให้ท่านรู้จักกับช่องทางในการเอาชนะความท้าทายนี้

ให้มืออาชีพดูแลคุณผ่าน IBM

IBM ได้จับมือกับทีมงาน EnterpriseDB เพื่อให้บริการดูแลลูกค้า EDB Postgres นี่เห็นได้ชัดว่าโซลูชันนี้มีความสเถียรเพียงพอที่ทำให้ IBM ออกตัวมารับดูแลผลิตภัณฑ์นี้ ซึ่งด้วยความเชี่ยวชาญของ IBM ที่คลุกคลีกับองค์กรมาแล้วทั่วโลกบอกได้เลยว่าท่านจะได้รับการดูแลอย่างมั่นใจ การเชื่อมต่อระบบเข้าหากันจากของเดิมสู่ของใหม่ ในการทำงานจริงฝ่ายไอทีในองค์กรต้องมีความรู้อย่างกว้างขวางถึงระบบอื่นๆด้วย ทำให้คำปรึกษาของ IBM จึงมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ท่านผลักดันการใช้งานให้เกิดขึ้นได้จริง

อีกประการหนึ่งก็คือการใช้งานตัว EDB Postgres ที่แม้จะมีฟรี แต่ท่านอาจจะไม่มีทรัพยากรมากพอที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตัวเอง ดังนั้นจะดีกว่าไหมหากมีทีมงานจากพี่ใหญ่อย่าง IBM มาการันตีว่าระบบของท่านจะได้รับการดูแลอย่างดี

นอกจากจะมีผู้สนับสนุนที่มีความรู้ที่ใช้ได้จริงแล้ว ช่องทางการให้บริการของ IBM ยังครอบคลุม 24/7 ในหลายช่องทางเช่นกัน โดยบริษัท Computer Union หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ EDB PostgreSQL

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด

โทร 02 311 6881 #7156,7158 หรือ email cu_mkt@cu.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/edb-postgres-review-the-enterprise-db-supports-by-ibm-professional/

[Guest Post] IBM ได้ร่วมมือกับบริษัท EDB พัฒนา PostgreSQL เป็น EDB Postgres

ครบเครื่องเรื่องจัดการฐานข้อมูล เติมเต็มช่องว่างของ Open-Source Database เพิ่มประสิทธิภาพให้กลายเป็น Enterprise Database กับการผสานสองพลัง IBM และ EDB Postgres พร้อมการ support ข่วยแก้ปัญหา และคำปรึกษาตลอด 24*7

ปัจจุบันนี้มานำเอา Open-Source Database มาใช้งานกับองค์กรมีเยอะมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายและประสิทธิภาพของตัว database ก็สามารถรองรับกับ Application ต่างๆ ได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่เมื่อมีการใช้งานระบบไปเรื่อยๆ สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นสำหรับทุกๆ องค์กรคือ จำนวนผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ทำให้การรักษาความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูลที่มากับ Open-Source Database อาจจะไม่เพียงพอ และเมื่อมีการใช้งานระบบฐานข้อมูลมากขึ้น ปริมาณของข้อมูลก็จะเพิ่มขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือความซับซ้อนในการเรียกใช้งาน Database ก็จะมีเยอะขึ้น อาจจะทำให้ระบบฐานข้อมูลทำงานช้าลงหรืออาจจะทำให้เกิดปัญหาจนไม่สามารถทำงานต่อได้ และอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นช่องว่างของ Open-Source Database อยู่ก็คือ ในกรณีที่ Database มีปัญหา จะไม่มี support คอยให้บริการ

ในวันนี้ทาง IBM ได้ร่วมมือกับบริษัท EDB พัฒนา PostgreSQL เป็น EDB Postgres เพิ่มประสิทธิภาพและการ Support เติมเต็มช่องว่างของ Open-Source ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย การเพิ่มความสามารถต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานระบบฐานข้อมูลที่มีความซับซ้อน มีบริการ support ช่วยแก้ปัญหาและให้คำปรึกษาตลอดเวลาแบบ 24×7 ทำให้ตัว EDB Postgres เป็น Database ที่มีความสามารถเทียบเท่ากับ Enterprise Database ในตลาดตอบโจทย์การใช้งานกับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่

IBM เปิดให้ใช้ EDB Postgres ฟรี!!! 60 วัน

สำหรับผู้ที่สนใจทดลองใช้งานสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด

โทร 02 311 6881 #7156 หรือ email : cu_mkt@cu.co.th

ชมวีดีโอของ IBM Data Management Platform for EDB Postgres Enterprise ได้ที่

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-edb-postgresql-edb-postgres-by-computer-union/

[Guest Post] IBM ร่วมมือกับ EDB Postgres เพื่อเติมเต็มช่องว่างในส่วนที่ Open Source Database ยังขาดอยู่ให้สมบูรณ์และพร้อมใช้งาน

IBM ได้ร่วมมือกับ EDB Postgres เติมเต็มช่องว่างในส่วนที่ Open Source Database ยังขาดอยู่ให้สมบูรณ์ และพร้อมใช้งาน เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลกับทุกองค์กร ภายใต้ชือ IBM Data Management Platform for EDB Postgres Enterprise พร้อมทั้งยังปรึกษาปัญหา และโซลูชันกับ IBM ได้โดยตรง

IBM Data Management Platform for EDB Postgres Enterprise

ปัจจุบันหลายๆ องกรค์เลือก Open Source Database ในการจัดเก็บข้อมูล เนื่องจากมีความสามารถและประสิทธิภาพที่เทียบเท่ากับ Enterprise Database ซึ่งเหตุผลที่สำคัญสำหรับผู้ใช้งานที่เริ่มศึกษาและมองหา Open Source Database เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับองกรค์เนื่องจากการเรียนรู้ได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่ามากกว่า

แต่เมื่อมีการใช้งานฐานข้อมูลไปซักระยะหนึ่ง Open Source Database ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้งานได้ทั้งหมด เนื่องจากปริมาณข้อมูลในองค์กรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ข้อมูลที่ใช้งานมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ระบบฐานข้อมูลทำงานช้าและเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา โดยวันนี้ทาง IBM ได้ร่วมมือกับ Open Source Database ชั้นนำของตลาดอย่าง EDB Postgres เพื่อเติมเต็มช่องว่างในส่วนที่ Open Source Database ยังขาดอยู่ให้สมบูรณ์และพร้อมใช้งานได้กับทุกองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

IBM Data Management Platform for EDB Postgres Enterprise

ถ้าพูดถึง Open Source Database หลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อ PostgreSQL ซึ่งเป็น database ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของตลาด เนื่องจากสามารถรองรับการทำงานในรูปแบบ Object-relational database ด้วยคุณสมบัติ ACID และรองรับจำนวน concurrency ได้อยากมหาศาลโดยไม่มี database lock เพื่อพัฒนาให้ PostgresSQL มีศักยภาพให้ดียิ่งขึ้น ทาง IBM ได้ร่วมมือกับ EDB เสริมความแข็งแกร่งในด้านเทคโนโลยีและการบริการภายใต้ Product ที่มีชื่อว่า IBM Data Management Platform for EDB Postgres Enterprise เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลกับทุกองค์กร

Postgres Advanced Server

Postgres Advance Server เป็นองค์ประกอบหลักของ IBM Database Management Platform for EDB Postgres ซึ่งเป็นการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ PostgresSQL โดยเพิ่มความสามารถในด้านความปลอดภัยมากกว่าเดิม ในกรณีที่มีการ queries ข้อมูลที่เกิดความช้าลง Postgres Advanced Server ยังสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นให้อัตโนมัติ ทำให้ DBA สามารถ tuning database ได้ถูกจุด ช่วยให้ประหยัดเวลาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพได้อยู่ตลอดเวลา ในด้านการใช้งานร่วมกับ database ยี่ห้ออื่นนั้น Postgres Advance Server มีความสามารถในการรองรับการใช้งานร่วม database ยี่ห้ออื่นๆ โดยเฉพาะกับ database Oracle ได้เป็นอย่างดี ด้วยความสามารถ Oracle compatibility ทำให้ผู้ใช้งานยังสามารถใช้งานระบบฐานข้อมูลด้วยทักษะเดิมโดยไม่ต้องเรียนรู้ใหม่ รวมไปถึงการ migration ฐานข้อมูลจาก Oracle ยังสามารถทำได้ง่ายรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยแทบจะไม่ต้องอาศัยการ coding เลย

IBM Data Management Platform for EDB Platform for EDB Postgres จะมีอยู่สอง Edition คือ Standard Edition และ Enterprise Edition ซึ่ง Feature ที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับ Enterprise Edition มีดังนี้

1. Enterprise Security เพิ่มความสามารถทางด้าน Security ที่ Enterprise Database ควรจะต้องมี ยกตัวอย่างเช่น Password policy management, Session tag auditing, Data redaction, SQL injection protection, Server-side code obfuscation

2. Developer Productivity มีเครื่องมือที่ช่วยให้ Developer สามารถ coding ได้รวดเร็วและใช้งานกับข้อมูลที่ complex ทำให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งมี feature package รองรับ Autonomous Transactions ทำให้ transaction ภายใน function ย่อยๆ สามารถทำงานได้เป็นอิสระโดยไม่ไม่ส่งผลกระทบกับ program หลัก, Advanced Queuing รองรับการทำ Message Queue, User-defined object types, Hierarchical Queries และ Synonyms Table เป็นต้น

3. DBA Productivity เป็นเครื่องมือช่วยเหลือสำหรับ DBA เช่น การ Manage Resource ต่างๆ ของ database และมีเครื่องมือที่ช่วย load ข้อมูลเข้า database เป็นต้น

4. Performance Tools มี feature ช่วยเหลือในด้าน Performance ของ database เช่น Query Optimizer, การทำ Bulk load data และ SQL session/System Wait Analysis ใช้วิเคราะห์ transection ต่างๆ เป็นต้น

5. Oracle Compatibility ใน Enterprise Edition มี Feature native oracle compatibility ที่รองรับ PL/SQL โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องเรียนรู้ทักษะเพิ่มเติม ทำให้สามารถใช้งาน IBM Data Management Platform for EDB Postgres Enterprise ร่วมกันกับ database Oracle หรือสามารถใช้งานทดแทนได้อย่างไร้รอยต่อ

IBM Data Management Platform for EDB Postgres Enterprise รองรับ component ต่างๆ เพื่อยกระดับสูความเป็น Enterprise Database โดยแบ่งองค์ประกอบเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

Integration Suite เป็นความสามารถที่รองรับการ Integrate ข้อมูลที่อยู่ต่าง environment กัน ยกตัวอย่างเช่น

  • EDB Postgres DataAdepter ช่วยในเรื่องการ remote เพื่อใช้งานติดต่อกับ database ตัวอื่นเช่น MongoDB, MySQL หรือ Hadoop โดยใช้ interface ตัวเดียวกัน
  • EDB Postgres Replication Server รองรับการทำ Database Replication ระหว่าง Data center กับ DR site ทั้งแบบ single master replication (SMR) และ multi-master replication (MMR)

Migration Tools มีความสามารถในการรองรับเรื่องการ migration โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น

  • EDB Postgres Migration Toolkit ที่ช่วย migrate ข้อมูลจาก table หรือข้อมูลที่ต่างกันมารวมกันไว้ที่ IBM Data Management Platform for EDB Postgres Enterprise
  • ในกรณีที่เกิดปัญหาระหว่าง migration สามารถตรวจสอบได้ว่าติดปัญหาที่ตรงไหนจาก EDB Migration Assessment Service
  • รองรับการ Migration ข้อมูลทั้งแบบ online ซึ่งสามารถ migration ข้อมูลได้ทันทีที่ต้องการหรือจะทำแบบ offline โดยสร้าง script ไว้เพื่อ migrate ข้อมูลทีหลังก็ได้

Management Tools มีเครื่องมือที่ช่วยบริหารจัดการต่างๆ ช่วยให้ DBA สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เช่น

  • Monitoring, Tuning
  • รองรับการทำ High availability และ Disaster recovery
  • มี Backup Recovery Tools สามารถ backup หรือ restore ข้อมูลได้จากระบบฐานข้อมูลโดยไม่ต้อง tools 3rd party

EDB Postgres Enterprise Manager

Postgres Enterprise Manager เป็นเครื่องมือที่ช่วยดูแลและใช้งานระบบฐานข้อมูล ติดตั้งและใช้งานง่าย สามารถดูแลระบบฐานข้อมูลได้ทุก Environment ไม่ว่าจะเป็น On-premises, Virtualized และ Cloud ถูกออกแบบให้เข้าการงานของ DBA ที่จะต้องบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น มี feature SQL Profiler ที่สามารถแนะนำผู้ใช้งานในกรณีที่มีการ queries ข้อมูลช้าหรือเกิดปัญหาต่างๆ, มี Interface ที่สามารถ configuration replication ได้โดยตรง, การ monitor database สามารถแสดงผลได้ทั้งแบบ dashboard หรือสามารถ customize ได้ตามที่ผู้ดูแลระบบต้องการ โดยข้อมูลที่แสดงผลนั้นสามารถแสดงผลข้อมูลได้ทั้งปัจจุบันหรือดูย้อนหลังได้ และเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น ยังสามารถแจ้งเตือนได้ทั้งรูปแบบที่แสดงผลที่หน้าจอ, SNMP และทาง Email ได้อีกด้วย

The Added Advantage of IBM

ด้วยประสบการณ์ของ IBM ที่มีอย่างยาวนาน ช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าการใช้งาน Database Open Source จะได้รับคำแนะนำและบริการเป็นอย่างดี ผู้ใช้งาน IBM Data Management Platform for EDB Postgres Enterprise สามารถเปิด Case ปัญหา, ปรึกษา Solution หรือใช้บริการต่างๆ จาก IBM ได้โดยตรง และในอนาคตยังสามารถรองรับการทำงานร่วมกับ Solution Hybrid Data Management ซึ่งเป็นการ Integrate กับ Cloud Pak for Data ได้อีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด

โทร 02 311 6881 #7156,7158 หรือ email : cu_mkt@cu.co.th

เขียนบทความโดย

คุณอนุวรรตน์ ชำนาญเวช

Presales Software Specialist

บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-data-management-platform-for-edb-postgres-enterprise-by-cu/