คลังเก็บป้ายกำกับ: ASUS_NOTEBOOK

รีวิว ASUS ROG Strix G18 เกมมิ่งตัวแรงสเปคทรงพลัง ดีไซน์อลังการ RGB จัดเต็ม เริ่มแค่ 72,990 บาท

ASUS ROG Strix G18 จอใหญ่ สเปคโหดไม่เกรงใจใคร!

เชื่อว่าถ้าถามเกมเมอร์ตัวยงสักคนว่าจะซื้อเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คสักเครื่อง ไม่จำกัดว่าจะถูกจะแพงแค่ไหนก็ได้ล่ะก็ ในปี 2023 นี้ก็ต้องมีชื่อของ ASUS ROG Strix G18 อยู่ในใจกันบ้างอย่างแน่นอน ไม่ใช่แค่ดีไซน์ที่ดุดันทรงพลังและโลโก้อันเป็นเอกลักษณ์ที่เกมเมอร์เชื่อถือเท่านั้น แต่ทางบริษัทก็ใส่ฟีเจอร์ดีๆ และยังปรับแก้ดีไซน์บางส่วนให้ดีกว่า ROG Strix ในรุ่นก่อนให้ดีขึ้นอีกด้วย

Advertisementavw

เริ่มต้นจากสเปคของ ASUS ROG Strix G18 ต้องถือว่าทางบริษัทจัดเต็มกับเครื่องนี้มาก โดยซีพียูของทุกรุ่นจะใช้ Intel Core i9-13980HX ซึ่งเป็น Intel 13th Gen เหมือนกันทุกรุ่น ให้รีดประสิทธิภาพของการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce 4000 Series ได้หมดจดและยังสั่ง Overclock โดยปรับค่า TGP ของซีพียูและจีพียูได้สูงสุดถึง 240 วัตต์ แล้วระบายความร้อนด้วยชุดระบายความร้อน ROG Intelligent Cooling ซึ่งนอกจากใช้โลหะเหลว (Liquid Metal) ที่จับมือพัฒนาร่วมกับทาง Thermal Grizzly รุ่น Conductonaut Extreme นำความร้อนระบายออกจากตัวเครื่องผ่านทางฮีตไปป์ 7 เส้นและพัดลมหลักถึง 2 ตัวแล้ว ทาง ASUS ยังเสริมพัดลมระบายความร้อน VRAM โดยเฉพาะอีก 1 ตัว ให้อุณหภูมิชิปลดลง โดยทาง ASUS เคลมไว้ว่าชุดระบายความร้อนนี้ยังลดอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 15 องศาเซลเซียส

หน้าจอ ROG Nebula Display ก็ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ในรุ่นใหม่นี้นอกจากขนาดจอใหญ่ 18 นิ้ว ทาง ASUS เลือกความละเอียดหน้าจอเป็น QHD+ (2560×1600) อัตราส่วน 16:10 ซึ่งเหมาะจะใช้ทำงานและเล่นเกม พาเนล IPS ค่า Refresh Rate สูงถึง 240Hz รองรับ NVIDIA G-SYNC ป้องกันภาพฉีกขาดเวลาเล่นเกมและเป็นจอ Dolby Vision HDR ให้ภาพเกมบนหน้าจอสวยงามขึ้นและยังใช้ทำงานได้สบายๆ เพราะขอบเขตสีหน้าจอกว้างถึง 100% DCI-P3 ได้รับการรับรองความเที่ยงตรงสีจาก PANTONE นับว่าครบเครื่องทั้งทำงานและเล่นเกมอย่างแน่นอน สำหรับลำโพงคู่ของ ASUS ROG Strix G18 ตัวนี้สามารถจำลองเสียงได้ 5.1.2 แชนแนล ได้เสียงรอบทิศทางแบบ Dolby Atmos ได้รับการรับรอง Hi-Res Audio ด้วย ดังนั้นความบันเทิงเรียกว่าครบเครื่องไร้ที่ติ

ASUS ROG Strix G18

นอกจากสเปคแรงทรงพลังแล้ว เกมเมอร์ที่ชื่นชอบไฟ RGB ก็ไม่ผิดหวังเพราะมีระบบไฟ RGB “AURA Sync” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของทาง ASUS ติดมาให้รอบตัวจนถึงโลโก้ ROG หลังเครื่อง สามารถตั้งสีสันและเอฟเฟคไฟได้ตามใจชอบในโปรแกรมประจำเครื่องอย่าง ASUS Armoury Crate ได้รอบตัว ช่วยสร้างบรรยากาศของโต๊ะคอมให้สวยโดนใจเกมเมอร์ยิ่งขึ้น

NBS Verdicts

Strix Scar G18 DSC01156

ASUS ROG Strix G18 เป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระดับ Desktop Replacement แรงเทียบชั้นกับเกมมิ่งพีซีในปัจจุบันได้สบาย เอามาต่อหน้าจอแยก 2K QHD~4K UHD ปรับกราฟิคระดับกลางหรือสูงก็ยังลื่นไหลหรือจะเล่นบนจอ 18 นิ้ว ของตัวเครื่องก็ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ครีเอเตอร์ก็ซื้อเอาไปทำงานก็ได้เพราะขอบเขตสีหน้าจอกว้างระดับ 100% DCI-P3 ได้รับการรับรองจาก PANTONE ว่าสีเที่ยงตรงแม่นยำอีกด้วย ถือเป็นโน๊ตบุ๊คดีรอบด้านแถมยังครบเครื่องตอบโจทย์ผู้ใช้ทุกคน

สเปคต่อราคาก็ถือว่าค่อนข้างลงตัว ยืนพื้นด้วยซีพียู Intel Core i9-13980HX เหมือนกันทั้งไลน์อัพ แต่จะต่างกันตามงบประมาณไป อย่างรุ่นเริ่มต้นราคา 72,990 บาท ก็ได้การ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 4060 แรม 16GB DDR5 และ M.2 NVMe SSD อีก 1TB หรือเพิ่มมาเป็น 84,990 บาท ก็อัพเกรดเป็น NVIDIA GeForce RTX 4070 แรม 32GB DDR5 ซึ่งมากสุดเท่าที่ ROG Strix G18 รับได้ และ M.2 NVMe SSD อีกถึง 2TB ซึ่งเยอะพอให้เกมเมอร์เอาไว้ลงเกมและโปรแกรมใช้งานต่างๆ ได้เต็มที่

การเชื่อมต่อของ ASUS ROG Strix G18 นอกจาก Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.2 แล้ว ยังมีพอร์ต Thunderbolt 4, USB-C 3.2 Full Function และ HDMI 2.1 ที่รองรับจอ 8K 60Hz หรือ 4K 120Hz ติดตั้งมาให้ต่อหน้าจอแยกได้มากสุด 3 จอ มีพอร์ตใช้งานทั้ง USB-A 3.2 ไว้ต่อเกมมิ่งเกียร์และสาย LAN 2.5GbE ไว้ใช้ต่อต่อเข้ากล่องเราเตอร์ให้เล่นเกมและเน็ตได้ลื่นไหลไม่แล็คให้เสียจังหวะ ถือว่าทาง ASUS ให้ของดีมาล้นตัวก็ว่าได้

แต่จุดสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ลอง ASUS ROG Strix G18 ได้แก่ ตัวเครื่องที่หนัก 3 กิโลกรัม ในฐานะโน๊ตบุ๊คก็ถือว่าหนักทีเดียว แต่ถ้าเทียบกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คขนาดใกล้เคียงกันอย่าง 17.3 นิ้ว ก็ถือว่าไล่เลี่ยกันและแบตเตอรี่ก็ใช้งานได้นานสุดเพียง 4 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น แม้จะพอใช้อแดปเตอร์แกลเลี่ยมไนไตรท์ (GaN) กำลังไฟ 100 วัตต์แทนก็พอได้แต่เล่นเกมหรือตัดต่องานหนักๆ ก็ต้องพึ่งอแดปเตอร์เฉพาะของตัวเครื่องถึงจะรีดได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ใช้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มอีก 1 กิโลกรัม รวมเป็น 4 กิโลกรัม ดังนั้นถ้าใครจะซื้อมาเผื่อพกพาไปไหนมาไหนคงไม่สะดวกเท่าไหร่แต่ถ้าวางโต๊ะเป็นหลัก พกติดตัวเป็นเรื่องรองก็ไม่มีปัญหา ซื้อมาใช้เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเลยก็ดีมาก

แง่การอัพเกรดก็มีเรื่องน่าเสียดายอย่างแรมในเครื่องรองรับมากสุดเพียง 32GB DDR5 เท่านั้น ในขณะที่แบรนด์คู่แข่งหลายๆ เจ้าสามารถใส่แรมได้ถึง 64~128GB แล้ว จึงดูน้อยเกินไปในฐานะเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระดับเรือธงของปี 2023 นี้ ส่วนตัวผู้เขียนอยากให้ทาง ASUS อัพเดท BIOS หรือปรับแต่งชิ้นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ก็ตาม ให้รองรับแรมได้ 64GB ไปเลยจะดีกว่า ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเหมาะกับสไตล์ลากใช้งานไปหลายๆ ปี แล้วอัพเกรดเครื่องให้ถึงขีดจำกัดจนไปต่อไม่ไหว ค่อยขายเครื่องทิ้งหรือส่งต่อให้คนใกล้ตัวมากกว่า หากทาง ASUS จัดการเรื่องข้อจำกัดปริมาณแรมในเครื่องได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดีอย่างแน่นอน

ข้อดีของ ASUS ROG Strix G18
  1. ติดตั้งซีพียูรุ่นที่แรงสุดจาก Intel อย่าง Intel Core i9-13980HX มาให้ใช้งาน
  2. การ์ดจอมีตั้งแต่ GeForce RTX 4060, RTX 4070 ให้เลือกใช้
  3. เร่งค่า TGP ของซีพียูและจีพียูได้สูงสุดรวม 240 วัตต์ เพิ่มประสิทธิภาพตอนใช้งานได้สูงขึ้น
  4. ระบบระบายความร้อนทำงานได้ยอดเยี่ยมและใช้ Liquid Metal ระบายความร้อนซีพียูและจีพียู
  5. ติดตั้งฮีตไปป์ระบายความร้อนมาให้ 7 เส้น ช่วยระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
  6. มีพัดลมสำหรับระบายความร้อน VRAM โดยเฉพาะ ทำให้แรมการ์ดจอเย็น ทำงานได้เต็มที่
  7. ได้แรม 16~32GB DDR5 จากโรงงาน ขึ้นอยู่กับรุ่นที่เลือกซื้อ
  8. ได้ M.2 NVMe SSD อินเตอร์เฟส PCIe 4.0 รุ่นสูงสุดจะทำ RAID 0 จากโรงงานมาเลย
  9. มีพอร์ต Thunderbolt 4 และ USB-C 3.2 Full Function ให้ใช้ต่อหน้าจอและชาร์จแบตเตอรี่ได้
  10. หน้าจอขนาดใหญ่ถึง 18 นิ้ว ความละเอียด QHD+ พาเนล IPS ขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3
  11. ค่า Refresh Rate สูงถึง 240Hz รองรับ NVIDIA G-SYNC ในตัว รองรับ Dolby Vision HDR
  12. มีปุ่ม Hotkeys สำหรับกดคีย์ลัดโดยเฉพาะ ตั้งค่าได้ในโปรแกรม Armoury Crate
  13. เวลาเล่นเกมหรือทำงานเต็มประสิทธิภาพแล้ว ความร้อนไม่แผ่ขึ้นคีย์บอร์ดมารบกวนตอนใช้งาน
  14. ระบบเสียง Dolby Atmos มิติเสียงดี ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมได้ดี เสียงมีมิติมาก
ข้อสังเกตของ ASUS ROG Strix G18
  1. น้ำหนักตัวเครื่องอย่างเดียว 3 กิโลกรัม รวมอแดปเตอร์เป็น 4 กิโลกรัม ถือว่าหนักมาก
  2. ใช้งานได้นานสุดราว 4 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าต้องพกไปทำงานนอกสถานที่ควรเอาอแดปเตอร์ไปด้วย
  3. รองรับแรมเพียง 32GB DDR5 เท่านั้น ทั้งที่แบรนด์อื่นทำให้รองรับได้สูงสุดถึง 64GB แล้ว

รีวิว ASUS ROG Strix G18

Specification

g18 spec 1

ASUS ROG Strix G18 เป็นหนึ่งในเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระดับ Desktop Replacement แรงกว่าเกมมิ่งพีซีหลายๆ รุ่นในปัจจุบันทีเดียว โดยสเปคที่มีขายในประเทศไทยจะมี 2 รุ่น แยกตามการ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 4000 Series ภายในเครื่อง ส่วนเครื่องทดสอบในบทความจะเป็นอีกสเปคซึ่งยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้

สเปคของ ASUS ROG Strix G18 เครื่องทดสอบ
CPU Intel Core i9-13980HX แบบ 24 คอร์ 32 เธรด (8P+16E) ความเร็ว 4.0~5.6GHz
GPU NVIDIA GeForce RTX 4090 แรม 16GB GDDR6 ค่า TGP 175 วัตต์
SSD M.2 NVMe SSD 2TB
RAM 32GB DDR5 บัส 4800MHz รองรับสูงสุด 32GB
Display 18 นิ้ว ความละเอียด QHD+ (2560×1600) พาเนล IPS ค่า Refresh Rate 240Hz ขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3 รองรับ NVIDIA G-SYNC, Dolby Vision HDR, PANTONE Validated
Connectivity Thunderbolt 4 x 1 รองรับ DisplayPort และ NVIDIA G-SYNC, USB-C 3.2 x 1 รองรับ DisplayPort / NVIDIA G-SYNC / Power Delivery 100 วัตต์, LAN x 1, USB-A 3.2 x 2, HDMI 2.1 FRL x 1, Audio combo x 1

Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.2

Software Windows 11 Home
Weight 3 กิโลกรัม
สเปคของ ASUS ROG Strix G18 G814JI-N6070W
CPU Intel Core i9-13980HX แบบ 24 คอร์ 32 เธรด (8P+16E) ความเร็ว 4.0~5.6GHz
GPU NVIDIA GeForce RTX 4070 แรม 16GB GDDR6 ค่า TGP 115 วัตต์
SSD M.2 NVMe SSD 1TB
RAM 32GB DDR5 บัส 4800MHz รองรับสูงสุด 32GB
Display 18 นิ้ว ความละเอียด QHD+ (2560×1600) พาเนล IPS ค่า Refresh Rate 240Hz ขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3 รองรับ NVIDIA G-SYNC, Dolby Vision HDR, PANTONE Validated
Connectivity Thunderbolt 4 x 1 รองรับ DisplayPort และ NVIDIA G-SYNC, USB-C 3.2 x 1 รองรับ DisplayPort / NVIDIA G-SYNC / Power Delivery 100 วัตต์, LAN x 1, USB-A 3.2 x 2, HDMI 2.1 FRL x 1,Audio combo x 1

Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.2

Software Windows 11 Home
Weight 3 กิโลกรัม
Price 84,990 บาท ชมสเปคเต็มๆ คลิ๊กที่นี่
สเปคของ ASUS ROG Strix G18 G814JV-N6037W
CPU Intel Core i9-13980HX แบบ 24 คอร์ 32 เธรด (8P+16E) ความเร็ว 4.0~5.6GHz
GPU NVIDIA GeForce RTX 4060 แรม 16GB GDDR6 ค่า TGP 140 วัตต์
SSD M.2 NVMe SSD 1TB
RAM 16GB DDR5 บัส 4800MHz
Display 18 นิ้ว ความละเอียด QHD+ (2560×1600) พาเนล IPS ค่า Refresh Rate 240Hz ขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3 รองรับ NVIDIA G-SYNC, Dolby Vision HDR, PANTONE Validated
Connectivity Thunderbolt 4 x 1 รองรับ DisplayPort และ NVIDIA G-SYNC, USB-C 3.2 x 1 รองรับ DisplayPort / NVIDIA G-SYNC / Power Delivery 100 วัตต์, LAN x 1, USB-A 3.2 x 2, HDMI 2.1 FRL x 1,Audio combo x 1

Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.2

Software Windows 11 Home
Weight 3 กิโลกรัม
Price 72,990 บาท ชมสเปคเต็มๆ คลิ๊กที่นี่

Hardware & Design

Strix Scar G18 DSC01133

Strix Scar G18 DSC01113
Strix Scar G18 DSC01145
Strix Scar G18 DSC01110
Strix Scar G18 DSC01086
Strix Scar G18 DSC01114
Strix Scar G18 DSC01115

ดีไซน์ของ ASUS ROG Strix G18 ยังคงใช้รูปร่างคล้ายกับตระกูล ROG Strix รุ่นอื่นๆ ในไลน์อัพอยู่ มีบอดี้สีเทาทึบตัดกับบอดี้กึ่งโปร่งใส มีสติ๊กเกอร์บอกสเปคติดไว้ตรงที่วางข้อมือฝั่งซ้าย ฝั่งขวาตรงข้ามเป็นโลโก้ ROG แถบยาวกับปุ่ม Power ทรงหกเหลี่ยมและมีแถบไฟ RGB “AURA Sync” ส่วนขอบหน้าเครื่องด้วย มีการย้ายไฟ LED แสดงสถานะตัวเครื่องมาไว้ตรงสันเครื่องถัดขึ้นไปจากคีย์บอร์ดให้เห็นได้ชัดเจน ส่วนขอบเหนือหน้าจอมีก้านดึงเปิดหน้าจอติดตั้งมาให้ผู้ใช้กางหน้าจอได้ง่ายขึ้น

Strix Scar G18 DSC01096

Strix Scar G18 DSC01085
Strix Scar G18 DSC01083
Strix Scar G18 DSC01099

ด้านหลังเครื่องส่วนฝาหลังหน้าจอจะเป็นพื้นเรียบสีเทาดำคาดลาย ROG พร้อมโลโก้ติดไฟ RGB และ AURA Sync Lightbar บริเวณขอบตัวเครื่อง สามารถเลือกปรับเอฟเฟคแสงสีได้ในโปรแกรม Armoury Crate ของ ASUS เช่นเดิม และสังเกตว่าตัว ASUS ROG Strix G18 จะไม่มีแถบพอร์ตเชื่อมต่อติดเอาไว้ด้านหลังเครื่องเหมือนเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ แล้ว กลายเป็นช่องระบายความร้อนของ ROG Intelligent Cooling แทน ถัดเข้าไปในช่องระบายความร้อนจะเป็นชุดครีบฮีตซิ้งค์ความหนาแผ่นละ 0.1 มม. จำนวน 414 แผ่น วางแนวด้านหลังและข้างเครื่องทั้งสองฝั่งเพื่อช่วยนำความร้อนออกจากตัวเครื่องให้เร็วที่สุด

Strix Scar G18 DSC01162

Strix Scar G18 DSC01079
Strix Scar G18 DSC01078
Strix Scar G18 DSC01108

บานพับของ ASUS ROG Strix G18 จะเป็นก้านเหล็กต่อเข้าขอบล่างของหน้าจอทั้งสองฝั่งและตัวก้านจะสอดเข้าไปในกล่องฐานบานพับหน้าจอในตัวเครื่องด้านล่าง ซึ่งตัวบานแข็งแรงทนทานไม่มีอาการโยกคลอนไม่แน่นเลยแม้แต่น้อย แต่ก็กางได้มากสุดราว 100 องศา เพราะขอบล่างจอจะติดสันขอบเครื่อง แต่ก็กว้างพอใช้งานเข้ากับมุมสายตาได้สบายๆ จะวางเล่นเกมบนโต๊ะคอมตามปกติหรือวางแท่นวางโน๊ตบุ๊คก็จัดองศาหน้าจอให้เข้ามุมสายตาได้ง่ายๆ มองเห็นชัดแน่นอน

Strix Scar G18 DSC01051

Strix Scar G18 DSC01054
Strix Scar G18 DSC01052
Strix Scar G18 DSC01081

ฝาใต้ตัวเครื่องของ ASUS ROG Strix G18 จะแบ่งพื้นที่เป็นแบบ 70:30 ให้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นโซนช่องระบายความร้อนตัดให้สังเกตเห็นคำว่า ROG และบางส่วนก็เป็นช่องนำลมเย็นเข้าไประบายความร้อนในเครื่องและส่วนขอบล่างจะยิงเลเซอร์คำว่า “Intelligent Cooling” เอาไว้พร้อมช่องนำลมเข้าโดยเฉพาะอีกช่องสำหรับพัดลมโบลวเวอร์ตัวที่ 3 ซึ่งทาง ASUS ติดมาเพื่อเป่าลมระบายความร้อนชุด VRAM โดยเฉพาะ ถัดลงมาจะเป็นลำโพงอีก 2 ฝั่ง แล้วยึดน็อตเอาไว้อีก 11 ตัวอย่างแน่นหนาและมีน็อตตัวมุมล่างขวาตัวเดียวที่เป็นแบบมีบ่ากันปลดให้เกลียวค้างเอาไว้ตัวหนึ่ง เวลาถอดอัพเกรดแนะนำให้หาภาชนะเล็กๆ มาเก็บน็อตโดยเฉพาะด้วยไม่ให้หล่นหาย

Screen & Speaker

Strix Scar G18 DSC01103

Strix Scar G18 DSC01105
Strix Scar G18 DSC01104
Strix Scar G18 DSC01106
Strix Scar G18 DSC01113

หน้าจอขนาด 18 นิ้ว ความละเอียด QHD+ (2560×1600) พาเนล IPS มีค่า Refresh Rate สูง 240Hz เป็นจอที่มีความละเอียดและอัตราความลื่นไหลของภาพสูงสุด ณ ตอนนี้ ตอบโจทย์เกมเมอร์ที่ชอบเล่นเกมแนว FPS อย่างแน่นอนและมีเทคโนโลยีป้องกันภาพฉีกขาด NVIDIA G-SYNC และรองรับ Dolby Vision HDR ด้วย และเคลมขอบเขตสีกว้างไว้ 100% DCI-P3 และได้รับการการันตีความเที่ยงตรงสีจาก PANTONE อีกด้วย ดังนั้นจอนี้จึงใช้ทำงานสายครีเอเตอร์ได้อีกด้วย

ตัวหน้าจอถูกออกแบบให้เป็นขอบจอบาง 3 ด้าน ได้แก่ขอบข้างทั้งสองฝั่งและขอบบนตัวเครื่ง แต่ตรงกลางของขอบบนจะมีสันหนาขึ้นเล็กน้อยเอาไว้เป็นก้านดึงเปิดหน้าจอและติดตั้งกล้อง Webcam กับไมค์พร้อมระบบ Two-way Ai Noise Cancelation เอาไว้ตัดเสียงรบกวนภายนอกให้ประชุมออนไลน์หรือไลฟ์สตรีมเกมได้สะดวกไม่มีเสียงแทรกตอนใช้งาน

display

Screenshot 2023 03 07 113639
Screenshot 2023 03 07 113720 1

มุมการมองเห็นของจอพาเนล IPS ก็ยังแสดงผลได้ดีเช่นเดิม สามารถแสดงภาพได้กว้างถึง 178 องศาโดยไม่มีเงาสะท้อนทาบบนหน้าจอและยังปรับค่า Refresh Rate ได้ 2 ระดับ คือ 60 หรือ 240Hz ในคำสั่ง Advanced display ส่วนขอบเขตสีเมื่อวัดด้วยเครื่อง Colorchecker ของ Calibrite คู่กับโปรแกรม DisplayCal 3 แล้วได้ค่า Gamut coverage ซึ่งเป็นค่าขอบเขตสีจริงของหน้าจอได้ขอบเขตสี 99.8% sRGB, 83.1% Adobe RGB, 98.8% DCI-P3 ด้าน Gamut volume ซึ่งเป็นขอบเขตสีโดยรวมได้ 144% sRGB, 99.2% Adobe RGB, 102% DCI-P3 ค่าความเที่ยงตรงสี Delta-E เฉลี่ยที่ 0.08~1.04 ซึ่งเมื่อน้อยกว่า 2 ก็ถือได้ว่าจอ ROG Nebula Display ของ ASUS ROG Strix G18 มีขอบเขตสีตรงและดีกว่าที่เคลมเอาไว้เล็กน้อยด้วยซ้ำ ดังนั้นนอกจากใช้ดูหนังและเล่นเกมได้ดีแล้วก็นับเป็นครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คได้ด้วยเช่นกัน

พาเนลจอ IPS นี้เมื่อเช็คใน Profile Information จะเห็นว่าทาง BOE Technology บริษัทผู้ผลิตพาเนลหน้าจอชั้นนำของโลกเป็นผู้ผลิตขึ้น เมื่อตั้งความสว่างหน้าจอไว้ 100% แล้ว จะได้ค่าความสว่างสูงสุดถึง 463.01 cd/m2 ซึ่งสว่างมากจนสู้แสงแดดสะท้อนหน้าจอในห้องหรือนอกอาคารได้สบายๆ แต่จากการใช้งานจริงในห้องอาคารแนะนำให้ตั้งความสว่างจอเอาไว้ราว 50~60% ก็พอ ยิ่งถ้าใครชอบปิดไฟในห้องแล้วใช้ไฟจากโคมไฟ Lightbar เป็นหลัก อาจเปิดสัก 30% ก็สว่างมากแล้ว

Strix Scar G18 DSC01055
Strix Scar G18 DSC01056
Strix Scar G18 DSC01069
Strix Scar G18 DSC01070

ลำโพงของ ASUS ROG Strix G18 เป็นลำโพงคู่ จำลองเสียงได้ 5.1.2 แชนแนล แบบ Dolby Atmos และได้รับการรับรอง Hi-Res Audio ซึ่งเนื้อเสียงจากที่ลองดูหนังและเล่นเกมจัดว่ายอดเยี่ยม สามารถจำลองทิศทางเสียงได้ยอดเยี่ยมเหมือนอยู่ในสถานการณ์นั้นจริงๆ ส่วนการฟังเพลงถือว่าเต็มอิ่ม พอตั้งเสียงดังสุดแล้ววัดด้วยเครื่องวัดความดังเสียงจะได้ราว 85dB เนื้อเสียงมีมิติดี สเตจเสียงกลางๆ แต่แยกทิศทางเครื่องดนตรีได้ง่ายและชัดเจน ไลน์เครื่องดนตรีไม่ทับเสียงนักร้องนำและมีเสียงเบสคอยซัพพอร์ตเสียงหลักได้ดีไม่บวมอีกด้วย แต่แรงปะทะจะมีระดับหนึ่งไม่ถึงกับกระแทกนัก ส่วนตัวถือว่าลำโพงของ ROG Strix G18 เป็นลำโพงที่ใช้งานได้ดีรอบด้านตัวหนึ่ง

Keyboard & Touchpad

Strix Scar G18 DSC01116

Strix Scar G18 DSC01120
Strix Scar G18 DSC01121
Strix Scar G18 DSC01125
Strix Scar G18 DSC01124
Strix Scar G18 DSC01126
Strix Scar G18 DSC01127
Strix Scar G18 DSC01123
Strix Scar G18 DSC01122

คีย์บอร์ดของ ASUS ROG Strix G18 เป็นคีย์บอร์ดแบบ Full-size ดีไซน์ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้แทบทุกปุ่มอยู่ในระนาบกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่แยกชุดปุ่มลูกศรออกไปจากชุดคีย์บอร์ดหลัก แต่สังเกตว่าเมื่อเว้นระยะให้ปุ่ม Alt, Ctrl ฝั่งขวามือแล้วจะไปเบียดพื้นที่ของเลข 0 ในปุ่ม Numpad แทน ซึ่งตอนใช้งานใหม่ๆ อาจไม่คุ้นกับขนาดที่หดลงแต่พอชินแล้วก็ไม่มีปัญหานัก จุดน่าสนใจคือปุ่ม Print Screen มาแทรกไว้ตรงกลางระหว่าง Alt, Ctrl ขวามือด้วย คาดว่าเพื่อควมสวยงามได้ระนาบเป็นหลัก 

ดีไซน์ปุ่มคีย์บอร์ด ROG Strix G18 ตัวปุ่มดีไซน์เป็นแบบ Overstroke คือทุกปุ่มบนคีย์บอร์ดโดนกดลงไปเล็กน้อยแล้วให้ระยะกดสั้นลงตอบสนองเร็ว กดไวทันใจเกมเมอร์ยิ่งขึ้น ตอนพิมพ์งานและใช้เล่นเกมแล้วถือว่าตอบสนองได้ค่อนข้างเร็วกว่าคีย์บอร์ดทั่วไปเล็กน้อย แต่ทีเด็ดของมันคือตัวปุ่มกดได้สนุกนิ้ว น้ำหนักของปุ่มกำลังดีไม่อ่อนหรือแข็งจนเกินไป

จุดน่าสนใจอีกอย่าง คือปุ่มมาโคร M1~M5 ส่วนเหนือปุ่ม F1~F5 พร้อมคำสั่งพื้นฐานอย่างเพิ่มลดเสียง, ปิดเปิดไมค์, เปลี่ยนโหมดตัวเครื่องและเรียกใช้โปรแกรม Armoury Crate สามารถบันทึกมาโครเอาไว้เล่นเกมได้และใช้ทำงานได้ มีปุ่มฟังก์ชั่นติดตั้งมาให้ตามปุ่มต่างๆ ได้แก่ Windows Lock รวมอยู่กับปุ่ม Windows, ปุ่มลูกศร 4 ปุ่มกับคำสั่ง Page Up/Down, Home และ End มีชุด Function Key เหนือชุด Numpad โดยเซ็ตเป็นแบบ 2 เลเยอร์ รวมคำสั่งไว้ครบถ้วน แต่ก็ยังซ้ำซ้อนกันอยู่บ้าง อย่าง Home, End, Print Screen เป็นต้น ส่วนตัวคิดว่าถ้าเซ็ตเป็นปุ่ม Multimedia Key เช่น เล่น/หยุด, เปลี่ยนเพลงก็น่าสนใจแล้วย้ายเอา Function Key พื้นฐานเหล่านั้นไปรวมไว้กับชุดตัวเลขของ Numpad ก็ได้

Strix Scar G18 DSC01129

นอกจากนี้ปุ่ม F1~F12 จะมี Function Hotkey รวมเอาไว้กับชุดปุ่มหลักให้ผู้ใช้กดใช้งาน เวลาใช้งานให้กด Fn ค้างไว้ก่อน แต่สังเกตว่าทาง ASUS ไม่ได้ทำปุ่มสลับเลเยอร์ติดมาให้ใช้งานด้วย โดย Hotkey ทั้งหมดมีคำสั่งดังนี้

  • F1 – ปิดหรือเปิดเสียงลำโพง
  • F2~F3 – ลดหรือเพิ่มความสว่างไฟ LED Backlit ของคีย์บอร์ด
  • F4 – ปรับเอฟเฟคไฟ AURA Sync
  • F5 – ปุ่มปรับโหมดของตัวเครื่อง 3 โหมด ได้แก่ Silent, Performance, Turbo
  • F6 – เรียกโปรแกรม Snipping Tool
  • F7~F8 – ลดหรือเพิ่มความสว่างหน้าจอ
  • F9 – ปุ่ม Project ตั้งค่าหน้าจอหลักและเสริม
  • F10 – ปิดหรือเปิดทัชแพด
  • F11 – โหมด Sleep
  • F12 – Airplane Mode

ด้านของปุ่มมาโครชุดพิเศษของ ASUS ROG Strix G18 ทั้ง 5 ปุ่มเหนือ F1~F5 เป็นปุ่มแบบพิเศษซึ่งเซ็ตเปลี่ยนปุ่มหรือเซฟมาโครเอาไว้ใช้งานก็ได้ แต่ค่าพื้นฐานจากโรงงานจะมีคำสั่งตามนี้ คือ

  • M1 – ลดเสียงลำโพง
  • M2 – เพิ่มเสียงลำโพง
  • M3 – ปิดหรือเปิดไมค์
  • M4 – ปรับโหมดตัวเครื่อง
  • M5 – เรียกโปรแกรม Armoury Crate

จะเห็นว่า Function Hotkey ของ ASUS ROG Strix G18 จะให้คีย์ลัดมาครบถ้วนพร้อมใช้งาน แต่อาจมีปุ่มซ้ำกันอยู่บ้างอย่างเช่นปุ่มปรับโหมดตัวเครื่องและถ้าเซ็ตให้ปุ่มเพิ่มลดความสว่างไฟคีย์บอร์ดเป็นคำสั่งแบบ Toggle แทน น่าจะได้คีย์ลัดกลับมาใช้ 2 ปุ่มเอาไว้ตั้งค่าเป็นคำสั่งอื่นๆ อย่างปรับค่า Refresh Rate หน้าจอให้ผู้ใช้เลือกได้ว่าจะใช้ 60 หรือ 240Hz ก็ดีเช่นกัน จะได้ตั้งค่าตัวเครื่องได้สะดวกและละเอียดขึ้น

Strix Scar G18 DSC01142

Strix Scar G18 DSC01141
Strix Scar G18 DSC01143

ข้อดีของปุ่มปรับโหมดตัวเครื่องแล้ว จะมีภาพแสดงโหมดตัวเครื่องขึ้นมาบนหน้าจอทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ Silent โหมดประหยัดพลังงานเน้นให้ใช้งานได้นานสุดด้วยแบตเตอรี่ในเครื่อง, Performance โหมดเน้นประสิทธิภาพให้ทำงานได้ไหลลื่นและไม่ร้อนมาก, Turbo รีดประสิทธิภาพตัวเครื่องให้ออกมาสูงสุด ซึ่งถ้าใช้งานด้วยแบตเตอรี่จะเปิดได้แค่ Silent และ Performance เท่านั้น ส่วนโหมด Turbo จะใช้ได้เฉพาะตอนต่ออแดปเตอร์ของตัวเครื่องเท่านั้นเพราะใช้พลังงานเยอะและอาจทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติ

Strix Scar G18 DSC01130
Strix Scar G18 DSC01131

ทัชแพดของ ASUS ROG Strix G18 ถูกขยายขนาดจาก ROG Strix รุ่นก่อน 10% ให้กวาดนิ้วลากตัวเคอร์เซอร์ไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้นแต่ก็มีขนาดใหญ่พอสมควร เวลาวางมือแล้วสันมือซ้ายจะทาบไปบนตัวแป้นโดยเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ไม่เกิดอาการทัชแพดลั่นหรือรบกวนตอนใช้งานและยังกดปิดทัชแพดทิ้งได้ถ้าจะใช้เมาส์แยกแทน ด้านการใช้งานตัวทัชแพดรองรับ Gesture Control ของ Windows 11 ครบถ้วน ใช้งานได้ง่ายและตอบสนองได้ดี

Connector / Thin & Weight

Strix Scar G18 DSC01163
Strix Scar G18 DSC01164
Strix Scar G18 DSC01166
Strix Scar G18 DSC01165

พอร์ตของ ASUS ROG Strix G18 ย้อนกลับมาเป็นแบบคลาสสิค ไม่เหมือนเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ที่แยกบางพอร์ตไปติดเอาไว้ด้านหลังตัวเครื่องเนื่องจากถูกทำเป็นช่องระบายความร้อนของระบบ ROG Intelligent Cooling แทน โดยมีพอร์ตดังนี้

  • ฝั่งซ้ายจากซ้ายมือ – ช่องต่ออแดปเตอร์, LAN, HDMI 2.1 FRL, Thunderbolt 4, USB-C 3.2 Full Function รองรับ DisplayPort / G-SYNC / Power Delivery 100 วัตต์, Audio combo
  • ฝั่งขวาจากซ้ายมือ – USB-A 3.2 x 2 ช่อง
  • การเชื่อมต่อไร้สาย – Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.2

จะเห็นว่าพอร์ตเชื่อมต่อหลักๆ ที่ต้องใช้งานนั้นมีติดตั้งมาให้ครบถ้วน โดยเฉพาะ HDMI 2.1 FRL นี้จะใช้ต่อหน้าจอแยก 8K 60Hz หรือ 4K 120Hz ได้ รวมถึงต่อผ่านทาง Thunderbolt 4 และ USB-C 3.2 Full Function ก็ได้ ทำให้ต่อจอแยกได้รวมกันมากสุด 3 จอทีเดียว และยังมีพอร์ต USB-A 3.2 ให้ใช้อีกสองช่อง จะเอาไว้ต่อเมาส์คีย์บอร์ดใช้เล่นเกมเลยก็ได้เช่นกันแถมยังเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้รวดเร็วทันใจและเสถียรด้วย Wi-Fi 6E ได้อีกด้วย เรียกว่าครบเครื่องทันสมัยมาก

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าใครจะใช้ ASUS ROG Strix G18 ทำเป็นเกมมิ่งพีซีแทนการประกอบคอมสักเครื่องอาจเจอปัญหาว่าพอร์ต USB-A 3.2 ไม่พอใช้งานอย่างแน่นอน แค่เมาส์กับคีย์บอร์ดก็ใช้จนหมด 2 ช่องแล้ว ถ้าจะต่อลำโพง USB, External Harddisk, ปริ้นเตอร์หรือจะต่อสาย USB ของสมาร์ทโฟนค้างไว้ก็ไม่พอใช้งานแน่นอน ดังนั้นผู้เขียนแนะนำให้หา USB Hub หรือ USB-C Multiport adapter เตรียมไว้ใช้สักชิ้นจะได้ใช้งานได้สะดวกขึ้น

Strix Scar G18 DSC01045

Strix Scar G18 DSC01050
Strix Scar G18 DSC01048
Strix Scar G18 DSC01047

น้ำหนักของ ASUS ROG Strix G18 ทางบริษัทเคลมน้ำหนักเอาไว้ 3 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อชั่งน้ำหนักแล้วก็เท่ากับที่เคลมเอาไว้ แต่ถ้ารวมอแดปเตอร์กำลังไฟ 330 วัตต์ น้ำหนัก 1.1 กิโลกรัมเข้าไปแล้วจะหนักถึง 4.2 กิโลกรัม มันจึงเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่ทรงพลังและเหมาะจะวางติดโต๊ะแทนการประกอบเกมมิ่งพีซีมาก

หากจะพกติดตัวไปทำธุระต้องใส่กระเป๋าเป้ใบใหญ่พิเศษสำหรับโน๊ตบุ๊ค 17 นิ้วเท่านั้น โดยผู้เขียนได้ลองเอาเครื่องใส่กระเป๋าเป้สำหรับโน๊ตบุ๊ค 15 นิ้ว ไม่สามารถรูดซิปได้และขอบเครื่องยังเกยออกมาด้วย ส่วนใบสำหรับโน๊ตบุ๊ค 17 นิ้วยังพอใส่ได้ แต่พอรวมกับน้ำหนักอแดปเตอร์และข้าวของชิ้นอื่นๆ ในกระเป๋าอาจลำบากไหล่อยู่พอควร ส่วนตัวแนะนำให้หากระเป๋าเป้ที่มีซับไหล่ฟองน้ำหนาเป็นพิเศษมาใช้ สายสะพายจะได้ไม่บาดไหล่เกินไป

Inside & Upgrade

Strix Scar G18 DSC01060

Strix Scar G18 DSC01066
Strix Scar G18 DSC01067
Strix Scar G18 DSC01068
Strix Scar G18 DSC01057

การเปิดฝาอัพเกรด ASUS ROG Strix G18 แค่ไขน็อต 11 ตัวออกและปล่อยให้น็อตมุมล่างขวาค้างติดเอาไว้กับฝาหลังไว้ได้แล้วเอาการ์ดแข็งหรือปิ๊กกีตาร์แกะตามขอบไปเรื่อยๆ ก็ดึงเปิดฝาได้เลย แนะนำให้เปิดให้เริ่มจากขอบล่างซ้ายมือก่อนแล้วไล่ขึ้นไปหาช่องระบายความร้อนจะปลดได้ง่าย

บนแผงเมนบอร์ดจะเห็นว่าตัวบอร์ดจะมีเมนบอร์ดตัวหลักและบอร์ดเสริมตรงฝั่งซ้ายมือหรือฝั่งขวาของตัวเครื่องที่เป็นพอร์ต USB-A 3.2 x 2 ช่อง มีช่องใส่ M.2 NVMe SSD x 2 ช่อง เป็นอินเตอร์เฟส PCIe 4.0 x4 ทั้งหมดและมี SSD 1TB ติดตั้งมาให้หมดแล้วและทำ RAID เอาไว้ มีความจุ 2TB ให้ใช้งานและเป็นความจุสูงสุดที่เมนบอร์ดของ ASUS ROG Strix G18 รองรับได้แล้ว ถือว่าจุมากพอควร

ส่วนแรมดีไซน์ช่องเป็นแบบซ้อนกันสองชั้น ติดตั้งมาให้ 32GB DDR5 บัส 4800MHz จากโรงงานและเป็นความจุสูงสุดที่ ROG Strix G18 รองรับ แม้ 32GB จะเยอะเหลือเฟือสำหรับเกมเมอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ก็ตาม แต่ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าใครจะใช้ต่อเนื่องหลายๆ ปีก็อาจอยากเพิ่มแรมเผื่อไว้ใช้กับโปรแกรมและเกมใหม่ๆ ในอนาคตอย่างแน่นอน น่าเสียดายว่า ASUS น่าจะทำให้เมนบอร์ดรองรับแรมได้ 64GB เท่าแบรนด์อื่นๆ เผื่อเหลือไว้ใช้ในอนาคตดีกว่า

Strix Scar G18 DSC01072

Strix Scar G18 DSC01074
Strix Scar G18 DSC01073
Strix Scar G18 DSC01075

ส่วนจุดน่าชื่นชม คือสายไฟของ AURA Sync Lightbar ตรงขอบล่างตัวเครื่องถูกปรับดีไซน์จากรุ่นก่อนหน้าที่โยงติดกับฝาหลังตัวเครื่องเป็นแบบเดินตามช่องว่างในเครื่องแล้วตรงเข้าไปยังหัวรับสายบนบอร์ดแทน เป็นดีไซน์ที่ดีมากเวลาอยากเปิดฝาเพิ่มแรมเปลี่ยน SSD ก็ไม่ต้องกลัวเวลาเปิดฝาแล้วจะทำสายแพหลุดหรือขาดเหมือนรุ่นก่อนนับว่าทาง ASUS รัดกุมขึ้นมากและน่าเอาเป็นดีไซน์สำหรับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คมี Lightbar รุ่นใหม่ๆ ก็ยึดแนวทางออกแบบนี้ได้เลย

สังเกตว่าตัวสายแพของ AURA Sync Lightbar ทั้งสองฝั่งจะมีหัวรับคนละตัว ส่วนตรงกลางมีสายแพอีกสองเส้นเดินเข้ามาต่อบนเมนบอร์ดด้วย คาดว่าน่าจะเป็นสายของ Lightbar ขอบหลังเครื่องกับโลโก้ ROG ตรงฝาหลังรวมกันเป็นหนึ่งเส้น อีกอันเป็นของคีย์บอร์ด

Performance & Software

cpu

mb
ram
ram2

ซีพียูใน ASUS ROG Strix G18 ทุกรุ่นเป็น Intel Core i9-13980HX แบบ 24 คอร์ 32 เธรด (8P+16E) ความเร็ว 4.0~5.6GHz แต่จะต่างกันตรงการ์ดจอแยก, แรมและ M.2 NVMe SSD ในเครื่องแทน ซึ่งซีพียูนี้มีค่า TDP ตั้งต้น 55 วัตต์ สามารถบูสต์เพิ่มค่า TDP ไปได้มากสุด 65 วัตต์เพื่อเร่งประสิทธิภาพตอนทำงานได้ รองรับชุดคำสั่งพื้นฐานครบถ้วนพร้อมใช้งาน

แรมเป็นแบบ SO-DIMM ทั้งหมด 2 ช่อง มีความจุ 32GB DDR5 บัส 4800MHz และรองรับความจุสูงสุด 32GB เช่นกัน ดังนั้นถ้าใครซื้อรุ่นการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce RTX 4070 มาก็ไม่ต้องอัพเกรดแรมเพิ่มก็ได้ โดยแรมของเครื่องทดสอบติดตั้งชิปแรมของ Samsung มาให้

4090 and tgp

กราฟิคการ์ดเป็น NVIDIA GeForce RTX 4090 แรม 16GB GDDR6 มี CUDA 9,728 Unified เป็นชิป Max-Q Technology รองรับ Dynamic Boost มีค่า TGP 175 วัตต์ รองรับชุดคำสั่ง OpenCL, OpenGL 4.6, CUDA, DirectCompute, DirectML, Vulkan, Ray Tracing, PhysX, DirectX 12 และใช้งาน Resizable BAR ได้ด้วย จัดว่าครบเครื่องทรงพลังมาก

devicemgr strix scar 18

พาร์ทภายในเครื่องเมื่อเช็คใน Device Manager แล้ว จะมีชิป TPM 2.0 ติดตั้งมาให้ทำงานคู่กับระบบรักษาความปลอดภัยของ Windows 11 ตัว M.2 NVMe SSD เป็นของแบรนด์ Samsung ทำ RAID 0 มาให้จากโรงงาน มีความจุ 2TB พอร์ต LAN เป็นของ Realtek Gaming 2.5GbE รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว

การเชื่อมต่อไร้สายเป็น Wi-Fi 6E (Gig+) มาตรฐาน 802.11ax รองรับ Bluetooth 5.2 เป็นการ์ด Wi-Fi PCIe รุ่น Intel AX211 แบนด์วิธ 160MHz รองรับเทคโนโลยี MU-MIMO, OFDMA, และ Intel vPro เป็น Wi-Fi เวอร์ชั่นล่าสุด ทำงานได้เสถียรรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วและเสถียรมาก ใช้งานได้เป็นอย่างดี

ssd

M.2 NVMe SSD ความจุ 2TB ของ Samsung ที่ทำ RAID 0 ไว้ เมื่อทดสอบด้วย CrystalDiskMark 8 แล้วได้ความเร็ว Sequential Read 13,268.72 MB/s และ Sequential Write 8,793.04 MB/s ถือว่ารับส่งข้อมูลได้เร็วทันใจมาก ไม่ว่าจะเปิด, รีสตาร์ทเครื่องก็ใช้เวลาเพียงอึดใจ เปิดโปรแกรมหรือโหลดไฟล์ใหญ่ๆ ขึ้นมาใช้งานก็ใช้เวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น จัดว่ารวดเร็วทันใจมาก

ด้านการอัพเกรด หากเช็คใน Device Manager ของ ASUS ROG Strix G18 แล้วเป็น RAID 0 มาแล้ว ก็ไม่แนะนำให้อัพเกรดเพราะมันก็เร็วอยู่แล้ว แต่ถ้ารุ่นไหนเป็นแบบธรรมดาจะซื้อ SSD อีกตัวมาติดตั้งเสริมแล้วทำ RAID 0 จะได้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นก็ได้

3dmark

คะแนนจาก 3DMark Time Spy โปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพการเล่นเกมของพีซีเครื่องนั้นๆ เมื่อต่ออแดปเตอร์เปิดโหมด Turbo พอรันแล้วได้คะแนนเฉลี่ยสูงถึง 17,097 คะแนน แยกเป็น CPU score 10,173 คะแนน กับ Graphics score อีก 19,431 คะแนน จัดว่าสูงมากโดยเฉพาะคะแนนการ์ดจอก็สูงจนแซงการ์ดจอแยกสำหรับพีซีหลายๆ รุ่นไปเป็นที่เรียบร้อย ส่วนคะแนนซีพียูหลักหมื่นคะแนนก็จัดว่าแรงพอรันเกมฟอร์มยักษ์ในปัจจุบันได้ทุกเกมอย่างแน่นอน

อธิบายคือ ASUS ROG Strix G18 สามารถเล่นเกมฟอร์มยักษ์ในปัจจุบันได้ทุกเกมบนจอความละเอียด QHD หรือ 4K ก็ได้และยังปรับกราฟิคได้สูงสุดได้ทุกเกมแล้วเฟรมเรทยังสูงและเสถียรอย่างแน่นอน เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเกมเมอร์ที่ชอบความง่ายแค่เปิดเครื่องลงเกมแล้วเริ่มเล่นได้ทันที จะเริ่มใช้จอ QHD ให้ภาพสวยคมชัดขึ้นเลยก็ได้หรือจะเป็นจอ 4K 144Hz ไปเลยก็ไม่มีปัญหาแน่นอน

strix g18 game test

เมื่อทดสอบเล่นเกม จะเห็นว่า ASUS ROG Strix G18 ทำเฟรมเรทได้สูงเหลือเฟือแม้จะเป็นจอ QHD ของตัวเครื่องก็ยังรีดเฟรมเรทเฉลี่ยได้เกิน 120 เฟรมต่อวินาทีทั้งหมดและยังประคองเฟรมเรทต่ำสุดไว้ได้ดีมาก ไม่ต่ำกว่า 60 เฟรมต่อวินาทีเลยแม้แต่นิดเดียว กล่าวคือ Intel Core i9-13980HX และการ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 4090 แรงจนเอาจอ QHD อยู่สบายๆ ถ้าใครมีงบประมาณพอซื้อจอ 4K 144Hz มาต่อแยกแล้วเล่นเกมได้สบายๆ ถึงปรับกราฟิคสุดมันก็ยังทำเฟรมเรทเฉลี่ยได้เกิน 60~80 เฟรมแน่นอน

ประสบการณ์ตอนเล่นเกมบนจอของเครื่อง ต้องถือว่ามันยอดเยี่ยมภาพลื่นไหลและไม่ฉีกขาดเลยแม้ภาพในเกมจะเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็วก็ตาม ซึ่งถ้าจอไหนที่ไม่มี NVIDIA G-SYNC น่าจะเห็นอาการภาพฉีก (Picture tearing) แน่นอน ตอนผู้เขียนลองเล่น Forza Horizon 5, Apex Legends และ Call of Duty Modern Warfare II แล้ว ไม่มีอาการนี้เลยสักนิดเดียว และถ้าเป็นเกม RPG เสพย์ความสวยของฉากก็ต้องยกข้อดีให้ฟังก์ชั่นที่รองรับ Dolby Vision HDR ด้วย เพราะภาพสวยสีสันสดใสสมจริงมากๆ ใครชอบดูฉากในเกมสวยๆ น่าจะถูกใจแน่นอน

r15
r20

แง่การทำงาน ASUS ROG Strix G18 ก็ทำได้ยอดเยี่ยมเช่นกัน พอทดสอบด้วย CINEBENCH R15 ที่ใช้จำลองการทำงาน 3D และกราฟิคต่างๆ จะเห็นว่าคะแนน OpenGL ทำเฟรมเรทได้สูงถึง 296.69 fps และเก็บคะแนน CPU ได้ถึง 4,835 คะแนน และพอรัน CINEBENCH R20 เพื่อเจาะจงทดสอบพลังของซีพียูจะเห็นว่าได้คะแนน CPU 10,853 pts ซึ่งสูงสมเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระดับเรือธงที่ใช้ทำงานครีเอเตอร์อย่างงานปั้นโมเดล 3D, ตัดต่อวิดีโอหรือเรนเดอร์ภาพก็ทำได้สบายๆ และยังเรนเดอร์งานเสร็จได้อย่างรวดเร็วแถมยัง Preview ตัวอย่างงานหมุนโมเดลไปมาได้ลื่นไหลต่อเนื่องอีกด้วย

pcmark10

คะแนนจาก PCMark 10 โปรแกรมทดสอบการทำงานกับการใช้ทำงานต่างๆ ก็ทำคะแนนได้สูงที่สุดเท่าที่ได้ทดสอบมา กวาดคะแนนเฉลี่ยไปได้สูงถึง 9,207 คะแนน ไม่ว่าจะดูหมวดหมู่ไหน ASUS ROG Strix G18 ก็กวาดคะแนนได้สูงเกินหมื่นคะแนนทั้งหมด ซึ่งงานออฟฟิศไม่ว่าจะทำงานเอกสารต่างๆ หรือเปิดโปรแกรมและประชุมออนไลน์ก็ทำได้ดีมากๆ และจะเห็นว่าหมวด Digital Content Creation หมวดของงานกราฟิคและ 3D เรียกว่ายอดเยี่ยม โดยการ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 4090 ในเครื่องทำผลงานได้ดีมากๆ ถ้าเป็นงานตัดต่อแต่งภาพและปั้นงานโมเดล 3D และงานตัดต่อวิดีโอก็เรียกว่าดีไม่แพ้กัน สามารถตัดต่อไฟล์ 4K60Hz ได้ลื่นไหลและกดดูเล่นคลิปได้สบายๆ

จากผลการทดสอบทั้งหมด สรุปได้ง่ายๆ ว่า ASUS ROG Strix G18 แม้หน้าตาจะเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คซีรี่ส์เรือธงก็ตาม แต่เพราะมีซีพียูและกราฟิคการ์ดตัวท็อปติดตั้งมาให้ มันเลยทำงานครีเอเตอร์ได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน แถมหน้าจอยังมีขอบเขตสีกว้างและเที่ยงตรงอีกด้วยดังนั้นถ้าใครเป็นศิลปินและชอบเล่นเกมด้วยจะลงทุนซื้อเครื่องนี้ไปใช้ทำงานและเล่นเกมก็คุ้มค่าและถอนทุนคืนได้เร็วแน่นอน

Screenshot 2023 03 08 121709

Screenshot 2023 03 04 153817
Screenshot 2023 03 08 120212
Screenshot 2023 03 04 153631
Screenshot 2023 03 04 153701

โปรแกรม Armoury Crate ประจำ ASUS ROG Strix G18 นั้นนอกจากมอนิเตอร์การทำงานของซีพียูกับการ์ดจอ, อุณหภูมิ, รอบพัดลม ฯลฯ ได้อย่างละเอียดแล้ว ยังตั้งค่าตัวเครื่องได้ละเอียดมาก ไม่ว่าจะไฟ RGB “AURA Sync” ปรับทิศทางไมค์ว่าจะให้รับเสียงแบบไหนรวมทั้งเซฟมาโครที่ต้องการใช้งานเอาไว้ใช้ได้ด้วย ถือว่ามีฟังก์ชั่นให้ตั้งค่าตัวเครื่องได้ละเอียดมาก

ด้านจุดสำคัญสำหรับรีดประสิทธิภาพของเครื่องออกมาได้อย่างเต็มที่ ให้ดูตรงหน้าแรกของโปรแกรมกรอบ GPU Mode จะมีตัวเลือก 4 แบบด้วยกัน ได้แก่

  • Ultimate – เร่งประสิทธิภาพของตัวเครื่องให้ออกมาสูงที่สุด ถ้าเลือกโหมดนี้แล้วเครื่องจะบังคับ Restart ใหม่ 1 ครั้ง ถึงจะใช้งานได้
  • Standard – โหมดใช้งานปกติ ประสิทธิภาพสูงแต่รองจาก Ultimate เน้นใช้งานทั่วไป
  • Eco Mode – โหมดประหยัดพลังงาน ใช้แต่การ์ดจอออนบอร์ดของซีพียูเท่านั้น
  • Optimized – โหมดปล่อยให้ตัวเครื่องจัดการเองว่าจะใช้กราฟิคการ์ดไหนทำงานอะไร

ซึ่งถ้าใครอยากให้เครื่องทำงานเต็มที่ เล่นเกมได้เฟรมเรทสูงสุดและทำงานได้ไหลลื่น ให้กดโหมด Ultimate จากนั้นเปลี่ยนโหมดตัวเครื่องเป็น Turbo ด้วย แต่เสียงพัดลมจะดังพอสมควร ถ้าอยากใช้งานง่ายๆ ก็เลือก Optimized ให้เครื่องตัดสินใจเลือกใช้การ์ดจอเองก็สะดวกเช่นกัน

Screenshot 2023 03 04 153443

Screenshot 2023 03 04 153605
Screenshot 2023 03 04 153518

อีกโปรแกรมประจำเครื่องอย่าง MyASUS เป็นโปรแกรมสำหรับมอนิเตอร์ตัวเครื่องและอัพเดทเฟิร์มแวร์ได้และเอาไว้ติดต่อกับทาง ASUS ได้กรณีเครื่องมีปัญหาต้องให้ช่างเข้ามาดูแล แต่คำสั่งตั้งค่าเครื่องส่วนใหญ่ถูกย้ายไปอยู่ในโปรแกรม Armoury Crate แทน ดังนั้นจะใช้โปรแกรมนี้ติดต่อทางบริษัทก็ได้

Battery & Heat & Noise

Strix Scar G18 DSC01071

แบตเตอรี่ใน ASUS ROG Strix G18 เป็นแบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลีเมอร์ (Li-Polymer) ความจุ 90Wh ถ้านับเป็น Typical Capacity จะมีความจุ 5,800mAh ส่วน Rated Capacity ได้ 5,630mAh ด้วยกัน เป็นแบตเตอรี่ขนาดค่อนข้างใหญ่พอจ่ายไฟเลี้ยงระบบให้เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คใช้งานได้นานพอสมควร

batt saving mode

หลังจากทดสอบตามาตรฐานของทางเว็บไซต์โดยเปิดความสว่างหน้าจอ 50% และลำโพง 10% ใช้โหมด Silent และตั้งค่าในโปรแกรม Armoury Crate ให้เป็นการ์ดจอออนบอร์ดเท่านั้นแล้วดูคลิปใน Microsoft Edge นาน 30 นาทีเช่นเดิม พบว่าแบตเตอรี่ 90Wh ในเครื่องสามารถใช้งานได้นานสุด 4 ชั่วโมง 38 นาที ถือว่านานพอใช้จนประชุมหรือเข้าคลาสเรียนจบได้ ถ้าใช้งานทั้งวันควรพกอแดปเตอร์ไปด้วย ถ้าเทียบกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระดับเรือธงสเปคไล่เลี่ยกันที่ให้แบตเตอรี่ 99Wh มาแล้วใช้ได้ราว 5 ชั่วโมงแล้ว ถือว่า ASUS ROG Strix G18 แม้แบตเตอรี่น้อยกว่าก็ยังใช้ได้นานไล่เลี่ยกันก็ถือว่าไม่เลว 

Strix Scar G18 DSC01061

Strix Scar G18 DSC01062
Strix Scar G18 DSC01063
Strix Scar G18 DSC01064
Strix Scar G18 DSC01065
Strix Scar G18 DSC01077
Strix Scar G18 DSC01076

ชุดระบายความร้อน ROG Intelligent Cooling ในเครื่องจะมีฮีตไปป์ 7 เส้น นำความร้อนจากซีพียูและการ์ดจอแยกที่ทา Conductonaut Extreme โลหะเหลวนำความร้อน (Liquid Metal) ของ Thermal Grizzly มายังฮีตซิ้งค์แล้วระบายออกด้วยพัดลมโบลเวอร์ 2 ตัวออกด้านข้างและหลังเครื่อง มีจุดน่าสนใจอยู่ตรงพัดลมโบลวเวอร์ตัวเล็กระหว่างแรมและ M.2 NVMe SSD ซึ่งทาง ASUS ติดดมาเพื่อเป่าลมเย็นเข้าไประบายความร้อน VRAM โดยเฉพาะให้แรมการ์ดจอเย็นลงแล้วทำงานได้ดี อายุการใช้งานนานขึ้น

แต่จุดสังเกต คือ ทาง ASUS หมายเหตุเอาไว้บนหน้าเว็บไซต์ คือ Liquid Metal จะใส่มาเฉพาะรุ่นที่ติดตั้งการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce RTX 4080 และ RTX 4090 เท่านั้น นั่นหมายความว่ารุ่นการ์ดจอแยก RTX 4060, RTX 4070 ยังเป็นชุดระบายความร้อนแบบมาตรฐานอยู่ ซึ่งผู้ใช้บางคนอาจนึกเสียดายอยู่บ้าง แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวที่มีคนใกล้ตัวใช้เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระบบ Liquid Metal นั้น เมื่อเกิดปัญหากับระบบนี้เมื่อไหร่จะซ่อมหน้างานไม่ได้ ต้องยกเครื่องกลับไปซ่อมโดยใช้อุปกรณ์และเครื่องมือเฉพาะเท่านั้น ดังนั้นแม้ Liquid Metal จะระบายความร้อนดีแค่ไหน แต่ถ้าเกิดปัญหาเมื่อไหร่ก็เรื่องใหญ่เช่นกัน

normaltemp strix scar 18
high temp

เทียบอุณหภูมิเวลาใช้งานปกติและอุณหภูมิสูงสุดเวลาเปิดโหมด Turbo เล่นเกมหรือทำงานกราฟิคแล้ววัดด้วย CPUID HWMonitor แล้ว อุณหภูมิของชิ้นส่วนต่างๆ จะได้ผลตามตารางด้านล่างนี้ โดย SSD Samsung ทั้ง 2 ตัว ผู้เขียนจะอิงจากคู่ที่ถัดลงมาจากซีพียู Intel Core i9-13980HX จะได้ผลดังนี้

รูปแบบการใช้งาน / อุณหภูมิของอุปกรณ์ ใช้งานปกติ
(เซลเซียส)
ใช้งานปกติเฉลี่ย
(เซลเซียส)
อุณหภูมิสูงสุด
(เซลเซียส)
สูงสุดเฉลี่ย
(เซลเซียส)
CPU 54~79 56 53~100 93
กราฟิคการ์ด 47~50 49 47~59 58
Samsung SSD บน 46.3~46.5 46.5 44~58.8 54.3
Samsung SSD ล่าง 47~47.5 47.5 44.3~59.5 55

จะเห็นว่าอุณหภูมิของ ASUS ROG Strix G18 ตอนใช้งานปกติก็เย็นใช้งานได้ดี แต่เวลาเล่นเกมแล้วอุณหภูมิโดยเฉพาะซีพียูจะขึ้นสูงไปแตะ 100 องศาเซลเซียส แต่ตอนใช้งานจริงประสิทธิภาพก็ไม่ลดลงและความร้อนก็ไม่แผ่ขึ้นจากช่องคีย์บอร์ดเลย แต่โซนเหนือคีย์บอร์ดนับตั้งแต่ปุ่ม M1~M5 จะอุ่นขึ้นจนรู้สึกได้และเสียงพัดลมก็ดังพอสมควร เมื่อวัดเสียงแล้วดังราว 75~80dB ซึ่งดังพอสมควรจนบางคนอาจไม่ชอบอย่างแน่นอน แนะนำให้ครอบเกมมิ่งเฮดโฟนตอนเล่นเกมจะพอช่วยแก้ปัญหานี้ได้ระดับหนึ่ง

User Experience

Strix Scar G18 DSC01160

ASUS ROG Strix G18 เหมาะสมกับคำจำกัดความว่า “แรงเหลือเฟือ” มาก จากที่นำไปลองใช้งานมาราว 1 สัปดาห์ ในแง่ประสิทธิภาพตอนใช้งานเรียกว่าหายห่วง จะงานหนักเบาแค่ไหนมันก็ทำได้สบายๆ แถมยังเล่นเกมปรับกราฟิคสุดบนจอ QHD ของเครื่องได้ไหลลื่นมากๆ เรียกว่ามันเป็นเกมมิ่งพีซีสเปคเฉียดแสนบาทที่ใส่กระเป๋าติดตัวไปไหนมาไหนก็ไม่ผิด เหมาะกับคนมีงบอยากได้คอมแรงๆ เอาไว้ใช้แต่ไม่อยากประกอบคอมเองแล้วไม่อยากเหนื่อยแก้ปัญหาตอนเครื่องเสียก็ กำเงินมาซื้อ Strix G18 ตัวนี้ไปเลย ซึ่งสเปคก็แรงใช้งานได้อย่างน้อยต้องมี 5 ปีขึ้นแน่นอน แถมมีประกัน ASUS Perfect Warranty ให้ด้วย เวลาเครื่องมีปัญหาก็เรียกช่างมาดูแลเอา

จุดที่ผู้เขียนชอบเป็นส่วนตัว ต้องยกให้พอร์ตเชื่อมต่อหน้าจอ ได้แก่ HDMI 2.1, Thunderbolt 4 และ USB-C 3.2 Full Function เลยต่อจอแยกพร้อมกันได้หลายจอหรือจะเอาจอเดียวเต็มๆ ก็ต่อจอเกมมิ่ง 4K 144Hz เข้า HDMI 2.1 แล้วเล่นเกมไปก็ได้ ซึ่งพลังของ RTX 4090 นั้นเอาอยู่แน่นอน ถ้าพกไปทำงานแล้วในออฟฟิศมีจอแบบต่อสาย USB-C ได้ยิ่งดี เลือกได้เลยว่าจะต่อเข้า Thunderbolt 4 หรือ USB-C Full Function ใช้งานได้เลย แถมก็ไม่รกเกะกะมาก และถ้า USB-C ของจอรองรับ Power Delivery กระแสไฟ 100 วัตต์ ก็ทิ้งอแดปเตอร์ไว้บ้านไว้ใช้งานตอนเล่นเกมก็พอ และส่วนตัวคิดว่าถ้าเกมเมอร์หรือครีเอเตอร์คนไหนชอบปิดไฟในห้องตอนทำงานหรือเล่นเกม ไฟ RGB “AURA Sync” ตรงขอบหน้าและหลังเครื่องก็สร้างบรรยากาศเกมมิ่งได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ

ด้านระบบระบายความร้อนถึงมันจะระบายความร้อนได้ดีมากๆ คุมอุณหภูมิได้ดีและไม่เจออาการร้อนจนประสิทธิภาพตกเลยก็จริง แต่ต้องแลกกับเสียงพัดลมที่ดังพอสมควร ถ้าใช้โหมด Performance และ Turbo ก็จะดังเอาเรื่องจนบางครั้งกลบเสียงเกมได้เลย เป็นจุดแลกเปลี่ยนหากอยากได้เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คดีๆ เอาไว้ใช้สักเครื่อง ก็ต้องยอมกับระบบระบายความร้อนที่เสียงดังสักนิด

แง่น้ำหนักเฉพาะเครื่องอย่างเดียวก็หนักถึง 3 กิโลกรัมแล้ว ถึงจะหนักไล่เลี่ยกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คขนาดจอเท่ากันก็ตาม แต่พอรวมกับอุปกรณ์เสริมและของใช้อื่นๆ ในกระเป๋าเชื่อว่าจะไม่อยากพกติดตัวเป็นประจำอย่างแน่นอน และ ASUS ROG Strix G18 นี้ต้องใช้กระเป๋าสำหรับโน๊ตบุ๊ค 17.3 นิ้ว ถึงจะใส่ได้อีกด้วย ซึ่งถ้าใครพกเครื่องไปไหนมาไหนแค่ระยะสั้นๆ ผู้เขียนคิดว่าไม่มีปัญหานัก แต่ถ้าแบกไปกลับออฟฟิศแล้วนั่งขนส่งสาธารณะเชื่อว่าไม่มีความสุขอย่างแน่นอน

Conclusion & Award

Strix Scar G18 DSC01159

ASUS ROG Strix G18 นับเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คแบบ Desktop Replacement ตัวแรงประจำต้นปี 2023 ซึ่งถ้าใครกำเงินเอาไว้ประมาณ 85,000 บาท ก็เลือกได้เลยว่าถ้าเน้นทำงานครีเอเตอร์เป็นหลักก็ซื้อรุ่นเริ่มต้นการ์ดจอ GeForce RTX 4060 แล้วเอาเงินไปอัพเกรดแรมเป็น 32GB และซื้อเกมมิ่งเกียร์ก็ดี ถ้าเน้นเล่นเกมอย่างเดียวก็จบรุ่นการ์ดจอ GeForce RTX 4070 ก็ได้ ในส่วนนี้ต้องดูตามโจทย์การใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนว่าจะเอา ROG Strix G18 ไปทำอะไรบ้าง แต่เชื่อว่าใครลงทุนซื้อมันไปใช้ไม่เสียใจภายหลังอย่างแน่นอน

award

award new Gaming

best gaming

การ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 4000 Series ใน ROG Strix G18 จัดว่าแรงเหลือใช้ พอรวมกับสเปคทั้งเครื่องแล้ว เกมเมอร์จะต่อจอแยกหรือเล่นบนจอ QHD ของเครื่องก็ปรับกราฟิคสูงสุดได้สบายๆ

award new performance

best performance

ผลจากการทดสอบทั้งหมดถือว่า ROG Strix G18 นั้นทรงพลังมาก สามารถใช้โปรแกรมกินทรัพยากรมหาศาลหลายๆ โปรแกรมในปัจจุบันได้สบายๆ ไม่ว่าจะงานตัดต่อวิดีโอหรือทำโมเดล 3D ก็ไม่หวั่นแน่นอน

NBS award 7 Design

best design

ดีไซน์ของ ASUS ROG Strix G18 ภายนอกก็ยังคงดีไซน์ตระกูล ROG เอาไว้อย่างเหนียวแน่น แต่ในแง่รายละเอียด ทาง ASUS ก็ปรับปรุงในส่วนที่เคยมีปัญหาในรุ่นก่อนอย่างเก็บสายแพ Lightbar ได้สวยงามและปลอดภัยแถมยังเพิ่มพัดลมมาระบายความร้อน VRAM โดยเฉพาะด้วย ถือเป็นการแก้จุดบอดในรุ่นก่อนได้อย่างสวยงาม

from:https://notebookspec.com/web/691962-review-asus-rog-strix-g18

Advertisement

รีวิว ASUS ROG Strix Scar 18 เกมมิ่งตัวแรงสเปคทรงพลัง ดีไซน์อลังการ RGB จัดเต็ม เริ่มแค่ 107,990 บาท

ASUS ROG Strix Scar 18 จอใหญ่ สเปคโหดไม่เกรงใจใคร!

 

Advertisementavw

เชื่อว่าถ้าถามเกมเมอร์ตัวยงสักคนว่าจะซื้อเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คสักเครื่อง ไม่จำกัดว่าจะถูกจะแพงแค่ไหนก็ได้ล่ะก็ ในปี 2023 นี้ก็ต้องมีชื่อของ ASUS ROG Strix Scar 18 อยู่ในใจกันบ้างอย่างแน่นอน ไม่ใช่แค่ดีไซน์ที่ดุดันทรงพลังและโลโก้อันเป็นเอกลักษณ์ที่เกมเมอร์เชื่อถือเท่านั้น แต่ทางบริษัทก็ใส่ฟีเจอร์ดีๆ และยังปรับแก้ดีไซน์บางส่วนให้ดีกว่า ROG Strix Scar ในรุ่นก่อนให้ดีขึ้นอีกด้วย

เริ่มต้นจากสเปคของ ASUS ROG Strix Scar 18 ต้องถือว่าทางบริษัทจัดเต็มกับเครื่องนี้มาก โดยซีพียูของทุกรุ่นจะใช้ Intel Core i9-13980HX ซึ่งเป็น Intel 13th Gen เหมือนกันทุกรุ่น ให้รีดประสิทธิภาพของการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce 4000 Series ได้หมดจดและยังสั่ง Overclock โดยปรับค่า TGP ของซีพียูและจีพียูได้สูงสุดถึง 240 วัตต์ แล้วระบายความร้อนด้วยชุดระบายความร้อน ROG Intelligent Cooling ซึ่งนอกจากใช้โลหะเหลว (Liquid Metal) ที่จับมือพัฒนาร่วมกับทาง Thermal Grizzly รุ่น Conductonaut Extreme นำความร้อนระบายออกจากตัวเครื่องผ่านทางฮีตไปป์ 7 เส้นและพัดลมหลักถึง 2 ตัวแล้ว ทาง ASUS ยังเสริมพัดลมระบายความร้อน VRAM โดยเฉพาะอีก 1 ตัว ให้อุณหภูมิชิปลดลง โดยทาง ASUS เคลมไว้ว่าชุดระบายความร้อนนี้ยังลดอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 15 องศาเซลเซียส

หน้าจอ ROG Nebula Display ก็ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ในรุ่นใหม่นี้นอกจากขนาดจอใหญ่ 18 นิ้ว ทาง ASUS เลือกความละเอียดหน้าจอเป็น QHD+ (2560×1600) อัตราส่วน 16:10 ซึ่งเหมาะจะใช้ทำงานและเล่นเกม พาเนล IPS ค่า Refresh Rate สูงถึง 240Hz รองรับ NVIDIA G-SYNC ป้องกันภาพฉีกขาดเวลาเล่นเกมและเป็นจอ Dolby Vision HDR ให้ภาพเกมบนหน้าจอสวยงามขึ้นและยังใช้ทำงานได้สบายๆ เพราะขอบเขตสีหน้าจอกว้างถึง 100% DCI-P3 ได้รับการรับรองความเที่ยงตรงสีจาก PANTONE นับว่าครบเครื่องทั้งทำงานและเล่นเกมอย่างแน่นอน สำหรับลำโพงคู่ของ ASUS ROG Strix Scar 18 ตัวนี้สามารถจำลองเสียงได้ 5.1.2 แชนแนล ได้เสียงรอบทิศทางแบบ Dolby Atmos ได้รับการรับรอง Hi-Res Audio ด้วย ดังนั้นความบันเทิงเรียกว่าครบเครื่องไร้ที่ติ

ASUS ROG Strix Scar 18

นอกจากสเปคแรงทรงพลังแล้ว เกมเมอร์ที่ชื่นชอบไฟ RGB ก็ไม่ผิดหวังเพราะมีระบบไฟ RGB “AURA Sync” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของทาง ASUS ติดมาให้รอบตัวจนถึงโลโก้ ROG หลังเครื่อง สามารถตั้งสีสันและเอฟเฟคไฟได้ตามใจชอบในโปรแกรมประจำเครื่องอย่าง ASUS Armoury Crate ได้รอบตัว ช่วยสร้างบรรยากาศของโต๊ะคอมให้สวยโดนใจเกมเมอร์ยิ่งขึ้น

NBS Verdicts

Strix Scar G18 DSC01156

ASUS ROG Strix Scar 18 เป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระดับ Desktop Replacement แรงเทียบชั้นกับเกมมิ่งพีซีในปัจจุบันได้สบาย เอามาต่อหน้าจอแยก 2K QHD~4K UHD ปรับกราฟิคระดับกลางหรือสูงก็ยังลื่นไหลหรือจะเล่นบนจอ 18 นิ้ว ของตัวเครื่องก็ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ครีเอเตอร์ก็ซื้อเอาไปทำงานก็ได้เพราะขอบเขตสีหน้าจอกว้างระดับ 100% DCI-P3 ได้รับการรับรองจาก PANTONE ว่าสีเที่ยงตรงแม่นยำอีกด้วย ถือเป็นโน๊ตบุ๊คดีรอบด้านแถมยังครบเครื่องตอบโจทย์ผู้ใช้ทุกคน

สเปคต่อราคาก็ถือว่าค่อนข้างลงตัว ยืนพื้นด้วยซีพียู Intel Core i9-13980HX เหมือนกันทั้งไลน์อัพ แต่จะต่างกันตามงบประมาณไป อย่างรุ่นเริ่มต้นราคา 107,990 บาท ก็ได้การ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 4080 และ M.2 NVMe SSD อีก 1TB หรือเพิ่มมาเป็น 139,990 บาท ก็อัพเกรดเป็น NVIDIA GeForce RTX 4090 และ M.2 NVMe SSD ถึง 2TB ซึ่งเยอะพอให้เกมเมอร์เอาไว้ลงเกมและโปรแกรมใช้งานต่างๆ ได้เต็มที่และยังอัพเกรดเพิ่มความจุไปได้มากสุด 64GB DDR5 ทีเดียว ถือว่าทาง ASUS ทำสเปคเผื่ออนาคตเอาไว้นานพอควร ลงทุนครั้งเดียวก็ใช้ได้ยาวๆ แค่อัพเกรดเพิ่มแรมไปตามระยะเวลาก็เหลือเฟือแล้ว

การเชื่อมต่อของ ASUS ROG Strix Scar 18 นอกจาก Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.2 แล้ว ยังมีพอร์ต Thunderbolt 4, USB-C 3.2 Full Function และ HDMI 2.1 ที่รองรับจอ 8K 60Hz หรือ 4K 120Hz ติดตั้งมาให้ต่อหน้าจอแยกได้มากสุด 3 จอ มีพอร์ตใช้งานทั้ง USB-A 3.2 ไว้ต่อเกมมิ่งเกียร์และสาย LAN 2.5GbE ไว้ใช้ต่อต่อเข้ากล่องเราเตอร์ให้เล่นเกมและเน็ตได้ลื่นไหลไม่แล็คให้เสียจังหวะ ถือว่าทาง ASUS ให้ของดีมาล้นตัวก็ว่าได้

แต่จุดสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ลอง ASUS ROG Strix Scar 18 ได้แก่ ตัวเครื่องที่หนัก 3 กิโลกรัม ในฐานะโน๊ตบุ๊คก็ถือว่าหนักทีเดียว แต่ถ้าเทียบกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คขนาดใกล้เคียงกันอย่าง 17.3 นิ้ว ก็ถือว่าไล่เลี่ยกันและแบตเตอรี่ก็ใช้งานได้นานสุดเพียง 4 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น แม้จะพอใช้อแดปเตอร์แกลเลี่ยมไนไตรท์ (GaN) กำลังไฟ 100 วัตต์แทนก็พอได้แต่เล่นเกมหรือตัดต่องานหนักๆ ก็ต้องพึ่งอแดปเตอร์เฉพาะของตัวเครื่องถึงจะรีดได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ใช้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มอีก 1 กิโลกรัม รวมเป็น 4 กิโลกรัม ดังนั้นถ้าใครจะซื้อมาเผื่อพกพาไปไหนมาไหนคงไม่สะดวกเท่าไหร่แต่ถ้าวางโต๊ะเป็นหลัก พกติดตัวเป็นเรื่องรองก็ไม่มีปัญหา ซื้อมาใช้เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเลยก็ดีมาก

ข้อดีของ ASUS ROG Strix Scar 18
  1. ติดตั้งซีพียูรุ่นที่แรงสุดจาก Intel อย่าง Intel Core i9-13980HX มาให้ใช้งาน
  2. การ์ดจอมีซีรี่ส์ตัวท็อปให้เลือกตามงบประมาณ ได้แก่ GeForce RTX 4080, RTX 4090
  3. เร่งค่า TGP ของซีพียูและจีพียูได้สูงสุดรวม 240 วัตต์ เพิ่มประสิทธิภาพตอนใช้งานได้สูงขึ้น
  4. ระบบระบายความร้อนทำงานได้ยอดเยี่ยมและใช้ Liquid Metal ระบายความร้อนซีพียูและจีพียู
  5. ติดตั้งฮีตไปป์ระบายความร้อนมาให้ 7 เส้น ช่วยระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
  6. มีพัดลมสำหรับระบายความร้อน VRAM โดยเฉพาะ ทำให้แรมการ์ดจอเย็น ทำงานได้เต็มที่
  7. ได้แรม 32GB DDR5 จากโรงงาน อัพเกรดได้มากสุด 64GB DDR5 ใช้งานได้นานหลายปี
  8. ได้ M.2 NVMe SSD อินเตอร์เฟส PCIe 4.0 รุ่นสูงสุดจะทำ RAID 0 จากโรงงานมาเลย
  9. มีพอร์ต Thunderbolt 4 และ USB-C 3.2 Full Function ให้ใช้ต่อหน้าจอและชาร์จแบตเตอรี่ได้
  10. หน้าจอขนาดใหญ่ถึง 18 นิ้ว ความละเอียด QHD+ พาเนล IPS ขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3
  11. ค่า Refresh Rate สูงถึง 240Hz รองรับ NVIDIA G-SYNC ในตัว รองรับ Dolby Vision HDR
  12. มีปุ่ม Hotkeys สำหรับกดคีย์ลัดโดยเฉพาะ ตั้งค่าได้ในโปรแกรม Armoury Crate
  13. เวลาเล่นเกมหรือทำงานเต็มประสิทธิภาพแล้ว ความร้อนไม่แผ่ขึ้นคีย์บอร์ดมารบกวนตอนใช้งาน
  14. ระบบเสียง Dolby Atmos มิติเสียงดี ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมได้ดี เสียงมีมิติมาก
ข้อสังเกตของ ASUS ROG Strix Scar 18
  1. น้ำหนักตัวเครื่องอย่างเดียว 3 กิโลกรัม รวมอแดปเตอร์เป็น 4 กิโลกรัม ถือว่าหนักมาก
  2. ใช้งานได้นานสุดราว 4 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าต้องพกไปทำงานนอกสถานที่ควรเอาอแดปเตอร์ไปด้วย

รีวิว ASUS ROG Strix Scar 18

Specification

g18 spec 1

ASUS ROG Strix Scar 18 เป็นหนึ่งในเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระดับ Desktop Replacement แรงกว่าเกมมิ่งพีซีหลายๆ รุ่นในปัจจุบันทีเดียว โดยสเปคที่มีขายในประเทศไทยจะมี 2 รุ่น แยกตามการ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 4000 Series ภายในเครื่อง ส่วนเครื่องทดสอบในบทความจะเป็นอีกสเปคซึ่งยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้

สเปคของ ASUS ROG Strix Scar 18 G834JY-N6035W
CPU Intel Core i9-13980HX แบบ 24 คอร์ 32 เธรด (8P+16E) ความเร็ว 4.0~5.6GHz
GPU NVIDIA GeForce RTX 4090 แรม 16GB GDDR6 ค่า TGP 175 วัตต์
SSD M.2 NVMe SSD 2TB
RAM 32GB DDR5 บัส 4800MHz รองรับสูงสุด 64GB
Display 18 นิ้ว ความละเอียด QHD+ (2560×1600) พาเนล IPS ค่า Refresh Rate 240Hz ขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3 รองรับ NVIDIA G-SYNC, Dolby Vision HDR, PANTONE Validated
Connectivity Thunderbolt 4 x 1 รองรับ DisplayPort และ NVIDIA G-SYNC, USB-C 3.2 x 1 รองรับ DisplayPort / NVIDIA G-SYNC / Power Delivery, LAN x 1, USB-A 3.2 x 2, HDMI 2.1 x 1, Audio combo x 1

Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.2

Software Windows 11 Home
Weight 3 กิโลกรัม
Price 139,990 บาท ชมสเปคที่นี่
สเปคของ ASUS ROG Strix Scar 18 G834JZ-N6020W
CPU Intel Core i9-13980HX แบบ 24 คอร์ 32 เธรด (8P+16E) ความเร็ว 4.0~5.6GHz
GPU NVIDIA GeForce RTX 4080 แรม 12GB GDDR6 ค่า TGP 175 วัตต์
SSD M.2 NVMe SSD 2TB
RAM 32GB DDR5 บัส 4800MHz รองรับสูงสุด 64GB
Display 18 นิ้ว ความละเอียด QHD+ (2560×1600) พาเนล IPS ค่า Refresh Rate 240Hz ขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3 รองรับ NVIDIA G-SYNC, Dolby Vision HDR, PANTONE Validated
Connectivity Thunderbolt 4 x 1 รองรับ DisplayPort และ NVIDIA G-SYNC, USB-C 3.2 x 1 รองรับ DisplayPort / NVIDIA G-SYNC / Power Delivery, LAN x 1, USB-A 3.2 x 2, HDMI 2.1 x 1, Audio combo x 1

Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.2

Software Windows 11 Home
Weight 3 กิโลกรัม
Price 107,990 บาท ชมสเปคที่นี่

Hardware & Design

Strix Scar G18 DSC01133

Strix Scar G18 DSC01113
Strix Scar G18 DSC01145
Strix Scar G18 DSC01110
Strix Scar G18 DSC01086
Strix Scar G18 DSC01114
Strix Scar G18 DSC01115

ดีไซน์ของ ASUS ROG Strix Scar 18 ยังคงใช้รูปร่างคล้ายกับตระกูล ROG Strix รุ่นอื่นๆ ในไลน์อัพอยู่ มีบอดี้สีเทาทึบตัดกับบอดี้กึ่งโปร่งใส มีสติ๊กเกอร์บอกสเปคติดไว้ตรงที่วางข้อมือฝั่งซ้าย ฝั่งขวาตรงข้ามเป็นโลโก้ ROG แถบยาวกับปุ่ม Power ทรงหกเหลี่ยมและมีแถบไฟ RGB “AURA Sync” ส่วนขอบหน้าเครื่องด้วย มีการย้ายไฟ LED แสดงสถานะตัวเครื่องมาไว้ตรงสันเครื่องถัดขึ้นไปจากคีย์บอร์ดให้เห็นได้ชัดเจน ส่วนขอบเหนือหน้าจอมีก้านดึงเปิดหน้าจอติดตั้งมาให้ผู้ใช้กางหน้าจอได้ง่ายขึ้น

Strix Scar G18 DSC01096

Strix Scar G18 DSC01085
Strix Scar G18 DSC01083
Strix Scar G18 DSC01099

ด้านหลังเครื่องส่วนฝาหลังหน้าจอจะเป็นพื้นเรียบสีเทาดำคาดลาย ROG พร้อมโลโก้ติดไฟ RGB และ AURA Sync Lightbar บริเวณขอบตัวเครื่อง สามารถเลือกปรับเอฟเฟคแสงสีได้ในโปรแกรม Armoury Crate ของ ASUS เช่นเดิม และสังเกตว่าตัว ASUS ROG Strix Scar 18 จะไม่มีแถบพอร์ตเชื่อมต่อติดเอาไว้ด้านหลังเครื่องเหมือนเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ แล้ว กลายเป็นช่องระบายความร้อนของ ROG Intelligent Cooling แทน ถัดเข้าไปในช่องระบายความร้อนจะเป็นชุดครีบฮีตซิ้งค์ความหนาแผ่นละ 0.1 มม. จำนวน 414 แผ่น วางแนวด้านหลังและข้างเครื่องทั้งสองฝั่งเพื่อช่วยนำความร้อนออกจากตัวเครื่องให้เร็วที่สุด

Strix Scar G18 DSC01162

Strix Scar G18 DSC01079
Strix Scar G18 DSC01078
Strix Scar G18 DSC01108

บานพับของ ASUS ROG Strix Scar 18 จะเป็นก้านเหล็กต่อเข้าขอบล่างของหน้าจอทั้งสองฝั่งและตัวก้านจะสอดเข้าไปในกล่องฐานบานพับหน้าจอในตัวเครื่องด้านล่าง ซึ่งตัวบานแข็งแรงทนทานไม่มีอาการโยกคลอนไม่แน่นเลยแม้แต่น้อย แต่ก็กางได้มากสุดราว 100 องศา เพราะขอบล่างจอจะติดสันขอบเครื่อง แต่ก็กว้างพอใช้งานเข้ากับมุมสายตาได้สบายๆ จะวางเล่นเกมบนโต๊ะคอมตามปกติหรือวางแท่นวางโน๊ตบุ๊คก็จัดองศาหน้าจอให้เข้ามุมสายตาได้ง่ายๆ มองเห็นชัดแน่นอน

Strix Scar G18 DSC01051

Strix Scar G18 DSC01054
Strix Scar G18 DSC01052
Strix Scar G18 DSC01081

ฝาใต้ตัวเครื่องของ ASUS ROG Strix Scar 18 จะแบ่งพื้นที่เป็นแบบ 70:30 ให้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นโซนช่องระบายความร้อนตัดให้สังเกตเห็นคำว่า ROG และบางส่วนก็เป็นช่องนำลมเย็นเข้าไประบายความร้อนในเครื่องและส่วนขอบล่างจะยิงเลเซอร์คำว่า “Intelligent Cooling” เอาไว้พร้อมช่องนำลมเข้าโดยเฉพาะอีกช่องสำหรับพัดลมโบลวเวอร์ตัวที่ 3 ซึ่งทาง ASUS ติดมาเพื่อเป่าลมระบายความร้อนชุด VRAM โดยเฉพาะ ถัดลงมาจะเป็นลำโพงอีก 2 ฝั่ง แล้วยึดน็อตเอาไว้อีก 11 ตัวอย่างแน่นหนาและมีน็อตตัวมุมล่างขวาตัวเดียวที่เป็นแบบมีบ่ากันปลดให้เกลียวค้างเอาไว้ตัวหนึ่ง เวลาถอดอัพเกรดแนะนำให้หาภาชนะเล็กๆ มาเก็บน็อตโดยเฉพาะด้วยไม่ให้หล่นหาย

Screen & Speaker

Strix Scar G18 DSC01103

Strix Scar G18 DSC01105
Strix Scar G18 DSC01104
Strix Scar G18 DSC01106
Strix Scar G18 DSC01113

หน้าจอขนาด 18 นิ้ว ความละเอียด QHD+ (2560×1600) พาเนล IPS มีค่า Refresh Rate สูง 240Hz เป็นจอที่มีความละเอียดและอัตราความลื่นไหลของภาพสูงสุด ณ ตอนนี้ ตอบโจทย์เกมเมอร์ที่ชอบเล่นเกมแนว FPS อย่างแน่นอนและมีเทคโนโลยีป้องกันภาพฉีกขาด NVIDIA G-SYNC และรองรับ Dolby Vision HDR ด้วย และเคลมขอบเขตสีกว้างไว้ 100% DCI-P3 และได้รับการการันตีความเที่ยงตรงสีจาก PANTONE อีกด้วย ดังนั้นจอนี้จึงใช้ทำงานสายครีเอเตอร์ได้อีกด้วย

ตัวหน้าจอถูกออกแบบให้เป็นขอบจอบาง 3 ด้าน ได้แก่ขอบข้างทั้งสองฝั่งและขอบบนตัวเครื่ง แต่ตรงกลางของขอบบนจะมีสันหนาขึ้นเล็กน้อยเอาไว้เป็นก้านดึงเปิดหน้าจอและติดตั้งกล้อง Webcam กับไมค์พร้อมระบบ Two-way Ai Noise Cancelation เอาไว้ตัดเสียงรบกวนภายนอกให้ประชุมออนไลน์หรือไลฟ์สตรีมเกมได้สะดวกไม่มีเสียงแทรกตอนใช้งาน

display

Screenshot 2023 03 07 113639
Screenshot 2023 03 07 113720 1

มุมการมองเห็นของจอพาเนล IPS ก็ยังแสดงผลได้ดีเช่นเดิม สามารถแสดงภาพได้กว้างถึง 178 องศาโดยไม่มีเงาสะท้อนทาบบนหน้าจอและยังปรับค่า Refresh Rate ได้ 2 ระดับ คือ 60 หรือ 240Hz ในคำสั่ง Advanced display ส่วนขอบเขตสีเมื่อวัดด้วยเครื่อง Colorchecker ของ Calibrite คู่กับโปรแกรม DisplayCal 3 แล้วได้ค่า Gamut coverage ซึ่งเป็นค่าขอบเขตสีจริงของหน้าจอได้ขอบเขตสี 99.8% sRGB, 83.1% Adobe RGB, 98.8% DCI-P3 ด้าน Gamut volume ซึ่งเป็นขอบเขตสีโดยรวมได้ 144% sRGB, 99.2% Adobe RGB, 102% DCI-P3 ค่าความเที่ยงตรงสี Delta-E เฉลี่ยที่ 0.08~1.04 ซึ่งเมื่อน้อยกว่า 2 ก็ถือได้ว่าจอ ROG Nebula Display ของ ASUS ROG Strix Scar 18 มีขอบเขตสีตรงและดีกว่าที่เคลมเอาไว้เล็กน้อยด้วยซ้ำ ดังนั้นนอกจากใช้ดูหนังและเล่นเกมได้ดีแล้วก็นับเป็นครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คได้ด้วยเช่นกัน

พาเนลจอ IPS นี้เมื่อเช็คใน Profile Information จะเห็นว่าทาง BOE Technology บริษัทผู้ผลิตพาเนลหน้าจอชั้นนำของโลกเป็นผู้ผลิตขึ้น เมื่อตั้งความสว่างหน้าจอไว้ 100% แล้ว จะได้ค่าความสว่างสูงสุดถึง 463.01 cd/m2 ซึ่งสว่างมากจนสู้แสงแดดสะท้อนหน้าจอในห้องหรือนอกอาคารได้สบายๆ แต่จากการใช้งานจริงในห้องอาคารแนะนำให้ตั้งความสว่างจอเอาไว้ราว 50~60% ก็พอ ยิ่งถ้าใครชอบปิดไฟในห้องแล้วใช้ไฟจากโคมไฟ Lightbar เป็นหลัก อาจเปิดสัก 30% ก็สว่างมากแล้ว

Strix Scar G18 DSC01055
Strix Scar G18 DSC01056
Strix Scar G18 DSC01069
Strix Scar G18 DSC01070

ลำโพงของ ASUS ROG Strix Scar 18 เป็นลำโพงคู่ จำลองเสียงได้ 5.1.2 แชนแนล แบบ Dolby Atmos และได้รับการรับรอง Hi-Res Audio ซึ่งเนื้อเสียงจากที่ลองดูหนังและเล่นเกมจัดว่ายอดเยี่ยม สามารถจำลองทิศทางเสียงได้ยอดเยี่ยมเหมือนอยู่ในสถานการณ์นั้นจริงๆ ส่วนการฟังเพลงถือว่าเต็มอิ่ม พอตั้งเสียงดังสุดแล้ววัดด้วยเครื่องวัดความดังเสียงจะได้ราว 85dB เนื้อเสียงมีมิติดี สเตจเสียงกลางๆ แต่แยกทิศทางเครื่องดนตรีได้ง่ายและชัดเจน ไลน์เครื่องดนตรีไม่ทับเสียงนักร้องนำและมีเสียงเบสคอยซัพพอร์ตเสียงหลักได้ดีไม่บวมอีกด้วย แต่แรงปะทะจะมีระดับหนึ่งไม่ถึงกับกระแทกนัก ส่วนตัวถือว่าลำโพงของ ROG Strix Scar 18 เป็นลำโพงที่ใช้งานได้ดีรอบด้านตัวหนึ่ง

Keyboard & Touchpad

Strix Scar G18 DSC01116

Strix Scar G18 DSC01120
Strix Scar G18 DSC01121
Strix Scar G18 DSC01125
Strix Scar G18 DSC01124
Strix Scar G18 DSC01126
Strix Scar G18 DSC01127
Strix Scar G18 DSC01123
Strix Scar G18 DSC01122

คีย์บอร์ดของ ASUS ROG Strix Scar 18 เป็นคีย์บอร์ดแบบ Full-size ดีไซน์ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้แทบทุกปุ่มอยู่ในระนาบกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่แยกชุดปุ่มลูกศรออกไปจากชุดคีย์บอร์ดหลัก แต่สังเกตว่าเมื่อเว้นระยะให้ปุ่ม Alt, Ctrl ฝั่งขวามือแล้วจะไปเบียดพื้นที่ของเลข 0 ในปุ่ม Numpad แทน ซึ่งตอนใช้งานใหม่ๆ อาจไม่คุ้นกับขนาดที่หดลงแต่พอชินแล้วก็ไม่มีปัญหานัก จุดน่าสนใจคือปุ่ม Print Screen มาแทรกไว้ตรงกลางระหว่าง Alt, Ctrl ขวามือด้วย คาดว่าเพื่อควมสวยงามได้ระนาบเป็นหลัก 

ดีไซน์ปุ่มคีย์บอร์ด ROG Strix Scar 18 ตัวปุ่มดีไซน์เป็นแบบ Overstroke คือทุกปุ่มบนคีย์บอร์ดโดนกดลงไปเล็กน้อยแล้วให้ระยะกดสั้นลงตอบสนองเร็ว กดไวทันใจเกมเมอร์ยิ่งขึ้น ตอนพิมพ์งานและใช้เล่นเกมแล้วถือว่าตอบสนองได้ค่อนข้างเร็วกว่าคีย์บอร์ดทั่วไปเล็กน้อย แต่ทีเด็ดของมันคือตัวปุ่มกดได้สนุกนิ้ว น้ำหนักของปุ่มกำลังดีไม่อ่อนหรือแข็งจนเกินไป

จุดน่าสนใจอีกอย่าง คือปุ่มมาโคร M1~M5 ส่วนเหนือปุ่ม F1~F5 พร้อมคำสั่งพื้นฐานอย่างเพิ่มลดเสียง, ปิดเปิดไมค์, เปลี่ยนโหมดตัวเครื่องและเรียกใช้โปรแกรม Armoury Crate สามารถบันทึกมาโครเอาไว้เล่นเกมได้และใช้ทำงานได้ มีปุ่มฟังก์ชั่นติดตั้งมาให้ตามปุ่มต่างๆ ได้แก่ Windows Lock รวมอยู่กับปุ่ม Windows, ปุ่มลูกศร 4 ปุ่มกับคำสั่ง Page Up/Down, Home และ End มีชุด Function Key เหนือชุด Numpad โดยเซ็ตเป็นแบบ 2 เลเยอร์ รวมคำสั่งไว้ครบถ้วน แต่ก็ยังซ้ำซ้อนกันอยู่บ้าง อย่าง Home, End, Print Screen เป็นต้น ส่วนตัวคิดว่าถ้าเซ็ตเป็นปุ่ม Multimedia Key เช่น เล่น/หยุด, เปลี่ยนเพลงก็น่าสนใจแล้วย้ายเอา Function Key พื้นฐานเหล่านั้นไปรวมไว้กับชุดตัวเลขของ Numpad ก็ได้

Strix Scar G18 DSC01129

นอกจากนี้ปุ่ม F1~F12 จะมี Function Hotkey รวมเอาไว้กับชุดปุ่มหลักให้ผู้ใช้กดใช้งาน เวลาใช้งานให้กด Fn ค้างไว้ก่อน แต่สังเกตว่าทาง ASUS ไม่ได้ทำปุ่มสลับเลเยอร์ติดมาให้ใช้งานด้วย โดย Hotkey ทั้งหมดมีคำสั่งดังนี้

  • F1 – ปิดหรือเปิดเสียงลำโพง
  • F2~F3 – ลดหรือเพิ่มความสว่างไฟ LED Backlit ของคีย์บอร์ด
  • F4 – ปรับเอฟเฟคไฟ AURA Sync
  • F5 – ปุ่มปรับโหมดของตัวเครื่อง 3 โหมด ได้แก่ Silent, Performance, Turbo
  • F6 – เรียกโปรแกรม Snipping Tool
  • F7~F8 – ลดหรือเพิ่มความสว่างหน้าจอ
  • F9 – ปุ่ม Project ตั้งค่าหน้าจอหลักและเสริม
  • F10 – ปิดหรือเปิดทัชแพด
  • F11 – โหมด Sleep
  • F12 – Airplane Mode

ด้านของปุ่มมาโครชุดพิเศษของ ASUS ROG Strix Scar 18 ทั้ง 5 ปุ่มเหนือ F1~F5 เป็นปุ่มแบบพิเศษซึ่งเซ็ตเปลี่ยนปุ่มหรือเซฟมาโครเอาไว้ใช้งานก็ได้ แต่ค่าพื้นฐานจากโรงงานจะมีคำสั่งตามนี้ คือ

  • M1 – ลดเสียงลำโพง
  • M2 – เพิ่มเสียงลำโพง
  • M3 – ปิดหรือเปิดไมค์
  • M4 – ปรับโหมดตัวเครื่อง
  • M5 – เรียกโปรแกรม Armoury Crate

จะเห็นว่า Function Hotkey ของ ASUS ROG Strix Scar 18 จะให้คีย์ลัดมาครบถ้วนพร้อมใช้งาน แต่อาจมีปุ่มซ้ำกันอยู่บ้างอย่างเช่นปุ่มปรับโหมดตัวเครื่องและถ้าเซ็ตให้ปุ่มเพิ่มลดความสว่างไฟคีย์บอร์ดเป็นคำสั่งแบบ Toggle แทน น่าจะได้คีย์ลัดกลับมาใช้ 2 ปุ่มเอาไว้ตั้งค่าเป็นคำสั่งอื่นๆ อย่างปรับค่า Refresh Rate หน้าจอให้ผู้ใช้เลือกได้ว่าจะใช้ 60 หรือ 240Hz ก็ดีเช่นกัน จะได้ตั้งค่าตัวเครื่องได้สะดวกและละเอียดขึ้น

Strix Scar G18 DSC01142

Strix Scar G18 DSC01141
Strix Scar G18 DSC01143

ข้อดีของปุ่มปรับโหมดตัวเครื่องแล้ว จะมีภาพแสดงโหมดตัวเครื่องขึ้นมาบนหน้าจอทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ Silent โหมดประหยัดพลังงานเน้นให้ใช้งานได้นานสุดด้วยแบตเตอรี่ในเครื่อง, Performance โหมดเน้นประสิทธิภาพให้ทำงานได้ไหลลื่นและไม่ร้อนมาก, Turbo รีดประสิทธิภาพตัวเครื่องให้ออกมาสูงสุด ซึ่งถ้าใช้งานด้วยแบตเตอรี่จะเปิดได้แค่ Silent และ Performance เท่านั้น ส่วนโหมด Turbo จะใช้ได้เฉพาะตอนต่ออแดปเตอร์ของตัวเครื่องเท่านั้นเพราะใช้พลังงานเยอะและอาจทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติ

Strix Scar G18 DSC01130
Strix Scar G18 DSC01131

ทัชแพดของ ASUS ROG Strix Scar 18 ถูกขยายขนาดจาก ROG Strix รุ่นก่อน 10% ให้กวาดนิ้วลากตัวเคอร์เซอร์ไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้นแต่ก็มีขนาดใหญ่พอสมควร เวลาวางมือแล้วสันมือซ้ายจะทาบไปบนตัวแป้นโดยเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ไม่เกิดอาการทัชแพดลั่นหรือรบกวนตอนใช้งานและยังกดปิดทัชแพดทิ้งได้ถ้าจะใช้เมาส์แยกแทน ด้านการใช้งานตัวทัชแพดรองรับ Gesture Control ของ Windows 11 ครบถ้วน ใช้งานได้ง่ายและตอบสนองได้ดี

Connector / Thin & Weight

Strix Scar G18 DSC01163
Strix Scar G18 DSC01164
Strix Scar G18 DSC01166
Strix Scar G18 DSC01165

พอร์ตของ ASUS ROG Strix Scar 18 ย้อนกลับมาเป็นแบบคลาสสิค ไม่เหมือนเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ที่แยกบางพอร์ตไปติดเอาไว้ด้านหลังตัวเครื่องเนื่องจากถูกทำเป็นช่องระบายความร้อนของระบบ ROG Intelligent Cooling แทน โดยมีพอร์ตดังนี้

  • ฝั่งซ้ายจากซ้ายมือ – ช่องต่ออแดปเตอร์, LAN, HDMI 2.1 FRL, Thunderbolt 4, USB-C 3.2 Full Function รองรับ DisplayPort / G-SYNC / Power Delivery 100 วัตต์, Audio combo
  • ฝั่งขวาจากซ้ายมือ – USB-A 3.2 x 2 ช่อง
  • การเชื่อมต่อไร้สาย – Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.2

จะเห็นว่าพอร์ตเชื่อมต่อหลักๆ ที่ต้องใช้งานนั้นมีติดตั้งมาให้ครบถ้วน โดยเฉพาะ HDMI 2.1 นี้จะใช้ต่อหน้าจอแยก 8K 60Hz หรือ 4K 120Hz ได้ รวมถึงต่อผ่านทาง Thunderbolt 4 และ USB-C 3.2 Full Function ก็ได้ ทำให้ต่อจอแยกได้รวมกันมากสุด 3 จอ และยังมีพอร์ต USB-A 3.2 ให้ใช้อีกสองช่อง จะเอาไว้ต่อเมาส์คีย์บอร์ดใช้เล่นเกมเลยก็ได้เช่นกันแถมยังเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้รวดเร็วทันใจและเสถียรด้วย Wi-Fi 6E ได้อีกด้วย เรียกว่าครบเครื่องทันสมัยมาก

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าใครจะใช้ ASUS ROG Strix Scar 18 ทำเป็นเกมมิ่งพีซีแทนการประกอบคอมสักเครื่องอาจเจอปัญหาว่าพอร์ต USB-A 3.2 ไม่พอใช้งานอย่างแน่นอน แค่เมาส์กับคีย์บอร์ดก็ใช้จนหมด 2 ช่องแล้ว ถ้าจะต่อลำโพง USB, External Harddisk, ปริ้นเตอร์หรือจะต่อสาย USB ของสมาร์ทโฟนค้างไว้ก็ไม่พอใช้งานแน่นอน ดังนั้นผู้เขียนแนะนำให้หา USB Hub หรือ USB-C Multiport adapter เตรียมไว้ใช้สักชิ้นจะได้ใช้งานได้สะดวกขึ้น

Strix Scar G18 DSC01045

Strix Scar G18 DSC01050
Strix Scar G18 DSC01048
Strix Scar G18 DSC01047

น้ำหนักของ ASUS ROG Strix Scar 18 ทางบริษัทเคลมน้ำหนักเอาไว้ 3 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อชั่งน้ำหนักแล้วก็เท่ากับที่เคลมเอาไว้ แต่ถ้ารวมอแดปเตอร์กำลังไฟ 330 วัตต์ น้ำหนัก 1.1 กิโลกรัมเข้าไปแล้วจะหนักถึง 4.2 กิโลกรัม มันจึงเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่ทรงพลังและเหมาะจะวางติดโต๊ะแทนการประกอบเกมมิ่งพีซีมาก

หากจะพกติดตัวไปทำธุระต้องใส่กระเป๋าเป้ใบใหญ่พิเศษสำหรับโน๊ตบุ๊ค 17 นิ้วเท่านั้น โดยผู้เขียนได้ลองเอาเครื่องใส่กระเป๋าเป้สำหรับโน๊ตบุ๊ค 15 นิ้ว ไม่สามารถรูดซิปได้และขอบเครื่องยังเกยออกมาด้วย ส่วนใบสำหรับโน๊ตบุ๊ค 17 นิ้วยังพอใส่ได้ แต่พอรวมกับน้ำหนักอแดปเตอร์และข้าวของชิ้นอื่นๆ ในกระเป๋าอาจลำบากไหล่อยู่พอควร ส่วนตัวแนะนำให้หากระเป๋าเป้ที่มีซับไหล่ฟองน้ำหนาเป็นพิเศษมาใช้ สายสะพายจะได้ไม่บาดไหล่เกินไป

Inside & Upgrade

Strix Scar G18 DSC01060

Strix Scar G18 DSC01066
Strix Scar G18 DSC01067
Strix Scar G18 DSC01068
Strix Scar G18 DSC01057

การเปิดฝาอัพเกรด ASUS ROG Strix Scar 18 แค่ไขน็อต 11 ตัวออกและปล่อยให้น็อตมุมล่างขวาค้างติดเอาไว้กับฝาหลังไว้ได้แล้วเอาการ์ดแข็งหรือปิ๊กกีตาร์แกะตามขอบไปเรื่อยๆ ก็ดึงเปิดฝาได้เลย แนะนำให้เปิดให้เริ่มจากขอบล่างซ้ายมือก่อนแล้วไล่ขึ้นไปหาช่องระบายความร้อนจะปลดได้ง่าย

บนแผงเมนบอร์ดจะเห็นว่าตัวบอร์ดจะมีเมนบอร์ดตัวหลักและบอร์ดเสริมตรงฝั่งซ้ายมือหรือฝั่งขวาของตัวเครื่องที่เป็นพอร์ต USB-A 3.2 x 2 ช่อง มีช่องใส่ M.2 NVMe SSD x 2 ช่อง เป็นอินเตอร์เฟส PCIe 4.0 x4 ทั้งหมดและมี SSD 1TB ติดตั้งมาให้หมดแล้วและทำ RAID เอาไว้ มีความจุ 2TB ให้ใช้งานและเป็นความจุสูงสุดที่เมนบอร์ดของ ASUS ROG Strix Scar 18 รองรับได้แล้ว ถือว่าจุมากพอควร

ส่วนแรมดีไซน์ช่องเป็นแบบซ้อนกันสองชั้น ติดตั้งมาให้ 32GB DDR5 บัส 4800MHz จากโรงงานและยังอัพเกรดได้มากสุดถึง 64GB DDR5 ถือว่าทาง ASUS ให้ความจุเผื่อไว้มากพอเผื่อผู้ใช้จะอัพเกรดเพิ่มเติมในอนาคตก็ยังได้ เผื่อผู้ใช้คนไหนไม่อยากซื้อเครื่องใหม่มาเปลี่ยนก็เปิดฝาเติมแรมไปอีกนิดก็สะดวกไม่แพ้กัน

Strix Scar G18 DSC01072

Strix Scar G18 DSC01074
Strix Scar G18 DSC01073
Strix Scar G18 DSC01075

ส่วนจุดน่าชื่นชม คือสายไฟของ AURA Sync Lightbar ตรงขอบล่างตัวเครื่องถูกปรับดีไซน์จากรุ่นก่อนหน้าที่โยงติดกับฝาหลังตัวเครื่องเป็นแบบเดินตามช่องว่างในเครื่องแล้วตรงเข้าไปยังหัวรับสายบนบอร์ดแทน เป็นดีไซน์ที่ดีมากเวลาอยากเปิดฝาเพิ่มแรมเปลี่ยน SSD ก็ไม่ต้องกลัวเวลาเปิดฝาแล้วจะทำสายแพหลุดหรือขาดเหมือนรุ่นก่อนนับว่าทาง ASUS รัดกุมขึ้นมากและน่าเอาเป็นดีไซน์สำหรับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คมี Lightbar รุ่นใหม่ๆ ก็ยึดแนวทางออกแบบนี้ได้เลย

สังเกตว่าตัวสายแพของ AURA Sync Lightbar ทั้งสองฝั่งจะมีหัวรับคนละตัว ส่วนตรงกลางมีสายแพอีกสองเส้นเดินเข้ามาต่อบนเมนบอร์ดด้วย คาดว่าน่าจะเป็นสายของ Lightbar ขอบหลังเครื่องกับโลโก้ ROG ตรงฝาหลังรวมกันเป็นหนึ่งเส้น อีกอันเป็นของคีย์บอร์ด

Performance & Software

cpu

mb
ram
ram2

ซีพียูใน ASUS ROG Strix Scar 18 ทุกรุ่นเป็น Intel Core i9-13980HX แบบ 24 คอร์ 32 เธรด (8P+16E) ความเร็ว 4.0~5.6GHz แต่จะต่างกันตรงการ์ดจอแยก, แรมและ M.2 NVMe SSD ในเครื่องแทน ซึ่งซีพียูนี้มีค่า TDP ตั้งต้น 55 วัตต์ สามารถบูสต์เพิ่มค่า TDP ไปได้มากสุด 65 วัตต์เพื่อเร่งประสิทธิภาพตอนทำงานได้ รองรับชุดคำสั่งพื้นฐานครบถ้วนพร้อมใช้งาน

แรมเป็นแบบ SO-DIMM ทั้งหมด 2 ช่อง มีความจุ 32GB DDR5 บัส 4800MHz และรองรับความจุสูงสุด 32GB เช่นกัน ดังนั้นถ้าใครซื้อรุ่นการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce RTX 4070 มาก็ไม่ต้องอัพเกรดแรมเพิ่มก็ได้ โดยแรมของเครื่องทดสอบติดตั้งชิปแรมของ Samsung มาให้

4090 and tgp

กราฟิคการ์ดเป็น NVIDIA GeForce RTX 4090 แรม 16GB GDDR6 มี CUDA 9,728 Unified เป็นชิป Max-Q Technology รองรับ Dynamic Boost มีค่า TGP 175 วัตต์ รองรับชุดคำสั่ง OpenCL, OpenGL 4.6, CUDA, DirectCompute, DirectML, Vulkan, Ray Tracing, PhysX, DirectX 12 และใช้งาน Resizable BAR ได้ด้วย จัดว่าครบเครื่องทรงพลังมาก

devicemgr strix scar 18

พาร์ทภายในเครื่องเมื่อเช็คใน Device Manager แล้ว จะมีชิป TPM 2.0 ติดตั้งมาให้ทำงานคู่กับระบบรักษาความปลอดภัยของ Windows 11 ตัว M.2 NVMe SSD เป็นของแบรนด์ Samsung ทำ RAID 0 มาให้จากโรงงาน มีความจุ 2TB พอร์ต LAN เป็นของ Realtek Gaming 2.5GbE รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว

การเชื่อมต่อไร้สายเป็น Wi-Fi 6E (Gig+) มาตรฐาน 802.11ax รองรับ Bluetooth 5.2 เป็นการ์ด Wi-Fi PCIe รุ่น Intel AX211 แบนด์วิธ 160MHz รองรับเทคโนโลยี MU-MIMO, OFDMA, และ Intel vPro เป็น Wi-Fi เวอร์ชั่นล่าสุด ทำงานได้เสถียรรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วและเสถียรมาก ใช้งานได้เป็นอย่างดี

ssd

M.2 NVMe SSD ความจุ 2TB ของ Samsung ที่ทำ RAID 0 ไว้ เมื่อทดสอบด้วย CrystalDiskMark 8 แล้วได้ความเร็ว Sequential Read 13,268.72 MB/s และ Sequential Write 8,793.04 MB/s ถือว่ารับส่งข้อมูลได้เร็วทันใจมาก ไม่ว่าจะเปิด, รีสตาร์ทเครื่องก็ใช้เวลาเพียงอึดใจ เปิดโปรแกรมหรือโหลดไฟล์ใหญ่ๆ ขึ้นมาใช้งานก็ใช้เวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น จัดว่ารวดเร็วทันใจมาก

ด้านการอัพเกรด หากเช็คใน Device Manager ของ ASUS ROG Strix Scar 18 แล้วเป็น RAID 0 มาแล้ว ก็ไม่แนะนำให้อัพเกรดเพราะมันก็เร็วอยู่แล้ว แต่ถ้ารุ่นไหนเป็นแบบธรรมดาจะซื้อ SSD อีกตัวมาติดตั้งเสริมแล้วทำ RAID 0 จะได้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นก็ได้

3dmark

คะแนนจาก 3DMark Time Spy โปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพการเล่นเกมของพีซีเครื่องนั้นๆ เมื่อต่ออแดปเตอร์เปิดโหมด Turbo พอรันแล้วได้คะแนนเฉลี่ยสูงถึง 17,097 คะแนน แยกเป็น CPU score 10,173 คะแนน กับ Graphics score อีก 19,431 คะแนน จัดว่าสูงมากโดยเฉพาะคะแนนการ์ดจอก็สูงจนแซงการ์ดจอแยกสำหรับพีซีหลายๆ รุ่นไปเป็นที่เรียบร้อย ส่วนคะแนนซีพียูหลักหมื่นคะแนนก็จัดว่าแรงพอรันเกมฟอร์มยักษ์ในปัจจุบันได้ทุกเกมอย่างแน่นอน

อธิบายคือ ASUS ROG Strix Scar 18 สามารถเล่นเกมฟอร์มยักษ์ในปัจจุบันได้ทุกเกมบนจอความละเอียด QHD หรือ 4K ก็ได้และยังปรับกราฟิคได้สูงสุดได้ทุกเกมแล้วเฟรมเรทยังสูงและเสถียรอย่างแน่นอน เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเกมเมอร์ที่ชอบความง่ายแค่เปิดเครื่องลงเกมแล้วเริ่มเล่นได้ทันที จะเริ่มใช้จอ QHD ให้ภาพสวยคมชัดขึ้นเลยก็ได้หรือจะเป็นจอ 4K 144Hz ไปเลยก็ไม่มีปัญหาแน่นอน

scar18

 

เมื่อทดสอบเล่นเกม จะเห็นว่า ASUS ROG Strix Scar 18 ทำเฟรมเรทได้สูงเหลือเฟือแม้จะเป็นจอ QHD ของตัวเครื่องก็ยังรีดเฟรมเรทเฉลี่ยได้เกิน 120 เฟรมต่อวินาทีทั้งหมดและยังประคองเฟรมเรทต่ำสุดไว้ได้ดีมาก ไม่ต่ำกว่า 60 เฟรมต่อวินาทีเลยแม้แต่นิดเดียว กล่าวคือ Intel Core i9-13980HX และการ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 4090 แรงจนเอาจอ QHD อยู่สบายๆ ถ้าใครมีงบประมาณพอซื้อจอ 4K 144Hz มาต่อแยกแล้วเล่นเกมได้สบายๆ ถึงปรับกราฟิคสุดมันก็ยังทำเฟรมเรทเฉลี่ยได้เกิน 60~80 เฟรมแน่นอน

ประสบการณ์ตอนเล่นเกมบนจอของเครื่อง ต้องถือว่ามันยอดเยี่ยมภาพลื่นไหลและไม่ฉีกขาดเลยแม้ภาพในเกมจะเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็วก็ตาม ซึ่งถ้าจอไหนที่ไม่มี NVIDIA G-SYNC น่าจะเห็นอาการภาพฉีก (Picture tearing) แน่นอน ตอนผู้เขียนลองเล่น Forza Horizon 5, Apex Legends และ Call of Duty Modern Warfare II แล้ว ไม่มีอาการนี้เลยสักนิดเดียว และถ้าเป็นเกม RPG เสพย์ความสวยของฉากก็ต้องยกข้อดีให้ฟังก์ชั่นที่รองรับ Dolby Vision HDR ด้วย เพราะภาพสวยสีสันสดใสสมจริงมากๆ ใครชอบดูฉากในเกมสวยๆ น่าจะถูกใจแน่นอน

r15
r20

แง่การทำงาน ASUS ROG Strix Scar 18 ก็ทำได้ยอดเยี่ยมเช่นกัน พอทดสอบด้วย CINEBENCH R15 ที่ใช้จำลองการทำงาน 3D และกราฟิคต่างๆ จะเห็นว่าคะแนน OpenGL ทำเฟรมเรทได้สูงถึง 296.69 fps และเก็บคะแนน CPU ได้ถึง 4,835 คะแนน และพอรัน CINEBENCH R20 เพื่อเจาะจงทดสอบพลังของซีพียูจะเห็นว่าได้คะแนน CPU 10,853 pts ซึ่งสูงสมเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระดับเรือธงที่ใช้ทำงานครีเอเตอร์อย่างงานปั้นโมเดล 3D, ตัดต่อวิดีโอหรือเรนเดอร์ภาพก็ทำได้สบายๆ และยังเรนเดอร์งานเสร็จได้อย่างรวดเร็วแถมยัง Preview ตัวอย่างงานหมุนโมเดลไปมาได้ลื่นไหลต่อเนื่องอีกด้วย

pcmark10

คะแนนจาก PCMark 10 โปรแกรมทดสอบการทำงานกับการใช้ทำงานต่างๆ ก็ทำคะแนนได้สูงที่สุดเท่าที่ได้ทดสอบมา กวาดคะแนนเฉลี่ยไปได้สูงถึง 9,207 คะแนน ไม่ว่าจะดูหมวดหมู่ไหน ASUS ROG Strix Scar 18 ก็กวาดคะแนนได้สูงเกินหมื่นคะแนนทั้งหมด ซึ่งงานออฟฟิศไม่ว่าจะทำงานเอกสารต่างๆ หรือเปิดโปรแกรมและประชุมออนไลน์ก็ทำได้ดีมากๆ และจะเห็นว่าหมวด Digital Content Creation หมวดของงานกราฟิคและ 3D เรียกว่ายอดเยี่ยม โดยการ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 4090 ในเครื่องทำผลงานได้ดีมากๆ ถ้าเป็นงานตัดต่อแต่งภาพและปั้นงานโมเดล 3D และงานตัดต่อวิดีโอก็เรียกว่าดีไม่แพ้กัน สามารถตัดต่อไฟล์ 4K60Hz ได้ลื่นไหลและกดดูเล่นคลิปได้สบายๆ

จากผลการทดสอบทั้งหมด สรุปได้ง่ายๆ ว่า ASUS ROG Strix Scar 18 แม้หน้าตาจะเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คซีรี่ส์เรือธงก็ตาม แต่เพราะมีซีพียูและกราฟิคการ์ดตัวท็อปติดตั้งมาให้ มันเลยทำงานครีเอเตอร์ได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน แถมหน้าจอยังมีขอบเขตสีกว้างและเที่ยงตรงอีกด้วยดังนั้นถ้าใครเป็นศิลปินและชอบเล่นเกมด้วยจะลงทุนซื้อเครื่องนี้ไปใช้ทำงานและเล่นเกมก็คุ้มค่าและถอนทุนคืนได้เร็วแน่นอน

Screenshot 2023 03 08 121709

Screenshot 2023 03 04 153817
Screenshot 2023 03 08 120212
Screenshot 2023 03 04 153631
Screenshot 2023 03 04 153701

โปรแกรม Armoury Crate ประจำ ASUS ROG Strix Scar 18 นั้นนอกจากมอนิเตอร์การทำงานของซีพียูกับการ์ดจอ, อุณหภูมิ, รอบพัดลม ฯลฯ ได้อย่างละเอียดแล้ว ยังตั้งค่าตัวเครื่องได้ละเอียดมาก ไม่ว่าจะไฟ RGB “AURA Sync” ปรับทิศทางไมค์ว่าจะให้รับเสียงแบบไหนรวมทั้งเซฟมาโครที่ต้องการใช้งานเอาไว้ใช้ได้ด้วย ถือว่ามีฟังก์ชั่นให้ตั้งค่าตัวเครื่องได้ละเอียดมาก

ด้านจุดสำคัญสำหรับรีดประสิทธิภาพของเครื่องออกมาได้อย่างเต็มที่ ให้ดูตรงหน้าแรกของโปรแกรมกรอบ GPU Mode จะมีตัวเลือก 4 แบบด้วยกัน ได้แก่

  • Ultimate – เร่งประสิทธิภาพของตัวเครื่องให้ออกมาสูงที่สุด ถ้าเลือกโหมดนี้แล้วเครื่องจะบังคับ Restart ใหม่ 1 ครั้ง ถึงจะใช้งานได้
  • Standard – โหมดใช้งานปกติ ประสิทธิภาพสูงแต่รองจาก Ultimate เน้นใช้งานทั่วไป
  • Eco Mode – โหมดประหยัดพลังงาน ใช้แต่การ์ดจอออนบอร์ดของซีพียูเท่านั้น
  • Optimized – โหมดปล่อยให้ตัวเครื่องจัดการเองว่าจะใช้กราฟิคการ์ดไหนทำงานอะไร

ซึ่งถ้าใครอยากให้เครื่องทำงานเต็มที่ เล่นเกมได้เฟรมเรทสูงสุดและทำงานได้ไหลลื่น ให้กดโหมด Ultimate จากนั้นเปลี่ยนโหมดตัวเครื่องเป็น Turbo ด้วย แต่เสียงพัดลมจะดังพอสมควร ถ้าอยากใช้งานง่ายๆ ก็เลือก Optimized ให้เครื่องตัดสินใจเลือกใช้การ์ดจอเองก็สะดวกเช่นกัน

Screenshot 2023 03 04 153443

Screenshot 2023 03 04 153605
Screenshot 2023 03 04 153518

อีกโปรแกรมประจำเครื่องอย่าง MyASUS เป็นโปรแกรมสำหรับมอนิเตอร์ตัวเครื่องและอัพเดทเฟิร์มแวร์ได้และเอาไว้ติดต่อกับทาง ASUS ได้กรณีเครื่องมีปัญหาต้องให้ช่างเข้ามาดูแล แต่คำสั่งตั้งค่าเครื่องส่วนใหญ่ถูกย้ายไปอยู่ในโปรแกรม Armoury Crate แทน ดังนั้นจะใช้โปรแกรมนี้ติดต่อทางบริษัทก็ได้

Battery & Heat & Noise

Strix Scar G18 DSC01071

แบตเตอรี่ใน ASUS ROG Strix Scar 18 เป็นแบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลีเมอร์ (Li-Polymer) ความจุ 90Wh ถ้านับเป็น Typical Capacity จะมีความจุ 5,800mAh ส่วน Rated Capacity ได้ 5,630mAh ด้วยกัน เป็นแบตเตอรี่ขนาดค่อนข้างใหญ่พอจ่ายไฟเลี้ยงระบบให้เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คใช้งานได้นานพอสมควร

batt saving mode

หลังจากทดสอบตามาตรฐานของทางเว็บไซต์โดยเปิดความสว่างหน้าจอ 50% และลำโพง 10% ใช้โหมด Silent และตั้งค่าในโปรแกรม Armoury Crate ให้เป็นการ์ดจอออนบอร์ดเท่านั้นแล้วดูคลิปใน Microsoft Edge นาน 30 นาทีเช่นเดิม พบว่าแบตเตอรี่ 90Wh ในเครื่องสามารถใช้งานได้นานสุด 4 ชั่วโมง 38 นาที ถือว่านานพอใช้จนประชุมหรือเข้าคลาสเรียนจบได้ ถ้าใช้งานทั้งวันควรพกอแดปเตอร์ไปด้วย ถ้าเทียบกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระดับเรือธงสเปคไล่เลี่ยกันที่ให้แบตเตอรี่ 99Wh มาแล้วใช้ได้ราว 5 ชั่วโมงแล้ว ถือว่า ASUS ROG Strix Scar 18 แม้แบตเตอรี่น้อยกว่าก็ยังใช้ได้นานไล่เลี่ยกันถือเป็นเรื่องดีทีเดียว

Strix Scar G18 DSC01061

Strix Scar G18 DSC01062
Strix Scar G18 DSC01063
Strix Scar G18 DSC01064
Strix Scar G18 DSC01065
Strix Scar G18 DSC01077
Strix Scar G18 DSC01076

ชุดระบายความร้อน ROG Intelligent Cooling ในเครื่องจะมีฮีตไปป์ 7 เส้น นำความร้อนจากซีพียูและการ์ดจอแยกที่ทา Conductonaut Extreme โลหะเหลวนำความร้อน (Liquid Metal) ของ Thermal Grizzly มายังฮีตซิ้งค์แล้วระบายออกด้วยพัดลมโบลเวอร์ 2 ตัวออกด้านข้างและหลังเครื่อง มีจุดน่าสนใจอยู่ตรงพัดลมโบลวเวอร์ตัวเล็กระหว่างแรมและ M.2 NVMe SSD ซึ่งทาง ASUS ติดดมาเพื่อเป่าลมเย็นเข้าไประบายความร้อน VRAM โดยเฉพาะให้แรมการ์ดจอเย็นลงแล้วทำงานได้ดี อายุการใช้งานนานขึ้น

แต่จุดสังเกต คือ ทาง ASUS หมายเหตุเอาไว้บนหน้าเว็บไซต์ คือ Liquid Metal จะใส่มาเฉพาะรุ่นที่ติดตั้งการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce RTX 4080 และ RTX 4090 เท่านั้น นั่นหมายความว่ารุ่นการ์ดจอแยก RTX 4060, RTX 4070 ยังเป็นชุดระบายความร้อนแบบมาตรฐานอยู่ ซึ่งผู้ใช้บางคนอาจนึกเสียดายอยู่บ้าง แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวที่มีคนใกล้ตัวใช้เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คระบบ Liquid Metal นั้น เมื่อเกิดปัญหากับระบบนี้เมื่อไหร่จะซ่อมหน้างานไม่ได้ ต้องยกเครื่องกลับไปซ่อมโดยใช้อุปกรณ์และเครื่องมือเฉพาะเท่านั้น ดังนั้นแม้ Liquid Metal จะระบายความร้อนดีแค่ไหน แต่ถ้าเกิดปัญหาเมื่อไหร่ก็เรื่องใหญ่เช่นกัน

normaltemp strix scar 18
high temp

เทียบอุณหภูมิเวลาใช้งานปกติและอุณหภูมิสูงสุดเวลาเปิดโหมด Turbo เล่นเกมหรือทำงานกราฟิคแล้ววัดด้วย CPUID HWMonitor แล้ว อุณหภูมิของชิ้นส่วนต่างๆ จะได้ผลตามตารางด้านล่างนี้ โดย SSD Samsung ทั้ง 2 ตัว ผู้เขียนจะอิงจากคู่ที่ถัดลงมาจากซีพียู Intel Core i9-13980HX จะได้ผลดังนี้

รูปแบบการใช้งาน / อุณหภูมิของอุปกรณ์ ใช้งานปกติ
(เซลเซียส)
ใช้งานปกติเฉลี่ย
(เซลเซียส)
อุณหภูมิสูงสุด
(เซลเซียส)
สูงสุดเฉลี่ย
(เซลเซียส)
CPU 54~79 56 53~100 93
กราฟิคการ์ด 47~50 49 47~59 58
Samsung SSD บน 46.3~46.5 46.5 44~58.8 54.3
Samsung SSD ล่าง 47~47.5 47.5 44.3~59.5 55

จะเห็นว่าอุณหภูมิของ ASUS ROG Strix Scar 18 ตอนใช้งานปกติก็เย็นใช้งานได้ดี แต่เวลาเล่นเกมแล้วอุณหภูมิโดยเฉพาะซีพียูจะขึ้นสูงไปแตะ 100 องศาเซลเซียส แต่ตอนใช้งานจริงประสิทธิภาพก็ไม่ลดลงและความร้อนก็ไม่แผ่ขึ้นจากช่องคีย์บอร์ดเลย แต่โซนเหนือคีย์บอร์ดนับตั้งแต่ปุ่ม M1~M5 จะอุ่นขึ้นจนรู้สึกได้และเสียงพัดลมก็ดังพอสมควร เมื่อวัดเสียงแล้วดังราว 60dB ซึ่งดังพอสมควรจนบางคนอาจไม่ชอบอย่างแน่นอน แนะนำให้ครอบเกมมิ่งเฮดโฟนตอนเล่นเกมจะพอช่วยแก้ปัญหานี้ได้ระดับหนึ่ง

User Experience

Strix Scar G18 DSC01160

ASUS ROG Strix Scar 18 เหมาะสมกับคำจำกัดความว่า “แรงเหลือเฟือ” มาก จากที่นำไปลองใช้งานมาราว 1 สัปดาห์ ในแง่ประสิทธิภาพตอนใช้งานเรียกว่าหายห่วง จะงานหนักเบาแค่ไหนมันก็ทำได้สบายๆ แถมยังเล่นเกมปรับกราฟิคสุดบนจอ QHD ของเครื่องได้ไหลลื่นมากๆ เรียกว่ามันเป็นเกมมิ่งพีซีสเปคเฉียดแสนบาทที่ใส่กระเป๋าติดตัวไปไหนมาไหนก็ไม่ผิด เหมาะกับคนมีงบอยากได้คอมแรงๆ เอาไว้ใช้แต่ไม่อยากประกอบคอมเองแล้วไม่อยากเหนื่อยแก้ปัญหาตอนเครื่องเสียก็ กำเงินมาซื้อ Strix Scar 18 ตัวนี้ไปเลย ซึ่งสเปคก็แรงใช้งานได้อย่างน้อยต้องมี 5 ปีขึ้นแน่นอน แถมมีประกัน ASUS Perfect Warranty ให้ด้วย เวลาเครื่องมีปัญหาก็เรียกช่างมาดูแลเอา

จุดที่ผู้เขียนชอบเป็นส่วนตัว ต้องยกให้พอร์ตเชื่อมต่อหน้าจอ ได้แก่ HDMI 2.1, Thunderbolt 4 และ USB-C 3.2 Full Function เลยต่อจอแยกพร้อมกันได้หลายจอหรือจะเอาจอเดียวเต็มๆ ก็ต่อจอเกมมิ่ง 4K 144Hz เข้า HDMI 2.1 แล้วเล่นเกมไปก็ได้ ซึ่งพลังของ RTX 4090 นั้นเอาอยู่แน่นอน ถ้าพกไปทำงานแล้วในออฟฟิศมีจอแบบต่อสาย USB-C ได้ยิ่งดี เลือกได้เลยว่าจะต่อเข้า Thunderbolt 4 หรือ USB-C Full Function ใช้งานได้เลย แถมก็ไม่รกเกะกะมาก และถ้า USB-C ของจอรองรับ Power Delivery กระแสไฟ 100 วัตต์ ก็ทิ้งอแดปเตอร์ไว้บ้านไว้ใช้งานตอนเล่นเกมก็พอ และส่วนตัวคิดว่าถ้าเกมเมอร์หรือครีเอเตอร์คนไหนชอบปิดไฟในห้องตอนทำงานหรือเล่นเกม ไฟ RGB “AURA Sync” ตรงขอบหน้าและหลังเครื่องก็สร้างบรรยากาศเกมมิ่งได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ

ด้านระบบระบายความร้อนถึงมันจะระบายความร้อนได้ดีมากๆ คุมอุณหภูมิได้ดีและไม่เจออาการร้อนจนประสิทธิภาพตกเลยก็จริง แต่ต้องแลกกับเสียงพัดลมที่ดังพอสมควร ถ้าใช้โหมด Performance และ Turbo ก็จะดังเอาเรื่องจนบางครั้งกลบเสียงเกมได้เลย เป็นจุดแลกเปลี่ยนหากอยากได้เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คดีๆ เอาไว้ใช้สักเครื่อง ก็ต้องยอมกับระบบระบายความร้อนที่เสียงดังสักนิด

แง่น้ำหนักเฉพาะเครื่องอย่างเดียวก็หนักถึง 3 กิโลกรัมแล้ว ถึงจะหนักไล่เลี่ยกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คขนาดจอเท่ากันก็ตาม แต่พอรวมกับอุปกรณ์เสริมและของใช้อื่นๆ ในกระเป๋าเชื่อว่าจะไม่อยากพกติดตัวเป็นประจำอย่างแน่นอน และ ASUS ROG Strix Scar 18 นี้ต้องใช้กระเป๋าสำหรับโน๊ตบุ๊ค 17.3 นิ้ว ถึงจะใส่ได้อีกด้วย ซึ่งถ้าใครพกเครื่องไปไหนมาไหนแค่ระยะสั้นๆ ผู้เขียนคิดว่าไม่มีปัญหานัก แต่ถ้าแบกไปกลับออฟฟิศแล้วนั่งขนส่งสาธารณะเชื่อว่าไม่มีความสุขอย่างแน่นอน

Conclusion & Award

Strix Scar G18 DSC01159

ASUS ROG Strix Scar 18 นับเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คแบบ Desktop Replacement ตัวแรงประจำต้นปี 2023 ซึ่งถ้าใครกำเงินเอาไว้ประมาณ 85,000 บาท ก็เลือกได้เลยว่าถ้าเน้นทำงานครีเอเตอร์เป็นหลักก็ซื้อรุ่นเริ่มต้นการ์ดจอ GeForce RTX 4060 แล้วเอาเงินไปอัพเกรดแรมเป็น 32GB และซื้อเกมมิ่งเกียร์ก็ดี ถ้าเน้นเล่นเกมอย่างเดียวก็จบรุ่นการ์ดจอ GeForce RTX 4070 ก็ได้ ในส่วนนี้ต้องดูตามโจทย์การใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนว่าจะเอา ROG Strix Scar 18 ไปทำอะไรบ้าง แต่เชื่อว่าใครลงทุนซื้อมันไปใช้ไม่เสียใจภายหลังอย่างแน่นอน

award

award new Gaming

best gaming

การ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 4000 Series ใน ROG Strix Scar 18 จัดว่าแรงเหลือใช้ พอรวมกับสเปคทั้งเครื่องแล้ว เกมเมอร์จะต่อจอแยกหรือเล่นบนจอ QHD ของเครื่องก็ปรับกราฟิคสูงสุดได้สบายๆ

award new performance

best performance

ผลจากการทดสอบทั้งหมดถือว่า ROG Strix Scar 18 นั้นทรงพลังมาก สามารถใช้โปรแกรมกินทรัพยากรมหาศาลหลายๆ โปรแกรมในปัจจุบันได้สบายๆ ไม่ว่าจะงานตัดต่อวิดีโอหรือทำโมเดล 3D ก็ไม่หวั่นแน่นอน

NBS award 7 Design

best design

ดีไซน์ของ ASUS ROG Strix Scar 18 ภายนอกก็ยังคงดีไซน์ตระกูล ROG เอาไว้อย่างเหนียวแน่น แต่ในแง่รายละเอียด ทาง ASUS ก็ปรับปรุงในส่วนที่เคยมีปัญหาในรุ่นก่อนอย่างเก็บสายแพ Lightbar ได้สวยงามและปลอดภัยแถมยังเพิ่มพัดลมมาระบายความร้อน VRAM โดยเฉพาะด้วย ถือเป็นการแก้จุดบอดในรุ่นก่อนได้อย่างสวยงาม

from:https://notebookspec.com/web/691962-review-asus-rog-strix-scar-18

10 อันดับโน๊ตบุ๊ค 10000 บาท จอใหญ่ แรม 8GB มีวินโดว์พร้อมใช้ ดูหนังเพลิน

10 อันดับโน๊ตบุ๊ค 10000 บาท จอใหญ่ Full-HD มี SSD พร้อม Windows แรม 8GB เบา เทรดหุ้น ดูหนังครบ

Top 10 value notebook 10000B cov

10 อันดับโน๊ตบุ๊คเริ่ม 10000 บาท จ่ายเบาๆ ได้จอใหญ่ น้ำหนักเบา พกพาสะดวก มีอยู่จริง รวมมาให้แล้ว เป็นรุ่นเด็ดต้นปี 2023 นี้ สำหรับสายทำงานและบันเทิง ที่ต้องการโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพดี รองรับการใช้งานในชีวิตประจำวันได้ เริ่มต้นกับการเรียน หรือการศึกษาของเด็กๆ ไปจนถึงการดูหนัง 4K ที่เป็นจอขนาดใหญ่ 15.6″ ความละเอียด Full-HD แล้วด้วย ให้ภาพที่ดูได้อย่างเต็มตา และมาพร้อมแรม 8GB บางรุ่นเป็น 16GB รวมถึงใส่ SSD มาด้วยเช่นกัน เพื่อความลื่นไหล ซีพียูมีให้เลือกตั้งแต่น้องเล็กอย่าง Intel Celeron หรือ AMD Athlon ไปจนถึง Intel Core i Generation แต่ที่สำคัญมี Windows มาให้พร้อมใช้ เปิดเครื่องมา ก็ทำงานได้เลย ไม่ต้องซื้อเพิ่ม แต่ละรุ่นจัดว่าเด็ด แต่มีรุ่นไหนที่จะโดนใจคุณบ้าง ไปติดตามชมกันครับ

10 อันดับโน๊ตบุ๊ค 10000 บาท


โน๊ตบุ๊ค 10000 บาท เลือกแบบไหนดี?

ทำงานเอกสาร เรียน ประชุมออนไลน์

Advertisementavw
10 อันดับ

สำหรับโน๊ตบุ๊คงบ 10000 บาท อยู่ในกลุ่มที่รองรับการใช้งานด้านงานเอกสาร และในสำนักงานเบื้องต้นได้ แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องใช้ทรัพยากรมาก เช่น เปิดไฟล์ขนาดใหญ่ หรือใช้โปรแกรมที่ต้องอาศัยแรม และซีพียู เช่น โปรแกรมสร้างพรีเซนเทชั่น เปิดเอกสารทีเดียวจำนวนมาก ซีพียู 2 core/ 4 thread เป็นตัวเริ่มต้นได้ แต่ควรมีแรมอย่างน้อย 8GB เพื่อให้การทำงานลื่นขึ้น ส่วนการจัดเก็บข้อมูล หากมีจำนวนมาก แนะนำว่าให้ใช้ SSD 512GB หรือใช้บริการ Cloud Storage น่าจะสะดวกมากยิ่งขึ้น จอขนาดใหญ่ ช่วยให้มีพื้นที่ในการประชุมและมองเห็นข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

เทรดหุ้น ท่องอินเทอร์เน็ตหาข้อมูล

10 อันดับ

การใช้งานด้านเทรดหุ้น แม้จะมองว่าการดูกราฟ จะต้องใช้สเปคแรงด้วยหรือ? ถ้าเป็นการดูข้อมูลเฉยๆ ซีพียูรุ่นน้องเล็ก ก็เพียงพอ แต่ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะควบคู่ไปกับการหาข้อมูลตลาด การฟังข่าวหรือการรีเช็คราคาที่ผ่านมาในอดีต ดังนั้นจึงเป็นการทำงานแบบมัลติทาส์ก เพราะต้องประมวลผลหลายอย่างพร้อมกัน การมีซีพียูในระดับที่สูงขึ้น เช่น Intel Core i3 หรือ AMD Ryzen 3 กับแรมอย่างน้อย 8GB ก็ช่วยให้ไหลลื่นขึ้น แต่ถ้าเปิดแท็ปเว็บเบราว์เซอร์ค่อนข้างเยอะ แนะนำว่าแรม 16GB เหมาะสมมากกว่า จอใหญ่ไฟสว่าง ก็ไม่ต้องซูมบ่อย ยกเว้นจะพกพาด้วยจอ 14″ FHD ก็เพียงพอแล้ว

ดูหนัง เล่นเกมออนไลน์เบาๆ

10 อันดับ

โน๊ตบุ๊ค 10000 บาท เป็นโน๊ตบุ๊คที่อาจจะคาดหวังกับการเล่นเกมได้ยาก แต่ถ้าเป็นเกมออนไลน์เบาๆ เช่น ยิงไข่ ไล่ซอมบี้ เรียงเพชรหรือจะเป็นแนว 2D ในแบบต่างๆ สามารถทำได้สบายๆ ดังนั้นหากคุณต้องการเล่นเกมหนักๆ ก็อาจจะต้องลองเริ่มต้นกับการตั้งค่าในเกม ปรับ Detail ให้เหมาะ แต่สุดท้ายไม่ได้ ก็คงต้องขยับไปที่เกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค ปัจจุบันเริ่มที่ประมาณ 20000 บาท ส่วนการดูหนัง Full-HD, 4K และใช้เพียงหน้าจอเดียว เลือกรุ่นประหยัดสุด ก็ยังไหว แต่อยากให้เป็นแรม 8GB ดูน่าสนใจกว่า และถ้ามีน้องๆ หนูๆ เล่นด้วยกัน จัดจอใหญ่ 15.6″ ก็แบ่งปันกันดูได้ดียิ่งขึ้น


1.Acer Aspire 3 A314-35

10 อันดับ

โน๊ตบุ๊คที่มาแบบครบครัน ใน 10 อันดับครั้งนี้ กับสายพันธุ์ของ Aspire 3 ที่ออกแบบมาลงตัวกับผู้ใช้ในกลุ่มคนทำงาน ไลฟ์สไตล์และนักเรียน ขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบาแค่ 1.6Kg สเปคพอใช้ท่องเน็ต ทำงานเอกสาร และดูหนังบนจอ 14″ Full-HD ได้ลื่นๆ กับซีพียู Intel Pentium N6000 (2 core/ 4 thread) พร้อมแรม 4GB ที่อัพเกรดเพิ่มได้ และใส่ฮาร์ดไดรฟ์มา 500GB รุ่นนี้เท่าที่เช็ค มีโมเดลที่เป็น SSD 256GB ด้วย มี Windows 10 มาให้ คีย์บอร์ดไม่มีแสงไฟ และแบตค่อนข้างเล็กไปนิด เคาะราคามา 8,990 บาท เท่านั้น ไปช้อปกันได้ ที่นี่

จุดเด่น ข้อสังเกต
น้ำหนักเบา แรม 4GB
ให้พอร์ตมาเยอะ

รายละเอียดเพิ่มเติม: Acer


2.IPASON MAXBOOK P2 PRO-P981

10 อันดับ

ติด 10 อันดับ โน๊ตบุ๊คราคาไม่ถึงหมื่นบาท IPASON แบรนด์น้องใหม่ในบ้านเรา ที่กระแสตอบรับดี บอดี้ที่บางเบา ฟังก์ชั่นจัดเต็ม ทั้งสแกนลายนิ้วมือ กางได้ 180 องศา คีย์บอร์ด Full-size แต่เสียดายที่ไม่มีไฟ Backlit มาให้ แต่ก็ได้อย่างอื่นแทน เช่น แรม 16GB ใส่ซีพียู Intel Celeron มาให้ แต่เป็นรุ่นใหม่ 4 core/ 4 thread กราฟิก Intel UHD สำหรับการใช้งานพื้นฐานทั่วไป หน้าจอ IPS 15.6” Full-HD สีสดใส พอร์ตใหม่ๆ USB-C และ HDMI มีให้ครบ พร้อมแบตขนาดใหญ่ Windows 11 พร้อมใช้ ตัวเครื่องรับประกัน 2 ปี ราคาแค่ 9,890 บาท แต่เวลานี้ค่อนข้างหายากนิดนึงครับ ไปช้อปได้ ที่นี่

จุดเด่น ข้อสังเกต
ให้แรมมาเยอะ ไม่มีไฟคีย์บอร์ด
กางจอได้ 180 องศา

รายละเอียดเพิ่มเติม: IPASON


3.Lenovo IdeaPad 1 15IGL7

10 อันดับ

สำหรับโน๊ตบุ๊ค 10000 สุดประหยัดรุ่นนี้ ดีกรีไม่ธรรมดา วัสดุดูดี งานประกอบแน่น หน้าจอใหญ่ 15.6″ Full-HD ดูหนังเต็มตา ทำงานก็สะดวก เล่นเกมออนไลน์เบาๆ ขุมพลัง Intel Pentium N4020 กับกราฟิก Intel UHD ก็พอไหว งาน 2D/3D พรีเซนเทชั่นทั่วไป ไม่ยาก มาพร้อมแรม 4GB เสียดายที่อัพแรมเพิ่มไม่ได้ ส่วน SSD มีให้ 256GB พอร์ตก็มีให้ครบๆ USB-C, HDMI ใส่ Card Reader มาให้ด้วย พร้อม Windows 11 Home พร้อมใช้งาน แบตใหญ่ น้ำหนัก 1.5Kg ประกัน 2 ปี แต่เป็นอุบัติเหตุ 1 ปีด้วยนะ ราคาประมาณ 9,990 บาทเท่านั้น ไปช้อปได้ ที่นี่

จุดเด่น ข้อสังเกต
จอใหญ่สีสดใส มีแรมให้ 4GB
วัสดุค่อนข้างดี

รายละเอียดเพิ่มเติม: Lenovo


4.HP 15s-eq1575AU

10 อันดับ

เป็นอีกหนึ่งใน 10 อันดับโน๊ตบุ๊คสไตล์บางๆ ที่มีความพรีเมียม หน้าจอ 15.6″ Full-HD กว้างขวาง ขอบจอบาง เอาใจคนทำงานและการเริ่มต้นเรียนรู้ของเด็กๆ แถมยังให้ Windows 11 Home มาแล้วด้วย โดยมีขุมพลัง AMD Athlon Gold 3150U เป็นน้องเล็ก ทำงาน 2 core/ 4 thread พร้อมแรม 8GB อัพเกรดเพิ่มได้ในภายหลัง กราฟิก AMD Radeon ดูหนัง เล่นเกมเบาๆ เอาใจน้องๆ ยังไหว ใช้เทรดหุ้นก็ลื่นดี มี SSD 256GB คีย์บอร์ด Full-size ใส่แบตมากลางๆ พอร์ต USB-C, HDMI มีให้ครบ น้ำหนักประมาณ 1.7Kg ประกัน 2 ปี ราคา 11,390 บาท ไปช้อปได้ ที่นี่

จุดเด่น ข้อสังเกต
ให้แรมมา 8GB น้ำหนักค่อนข้างเยอะ
พอร์ตเยอะ พร้อม USB-C

รายละเอียดเพิ่มเติม: HP


5.ASUS Vivobook 15 X1500EA-EJP01W

10 อันดับ

สำหรับ Vivobook 15 ก็มาตามคาด กับราคาที่ดีงาม บอดี้ที่ถอดแบบมาจากรุ่นพี่ บางสวย แม้ซีพียูจะเป็นน้องเล็ก Pentium Gold 7505 แต่ถือว่าสดใหม่ เรี่ยวแรงพอใช้งานในหลายๆ ด้านได้ พร้อมแรม 4GB อัพเกรดเพิ่มได้ และ SSD 512GB หาได้ยากในราคาประมาณนี้ พอร์ตมีทั้ง USB-C และ HDMI หน้าจอ 15.6″ Full-HD กว้างขวาง สำหรับงานและความบันเทิง แม้จะไม่ได้เสริมฟีเจอร์พิเศษมามากมาย แต่ก็สะดวกต่อการใช้งานพื้นฐาน โดยมี Windows 11 พร้อมใช้ประกัน 2 ปี ราคา 12,990 บาท ไปช้อปได้ ที่นี่

จุดเด่น ข้อสังเกต
ดีไซน์บาง กระทัดรัด มีแรม 4GB

รายละเอียดเพิ่มเติม: ASUS


6.Lenovo V15 G3 ABA 82TV004VTA

10 อันดับ

เป็นโน๊ตบุ๊คในกลุ่มทำงาน บอดี้ที่ดูพรีเมียม ดูสบายตา ราคา 10000 บาทนิดๆ ได้สเปคใหม่หมดจด เหมาะทั้งเรียน ทำงาน และความบันเทิง กับซีพียู AMD Ryzen 3 5425U รุ่นใหม่ คู่กับแรม 8GB อัพเกรดเพิ่มได้ และให้ SSD 256GB บนจอแสดงผล 15.6″ กราฟิกสามารถเล่นเกมเบาๆ ได้ ดูหนัง 4K ระบบเสียงก็ถือว่าดี พร้อมพอร์ต USB-C ชาร์จเร็ว และต่อจอได้ แบตอาจจะน้อยไปบ้าง สำหรับจอใหญ่แบบนี้ และไม่มี OS มาให้ น้ำหนักประมาณ 1.7Kg พกได้ไม่ยาก ประกัน 1 ปี ราคา 12,990 บาท ถ้าใครอยากได้ Windows ด้วย ขยับไป IdeaPad 3 ก็ได้ เพิ่มอีกประมาณพันนึงครับ ไปช้อปได้ ที่นี่

จุดเด่น ข้อสังเกต
วัสดุแข็งแรง น้ำหนัก 1.7Kg
ได้แรม 8GB

รายละเอียดเพิ่มเติม: Lenovo


7.ASUS X515JA-EJ331W

10 อันดับ

10 อันดับโน๊ตบุ๊คราคาหมื่นนิดๆ แต่ได้เป็น Intel Core i3 Gen10 ได้แรงเพิ่มอีกนิด 2 core/ 4 thread ให้เร่งสปีดงานต่างๆ ได้ดีขึ้น เหมาะกับการใช้งานทั่วไป และความบันเทิงภายในบ้าน จอใหญ่ 15.6″ Full-HD กับบอดี้ที่ทำออกมาได้ดี ตามสไตล์ ASUS แรมให้มา 4GB แต่อัพเกรดเพิ่มได้ภายหลัง SSD 512GB จัดเต็มมาให้แล้ว พอร์ต USB-C, HDMI มีให้ครบ คีย์บอร์ดฟอนต์ใหญ่ เห็นได้ชัดเจน มี Windows 11 Home มาพร้อมใช้ แบตอาจจะเล็กไปบ้าง น้ำหนักค่อนข้างเยอะหน่อย 1.7Kg แต่เรื่องสเปคและการอัพเกรดไม่ได้เป็นรองใคร รับประกัน 2 ปี ในราคาสบายกระเป๋า 12,990 บาท ไปช้อปได้ ที่นี่

จุดเด่น ข้อสังเกต
จอใหญ่ ขอบจอบาง มีแรม 4GB
มีพอร์ตให้เยอะ

รายละเอียดเพิ่มเติม: ASUS


8.Infinix Book X2 I5 71008300113

10 อันดับ

Infinix Book เป็นโน๊ตบุ๊คที่เปิดตัวมาได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว กับความบางเบา ราคาเข้าถึงง่าย จุดแข็งที่บอดี้อะลูมิเนียมทั้งตัว สีสันสดใส พร้อมให้ Windows 11 มาด้วย นอกเหนือจากสเปค Intel Core i5-1035G1 พร้อมแรม 8GB และให้ SSD 512GB มาใช้งาน หน้าจอขนาด 14″ Full-HD พาแนล IPS คมชัด ขอบเขตสีกว้าง พอร์ตจัดวางให้ครบครัน รวม USB-C และ HDMI ที่สำคัญคือ คีย์บอร์ดกดง่าย มีไฟ Backlit แบตอึด หาตัวเทียบยากในราคาเดียวกัน รับประกัน 1 ปี น้ำหนัก 1.24Kg ใครที่ชอบความบางเบา พกพาง่าย บอดี้แกร่ง ไม่ควรพลาด ราคา 13,900 บาท ไปช้อปได้ ที่นี่

จุดเด่น ข้อสังเกต
ให้แรม 8GB
ซีพียู Intel Core i5

รายละเอียดเพิ่มเติม: Infinix


9.Lenovo IdeaPad Flex 5i

10 อันดับ

เข้ามาใน 10 อันดับ กับ Lenovo ที่มีโมเดลในตลาดเริ่มต้นค่อนข้างเยอะ เช่นเดียวกับรุ่นนี้ ที่ราคาจะสูงนิดนึง แต่ได้ลูกเล่นเพียบ เช่นการพับจอเป็นโหมดต่างๆ รองรับทัชสกรีน 14″ Full-HD พาแนล IPS คมชัด มุมมองกว้าง ซีพียู Intel Core i3 Gen 11 ให้แรม 4GB ออนบอร์ด แต่อัพเพิ่มไม่ได้ SSD 256GB มาตรฐาน กราฟิก Intel UHD Graphic ให้พอร์ตมาเยอะ USB-C และ HDMI แถมยังมีไฟคีย์บอร์ด มาอีกด้วย รวมถึงระบบสแกนลายนิ้วมือ บอดี้อะลูมิเนียม น้ำหนักตัวแค่ประมาณ 1.5Kg เท่านั้น ราคา 13,990 บาท ไปช้อปได้ ที่นี่

จุดเด่น ข้อสังเกต
พับจอได้ 360 องศา ให้แรม 4GB
บอดี้แข็งแรง

รายละเอียดเพิ่มเติม: Lenovo


10.HP 15s-fq5154TU

10 อันดับ

HP 15s รุ่นนี้ทำราคากับสเปคได้ดีน่าสนใจเข้ามาใน 10 อันดับโน๊ตบุ๊คนี้ ด้วยบอดี้ที่น่าจะถูกใจสายพรีเมียม เพราะดูเหมือนลายอลูมิเนียมปัดเสี้ยนมาสวยๆ หน้าจอ 15.6″ Full-HD มาให้ และใส่ซีพียู Intel Core i3-1215U รุ่นใหม่ แรง ประหยัดไฟ พร้อมแรม 8GB และ SSD 256GB กราฟิก Intel UHD มี Windows 11 Home พร้อมใช้ แบตจัดได้ว่ากลางๆ แต่ก็ใหญ่กว่าในหลายรุ่น พอร์ตมี USB-C พอให้ใช้กับ HDMI น้ำหนักตัว 1.69Kg ส่วนตัวถือว่าทำได้ค่อนข้างดี การรับประกัน 2 ปี ราคา 13,900 บาท แต่ซื้ออนไลน์ถูกลงอีก ใครชอบสไตล์นี้ จัดได้เลย ไปช้อปได้ ที่นี่

จุดเด่น ข้อสังเกต
บอดี้แข็งแรง ดีไซน์สวย น้ำหนัก 1.69Kg
ให้แรม 8GB

รายละเอียดเพิ่มเติม: HP


Conclusion

Model Display CPU RAM Storage Graphic Weight Price
1.Acer Aspire 3 A314 14″ FHD Intel Pentium N6000 4GB 256GB Intel UHD 1.62Kg 8,990
2.IPASON MAXBOOK P2 15.6″ FHD Intel Celeron N5105 16GB 256GB Intel UHD 1.5Kg 9,890
3.Lenovo IdeaPad 1 15.6″ FHD Intel Pentium N4020 4GB 256GB Intel UHD 1.5Kg 9,990
4.HP 15s-eq1575AU 15.6″ FHD AMD Athlon Gold 3150U 8GB 256GB AMD Radeon 1.7Kg 11,390
5.ASUS Vivobook 15 15.6″ FHD Intel Pentium Gold 7505 4GB 512GB Intel UHD 1.8Kg 12,990
6.Lenovo V15 G3 15.6″ FHD AMD Ryzen 3 5425U 8GB 256GB AMD Radeon 1.7Kg 12,990
7.ASUS X515JA 15.6″ FHD Intel Core i3-1005G1 4GB 512GB Intel UHD 1.7Kg 12,990
8.Infinix Book X2 I5 14″ FHD Intel Core i5-1035G1 8GB 512GB Intel UHD 1.24Kg 13,900
9.Lenovo IdeaPad Flex 5i 14″ FHD Intel Core i3-1115G4 4GB 256GB Intel UHD 1.5Kg 13,990
10.HP 15s 15.6″ FHD Intel Core i3-1215U 8GB 256GB Iris Xe 1.69Kg 13,900

10 อันดับโน๊ตบุ๊คในราคา 10000 บาท สเปคที่เราเห็นกันส่วนใหญ่ ออกแบบมาเพื่องานพื้นฐาน เช่น งานเอกสาร ท่องเน็ตหรือความบันเทิงทั่วไป แต่ถ้าขับไปหมื่นต้นๆ มีตัวเลือกอย่าง Intel Core i3 หรือ i5 ให้ได้ใช้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณ เราขอสรุปกันแบบง่ายๆ ดังนี้ครับ

เน้นงบน้อยไม่ถึงหมื่นบาท มีทั้ง Acer และ IPASON และ Lenovo ซึ่ง IPASON ทำได้ดีทั้งสเปคและฟังก์ชั่น แต่ตอนนี้หาซื้อยากหน่อย

แต่ถ้าหมื่นต้นๆ ก็มี HP 15s, ASUS Vivobook และ Lenovo V15 ที่ส่วนใหญ่ให้แรมมากขึ้น และซีพียูที่แรงกว่า เช่น ซีพียู Core i และแรม 8GB เป็นต้น

ส่วนในกลุ่ม 13,900 บาท จะเป็นตัวสุดในราคานี้ มีทั้ง Infinix, HP15s และ Lenovo IdeaPad ซึ่ง Infinix ใส่ซีพียู Core i5 มาให้ แต่ Lenovo พับจอกับทัชสกรีนได้ แต่ HP 15s ได้ซีพียู Intel Gen 12 รุ่นใหม่ ก็เรียกว่าวัดใจกันพอสมควรครับ ทั้งหมดนี้เป็นกลุ่มโน๊ตบุ๊คราคาประหยัด ทั้ง 10 รุ่นที่เราเอามาแนะนำกันในวันนี้ครับ มีความคิดเห็นกันอย่างไร คอมเมนต์กันเข้ามาได้เลยครับ

from:https://notebookspec.com/web/688656-10-value-notebook-10000-2023

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค 2023 คอมช้า ไม่ทันใจ ใส่แรมใหม่ เลือกอย่างไร แบบไหนดี คุ้ม!

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค ไม่ต้องซื้อคอมใหม่ 2023 อัพเกรดง่าย เร็ว ทำเองได้ เลือกแบบไหน ดูอย่างไร ไปชม!

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ทำได้ง่ายขึ้น และเป็นวิธีที่ทำให้ระบบมีความเร็วเพิ่มขึ้นได้ ยิ่งในปัจจุบันแรมรุ่นใหม่ๆ อย่าง DDR5 ก็เริ่มมีมาให้ใช้งานกันบ้างแล้ว ความแรงเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพดีขึ้น อย่างไรก็ดีใครที่ใช้โน๊ตบุ๊ครุ่นเก่า หรือเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่ใช้เริ่มช้า อาจจะยังไม่ต้องซื้อใหม่ เพราะบางครั้งแค่อัพเกรดแรม ก็ทำงานลื่นขึ้นแล้ว แต่การอัพเกรดก็ต้องตรวจเช็คให้แน่ใจ ว่าโน๊ตบุ๊คที่ใช้รองรับการอัพเกรดแรมหรือไม่ ใช้แรมแบบใด มีสล็อตเพิ่มมาให้หรือไม่ และใส่ความจุสูงสุดได้เท่าไร? สิ่งเหล่านี้ผู้ใช้อาจจะต้องทราบก่อนที่จะไปซื้อแรมมาเพิ่มนั่นเอง จะได้ไม่เสียเวลา เสียเงินไปเปล่าๆ และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดว่า โน๊ตบุุ๊คที่ใช้อยู่ น่าจะได้เวลาอัพเกรดแรมแล้ว ไปดูกันว่าเราจะต้องสังเกต ตรวจเช็คอย่างไร

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค 2023 ง่าย สะดวก เร็วขึ้น


รู้จักกันแรมโน๊ตบุ๊ค

การเพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค สังเกตได้ชัดเจนกว่าแรมของพีซี เพราะฉะนั้นการซื้อมาใช้หรืออัพเกรด ต้องดูให้แน่ใจ ตามสัดส่วนที่เห็นง่ายๆ แบบนี้ ระหว่างแรม DIMM สำหรับพีซี และ SO-DIMM สำหรับโน๊ตบุ๊ค โดยด้านบนสุดจะเป็นแรม SO-DIMM ส่วนด้านล่าง จะเป็นแรม DDR4 และ DDR5 ของพีซี สังเกตไม่ยากครับ

Advertisementavw
เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

สำหรับในตลาดแรม DDR นอกจากเราจะเห็นคำว่า SO-DIMM ที่เป็นแรมแบบสั้นๆ เล็กกว่าแรมของพีซี ซึ่งจะออกแบบมาเพื่อแพลตฟอร์มของ Mobile หรือโน๊ตบุ๊คโดยเฉพาะ รวมถึงติดตั้งอยู่ใน Mini PC บางรุ่น ก็จะยังมีคำว่า LPDDR เข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย โดยจะระบุอยู่บนแรม สเปคแรม และบนโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่น สิ่งนี้หมายถึง แรมประหยัดพลังงาน หรือ Low Power Consumption ใช้พลังงานน้อยกว่าแรม DDR ปกติ ตัวอย่างเช่น แรม DDR4 มีแรงดันไฟ 1.2V แต่ LPDDR4 จะอยู่ที่ 1.1V เท่านั้น และยังมีแรมรุ่นใหม่อย่าง LPDDR4X ที่ลดการใช้พลังงานลงไปอีก เหลือเพียง 0.6V เท่านั้น ดังนั้นแล้วใครที่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการใช้พลังงาน หรือต้องการโน๊ตบุ๊คที่มีระดับการจัดการพลังงานมากขึ้น ก็อาจจะต้องมอง รุ่นที่ใช้แรมใหม่ๆ เช่นนี้ เอาไว้ด้วยเช่นกัน

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค
source: techcenturion.com

LPDDR/ LPDDRX: แรมทั้ง 2 รูปแบบนี้ มาจากพื้นฐานเดียวกัน และใช้ร่วมกันได้ แต่จะต่างกันเล็กน้อยนั่นคือ แรงดันไฟที่ LPDDRX จะใช้น้อยกว่า รวมถึงมีสัญญาณนาฬิกาที่สูงกว่านั่นเอง ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นได้บนโน๊ตบุ๊คบางเบา พรีเมียมโน๊ตบุ๊คและไลฟ์สไตล์ เช่น ASUS Zenbook 14 Duo, MSI Prestige 14 หรือ Lenovo ThinkBook, Ypga slim เป็นต้น

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

DDR: สำหรับแรมประเภทนี้จะเน้นที่ Performance เป็นหลัก และเรื่องการใช้พลังงานเป็นเรื่องรอง ทำให้เรามักเห็นแรมประเภทนี้บนเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค นอกจากนี้แรม DDR ในแง่ของการผลิต ยังราคาถูกกว่า LPDDR ที่มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูง และสิ่งที่แตกต่างเป็นสำคัญเลยคือ LPDDRX จะไม่สามารถอัพเกรดได้ ซึ่งจะใช้การติดตั้งลงบนบอร์ดโดยตรง หรือที่รู้จักกันว่าแรมออนบอร์ด แต่ถ้าเป็น DDR ส่วนใหญ่จะถอดเปลี่ยน และอัพเกรดได้

การสนับสนุนขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คในแต่ละรุ่น ว่าถูกออกแบบมาให้ใช้งานในลักษณะใด ตรงนี้ต้องว่ากันแต่ละรุ่นและซีรีส์ เพราะบางครั้งซีรีส์เดียวกัน แต่แยกออกไปหลายรุ่น หลายโมเดล ก็อาจจะใช้แรมที่ไม่เหมือนกัน บางครั้งเป็นแบบออนบอร์ดอย่างเดียว แต่บางทีก็มีออนบอร์ด รวมถึงมีสล็อตในการอัพเกรดได้

เช็คราคาแรมโน๊ตบุ๊ค 2023

Model Capacity Price
PNY DDR4 3200 8GB 975 บาท
Corsair Vengeance DDR4 3200 8GB 1090 บาท
ADATA DDR4 3200 16GB 1,850 บาท
TEAM TForce DDR4 3200 16GB 1,890 บาท
Kingston Value DDR4 3200 16GB 2,110 บาท
HyperX FURY IMPACT DDR4 3200 32GB 3,915 บาท
G.Skill RIPJAWS DDR5 4800 16GB 3,425 บาท
Corsair Vengeance DDR5 4800 32GB 8340 บาท
source: price 4/2/2023

แรมออนบอร์ด

อย่างที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้านี้กับแรมออนบอร์ด หรือที่ติดตั้งในแบบบัดกรีติดกับเมนบอร์ด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น LPDDR แรมในรูปแบบนี้ จะมาพร้อมเครื่อง และมักจะไม่ได้ให้สล็อตสำหรับการอัพเกรดมาด้วย จะเป็นการกำหนดรุ่นให้ผู้ใช้ได้เลือก เช่น 8GB หรือ 16GB อย่างเช่นใน ASUS Zenbook หรือ Vivobook ในหลายๆ รุ่น ส่วนหนึ่ง ก็เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกตามความเหมาะสมกับงาน และราคาที่ต้องการ

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

อย่างไรก็ดียังมีโน๊ตบุ๊คในกลุ่มใกล้เคียงกันที่รองรับการอัพเกรด แม้ว่าจะมีแรมแบบออนบอร์ดติดตั้งมาด้วย เช่น Lenovo IdeaPad หรือ Yoga Slim บางรุ่น รวมถึง ASUS Zephyrus G14 เป็นต้น จะเห็นได้ว่าคาแรคเตอร์ของโน๊ตบุ๊คที่มีออนบอร์ด และสล็อตแรมส่วนใหญ่ อาจไม่ได้จำเพาะเจาะจง แต่สิ่งที่คล้ายกันคือ เป็นโน๊ตบุ๊คขนาดกระทัดรัด บาง และเน้นประสิทธิภาพเป็นหลัก

แต่ถ้าเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่มักจะใช้เป็นแรม DDR ไม่ว่าจะเป็น DDR4 หรือ DDR5 ในแบบ SO-DIMM ปกติ ก็จะไม่ค่อยเห็นเป็นแบบออนบอร์ดมากนัก แต่ก็พอมีอยู่บ้าง เช่น ASUS ROG Zephyrus M16 ที่ให้แรมออนบอร์ดมาแล้ว 16GB และมีสล็อตว่าง สำหรับการอัพเกรดเพิ่มนั่นเอง


เมื่อไรต้องเพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค?

การเพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค หรืออัพเกรดแรม ช่วยให้ระบบสามารถทำงานได้ลื่นไหลมากขึ้น เช่นเดียวกับบนพีซี แต่เราจะสังเกตโน๊ตบุ๊คที่ใช้อย่างไร ว่าจำเป็นจะต้องเพิ่มแรมให้มากขึ้น

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

เครื่องใช้เริ่มทำงานช้าลง อาจจะเปิดแอพพลิเคชั่นเดิม แต่ขนาดไฟล์ใหญ่ขึ้น ทำให้พื้นที่การ Swap file ต้องไปอาศัย Storage อย่างฮาร์ดดิสก์หรือ SSD การเพิ่มแรมมีส่วนช่วยได้

เปิดเว็บเบราว์เซอร์หลายหน้าต่างหรือหลายแท็ปบ่อย กับการทำงานในแบบมัลติทาส์ก คือทำหลายงานพร้อมกัน เช่น ดูหุ้น ทำเอกสาร ดูสตรีมมิ่งและการเปิดหาข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง ก็จำเป็นต้องใช้แรมจำนวนมากเช่นกัน

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

การเปิดไฟล์ขนาดใหญ่ หรือทำงานร่วมกับไฟล์จำนวนมาก ทำได้ช้า ใช้เวลานาน หรือมีอาการสะดุด แรมก็มีส่วนในการทำงานอยู่ด้วย

รวมไปถึงการเล่นเกม ที่บางเกมก็ต้องการแรมจำนวนมาก มาใช้ในการขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการประมวลผล แม้จะมี VRAM บนการ์ดจอก็ตาม แต่ก็มีความสำคัญในคนละส่วน ซึ่งการอัพเกรด มีส่วนช่วยให้การเล่นเกมไหลลื่นขึ้น และมีผลต่อเฟรมเรตที่ดีขึ้นในบางโอกาสอีกด้วย


โน๊ตบุ๊คที่ใช้ อัพเกรดได้มั้ย ดูอย่างไร?

วิธีการสังเกตว่าโน๊ตบุ๊คที่ใช้อยู่นั้น สามารถอัพเกรดแรม หรือเพิ่มแรมได้หรือไม่ มีด้วยกันหลายวิธี ว่ากันตั้งแต่

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

ดูข้อมูลจากเว็บไซต์ผู้ผลิต: ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นวิธีการในเบื้องต้น ที่พอจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเช็คได้ว่า ต้องใช้แรมแบบใด และมีสล็อตสำหรับการอัพเกรดหรือไม่ โดยค้นหารุ่นและซีรีส์จากในเว็บไซต์ได้เลย หรืออย่างน้อยให้ทราบรุ่น และรหัสที่แน่นอน เช่น ExpertBook B5 Flip (B5302F) ในวงเล็บที่ต่อท้ายนี้ ค่อนข้างสำคัญเลยทีเดียว ซึ่งเมื่อทราบแล้ว การค้นหามักจะไม่ผิดรุ่น ยกเว้นว่าจะไม่ได้มีบอกไว้ใน Specification ของรุ่นนั้นๆ ตัวอย่าง จากภาพด้านบนนี้ ทั้งจาก MSI, ASUS และ HP ครับ

ติดตั้งซอฟต์แแวร์ยูทิลิตี้: ถือว่าพอช่วยได้ในระดับหนึ่ง สำหรับโน๊ตบุ๊คที่เป็นแบบมีสล็อตมาให้ภายใน แต่บางครั้งก็ไม่อาจจะตรวจได้ครบถ้วน ยิ่งมีแรมแบบออนบอร์ด บางครั้งก็ตรวจพบมากกว่า 2 สล็อตอีกด้วย ซึ่งก็ทำให้การตรวจเช็คสับสนอยู่พอสมควร ซอฟต์แวร์แนะนำว่าให้ดูแบบคร่าวๆ สำหร้บเช็คความจุแรม และสเปคของแรมที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องจะแม่นยำกว่า

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

ใช้บริการตรวจเช็คจากเว็บไซต์: ข้อนี้เป็นวิธีที่ง่าย เหมือนกับการเข้าไปหาข้อมูลในเว็บไซต์ผู้ผลิต จะต่างกันอยู่บ้างตรงที่ จะอำนวยความสะดวกในการตรวจเช็คให้ คล้ายกับการที่คุณใช้ระบบการค้นหาไดรเวอร์การ์ดจอ ที่จะมีระบบตรวจเช็คสเปคเครื่องให้ แล้วแจ้งว่า คุณมีสเปคอะไรบ้าง และต้องใช้ไดรเวอร์ตัวไหน

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

เพียงแต่ระบบตรวจเช็คแรมนี้ จะตรวจว่าในระบบของคุณมีแรมกี่สล็อต และติดตั้งแรมอะไรไปแล้วบ้าง รวมถึงมีสล็อตเหลือมั้ย อัพเกรดเพิ่มได้หรือเปล่า โดยที่คุณแค่หาแรมมาเพิ่มตามที่ระบบแจ้งเอาไว้เท่านั้น ตัวอย่างระบบนี้อย่างเช่น เว็บไซต์ของทาง Crucial ที่จะมี Scan my laptop หรือ Lookup my laptop ในการสแกนเพื่อค้นหาการใช้งานแรมในระบบ ตามตัวอย่างที่อยู่ด้านบนนี้ เป็นอีกวิธีที่ง่ายมากๆ และอยากจะแนะนำ จากการที่ได้ทดสอบใช้งาน

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

แกะเครื่องเปิดดู: เป็นแบบที่ชัดเจนที่สุด เพราะคุณสามารถเห็นฮาร์ดแวร์ได้ชัดเจนว่า โน๊ตบุ๊คที่ใช้อยู่นั้น รองรับการเพิ่มแรมได้หรือไม่ แต่การแกะฝาหลังโน๊ตบุ๊คบางครั้ง ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบางรุ่นออกแบบมาอย่างแน่นหนา เรียกว่าแกะแทบไม่ได้เลย ถ้าไม่มีเครื่องมือที่ดีพอ แต่บางรุ่นก็แกะได้ง่าย เรียกว่าไขควง 4 แฉกตัวเดียว และบัตรพลาสติก ที่ใช้ในการแกะขอบด้านข้างเท่านั้น ก็สามารถถอดฝาหลังได้อย่างง่ายดาย

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

แต่สิ่งสำคัญก็คือ การจะจับแตะต้องชิ้นส่วนที่อยู่ภายในโน๊ตบุ๊คนั้น ต้องให้แน่ใจว่า มือเราไม่มีไฟฟ้าสถิตย์ ที่อาจเกิดอันตรายต่อชิ้นส่วน และเสียหาย ดังนั้นเป็นไปได้ หากจะให้เกิดความปลอดภัย ควรมีถุงมือกันไฟฟ้าสถิตย์ หรือถอดขั้วต่อจากแบตเตอรี่มาที่ตัวเมนบอร์ดออกก่อน จากนั้นจึงแกะหรือติดตั้งแรมใหม่เข้าไป

การแกะเครื่องด้วยตัวเอง ควรศึกษาข้อมูลให้แน่ใจก่อนลงมือ ทั้งวิธีการ และการรับประกัน ให้มั่นใจว่าสามารถแกะได้ โดยไม่เสียการประกัน และไม่เกิดความเสียหาย ซึ่งหลายครั้งจะไม่สามารถเคลมได้ โปรดหลีกเลี่ยงโดยไม่จำเป็น

ดูจากเว็บไซต์รีวิว: ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แนะนำ เพราะคุณจะสามารถทำตามขั้นตอนได้ รวมถึงเหล่านักรีวิว ก็จะบอกถึงรายละเอียดของแรม ให้คุณไปซื้อได้อย่างถูกต้อง รุ่นหรือซีรีส์ที่ใกล้กัน ก็พอที่จะใช้วิธีการเดียวกันได้ ซึ่งหากไม่แน่ใจว่าจะไปดูที่ไหนดี หรือดูต่างประเทศ ก็กลัวว่าซีรีส์เดียวกัน แต่คนละโมเดล ก็ดูจากรีวิวเมืองไทยก็ได้ครับ อย่างทีมงาน Notebookspec ก็มีแกะให้ได้ชมกันไปแล้วหลายร้อยรุ่น น่าจะพอเป็นข้อมูลในการอัพเกรดแรมของคุณได้พอสมควร


แรม Single channel vs Dual channel

หลายคนที่ไม่ค่อยได้ใช้คอมบ่อย หรืออาจจะมีโน๊ตบุ๊คตัวแรก อาจไม่ค่อยคุ้นหูสำหรับแรม Single channel และ Dual channel มากนัก ซึ่งตรงนี้อธิบายในเบื้องต้นว่า Dual channel เป็นรูปแบบการทำงานของแรม 2 ชุดเข้าด้วยกัน ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นกว่าการทำงานแบบ Single channel เพียงแต่ว่าการจะใช้งานแรมแบบ Dual นี้ ก็มีเงื่อนไขในการทำงานเช่นกัน

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

เงื่อนไขที่เป็นเรื่องพื้นฐาน คือ การติดตั้งแรม 2 ตัว เข้าด้วยกัน แม้จะเป็นแรมต่างความเร็ว หรือความจุไม่เท่ากันก็ได้ ติดตั้งด้วยกัน 2 แถว 2 สล็อต หรือจะเป็นแรมบนเมนบอร์ด หรือที่เรียกว่าออนบอร์ด คู่กับแรมบนสล็อต ก็สามารถใช้งาน Dual channel ได้เหมือนกัน

แต่ในกรณีที่เป็นแรม 16GB ที่ฝังมาบนเมนบอร์ดนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วย ว่าจัดวางมาในรูปแบบใด เพราะบางครั้งเป็น DRAM 16GB เม็ดเดียว ก็อาจจะไม่ได้ทำงานแบบ Dual channel แต่เราไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักในเคสนี้ ส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่มีขนาดบาง และมีสล็อตมาให้อัพเกรด ตรงนี้ขึ้นอยู่กับการวางเม็ดแรม บางรุ่นมาในแบบ 4GB x4 อีกด้วย ดังนั้นต้องว่ากันที่การผลิตและรูปแบบการจัดวางในแต่ละรุ่น


แรมไม่เหมือนกันใส่ด้วยกันได้มั้ย?

บางท่านอาจจะสงสัย แรมแบบ DDR3/ DDR4/ DDR5 เหล่านี้ จะสามารถติดตั้งบนสล็อตร่วมกันได้หรือไม่ เพราะซื้อโน๊ตบุ๊คใหม่มาเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค DDR5 แต่มีแรมจากโน๊ตบุ๊คตัวเก่าเป็น DDR4 16GB น่าจะเอามาใช้ร่วมกัน จะได้ไม่ต้องซื้อใหม่

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค
source: Crucial

ขอแจ้งเอาไว้ดังนี้เลยครับว่า ไม่สามารถใช้แรมต่างชนิด ต่างแบบร่วมกันได้ครับ อ้างอิงจากแรมค่าย Crucial ระหว่าง DDR5 จะเป็นขาแบบ 262-pins ส่วน DDR4 จะเป็นแบบ 260-pins แม้จะใกล้กันมาก แต่ก็ไม่สามารถติดตั้งลงบนสล็อตเดียวกันได้ แบบเดียวกับแรมบนพีซี แม้ว่าแรม DDR5 และ DDR4 จะใช้ DIMM 288-pins เช่นเดียวกัน แต่ด้วยตัวบาก (Notch) ไม่เหมือนกัน จึงไม่สามารถติดตั้งบนสล็อตเดียวกันได้ เพราะฉะนั้นอย่าฝืน หรืออย่าบังคับใส่ลงไป เพราะอาจทำให้บอร์ดและสล็อตเสียหายได้


ขั้นตอนการเพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

สุดท้ายเป็นเรื่องของการติดตั้งแรมลงบนโน๊ตบุ๊ค หลังจากที่คุณได้แกะฝาหลังออกมาแล้ว รวมถึงเลือกแรมที่ใช้ร่วมกันให้พร้อม เสร็จแล้วก็ไปลุยกันเลย

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

เตรียมแรมให้พ้อมสำหรับการเพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค โดยแนะนำเลยครับว่า ถ้ามีถุงมือให้ใส่ ก็ใส่เพื่อความปลอดภัยของตัวแรม และการติดตั้ง

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

จากนั้นดูสล็อตที่เป็นช่องอัพเกรดแรมให้ตรงกับแรม โดยยึดเอาตัวบากหรือ Notch ที่เป็นร่องตรงกลางให้ตรงกันกับแรมที่ติดตั้งไว้ก่อนหน้านี้

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

แล้วถ้าไม่มีแรมบนสล็อตนั้นล่ะ? ให้ลองวางตัวแรมลงบนสล็อต เพื่อวัดระยะก่อนว่า Notch นั้นตรงกันกับสล็อต จากนั้นเอียงแรมแบบในภาพ แล้วใส่ลงไปบนสล็อตแบบเอียงๆ นั้น จากนั้นกดแรมให้อยู่ในแนวราบเบาๆ จนกว่าจะได้ยินเสียงคลิ๊ก ที่หมายถึงล็อคตัวแรมลงบนสล็อตเป็นที่เรียบร้อย ก็ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น

แต่ก่อนจะปิดฝาหลังของโน๊ตบุ๊คเพื่อจบงาน อย่าลืมตรวจเช็คด้วยการลองบูตเครื่อง เพื่อดูว่าสามารถเข้าระบบได้ตามปกติหรือไม่ หากติดปัญหา ไม่บูต ให้ลองแกะแรมออกมาอีกครั้ง แล้วติดตั้งกลับเข้าไปใหม่อีกครั้งหนึ่ง


แรมครบมั้ย

เมื่อติดตั้งแรมเสร็จแล้ว ก็อย่าลืมเช็คความเรียบร้อย ดูว่าระบบตรวจเช็คแรมได้ครบหรือไม่ หากคุณมีอยู่ 8GB แล้วเพิ่มไปอีก 8GB ก็ควรจะเป็น 16GB แต่ถ้าเช็คแล้วยังเป็น 8GB อยู่ ก็น่าจะมีอะไรผิดพลาด ด้วยวิธีการเช็คแบบง่ายๆ ดังนี้

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

Task Manager วิธีนี้ค่อนข้างสะดวก ด้วยการกดปุ่ม Ctrl+Shift+Esc พร้อมกัน เพื่อเข้าไปใน Task Manager จากนั้นไปที่แท็ป Performance แล้วคลิ๊กที่ Memory ดูที่หน้าต่างด้านขวา จะเห็นความจุของแรมปรากฏขึ้น ให้ดูที่ตัวเลขที่อยู่มุมบนขวามือ จะบอกตัวเลขความจุทั้งหมดให้เราทราบ จากตัวอย่างนี้ เป็นแรม 4GB + ติดตั้งเพิ่ม 8GB รวมเป็น 12GB เห็นครบแบบนี้ก็มั่นใจได้ในระดับหนึ่ง เพราะสิ่งที่ต้องทำต่อไปนั้น คือการทดสอบเสถียรภาพ


อาการผิดปกติหลังเพิ่มแรม

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

ความผิดปกติ หลังจากการเพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และผู้ใช้อาจจะต้องสังเกตอาการที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เรามาดูว่าอาการเกี่ยวกับแรมที่อาจเกิดขึ้นได้มีสิ่งใดบ้าง และจะต้องแก้ไขอย่างไร?

โน๊ตบุ๊คค้าง ไม่เข้าระบบ: หรือโน๊ตบุ๊คเปิดไม่ติด ให้ลองเปิดฝาหลังโน๊ตบุ๊ค แล้วติดตั้งแรมที่เพิ่งใส่เข้าไปใหม่ เพียงแถวเดียว และบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพราะอาจเป็นไปได้ว่า แรมไม่เข้ากับแรมเก่าที่ใช้งานอยู่ จากนั้นอาจจะต้องเช็คบัสของแรมอีกครั้ง และแจ้งเปลี่ยนกับร้านค้าที่จำหน่ายแรม

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

แต่ถ้าไม่มีแรมอื่นใด ติดตั้งอยู่เลย การติดตั้งแรมใหม่ ไม่สามารถบูตเข้าระบบได้ หากมี 2 สล็อต ให้ลองสลับเปลี่ยนสล็อตอีกอัน เพื่อดูอาการ ส่วนถ้ามีแรมออนบอร์ด และใส่แรมใหม่เข้าไป แต่ไม่บูต ก็เป็นไปได้ว่าแรมใช้ร่วมกันไม่ได้ ซึ่งเจอได้น้อยมาก

เพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค

จอฟ้า BSOD: หากเป็นจอฟ้าบ่อย ให้ลองติดตั้งแรมอีกครั้ง เพราะอาจเกิดจากการติดตั้งไม่แน่น หรือเอียง จนไม่เข้าล็อคตามปกติ ขยับแรมออกมาใหม่ อาจช่วยได้

รีสตาร์ทบ่อย: ให้เช็คว่า ก่อนหน้านี้โน๊ตบุ๊คมีอาการผิดปกติดังกล่าวนี้มั้ย ถ้าไม่เคยมี และเป็นหลังจากการติดตั้งแรม ให้ลองรีบูตใหม่ และลองอัพเดตวินโดว์และไดรเวอร์ชิปเซ็ตเมนบอร์ดอีกครั้ง ด้วยการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ผู้ผลิต หากยังเป็นอยู่ให้นำแรมและโน๊ตบุ๊คให้ร้านค้าดู เพื่อทำการเปลี่ยนต่อไป


Conclusion

สุดท้ายนี้ ในการเพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค การติดตั้งและการใช้งาน ไม่ได้ซับซ้อนเหมือนกับการขั้นตอนการตรวจเช็ค หรือหาข้อมูลว่าโน๊ตบุ๊ครองรับการติดตั้งแรมเพิ่มได้มั้ย หรือใช้งานกับแรมแบบใด เพราะบางครั้งอาจถึงขั้นที่ต้องแกะโน๊ตบุ๊คออกมาดูกันเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีครับ การเพิ่มแรม ก็ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนลงแรง เนื่องจากค่าใช้จ่ายไม่สูง หากสังเกตจากราคาจะเห็นว่า เพิ่มแรม DDR4 8GB ยังไม่ถึงพันบาท แต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการทำงานแบบ Dual channel เมื่อใช้ร่วมกับแรมเดิมที่มีอยู่ และคุณยังสามารถทำเองได้ ด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ที่บ้าน แต่ก็แนะนำว่าให้ลองสอบถามร้านจำหน่าย ว่ามีผลต่อการรับประกันด้วยหรือไม่ ในกรณีที่เป็นโน๊ตบุ๊คซึ่งอยู่ในระยะประกัน แต่ถ้าคุณไม่สะดวก ก็แนะนำว่าให้ไปร้านที่จำหน่ายโน๊ตบุ๊คใกล้บ้าน ขอคำแนะนำ ซื้อแรมและอัพเกรดโดยช่างที่ชำนาญในร้าน ก็เป็นทางออกที่น่าสนใจครับ อุ่นใจและมั่นใจได้

from:https://notebookspec.com/web/685571-upgrade-ram-notebook-2023

รีวิว ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ซีพียู Ryzen 7000 Series แบตฯ อึดเหลือใช้ โปรแกรมครบเครื่อง ค่าตัว 32,990 บาทเท่านั้น!!

ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 บอดี้เดิม เติมความแรงด้วย Ryzen 7000 Series มี Office 2021 ติดเครื่องมาพร้อมใช้ ได้จอ OLED ขั้นเทพด้วย!!

NBS 230130 FB Link Review Zenbook 14 OLED 1

เมื่อพูดถึงโน๊ตบุ๊คสายทำงานระดับพรีเมี่ยมของ ASUS อย่าง ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านจะคิดถึงโน๊ตบุ๊คงานประกอบดี ฟีเจอร์ล้ำสมัยไม่ว่าจะ ASUS NumberPad 2.0 แป้นทัชแพดเปลี่ยนโหมดเป็น Numpad ได้, เซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือแบบรวมกับปุ่ม Power พอร์ต USB-C Full Function รองรับการต่อหน้าจอแยก DisplayPort และชาร์จแบตเตอรี่ Power Delivery ได้ด้านหน้าจอ 14 นิ้ว ความละเอียด 2.8K พาเนล OLED ขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3 ได้รับการรับรอง PANTONE Validated, VESA DisplayHDR True Black 600 มีฟีเจอร์ถนอมสายตา SGS Eye Care Display และภาพบนหน้าจอยังลื่นไหลเพราะมีค่า Refresh Rate ถึง 90Hz ด้านตัวเครื่องก็ทนทานผ่านการทดสอบ MIL-STD 810H การันตีความแข็งแรงทนทานอีกด้วย และทาง ASUS ก็ติดตั้ง Microsoft Office Home&Student 2021 มาให้ ไม่ต้องเสียเงินซื้อซอฟท์แวร์เพิ่มเติมให้เปลืองเงินอีกด้วย จัดว่าคุ้มค่าครบเครื่องมาก

Advertisementavw

ข้อดีถัดมา คือซีพียูของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ถูกอัพเกรดจาก Ryzen 5000 Series มาเป็น 7000 Series อย่าง AMD Ryzen 7530U แบบ 6 คอร์ 12 เธรด แล้ว คอร์ประมวลผลก็ทรงพลังและจัดการพลังงานได้ดีกว่าเดิมมากได้รับการรับรองการจัดการพลังงานจาก Energy Star การันตีว่าตัวเครื่องจัดการพลังงานได้ดีใช้งานได้นาน ส่วนทีเด็ดของ Ryzen 7000 Series คือการ์ดจอออนบอร์ดถูกปรับแต่งให้ประสิทธิภาพดีขึ้น หากรุ่นก่อนใช้แต่งภาพและดูคอนเทนต์ความละเอียดสูงได้ไหลลื่นอย่างเดียวล่ะก็ รุ่นใหม่นี้ก็ใช้เล่นเกมออนไลน์ปรับกราฟิคระดับกลาง~สูงได้เลยทีเดียว จัดว่าน่าประทับใจมาก

ASUS Zenbook 14 OLED UM3402

NBS Verdicts

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00072

ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 แม้จะใช้บอดี้ร่วมกับ Zenbook 14 OLED รุ่นก่อนหน้าและยกจุดเด่นต่างๆ อย่าง NumberPad 2.0, เซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ, พอร์ต USB-C Full Function มาแทบทั้งหมดและเปลี่ยนเพียงซีพียูเป็น AMD Ryzen 5 7530U อย่างเดียว จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น Zenbook รุ่นไมเนอร์เชนจ์ก็ตาม แต่การอัพเกรดครั้งนี้กลายเป็นการเสริมจุดเด่นให้ Zenbook 14 OLED UM3402 ดียิ่งขึ้น ทั้งแบตเตอรี่ใช้งานได้นานขึ้นและกราฟิคการ์ดออนบอร์ดมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากจนดูแล้วคุ้มค่าเกินค่าตัว 32,990 บาทมาก

หากเอา ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ไปเทียบกับโน๊ตบุ๊คคู่แข่งในระดับราคาใกล้เคียงกันแล้ว ต้องถือว่า Zenbook 14 OLED รุ่นนี้สมบูรณ์แบบทั้งด้านสเปคที่ดีทรงพลังและดีไซน์สวยงามแข็งแรงดูหรูหรา ตอบโจทย์ตั้งแต่นักศึกษาหรือพนักงานออฟฟิศที่อยากลงทุนซื้อโน๊ตบุ๊คระดับพรีเมี่ยมไว้ใช้งานได้หลายปี ไม่ต้องกังวลว่าประสิทธิภาพจะลดลงหรือไม่พอใช้รันโปรแกรมในอนาคตเลยก็ได้ ยิ่งใครเป็นเซลส์ที่ต้องออกไปพบลูกค้าและพรีเซนต์งานโปรเจคต่างๆ ก็พกเครื่องติดตัวไปได้สะดวกเพราะน้ำหนักเครื่องเพียง 1.39 กิโลกรัม และพาเนลจอ OLED ขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3 ได้รับการรับรอง PANTONE Validated, VESA DisplayHDR True Black 600 แล้ว จึงใช้พรู้ฟงานอาร์ทและการันตีสีบนหน้าจอว่ามีความเที่ยงตรงกับผลงานจริงที่ปริ้นท์ออกมาใช้งานอย่างแน่นอน

จุดสังเกตของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 มีเรื่องบอดี้เครื่องยกมาจาก Zenbook 14 OLED รุ่นก่อนทั้งหมดไม่ได้ปรับดีไซน์เพิ่มความแตกต่างจากรุ่นก่อนมากนัก หากวางเทียบคู่กันอาจจะแยกกันได้ยาก และการซีลตัวเครื่องทำมาแข็งแรงปิดสนิทมากถึงแม้จะดีกับความแข็งแรงสวยงามแต่ก็ไม่ถูกใจผู้ใช้ที่ต้องการเปิดฝาอัพเกรดด้วยตัวเองอย่างแน่นอน หากมีชิ้นส่วนภายในเสียหรือจะอัพเกรด SSD แนะนำให้เอาเครื่องไปให้ช่างผู้ชำนาญการประจำศูนย์บริการเป็นผู้จัดการให้จะดีที่สุด ลดความเสี่ยงว่าถ้าแกะทำเครื่องด้วยตัวเองแล้วจะเกิดความเสียหายด้วย 

ข้อดีของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402
  1. บอดี้เป็นอลูมิเนียมแข็งแรงดูหรูหราพรีเมี่ยม ผ่านการทดสอบ MIL-STD 810H แล้ว
  2. น้ำหนักเครื่องเพียง 1.39 กิโลกรัม พกพาง่าย เหมาะกับผู้ใช้ทุกคน
  3. มีเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือติดตั้งมาให้โดยรวมไว้กับปุ่ม Power ปลดล็อคสะดวกรวดเร็ว
  4. ขาบานพับจอออกแบบให้กางได้แบนราบ 180 องศา มีความแข็งแรงทนทานมาก
  5. ทัชแพดมี ASUS NumberPad 2.0 ใช้งานสะดวก กดพิมพ์ตัวเลขได้สะดวกรวดเร็ว
  6. หน้าจอ 14 นิ้ว ความละเอียด 2.8K พาเนล OLED มีขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3 ได้รับการรับรอง PANTONE Validated, VESA DisplayHDR True Black 600 ใช้พรู้ฟสีงานอาร์ทได้ดี
  7. หน้าจอมีค่า Refresh Rate 90Hz แสดงผลภาพได้ไหลลื่นต่อเนื่องลื่นไหลดีมาก
  8. มี Microsoft Office Home&Student 2021 ติดตั้งมาให้ใช้ครบเครื่อง ไม่ต้องซื้อเพิ่ม
  9. ได้พอร์ต USB-C Full Function ถึง 2 ช่อง ใช้ต่อหน้าจอแยกและชาร์จแบตฯ ได้ ใช้งานสะดวก
  10. แบตเตอรี่ 75Wh กับซีพียู Ryzen 5 7530U จัดการพลังงานดีมาก ใช้งานได้นาน 15 ชั่วโมง
  11. ลำโพงได้ harman/kardon มาปรับจูนเสียงให้ ได้เสียง Dolby Atmos เนื้อเสียงดีน่าประทับใจ
  12. ได้ประกัน ASUS Perfect Warranty 1 ปีแรก ช่วยดูแลตัวเครื่องเมื่อเกิดปัญหาได้เป็นอย่างดี
ข้อสังเกตของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402
  1. ดีไซน์ภายนอกยังคล้ายรุ่นก่อนหน้า ยังไม่ความแตกต่างหรือโดดเด่นมากนัก
  2. ตัวเครื่องซีลมาแน่นมากจนเปิดฝาเองไม่ได้ หากจะซ่อมหรืออัพเกรดควรให้ศูนย์บริการจัดการ

รีวิว ASUS Zenbook 14 OLED UM3402

Specification

Screenshot 2023 01 30 102049 1

ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 เป็นโน๊ตบุ๊คบางเบาระดับพรีเมี่ยมของทาง ASUS ที่ได้อัพเกรดซีพียูจาก AMD Ryzen 5000 Series มาเป็น Ryzen 7000 Series แล้ว โดยสเปคจะเป็นดังนี้

CPU AMD Ryzen 5 7530U แบบ 6 คอร์ 12 เธรด ความเร็ว 2.0~4.5GHz
GPU AMD Radeon Graphics แบบ 7 คอร์ ความเร็ว 2,000MHz
SSD M.2 NVMe SSD 512GB PCIe 3.0 x4
RAM 16GB LPDDR4x บัส 4266MHz
Display 14 นิ้ว ความละเอียด 2.8K พาเนล OLED ค่า Refresh Rate 90Hz ขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3 ได้รับการรับรอง PANTONE Validated, VESA DisplayHDR True Black 600
Connectivity USB-A 3.2 Gen 2 x 1, USB-C 3.2 Gen 2 Full Function x 2, HDMI 2.1 x 1, MicroSD Card Reader x 1, Audio combo x 1

Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.0

Software Windows 11 Home, Microsoft Office Home&Student 2021
Weight 1.39 กิโลกรัม
Price 32,990 บาท (ASUS Shopee Mall)

Hardware & Design

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00070

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00055
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00056
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00061
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00046

บอดี้ของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 จะยืนพื้นเหมือน Zenbook 14 OLED รุ่นก่อนหน้า นั่นคือบอดี้อลูมิเนียมเนื้อด้านมีความแข็งแรงสวยงาม บอดี้เป็นสีดำเหลือบน้ำเงินและตัดเว้นขอบล่างใต้ทัชแพดให้เว้าเข้ามาเล็กน้อย ใช้นิ้วชี้เพียงนิ้วเดียวกางเปิดหน้าจอได้ง่ายแถมยังวางบาลานซ์เครื่องได้ดีไม่มีอาการตัวเครื่องยกตามนิ้วขึ้นมาอีกด้วย ด้านที่วางข้อมือฝั่งซ้ายจะติดสติ๊กเกอร์การรับประกัน ASUS Perfect Warraty, Microsoft Office Home&Student 2021, ซีพียู AMD Ryzen และการ์ดจอ AMD Radeon มาให้ ฝั่งขวาจะติดสติ๊กเกอร์โชว์ฟีเจอร์เด่นของ Zenbook 14 OLED UM3402 เอาไว้เพื่อให้ผู้ใช้ทราบจุดเด่นของโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้ในทันที

ปุ่ม Power จะติดตั้งรวมเอาไว้กับชุดคีย์บอร์ด โดยอยู่ระหว่างปุ่ม Print Screen, Delete รองรับการสแกนลายนิ้วมือเพื่อปลดล็อคเครื่องได้โดยทำงานร่วมกับระบบ Windows Hello สามารถตอบสนองได้รวดเร็ว ไม่แพ้เซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือของสมาร์ทโฟนเลย ตัวปุ่มแข็งโดยใช้น้ำหนักกดมากกว่าปุ่มใช้งานของคีย์บอร์ดพอสมควร ลดโอกาสกดพลาดแล้วเผลอปิดเครื่องในนาทีสำคัญไปได้ระดับหนึ่ง ถ้าไม่ตั้งใจกดก็แทบไม่พลาดกดดับเครื่องเลย

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00035

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00033
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00041
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00031
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00029

ก้านขาบานพับของหน้าจอจะติดเป็นแนวนอนทำมุมกับตัวบานหน้าจอเป็นตัว L เป็นโลหะแข็งแรง ติดก้านพลาสติกรองใต้ขอบล่างของหน้าจอเอาไว้ซัพพอร์ตและยกตัวเครื่องขึ้นเล็กน้อย ช่วยลดริ้วรอยเวลากางหน้าจอทำงานได้ดีมากและสังเกตว่าตัวเครื่องจะยกขึ้นเล็กน้อยให้พิมพ์งานได้ถนัดมือกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปที่วางราบไปกับพื้นโต๊ะอีกด้วย

ด้านการกางหน้าจอ ทางบริษัทก็ออกแบบให้ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 กางจอได้แบนราบ 180 องศา ทำให้องศาการมองเห็นกว้างมาก จะตั้งพิมพ์งานบนโต๊ะหรือวางบนแท่นวางโน๊ตบุ๊คก็ปรับมุมหน้าจอให้มองเห็นได้ง่ายและยังกางจอวางราบกับพื้นโต๊ะให้เพื่อนร่วมงานดูหน้าจอร่วมกันได้ง่ายๆ อีกด้วย จัดเป็นดีไซน์ที่มีประโยชน์มากไม่แพ้การพับจอกลับเป็นแท็บเล็ตเลย

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00078
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00079

ฝาหลังของ Zenbook 14 OLED จะเน้นความเรียบง่าย ไม่มีลวดลายอะไรมากกว่าโลโก้ ASUS แบบเส้นกราฟิตี้ตรงกลางเครื่องฝั่งขวามือและสกรีนคำว่า ASUS Zenbook ไว้ตรงกลางขอบล่างของตัวเครื่องอีกจุด ดีไซน์ดูเรียบร้อยไม่หวือหวาสมกับที่ทางบริษัทเน้นออกแบบให้ดูพรีเมี่ยมมีระดับ ช่วยเสริมบุคลิคให้กับเจ้าของเวลาเครื่องติดไปประชุมงานกับลูกค้าก็ดูดีมีระดับยิ่งขึ้น

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00025

ฝาด้านใต้ตัวเครื่องจะมีแถบยางกันลื่นและช่วยป้องกันบอดี้เกิดริ้วรอยทั้งหมด 3 เส้น โดยมีแถบเส้นยาวขอบล่างตัวเครื่องและเส้นสั้นอีก 2 เส้นตรงขอบบนใกล้กับขาบานพับหน้าจอ ตรงกลางมีช่องสำหรับดึงอากาศเย็นเข้าไประบายความร้อนภายในเครื่องแล้วเป่าออกทางช่องระบายความร้อนที่ช่องฝั่งขวาของตัวเครื่อง แม้ช่องลมเข้าและออกจะมีขนาดไม่ใหญ่แต่ก็นำความร้อนออกจากตัวเครื่องได้ดี จากการทดลองใช้งานแม้จะรันโปรแกรมทดสอบอยู่ ความร้อนภายในเครื่องไม่มีการระอุหรือรบกวนผู้ใช้เลยแม้แต่น้อย ต้องถือว่าทาง ASUS จัดการเรื่องอุณหภูมิและระบบภายในเครื่องได้ดีมาก

Screen & Speaker

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00036

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00038
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00037
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00039
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00040

หน้าจอขนาด 14 นิ้ว ความละเอียด 2.8K (2880×1800) พาเนล OLED ของ Zenbook 14 OLED ใช้ดีไซน์แบบ NanoEdge โดยทำให้กรอบหน้าจอทั้ง 3 ด้านบางและขอบล่างสกรีนคำว่า ASUS Zenbook เอาไว้ แต่จอของเครื่องทดสอบจะไม่ได้เป็นจอทัชสกรีน ส่วนตัวผู้เขียนคาดว่าจะสงวนเอาไว้ให้รุ่น Ryzen 7 หรือเป็นรุ่นที่ไม่ได้นำมาจำหน่ายในประเทศไทยก็เป็นไปได้ 

คุณสมบัติของจอนี้นอกจากจะมองเห็นได้กว้าง 178 องศาโดยสีสันไม่เพี้ยนหรือมีเงาสะท้อนขึ้นบนจอ ก็ได้รับการรับรอง PANTONE Validated, VESA DisplayHDR True Black 600 และการันตีขอบเขตสีกว้าง 100% DCI-P3 แสดงสีสันได้มากถึง 1.07 พันล้านสี มีความสว่างสูงสุด 550 nits มีค่า Refersh Rate 90Hz และเป็นจอ SGS Eye Care Display ลดแสงสีฟ้าถนอมสายตาผู้ใช้อีกด้วย

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00067

display 1
gamut
luminance 1

ขอบเขตสีหน้าจอของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 เมื่อทดสอบด้วย DisplayCal 3 และใช้เครื่อง Colorchecker ของ Calibrite วัดค่า Gamut coverage ซึ่งเป็นค่าขอบเขตสีจริงของหน้าจอนี้ได้ 99.8% sRGB, 92.6% Adobe RGB, 99.2% DCI-P3 ส่วน Gamut volume ซึ่งเป็นขอบเขตสีโดยรวมทั้งหมดของจอนี้สูงถึง 165.9% sRGB, 114.3% Adobe RGB, 117.5% DCI-P3 มีค่าความเที่ยงตรงสีหรือ Delta-E เฉลี่ย 0.08~2.58 และหน้าจอนี้แสดงค่าสีได้สูงถึง 10-bit อีกด้วย จึงถือได้หน้าจอของ Zenbook 14 OLED นี้ยังคงยอดเยี่ยมคงเส้นคงวา ใช้พรู้ฟสีงานอาร์ทหรือใช้แต่งภาพก็ได้ และคุณภาพสีของผลงานกับบนจอคอมก็จะได้ความเที่ยงตรงกันอย่างแน่นอน

ความสว่างหน้าจอเมื่อตั้งความสว่าง 100% วัดได้ 387.58 cd/m2 จัดว่าสว่างมากพอสู้แสงแดดที่สะท้อนบนหน้าจอได้สบายๆ ดังนั้นถ้าใครพกเครื่องไปนั่งทำงานตามร้านกาแฟก็เร่งความสว่างจอสู้ได้สบายๆ แต่ถ้านั่งทำงานในอาคารหรือออฟฟิศขอแนะนำให้ตั้งความสว่างราว 40~50% ก็สว่างเหลือเฟือพอมองเห็นจอได้สบายๆ แล้ว

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00026
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00027

เสียงลำโพงของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ได้ทาง harman/kardon มาปรับจูนเสียงให้และให้เสียงแบบ Dolby Atmos เนื้อเสียงมีมิติและทิศทางเสียงดี สเตจเสียงถือว่ากว้างระดับหนึ่ง โทนเสียงของลำโพงจะเน้นเสียงร้องกับเครื่องดนตรีเป็นหลัก มีเสียงเบสจากลำโพงจะเน้นทางซัพพอร์ตให้โทนเสียงมีมิติฟังสนุกขึ้น เมื่อเปิดเสียงดัง 100% แล้ววัดด้วยเครื่องวัดเสียงจะมีความดังราว 85dB ซึ่งถ้าใครชอบฟังเพลงป็อปและแจ๊สน่าจะชอบลำโพงของโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้มากและยังฟังเพลงแนวร็อคได้ด้วย แต่ถ้าเป็นแนว EDM ถึงจะฟังได้สนุกระดับหนึ่งก็ตาม แต่เบสอาจจะไม่หนักและแรงปะทะยังไม่หนักแน่นมาก กรณีนั้นแนะนำให้ต่อลำโพงแยกไปอีกชุดจะดีกว่า 

Keyboard & Touchpad

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00042

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00053
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00054
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00049
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00048
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00047
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00044
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00051
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00052

คีย์บอร์ดของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ใช้ดีไซน์ Dished Keycaps เหมือน Zenbook 14 OLED รุ่นก่อน ซึ่งคีย์แคปจะดีไซน์ตรงกลางปุ่มโค้งลงเหมือนท้องจานลึก 0.2 มม. มีระยะกด 1.4 มม. ซึ่งข้อดีของคีย์แคปนี้ทาง ASUS ลดโอกาสตอนพิมพ์ให้ผิดน้อยลงและกดได้แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งดีไซน์และระยะกดถือว่ากำลังดีใช้งานถนัดกว่าปุ่มแบบแบนมาก และตัวแป้นคีย์บอร์ดจะมีไฟ LED Backlit ปรับไฟสว่างได้ 3 ระดับ ทำงานแบบ Toggle โดยกดเพิ่มไปสว่างสุดแล้วกดอีกครั้งไฟจะดับลง ช่วยให้พิมพ์งานในที่แสงน้อยได้สะดวกยิ่งขึ้นมาก

ปุ่มกดและคีย์ลัดสำคัญของคีย์บอร์ดจะมี Fn+Esc เพื่อสลับเลย์เอ้าท์ระหว่าง Function Hotkey กับปุ่ม F1~F12 ตามปกติได้ ปุ่มลูกศรทั้ง 4 ด้านจะมี Home, End, Page Up/Down แยกไปเป็น Delete กับ Insert ซ้อนเลเยอร์เอาไว้ สามารถกด Fn ค้างไว้ก่อนแล้วกดเรียกคำสั่งเหล่านี้มาใช้งานได้เลย สามารถกดใช้งานได้สะดวกและทำงานได้รวดเร็วดี

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00043

ส่วน Function Hotkey บริเวณบรรทัดบนสุด ทาง ASUS ก็เซ็ตปุ่มใช้งานหลักเอาไว้ครบถ้วนกดใช้งานได้สะดวกหรือจะสลับปุ่ม F1~F12 มาใช้งานก็ได้ โดยมีคีย์ลัดดังนี้

  • F1~F3 – ปิด, ลดหรือเพิ่มเสียงลำโพง
  • F4~F5 – ลดหรือเพิ่มความสว่างหน้าจอ
  • F6 – ปิด/เปิดทัชแพด
  • F7 – ปรับความสว่างหน้าจอ
  • F8 – ปุ่ม Project ตั้งค่าหน้าจอหลักและจอเสริม
  • F9 – ปิด/เปิดไมโครโฟน
  • F10 – ปิด/เปิดกล้อง Webcam
  • F11 – เรียกคำสั่ง Snipping Tool ขึ้นมาบันทึกภาพหน้าจอ
  • F12 – เรียกโปรแกรม MyASUS ขึ้นมาตั้งค่าตัวเครื่อง

ต้องถือว่าคีย์ลัดทั้งหมดนี้ของ ASUS Zenboook 14 OLED UM3402 เป็นคีย์พื้นฐานซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่เรียกใช้งานเป็นประจำอยู่แล้วและทางบริษัทก็เซ็ตไว้ให้เรียกใช้งานได้ง่ายดีด้วย แต่ถ้าให้ดีขึ้นอีกก็ขอแนะนำให้ทางบริษัทนำคำสั่ง Snipping Tool ตรง F11 ย้ายไปรวมไว้กับปุ่ม Print Screen ข้างๆ กันแล้วใส่คำสั่งสลับค่า Refresh Rate 60~90Hz มาให้จะดีกว่า ให้ผู้ใช้เลือกได้ว่าจะให้ภาพบนหน้าจอลื่นไหลหรือเน้นประหยัดพลังงานจะดีกว่า

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00057
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00058
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00063
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00062

ทัชแพด ASUS NumberPad 2.0 จะรวมชุดแป้น Numpad เอาไว้ให้ผู้ใช้กดใช้งานได้โดยเป็นแป้นแบบเลเซอร์ ตอนเปิดใช้งานจะเป็นแป้นทัชแพดธรรมดาแต่ถ้าแตะค้างตรงไอคอนกรอบสี่เหลี่ยมมุมบนขวาจะเปิดฟังก์ชั่น Numpad ขึ้นมาใช้งาน ส่วนไอคอนสามเหลี่ยมมุมบนซ้ายมือจะใช้ปรับความสว่างของแป้นได้ หากแตะไอคอนมุมบนซ้ายแล้วลากออกจะเรียกโปรแกรม Calculator ขึ้นมาใช้งานได้ด้วย

ฟังก์ชั่นฝั่งทัชแพดของ NumberPad 2.0 ก็รองรับคำสั่ง Gesture ของ Windows 11 ครบถ้วน สามารถลากนิ้วตั้งแต่ 2~3 นิ้วเพื่อคุมการทำงานได้ง่ายๆ เวลาวางมือเพื่อพิมพ์งานแล้วสันมืออาจจะพาดตรงขอบของตัวทัชแพดเล็กน้อยแต่ก็ไม่เจออาการทัชแพดลั่นรบกวนการใช้งานเลย

Connector / Thin & Weight

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00064
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00065

พอร์ตการเชื่อมต่อของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 จะถูกติดตั้งเอาไว้ 2 ฝั่งของตัวเครื่อง โดยฝั่งซ้ายมือจะเป็น USB-A 3.2 Gen 2 เพียงพอร์ตเดียวโดยอยู่ข้างๆ ช่องระบายความร้อน ส่วนฝั่งขวาจากซ้ายมือจะมีพอร์ต MicroSD Card Reader, USB-C 3.2 Gen 2 Full Function x 2, Audio combo และ HDMI 2.1 ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายรองรับ Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และ Bluetooth 5.0

ส่วนนี้ถือว่าทางบริษัทให้พอร์ตใช้งานมาครบเครื่องทำงานได้สะดวกสบายมาก ฝั่งเจ้าของเครื่องไม่ต้องลำบากหา USB-C Multiport Adapter มาต่อแยกให้ลำบากเลย อย่างมากถ้าผู้ใช้คนไหนต้องใช้ SD Card ก็หา Card Reader มาต่อเพิ่มอีกสักหน่อยก็เพียงพอแล้ว

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00018

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00086
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00020
ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00019

น้ำหนักของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ทาง ASUS เคลมเอาไว้ที่ 1.39 กิโลกรัม แต่พอชั่งน้ำหนักดูแล้วมีน้ำหนักเพียง 1.35 กิโลกรัมเท่านั้น เมื่อรวมอแดปเตอร์หัวพอร์ต USB-C กำลังชาร์จ 65 วัตต์น้ำหนัก 224 กรัมแล้ว มีน้ำหนักรวมเพียง 1.58 กิโลกรัมเท่านั้น ถือว่าน้ำหนักเบาพกพาง่ายมาก จะใช้อแดปเตอร์ของตัวเครื่องอย่างเดียวหรือพกอแดปเตอร์ GaN กำลังชาร์จ 65 วัตต์เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ก็ได้ ทำให้ผู้ใช้มีตัวเลือกเวลาจัดอุปกรณ์ในกระเป๋ายิ่งขึ้น

Performance & Software

cpu 1

mb 1
ram 1

ASUS อัพเกรดซีพียูใน ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ให้เป็น AMD Ryzen 5 7530U แบบ 6 คอร์ 12 เธรด ความเร็ว 2.0~4.5GHz สถาปัตยกรรม TSMC 7nm FinFET รองรับชุดคำสั่งพื้นฐานครบถ้วน อิงจากหลักการอ่านรหัสซีพียู AMD ในปี 2023 แล้ว Ryzen 5 7530U จะเป็นซีพียูโมเดลปี 2023 สถาปัตยกรรม Zen 3 / Zen 3+ รุ่นมาตรฐาน ออกแบบมาใช้งานกับโน๊ตบุ๊คบางเบาค่า TDP 15~28 วัตต์ 

แรม Zenbook 14 OLED เป็นแบบออนบอร์ด ความจุ 16GB LPDDR4x บัส 4266MHz ติดตั้งมาแบบ Dual Channel เป็นความจุที่มากพอใช้ทำงานต่างๆ ตั้งแต่งานเอกสาร Microsoft Office ไปจนงานตัดต่อแต่งภาพก็ยังพอมีให้ใช้ได้อย่างเหลือเฟือ แต่น่าสังเกตว่าทาง ASUS ยังใช้แรม LPDDR4x ไม่ใช่ LPDDR5 บัส 5500MHz อย่างโน๊ตบุ๊คบางเบาหลายๆ รุ่นในปัจจุบันนิยมกัน แต่ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าตัวแรมประเภทนี้ก็ได้บัสสูงพอและทำงานได้ไหลลื่นแล้ว ถ้าอัพเกรดมาแม้จะได้ความสดใหม่แต่ราคาสูงขึ้นแล้วประสิทธิภาพไม่หนีจากเดิมเกินไปอาจจะไม่คุ้มกันเท่าไหร่ แต่ถ้าในอนาคตเชื่อว่าทาง ASUS จะต้องมี Zenbook 14 OLED พร้อมแรม LPDDR5 ออกมาอย่างแน่นอน

gpu

การ์ดจอออนบอร์ดในซีพียูเป็น AMD Radeon Graphics แบบ 7 คอร์ ความเร็ว 2,000MHz รองรับชุดคำสั่งต่างๆ ไม่ว่าจะ OpenCL, OpenGL 4.6, DirectCompute, DirectML, Vulkan และ DirectX 12 ที่จำเป็นต้องใช้งานครบถ้วน จึงใช้ทำงานกราฟิคและโปรแกรมตัดต่อได้ดีอย่างแน่นอน

devicemgr 1

เมื่อเช็คพาร์ทในเครื่องด้วย Device Manager จะเห็นว่า ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ติดตั้งชิป TPM 2.0 และ AMD PSP 10.0 มาประสานงานกับระบบ Windows Hello เพื่อรักษาความปลอดภัยภายในเครื่อง ด้านเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ปุ่ม Power ผลิตโดย EgisTec เป็นผู้ผลิตเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือของทางไต้หวันเอง

ด้าน Wi-Fi PCIe Card เป็น MediaTek Filogic 330 MT7922 รองรับการเชื่อมต่อด้วย Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax คลื่น 6GHz แบนด์วิธ 160MHz เชื่อมต่อแบบ Dual band, MU-MIMO ความเร็ว Data Thoughput สูงสุดได้ 1.9Gbps และรองรับ Bluetooth 5.0 ในตัวอีกด้วย

ssd

 M.2 NVMe SSD ภายในเครื่องเป็นรุ่น INTEL SSDPEKNU512GZ เมื่อเช็คข้อมูลแล้วเป็น Intel 670p ความจุ 512GB เป็น QLC NAND โดยข้อดีจุดเด่นของ SSD นี้คือใช้ไฟน้อยประหยัดพลังงานและเย็น ส่วนความเร็วที่วัดได้จากโปรแกรม CrystalDiskMark 8 ได้ค่า Sequential Read 3,009.03 MB/s และ Sequential Write 1,643.15 MB/s ซึ่งความเร็วนี้จัดว่าสูงพอใช้ทำงานออฟฟิศและรันโปรแกรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องอัพเกรดก็ได้

3dmark

เมื่อนำ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 มาทดสอบกับโปรแกรม 3DMark Time Spy แล้วจะได้คะแนนเฉลี่ย 1,428 คะแนน แยกเป็นคะแน CPU score 5,667 คะแนน และ Graphics score 1,262 คะแนน โดยคะแนนเฉลี่ยระดับนี้ถือว่าพอใช้เล่นเกมออนไลน์หลาๆ เกมในปัจจุบันได้อย่างแน่นอน แต่ไม่เหมาะกับเกมฟอร์มใหญ่นักเพราะการ์ดจอออนบอร์ดอาจประมวลผลไม่ไหวและทำให้เฟรมเรทตกเป็นระยะๆ อย่างแน่นอน

gaming r2

จากการทดสอบเล่นเกมทั้งหมด 3 เกม ได้แก่ Genshin Impact, DotA 2 และ Resident Evil Village ปรับกราฟิคสูงสุดจะเห็นว่าซีพียู AMD Ryzen 5 7530U และการ์ดจอ AMD Radeon Graphics 7 คอร์ ใน ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ได้รับการพัฒนามาพอสมควร ทำให้เล่นเกมออนไลน์ได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะ DotA 2 ซึ่งเป็นเกมเน้นใช้คอร์ซีพียูเป็นหลัก (CPU Intensive) จะทำเฟรมเรทเฉลี่ยได้สูงถึง 57 Fps

ด้านเกมยอดนิยมอย่าง Genshin Impact ก็ทำเฟรมเรทเฉลี่ยได้ค่อนข้างดี แม้จะตั้งกราฟิคในระดับสูงและเปิดค่าเฟรมเรทเอาไว้ 60 Fps ตัวเกมก็ทำเฟรมเรทเฉลี่ยได้ 29 Fps ซึ่งถ้าใช้เล่นฆ่าเวลา ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ก็พอเล่นได้ระดับหนึ่ง แต่ข้อสังเกตที่พบระหว่างทดสอบ คือ เมื่อมีเอฟเฟคไฟหรือท่าไม้ตายเมื่อไหร่ ภาพจะหน่วงแล้วเฟรมเรทลดลงจนรู้สึกได้ ดังนั้นผู้เขีนยแนะนำว่าถ้าจะเล่น Genshin Impact ควรเปิดกราฟิคระดับกลางหรือต่ำเพื่อเน้นความไหลลื่นสูงสุดไปจะดีกว่า

กรณีเกมฟอร์มใหญ่อย่าง Resident Evil Village แม้เอนจิ้นเกมจะเอื้อ AMD Ryzen และ Radeon และทำเฟรมเรทเฉลี่ยได้ 27 Fps ก็ตาม แต่ตอนทดลองเล่นจริงแล้วผู้เขียนไม่แนะนำนัก เนื่องจากเครื่องต้องเรนเดอร์กราฟิคอย่างต่อเนื่องและใช้พลังของกราฟิคการ์ดสูงมาก ทำให้ภาพหน่วงและตอบสนองได้ไม่เร็วเท่ากับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คแบบมีการ์ดจอแยก ดังนั้นถ้าเป็นเกมฟอร์มใหญ่เน้นประมวลผลภาพด้วยการ์ดจอแยก AMD Radeon Graphics 7 คอร์ใน AMD Ryze 5 7530U จะไม่แนะนำนัก

สรุปคือ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 สามารถเล่นเกมออนไลน์ทั่วไป เช่น DotA 2, Genshin Impact, PUBG หรือแม้แต่ Valorant ได้ไหลลื่นระดับหนึ่ง ส่วนเกมฟอร์มใหญ่จะเหมาะกับประเภทที่เน้นใช้ซีพียูทำงานเป็นหลัก (CPU Intensive) เช่น Civilization VI หรือ Total War ก็พอเล่นได้ แต่ถ้าเป็นเกมเน้นกราฟิคการ์ดเป็นหลักอาจต้องปรับกราฟิคระดับ Medium~Low ถึงจะเล่นได้ลื่นขึ้น

pcmark10

กลับกันถ้าเอา ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ไปทำงานจัดว่าทรงพลังไม่มีข้อกังขาแน่นอน โดยคะแนนจากโปรแกรมทดสอบการทำงานอย่าง PCMark 10 ทำคะแนนเฉลี่ยได้สูงมากถึง 5,903 คะแนน และถ้าดูแยกตามหมวดคะแนนจะเห็นว่า AMD Ryzen 5 7530U ทำคะแนนในกลุ่ม Essential อย่างการเปิดโปรแกรม, ประชุมงานออนไลน์หรือเปิดเว็บเบราเซอร์ได้ยอดเยี่ยม ถัดลงมาเป็นหมวด Productivity อย่างการเปิดโปรแกรมทำงานเอกสารและออฟฟิศไม่ว่าจะ Word, Excel ก็ทำได้ดีไม่แพ้กัน รองลงมาจะเป็นหมวด Digital Content Creation โดยเฉพาะการตัดต่อแต่งภาพจะทำได้ดีทีเดียว ส่วนการเรนเดอร์พรีวิวโมเดล 3D CG หรือตัดต่อวิดีโอต้องถือว่าใช้งานได้ แต่ไม่โดดเด่นเท่ารุ่นมีการ์ดจอแยก

โดยรวมในแง่การทำงาน ต้องถือว่า ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 จะทำงานเอกสาร, ประชุมออนไลน์หรือเปิดเว็บแอพฯ ขึ้นมาทำงานเป็นอย่างมากและพอตัดต่อแต่งภาพด้วยโปรแกรม Photoshop ได้ดีระดับหนึ่ง อาจใช้พรีวิวโมเดล 3D CG เพื่อเสนองานให้กับลูกค้าได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นมันจะเหมาะกับงานสายเซลส์ที่ต้องไปพบลูกค้าประชุมงาน ติดต่อรับส่งเมล์และแก้ไฟล์เอกสารรวมไปถึงนักศึกษาที่หาโน๊ตบุ๊คคุณภาพดีประสิทธิภาพสูงเอาไว้ทำงานสักเครื่องหนึ่งมาก

r15
r20

ด้านผลคะแนนเมื่อทดสอบด้วยโปรแกรม CINEBENCH R15 เพื่อดูพลังการเรนเดอร์กราฟิคของซีพียู AMD Ryzen 5 7530U แล้ว จะเห็นว่าส่วนของ OpenGL ทำได้ 125.86 fps และ CPU ได้ 1,480 cb สรุปได้ว่าซีพียูนี้สามารถพรีวิวโมเดล 3D เพื่อนำเสนองานให้ลูกค้าดูได้อย่างลื่นไหลต่อเนื่องแน่นอน ส่วน CINEBENCH R20 ที่ทดสอบพลังการทำงานของคอร์ซีพียูอย่างเดียว ได้คะแนน 3,423 pts จัดว่าสูงพอเรนเดอร์ภาพกราฟิคต่างๆ ได้สบายๆ ดังนั้นถ้าใครต้องทำงานกับโปรแกรมสาย Adobe Photoshop หรือแม้แต่ Lightroom ก็ทำได้ดีไม่มีปัญหา และแม้แต่เรนเดอร์โมเดลด้วยโปรแกรม Blender ก็ใช้งานได้ค่อนข้างไหลลื่นอีกด้วย

myasus1

oled care
customer support
settings

โปรแกรม MyASUS สำหรับตั้งค่าตัวเครื่องในส่วนต่างๆ จะมีฟังก์ชั่น ASUS OLED Care ไว้ตั้งค่าแสดงผลของพาเนล OLED ช่วยยืดอายุการใช้งานและลดปัญหาหน้าจอ Burn-in ลงไปได้ โดยผู้เขียนแนะนำให้เปิดฟังก์ชั่น OLED Care ทั้งหมดเอาไว้เลยเพื่อถนอมพาเนลให้อายุใช้งานนานที่สุด นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นตั้งค่าตัวเครื่องในส่วนต่างๆ รวมทั้งหมวดการอัพเดทเฟิร์มแวร์ด้วย หากใครใช้โน๊ตบุ๊คเครื่องนี้รวมไปถึงเครื่องของแบรนด์ ASUS แนะนำให้เปิดซอฟท์แวร์นี้มาเช็คเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่นใหม่ๆ และอัพเดทเป็นระยะๆ จะช่วยให้เครื่องทำงานได้ดีต่อเนื่อง

Battery & Heat & Noise

batt 1

แบตเตอรี่ของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 เป็นแบตเตอรี่ความจุ 75Wh แบบฝังไว้ในเครื่อง ถ้าเทียบกับโน๊ตบุ๊คบางเบารุ่นอื่นในท้องตลาดต้องถือว่ามีความจุสูงทีเดียว เมื่อทดสอบตามมาตรฐานของทางเว็บไซต์โดยเปิดความสว่าง 50% เปิดเสียงลำโพง 10% แต่เมื่อซีพียูในเครื่องเป็น AMD Ryzen 5 7530U ผู้เขียนขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการกดโหมด Battery Saver ของ Windows 11 มาเปิดฟังก์ชั่น Radeon Chill ใน AMD Software: Adrenalin Edition แทน และใช้ Microsoft Edge ดูคลิป YouTube โดยครั้งนี้ผู้เขียนทดลองเพิ่มระยะเวลาใช้งานให้นานขึ้นจาก 30 เป็น 45~50 นาทีแทน ตัว AMD Ryzen 5 7530U ก็สามารถใช้งานต่อเนื่องได้นานมากถึง 15 ชั่วโมง 10 นาที

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้ทดสอบโดยตั้งค่าตัวเครื่องแบบเดียวกันแต่ปล่อยเอาไว้ 30 นาที แบบเดียวกับที่ได้ทดสอบโน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นๆ มาก่อนหน้านี้เช่นกัน ซึ่งระยะเวลาใช้งานก็ไม่ต่างกันกับการทดสอบในรีวิวนี้ และหากเปลี่ยนวิธีการทดสอบเล็กน้อยโดยไม่ใช้ Radeon Chill แล้วใช้ระบบ Battery Saver แทน ระยะเวลาใช้งานด้วยแบตเตอรี่ของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 จะลดลงเหลือราว 14 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่งน้อยลงราว 40 นาที ดังนั้นถ้าใครซื้อโน๊ตบุ๊คซีพียู AMD Ryzen มาใช้งานก็ขอแนะนำให้ใช้ระบบ Radeon Chill แทน จะจัดการพลังงานได้ดียิ่งขึ้นและแนะนำให้ลง AMD Chipset Driver ของโน๊ตบุ๊คเพิ่มเข้าไปอีกหน่อยจะรีดประสิทธิภาพและจัดการพลังงานได้ดีกว่าเดิมอย่างมาก

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00028

ช่องระบายความร้อนของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 จะมีเพียงช่องเดียว โดยอยู่ถัดมาจากพอร์ต USB-A 3.2 Gen 2 ฝั่งซ้ายมือ เป็นช่องเล็กๆ ไม่กว้างมากแต่ก็ระบายความร้อนได้ดี เสียงตอนพัดลมโบลเวอร์ทำงานเต็มประสิทธิภาพจะดังราว 55~60dB เท่านั้น

temp

และแม้จะมีช่องระบายความร้อนเพียงช่องเดียวก็ตาม แต่เมื่อทดลองรันโปรแกรม Benchmark แล้วเช็คอุณหภูมิในเครื่องด้วย CPUID HWMonitor จะเห็นว่าอุณหภูมิในเครื่องจะวิ่งอยู่ราว 62.5~95.4 องศา มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 63.1 องศาเซลเซียสเท่านั้น และเวลาใช้งานจริงต้องถือว่าตัวเครื่องจัดการเรื่องอุณหภูมิได้ดีมาก จะวางเครื่องบนหน้าตักเพื่อใช้งานก็ได้ไม่ร้อนมากแต่ถ้ารันโปรแกรมกินทรัพยากรตัวเครื่องหนักๆ อย่าง Adobe Photoshop, Lightroom ตัวเครื่องจะอุ่นขึ้นมาระดับหนึ่ง แนะนำให้วางบนโต๊ะทำงานแทนจะดีกว่า

User Experience

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00074

แม้รูปลักษณ์ของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 จะเหมือนกับ Zenbook 14 OLED ในรุ่นก่อนก็ตาม ใช้บอดี้เป็นอลูมิเนียมได้ความพกพาง่ายแข็งแรงทนทานและลวดลายดีไซน์เน้นความสวยเรียบหรูดูดีและได้ซอฟท์แวร์ใช้งานติดตั้งมาให้ครบทั้ง Windows 11 Home และ Microsoft Office Home & Student 2021 เพียงเปิดเครื่องขึ้นมา Sign in ให้เรียบร้อยแล้วก็เริ่มทำงานได้ทันที และทัชแพดของ Zenbook 14 OLEd นี้ก็เป็น ASUS NumberPad 2.0 ชุด Numpad เลเซอร์ซึ่งใช้งานได้สะดวกมาก ไม่ต้องเป็นโน๊ตบุ๊คเครื่องใหญ่ระดับ 15.6 นิ้วก็ทำงานเกี่ยวกับตัวเลขและเอกสารได้ดีไม่แพ้กัน

นอกจากซอฟท์แวร์จะครบ น้ำหนักก็ยังเบาพกง่าย เพียง 1.35 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งเป็นจุดที่ผู้เขียนชอบมาก เวลาจะหยิบเครื่องติดตัวไปออฟฟิศหรือไปร้านกาแฟใกล้บ้านเพื่อนั่งทำงานก็เบาสบายพกง่าย ไม่ต้องใช้เป้ใบใหญ่แค่ใช้กระเป๋าสะพายข้างเส้นหนึ่งกับเซ็ตสาย USB-C และอแดปเตอร์ GaN กำลังชาร์จ 65 วัตต์อีกอันใส่กระเป๋าไปก็ไม่ต้องห่วงว่าแบตเตอรี่จะหมดระหว่างวันแล้ว แต่อันที่จริงซีพียู Ryzen 5 7530U ของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 ก็จัดการพลังงานได้ดีมาก เพียงลง AMD Chipset Driver แล้วเข้า AMD Software: Adrenalin Edition เปิด Radeon Chill ใช้โหมด Power Saving เท่านี้ก็ใช้งานด้วยแบตเตอรี่ได้ทั้งวัน ส่วนตัวผู้เขียนจะตั้งสว่างหน้าจอ 50% แล้วปิดเสียงลำโพงกับไฟ LED Backlit ไป กลับถึงบ้านแบตเตอรี่ยังเหลือให้ใช้อีกพอสมควร

อุณหภูมิตอนใช้งานจริง แม้ตอนทดสอบ CPUID HWMonitor จะขึ้นว่าอุณหภูมิพุ่งไปสูงสุดถึง 95 องศาเซลเซียสก็ตาม แต่ตอนใช้งานจริงถ้าใช้งานทั่วไปอย่างเปิดเบราเซอร์ทำงานด้วยเว็บแอพฯ, ทำงานเอกสารหรือแม้แต่เปิดดูหนังฟังเพลง ตัวเครื่องก็เย็นตลอดเวลาแถมพัดลมระบายความร้อนก็ไม่ได้ดังรบกวนเลยแม้แต่นิดเดียว อาจจะมีเสียงพัดลมแทรกเล็กๆ น้อยๆ เวลาเปิดโปรแกรมประเภท Photoshop, Lightroom อยู่บ้าง แต่เสียงพัดลมจะไปหมุนดังเต็มที่ก็ตอนเปิดเล่นเกมเท่านั้น จึงสรุปเรื่องอุณหภูมิได้ว่า ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 นั้นถ้าใช้งานทั่วไปก็เย็นแทบตลอดเวลา ไม่ต้องห่วงว่าเครื่องจะร้อนเลยแม้แต่นิดเดียว

ด้านพอร์ตก็มี HDMI, USB-A 3.2 และ MicroSD Card Reader ติดเครื่องมาให้ใช้งานเลย ไม่จำเป็นต้องหา USB-C Multiport Adapter มาต่อกับ USB-C 3.2 Full Function เพื่อเพิ่มพอร์ตก็ได้ อย่างมากอาจจะหา SD Card Reader และหัวแปลง HDMI to VGA มาเผื่อเอาไว้กรณีต้องต่อโปรเจคเตอร์รุ่นเก่าจะได้ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้นแค่นี้ก็เหลือเฟือแล้ว

จุดแข็งแต่ก็เป็นจุดสังเกตในเวลาเดียวกันอย่างพาเนล OLED ที่ได้ขอบเขตสีกว้าง สว่างและได้รับการรับรองจาก PANTONE Validated และ VESA DisplayHDR True Black 600 แถมขอบเขตสียังกว้างถึง 100% DCI-P3 ถือเป็นพาเนลที่ดีมากๆ หากใครต้องทำงานเกี่ยวกับสีสันเป็นประจำ ต้องการหน้าจอที่ดีเอาไว้พรีเซนต์งานหรือเทียบสี ก็ใช้จอของ ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 เทียบสีได้เลย แต่ก็ต้องระวังว่าพาเนล OLED อาจมีปัญหา Burn-in หากเปิดความสว่างจอสูงสุดหรือใช้ภาพใดภาพหนึ่งค้างบนหน้าจอเป็นเวลานานๆ แต่ทางบริษัทก็ใส่ฟีเจอร์ ASUS OLED Care มาใน MyASUS แล้ว ดังนั้นถ้าซื้อเครื่องไป ให้เปิดฟีเจอร์ทั้งหมดในหมวดนี้เอาไว้ได้เลย จะได้ลดโอกาสจอไหม้ไปในตัว แต่นอกจากนั้น Zenbook 14 OLED UM3402 ถือเป็นโน๊ตบุ๊คที่น่าใช้และได้ฟีเจอร์เกินค่าตัว 32,990 บาทมาก

Conclusion & Award

ASUS Zenbook 14 OLED Ryzen 7000 DSC00076

ASUS Zenbook 14 OLED UM3402 แม้จะอัพเกรดจากรุ่นก่อนเพียงแค่เปลี่ยนซีพียูเป็น AMD Ryzen 5 7530U แต่ก็ยังน่าสนใจ ถ้าเทียบกับรุ่นก่อนหน้าที่เป็น Ryzen 5000 Series ซึ่งวางขายไปก่อนหน้านี้แล้ว ถือเป็นการยกข้อดีทั้งหมดที่รุ่นก่อนมาใช้แล้วใส่ซีพียูที่ประสิทธิภาพดีขึ้นลงไปแทน ทั้งทำงานหนักได้สบายๆ และยังจัดการพลังงานได้ดีกว่าเดิมมากจนแทบไม่ต้องห่วงว่าแบตเตอรี่จะหมดระหว่างวันเลย ยังไม่รวมถึงเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ใช้งานได้ง่ายและเหมาะสมกับยุค New Normal และซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งมาให้ครบเครื่องทั้ง Windows 11 Home และ Microsoft Office Home & Student 2021 ด้วย เรียกว่าเปิดเครื่องมาก็ทำงานต่อจากที่คั่งคางไว้ได้ทันที

หากคิดคำนวณแล้ว ราคาเครื่อง 32,990 บาท แลกกับฟีเจอร์และซอฟท์แวร์ทั้งหมดใน Zenbook 14 OLED UM3402 แล้วก็เป็นราคาที่สมน้ำสมเนื้อกัน ซื้อมาแล้วจบไม่ต้องเสียเงินซื้อโปรแกรมอะไรเพิ่มให้เสียอารมณ์หรืองานสะดุดเลย ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าถ้าโน๊ตบุ๊คใครมีอายุราว 2 ปีขึ้นไปหรือมีเพื่อนถามหาโน๊ตบุ๊คบางเบาน่าใช้สักเครื่องล่ะก็ นี่คือโน๊ตบุ๊ครุ่นน่าซื้อหรือจะเอาไปแนะนำให้เพื่อนก็ยอดเยี่ยมทั้งนั้น

award

NBS award 4 Mobility

best mobility

น้ำหนักเครื่อง 1.35 กิโลกรัม แม้จะรวมอแดปเตอร์เข้าไปก็หนักแค่ 1.58 กิโลกรัมเท่ากับโน๊ตบุ๊คจอ 15.6 นิ้ว แต่ฟีเจอร์และฟังก์ชั่นมีให้ใช้เยอะไม่แพ้กันแถมยังพกง่ายหยิบใช้ถนัดอีกด้วย น่าจะถูกใจสายพกพาอย่างแน่นอน

award new Battery Life

best battery life

Zenbook 14 OLED UM3402 มีแบตเตอรี่ความจุ 75Wh ติดตั้งมาให้ เมื่อตั้งค่าการจัดการพลังงานแล้วก็ใช้งานได้นานมากถึง 15 ชั่วโมงทีเดียว ไม่ต้องกลัวว่าแบตเตอรี่จะหมดระหว่างวันเลยสักนิด และยังใช้อแดปเตอร์ GaN ชาร์จผ่านพอร์ต USB-C ได้ด้วย ถือว่าสะดวกเหลือเฟือ

NBS award Features

 

best features

AMD Ryzen 5 7530U, ASUS NumberPad 2.0, เซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ, Windows 11 Home, Microsoft Office Home & Student 2021 เป็นฟีเจอร์และซอฟท์แวร์เด่นๆ ที่ทางบริษัทใส่มาในโน๊ตบุ๊คบางเบาแต่ทรงพลังราคา 32,990 บาทเครื่องนี้ เรียกว่าคุ้มเกินค่าตัวไปมาก!

award new Graphic

best graphic

จอของ Zenbook 14 OLED UM3402 เป็นพาเนล OLED ค่า Refresh Rate 90Hz ได้ภาพลื่นไหล มีขอบเขตสียังกว้าง 100% DCI-P3 แถมได้รับการรับรอง PANTONE Validated, VESA DisplayHDR True Black 600 มาแบบครบเครื่อง ถูกใจสายกราฟิคแน่นอน

from:https://notebookspec.com/web/684943-review-asus-zenbook-14-oled-um3402

โน๊ตบุ๊คเล่นเกมราคาถูก 8 รุ่น เริ่มไม่ถึง 30,000 ปี 2023 เล่นเกมใหม่ เฟรมเรตลื่น

โน๊ตบุ๊คเล่นเกมราคาถูก 8 รุ่นเด็ด เริ่ม 29,900 การ์ดจอแรง จอใหญ่ เล่นเกมลื่น อัพเกรดได้

โน๊ตบุ๊คเล่นเกม

โน๊ตบุ๊คเล่นเกมราคาถูก 8 รุ่น ต้นปี 2023 ครั้งนี้จัดมาให้สำหรับคอเกม ที่กำลังมองหาโน๊ตบุ๊คสำหรับเล่นเกมใหม่ๆ ในปีนี้ กับราคาในระดับที่จ่ายง่าย สบายกระเป๋า เริ่มแค่ 29,900 บาท ไปจนถึง 35,900 บาท แต่เล่นเกมได้แบบโหดๆ กับสเปคที่ให้คุณเล่นเกมบนความละเอียด Full-HD ได้ลื่น ว่ากันตั้งแต่ซีพียูระดับ Intel Core i5 จนถึง Core i7 และ AMD Ryzen 5 กับความแรงที่จะตอบโจทย์ทั้งการเล่นเกมพื้นฐาน ไปจนถึงเกมระดับ AAA โดยมีกราฟิกการ์ด GeForce RTX3050, RTX3050Ti และ RTX3060 ให้ใช้งาน จอแสดงผลขนาดใหญ่ ซึ่งในเวลานี้มีให้เลือกเกือบทุกแบรนด์ แต่จะมีรุ่นไหนที่น่าสนใจ ซึ่งเข้ามาตามเงื่อนไขหรือจัดสเปคให้เกินจากนี้บ้าง ไปติดตามชมกันครับ

โน๊ตบุ๊คเล่นเกมราคาถูก 8 รุ่น ปี 2023

  1. MSI GF66 Katana 12UC
  2. ASUS TUF Gaming A17
  3. Gigabyte A5 K1
  4. Gigabyte G5 ME
  5. HP Victus Gaming 16
  6. ASUS TUF Dash F15
  7. Lenovo Gaming3
  8. Acer Nitro AN515

1.MSI GF66 Katana 12UC

โน๊ตบุ๊คเล่นเกม

มาเริ่มกันที่โน๊ตบุ๊คเล่นเกมรุ่นแรก ที่ทำราคาออกมาได้ดีเลยทีเดียว สำหรับ GF66 Katana ซึ่งเป็นซีรีส์ในตระกูลเกมมิ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปีที่ผ่านมา เพราะเรื่องของการดีไซน์และวัสดุ มีความคุ้มค่าน่าสนใจ แม้ว่าจะไม่ได้มีลูกเล่นหวือหวามากนัก คีย์บอร์ดเป็นไฟสีแดง ตัดกับโครงสร้างสีดำ ดูโหดๆ ดีเหมือนกัน แต่ถ้าเน้นที่พลังในการเล่นเกม หน้าจอขนาดใหญ่ สีสดใส ระดับ 15.6″ FHD และรีเฟรชเรตสูงถึง 144Hz ก็ต้องบอกว่า ราคาหาตัวจับมาแข่งได้ยาก ซึ่งทาง MSI ใส่ขุมพลัง Intel Core i5-12450H เกมมิ่งซีพียูตัวแรงมาให้ พร้อมแรม DDR5 8GB และใส่การ์ดจอ GeForce RTX3050 4GB มาให้ด้วย แบตเตอรี่อาจจะไม่ใหญ่นัก น้ำหนักตัวเลยอยู่ที่ประมาณ 2.25Kg เท่านั้น พอร์ตจัดมาให้ครบ เช่นเดียวกับชุดระบายความร้อน CooloerBoost 5 ที่มีฮีตไปป์หลายเส้น คู่กับพัดลมคู่ขนาดใหญ่ อันเป็นเอกลักษณ์ กับการรับประกัน 2 ปี ราคาอยู่ที่ราว 29,900 บาทเท่านั้น

Advertisementavw
จุดเด่น ข้อสังเกต
มาพร้อมแรม DDR5 ไม่มี Thunderbolt 4
แบตค่อนข้างอึด

ข้อมูลเพิ่มเติม: MSI


2.ASUS TUF Gaming A17

โน๊ตบุ๊คเล่นเกม

เป็นอีกหนึ่งโน๊ตบุ๊คเล่นเกมตัวคุ้มสุดโหด ดีไซน์สวย ฟังก์ชั่นเด่นในตลาดบ้านเรา สำหรับงบประมาณ 3 หมื่นกว่าบาท ซึ่งมีการต่อยอดมาอย่างต่อเนื่องจาก ASUS TUF รุ่นก่อนๆ มาได้ดี จากบอดี้ที่ก่อนหน้านี้เน้นอึดถึก ดูบึกบึน มาถึงตอนนี้ เริ่มปรับเส้นสายและมิติให้ดูบาง ลงตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Cover สีเทาเรียบๆ แต่ใส่โลโก้ให้ดูสะดุดตา ด้านใต้เป็นช่องลมแบบรังผึ้ง ด้านในลายอลูมิเนียมปัดเสี้ยน และให้หน้าจอใหญ่ 17.3″ FHD อัตรารีเฟรชเรตสูงถึง 144Hz ขุมพลัง AMD Ryzen 7 4800H พร้อมแรม DDR4 3200 8GB อัพเกรดเพิ่มได้ และ SSD 512GB โดยใช้การ์ดจอพิมพ์นิยม GeForce RTX3050 มาด้วย กับระบบเสียงสุดกระหึ่มเอาใจเกมเมอร์ และคอบันเทิงได้ดีทีเดียว พอร์ตต่อก็ครบ ทั้ง USB 3.2, USB Type-C ที่ใช้ต่อจอได้ และ HDMI ไปจนถึง LAN ชุดระบายความร้อนพัดลมคู่ และฮีตไปป์ จุดเด่นอยู่ที่คีย์บอร์ดแสงไฟ RGB ปรับแต่งได้ พร้อมโพรไฟล์ให้เลือก 4 แบบด้วยกัน การรับประกัน 2 ปี ราคาประมาณ 30,990 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
คีย์บอร์ด RGB แรม DDR4
จอขนาดใหญ่

ข้อมูลเพิ่มเติม: ASUS


3.Gigabyte A5 K1

โน๊ตบุ๊คเล่นเกม

เข้าป้ายมาอีกหนึ่งรุ่นสำหรับโน๊ตบุ๊คเล่นเกมจาก Gigabyte ที่จัดสเปคมาให้แบบจัดเต็ม ไม่เป็นรองใคร อาจจะต่างจากรุ่นของ G5 อยู่บ้าง ในแง่ของบอดี้ที่อาจะดูบึกบึนขึ้นมา แต่มาในสไตล์ที่ดูเป็นเกมมิ่งดุดัน ให้ขุมพลังมาเพื่อรีดเฟรมเรตโดยเฉพาะ กับโครงสร้างที่แข็งแกร่ง หน้าจอแบบ 15.6″ IPS 144Hz Full-HD และมีขอบจอบางพิเศษ โดยให้ซีพียู AMD Ryzen 5 5600H ที่รับได้ทั้งงานและการเล่นเกมปัจจุบัน พร้อมแรม DDR4 3200 8GB เช่นเดียวกับ SSD 512GB มาตรฐาน รองรับการอัพเกรดได้พอสมควร ส่วนการ์ดจอต้องจัดว่าแรงแซงหน้าคู่แข่งในงบพอกัน เพราะจัด RTX3060 มาให้ เล่นเกมได้ลื่นมากขึ้น ส่วนคีย์บอร์ดสไตล์เกมมิ่ง ที่มีแสงไฟ Backlit มาในตัว ตั้งรูปแบบแสงไฟได้ 15 สี พอร์ตโดดเด่นตรงที่มี Mini DP เพิ่มมาให้ นอกเหนือจาก HDMI จึงต่อเพิ่มได้อีก 2 จอ และพอร์ต USB 3.2 Type-C แต่ไม่มี Thunderbolt 4 มาให้ น้ำหนักตัวประมาณ 2.12Kg ราคาสบายกระเป๋า 31,990 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
ให้การ์ดจอ RTX3060 แรม DDR4
มีพอร์ต HDMI และ Mini DP ต่อจอใหญ่ได้

ข้อมูลเพิ่มเติม: Gigabyte


4.Gigabyte G5 ME-51TH263SH

โน๊ตบุ๊คเล่นเกม

มาถึงโน๊ตบุ๊คเล่นเกมจากทาง Gigabyte ซึ่งเป็นค่ายที่ช่ำชองในตลาดของเกมมิ่งมายาวนาน และในไทยก็มีโน๊ตบุ๊คที่ล้ำๆ มาให้ได้ใช้กันด้วย ในราคาที่เป็นกันเอง อย่างเช่น G5 Gen12 รุ่นนี้ ที่ใส่มาทั้งดีไซน์และฟีเจอร์น่าสนใจมากมาย หน้าจอขนาด 15.6″ FHD 144Hz ฝาหลังมีการออกแบบเส้นสายให้ดูไม่น่าเบื่อ กับบอดี้ที่ดูปรับให้ลงตัวมากขึ้น บานพับขนาดใหญ่ เน้นการใช้งานที่ไม่โยกคลอนง่าย พอร์ตต่อพ่วงกระจายออกไปในทุกด้าน เพื่อลดความแออัด ขุมพลัง Intel Core i5-12500H และให้แรม DDR4 3200 8GB มาให้ และ SSD 512GB แต่ขยับการ์ดจอให้แรงขึ้นอีกนิดกับ RTX3050Ti น้ำหนักทำได้ค่อนข้างดีอยู่ที่ 1.9Kg เท่านั้น กับระบบเสียง DTS:X จัดเต็มสำหรับคอเกม คู่กับลำโพงใต้เครื่องให้มิติเสียงได้สนุก โดยมีพอร์ตพื้นฐานอย่าง USB 3.2 Type-C และ HDMI รวมถึง Mini-DP มาให้ จะขาดไปเพียง Thunderbolt 4 ที่จะอยู่ในรุ่น G5 KE เท่านั้น อย่างไรก็ดีโดยรวมยังถือว่ามาแบบครบๆ สเปคก็ถือว่าจัดจ้าน กับการรับประกัน 2 ปี ในราคา 32,490 บาท เท่านั้น

จุดเด่น ข้อสังเกต
ได้การ์ดจอ RTX3050Ti ไม่มี Thunderbolt 4
ดีไซน์ทันสมัย

ข้อมูลเพิ่มเติม: Gigabyte


5.HP Victus Gaming 16-e1081AX

โน๊ตบุ๊คเล่นเกม

มาถึงโน๊ตบุ๊คเล่นเกมตัวแกร่งของทาง HP กันบ้าง ใครที่ชื่นชอบเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่มีมิติเพรียวบาง Victus ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ดีไซน์ของรุ่นนี้ จะออกไปทางสาย Pavilion ที่ดูมีความหรูหรา และให้ความแรงที่แตกต่าง กับหน้าจอขนาดใหญ่ 16″ ที่กว้างขึ้น ความละเอียด Full-HD รีเฟรชเรต 144Hz จัดได้ว่าเป็นหน้าจอที่สว่างสดใส ให้ความแม่นยำของสีได้ดีพอสมควร กับสเปคที่จัดว่าขิงกับค่ายอื่นได้สบาย ในราคาเดียวกัน เพราะได้ซีพียูใหม่อย่าง AMD Ryzen 5 6600H 6 core/ 12 thread กับความเร็วสูงสุด 4.5GHz ที่มากับแรม DDR5 ที่เสริมความแรงมาให้ถึง 16GB รวมถึง SSD 512GB และการ์ดจออย่าง GeForce RTX 3050Ti อีกด้วย อีกทั้งยังให้ระบบเสียงมาเพื่อคอเกมโดยเฉพาะ กับพอร์ตเชื่อมต่อสำคัญก็มีมาเกือบครบ อย่าง USB 3.2 Type-C, HDMI และ RJ-45 แต่คีย์บอร์ดจะมาในแบบแสงไฟสีขาวมาเท่านั้น การรับประกันเป็นแบบ 2 ปี On-site service ราคาอยู่ที่ 33,400 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
แรม 16GB คีย์บอร์ดไฟขาว
ได้การ์ดจอ RTX3050Ti

ข้อมูลเพิ่มเติม: HP


6.ASUS TUF Dash F15 FX517

โน๊ตบุ๊คเล่นเกม

เรียกว่าสายของ TUF Dash จาก ASUS ไม่เคยแผ่ว โตในสายเกมมิ่งได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งโน๊ตบุ๊คเล่นเกมรุ่นนี้เอง ก็จัดว่าน่าสนใจ เพราะใส่ขุมพลังตัวแรง อย่าง Intel Core i5-12450H เกมมิ่งตัวแรงมาด้วย คู่กับแรม DDR5 8GB รองรับการอัพเกรดเพิ่มได้ เช่นเดียวกับ SSD 512GB M.2 รุ่นใหม่ ความเร็วสูง กับหน้าจอขนาด 15.6″ FHD อัตรารีเฟรชเรต 144Hz ซึ่งขอบจอบางพิเศษ กับใครที่อยากจะได้การ์ดจอที่แรงขึ้นสุดในราคาระดับนี้ ASUS ให้มาเป็น RTX3050Ti พร้อม MUX switch ในตัว คีย์บอร์ดแสงไฟ RGB ใช้งานร่วมกับ AURA Sync ได้ จุดเด่นอยู่ที่การนำเสนอความทนทานกับดีไซน์ที่สวยโดดเด่น วัสดุเป็นอะลูมิเนียม ชุดระบาบความร้อนออกแบบมาเป็นพิเศษ Arc Flow Fans ที่ให้การหมุนเวียนของอากาศได้ดี ช่วยลดความร้อนในขณะเล่นเกม กับพอร์ตต่อพ่วงสำคัญอย่าง Thunderbolt 4, USB 3.2 Type-C และ HDMI มีให้ใช้ครบ กับการรับประกัน 2 ปีและ Perfect Warranty น้ำหนักเบาเพียง 2Kg. เท่านั้น เคาะราคามาที่ 34,990 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
ได้ RTX3050Ti
คีย์บอร์ดแสงไฟ RGB

ข้อมูลเพิ่มเติม: ASUS


7.Lenovo IdeaPad Gaming 3 15IAH7

โน๊ตบุ๊คเล่นเกม

สำหรับโน๊ตบุ๊คเล่นเกมจากทาง Lenovo ในราคาระดับนี้ ทำให้ผมชั่งใจพอสมควร ระหว่างรุ่นนี้ที่ใช้ Intel Core i5-12500H กับ i5-12450H เพราะได้การ์ดจอต่างกันในราคาเบียดๆ กันเลยทีเดียว โดย i5-12450H+RTX3050Ti ราคาสูงกว่ารุ่นนี้ 1,000 บาทเท่านั้น น่าสนใจด้วยกันทั้งคู่ แต่ถ้าคุณอยากได้เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คและจะแบ่งไปจัดเกมมิ่งเกียร์ด้วย ก็จัดรุ่นนี้ได้เลย ดูคมเข้ม ยิ่งรุ่นสีขาว Limited Edition ยิ่งโดนใจกับแสงไฟสีฟ้า การออกแบบใหม่ จัดว่าสวยลงตัว จอขนาด 15.6″ FHD รีเฟรชเรตสูงถึง 165Hz จอสีตรง ให้ความสว่างสูง โดยมีแรม DDR4 3200 8GB อัพเกรดเพิ่มได้ และ SSD 512GB ที่มีสล็อตเพิ่มให้ ระบบเสียง Nahimic สดใส เอฟเฟกต์แน่น พอร์ตมีให้ครบ ส่วนใหญ่ไปอยู่ด้านหลังทั้ง Thunderbolt 4 และ HDMI คีย์บอร์ดกดได้สนุก ชุดระบายความร้อนขนาดใหญ่ ออกแบบมาได้ดี น้ำหนักประมาณ 2.31Kg รับประกัน 3 ปีแบบ Onsite Service ราคาอยู่ที่ 33,900 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
อัตรารีเฟรชเรตสูง 165Hz น้ำหนัก 2.31Kg
มี Thunderbolt 4

ข้อมูลเพิ่มเติม: Lenovo


8.Acer Nitro AN515-58

โน๊ตบุ๊คเล่นเกม

เป็นอีกค่ายหนึ่งที่ออกโน๊ตบุ๊คเล่นเกมในกลุ่มเกมมิ่งได้ถูกอกถูกใจเหล่าเกมเมอร์มายาวนาน ในซีรีส์ Nitro ถือว่าโดดเด่น และทำราคาที่จับต้องได้ง่าย ใส่ฟีเจอร์มาแน่น เช่นเดียวกับสเปคที่ไม่ธรรมดา โดยมีซีพียู Intel Core i5-12500H ที่ถือว่าจัดจ้าน แต่น่าเสียดายที่ใส่แรม DDR4 มาให้ แต่ก็จัดมาให้เยอะกว่าคู่แข่ง เพราะให้ถึง 16GB และให้การ์ดจอเริ่มต้นอย่าง RTX3050 มาอีกด้วย กับหน้าจอแสดงผล 15.6″ FHD 165Hz เป็นแบบ IPS สีสดใสคมชัด เรื่องของเส้นสาย Cover มาในแบบที่เด่น ตามสไตล์ของรุ่นนี้ ด้านในขอบจอบางเฉียบ และฝาพับที่ค่อนข้างแข็งแรง คีย์บอร์ดเป็นแบบ RGB 4 zone ปรับโพรไฟล์สีได้ กดแน่นสำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ การระบายความร้อนมาพร้อมพัดลม 2 ตัวกับฮีตไปป์ ด้านท้ายตัวเครื่องออกแบบมาให้มีช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่มาให้ ทำงานคู่กับ Nitro Sense ให้การรับประกัน 3 ปี ราคา 35,900 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
ได้จอรีเฟรชเรต 165Hz
แรม 16GB

ข้อมูลเพิ่มเติม: Acer


Conclusion

Display CPU RAM SSD Graphic Price
1.MSI GF66 Katana 12UC 15.6″ 144Hz Intel Core i5-12450H DDR5 8GB 512GB RTX3050 29,900 บาท
2.ASUS TUF Gaming A17 17.3″ 144Hz AMD Ryzen 7 4800H DDR4 8GB 512GB RTX3050 30,990 บาท
3.Gigabyte A5 K1 15.6″ 144Hz AMD Ryzen 5 5600H DDR4 8GB 512GB RTX3060 31,990 บาท
4.Gigabyte G5 ME 15.6″ 144Hz Intel Core i5-12500H DDR4 8GB 512GB RTX 3050Ti 32,490 บาท
5.HP Victus Gaming 16 16.0″ 144Hz AMD Ryzen 5 6600H DDR5 16GB 512GB RTX 3050Ti 33,400 บาท
6.ASUS TUF Dash F15 15.6″ 144Hz Intel Core i5-12450H DDR5 8GB 512GB RTX 3050Ti 34,990 บาท
7.Lenovo Gaming3 15.6″ 165Hz Intel Core i5-12500H DDR4 8GB 512GB RTX3050 33,900 บาท
8.Acer Nitro AN515 16.0″ 165Hz Intel Core i5-12500H DDR4 16GB 512GB RTX3050 35,900 บาท

ก็เรียกว่าน่าจะครบครันไปแล้ว สำหรับข้อมูลของ 8 โน๊ตบุ๊คเล่นเกมราคาถูกในงบเริ่ม 29,900 บาท ซึ่งมีหลายรุ่นที่น่าสนใจ ซึ่งหากต้องการซีพียู และสเปคที่ค่อนข้างใหม่ ราคาราวๆ 3 หมื่นกว่าบาท มีให้เลือกมากมายเลยทีเดียว ถ้าเน้นราคาเริ่มต้น MSI GF66 ดีไซน์เกมมิ่ง ดุดันสเปคน่าใช้ แต่ถ้าอยากได้จอใหญ่ 17.3″ ซีพียูแรงๆ ASUS TUF A17 ตอบโจทย์คุณได้ ส่วนถ้าเลือกเฉพาะการ์ดจอแรงๆ มีทั้ง Gigabyte G5, HP Victus และ ASUS TUF Dash F15 ถือว่าน่าใช้ และถ้าต้องการจอรีเฟรชเรตสูง Lenovo และ Acer Nitro ทั้งคู่มาเป็น 165Hz แล้ว ส่วนถ้าอยากได้แรม 16GB มีทั้ง HP และ Acer แต่ HP จัดมาเป็น DDR5 อีกด้วย ที่เหลือจะเป็นเรื่องของดีไซน์และฟังก์ชั่น อย่างเช่น เรื่องการระบายความร้อน คีย์บอร์ดไฟ RGB หรือจะเป็นพอร์ต Thunderbolt 4 ก็มีให้ในบางรุ่น อยู่ที่คุณจะตัดสินใจเลือกใช้ และเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นไหนโดนใจคุณบ้าง อย่าลืมคอมเมนต์มาบอกเพื่อนๆ กันบ้างนะครับ

from:https://notebookspec.com/web/682754-8-value-gaming-notebook-2023

ASUS ExpertBook B5 Flip บางเบา พับได้ 360 องศา หน้าจอทัชสกรีน Thunderbolt 4 แบตอึด

ASUS ExpertBook B5 Flip จอทัชสกรีน พับได้ 360 ซีพียู Intel i7+DDR5 แบตใช้นาน มี Thunderbolt 4

ASUS ExpertBook B5 Flip cov4

ASUS ExpertBook B5 Flip B540RFB โน๊ตบุ๊คสำหรับงานธุรกิจ ที่ให้ความบางเบา สะดวกต่อการใช้งาน ด้วยฟังก์ชั่นที่หลากหลาย เสริมความปลอดภัยมาเต็มพิกัด และเตรียมประสิทธิภาพ สำหรับงานธุรกิจ ในชีวิตประจำวันเอาไว้มากมาย ตั้งแต่งานในสำนักงาน องค์กร ไปจนถึงการเทรดหุ้น และเรียนออนไลน์ วัสดุที่ทนทาน น้ำหนักเบา พับได้ 360 องศา เพื่อการใช้ในโอากสที่ต่างกัน แบตอึด ประหยัดพลังงาน ขุมพลัง Intel Core Gen 12 และแรม DDR5 พร้อมปากกาสไตลัส ASUS Pen ช่วยการบันทึกได้รวดเร็ว นำเสนอจินตนาการของคุณผ่านการวาดภาพบนหน้าจอ เพิ่มความปลอดภัยด้วยสแกนใบหน้าด้วย IR Camera เพื่อเข้าสู่ระบบ และสแกนลายนิ้วมือ เพื่อยืนยันตัวตน รวมถึงระบบ TPM 2.0 พร้อมกับมี Webcam Shield มาให้ด้วย ได้พอร์ต Thunderbolt 4 พร้อมการรับประกัน 3 ปี และมี Perfect Warranty อีก 1 ปีแรกอีกด้วย

ASUS ExpertBook B5 Flip


จุดเด่น

Advertisementavw
  • ระบบความปลอดภัยครบครัน
  • น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
  • จอพับได้ 360 องศา เป็นโหมดแท็ปเล็ต
  • กล้อง IR camera สแกนใบหน้าได้
  • ได้ซีพียู Intel Core i7 gen 12 และ DDR5
  • อัพเกรดแรมเพิ่มได้
  • มีระบบ Ai Noise cancelling
  • มีพอร์ต Thunderbolt 4 ให้ 2 พอร์ต
  • ให้พอร์ต RJ-45 มาในตัว ไม่ต้องใช้ตัวแปลง
  • แบตอึดใช้ได้นานระดับ 10 ชั่วโมง
  • มีระบบสแกนลายนิ้วมือ

ข้อสังเกต

  • ปุ่มเพาเวอร์สัมผัสยาก เมื่ออยู่ในที่แสงน้อย
  • ปากกาเหมาะกับการใช้งานพื้นฐาน จดบันทึกทั่วไป

Specification

Description
CPU Intel Core i7-1260P 12 core/ 16 thread, Boost 4.70GHz
GPU Intel Iris Xe Graphic
RAM DDR5 4800 16GB (8GB on-board, 8GB slot)
Storage SSD M.2 NVMe PCIe 4.0 512GB, Upto 2TB
Display 14.0″ Full-HD IPS, Anti-Glare, Touch screen, 400-nits, 100% sRGB
Port I/O 2x Thunderbolt 4 Type-C (โอนถ่ายข้อมูล 40Gbps, ต่อจอ 4K และ PD charge 3.0)
1x USB 3.2 Gen 2 Type-A
1x USB 2.0 Type-A
1x HDMI 2.0
1x microSD card reader
1x 3.5mm Audio Combo jack
1x RJ-45
1x Kensington lock
Video Camera IR camera 720p HD Video, Webcam shield
Wireless Dual-band 2×2 WiFi 6E+ Bluetooth 5.2
Audio 2x Speaker
Weight 1.38Kg.
Dimension 32.34 x 22.31 x 1.79cm
Battery 63 Whr, 3-cell, Li-polymer
Security Fingerprint sensor
TPM 2.0
IR camera
Webcam shield
Kensington lock
Keyboard Full-size keyboard 1.5mm travel key, Backlit
Warranty 3 Year, Perfect Warranty 1 Year

ข้อมูลเพิ่มเติม: ASUS ExpertBook B5 Flip


Unbox

ASUS ExpertBook

เริ่มจากการแกะกล่องกันเลยครับ ภายในกล่อง ประกอบด้วยตัวโน๊ตบุ๊ค ASUS ExpertBook B5 Flip ที่มาพร้อมกับ ASUS Pen ซึ่งอยู่ภายในตัวเครื่อง และอแดปเตอร์ 65W พร้อมสายต่อเป็นแบบ USB-C และเหมือนกับในหลายๆ รุ่น ASUS ให้เมาส์ไร้สายมาด้วย เพื่อความสะดวกของผู้ใช้

ASUS ExpertBook

อแดปเตอร์ไม่ใหญ่เทอะทะครับ เพราะขนาดประมาณฝ่ามือเท่านั้น เป็นแบบ 65W สายต่อค่อนข้างยาวทีเดียว พร้อมกับที่พันเก็บสายมาให้ในตัว พกพาสะดวกทีเดียว

ASUS ExpertBook

อแดปเตอร์เมื่อเทียบกับมิติของโน๊ตบุ๊ค ขนาดเล็กกระทัดรัดแบบนี้ ช่วยให้หลายคนมั่นใจที่จะพกไปใช้งานข้างนอกได้สบาย น้ำหนักเฉพาะอแดปเตอร์นี้ประมาณ 300 กรัมเท่านั้น

ASUS ExpertBook

เมาส์ไร้สายที่มาพร้อมกับโน๊ตบุ๊ค เป็นเมาส์ออพติคอล ใช้ได้เกือบทุกพื้นผิว ขนาดกำลังพอดี ใช้ได้ทั้งคนที่ถนัดมือซ้ายและขวา โดยมี USB Receiver ขนาดเล็กมาด้วย และใช้ร่วมกับถ่าน AA จำนวน 1 ก้อน ติดอยู่อย่างเดียวคือ ไม่มีปุ่มเปิด-ปิดเมาส์มาให้ อาจจะทำให้เปลืองแบตอยู่บ้าง

ASUS ExpertBook

ตัวโน๊ตบุ๊ค ASUS ExpertBook B5 Flip ที่มาในกล่อง มาในโทนสีที่ดูเขร่งขรึม และบอดี้ที่บาง กระทัดรัดดีทีเดียว แพ๊คมาในกล่องที่กันกระแทกป้องกันไว้อย่างดี


Hardware / Design

ASUS ExpertBook

โน๊ตบุ๊คมาในโทนสีที่เรียกว่า Star Black ซึ่งถ้าดูจากคอนเซปต์ของทาง ASUS จะเปรียบประมาณท้องฟ้าในยามค่ำคืน และมีดาวสว่างกระจายทั่วท้องฟ้า จะดูเป็นโทนสีออกน้ำเงินเข้ม ไปจนถึงดำ และมีประกายเม็ดสีเล็กๆ ทั่วทั้งบอดี้ เลยเป็นที่มาของสีบนโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ เรื่องของผิวสัมผัสจับถนัดมือดีครับ

ASUS ExpertBook

โดยวัสดุที่ใช้เป็นแม็กนิเซียมและอะลูมิเนียม น้ำหนักเบา และมีความทนทานพอสมควร ตรงฝาด้านบนนี้ มีโลโก้ ASUS สีเงินเงาอยู่ตรงกลาง และมุมด้านบนซ้าย จะเป็นโลโก้ ExpertBook ที่มีแสงไฟสถานะปรากฏขึ้น เมื่อใช้งานกล้องหรือกำลัง Video Conference อยู่

ฝาด้านนอกของโน๊ตบุ๊คจะมีแสงไฟ LED ขนาดเล็กที่จะสว่างขึ้นเป็นแสงสีส้ม ASUS ออกแบบมาเพื่อให้คนอื่นที่เห็นคุณใช้งานแล้วแสงนี้ปรากฏขึ้น จะหมายถึงว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงที่ประชุมหรือใช้งานสนทนาออนไลน์ ภาพทางด้านซ้ายเป็น ExpertBook B3 และด้านขวาเป็น B5 Flip ต่างกันตรงแสงไฟอยู่เล็กน้อย

ASUS ExpertBook

ขอบจอของโน๊ตบุ๊คทำออกมาได้ค่อนข้างบาง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ ExpertBook ในเกือบทุกรุ่น โดยด้านบนจะหนาขึ้นเล็กน้อย เพราะเป็นจุดที่ติดตั้งกล้องเว็บแคม พร้อมไมโครโฟนมาในตัว

สังเกตได้ว่าจากขอบบานของจอมาในแบบ NanoEdge Design ค่อนข้างบางทีเดียว โดยขอบซ้ายและขวานี้ บางเพียง 4mm โดยประมาณ ซึ่งทำให้มีพื้นที่ในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และเทียบสัดส่วนพื้นที่การแสดงผล มาถึง 80% เมื่อเทียบกับบอดี้ของโน๊ตบุ๊ค จัดอยู่ในเกณฑ์สัดส่วนที่กว้างมากทีเดียว หากเทียบกับโน๊ตบุ๊คในระดับ 14″ ในท้องตลาด

ASUS ExpertBook

มองดูจากด้านข้าง จะเห็นว่า ASUS จัดพอร์ตมาให้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Thunderbolt 4 x2 ช่อง สำหรับชาร์จไฟด้วย, RJ-45, HDMI, USB 3.2 Type-A และปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง กรณีที่ใช้โหมดแท็ปเล็ต ดูสวนทางกับบอดี้ที่บางแบบนี้

ส่วนโครงสร้างภายใน ทำจุดยึดมาให้แน่นหนา กับชิ้นโลหะขนาดใหญ่ ที่ทำเป็นบานพับ และมีน็อตสกรูที่เพิ่มเข้ามา ในการยึดจับ เสริมความแข็งแรง เมื่อต้องพับจอในรูปแบบต่างๆ บอดี้ใช้เป็นอลูมิเนียมอัลลอย และเสริมโครงสร้างที่เป็น Internal keyboard bracket และเพิ่มชั้นที่กันน้ำ เพื่อป้องกันของเหลวที่จะไหลลงมาได้ในระดับหนึ่ง

ASUS ExpertBook

บริเวณด้านหน้า มีเป็นช่องเว้าลึกเข้าไปเล็กน้อย ใกล้กับทัชแพด เพื่อให้มีพื้นที่ให้จับฝาเปิดได้ง่ายขึ้น แต่ด้วยบานพับที่แน่น ทำให้คุณอาจจะต้องจับ 2 มือในการเปิดฝาพับครับ ตรงนี้ผมถือว่าเป็นข้อดี เพราะเวลาเปิดฝาโน๊ตบุ๊คขึ้นมา ตัวจอจะไม่โยกคลอนหรือสั่นได้ง่ายๆ นั่นเอง

ASUS ExpertBook B5 Flip 32

ASUS เสริมการใช้งานบนทัชแพด ให้ใช้งานแทน Numpad ที่เป็นแบบปุ่ม ด้วยการเปิดใช้งานบนทัชแพดให้แล้ว นอกเหนือจากการใช้ Multi-Gesture ด้วยการใช้คลิ๊กซ้าย-ขวา และปัด เลื่อนด้วยการใช้สองนิ้วหรือสามนิ้วในการคอนโทรล โดย ASUS NumberPad 2.0 จะเป็นแถบตัวเลข ที่สว่างขึ้นเมื่อเปิดใช้งาน ด้วยการแตะที่รูปคีย์บอร์ด มุมขวาบนของทัชแพด จากนั้นแตะที่ตัวเลขบนทัชแพดได้ทันที แต่บน ASUS ExpertBook B5 Flip นี้ จะต่างจากรุ่นอื่นๆ ที่มีฟีเจอร์เดียวกันอยู่พอสมควร และใช้งานได้ง่ายกว่า เนื่องจากตัวเลขและพื้นที่กว้างมากขึ้น

ASUS ExpertBook

กล้องเว็บแคมเป็นแบบ IR Camera ซึ่งรองรับ Windows Hello สำหรับการล็อคอินเข้าสู่ระบบด้วยใบหน้าของผู้ใช้ ซึ่งตัวกล้องให้ความละเอียดระดับ HD 720p ซึ่งคุณภาพก็อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพียงแต่ถ้าคุณต้องการความละเอียดในการใช้งานมากกว่านี้ ก็อาจจะต้องหากล้องเว็บแคมสำหรับสตรีมเมอร์สักรุ่นหนึ่งมาใช้ แต่แน่นอนว่าคุณจะต้องเสีย USB Type-A ไปหนึ่งพอร์ตในการใช้งาน

Camera2

ตัวอย่างของคุณภาพกล้อง เมื่อคุณใช้งาน จัดว่าให้มิติและความคมชัดได้ในระดับมาตรฐาน มีการจัดการเรื่องแสงได้ดีพอสมควร สีสันสดใส เหมาะกับการใช้ในงานประชุม เรียนออนไลน์ และการสนทนากับสมาชิกในบ้าน แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่มีกล้องเสริมอย่างบน ExpertBook B3 ที่ช่วยเสริมการใช้งานบนโหมดแท็ปเล็ตได้สะดวกยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ คุณยังใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ Motion tracker ของกล้องได้ สำหรับคนที่อาจจะใช้ในเรื่องของการประชุมหรือการเรียนการสอน เพราะตัวกล้องจะโฟกัสที่หน้าคุณเป็นหลัก เวลาที่คุณเคลื่อนไหวออก หรือเอียงไปจากมุมปกติของกล้อง หน้าคุณหรือของที่คุณโฟกัสเอาไว้ก็จะยังคงชัดเจน


Keyboard / Touchpad

ASUS ExpertBook

คีย์บอร์ดเป็นปุ่มสวิทช์สีดำ ตัดกับตัวอักษรภาษาไทย-อังกฤษได้คมชัดดี คนที่ใช้งานแบบต้องมองแป้นพิมพ์น่าจะชอบ เพราะมองเห็นชัด และยังเพิ่มความสะดวกมากขึ้น ด้วยแสงไฟ Backlit สว่างขึ้นทะลุตัวอักษร ทั้งไทย อังกฤษ และตัวเลขครบ เพื่อการใช้งานในที่มืดอีกด้วย ระยะการกดและตอบสนองประมาณ 1.4mm เท่านั้น ถือว่าค่อนข้างสั้น เหมาะสำหรับคนที่พิมพ์สัมผัส จะใช้งานได้ไวขึ้น

แต่ใครที่จะใช้ปุ่ม Page Up-Down ก็เหมือนเดิมครับ มาครึ่งปุ่ม ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ ให้ Priority ที่ปุ่มสำคัญอื่นที่ใช้บ่อยๆ มากกว่า

ASUS ExpertBook

โลโก้ ASUS ExpertBook B5 ที่ด้านล่างของขอบจอ จะต่างจากรุ่นอื่นๆ อย่าง B1 หรือ B3 เพราะดูเงางามมากกว่าการเป็นแบบเรียบๆ

ให้มาเต็มทุกปุ่ม ไม่มีกั๊กเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น เปิด-ปิดลำโพง, เพิ่ม-ลดเสียง, เพิ่ม-ลดแสงหน้าจอ, ปิดทัชแพด, ปรับแสงคีย์บอร์ด ทำได้ 2 ระดับ, ต่อสัญญาณภาพไปภายนอก, ล็อคหน้าจอ, เปิด-ปิดกล้อง, จับภาพหน้าจอ, เรียกใช้งานซอฟต์แวร์ MyASUS, เปิด-ปิดไมค์, เปิดใช้งานระบบ Noise Cancelling และ PrintScreen ที่เป็นคีย์ลัด

ASUS ExpertBook

นอกจากนี้คุณจะเห็นปุ่มตัวเลขด้านบน 1-4 ที่จะไม่เหมือนปุ่มอื่นๆ เพราะมีแสงไฟลอดจากด้านข้างปุ่มให้เห็นอีกด้วย โดยปุ่มทั้ง 4 นี้จะทำหน้าที่นอกเหนือจากการเป็นตัวตัวเลขทั่วไป เช่น

  • Fn+1 = Motion tracker กล้องจะตามโฟกัสคุณตลอดเวลาที่เคลื่อนไหว
  • Fn+2 = เหมือนโหมด Power Option
  • Fn+3 = Status light on-off เปิด-ปิด ไฟสถานะตรง Cover
  • Fn+4 = เปิด-ปิด WiFi
ASUS ExpertBook

แสงไฟ Backlit บนคีย์บอร์ด สามารถปรับความสว่างได้ถึง 2 ระดับ ด้วยการกดปุ่ม F7 ที่ฮอตคีย์ด้านบนสุด และเปิด-ปิดได้ตามความต้องการ เรื่องความสว่าง อยู่ในห้องมืด คุณก็ยังมองเห็นคีย์ได้อย่างชัดเจน นี่คือ ข้อดีอีกอย่างสำหรับโน๊ตบุ๊ค ASUS รุ่นนี้

ASUS ExpertBook
ASUS ExpertBook

ทัชแพดเน้นไปที่ความยาว ที่มีข้อดีตรงเหมาะกับการใช้งานในแบบ Multi-Gesture ร่วมกับ Windows ได้สะดวกทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นนิ้วเดียว เลื่อน แตะ เลือกหรือสองนิ้ว ซูม-ย่อ และสามนิ้วในการใช้งาน Task View หรือเลื่อนหน้าเดสก์ทอปอื่นๆ เป็นต้น

ASUS ExpertBook B5 Flip 34 1

นอกจากนี้แล้ว ASUS ยังดีไซน์ NumberPad มาให้กับผู้ใช้ โดยซ่อนเอาไว้บนทัชแพดนั่นเอง แค่คุณแตะเบาๆ ที่มุมขวาของทัชแพด ก็จะมีชุดตัวเลข ให้แตะใช้งานได้สะดวกเหมือนการมี NumberPad อยู่เลย ไม่ใช้ก็กดปิดได้ครับ

สติ๊กเกอร์ตรงพื้นที่วางมือ มีอยู่มากมายทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู Intel Core i7, Intel Iris Xe Graphic, มาตรฐาน Energy Star และฟีเจอร์ Eye Care กับโหมดถนอมสายตาที่มีมาให้บนโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้

ASUS ExpertBook

โดยรวมถือว่า ASUS ให้ฟังก์ชั่นของคีย์บอร์ดมาแบบเกินตัวสำหรับโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ ยิ่งคุณจำได้เยอะ ก็จะยิ่งเพิ่มความสะดวกมากขึ้น งานเร็วขึ้นครับ


Screen / Speaker

ASUS ExpertBook

ASUS ExpertBook B5 Flip มาพร้อมหน้าแสดงผล 14″ ให้ความละเอียด 1080p หรือ Full-HD พาแนลแบบ IPS ให้ความคมชัด โดยเป็นหน้าจอแบบ

ภาพจากมุมมองทั้ง 2 ด้านของจอภาพ จะเห็นได้ว่า มีความคมชัดสูง ทำให้มุมการมองกว้างมากขึ้น ส่วนจอภาพอาจจะดูเงาๆ อยู่บ้าง ด้วยความที่เป็นจอทัชสกรีน จึงมีการสะท้อนเล็กน้อย แต่ก็ยังจัดอยู่ในโหมดของ Anti-Glare ซึ่งช่วยลดแสงสะท้อนจากภายนอกได้ดีในระดับหนึ่ง

ASUS ExpertBook B5 Flip 37

นอกจากจะเป็นหน้าจอที่รองรับการทัชสกรีนแล้ว ก็ยังมาพร้อม ASUS Pen ในการบันทึกข้อมูลหรือเขียนบนหน้าจอได้เลย ด้วยการดึงออกมาจากช่องด้านข่างขวาของโน๊ตบุ๊ค และเสียบกลับเข้าไป เพื่อทำการชาร์จไฟ ซึ่งใช้เวลาชาร์จค่อนข้างสั้น แต่ใช้งานได้ยาวนานเลยทีเดียว

ASUS ExpertBook B5 Flip 6

ASUS Pen เป็นสไตลัสขนาดค่อนข้างเล็ก ผมว่าน่าจะเหมาะกับการจดบันทึกที่รวดเร็ว และการลากเส้นในเบื้องต้น ซึ่งมีจุดชาร์จที่จะชาร์จไฟ เมื่อเสียบเข้ากับช่องบนโน๊ตบุ๊ค ปุ่มกดบน-ล่าง ในการคอนโทรล ด้านท้ายจะเป็นจุดชาร์จ ที่ต่อเข้ากับในโน๊ตบุ๊ค และฝาปิดที่ดึงออกจากที่เก็บได้ง่ายขึ้น แต่การใช้งาน ด้วยความที่มีขนาดเล็ก มือผู้ใหญ่อาจจะต้องปรับตัวอยู่พอสมควร กว่าจะจับถือและเคลื่อนไหวลากเส้นได้อย่างคล่องตัว

ASUS ExpertBook

มิติของจอภาพที่ค่อนข้างบาง ก็ทำให้มิติโดยรวมของโน๊ตบุ๊คบางลงไปด้วย ซึ่งก็ถือเป็นผลดีต่อโน๊ตบุ๊ค Convertible แบบนี้ เมื่อพับเป็นโหมดแท็ปเล็ต

ASUS ExpertBook

รองรับการทำงานในโหมดต่างๆ หน้าจอสามารถพับได้หลากหลายโหมด ตั้งแต่เป็นโหมดโน๊ตบุ๊คปกติ, Tent mode, Stand และ Tablet ที่สะดวกต่อการใช้งาน และขนาดที่ไม่ใหญ่จนเกินไป ทำให้ง่ายการจับถือและนำไปพรีเซนท์งานกับลูกค้านอกสถานที่ รวมถึงการจดบันทึก โหมดต่างๆ เหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อการใช้งาน และความบันเทิงส่วนตัวได้ง่าย เช่น สำหรับชมภาพยนตร์ หรือจะใช้เพื่อการเล่นเกมเบาๆ ในช่วงเวลาพัก เพราะเป็นจอทัชสกรีนได้ ใช้นิ้วแตะเลื่อนได้ รวมถึงในทุกๆ โหมด ก็สามารถนำปากกา ASUS Pen มาใช้งานร่วมกันได้อีกด้วย

ASUS ExpertBook

ชุดลำโพง จุดติดตั้งลำโพงทั้ง 2 ด้านอยู่บริเวณด้านใต้ เอียงไปทางซ้าย-ขวา ของโน๊ตบุ๊ค ให้ทิศทางเสียงยิงลงพื้น และสะท้อนขึ้นมา ซึ่งการใช้ในห้องทั่วไป มีเสียงที่เด่นชัดออกมาได้ดี เป็นแบบเดียวกับ B5 รุ่นก่อน แต่จะไม่เหมือน ASUS ExpertBook B3 ที่อยู่บริเวณด้านหน้า ที่เสียงจะค่อนข้างดังมากกว่า อย่างไรก็ดีจากที่เราทดสอบ มิติของเสียงยังคงให้ความคมชัด เสียงสนทนาชัดเจน เสียงเพลงอาจจะเด่นที่ดนตรี แต่ไม่ได้เน้นที่ความเปรี้ยงปร้างของเบส หรือเสียงกลางหนักหน่วง เพราะยังเป็นอารมณ์ของโน๊ตบุ๊คทำงาน พอให้ได้การสตรีมมิ่งและการเล่นเกมได้สนุก ซึ่งถ้าคุณอยากจะจริงจัง และเน้นความบันเทิง ได้ความเป็นส่วนตัว แนะนำหูฟังเกมมิ่งหรือฟังเพลงดีๆ สักรุ่น ของทาง ASUS ก็มีน่าสนใจหลายโมเดลเลยทีเดียว


Connector / Thin And Weight

ASUS ExpertBook

ASUS ExpertBook B5 Flip ให้พอร์ตความเร็วสูงมาอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น Thunderbolt 4 มีให้ถึง 2 พอร์ตด้วยกัน รองรับการโอนถ่ายข้อมูลระดับ 40Gbps ต่อจอแสดงผลภายนอกในระดับ 4K และเป็น USB PD charge 3.0 อีกด้วย เช่นเดียวกับ USB Type-A ก็ให้มาถึง 2 พอร์ต ในแบบ USB 3.2 Gen2 และ USB 2.0 แยกไว้ด้านซ้ายและขวา รวมถึงพอร์ต HDMI ในการต่อจอขนาดใหญ่ รวมถึง RJ-45 ที่เป็นไซส์มาตรฐาน ที่มีให้มาในตัวแบบไม่ต้องใช้ตัวแปลง มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 1.38 กิโลกรัม ชาร์จไฟผ่าน USB-C ด้วยอแดปเตอร์ AC 65Wที่เบาเพียง 300 กรัมเท่านั้น

ASUS ExpertBook

ทางด้านขวามือ ก็จัดเต็มไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น ASUS Pen ที่ซ่อนอยู่ภายใน ดึงออกมาใช้งานได้ทันที พร้อมปุ่มเพาเวอร์ ซึ่งมีระบบสแกนลายนิ้วมือมาในตัว ช่องต่อ 3.5mm ที่ใช้งานร่วมกับหูฟังและไมโครโฟน พอร์ต USB 2.0 และสล็อต microSD card reader เรียกว่ามีมาให้แบบครบๆ เช่นนี้ หาได้ยากในท้องตลาด

ASUS ExpertBook

และจุดที่ชื่นชอบเป็นที่สุดโดยส่วนตัวก็คือ แม้จะมีบอดี้กระทัดรัดก็ตาม แต่ ASUS ก็เว้นระยะห่างของพอร์ตไว้ระดับหนึ่ง ทำให้เวลาที่ติดตั้งอุปกรณ์ หรือต่อสาย จะไม่เบียดกันจนเกินไป เรียกว่าฮาร์ดแวร์ เช่น RJ-45 หรือว่าสายชาร์จ USB-C รวมถึง USB Flash Drive ในปัจจุบัน ใช้งานและต่อเข้าในพอร์ตใกล้ๆ ได้อย่างสะดวก

ASUS ExpertBook

การที่มีพอร์ต USB Type-A ทั้ง 2 ข้าง ช่วยให้ความยืดหยุ่นในการใช้งานของคนที่มีอุปกรณ์ USB มากกว่าชิ้นเดียว ทำให้การต่อพ่วงง่ายกว่าเดิม โดยเฉพาะเมาส์ หรือคีย์บอร์ดไร้สาย และการต่อเมาส์ทางขวา ก็สะดวกกว่าด้านซ้ายเยอะเลย

ASUS ExpertBook

น้ำหนักเฉพาะตัวโน๊ตบุ๊ค ASUS ExpertBook B5 Flip อยู่ที่ราว 1.39Kg. ซึ่งใกล้เคียงกับที่เคลมไว้ที่หน้าสเปคบนเว็บไซต์ ASUS

ASUS ExpertBook

และน้ำหนักเมื่อรวมกับอแดปเตอร์แล้ว อยู่ที่ราว 1.7Kg เท่านั้น ถือว่าค่อนข้างเบาทีเดียว สำหรับโน๊ตบุ๊คขนาด 14″ ที่เหมาะกับการพกพาไปใช้นอกสถานที่ได้สบายๆ


Performance / Software

ASUS ExpertBook

CPUz รายงานซีพียูที่ใช้เป็น Intel Core i7 1260p เป็นซีพียูระดับ 12 core/ 16 thread ซึ่งให้ความเร็วบูสท์สูงสุดที่ 4.70GHz

ASUS ExpertBook

โดยมีแรมมาให้ 16GB เป็นแบบ DDR5 แล้ว ทำให้การใช้งานด้านต่างๆ ได้รวดเร็วทันใจ รวมถึงยังมีสล็อตสำหรับการอัพเกรดเพิ่มได้อีกด้วย

ASUS ExpertBook

และในการทดสอบเบื้องต้นบน CPUz-Bench CPU ผลที่ได้เรียกว่า Single-thread แซงหน้า i7-10700 ที่เป็นซีพียูพีซีไปได้เล็กน้อย ส่วน Multi-thread ยังเป็นรองอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ก็ถือว่าความแรงอยู่ในเกณฑ์ที่น่าประทับใจ

ASUS ExpertBook

สำหรับกราฟิกชิป เป็นแบบ Integrate graphic ซึ่งมากับซีพียู Intel Iris Xe Graphic ซึ่งประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์การใช้งานทั่วไป สำหรับงานสำนักงาน หรือการใช้บนซอฟต์แวร์พื้นฐาน และในด้านความบันเทิง รวมถึงการเล่นเกมที่ไม่ได้เรียกว่าใช้ทรัพยากรมากมายนัก ซึ่งในครั้งนี้เราทดสอบร่วมกับเกมให้ได้ชมด้วยว่า สามารถเล่นได้ดีมากน้อยเพียงใด

ASUS ExpertBook

CrystalDiskMark เป็นเรื่องที่น่าประทับใจ กับความรวดเร็วของ SSD ที่มาพร้อมกับโน๊ตบุ๊ค ASUS ExpertBook B5 Flip รุ่นนี้ เพราะความเร็ว Read/ Write ทะลุไปเกือบ 6,500MB/s และ 4,000MB/s ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลดีมาจากการใช้ SSD ในแบบ PCIe 4.0 ที่ทำให้การเปิดไฟล์ โปรแกรม เข้าสู่เกม และโอนถ่ายข้อมูลรวดเร็วมากกว่าการใช้ SSD PCIe 3.0 อยู่ถึงสองเท่า

ASUS ExpertBook

PCMark10 กับผลทดสอบที่ทำได้ดีทีเดียวสำหรับในส่วน Essential ซึ่งเป็นกลุ่มหลักของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ ด้วยการผสมสานของซีพียู Intel Core i7 ที่มีคอร์/เธรดจำนวนมาก รองรับงานมัลติทาส์กได้ดี ก็ยังมีแรม DDR5 และ SSD ความเร็วสูงมาด้วย จึงทำให้งานด้านเอกสาร และเปิดโปรแกรมต่างๆ ไหลลื่นมากขึ้น ส่วนในด้าน Digital Content ก็อยู่ในระดับที่น่าประทับใจ หากเทียบกับโน๊ตบุ๊คระดับธุรกิจในท้องตลาด ซึ่งโน๊ตบุ๊ค ASUS รุ่นนี้ ยังให้พลังในงานวีดีโอและมัลติมีเดียได้ดีพอสมควร

3DMark

ASUS ExpertBook

CINEBench ก็มาพร้อมผลที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น R15, R20 หรือ R23 ซึ่งถือว่าซีพียู Intel Core Gen 12 รุ่นใหม่นี้ ยังตอบโจทย์ในงานด้าน Render 3D ได้อย่างเต็มที่ โดยหากเทียบกับโน๊ตบุ๊ค Intel Core i5 Gen 11 ที่ใช้ DDR4 นั้น ASUS รุ่นนี้ ทำคะแนนแซงไปอย่างขาดลอย แม้ว่าจะไม่ได้เป็นงานหลักที่หลายๆ คนใช้ แต่ก็เป็นเครื่องการันตีในแง่ของผู้ใช้ที่เน้นการพรีวิว หรือตรวจงานวีดีโอ และกราฟิกได้ดีพอสมควร

Game

แม้จะเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับงานธุรกิจ และไลฟ์สไตล์ แต่ความสามารถและประสิทธิภาพในการเล่นเกม ยังอยู่ในระดับที่เล่นได้ในบางเกม ด้วยกราฟิก Intel Iris Xe ที่ช่วยให้การเล่นเกมพื้นฐานอย่าง DOTA2 และ PUBG ได้ไหลลื่น แต่แนะนำว่าควรจะตั้งความละเอียดที่ Low เอาไว้ก่อน ที่เหลือค่อยๆ ปรับ เพื่อให้สอดคล้องกับการเล่น บนโหมด 1080p โดยการทดสอบ DOTA2 นั้น เราใช้โหมด High เกือบๆ จะเป็น Best Looking ผลที่ได้เฟรมเรตยังไปแตะ 60fps. ได้ไม่ยาก ส่วนถ้าปรับที่ Best Looking จะได้มากกว่า 100fps. เลยทีเดียว ส่วน PUBG อยู่ที่ Low ภาพที่ได้ก็ยังดูดี มองเห็นศัตรูได้ชัด เฟรมเรตเฉลี่ยไปแตะที่ 30fps. ได้ครับ

DisplayCAL

การทดสอบความแม่นยำของสีหน้าจอ ซึ่งให้ผลของ Gamut Volume ได้ที่ 96.3% ซึ่งก็ถือว่ามีความแม่นยำของสีที่ดีพอสมควร ใกล้เคียงกับที่ทาง ASUS เคลมไว้ที่ sRGB 100% โดยที่ Gamut volume จัดว่าอยู่ในระดับสีค่อนข้างสดใส เพราะไปได้เกือบ 85% จึงเหมาะกับการดูภาพ ทำงานเอกสาร และการพรีวิว ทำพรีเซนเทชั่น พอจะตอบโจทย์ด้านความบันเทิงได้พอสมควร ส่วนค่าความสว่างทำในการทดสอบได้เกือบ 400cd/m2 ครับ ดังนั้นไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้งานในสภาวะแสงน้อยหรือแสงมาก เพราะให้ความสว่างได้เกินกว่าที่เรามักจะเห็นกันบนโน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป


Battery / Heat / Noise

ASUS ExpertBook
Battmon ASUS

ในการทดสอบของเรา ใช้เป็นเงื่อนไขที่เราทำกับโน๊ตบุ๊คที่นำมาทดสอบทุกรุ่น นั่นคือ ชาร์จแบตจนเต็ม 100% แล้วทดสอบด้วย Video Playback หรือการสตรีมมิ่งบน Youtube กับวีดีโอระดับ 4K เปิดเสียงเอาไว้ที่ 25% และความสว่างระดับ 20% เพื่อเป็นการจำลองใช้งานจริง ที่เป็นรูปแบบของผู้ใช้ในชีวิตประจำวัน และผลทดสอบที่ได้จากโปรแกรม BattMon รายงานว่า ใช้งานได้ที่ระดับ 15 ชั่วโมง ในช่วงแรกครับ หลังจากที่รันไป 30 นาทีอยู่ที่ราวๆ 8 ชั่วโมง ซึ่งก็ถือว่าใกล้เคียงกับที่ทาง ASUS เคลมเอาไว้ว่า 10 ชั่วโมงครับ

ASUS ExpertBook

ผลทดสอบอุณหภูมิ เท่าที่เราได้ทดสอบด้วยโปรแกรม Furmark โหลดการทำงานของซีพียู 100% บนโหมด Performance อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ราว 90 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหากับการใช้งาน สังเกตได้ว่า วันที่ผมเอาไปใช้งานข้างนอก ไม่ได้อยู่ในห้องปรับอากาศ ก็ยังทำงานได้ดี และอย่างที่ได้ย้ำในทุกครั้งคือ โอกาสที่คุณจะเรียกใช้ซีพียูหนักๆ แบบนี้ ก็น้อยมากครับ รวมถึงชุดระบายความร้อนของโน๊ตบุ๊คก็ทำได้ดีทีเดียว ผมแนะนำว่า ถ้าคุณมีโหลดงานหนัก เลือกเป็น Performance mode ได้ครับ อาจจะมีเสียงเพิ่มขึ้นมาบ้าง ในบางจังหวะ แต่ก็ช่วยให้คุณได้ประสิทธิภาพ และการลดความร้อนที่รวดเร็วไปพร้อมๆ กัน


Inside / Upgrade

ASUS ExpertBook

การแกะอัพเกรดบน ASUS ExpertBook B5 Flip รุ่นนี้ ยังคงง่ายดาย ไม่ต่างจากในซีรีส์เดียวกัน เพราะไขน็อตสกรูประมาณ 11 ตัว ก็สามารถแกะฝาหลังออกมาได้แล้ว ไม่ได้ซับซ้อนมากมาย เช่นเดียวกับที่คุณเคยเจอบนโน๊ตบุ๊คเกมมิ่ง ที่บางครั้งทั้งแกะและงัด ก็ยังไม่ค่อยจะออก โดยเมื่อแกะออกมาได้แล้ว ก็จะเห็นบรรดาฮาร์ดแวร์ภายในต่างๆ เหล่านี้

ASUS ExpertBook

ชุดพัดลมและฮีตซิงก์ระบายความร้อน ให้กับซีพียู Intel Core i7-1260P ที่เป็นแบบ 12 core/ 16 thread มาในแบบที่เรียบง่าย แต่ก็ประหยัดพื้นที่ในการจัดวางอุปกรณ์อื่นๆ เข้ามาได้อีกมากมายเลยทีเดียว โครงสร้างยังคงใกล้เคียงกับ ExpertBook B5 ที่เป็น Intel Gen 11 อยู่พอสมควร

ASUS ExpertBook

ASUS ExpertBook B5 Flip มีแรม DDR5 ออนบอร์ดมาให้แล้ว 8GB และติดตั้งเพิ่มเติมมาบนสล็อตอีก 8GB รวมเป็น 16GB และยังสามารถเปลี่ยน เพื่ออัพเกรดได้เพิ่มมากขึ้น แต่ความจุระดับนี้กับการเป็น DDR5 งานหลายอย่างก็ลื่น รวมถึงการเปิดโปรแกรม และโอนถ่ายข้อมูลที่รวดเร็ว

โดยที่มีความพิเศษอย่าง SSD M.2 NVMe PCIe 4.0 มาให้ด้วย ซึ่งติดตั้งมาที่สล็อตแรก ซึ่งอยู่ใกล้กับพัดลม 1 สล็อตความจุ 512GB และยังมีสล็อตว่างอีก 1 สล็อต รองรับการอัพเกรดได้สล็อตละ 1TB รวมทั้ง 2 สล็อตก็เป็น 2TB หรือจะใช้งานเป็นแบบ RAID ก็ได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วหรือความปลอดภัยได้อีกด้วย ผลที่ได้จากการทดสอบ ความเร็วในการอ่านข้อมูลของ SSD รุ่นนี้ มากถึง 6,400MB/s และเขียนข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 4,000MB/s เลยทีเดียว

ASUS ExpertBook

ด้านล่างสุดเป็นชุดลำโพงที่ติดมาทั้ง 2 ข้างเอียงออกทางด้านข้าง ให้เสียงที่ค่อนข้างดีทีเดียว

ASUS ExpertBook

ส่วนที่เป็นจุดสำคัญของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ อยู่ที่บานพับ ซึ่งออกแบบมาอย่างแข็งแรง ด้วยแผ่นโลหะขนาดใหญ่ และจุดยึดน็อตขนาดใหญ่ ด้านละ 3 จุด ทำให้รองรับการพับหน้าจอ เพื่อใช้งานในโหมดต่างๆ ได้อย่างแข็งแรง


Conclusion / Award

ถ้ามองกันในแง่ของความคล่องตัว เชื่อได้เลยว่า ASUS ExpertBook B5 รุ่นนี้ น่าจะตอบโจทย์ในแง่ของงานธุรกิจได้อย่างไม่ต้องสงสัย และไม่ใช่แค่การทำงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้ในชีวิตประจำวันของใครหลายคนได้เป็นอย่างดี ด้วยการจับคู่กันของ ซีพียู Intel Core i7 Gen 12 ที่เป็นรหัส P ซึ่งให้ Performance ได้อย่างคุ้มค่า มาคู่กับแรม DDR5 ที่แบนด์วิทธิ์มากกว่า DDR4 อยู่ไม่น้อยเลย ก็ยิ่งทำให้การใช้งาน ทั้งงานเอกสาร ไปจนถึงงานวีดีโอ ก็ลื่นไหลได้ โดยเฉพาะในงานพรีวิว ที่เน้นการแสดงผล พรีเซนเทชั่น แม้จอจะแค่ 14″ แต่ก็ยังต่อกับจอขนาดใหญ่ได้ถึง 3 จอด้วยกัน ผ่านช่องทางของ HDMI และ Thunderbolt 4 ที่มีให้ถึง 2 พอร์ต จึงเหมาะกับคนที่ใช้งานธุรกิจจริงจัง หรือต้องทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เช่น ดูหุ้น เทรดคริปโต ดูวีดีโอสตรีมมิ่ง และหาข้อมูล ทำเอกสารไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ยังได้ในเรื่องของพอร์ตที่ให้มาครบสุดๆ เรียกว่าจัดเต็มชนิดที่หาเทียบได้ยากในโน๊ตบุ๊คระดับเดียวกัน ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้บอดี้ ที่อาจจะดูเรียบง่าย แต่ก็ดูสะดุดตา เข้าได้ในทุกสถานการณ์ ที่สำคัญยังจัดแบตที่ใช้งานได้นานมาให้อีกด้วย การพกพาไปใช้งานข้างนอก จึงเป็นเรื่องที่ง่าย และสบายกว่าที่คุณเคยสัมผัส และที่น่าสนใจ นั่นก็คือ หน้าจอยังพับได้ 360 องศา และยังมาในแบบทัชสกรีน ดูลงตัวกับงานในหลายๆ ด้าน เพราะมีหลายโหมดให้เลือกใช้อีกด้วย ทั้งหมดนี้ผมเชื่อว่า ASUS รุ่นนี้เป็นโน๊ตบุ๊คที่มาสุดทาง สำหรับสายงานธุรกิจอย่างแท้จริง

การรับประกัน ASUS Exclusive Care

  • 3 Year Onsite Service: บริการตรวจซ่อมฟรีถึงที่ 3 ปี
  • 3 Year Global Warranty: ครอบคลุมการรับประกัน 3 ปี (57 ประเทศ)
  • 1 Year Perfect Warranty: เพิ่มการรับประกันอุบัติเหตุให้ใน 1 ปีแรก
NBS award 7 Design

เรื่องของรางวัล Best Design เราไม่ได้มองแค่ในเรื่องของการออกแบบหรือสวยงามอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงฟังก์ชั่น ที่จะเป็นภาพลักษณ์ให้กับผู้ใช้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นบอดี้ที่มีความกระทัดรัด แม้จะอยู่ในไซส์ 14″ ขอบจอที่บางเฉียบ ให้พื้นที่การแสดงผลที่กว้าง และการกางออกได้ 360 องศา ทำให้พับ ปรับใช้ในโหมดต่างๆ ได้ และยังเป็นจอทัชสกรีนอีกด้วย เช่นเดียวกับคีย์บอร์ดที่มีแสงไฟ ลูกเล่นของ NumberPad บนทัชแพด ก็ดูล้ำสมัยมากขึ้น ยังไม่รวมฟีเจอร์ที่มีความสมาร์ทอีกหลายอย่าง ซึ่งรวมเข้ากันเป็นโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้

NBS award 4 Mobility

คล่องตัว กระทัดรัด พกพาสะดวก แบตอึด ใช้งานได้นาน น่าจะเป็นสัญลักษณ์ของความเป็น Mobility บนโน๊ตบุ๊ค ASUS ExpertBook B5 รุ่นนี้ ซึ่งตอบโจทย์ในงานและชีวิตประจำวันได้ดีทีเดียว น้ำหนักอาจจะไม่ได้เบาที่สุด แต่เชื่อว่ารวมอแดปเตอร์แล้ว ประมาณ 1.7Kg ก็ดีพอให้พกพา และใช้งานในที่ต่างๆ ได้ไม่ยาก ผู้ใช้สามารถเลือกกระเป๋าในสไตล์ที่ชอบ หรือซอฟท์เคสแบบที่ใช้ มาใช้กับโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ได้ตามใจชอบเลยครับ

from:https://notebookspec.com/web/672520-asus-expertbook-b5-flip-2022

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค Intel, nVIDIA, AMD 2022 เล่นเกม ทำงาน ทำกราฟิก รุ่นไหนปัง!

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค 2022 เล่นเกม ทำงาน มีรุ่นไหนบ้าง Intel, nVIDIA หรือ AMD เลือกแบบไหน เช็คอย่างไร

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

การ์ดจอโน๊ตบุ๊คปัจจุบัน มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น รองรับการใช้งานได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การทำงาน ไปจนถึงเล่นเกม และมีให้เลือกเกือบทุกค่าย ไม่ว่าจะเป็น Intel, nVIDIA หรือ AMD ก็ตาม แต่ละค่ายก็มีเอกลักษณ์ที่ต่างกันออกแบบ ขึ้นอยู่กับโน๊ตบุ๊คที่เลือกใช้ด้วย เพราะบางรุ่นก็มาในแบบติดตั้งในซีพียู ที่เรียกว่า Integrate graphic หรือ iGPU และอีกแบบก็เป็นกราฟิกแยกหรือ Discrete Graphic ซึ่งจะมีในเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คแบบจริงจัง เพียงแต่เพิ่มรุ่นที่เป็นกราฟิกสำหรับโน๊ตบุ๊คบางเบา หรือโน๊ตบุ๊คที่ให้ประสิทธิภาพที่ดี แต่ประหยัดพลังงาน ไม่เพียงแค่นั้น การเลือกใช้งานการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค ยังมีเรื่องของ สเปค รุ่น และฟีเจอร์ ที่จะช่วยให้งานของคุณไหลลื่นมากขึ้น เช่น MUX Switch, e-GPU, Ray tracing หรือ AMD FSR และ nVIDIA DLSS รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกมากมาย ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กันครับ

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ Intel, nVIDIA, AMD


การ์ดจอโน๊ตบุ๊คมีกี่แบบ

สำหรับโน๊ตบุ๊ค ก็ไม่ได้ต่างไปจากพีซีตั้งโต๊ะหรือเดสก์ทอปพีซีมากมายนัก เพราะการ์ดจอจะมีทั้งบนซีพียู ที่เรียกว่า Integrate Graphic หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า การ์ดจอออนบอร์ด ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งบนตัวซีพียู และอีกแบบจะเรียกว่าการ์ดจอแยก หรือ Discrete Graphic และทั้ง 2 แบบนี้ ก็มีความแตกต่าง ทั้งในแง่ของการติดตั้งและการใช้งาน โดยการ์ดจอบนซีพียู จะเป็นการเริ่มต้นใช้งานของโน๊ตบุ๊คพื้นฐานทั่วไป ซึ่งมีอยู่บนโน๊ตบุ๊คทุกรุ่น เพราะติดกับซีพียูโมบายมาทุกรุ่น แต่การ์ดจอแยก จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านนั้นๆ เช่น การเล่นเกมบนเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค หรือการทำงานบนโน๊ตบุ๊ค Workstation นั่นเอง

Advertisementavw
การ์ดจอบนซีพียู การ์ดจอแยก
ประสิทธิภาพ การทำงานทั่วไป เล่นเกมหรือทำงานเป็นหลัก
การใช้พลังงาน ใช้พลังงานน้อย ใช้พลังงานสูง
แชร์ทรัพยากร แชร์แรมระบบ มี VRAM แยก
การระบายความร้อน ใช้ชุดระบายความร้อนปกติ เพิ่มชุดระบายความร้อน
ค่าใช้จ่าย ขึ้นกับ Position ของโน๊ตบุ๊ค ขึ้นกับชิปกราฟิกที่เพิ่มเข้ามา

การ์ดจอออนบอร์ด: เป็นการ์ดจอในเบื้องต้น ที่ติดตั้งรวมเข้ามาในซีพียูแล้ว ใช้ในการแสดงผล และประมวลผลกราฟิกระดับพื้นฐาน รองรับการทำงาน ดูหนัง เปิดไฟล์เอกสาร และการเล่นเกมแบบง่ายๆ ได้อย่างครบครัน โดยจะใช้ทรัพยากร อย่างเช่น แรม ร่วมกับแรมของระบบ (Share memory) จึงเหมาะกับโน๊ตบุ๊คที่ไม่ได้เน้นประสิทธิภาพด้านกราฟิกหรือการเล่นเกมที่หนัก แต่ก็ใช้งานได้ดี ขึ้นอยู่กับความสามารถของกราฟิกบางรุ่น แต่ที่โดดเด่นคือ ใช้พลังงานน้อยลง ไม่ต้องดีไซน์ระบบระบายความร้อนมากนัก และยังพกพาสะดวก เราจึงเห็นกราฟิกรูปแบบนี้ ได้ตั้งแต่โน๊ตบุ๊คราคาประหยัด สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้งาน ไปจนถึงโน๊ตบุ๊คบางเบา และใช้ในงานธุรกิจ และไลฟ์สไตล์ ที่ต้องการประหยัดพลังงาน ใช้ได้นาน ไม่ต้องชาร์จบ่อยอีกด้วย มีด้วยกันหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น Intel หรือ AMD ก็ตาม

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

การ์ดจอแยก: จะเป็นการ์ดจอที่เสริมเข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้งาน โดยเฉพาะกับการเล่นเกม และโน๊ตบุ๊คทำงานเฉพาะทาง นอกเหนือจากการ์ดจอ Integrate ที่อยู่บนซีพียู ซึ่งจะเป็นชิปกราฟิก GPU ที่ติดตั้งเพิ่มเติมเข้ามาบนโน๊ตบุ๊ค รวมถึงการเพิ่ม VRAM แยกต่างหาก ไม่ต้องแชร์แรมระบบ ทำให้ได้พลังในการเล่นเกมหรือทำงานเฉพาะทางที่สูงมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการใช้พลังงานที่มากกว่า และต้องการชุดระบายความร้อนที่ดี ซึ่งบางครั้งก็ส่งผลต่อมิติของโน๊ตบุ๊ค ที่ต้องมีความหนาและหนักมากขึ้นนั่นเอง รวมถึงราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย มีให้เลือกทั้ง AMD Radeon Graphic และ nVIDIA GeForce หรือ Quadro เป็นต้น


MUX Switch คือ?

เมื่อมีทั้งการ์ดจอออนบอร์ด บนซีพียู และมีการ์ดจอแยกอยู่ด้วย แล้วแบบนี้ระบบจะงงมั้ย เวลาที่ทำงานหรือเล่นเกม โดยในอดีตระบบจะสลับการทำงานให้อัตโนมัติ เมื่อเข้าสู่การเล่นเกมตามเงื่อนไข แต่ก็มีบางครั้งที่เราต้องเข้าไปกำหนดค่าใน Driver ของการ์ดจอ เพื่อให้ระบบสลับการทำงานของชิปกราฟิกให้รวดเร็ว และถูกต้อง ซึ่งก็ดูจะวุ่นวายอยู่เหมือนกัน แต่ในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีและการปรับปรุงฟีเจอร์เข้ามา เพื่อให้ระบบจัดการกราฟิกได้ง่ายขึ้น

ASUS MUX
source: ASUS

MUX หรือ Multiplexer ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการจัดการระบบการทำงานของกราฟิก iGPU หรือเป็นชิปที่ Integrate อยู่บนซีพียู เพื่อที่จะควบคุมการแสดงผล ให้ปิดการทำงานของ iGPU เมื่อการ์ดจอแยกทำงาน (Discrete Graphic) ทำให้การตอบสนองรวดเร็วขึ้น ลด Latency ที่จะเกิดขึ้นในการแสดงผล และปิดการทำงานของ iGPU ไป เพื่อให้การ์ดจอแยกทำงานได้เต็มที่ ส่งผลดีต่อการเล่นเกม แต่ก็ทำให้มีการใช้พลังงานมากขึ้น ในปัจจุบัน MUX Switch ติดตั้งอยู่บนเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คหลายรุ่น เช่น ASUS ROG, Dell G16 และ MSI Titan GT77 เป็นต้น


การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค ดูตรงไหน

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

การเช็ครุ่นการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค มีด้วยกันหลายวิธี ตั้งแต่การใช้ฟังก์ชั่นบน Windows ไปจนถึงการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม แต่แบบไหนจะดีกว่ากัน คงต้องบอกว่า ถ้าเป็นฟังก์ชั่นเดิมๆ บนโน๊ตบุ๊ค ก็จะดูได้เพียงระดับหนึ่ง การจะลงรายละเอียด เช่น ข้อมูลภายในของตัวการ์ดจอ หรือจะ Monitor hardware ก็ทำได้ยาก การใช้โปรแกรมมาเสริม ก็ทำให้เราใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น จะดูเรื่องของความร้อน รอบพัดลม แรงดันไฟ ไปจนถึงสัญญาณนาฬิกา หรือบางโปรแกรมก็เช็ตได้ด้วยว่า เฟรมเรตในการเล่นเกมดีแค่ไหน ใช้งานก็ง่าย ไม่ซับซ้อน

DirectX Diagnostic: เป็นวิธีที่ดูการ์ดจอได้ค่อนข้างง่าย มีขั้นตอนอยู่ 2-3 สเตป ทำตามนี้ได้เลยครับ เริ่มด้วยกดปุ่ม Win+R, จากนั้นพิมพ์ dxdiag ในช่องว่าง แล้วกด Enter จะมีหน้าต่าง DirectX Diagnostic Tool ขึ้นมา ให้ไปดูที่แท็ป Display ได้เลย

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

Advance Display: ให้เข้าไปที่ Settings แล้วเลือก System จากนั้นเลื่อนมาด้านล่าง เลือกที่ Advance Display จะมีชื่อของ Display Adaptor ปรากฏให้เห็น

Device Manager: เป็นวิธีที่ง่ายเลยทีเดียว หากเป็น Windows 11 ให้คลิ๊กขวาที่โลโก้ Windows จากนั้นเลือก Device Manager แล้วเลือกที่ Display Adaptor ก็จะบอกรุ่นของการ์ดจอให้เห็น

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

CPUz: เป็นโปรแกรมที่ต้องดาวน์โหลดมาเพิ่มจาก ที่นี่ เมื่อติดตั้งแล้ว ให้เข้าไปที่แท็ป Graphic จะบอกรายละเอียดของการ์ดจอให้ได้ทราบ ละเอียดกว่าบน Device Manager

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

GPUz: แต่ถ้าต้องการรายละเอียด ชนิดที่เห็นข้อมูลสำคัญ เช่น สัญญาณนาฬิกา, Shader, Memory speed หรือเฟิรมแวร์ ไบออส แนะนำโปรแกรมนี้ ดาวน์โหลดได้ ที่นี่ โดยเมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว เข้าไปในหน้าแรก Graphic Card ตรงนี้จะให้ข้อมูลต่างๆ ของการ์ดจอโน๊ตบุ๊คได้อย่างครบถ้วน และยังใช้งานร่วมกับการ์ดจอออนบอร์ด และการ์ดจอแยก ไม่ว่าจะเป็น Intel, nVIDIA หรือ AMD ก็ตาม มีการอัพเดตข้อมูลสดใหม่อยู่เสมอ


e-GPU การ์ดจอต่อภายนอก

โน๊ตบุ๊คก็ฝังบอร์ดมาเช่นกัน การอัพเกรดก็แทบจะทำไม่ได้ เช่นเดียวกับซีพียู แต่ปัจจุบันก็ยังพอมีทางออกอยู่บ้าง เช่น การใช้การ์ดจอต่อภายนอกหรือ e-GPU ที่เป็น Box ใส่การ์ดจอต่อภายนอก ซึ่งใช้การ์ดจอพีซีปกติได้เลย เพียงแต่ข้อจำกัดจะอยู่ที่ โน๊ตบุ๊คที่คุณใช้จะต้องมีพอร์ต Thunderbolt รวมถึงการซื้อ Box สำหรับ e-GPU ไม่ได้ถูกราคาใกล้หลักหมื่น ส่วนเลือกการ์ดจอแรงแค่ไหน ราคาก็จะสูงตามไปด้วย นั่นก็ทำให้สายเกม เลือกซื้อเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คตัวแรงๆ ไปเลย จะได้จบในทีเดียว และค่าใช้จ่ายถูกกว่า

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ กราฟิก GPU บนโน๊ตบุ๊คนั้น จะมีให้ 2 แบบคือ รุ่นปกติ และรุ่นประหยัดพลังงาน เช่น nVIDIA GeForce ในซีรีส์ของ Max-Q ที่จะถูกปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้พลังงานอยู่ด้วย โดยจะดรอปความเร็วและฟีเจอร์บางส่วนลงจากรุ่นปกติ เพื่อให้โน๊ตบุ๊คในกลุ่มบางเบาหรือกึ่งทำงาน ที่ต้องการการ์ดจอแยกได้สามารถพกพาและใช้งานได้ดียิ่งขึ้น


การ์ดจอ Intel

Graphic Max.frequency EU
Intel Core i3-1115G4 Intel UHD Graphic 1.25GHz 48
Intel Core i5-1145G7 Intel Iris Xe Graphic 1.30GHz 80
Intel Core i7-1195G7 Intel Iris Xe Graphic 1.40GHz 96
Intel Core i7-11600H Intel UHD Graphic 1.45GHz 32
Intel Core i9-11900H Intel UHD Graphic 1.45GHz 32
Intel Core i3-1210U Intel UHD Graphic 850MHz 64
Intel Core i5-1235U Intel Iris Xe Graphic 1.20GHz 80
Intel Core i5-1250P Intel Iris Xe Graphic 1.40GHz 80
Intel Core i5-1240P Intel Iris Xe Graphic 1.30GHz 80
Intel Core i7-1260P Intel Iris Xe Graphic 1.40GHz 96
Intel Core i7-12700H Intel Iris Xe Graphic 1.40GHz 96
Intel Core i9-12900H Intel Iris Xe Graphic 1.45GHz 96
Intel Core i9-12900HX Intel UHD Graphic 1.55GHz 96

Intel Graphic: การ์ดจอโน๊ตบุ๊คจากทาง Intel จะเป็นแบบ Integrate มากับซีพียูที่เป็นแบบเดสก์ทอปและโน๊ตบุ๊ค โดยจะมีให้ใช้งานอยู่ 2 เวอร์ชั่นด้วยกัน ประกอบด้วย Intel Iris Xe Graphic และ Intel UHD Graphic ไม่ว่าจะเป็นซีพียู Intel Gen 11 ที่เป็นแบบ G series เช่น Core i3-1115G4 หรือจะเป็น U series และ H series ไปจนถึง HX series ก็ต่างมีกราฟิกมาในตัวเช่นเดียวกัน โดยในรุ่น G1/G4 และ G7 ตามรหัสต่อท้ายของซีพียู Intel Gen 11 เช่น Intel Core i3-1115G4 หรือ Intel Core i5-1135G7 เป็นต้น โดยจะต่างกันทั้งในเรื่องความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงสุดและ Execution Units รวมถึงการเชื่อมต่อของ PCIe จากตัวอย่างในตารางด้านบนนี้ จะมีข้อมูลบางส่วน จะเห็นได้ชัดว่า แม้บางครั้ง จะเป็นซีพียูในระดับเดียวกัน แต่ก็มีกราฟิก 2 โมเดล ดังนั้นการเลือกใช้ก็คงต้องพิจารณาในส่วนนี้ด้วย หากเน้นไปที่การใช้โน๊ตบุ๊คแบบไม่มีการ์ดจอแยก และทั้งหมดจะเป็นการแชร์หน่วยความจำหลักของระบบมาใช้อัตโนมัติ

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

ถ้ามองกันที่โครงสร้างสถาปัตยกรรม Iris Xe Graphic จะมีความทันสมัย และความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงกว่า รวมถึง CUs จำนวนมากกว่ากราฟิกรุ่นที่ผ่านๆ มาของ Intel โดยเริ่มต้นเปิดตัว Iris Xe ครั้งแรกบนซีพียู Intel Gen 11 ประมาณปี 2020 ซึ่ง Iris Xe Graphic บนซีพียู Intel Gen 12 จะได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมทั้งใน EUs และสัญญาณนาฬิกา มากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมฟีเจอร์นหลายส่วนเข้ามา เช่น การเล่นเกมบนความละเอียดสูง 1080p @60fps. และ Ai ใหม่ ใช้พลังงานต่ำ รองรับ Intel Quick Sync แปลงไฟล์วีดีโอได้เร็วยิ่งขึ้น รองรับ API ใหม่ๆ ได้ดี รวมถึง OpenCL ด้วย

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค
source: Laptopmedia

ส่วน Intel UHD Graphic เป็นการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค ที่มาพร้อมกับซีพียู Intel เช่นเดียวกัน และได้รับการปรับปรุงมาประมาณ 2-3 ปีแล้ว ล่าสุดกับซีพียู Intel Gen 12 จะมาพร้อม UHD Graphic 770 ที่มี CUs มากถึง 32 ชุดด้วยกัน ในส่วนของ UHD Graphic เอง แม้ว่าอาจจะดูมีอายุอานามมาพอสมควร แต่ก็ได้รับการปรับปรุงมาตลอด ทำให้มีฟีเจอร์ต่างๆ แทบไม่ต่างไปจาก Iris Xe Graphic อย่างไรก็ดี หากมองไปที่รายละเอียดในตาราง จะเห็นได้ว่า execution units และสัญญาณนาฬิกาของ Iris Xe Graphic นั้นสูงกว่า UHD Graphic ดังนั้นประสิทธิภาพที่ได้ ก็ดูจะน้อยกว่ากันพอสมควร


การ์ดจอ nVIDIA

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

สำหรับการ์ดจอโน๊ตบุ๊คของทาง nVIDIA จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ซีรีส์ หลักๆ คือ GeForce MX ซึ่งเป็นน้องเล็กสุดของการ์ดจอแยกบนโน๊ตบุ๊ค ซึ่งเน้นไปที่การทำงานเป็นหลัก โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านกราฟิกได้ดีกว่าการ์ดจอ iGPU ที่อยู่บนซีพียูพื้นฐาน ส่วนที่เป็น GeForce GTX จะเป็นการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค สำหรับเกมเมอร์ในระดับเริ่มต้น ซึ่งให้ประสิทธิภาพทั้งด้านการทำงาน และการเล่นเกมได้ดีพอสมควร ใอยู่ในโน๊ตบุ๊คราคาไม่สูงเกินไป และรุ่นพี่ใหญ่ท็อปสุด ก็จะเป็นการ์ดจอในตระกูล GeForce RTX ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มของฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ได้ และมีอยู่ด้วยกันหลายโมเดลในปัจจุบัน ประสิทธิภาพจะเหนือกว่า GeForce GTX และฟีเจอร์อีกหลายอย่างที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามา เช่น การสนับสนุน DLSS หรือ Ray tracing เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การเล่นเกมไหลลื่น และมีความสวยงามมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาโน๊ตบุ๊ค ที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน จึงเหมาะกับเกมเมอร์ ที่เล่นเกมจริงจัง และยังพกพาไปเล่นข้างนอกได้อีกด้วย

Graphic CUDA Boost clock Memory Memory Interface
RTX 3050 2048 1.74GHz 4GB GDDR6 128-bit
RTX 3050 Ti 2560 1.69GHz 4GB GDDR6 128-bit
RTX 3060 3840 1.70GHz 6GB GDDR6 192-bit
RTX 3070 5120 1.62GHz 8GB GDDR6 256-bit
RTX 3070 Ti 5888 1.48GHz 8GB GDDR6 256-bit
RTX 3080 Ti 7424 1.59GHz 16GB GDDR6 256-bit

ที่มา: GeForce RTX

Graphic CUDA Boost clock Memory Memory Interface
GTX 1650 1024 1560 4GB GDDR6 128-bit
GTX 1650 Ti 1024 1485 4GB GDDR6 128-bit
GTX 1660 Ti 1536 1590 6GB GDDR6 192-bit

ที่มา: GeForce GTX

Graphic CUDA Boost clock Memory Memory Interface
MX330 384 1.59GHz 2GB GDDR5 64 bit
MX350 640 1.46GHz 2GB GDDR5 64 bit
MX450 896 930MHz 2GB GDDR6 64 bit

Max-Q คืออะไร

เป็นรหัสที่ต่อท้ายการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค ให้ทราบการ์ดจอรุ่นนั้นๆ จะถูกลดทอนบางสิ่งลง เพื่อให้สามารถติดตั้งบนโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งรุ่นใหม่ ที่มีขนาดบางลงได้ โดยไม่ทำให้อุณหภูมิสูงจนเกินไป และลดการใช้พลังงานได้มากขึ้นและไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ จากการ์ดจอรุ่นปกติมากนัก โดยสเปคที่จะถูกลดลง เช่น สัญญาณนาฬิกาของ GPU และค่าการใช้พลังงาน TGP โดย ประสิทธิภาพของตัว Max-Q แทบไม่ต่างจากรุ่นปกติ และยังได้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น Ray Tracing ที่มีอยู่ในการ์ดจอปกติของเครื่องพีซี ก็ถูกนำมาไว้ในการ์ดจอของโน๊ตบุ๊ค

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่า nVIDIA จะไม่ได้ใส่คำว่า Max-Q ต่อท้ายผลิตภัณฑ์บนการ์ดจอโน๊ตบุ๊คที่เป็น GeForce 30 series แต่จะให้ทางผู้ผลิตโน๊ตบุ๊ค แจ้งข้อมูลในรูปแบบของค่าการใช้พลังงานกราฟิก TGP แทน โดยในส่วนของ Max-Q นั้น จะมีค่า TGP น้อยกว่าการ์ดจอในรุ่นปกติ รวมถึงค่า Base clock/ Boost clock ก็น้อยตามลงไปด้วย แต่ CUDA core และ VRAM ยังเท่ากัน


การ์ดจอ AMD

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค

สำหรับการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค Radeon 600M series นั้น มาพร้อมกับซีพียู AMD Ryzen 6000 series อยู่บนซีพียูที่ใช้โค๊ตเนม Rembrandt หรือ Zen3+ รุ่นใหม่ เป็นกราฟิกแบบ Integrate ที่เปิดตัวไปเมื่อช่วงกลางปี 2022 ที่ผ่านมา และถือว่าเป็นกราฟิกที่สร้างความฮือฮาได้ไม่น้อย เพราะให้ประสิทธิภาพแรงใกล้เคียงกับการ์ดจอแยก แม้ว่าจะเป็นการแชร์หน่วยความจำจากระบบก็ตาม ซึ่งมีด้วยกัน 2 รุ่นคือ Radeon 660M และ 680M โดยชูฟีเจอร์สำคัญอย่าง FidelityFX Super Resolution ที่ช่วยในการอัพสเกลภาพให้มีความละเอียดสูงขึ้น แบบไม่ส่งผลกระทบต่อเฟรมเรต เพราะฉะนั้นใครที่เล่นเกมที่รองรับ FSR นี้ ก็จะสามารถเล่นได้ลื่นบนภาพที่มีความละเอียดมากขึ้นนั่นเอง

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค
Graphic CUDA Boost clock Memory Memory Interface
Radeon 660M 384 1.90GHz Share system
Radeon 680M 640 1.46GHz Share system

สำหรับการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค AMD 6000 series นั้น เป็นการ์ดจอที่ถูกออกแบบมาเพื่อเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คโดยเฉพาะ และเป็นการ์ดจอแยก ที่ให้ประสิทธิภาพสูง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกันคือ 6000M เป็นกราฟิกที่เน้นสำหรับการเล่นเกมแบบจริงจัง ด้วยขุมพลังที่อัดแน่นมาให้กับเกมเมอร์โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณนาฬิกา VRAM หรือค่า TGP ก็ตาม ส่วน 6000S นั้น จะลดทอนบางอย่างลง เพื่อให้เหมาะกับโน๊ตบุ๊คที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีความบางเบา สำหรับเกมเมอร์แบบพกพา ประหยัดพลังงานมากขึ้น แต่ยังคงความแรงไว้ได้ใกล้เคียงกับ 6000M โดยทั้งคู่ใช้โครงสร้างจาก RDNA2 ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์สำคัญต่างๆ เช่น AMD Advantage, FidelityFX, Infinity Cache และ Ray tracing เป็นต้น เป็นการ์ดจอโน๊ตบุ๊คที่น่าจับตามอง สำหรับคอเกมในเวลานี้

การ์ดจอโน๊ตบุ๊ค
Graphic CUs Game clock Memory Memory type
Radeon 5300M 22 1.18GHz 3GB GDDR6
Radeon 5500M 22 1.48GHz 4GB GDDR6
Radeon 5600M 36 1.19GHz 6GB GDDR6
Radeon 5700M 36 1.62GHz 8GB GDDR6
Radeon 6600S 28 1.80GHz 4GB GDDR6
Radeon 6700S 28 1.90GHz 8GB GDDR6
Radeon 6800S 32 1.97GHz 8GB GDDR6
Radeon 6300M 12 1.58GHz 2GB GDDR6
Radeon 6500M 16 2.19GHz 4GB GDDR6
Radeon 6600M 28 2.17GHz 8GB GDDR6
Radeon 6700M 36 2.3GHz 10GB GDDR6
Radeon 6800M 40 2.3GHz 12GB GDDR6

ข้อมูลเพิ่มเติม: AMD Radeon RX


Conclusion

สุดท้ายนี้การเลือกใช้งานการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค ก็คงต้องดูตามรูปแบบการใช้งานของแต่ละบุคคล และงบประมาณที่มี เพราะในกรณีที่คุณแค่ทำงาน และความบันเทิงเล็กน้อย หรือจะเล่นเกมเบาๆ ไม่ต้องใช้ทรัพยากรมาก โน๊ตบุ๊คที่มีการ์ดจอออนบอร์ด หรือ iGPU หลายรุ่นก็ตอบโจทย์คุณได้ ในงบประมาณที่ไม่แพงมากนัก หมื่นต้นๆ ก็มีให้เห็น แต่ถ้าคุณเน้นที่การเล่นเกม คุณอาจจะเริ่มต้นด้วย GTX1650Ti หรือ RTX3050 ก็ดูจะเหมาะสม เพราะเริ่มที่ 2 หมื่นกว่าบาทเท่านั้น หรืออาจจะสูงกว่านี้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นด้วย เช่น ซีพียู หรือว่าแรมที่ใช้ เพราะถ้าเป็นเซ็ตใหม่อย่าง Intel Gen 12 และใช้ DDR5 ราคาก็จะเพิ่มขึ้น รวมถึงความพรีเมียมของโน๊ตบุ๊ครุ่นนั้นๆ

NBS MSI

แต่ถ้าคุณชื่นชอบในการเล่นเกม และเป็นฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ ที่ยังชีวิตด้วยเฟรมเรต กระตุกไม่ได้ แร๊คก็ไม่ควร การ์ดจอแยก RTX3070, RTX3080Ti หรือจะเป็น Radeon RX6700M หรือ RX6800M ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และพาคุณไปให้สุดกับเกม ที่ให้ความสวยงามของเกม ได้มากกว่าเฟรมเรตอีกด้วย แต่อาจจะเคาะราคาไปเกือบแสนบาท หรือมากกว่านั้น แต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าน่าสนใจ

from:https://notebookspec.com/web/670670-graphic-card-notebook-2022

ASUS Vivobook Pro 15 OLED สีตรง แต่งภาพ ตัดต่อ เล่นเกม สีสดใส 2.8K 120Hz จบในตัว

ASUS Vivobook Pro 15 OLED โน๊ตบุ๊ค 2.8K 120Hz จอสีสดใส การ์ดจอ RTX ราคาเบาๆ

ASUS Vivobook Pro 15

ASUS Vivobook Pro 15 OLED โน๊ตบุ๊คทำงานกึ่งไลฟ์สไตล์ เข้ากันได้ในทุกช่วงชีวิตกับหน้าจอขนาดใหญ่ 15.6″ ให้ความละเอียดถึง 2.8K สีสันสดใสในแบบ OLED ขุมพลัง Intel Core i7-12760H ที่พร้อมตอบสนองการใช้งานในด้านต่างๆ เช่นเดียวกับแรม DDR5 และกราฟิกการ์ดแบบแยก GeForce RTX 3050Ti กับดีไซน์บนพื้นฐานของ ASUS Vivobook อย่างเต็มรูปแบบ คีย์บอร์ด Full-size กดง่าย ตอบสนองไว แสงไฟ Backlit บนคีย์บอร์ด ปรับระดับความสว่างได้ ฮอตคีย์มีมาให้ครบ และบานพับที่กางออกได้ถึง 180 องศา ให้การระบายความร้อน ASUS IceCool Plus ลดอุณหภูมิได้ดีขึ้น รวมถึงพอร์ตที่มีให้ครบครัน รวมถึง Thunderbolt 4 ที่ใช้งานได้อเนกประสงค์ น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.8Kg เท่านั้น พร้อม Windows 11 Home ใช้งานได้ทันที และมี Perfect Warranty มาให้อุ่นใจในการใช้งาน สนนราคาเริ่มอยู่ที่ 43,990 บาท

ASUS Vivobook Pro 15 OLED


จุดเด่น

Advertisementavw
  • จอภาพ OLED สีสันสดใส ให้ความแม่นยำสีสูง
  • ความละเอียด 2.8K เหมาะกับการทำงานด้านภาพ
  • สเปค Intel Core i7-12760H+DDR5 ให้ประสิทธิภาพที่ดี
  • มาพร้อมพอร์ต Thunderbolt 4
  • คีย์บอร์ดแสงไฟ Backlit ปรับระดับได้
  • กล้องเว็บแคมคมชัด ไมโครโฟน Ai Noise Cancelling
  • กางหน้าจอได้ 180 องศา
  • ระบายความร้อนได้ดีพอสมควร
  • มี Certified DisplayHDR True Black 600

ข้อสังเกต

  • มี Thunderbolt 4 มาให้พอร์ตเดียว
  • ไม่รองรับสแกนลายนิ้วมือ
  • แรมออนบอร์ด อัพเกรดไม่ได้

Specification

Description
สี Quiet Blue
ระบบปฏิบัติการ Windows 11 Home – ASUS recommends Windows 11 Pro for business
โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ i7-12650H Processor 2.3 GHz (24M Cache, up to 4.7 GHz, 10 cores)
จอภาพ 15.6-inch, 2.8K (2880 x 1620) OLED 16:9 aspect ratio, 0.2ms response time, 120Hz refresh rate, 600nits peak brightness , 100% DCI-P3 color gamut , 1,000,000:1, VESA CERTIFIED Display HDR True Black 600 , 1.07 billion colors, PANTONE Validated
หน่วยความจำ 16GB LPDDR5 on board
ตัวจัดเก็บข้อมูล 512GB M.2 NVMe™ PCIe® 3.0 SSD
การเชื่อมต่อและการต่อขยาย 1x USB 3.2 Gen 1 Type-A
2 x USB 2.0 Type-A
1x Thunderbolt™ 4 supports display / power delivery
1 x HDMI 2.1
1x 3.5mm Combo Audio Jack
1x DC-in
Micro SD card reader
คีย์บอร์ดและทัชแพด Backlit Chiclet Keyboard with Num-key , 1.4mm Key-travel, -, Touchpad
กล้อง กล้อง 1080p FHD
With privacy shutter
เสียง Smart Amp Technology
Built-in speaker
Built-in array microphone
harman/kardon (Mainstream)
with Cortana and Alexa voice-recognition support
ระบบไร้สาย Wi-Fi 6E(802.11ax) (Dual band) 2*2 + Bluetooth 5
แบตเตอรี่ 70WHrs, 3S1P, 3-cell Li-ion
น้ำหนัก 1.80 kg
ขนาด (กว้าง x ลึก x สูง) 35.98 x 23.43 x 1.89 ~ 1.99 cm
ASUS Exclusive technology ASUS Antibacterial Guard
Military Grade US MIL-STD 810H military-grade standard
Price 43,990 Baht

ข้อมูลเพิ่มเติม: ASUS


Hardware / Design

ASUS Vivobook Pro 15

ASUS Vivobook Pro 15 มาในธีมสีที่เรียกว่า Quiet Blue ซึ่งเป็นสีพื้นฐานที่ถูกใช้บน Vivobook มาหลายๆ รุ่น รวมถึง ExpertBook ด้วยเช่นกัน โดยเป็นแนวสีน้ำเงิน+เทาเข้มๆ ดูแล้วเข้าได้กับทุกสภาพการณ์ จะเอาไปใช้ที่ทำงาน เรียนออนไลน์ นั่งชิลร้านกาแฟ หรือประชุมลูกค้าก็ลงตัวดีครับ

ASUS Vivobook Pro 15

โครงสร้างมาในไซส์ของโน๊ตบุ๊คระดับ 15.6″ หลายๆ รุ่นของ ASUS วัสดุแข็งแรงดี ฝา Cover จับแล้วไม่ยวบยาบ โลโก้ ASUS Vivibook เป็นแบบแวววาวอยู่ด้านบน เส้นสายทำให้ดูทันสมัยดีทีเดียว

ASUS Vivobook Pro 15

ขอบจออาจไม่ได้บางมาก เพราะต้องรับโครงสร้างของตัวจอขนาดใหญ่ กรอบจออยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 3 ด้าน บางพอๆ กับ Vivibook 16 ที่เราเคยได้รีวิวไปก่อนหน้านี้ ให้พื้นที่ในการแสดงผลประมาณ 84% Screen to Display อยู่ในระดับที่กว้างดีทีเดียว

ASUS Vivobook Pro 15

มุมมองจากด้านข้าง มิติของขอบบานหน้าจอมีความบาง และบอดี้เอง ก็มีการจัดวางเส้นสาย ให้ดูมีมิติและความบางมากขึ้น พร้อมพอร์ตต่อพ่วงและไฟแสดงสถานะ

ASUS Vivobook Pro 15

ฝั่งขวามือมาพร้อมพอร์ตให้ใช้งานอย่างครบครัน เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน และหนึ่งในนั้นก็เป็น Thunderbolt 4 อีกด้วย ซึ่งเป็นพอร์ตสารพัดประโยชน์เลยทีเดียว

ASUS Vivobook Pro 15

บานพับที่กาง 180 องศา เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการแชร์หน้าจอ เพื่อแบ่งปัน พรีเซนเทชั่นหรือการแนะนำสินค้าให้คนที่อยู่โดยรอบได้เห็นภาพไปพร้อมๆ กัน

ASUS Vivobook Pro 15

ด้านหลัง มาพร้อมช่องดูดลมเย็นเข้าสู่ระบบ เป็นช่องขนาดเล็ก แต่มีความถี่จำนวนมาก ดีไซน์ให้เข้ากับเส้นสายของตัวเครื่อง ด้านล่างเป็นช่องลำโพงให้พลังเสียงได้อย่างเต็มอิ่มทีเดียวในการทดสอบของเรา ยิ่งเหล่าเกมเมอร์ กับเน้นชมภาพยนตร์เป็นหลัก ไม่ควรพลาด

ASUS Vivobook Pro 15

บรรดาสติ๊กเกอร์ที่บริเวณจุดวางมือ รายงานถึงคุณสมบัติสำคัญๆ เอาไว้อย่างครบครัน เช่น ระบบระบายความร้อน ASUS IceCool Plus, มีพอร์ต Thunderbolt 4 และ Privacy Shutter เป็นต้น

ASUS Vivobook Pro 15

คีย์บอร์ดขนาดใหญ่ในแบบ Full Size ให้การพิมพ์ที่สนุกมือ โดดเด่นที่โลโก้แบบ Slate อยู่บริเวณปุ่ม Enter ระยะห่างของปุ่มกดง่าย ฮอตคีย์อยู่ด้านบน เพื่อความคล่องตัวในการใช้งาน

ASUS Vivobook Pro 15

และที่ขาดไม่ได้นั่นคือ จอภาพในแบบ OLED สีสันสดใส ซึ่งพอใช้ดูภาพยนตร์แบบ Fullscreen ด้วยแล้ว นอกจากสีสันจะจัดจ้าน แบบที่เราคาดไว้ ขอบจอบางๆ ยิ่งทำให้ได้อรรถรสในการรับชมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในโทนสีดำหรือฉากมืด คุณจะได้เห็นอะไรดีๆ บนโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้อีกมากเลยทีเดียว และที่สำคัญยังมาพร้อม DisplayHDR TrueBlack 600 ตัวท็อปสุดในสายนี้ ต้องมีอะไรดีๆ ที่น่าสนใจอีกเพียบ


Keyboard / Touchpad

ASUS Vivobook Pro 15

คีย์บอร์ดในแบบ Full-size มาในสไตล์เดียวกับ Vivobook 16 ที่เราเคยรีวิวไปก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะในเรื่องของเลย์เอาท์ การวางปุ่มต่างๆ ไปในทางเดียวกัน เรื่องระยะห่างของปุ่ม และพื้นที่วางมือ แทบจะใกล้เคียงกันทั้งหมด เสน่ห์อยู่ที่ปุ่มขนาดใหญ่ ฟอนต์ตัวอักษรก็ดูง่าย ทำให้เหมาะกับคนทำงาน หรือคนที่ต้องพิมพ์เอกสารบ่อยๆ เพราะง่ายต่อการมอง หรือจะพิมพ์สัมผัสก็สนุก

ASUS Vivobook Pro 15

ปุ่มกดแน่นนุ่ม แต่เสียงเบา ลงน้ำหนักนิ้วได้อย่างสะใจ โดยส่วนตัวค่อนข้างชอบแนวนี้ เพราะมีงานที่ต้องใช้คีย์บอร์ดในแต่ละวันเยอะ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น แต่สายเกมมิ่ง อาจจะรู้สึกไม่คุ้นชินตอนแรก ซึ่งถ้าเล่นเกมแอ็คชั่นทั่วไป ไม่เน้นคีย์เยอะ ก็เล่นได้สนุก แต่ถ้าจะให้สนุกแบบมีแรงต้าน จังหวะคลิ๊กแนะนำว่าต่อ Mechanical keyboard เอาไว้เล่นจะได้ความมันส์เพิ่มขึ้น

ASUS Vivobook Pro 15

โลโก้สะดุดตาที่ปุ่ม Enter ที่เป็นแบบ Slate ในงานวีดีโอ

ฮอตคีย์ด้านบน มีให้อย่างครบถ้วน ตรงนี้ผมถือว่า ASUS เป็นอีกหนึ่งค่าย ที่มีให้ใช้งานครบมากๆ ไม่ว่าจะเป็น ปิดลำโพง, เพิ่ม-ลดเสียง, เพิ่ม-ลดแสงหน้าจอ, ทัชแพด, แสงไฟคีย์บอร์ด, ส่งสัญญาณไปยังจอภายนอก, ไมโครโฟน, ปิดกล้องเว็บแคม, Snipping tool, MyASUS, จับภาพหน้าจอ ที่เหลือก็จะเป็น Del, Insert และ ปุ่มเพาเวอร์อยู่ทางขวามือสุด

ASUS Vivobook Pro 15

ที่ทัชแพดขนาดใหญ่ 13.5cm x 7cm พร้อมปุ่มคลิ๊กซ้าย-ขวา แบบซ่อนเอาไว้ รองรับการใช้ Multi-Gesture เช่น 2 นิ้วย่อ-ขยาย, 3 นิ้ว เปิด Task View เลือกหน้าต่างโปรแกรม เป็นต้น ด้านหน้ามีเว้าตรงกลาง ให้นิ้วดันจอขึ้นมาได้ ข้อดีคือ ทำให้จอมีความแน่นหนา ไม่เขย่าหรือสั่นง่าย เวลาใช้งาน โดยเฉพาะคนที่ลงน้ำหนักที่นิ้วเวลาพิมพ์

คีย์บอร์ดมาพร้อมแสงไฟ Backlit สามารถใช้งานในที่แสงน้อยได้ และยังปรับการใช้งานได้ตามสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการเปิด-ปิด ได้ที่ปุ่ม F7 รวมถึงการปรับระดับความสว่างได้อีก 2 ระดับ เพื่อการใช้งานในรูปสภาวะแสงในบริเวณต่างๆ

บริเวณที่วางมือ มาพร้อมโลโก้ต่างๆ เช่น ซีพียู Intel Core i7, กราฟิก GeForce RTX รองรับฟีเจอร์ที่ใช้ไดรเวอร์ Studio ได้ Pantone Validated: รองรับมาตรฐานเฉดสีที่ใช้งานจอในการตกแต่งภาพ โดยเฉพาะงาน Production ออกมาแล้ว ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เรื่องนี้หลายฝ่ายค่อนข้างให้ความสำคัญมากทีเดียว

ASUS Perfect Warranty การรับประกันที่มั่นใจได้จาก ASUS การรับประกัน 2 ปี ปีแรกครอบคลุมถึงอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ตกหล่น น้ำหกใส่ หรือไฟฟ้าลัดวงจรเป็นต้น นอกจากจะมาพร้อม Windows 11 Home แล้ว ยังมี Office Home & Student มาอีกด้วย

ด้านขวาจะเป็นสติ๊กเกอร์ที่บอกถึงฟีเจอร์หลักๆ บน ASUS Vivobook Pro 15 รุ่นนี้ เช่น

  • ชุดระบายความร้อน ASUS IceCool Plus
  • พอร์ตความเร็วสูง Thunderbolt 4
  • ฝาปิดกล้องเว็บแคม เพื่อความเป็นส่วนตัว
  • Ai Noise Cancelling ลดเสียงรบกวน ให้เสียงสนทนาเคลียร์ชัด
  • กางหน้าจอได้ 180 องศา
  • ASUS WiFi Master Premium การเชื่อมต่อไร้สาย

Screen / Speaker

ASUS Vivobook Pro 15

ผมอยากจะให้มาเริ่มกับหน้าจอแสดงผล OLED ที่เป็นไฮไลต์ของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ ให้ความละเอียดที่ 2880 x 1620 ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะสัดส่วนของหน้าจอเป็นแบบ 16:9 โดยมีอัตรารีเฟรชเรตมาถึง 120Hz ด้วยกัน ซึ่งจะให้ภาพที่มีความนุ่มนวลลื่นไหล มาพร้อมกับ Certified ต่างๆ มากมาย เช่น Pantone Validate จอที่ได้การปรับจูนให้เข้ากับระบบสีสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ตามมาตรฐาน ซึ่งจำเป็นอย่างมากในงานด้านภาพและคอนเทนต์

ASUS Vivobook Pro 15

ขอบจอที่บางสุดๆ ทำให้ความรู้สึกในการชมภาพยนตร์ หรือการใช้พื้นที่หน้าจอในการทำงานได้เต็มตาเต็มอารมณ์มากขึ้น ยิ่งเป็นจอขนาด 15.6″ ด้วยแล้ว และใช้ความละเอียดระดับ 2.8K ก็ทำให้คุณได้พื้นที่ในการใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม ในโหมดของ Full screen หรือ Frameless ก็ตาม

ขอบด้านข้างซ้าย-ขวา และบนมีความบาง แม้จะไม่ได้บางที่สุด เพราะด้วยโครงสร้างจอขนาดใหญ่ ซึ่งจะรับบทบาทในเรื่องน้ำหนัก และความแข็งแรงเอาไว้ด้วย การจับถือก็ง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องการบิดตัวมากนัก

มุมมองจากทางด้านซ้ายและขวาของโน๊ตบุ๊ค ให้ความคมชัดด้วยกันทั้ง 2 ด้าน ด้วยความเป็นจอ OLED ที่ให้สีสันสม่ำเสมอ และภาพที่มีความสดใส จึงเหมาะกับการใช้งานในหลายๆ ประเภท รวมถึงการแชร์ภาพให้คนข้างๆ ได้ดูกันได้อย่างชัดเจน

บานพับหน้าจอสามารถกางได้หลายระดับ ตั้งแต่พับปิดทำได้แนบสนิท ไปจนถึงกางออกได้สุดถึง 180 องศา เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในหลายๆ ด้าน ซึ่งก็รวมถึงการพรีเซนท์งานของเหล่า Content Creator ที่ให้คนด้านข้าง หรืออยู่ตรงข้ามได้ชมกันแบบทั่วถึง หลายคนน่าจะชื่นชอบกับการกางแบบนี้ เพราะสามารถเปลี่ยนอิริยาบทในการใช้งานได้มากขึ้น

ASUS Vivobook Pro 15

มุมมองใกล้ๆ ของบานพับที่เป็นส่วนหนึ่งในการยกมุมของคีย์บอร์ด และปรับมุมหน้าจออยู่บ้าง ในกรณีที่ปรับมุมแบบพื้นฐาน ส่วนการกาง 180 องศา ตัวยางที่อยู่ด้านใต้จะรับหน้าที่ป้องกันรอยขูดขีดจากพื้นโต๊ะได้เลย การปรับมุมนี้ จะคล้ายกับใน ASUS ExpertBook หลายๆ รุ่น

ASUS Vivobook Pro 15 OLED 78

และเมื่อเราดูจากการเคลมของ ASUS ที่ว่าสเปคมา หลายอย่าง เช่น ค่า DCI-P3 100% และ Delta-E น้อยกว่า 2 ซึ่งผลที่ได้ก็อยู่ที่ 100% DCI-P3 Coverage และ Delta-E ก็ถือว่าใกล้เคียง เพราะค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.14 เท่านั้น แต่สูงสุดก็มากกว่า 2 อยู่เหมือนกัน แต่ก็ถือว่าให้ขอบเขตสีที่กว้าง

DisplayHDR True Black 600 จัดว่าท็อปสุดในเวลานี้แล้ว ขยายความตรงนี้นิดนึงครับ สำหรับคนที่อาจสงสัย สำหรับ DisplayHDR True Black เป็น Certified เดียวกับ Display HDR แต่เพิ่มเติมเข้ามาสำหรับจอ OLED ที่มีเรื่องการเปล่งแสงสีดำน้อยที่สุด โดยเงื่อนไขสามารถดูได้จากตาราง Certified นี้ได้เลย

DisplayHDR table
ที่มา: HDRDisplay

การเป็น DisplayHDR True Black 600 นี้ เหนือกว่า Certified อื่นๆ ที่เป็น DisplayHDR ธรรมดาอยู่มากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การเปล่งแสงสีดำที่น้อยสุดๆ ทำให้ฉากสีดำ ดำสนิด มองเห็นรายละเอียดได้ชัด สิ่งที่ผู้ใช้จะได้ก็คือ ความลึกของภาพที่มีมิติ และลดการใช้พลังงานลง เพราะพิกเซลเปล่งแสงแบบจุด ไม่ได้เป็นแบบโซนเหมือน LED ทั่วไป

ASUS Vivobook Pro 15 OLED 89

โดยการรองรับ HDR ก็ยิ่งทำให้การเกลี่ยสีมีความสดใส และยังได้ค่า Contrast ที่สูง จึงเพิ่มอรรถรสในการเล่นเกม และชมภาพยนตร์ได้มากกว่าเดิม อย่างเช่น ตัวอย่างที่เราได้นำเสนอนี้ ด้านซ้ายจะเป็นจอ OLED ส่วนทางด้านขวา จะเป็นจอ LED บนโน๊ตบุ๊ค ASUS จะเห็นความแตกต่างในด้านของสีอยู่ไม่น้อยเลย

ASUS Vivobook Pro 15

กล้องเว็บแคมที่มากับ ASUS Vivobook Pro 15 OLED ความละเอียด Full-HD 1080p มีความคมชัดสูง และยังมี Privacy Shutter ที่ปิดฝาด้านหน้ากล้อง เพื่อความเป็นส่วนตัว และเทคโนโลยี 3DNR ที่ช่วยเพิ่มความคมชัดของภาพ ด้านข้างมาพร้อมไมโครโฟน พร้อมฟีเจอร์ที่เรียกว่า AI Noise Cancellation ในการตัดเสียงรบกวน ให้การสนทนาที่ชัดเจน โดยเฉพาะคนที่ต้องการความคมชัดในด้านของเสียง และใช้งานในที่ที่มีเสียงโดยรอบ ซึ่งจากการใช้งานในห้องทำงาน ที่มีพนักงานนั่งรวมกัน อาจจะมีเสียงแทรกมาบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังมีความเคลียร์ชัดได้ดี และคุณยังเข้าไปปรับแต่งเพิ่มเติมได้จากซอฟต์แวร์ MyASUS ในการตั้งค่าเสียงรบกวน จากด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงการปิดเสียงที่มาจากรอบด้านได้ ฟีเจอร์นี้่ค่อนข้างจะได้ประโยชน์ในการใช้งานในหลายๆ สภาวะได้ดี

Webcam 2

และเมื่อเราดูจากการเคลมของ ASUS ที่ว่าสเปคมา หลายอย่าง เช่น ค่า DCI-P3 100% และ Delta-E น้อยกว่า 2 ซึ่งผลที่ได้ก็อยู่ที่ 100% DCI-P3 Coverage และ Delta-E ก็ถือว่าใกล้เคียง เพราะค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.14 เท่านั้น แต่สูงสุดก็มากกว่า 2 อยู่เหมือนกัน แต่ก็ถือว่าให้ขอบเขตสีที่กว้าง

DisplayCAL test

ส่วนค่าความสว่างจากการทดสอบบน DisplayCAL ก็ทำได้ถึง 388cd/m2 ซึ่งใกล้เคียงกับที่ทาง ASUS เคลมเอาไว้อีกด้วย ถือว่าจอภาพที่ให้มาบนโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะกับการทำงานได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะงานที่ซีเรียสเรื่องสี เช่น การพรีเซนเทชั่นสินค้าให้ลูกค้า ตรวจงานอาร์ตเวิร์กหรือต้องส่งงานโปรดักส์ชั่น ก็พอรับไหว

ASUS Vivobook Pro 15

ชุดลำโพงที่อยู่ด้านล่างทั้งซ้ายและขวา ให้ทิศทางเสียงกดลงพื้นโต๊ะ และสะท้อนเสียง เพื่อการรับฟังได้ชัดเจนมากขึ้น


Connector / Thin And Weight

ASUS Vivobook Pro 15

ทางด้านซ้าย จะมีเพียงพอร์ต USB 2.0 Type-A มาให้ 2 พอร์ต และไฟแสดงสถานะ และไฟแบตเตอรี่

ASUS Vivobook Pro 15

พอร์ตทางด้านขวา ประกอบด้วย DC-In สำหรับชาร์จไฟ, USB 3.2 Type-A, HDMI 2.1, Thunderbolt 4 อย่างละ 1 พอร์ต พร้อมสล็อต microSD card reader และ 3.5mm Audio jack โดยที่ Thunderbolt 4 รองรับการถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูง, การชาร์จไว และการแสดงผลร่วมกับ DP ได้อีกด้วย

ASUS Vivobook Pro 15

ลองต่อสายแบบจัดเต็ม ระยะช่องไฟมีพอสมควร ให้หัวต่อต่างๆ สามารถติดตั้งกันอย่างใกล้ชิดได้ แต่ก็จะมีบางอุปกรณ์ที่มีหัวต่อขนาดใหญ่ อาจจะไม่สะดวกต่อการติดตั้ง เพราะจะไปเบียดกับสายต่อข้างๆ ได้ แต่ส่วนใหญ่ สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งหมด แต่ที่ติดอยู่เล็กน้อยก็คือ น่าจะมีพอร์ต RJ-45 สำหรับสาย LAN มาให้บ้าง เพราะเป็นโน๊ตบุ๊คจอ 15.6″ และเป็นสาย Creator ด้วย โดยส่วนตัวมองว่ามีบทบาทต่อการใช้งานพอสมควร

ASUS Vivobook Pro 15

น้ำหนักที่ชั่งได้สุทธิก็คือ 1.79Kg ซึ่งเบากว่าที่เคลมไว้หน้าสเปคคือ 1.8Kg อยู่นิดหน่อย ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี อาจจะเหมาะวางโต๊ะ แทนพีซีก็ได้ หรือจะพกพาใส่กระเป๋าไปพบลูกค้าก็ยังพอไหว เพราะถ้าเทียบกับโน๊ตบุ๊คในระดับใกล้กันอย่างที่เป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค ยังถือว่าเบากว่าพอสมควร

ASUS Vivobook Pro 15

จะไม่บอกน้ำหนักอแดปเตอร์ ก็กลัวว่าจะไม่ครบ ก็จะประมาณ 400 กรัม เมื่อรวมกับตัวเครื่องแล้ว ก็อยู่ราวๆ 2.2Kg ครับ เน้นงานสั้นๆ ข้างนอก ไม่ต้องพกก็ได้ หรือถ้าจะเดินทางพกไปใส่กระเป๋าเป้ ก็ยังไหว


Inside / Upgrade

ASUS Vivobook Pro 15

การแกะเปิดฝาหลัง เพื่อดูองค์ประกอบภายใน ทำได้ไม่ยากครับสำหรับโน๊ตบุ๊ค ASUS Vivobook Pro 15 รุ่นนี้ เพราะใช้น็อตประมาณ 10 ตัวเท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นพอร์ตด้านข้าง กับบริเวณใกล้กับบานพับอาจจะแน่นไปบ้าง แต่ใช้เครื่องมือที่เป็นพลาสติกบางๆ แกะออกมาได้ และภายในจะเป็นแบบในภาพนี้เลย การจัดวางสิ่งต่างๆ ทำได้ลงตัวดี กับชุดระบายความร้อน ASUS IceCool Plus พัดลมขนาดใหญ่ 2 ตัวและฮีตไปป์ที่วิ่งมาแบบเรียบง่าย

ASUS Vivobook Pro 15

ASUS จัดวางชิ้นส่วนต่างๆ เรียกว่าเต็มพื้นที่ภายในมาเลยทีเดียว โดยเฉพาะพัดลมขนาดใหญ่ 2 ตัว และฮีตไปป์ ที่ช่วยในการระบายความร้อนกับเทคโนโลยี ASUS IceCool Plus โดยมีฮีตไปป์ 2 เส้น วิ่งผ่านระหว่างซีพียู และกราฟิก ซึ่งอาจจะดูน้อยไปบ้าง ถ้าเทียบกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่เยอะกว่าโน๊ตบุ๊คพื้นฐานทั่วไป เพราะมีพัดลมให้ถึง 2 ตัวด้วยกัน

ASUS Vivobook Pro 15

ด้านบนเป็นแรมระบบ LPDDR5 4800 ความจุ 16GB ติดตั้งมาบนบอร์ดให้แล้ว แต่ไม่มีสล็อตเพิ่มเติมมาให้ อย่างไรก็ดีแรมระดับ 16GB นี้ ก็มากพอสำหรับการใช้งานในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นแรม DDR5 ที่มีความเร็วและแบนด์วิทธิ์ที่กว้างกว่า DDR4 พอสมควร การใช้งานที่ต้องการทั้งความเร็ว และทำงานร่วมกับปริมาณข้อมูลเยอะๆ จะได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้มากขึ้น

ASUS Vivobook Pro 15

ถัดลงมาจากพัดลม ก็จะมี Storage ที่เป็น SSD ในแบบ M.2 NVMe PCIe 3.0 มาให้ ความจุ 512GB และมีให้เพียงสล็อตเดียวเท่านั้น ซึ่งจากการทดสอบความเร็วอยู่ในระดับ 3,000MB/s (Read) ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ที่จัดการซอฟต์แวร์และงานต่างๆ ได้ในระดับที่ดี รวมถึงการเปิดเครื่อง และเข้าโปรแกรมอีกด้วย ส่วนการอัพเกรดต้องใช้การถอดเปลี่ยนตัวเดิมเท่านั้น

ASUS Vivobook Pro 15

โน๊ตบุ๊ค ASUS Vivobook Pro 15 ยังได้รับการทดสอบตามมาตรฐาน MIL-STD 810H เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้ ว่ารองรับงานในสภาพแวดล้อมชีวิตประจำวันได้ดี ไม่ว่าจะเป็น การสั่นสะเทือน เช่น การวางในรถหรือใกล้เครื่องจักร ตกกระแทก ความร้อนสูง หรือมีความเย็นและเมื่อต้องเจอกับความชื้นก็ตาม


Performance / Software

CPUz1

CPUz รายงานว่าเป็นซีพียู Intel Core i7-12650H เป็นซีพียูในตระกูลของเกมมิ่ง ที่ให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง ทำงานในแบบ 10 core/ 16 thread สำหรับการใช้งานแบบมัลติทาส์กกิ้ง ความเร็วในการบูสท์ได้สูงสุดถึง 4.7GHz เหมาะกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มนี้ เพราะค่าการใช้พลังงานไม่สูงมาก และ Max. สูงสุดแค่ 115W เท่านั้น พอที่จะให้ทำงานแบบโหดๆ ในช่วงที่ไม่ได้เสียบชาร์จได้พอสมควร เพราะแบตให้มาถึง 70Whr

CPUz3 1

ASUS Vivobook Pro 15 ให้แรมระบบมา 16GB เป็นแบบ LPDDR5 ซึ่งถือว่าจัดจ้านในย่านราคากับกลุ่มโน๊ตบุ๊คเดียวกัน ซึ่งความจุระดับนี้ ก็ตอบโจทย์การใช้งานในหลายๆ ด้านได้แล้ว โดยเฉพาะงานที่ต้องการทั้งแบนด์วิทธิ์ และความเร็ว เช่นการโอนถ่ายข้อมูลขนาดใหญ่ มีไฟล์จำนวนมาก และการเปิดไฟล์ขนาดใหญ่ เช่น ภาพหรือวีดีโอ รวมถึงการเปิดโปรแกรม ก็จะไหลลื่นมากขึ้น อย่างไรก็ดีเท่าที่เราเข้าไปเช็ค ไม่มีสล็อตสำหรับการอัพเกรด แต่ระดับ 16GB เท่าที่ทดสอบ รองรับความต้องการในชีวิตประจำวันของคุณได้เลย

CPUz3 2
CPUz2 2

GPUz สำหรับกราฟิกนั้นมีให้ทั้ง 2 แบบคือ Intel Iris Xe ที่มีอยู่ในซีพียู ซึ่งรองรับการใช้งานพื้นฐาน และความบันเทิงทั่วไป นอกจากนี้สำหรับเหล่าเกมเมอร์ ASUS ก็ให้กราฟิกแยกมาด้วยในรุ่น GeForce RTX3050Ti ซึ่งมาพร้อม VRAM GDDR6 4GB และเป็นตัวท็อปสุดของสายนี้ เพราะยังมี RTX3050 รุ่นน้อง ซึ่งเป็นรุ่นรอง และมีอยู่ในโมเดลของ ASUS รุ่นนี้ด้วย ราคาประมาณ 38,990 บาท

ASUS Vivobook Pro 15

CrystalDiskMark ให้ผลการทดสอบอยู่ในะดับที่ดี กับการอ่านข้อมูล 3,000MB/s และเขียน 1,600MB/s โดยประมาณ ซึ่งผลที่ได้ถือว่าทำได้ดีกว่า Vivobook 16 ที่เคยทดสอบมาเล็กน้อย ส่วนหนึ่งก็มาจากการใช้ SSD M.2 NVMe PCIe 3.0 x4 แต่ก็ตอบโจทย์ในงานต่างๆ ได้ดีไม่น้อยเลย การเปิดโปรแกรมและเกมก็ทำได้รวดเร็วดี แต่ถ้าใครจะอยากเพิ่มความเร็วมากขึ้น ลองเป็น SSD PCIe 4.0 ก็ช่วยได้มากเลยครับ

ASUS Vivobook Pro 15

การทดสอบโดยรวมของระบบบน PCMark10 ที่แสดงให้เห็นศักยภาพในการทำงานในชีวิตประจำวัน โดยตัวเลขส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะกับ Essential ที่เป็นการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์พื้นฐานในชีวิตประจำวัน และด้าน Productivity ที่ทำคะแนนไปได้ถึง 8,564 ส่วน Digital Content ที่เป็นงานในด้านมัลติมีเดีย การเรนเดอร์วีดีโอ ซีพียูและแรมมีส่วนสำคัญ ก็ทำไปได้ถึง 7,651 ซึ่งถือว่าตอบโจทย์ผู้ที่ใช้งานในด้านนี้ได้มากทีเดียว

ASUS Vivobook Pro 15

การทดสอบ ASUS Vivobook Pro 15 ด้วยโปรแกรม CINEBench ซึ่งเป็นตัวแทนของ CINEMA4D ซีพียูสามารถให้ประสิทธิภาพได้อย่างน่าทึ่ง ด้วยการทำงานที่มี Core/Thread จำนวนมากแบบนี้ ก็ทำให้มีความลื่นไหลมากขึ้น เมื่อเทียบกับซีพียูในระดับใกล้เคียง ถือว่า Intel Core i7 นี้ มีความโดดเด่นไม่น้อยเลยในหลายการทดสอบ ในโหมดของการทำงาน อย่างเช่น เรนเดอร์ 3D และตัดต่อวีดีโอ ก็ยังไปได้สวย สำหรับสาย Content Creator ที่กำลังเริ่มต้นกับงานวีดีโอพื้นฐาน ทำคลิปง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน หรือทำพรีเซนเทชั่นเพื่อนำเสนอกับลูกค้า

Ray Bench scaled

การทดสอบ V-RAY ด้วยการเรนเดอร์กราฟิก 3 มิติทั้งในส่วนของซีพียูและ GPU ซึ่งผลที่ได้เป็นดังนี้ V-RAY CPU ได้ที่ 12730Ksample และ V-RAY GPU 201Mpaths

Game test 1

ผลที่ได้จากการทดสอบด้วยเกม 3 มิติ ASUS Vivobook Pro 15 ถือว่าไหลลื่นดีทีเดียว จากการทดสอบบน Settings Medium และ Balance บนความละเอียด Full-HD 1080p ส่วนของเกมที่ใช้สเปคหนักหน่อยอย่าง SCUM ก็ไปได้เกือบ 100fps. และเฉลี่ยที่ราว 82fps. ภาพออกมาสวยเนียนดีทีเดียว ซึ่งขยับมาเล่นที่ High พอได้ แต่อาจจะต้องเซ็ตค่า Detail บางอย่างลง เพื่อให้ได้อยู่ที่ 50fps ก็ดูสวย ส่วน Resident Evil Village เกมนี้ก็เล่นได้อย่างสบายตา เมื่ออยู่ในโหมดนี้ ลดความหลอนไปได้ระดับหนึ่ง กับการเคลื่อนไหวที่คล่องตัว นิ่งๆ อยู่ที่ 140fps. สำหรับ Average เกมนี้คุณตั้ง High ก็ยังสนุกได้ เพราะจากที่ได้ลองก็มีระดับ 90fps++ ไหลลื่นสนุกได้เต็มที่

ทำงานด้านตัดต่อวีดีโอ: เรา Export Video ด้วยไฟล์ 4K 30fps. ได้ลื่นไหล พรีวิวได้ไม่สะดุด เมื่อใช้งานร่วมกับ Adobe Premier Pro เรื่องการแต่งภาพทำได้อยู่แล้ว หน้าจอ OLED สีตรง ให้ความมั่นใจได้ในงานด้านนี้

MyASUS1

เพิ่มเติมให้อีกนิดสำหรับคนที่ใช้โน๊ตบุ๊ค ASUS Vivobook Pro 15 รุ่นนี้ กับซอฟต์แวร์ MyASUS ตั้งแต่การเช็คฮาร์ดแวร์ มอนิเตอร์ระบบ ดูเรื่องการรับประกัน การขอคำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา รวมไปถึงการเปิด-ปิดฟีเจอร์ และจูนอัพระบบมีมาให้ครบ ยังไม่รวมถึงโปรโมชั่นต่างๆ ที่คุณจะได้รับเป็นพิเศษ และข่าวสารจากทาง ASUS อีกด้วย แนะนำให้ใช้ครับ เพราะรวมฟังก์ชั่นต่างๆ ที่คุณใช้ในการปรับแต่งระบบไว้ในนี้แล้ว หน้าตาอินเทอร์เฟสก็ดูใช้งานง่าย สะดวกมากครับ


Battery / Heat / Noise

ASUS Vivobook Pro 15

พื้นที่ด้านล่างเป็นจุดที่ใช้ดูดลมเย็นตามมาตรฐาน โดยเป็นช่องลมขนาดเล็ก ดูดลมเย็นเข้ามาในระบบ โดยในแต่ละช่องจะมีทั้งช่วงที่เปิดและปิดเอาไว้ เข้าใจว่าออกแบบให้ตรงตามจุด ที่เป็นช่องทางระบายลมเข้าสู่พัดลม และช่วงที่เป็นฮีตไปป์ โดยปิดในช่องที่เป็นฮาร์ดแวร์สำคัญเอาไว้ เพื่อความปลอดภัย

ASUS Vivobook Pro 15

ช่องทางลมออก จะอยู่ทางด้านหลัง ส่วนใต้ของจอภาพ แต่จะถูกผลักออกทางด้านล่าง ตามช่องทางที่บังคับเอาไว้ ซึ่งจะอยู่ทางด้านหลังซ้ายและขวา โดยจะไม่ได้ดีไซน์ออกทางด้านข้าง อย่างเช่นบนเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค

ASUS Vivobook Pro 15

ASUS จัดเตรียมระบบระบายความร้อนที่เรียกว่า ASUS IceCool Plus มาบน ASUS Vivobook Pro 15 กับใบพัดขนาดเล็กจำนวนมาก พร้อมตัวครอบลดเสียง ซึ่งจากการทดสอบใช้งาน ในโหมด Full load เมื่อรันทั้งซีพียู และกราฟิกการ์ด ผ่านทาง Furmark เสียงรบกวนแม้จะมีความดังอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ถือว่ารบกวนแต่อย่างใด และระบบยังจัดการเรื่องความร้อนได้ดีอีกด้วย

BatteryMon

แบตเตอรี่ที่ติดมากับโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้เป็นแบบ 3-cell 70Whr ซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างใหญ่ สำหรับโน๊ตบุ๊คในระดับเีดียวกัน และยังมากกว่าใน Vivobook 16 ที่เราได้รีวิวไป แต่ในส่วนหนึ่งก็เพราะการเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีกราฟิกแยก ที่เพิ่มเติมเข้ามาในรุ่นนี้ ทำให้มีระยะการทำงานได้นานขึ้น ซึ่งในการทดสอบของเรา ยังคงเป็นมาตรฐาน นั่นคือ การเปิดเสียงและระดับความสว่างที่ประมาณ 20% เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง และจำลองด้วย Video Playback ด้วยการเล่นวีดีโอ 4K ต่อเนื่องและวัดผลด้วยโปรแกรม BatteryMon ซึ่งผลที่ได้ รายงานว่าอยู่ในระดับ 6 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจเลยทีเดียว เพราะถ้าหากใช้และสลับการสแตนบายไป ก็น่าจะได้ถึง 7-8 ชั่วโมง

ASUS Vivobook Pro 15

ในแง่ความบันเทิง โดยเฉพาะในเรื่องของเสียง ASUS Vivobook Pro 15 OLED ก็จัดเตรียมมาเอาใจคอบันเทิงแบบเต็มพิกัด ไม่ว่าจะเป็น ระบบเสียง Dolby Atmos ที่เพิ่มมิติของเสียงได้มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อยากได้รายละเอียดของเนื้อหา อย่างเช่น การชมภาพยนตร์ ซึ่งจากที่เราได้ลองกับการชมภาพยนตร์ในหลายๆ เรื่อง ความโดดเด่นน่าจะอยู่ที่การเพิ่มรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ภายในฉาก เช่น แรงกระแทกจากรถชน และเสียงของกระจกที่แตกกระจาย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ยังให้ความชัดเจนได้ดี หรือจะเป็นลมหายใจของ Indominus rex กับเสียงที่แรพเตอร์สื่อสารกัน และฉากการเปลี่ยนร่างของเหล่าออโตบอท ที่ออกมาน่าติดตามมากขึ้น และอีกส่วนที่มีบทบาทไม่แพ้กันก็คือ ระบบเสียงสเตอริโอจาก Harman Kardon ที่ทำให้เอฟเฟกต์เสียงดุดันมากขึ้น คอเกมได้ประโยชน์ เวลาที่อยากได้ความตูมตาม และ Smart Amp ที่ติดมากับลำโพง ที่ยิงลงพื้นสะท้อนขึ้นมา การเพิ่มเลเวลเสียงได้หนักหน่วง แทบไม่มีอาการแตกพร่า เรียกว่าดูหนัง เล่นเกม หรือจะสนทนาออนไลน์ ได้แบบเต็มอิ่ม

Temp

ทดสอบการระบายความร้อนบน ASUS Vivobook Pro 15 OLED ด้วยการรัน CPU Burner บน Furmark ด้วยการให้ซีพียูทำงานแบบ 100% หรือ Full load อย่างเต็มที่ทุกคอร์ ในห้องอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งผลที่ได้นั้นบางจังหวะ ที่ขึ้นไปถึงระดับ 90++ องศาเซลเซียส และลดลงมาเป็นระยะ สำหรับ Core P ที่ทำงานหนักสุด จะอยู่ที่ราวๆ 92-94 องศาเซลเซียส ที่เป็น Package อยู่ที่ 89-92 องศาเซลเซียส แต่อย่างที่ได้แจ้งไปในทุกครั้งคือ นี่เป็นการเร่งการทำงานของซีพียูระดับ 100% ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งโดยปกติที่เราใช้งานกันอยู่ในทุกวัน แทบจะไม่ได้เจอกับสภาพการทำงานเช่นนี้ เช่น ทำไฟล์เอกสารจะอยู่ที่ราว 20-30% และการเล่นเกม ก็ไปที่ประมาณ 40-60% เท่านั้น ซึ่งก็ทำให้อุณหภูมิไม่ได้สูงแต่อย่างใด

ASUS Vivobook Pro 15


Conclusion / Award

ในภาพรวม ASUS Vivobook Pro 15 OLED รุ่นนี้ ให้คะแนนเรื่องจอนำมาก่อนเลย และดูจะตอบโจทย์การใช้งานในหลายๆ ด้านได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคมชัดกับ Resolution 2.8K บนจอ 15.6″ มีความลงตัวอย่างยิ่ง เพราะสิ่งที่คุณจะได้ นอกเหนือจากภาพที่มีความละเอียดสวยงามแล้ว ยังให้พื้นที่แสดงผลที่มากขึ้น การจัดวาง Tools บนโปรแกรมทำงานด้านภาพและวีดีโอ คุณจะเลือกใช้เครื่องมือทำงานได้ง่ายกว่า Full-HD อยู่มากทีเดียว สีสันโดดเด่นมาแต่ไกล แบบที่ไม่ต้องไปใส่ใจเปิด HDR ในฟีเจอร์ของ Windows ด้วยซ้ำ จากที่ได้ลองใช้กับการสตรีมมิ่งวีดีโอระดับ 4K การให้สีที่เด่นชัด พื้นหลังดำ ก็ดำสนิท การเกลี่ยสีที่ดูสบายตา ทำให้ดูหนังได้แบบเพลินๆ หรือจะใช้ในงานวีดีโอและการตกแต่งภาพ ขอบเขตสีและความเที่ยงตรงของสีในระดับ DCI-P3 100% และ Delta-E น้อยกว่า 2 คือเติมสิ่งที่หลายคนได้ขาดไปกลับมาได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะคนที่เริ่มต้นกับการเป็น Content Creator มีงบไม่มาก อยากได้โน๊ตบุ๊คทำงาน สีตรง และพกพาได้ ตัดต่อสะดวก

นอกจากนี้ก็ยังได้ Windows 11 Home คู่มากับ Office Home and Student 2021 พร้อมกับ Perfect Warranty ที่ครอบคลุมถึงอุบัติเหตุมาด้วย สนนราคาของ ASUS Vivobook Pro 15 OLED รุ่นที่เราได้มาทดสอบนี้ เป็นซีพียู Intel Core i7 และ RTX 3050 Ti ราคาอยู่ที่ 43,990 บาท และอีกรุ่นจะราคาน่าสนใจเช่นกัน 38,990 บาท ได้เป็น Intel Core i5 และ RTX 3050 องค์ประกอบอื่นไม่ต่างกัน ส่วนตัวแนะนำรุ่นท็อปที่เรารีวิวนี้ เพิ่มเงินประมาณ 5 พันบาท แต่ได้เพิ่มซีพียูกับกราฟิกที่แรงขึ้นอีกดูลงตัวมากกว่า

award new multi media

แม้ว่าทางของ ASUS Vivobook Pro 15 OLED นี้ จะมาในแนวของ Content Creator หรือแนวกึ่งไลฟ์สไตล์ เพื่อการสร้างสรรค์ก็ตาม แต่ส่วนตัวมองว่าด้วยจอ OLED นี้ตอบโจทย์ในด้านมัลติมีเดียได้ดีไม่แพ้เรื่องของขุมพลังอย่าง Intel Core i7 ที่มีมาให้ รวมถึงยังมีกราฟิก GeForce RTX เพิ่มเติมเข้ามาด้วย ซึ่งการ์ดจอนี้ ช่วยในด้านความบันเทิงได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในการเล่นเกม จอขนาดใหญ่ 15.6″ ความละเอียด 2.8K ก็ได้ภาพที่คมชัดมากขึ้น ได้ Certified Display HDR True Black 600 มีรายละเอียดที่น่าติดตาม และฟีเจอร์อย่างระบบเสียง Dolby รวมถึงลำโพง Harman Kardon ที่มาพร้อมแอมป์ในตัว เพิ่มพลังเสียงให้กับการชมภาพยนตร์และการเล่นเกมได้อย่างสนุก เมื่อรวม 3 สิ่งนี้เข้าด้วยกัน ก็ทำให้รางวัลนี้ ดูเหมาะสมอย่างยิ่งกับโน๊ตบุ๊คจาก ASUS รุ่นนี้

from:https://notebookspec.com/web/667714-asus-vivobook-pro-15-oled

ASUS Vivobook 16 รีวิวโน๊ตบุ๊คจอกว้าง กาง 180 ทำงานเช็คหุ้น ดูหนังก็ปัง! พลัง Ryzen 5

ASUS Vivobook 16 จอกว้าง พอร์ตเยอะ ทำงานหรือบันเทิงก็ลงตัว ฟีเจอร์ครบ Ryzen 5 แค่ 22,990.-

ASUS Vivobook D1603Q cov6

ASUS Vivobook 16 การที่มีเครื่องมือช่วยให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหา การเลือกโน๊ตบุ๊คสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันได้สะดวกสบายก็เช่นกัน ASUS Vivobook เป็นไลน์โน๊ตบุ๊คกลุ่มไลฟ์สไตล์ ซึ่งเวลานี้มีให้เลือกหลากหลายรุ่น เช่นเดียวกับ ASUS Vivobook 16 ที่เรานำมาให้ชมกันในวันนี้ ก็น่าสนใจไม่น้อย ด้วยหน้าจอขนาดใหญ่ 16″ ความละเอียด 1920×1200 ในแบบ 16:10 กางออกได้ 180 องศา เพื่อแชร์ไดเดียเด็ดๆ ของคุณให้คนอื่นๆ ได้ชม ยกขุมพลังซีพียู AMD Ryzen 5 5600H ที่ถือว่าเป็นซีรีส์ของเกมมิ่งมาให้ผู้ใช้ได้ทำงานต่างๆ ลื่นไหลมากขึ้น เพิ่มเทคโนโลยีการระบายความร้อนมาเป็นพิเศษ ลดเสียงรบกวน จุดเด่นอยู่ที่การออกแบบและใช้วัสดุแข็งแรง น้ำหนักเบาแม้จะเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีจอใหญ่ก็ตาม และเคลือบสารป้องกันแบคทีเรียมาด้วย กล้องเว็บแคมที่ให้ความเป็นส่วนตัว ปิดการใช้งานได้ด้วยปลายนิ้ว และคีย์บอร์ด ErgoSense ให้มุมการกดที่เข้ากับสรีระ การกดที่นุ่มนวล และตอบสนองได้ดี เพิ่มความเร้าใจด้วยระบบเสียง ASUS SonicMaster เช่นเดียวกับพอร์ตต่อพ่วงที่มีให้อย่างครบครัน และการเชื่อมต่อไร้สายอีกมากมาย พร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 11 Home ในตัว และการรับประกัน 2 ปี กับราคาเริ่มต้นที่ 21,990 บาท


จุดเด่น

Advertisementavw
  • ให้พื้นที่แสดงผลขนาดใหญ่ 16″
  • กางหน้าจอได้ 180 องศา
  • ให้ซีพียูระดับเกมมิ่ง AMD Ryzen 5 5600H
  • มีสล็อตอัพเกรดแรมเพิ่ม
  • ขอบจอบางมาก มี Privacy shutter มาให้
  • มีพอร์ต USB Type-C มาให้
  • กราฟิกพอเล่นเกมพื้นฐานได้ในระดับ 30-40fps
  • แบตค่อนข้างอึด 50Whr ใช้ได้ราวๆ 8-9 ชั่วโมง

ข้อสังเกต

  • ถ้ามีพอร์ต LAN RJ-45 เพิ่มมาให้ก็น่าจะดี

ASUS Vivobook 16 D1603


Specification

ASUS Vivobook 16 รายละเอียดผลิตภัณฑ์
สี Quiet Blue
ระบบปฏิบัติการ Windows 11 Home – ASUS recommends Windows 11 Pro for business
โปรเซสเซอร์ AMD Ryzen™ 5 5600H Mobile Processor (6-core/12-thread, 19MB cache, up to 4.2 GHz max boost)
กราฟิก AMD Radeon™ Vega 7 Graphics
จอภาพ 16.0-inch, WUXGA (1920 x 1200) 16:10, IPS-level Panel, 300nits, 45% NTSC color gamut for non-OLED, Anti-glare display, Screen-to-body ratio86 %
หน่วยความจำ 8GB DDR4 on board
ตัวจัดเก็บข้อมูล 512GB M.2 NVMe™ PCIe® 3.0 SSD
ช่องเสียบ 1x DDR4 SO-DIMM slot
การเชื่อมต่อ 1 x USB 2.0 Type-A
1x USB 3.2 Gen 1 Type-C
2 x USB 3.2 รุ่น 1 Type-A
1 x Micro HDMI 1.4
1x 3.5mm Combo Audio Jack
คีย์บอร์ดและทัชแพด Chiclet Keyboard with Num-key, 1.4mm Key-travel, Touchpad
กล้อง 720p HD camera
With privacy shutter
เสียง SonicMaster
with Cortana and Alexa voice-recognition support
การเชื่อมต่อไร้สาย Wi-Fi 6(802.11ax) (Dual band) 2*2 + Bluetooth 5
แบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน 50WHrs, 3S1P, 3 ก้อน
พาวเวอร์ซัพพลาย ø4.5, 90W AC Adapter, Output: 19V DC, 4.74A, 90W, Input: 100~240V AC 50/60Hz universal
น้ำหนัก 1.88 kg
ขนาด (กxยxส) 35.84 x 24.77 x 1.99 ~ 1.99 cm
แอปที่มาพร้อมเครื่อง MyASUS
คุณสมบัติ MyASUS System diagnosis
Battery health charging
Fan Profile
Splendid
Function key lock
WiFi SmartConnect
Link to MyASUS
TaskFirst
Live update
ASUS Intelligent Performance Technology
AI Noise Canceling
Microsoft Office รวม Office Home และ Student 2021
Military Grade US MIL-STD 810H military-grade standard
Regulatory Compliance
Energy star
ความปลอดภัย BIOS Booting User Password Protection
Trusted Platform Module (Firmware TPM)
BIOS setup user password
ภายในกล่อง Backpack
ราคา 22,990 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม: ASUS


Hardware / Design

ASUS Vivobook 16

ASUS Vivobook 16 D1603Q รุ่นนี้ มาในโทนสีที่เรียกว่า Quiet Blue ซึ่งเรียกว่าแทบจะเป็นสีประจำรุ่นก็ว่าได้ รวมไปถึงโน๊ตบุ๊คกลุ่มธุรกิจ อย่างเช่น ExpertBook ในหลายๆ รุ่น ซึ่งถือว่าค่อนข้างโดดเด่น และดูจะเข้ากันได้ในทุกโอกาส ไม่ว่าจะใช้งานในออฟฟิศ ออกไปนั่งร้านกาแฟ หรือจะไปพบลูกค้านอกสถานที่ ส่วนตัวค่อนข้างชอบสีนี้ เพราะเห็นเป็นรอยนิ้วมือได้ยาก และดูสุขุมเลยทีเดียว เช่นเดียวกับบอดี้ ที่ยังคงความกระทัดรัดเอาไว้ แม้ว่าจะอยู่ในแนวของโน๊ตบุ๊ค 16″ ก็ตาม

ASUS Vivobook 16

โคงสร้างหลักแข็งแรง Cover ยังคงเป็นแบบ ABS แต่จะไม่ได้เป็นซอฟต์ทัชแบบเดียวกับใน Zephyrus แต่เรื่องของสีสัน จะดูเป็นแบบสีด้าน ไม่มันเงา ไม่ต้องกลัวเรื่องริ้วรอยมากนัก ส่วนบอดี้หลักจะมีทั้งเป็นโลหะในบางส่วน ทำให้สัมผัสแข็งแรง และให้ความยืดหยุ่นพอสมควร มีการลบเหลี่ยมมุม เพื่อให้บอดี้ดูมีความบางและเล็กลงอีกด้วย สังเกตได้จากขอบด้านข้างทั้ง 4 ด้าน รวมถึงด้านใต้ของพอร์ตทั้ง 2 ด้าน

ASUS Vivobook 16

กรอบบานของหน้าจอบางเป็นพิเศษ ในส่วนนี้ ASUS เคลมว่าให้สัดส่วนพื้นที่หน้าจอแสดงผลมากถึง 86% เมื่อเทียบกับบอดี้ทั้งหมด ซึ่งดูแล้วเป็นผลดีสำหรับผู้ใช้ทั้งในงานเอกสาร ท่องเว็บหรือจะเน้นความบันเทิง เพราะไม่มีเรื่องของขอบหนาๆ มาทำให้เสียอรรถรสและยังมีส่วนทำให้บอดี้โดยรวมเล็กลงอีกด้วย

ASUS Vivobook D1603Q 36

มาพร้อมกล้องเว็บแคมความละเอียด HD พร้อมไมโครโฟน แต่ไม่รองรับการล็อคอินด้วยใบหน้าผ่านทาง Windows Hello พร้อมที่ปิดกล้อง privacy shutter โดยมีไมโครโฟน และมีไมโครโฟน ASUS AI Noise-Canceling ปรับระดับการตัดเสียงรบกวนที่จะแทรกเข้ามาขณะใช้งานได้หลายรูปแบบ ร่วมกับเทคโนโลยี Ai

ASUS Vivobook 16

คีย์บอร์ด ASUS ErgoSense ในแบบ Full-size จัดเต็ม ถูกวางไว้จนเกือบเต็มพื้นที่กับปุ่มขนาดใหญ่ กดพิมพ์ได้ง่าย ดูสบายตากับฟอนต์ที่คมชัด และวางฟังก์ชั่นต่างๆ รวมถึงฮอตคีย์ให้ใช้งานอีกเพียบ ไม่ว่จะเป็นการเปิด-ปิดฟังก์ชั่น เพิ่มลดระดับเสียง แสงสว่าง รวมถึงมี Numberpad มาให้พร้อมใช้ จะขาดไปบ้างก็น่าจะเป็นเรื่องแสงไฟ Backlit แต่ก็ดูแล้วไม่ใช่เรื่องที่น่าซีเรียสมากนักกับการใช้งานในแต่ละวัน

ASUS Vivobook 16

ASUS Vivobook 16 มีพอร์ตต่อพ่วงให้มาตามมาตรฐาน และน่าจะเยอะมากพอต่อการใช้งานในแต่ละวัน โดยมี USB Type-A ให้ถึง 3 พอร์ตด้วยกัน และเพิ่ม USB-C มาด้วย แต่เน้นที่การถ่ายโอนข้อมูลเป็นหลัก รวมถึง HDMI นอกนี้ ยังรองรับการเชื่อมต่อไร้สาย WiFi 6 ax และ Bluetooth ซึ่งเรียกว่าพร้อมสำหรับการเชื่อมต่อในเกือบทุกรูปแบบ

ASUS Vivobook 16

บานพับหน้าจอแข็งแรงและโดดเด่นในเรื่องของการกางออกได้ถึง 180 องศา ด้วยการออกแบบที่เรียกว่า lay-flat hinge เพื่อการแชร์ข้อมูลให้กับคนอื่นรอบข้างได้ดูพร้อมๆ กัน ซึ่งตรงกับแนวคอนเซปต์ของทาง ASUS ในการใช้งานในสำนักงานหรือจะเป็นด้านความบันเทิงภายในบ้านก็ตาม นอกเหนือจากหน้าจอในแบบ IPS ให้มุมมองกว้างขึ้น และจอขนาดใหญ่ การกางได้แบบนี้เป็นผลดีต่อการใช้งานมากขึ้น

ASUS Vivobook 16

ปุ่ม Enter ที่ใส่โลโก้ในแบบดั้งเดิมที่ทาง ASUS ออกแบบไว้ ซึ่งในความหมายจะคล้ายๆ ว่า เมื่อคุณพร้อม ก็กด Enter เพื่อเข้าสู่การทำงานกันดีกว่า หรือคล้ายเป็นการยืนยันว่า มั่นใจก็กดปุ่ม Enter เพื่อจบงานของคุณกันเถอะ ประมาณนี้

ASUS Vivobook 16

ฝาปิดด้านใต้เป็นโครงโลหะซ่อนอยู่กับบอดี้ที่เป็น ABS เจาะช่องดูดอากาศเย็นด้านใต้เครื่อง และปิดบางจุดเอาไว้ เพื่อเป็นการบังคับทิศทางลม และป้องกันชิ้นส่วนด้านใน เป็นช่องลมที่เรียบง่าย ต่างจากใน TUF Gaming และมีแถบยางที่เป็น Feet ยกตัวโน๊ตบุ๊คให้สูงขึ้นเล็กน้อย

ASUS Vivobook 16

ภายในจัดมาแบบหลวมๆ ไม่ได้แน่นจนเกินไป มีลักษณะการวางองค์ประกอบบางอย่างให้ทำงานได้ดีมากขึ้น และมีสล็อตแรมสำหรับการอัพเกรดได้ โดยทาง ASUS ใช้ระบบระบายความร้อนที่เรียกว่า IceCool technology ที่มาพร้อมใบพัดขนาดเล็ก เสียงรบกวนต่ำ และมีช่องระบายลมร้อนออก บริเวณด้านข้างซ้ายของโน๊ตบุ๊คอีกด้วย

ASUS Vivobook 16

อแดปเตอร์ชาร์จไฟให้มาไซส์ใหญ่แบบเดียวกับบน ASUS Vivobook 15 แต่ขยับมาเป็น 90W 4.74A ถือว่าตอบโจทย์ในการใช้งานได้ดีทีเดียว และขนาดเล็กกระทัดรัดประมาณฝ่ามือเท่านั้น น้ำหนักแค่ 300g จัดว่าเบาและสะดวกต่อการพกพาไม่น้อย สายไฟเป็นแบบยางเคลือบ ทนการพับงอได้ดี ความยาวประมาณ 1.50m

ASUS Vivobook 16

บอดี้โดยรวมถือว่าค่อนข้างลงตัว มิติอยู่ที่ประมาณ 35.84 x 24.77 และน้ำหนักเฉพาะตัวเครื่องราวๆ 1.8Kg เท่านั้น


Keyboard / Touchpad

ASUS Vivobook 16

ชุดคีย์บอร์ดมาในแบบ Chiclet Island ที่แยกส่วนและมีระยะห่างกันกำลังดี เหมาะทั้งสายพิมพ์งานยาวๆ แบบสัมผัส หรือผู้ใช้ทั่วไป ให้แรงกดไม่ลึกมากนัก มีการสะท้อนพอเหมาะ ซึ่งจะคล้ายๆ กันเกือบทั้งหมดในสายทำงานอย่าง Vivobook แต่จะกดลึกกว่า Zephyrus เล็กน้อย ขณะที่มีการตอบสนอง ปุ่มมาในแบบ Full-size ซึ่งมี NumberPad มาในตัว แต่จะไม่มีแสงไฟ Backlit มาให้

ASUS Vivobook 16

ปุ่มคีย์บอร์ดมีความน่าใช้ ใครที่เป็นคนที่พิมพ์แล้วต้องมองแป้นพิมพ์น่าจะชื่นชอบไม่น้อย นั่นก็เพราะตัวฟอนต์ที่ทำออกมาใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน วางเลย์เอาท์ได้ลงตัว ปุ่ม Tab และ Accent อาจจะเล็กไปนิด แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้งานได้ง่าย

ASUS Vivobook 16

ปุ่ม Spacebar ตรงกลาง ไม่ยาวนัก แต่ก็ใช้งานได้สะดวกเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณใช้พิมพ์เป็นหลัก เพื่อให้การจัดวางปุ่ม Ctrl และ Alt ได้ใกล้มือยิ่งขึ้น

ASUS Vivobook 16

ส่วนทาง NumberPad ที่ประกอบไปด้วยปุ่มตัวเลขต่างๆ มี โดยยกแถบของ -, + เอาไว้ด้านบน และบรรดาเครื่องหมายพิเศษต่างๆ ส่วนตัวรู้สึกติดนิดหน่อยตรงปุ่ม Arrow ด้านล่าง ที่มีให้แบบครึ่งปุ่มเท่านั้น เล็กไปนิดนึง

จะเห็นว่าตรงปุ่ม Enter ค่อนข้างจะโดดเด่น เพราะมีการใส่ลายเส้นอารมณ์แบบป้าย Slate เวลาที่ถ่ายหนังเข้าไปด้วย ประมาณว่า กดสิ รออะไร เราจะได้เริ่มลุยงานกันเลย น่าจะประมาณนี้ โดยตัวปุ่มเกือบจะไปเชื่อมกับปุ่ม ฃ และ ฅ ทำให้มีพื้นที่ปุ่มมากขึ้นอีกนิด กดได้แม่นขึ้น

ASUS Vivobook 16

ASUS Vivobook 16 วางส่วนฮอตคีย์ที่อยู่ด้านบนก็เรียกว่ามีให้เกือบครบ หากต้องการใช้ปุ่ม F1-F12 แบบตรงไปตรงมา ไม่ต้องกด Fn สามารถเปิด ไม่อยากกด Fn ค้าง สามารถกดเลือก Hotkey priority mode ได้ ด้วยการกด Fn+Esc สลับปุ่ม Function Hotkey กับ F1-F12 ตามปกติ ซึ่งเมื่อกดสลับแล้วบนหน้าจอจะมีหน้าต่างแสดงการสลับการทำงานระหว่างปุ่ม F1-F12 หรือ Function Hotkey แสดงขึ้นมาบนหน้าจอให้เราได้ทราบอีกด้วย ทีนี้ก็จะกดที่ฮอตคีย์ได้ทันที ไม่ต้องกดพร้อมปุ่ม Fn

ASUS Vivobook D1603Q 49 1

ส่วนปุ่มฮอตคีย์นั้น ประกอบด้วย เปิด-ปิดเสียง, เพิ่ม-ลดเสียง, เพิ่ม-ลดแสงสว่างหน้าจอ, เปิด-ปิดทัชแพด, ต่อสัญญาณจอภายนอก, ไมโครโฟน, กล้องเว็บแคม, เรียกใช้ MyASUS และ จับภาพหน้าจอ

ASUS Vivobook 16

ทัชแพดขนาดใหญ่ประมาณ 8.5 x 13cm ถือว่ากว้างขวางทีเดียว หากเทียบกับโน๊ตบุ๊ค 13.3″ ที่ใช้อยู่ ต่างกันอยู่พอสมควร ซ่อนปุ่มกดซ้าย-ขวาเอาไว้ และใช้ Multi-Gesture ได้อีกด้วย เรียกว่าเอาใจสายท่องเน็ต ดูหนังและการเรียนออนไลน์ได้ดีทีเดียว

สติ๊กเกอร์มีอยู่เป็นปกติบนโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน ASUS Vivobook 16 รุ่นนี้ก็เช่นกัน นอกจากพื้นที่วางมือขนาดใหญ่แล้ว ก็ยังมีบรรดาสติ๊กเกอร์อย่าง AMD Ryzen 5, Perfect Warranty, และ Office Home and Student มาให้คุณได้ใช้ ไม่ต้องไปซื้อเพิ่ม รวมถึงอธิบายฟีเจอร์ที่มีอยู่มากมายบนโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ อาทิ กางได้ 180 องศา, มี Ai Noise cancelling หรือจะเป็น MyASUS, Physical webcam privacy เป็นต้น


Screen / Speaker

ASUS Vivobook 16

จอแสดงผลของ ASUS Vivobook 16 รุ่นนี้ มาในไซส์ที่ใหญ่กว่าปกติ อยู่ที่ระดับ 16″ พื้นที่การทำงานมากขึ้นกว่าเดิม และเป็น Ratio หรือสัดส่วนแบบ 16:10 ให้พื้นที่แนวยาวที่มากขึ้น ด้วยความเป็นจอใหญ่ และขอบจอที่บางมาก จึงทำให้มีพื้นที่การแสดงผลที่มากขึ้น

ASUS Vivobook 16 ให้อารมณ์ในการดูหนัง หรือต้องเปิดไฟล์ภาพ และการพรีเซนเทชั่น จึงดูอิ่มเต็มตา คือเรื่องการให้ความสำคัญของ ASUS ในเรื่อง Screen-to-Body บอกได้เลยว่า ทำให้ ASUS ดูน่าสนใจมากขึ้นในหลายๆ รุ่น และหน้าจอแบบนี้ ทำให้การแบ่งหรือ Split Window รวมถึงการใช้ประชุมออนไลน์ มองเห็นสมาขิกได้จำนวนมากและชัดกว่าเดิม โดยเฉพาะคุณครู ที่ต้องดูลูกศิษย์ขณะที่สอนงาน บอกเลยว่าน่าจะชอบเป็นพิเศษ

ASUS Vivobook 16

ขอบด้านล่างยังถือว่าค่อนข้างบาง เพราะมีพื้นที่กรอบอยู่เล็กน้อย กว้างราว 1.5cm เท่านั้น ซึ่งทำให้ตัวจอมีมิติกว้างขึ้น และดูไม่เกะกะสายตา พร้อมโลโก้ ASUS Vivobook สีขาวบนพื้นสีดำ

ASUS Vivobook 16
Webcam1
Physical Webcam Shield

กล้องเว็บแคมนี้ให้ความละเอียด 720p HD ที่ให้ความคมชัดในระดับหนึ่ง มาพร้อมกับ Privacy shutter ในแบบที่คุณใช้เลื่อนเปิด-ปิดหน้ากล้องได้ด้วยตัวเอง ใช้ก็เปิด ไม่ใช้ก็ปิด เป็นการป้องกันตัวเอง ในแง่ของการมีโทรจันหรือไวรัสที่ใช้ช่องทางเข้าถึงกล้องของเราได้ไม่ง่าย รวมถึงคนที่มักจะเผลอลืมปิดกล้องหลังประชุม หรือออนไลน์ทำงานอยู่

Webcam 1

ส่วนคุณภาพของกล้องเว็บแคม ก็เป็นไปตามตัวอย่างนี้ ความคมชัดอยู่ในระดับมาตรฐาน เรื่องแสงสีพอใช้ได้ แต่ถ้าคุณเซ็ตห้องหรือวางไฟ ให้มีความสว่างที่หน้าบ้าง ก็จะทำให้ดูสวยเนียนขึ้นได้อีกเยอะ เหมาะกับการประชุมหรือการเรียน หรือคุณจะใช้ในการนำเสนองานก็พอใช้ได้เช่นกัน

สำหรับไฮไลต์อย่างหนึ่งของโน๊ตบุ๊ค ASUS Vivobook 16 รุ่นนี้อยู่ที่ฟีเจอร์ 180° lay-flat hinge ที่สามารถกางหน้าจอออก 180 องศา มาพร้อมบานพับที่แข็งแรง โดยตัวจอที่กางออกนี้ เหมาะกับใช้ในโอกาสต่างๆ ได้มากมาย และถ้าจะให้ดี มีฟังก์ชั่นกลับภาพหน้าจอให้ได้เลย สำหรับแชร์ภาพให้คนตรงข้ามได้เห็น หรือแบ่งปันให้ดูกันได้หลายๆ คนก็คงจะดีไม่น้อย

ตัวอย่างภาพของเกม การสตรีมและการเล่นเกม เรารวมเอามาไว้ให้ได้ชมกัน ในส่วนของเกม ไม่มีติดขัด ยิ่งเป็นเกมสีสันสดใส เอฟเฟกต์อลังการอย่าง DOTA2, Overwatch, Apex หรือจะเป็นเกมอย่าง Diablo ก็ให้ภาพที่สวยงาม เพียงแต่ว่าในบางเกม ไม่สามารถอัพความละเอียด หรือเพิ่มความสวยงามเยอะๆ ได้ ตามสเปคของระบบ ส่วนการชมวีดีโอ ถือว่าทั้งรายละเอียดและความไหลเนียนของภาพ ทำได้ดี ดูได้เพลินตา และเมื่อเราลองปรับ HDR enable บน Windows ภาพที่ใด้ดูกลมกลืนมากขึ้น แม้จะไม่ได้ถูกวาง Certified ด้าน HDR มา แต่ Vivobook 16 นี้มีพื้นฐานของพาแนลมาดีพอสมควร เพราะให้ความต่างในการแสดงผลได้มากขึ้น แม้จะไม่ได้สดใสแบบ HDR OLED แต่ถ้ามาดูพื้นฐานของจอบนโน๊ตบุ๊คราคาประมาณ 22,990 บาทนี้แล้ว จัดว่าเกินคาด

ASUS Vivobook 16

บน Display Properties บอกข้อมูลของ Resolution เป็น 1920 x 1200 ในแบบ Native อาจจะทำให้ดูฟอนต์ใหญ่อยู่บ้าง แต่สามารถปรับ Scale ให้เหมาะกับความชอบของคุณได้เลย

Display CAL 1 2

ในแง่ของสีสันและความสดใส รวมถึงความแม่นยำของค่าสี ที่จะนำมาใช้งานนั้น แนะนำว่า ถ้าใช้งานในห้องปกติ ปรับความสว่าง 60-70% ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว หรือถ้าชอบแนวสว่างชัดๆ ไปเลย ก็เพิ่มอีกเล็กน้อยตามสะดวก โดยใช้ฮอตคีย์ F4, F5 ส่วนในแง่ของความแม่นยำ เราใช้โปรแกรม DisplayCAL กับอุปกรณ์ทดสอบหลักอย่าง ColorChecker มาทดสอบ ซึ่งผลที่ได้เป็นดังนี้ครับ ค่า Gamut อยู่ที่ราวๆ 60% อยู่ในเกณฑ์พื้นฐานของจอโน๊ตบุ๊คทำงาน ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องปกติ หากเป็นในกลุ่ม Vivobook 15 ที่เป็น OLED หรือ Zephyrus ตัวเกมมิ่ง ก็จะทำได้ดีกว่า แต่อย่าลืมว่าราคาก็จะดีดเพิ่มขึ้นไป ส่วนถ้ามีความจำเป็นจะต้องทำงานเกี่ยวข้องกับด้านภาพและสีเพิ่ม ให้มองจอทำงาน ที่ต่อแยกเพิ่มดูจะเหมาะสมมากกว่า

แต่อีกค่าหนึ่งดูน่าสนใจเช่นกัน นั่นคือ ค่าความสว่าง ที่จอนี้ทำได้เมื่อเปิดสุด 100% ให้ผลทดสอบได้ถึง 361cd/m2 ซึ่งเหมาะสำหรับการทำงานในที่ที่แสงน้อย หรือมีแสงรอบข้างค่อนข้างมาก หรือคนที่ใช้งานนอกสถานที่บ่อย แต่กรณีที่ใช้ในสำนักงาน ปรับในระดับ 60-70% ที่มีแสงไฟรอบข้างเพียงพอ ก็มองเห็นได้ชัดแล้วครับ


Connector / Thin and Weight

ASUS Vivobook 16

ส่วนฝั่งทางด้านซ้ายของโน๊ตบุ๊คนั้น จะมีเพียง USB 2.0 Type-A มาเพียงพอร์ตเดียวเท่านั้น แต่ใช้พื้นที่ว่างอีกส่วนหนึ่ง มาเป็นช่องระบายความร้อน ถือว่าเป็นไอเดียที่ดี การแยกฝั่งการใช้งานแบบนี้ เป็นผลดีหลายอย่าง ตั้งแต่การจัดระเบียบการต่อพ่วงอุปกรณ์ได้แล้ว ยังง่ายต่อการใช้ ไม่ต้องเกะกะอีกด้วย

ASUS Vivobook 16

โดยส่วนตัวการมี USB-C มาให้ก็จะเป็นการดีอยู่แล้ว เพียงแต่ถ้าได้เพิ่มฟังก์ชั่้น ที่นอกเหนือจากการถ่ายโอนข้อมูล ก็จะเป็นผลดีต่อผู้ใช้มากกว่าเดิม แม้ว่าการเติม Thunderbolt 4 เข้ามา อาจจะเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะอาจจะทำให้ราคาขึ้นไปเกินกว่า 25K ดังนั้นการเพิ่มบทบาทของ USB-C ก็ดูจะน่าสนใจไม่น้อย อย่างไรก็ดีหากผู้ใช้ไม่ได้ซีเรียส ก็อย่าลืมว่ายังมี HDMI ที่แสดงผลไปยังจอภายนอกได้อีกด้วย ก็พอจะตอบโจทย์ในด้านนี้ได้

ASUS Vivobook 16

ส่วนในเรื่องมิติและความบาง ASUS เคลมเอาไว้ว่า 1.99cm ก็เป็นเรื่องปกตินะของโน๊ตบุ๊คในระดับ 15.6″ หรือ 16″ แบบนี้ โดยเฉพาะการวัดในจุดที่หนาสุด เพราะอย่าลืมว่าโน๊ตบุ๊คจะต้องมีโครงสร้างส่วนหนึ่ง ในการรับภาระโดยรวมเช่นกัน ดังนั้นก็ต้องเพิ่มความแข็งแรง และส่วนตัวก็มองว่าไม่ได้เป็นปัญหา หากจะใส่เข้าไปในกระเป๋าเป้หรือใช้สะพายข้าง เพราะยังมีพื้นที่มากพอในการจัดวางสิ่งต่างๆ ได้ ไม่อึดอัดจนเกินไป

Weight 1
Weight 3

และน้ำหนักที่ได้ อยู่ที่ประมาณ 1.87Kg ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับที่เคลมเอาไว้ในเว็บไซต์ของ ASUS อยู่ที่ 1.88Kg เมื่อรวมกับแอดปเตอร์ขนาดเล็กๆ น้ำหนักประมาณ 300 กรัม ก็ทำให้โน๊ตบุ๊คจอใหญ่ๆ แบบนี้ หนักประมาณ 2.1Kg เท่านั้น ยังอยู่ในเกณฑ์ของการพกพาได้ และอยู่ในระดับเดียวกับโน๊ตบุ๊ค 15.6″ อีกด้วย จะใส่กระเป๋าเป้เดินทาง ก็ยังพอไหว จะเป็นชายร่างใหญ่หรือสุภาพสตรีที่ยกบ้าง วางบ้าง แวะหาลูกค้าทำงาน และวางในรถยนต์ก็ไม่เกะกะ


Inside / Upgrade

ASUS Vivobook 16

มาดูที่ด้านหลังหรือด้านใต้ของโน๊ตบุ๊ค ASUS Vivobook 16 นี้กันก่อนจะไปแกะ เพื่อดูด้านในและการอัพเกรด สำหรับคนที่อยากจะลองทำด้วยตัวเอง สามารถใช้ไขควง 4 แฉกในการแกะได้ มีน็อตประมาณ 13 ตัวด้วยกัน ไขง่ายมาก ส่วนการแกะฝาปิดนั้น อาจจะต้องใช้ความระมัดระวังเล็กน้อย

ASUS Vivobook 16

เมื่อเปิดฝาออกมา จะเห็นด้านในเป็นเช่นนี้ โดยจะเป็นโครงที่มีชิ้นส่วนปกป้องอุปกรณ์ด้านในอยู่พอสมควร เช่น ขาล็อคน็อต, SSD module รวมถึงตะแกรงกรองฝุ่นในจุดที่เป็นพัดลม

ASUS Vivobook 16

ภายในของ ASUS Vivobook 16 เมื่อเปิดฝาออกมาทั้งหมดแล้ว ภายในเราจะได้เห็นเมนบอร์ดในไซส์ขนาดมาตรฐาน ซึ่งใช้พื้นที่ประมาณ 1/3 ของพื้นที่ทั้งหมดภายใน สำหรับการจัดวางชุดระบายความร้อน แม้จะเป็นแบบพัดลมเดียว และใช้ฮีตไปป์ทองแดงจำนวน 2 เส้น วิ่งคู่กันจากฮีตซิงก์ของซีพียู ผ่านมายังช่องพัดลม และไปยังครีบระบายความร้อน และให้พัดลมที่ดูดลมเย็นเข้ามา เป่าออกไปทางด้านข้างซ้าย และทาง ASUS ใช้เทคโนโลยี IceCool Thermal ช่วยในการระบายความร้อน

ASUS Vivobook 16

ใบพัดลมเป็นแบบ 87 ใบขนาดเล็กมากๆ และยังเป็น Liquid-crystal polymer ซึ่งถือว่าเป็นผลดี เพราะทำให้มีความแข็งแรง และเสียงรบกวนน้อย ซึ่งตอบโจทย์การใช้งานทั้งในด้านของการเล่นเกม ดูหนังต่อเนื่องหรือในช่วงที่โหลดซีพียูหนักๆ ได้ดีพอสมควร

ASUS Vivobook 16

ช่องที่เป็นทิศทางลมออกอีกช่องหนึ่ง ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลัง หรือใต้หน้าจอ เบี่ยงไปทางด้านซ้ายเล็กน้อย ช่วยให้การระบายอากาศทำได้คล่องตัวขึ้น

ASUS Vivobook 16

มาว่ากันที่การอัพเกรดกันบ้าง โดยพื้นฐาน ASUS Vivobook จะมาพร้อมกับแรมออนบอร์ด เช่นเดียวกัน รุ่นนี้มีมาให้ 8GB DDR4 แล้ว และยังมีสล็อตแรมเพิ่มให้อีก 1 สล็อต DDR4 SO-DIMM สำหรับการอัพเกรดอีกด้วย โดยเพิ่มได้อีกอย่างน้อย 24GB เมื่อรวมกับของเดิม

ASUS Vivobook 16

และอีกช่องหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ เดิมทาง ASUS ติดตั้ง SSD ในแบบ M.2 NVMe PCIe 3.0 x4 มาแล้ว 1 ตัว ความจุ 512GB ก็สามารถเพิ่มความจุ ด้วยการเปลี่ยนเป็น SSD ในรูปแบบเดียวกัน จะเพิ่มความจุหรือความเร็ว ก็ดูได้ตามความเหมาะสม ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัว ถ้าคุณเป็นคนที่มีข้อมูลเยอะมาก ใช้โปรแกรมค่อนข้างหลากหลาย การเพิ่มเป็น SSD 1TB ก็ดูน่าสนใจ เพราะราคาเวลานี้ก็ถูกลงมาก 1TB ราคาเริ่มต้นประมาณ 3 พันบาทเท่านั้น

ASUS Vivobook 16

แบตเตอรี่ที่ให้มาเป็นแบบ 3-cell 50Whr ซึ่งอยู่ในเกณฑ์กลางๆ เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คในขนาด 15.6″ หรือ 16″ ที่มีอยู่ในท้องตลาด เรื่องของระยะเวลาในการทำงาน สามารถเข้าไปดูในส่วนของการทดสอบ Battery / Heat / Noise กันได้เลยครับ

อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ บริเวณที่เป็นบานพับทาง ASUS ออกแบบมาเป็นแนวยาวตลอดทั้งบอดี้ และมีจุดยึดที่แข็งแรงพอสมควร ทำให้พอมั่นใจได้ว่า จะใช้ไปได้แบบยาวๆ เมื่อต้องเปิด-ปิดๆ อยู่บ่อยครั้ง ยิ่งคนที่ต้องเดินทางบ่อย น่าจะให้ความสำคัญในจุดนี้ด้วยเช่นกัน


Performance / Software

ASUS Vivobook 16

มาสู่โหมดการทดสอบ เริ่มที่ CPUz กับการรายงานข้อมูลฮาร์ดแวร์ โดยแจ้งเป็นซีพียู AMD Ryzen 5 5600H ได้อย่างถูกต้อง ทำงานในแบบ 6 core/ 12 thread มีแคช L3 มากถึง 16MB ส่วนอินเทอร์เฟสการเชื่อมต่อเป็น PCI-Express 4.0 x16 แล้วนะ

ASUS Vivobook 16

แรมที่ติดตั้งมาเป็นแบบ DDR4 3200 ความจุ 8GB สามารถอัพเกรดเพิ่มเติมจากสล็อตที่มีมาให้บนเมนบอร์ดได้ แนะนำว่าถ้าคุณไม่ได้ติดเรื่องค่าใช้จ่ายมากนัก หรือต้องการประสิทธิภาพในงานที่มีการใช้ทรัพยากรเยอะ เช่น โปรแกรมแต่งภาพ เปิดไฟล์ขนาดใหญ่ หรือตัดต่อวีดีโอเบื้องต้น เพิ่มอีกสัก 16GB ก็จะเห็นศักยภาพที่ทำได้ดีมากขึ้น รวมถึงการเล่นเกมก็มีส่วนอยู่ไม่น้อยเช่นกัน

CPUz4

และกราฟิกที่มีมาพร้อมซีพียู AMD Ryzen 5 รุ่นนี้ เป็นรุ่น Radeon Vega Graphic ที่ถือว่าเป็นอีกเลเวลหนึ่งที่ช่วยให้การเล่นเกมหรือทำงานด้านวีดีโอได้ดียิ่งขึ้น โดยระบบจะจัดการเรื่อง Cache หรือ VRAM ให้อัตโนมัติ ผลที่ได้ในการเล่นเกมเป็นอย่างไร ดูได้จากการทดสอบครับ

CPUz5

เราลองทดสอบระดับประสิทธิภาพ ASUS Vivobook 16 เมื่อเทียบกับซีพียูที่เป็นอดีตตัวแรงของเหล่าเกมเมอร์อย่าง AMD Ryzen 7 2700X เรื่องของ Single-Thread นั้น Ryzen 5 5600H สามารถกระชากลูกเลี้ยงหลบไปยิงได้ไม่ยาก ส่วน Multi-Thread ก็ทำได้สูสีเลยทีเดียว เป็นรองอยู่เล็กน้อย แต่ย้ำว่า Ryzen 7 2700X นั้นเป็นซีพียู PC ที่มีค่า TDP สูงกว่าและมี Core/ Thread ที่มากกว่านะ

ASUS Vivobook 16

ระบบ Storage เป็น SSD จากทาง Micron 2210 เท่าที่เช็คฮาร์ดแวร์จะเป็นแบบ 3D NAND QLC เป็น SSD สำหรับกลุ่มเอนด์ยูสเซอร์ เริ่มต้นกับการใช้งานที่มีประสิทธิภาพตอบโจทย์การใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีพอสมควร ร่วมกับอินเทอร์เฟส PCIe 3.0 x4 ซึ่งความเร็วในการอ่านอยู่ที่ประมาณ 2,200MB/s และเขียนที่ 1,100MB/s

ASUS Vivobook 16

ในการทดสอบด้วยโปรแกรม PCMark10 ทำคะแนนโดยรวมอยู่ที่ 5,642 คะแนน โดยมีคะแนนในส่วนของ Essentials และ Productivity ทำได้ค่อนข้างดี เกือบถึง 10,000 คะแนน

ASUS Vivobook 16

ส่วนการทดสอบ 3DMark กับกราฟิก Radeon Vega ที่ติดตั้งมาบนซีพียู ซึ่งยังคงทำคะแนนได้ดีพอสมควรในหลายการทดสอบ ซึ่งเชื่อว่าถ้าติดตั้งแรมเพิ่มเติมเข้าไป น่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ASUS Vivobook 16

ผลการทดสอบกับ CINEBench ในเวอร์ชั่นต่างๆ ด้วยซีพียูในระดับ 6 core/ 12 thread ก็จัดว่าตอบสนองการใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับซีพียูในระดับเดียวกัน

ASUS Vivobook 16

การทดสอบด้วยเกม 3 มิติ เพื่อให้เห็นประสิทธิภาพในการเล่นเกม ด้วยกราฟิก AMD Radeon Vega นี้ ก็ถือว่าให้คุณเล่นเกมในแนวต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ทรัพยากรมากจนเกินไป หรือแทบจะไม่ต้องพึ่งพึงความสามารถของการ์ดจอแยก โดยเกมอย่าง DOTA2 ในโหมด Fastest ให้เฟรมเรตได้สูงถึง 80fps และเฉลี่ยอยู่ที่ราว 60fps ได้นิ่งๆ แม้ภาพจะไม่สวยงามหรูหรา แต่คุณยังคงได้เห็นเอฟเฟกต์และความลื่นไหลได้

ASUS Vivobook 16

โดยที่ในเกม Overwatch ก็ถือว่าทำตัวเลขเฟรมเรตออกมาได้ดีเช่นกัน โดยการตั้งค่าจะอยู่ที่ Low สามารถเล่นได้ในเฟรมเรตเฉลี่ยที่ 70fps ลื่นไหลสบายตา และสุดท้ายกับเกมที่โหดขึ้นมาอีกนิด อย่าง PUBG ที่ตั้งเอาไว้ในแบบ Very Low เล่นได้บนเฟรมเรตเฉลี่ยประมาณ 30-35fps. ก็จัดว่าพอเล่นได้ แต่ถ้าลด View Distance ลงอีกหน่อย ก็จะได้ถึง 40fps เลยทีเดียว


Battery / Heat / Noise

ASUS Vivobook 16

แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้บน ASUS Vivobook 16 รุ่นนี้เป็นแบบ 3-cell, 50Whr ในการทดสอบ ด้วยการใช้โปรแกรม BatteryMon และตั้งค่าการทดสอบด้วยเงื่อนไข ที่อยู่ในสมมติฐานด้วยการจำลองใช้งานแบบประหยัดแบต ในการทดสอบ Video Playback กับระดับเสียง 20% และความสว่างประมาณ 25% สตรีมมิ่ง Youtube ต่อเนื่อง และค่า Power Options ในโหมด Balanced ให้ระยะการทำงานได้เกือบ 9 ชั่งโมงเลยทีเดียว นับว่าเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจพอสมควร ต้องถือว่าช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำโน๊ตบุ๊คไปใช้งานข้างนอกได้เกือบๆ ครึ่งวัน เมื่อชาร์จแบตจนเต็ม และเราเพิ่มการทดสอบการชาร์จ โน๊ตบุ๊คสามารถชาร์จไฟที่ระดับ 30% ในเวลาประมาณ 20 นาทีเท่านั้น ถือว่าทำได้ค่อนข้างดี

Battmon

มาทดสอบในด้านของอุณหภูมิขณะทำงานกันบ้าง จากที่ใช้โปรแกรม Furmark ในโหมด CPU Burner เพื่อให้ซีพียูทำงานในแบบ 100% Full-load ในห้องควบคุมอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส เพื่อจำลองการทำงาน เมื่ออยู่ในสภาวะที่ทำให้ซีพียูทำงานเต็มกำลัง บนความเร็วสัญญาณนาฬิกาประมาณ 4.0GHz ผลที่ได้คือ อุณหภูมิขึ้นไปสูงสุดประมาณ 94 องศาเซลเซียส และลงมาอยู่ที่ 84 องศาเซลเซียสแบบนิ่งๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่มาจากความสามารถของระบบระบายความร้อน ASUS IceCool พัดลมตัวเดียวก็เอาอยู่

Temp 1

หากมองในความเป็นจริงแล้ว มีการทำงานไม่มากนัก ที่จะรีดพลังของซีพียูไปในระดับนั้น เพราะโปรแกรมส่วนใหญ่จะเรียกใช้ประมาณ 30-40% เท่านั้น ดังนั้นความร้อนที่จะเกิดขึ้นจริง ก็อยู่ที่ราวๆ 50-70 องศาเซลเซียสเท่านั้น


Conclusion / Award

ในภาพรวมของ ASUS Vivobook 16 รุ่นนี้ ผมมองเห็นความโดดเด่นในการถ่ายทอดเรื่องราวของโน๊ตบุ๊คที่มีจอขนาดใหญ่ ซึ่งดูเข้ากับชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ได้มากกว่า ถ้าไม่นับเรื่องของของการพกพาสำหรับบางคน ด้วยจอขนาด 16″ 1920×1200 นี้ ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ในงานและความบันเทิงได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรที่ต้องการพรีวิวงานให้กับลูกค้า หรือจะเป็นคุณครูที่ใช้พื้นที่ในการนำเสนอแก่นักเรียน หรือการเรียนออนไลน์ รวมถึงผู้ใช้ตามบ้าน ที่มีพี่น้องลูกหลาน ให้มาใช้งานร่วมกันได้ แบ่งปันความบันเทิงให้กับคนในครอบครัว หรือจะนั่งดูหนัง สตรีมมิ่งกับเพื่อนๆ ไปจนถึงเหล่ายูทูปเบอร์ที่พอจะใช้ในการตัดต่อวีดีโอเบาๆ กับการพรีวิวภาพได้กว้างกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้คือจุดเด่นที่น่าสนใจ

ในแง่ของประสิทธิภาพ ถือได้ว่า AMD Ryzen 5 5600H นี้ ตอบสนองกับแอพพลิเคชั่นในด้านต่างๆ ได้ดี รวมถึงผลทดสอบต่างๆ ที่ออกมา ก็น่าพึงพอใจ เรียกว่างานบ้าน ไปจนถึงงานสำนักงาน สอบผ่านในทุกจุด และยังเติมความสนุกในการเล่นเกมได้ดีพอสมควร แม้จะไม่ใช่เป้าหมายหลักก็ตาม ด้วยกราฟิกที่มากับซีพียู AMD รุ่นนี้ ก็เรียกว่าเน้นงานทั่วไป มากกว่า อย่างไรก็ดีเรายังได้เห็นเฟรมเรตสวยๆ จากเกมต่างๆ มาให้สัมผัส และเป็นการเล่นเกมในโหมด Full-HD อีกด้วย เช่นเดียวกับในเรื่องของเสียงก็ยังให้ความสนุกสนาน และเต็มอิ่มไปกับการชมภาพยนตร์ได้อีกด้วย

เช่นเดียวกับพอร์ตต่อพ่วงมีมาให้เยอะพอสมควร โดยเฉพาะพอร์ตสำคัญๆ เช่น USB Type-C หรือ HDMI จะขาดก็เพียงเล็กๆ น้อยๆ ถ้ามองในแง่การใช้งานพอร์ต USB Type-A ก็จัดมาให้อีก 3 พอร์ต ก็เรียกว่าใช้งานได้เยอะแล้ว แต่น่าเสียดายที่ทาง ASUS ไม่ได้ติดตั้งแสงไฟ Backlit มาบนคีย์บอร์ด ซึ่งถือว่าเป็นไฮไลต์ของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ โดยเฉพาะปุ่มคีย์ใช้งานง่าย กดสะดวก และยังมีฮอตคีย์มาให้อีกเพียบ แต่โดยปกติ ถ้าคุณเป็นคนที่วางมือ หยุดพักไม่ได้สนใจกับการใช้งานในที่มืดๆ หรือจะต้องทำงานในช่วงเวลาแสงน้อย ก็แทบจะไม่ได้จำเป็นเลย

ด้านการอัพเกรดอย่างน้อยๆ คุณเติมแรมเพิ่มได้ รวมถึงเปลี่ยน SSD ในแบบ M.2 ได้ ก็จัดว่าคุ้มค่าแล้ว ยังไม่รวมการมี Windows 11 Home และ Office Student 2021 มาด้วย รวมถึงการรับประกัน 2 ปี ในราคาแค่ 21,990 บาท เท่านั้น

Award

award new value

ด้วยความเป็นโน๊ตบุ๊คในราคาแค่ 2 หมื่นต้นๆ เท่านั้น แต่ ASUS จัดเตรียมองค์ประกอบมาให้ใช้งานครบครัน ว่ากันตั้งแต่ซีพียูที่ขยับมาเป็นแบบเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค มีพื้นฐานของระบบที่รองรับการอัพเกรด และหน้าจอขนาดใหญ่ รวมไปถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่มอบให้กับผู้ใช้ หน้าจอใหญ่ อัพเกรดได้ พร้อม Windows 11 Home และ Office มาด้วย ราคานี้ถือว่าทำได้คุ้มค่าน่าใช้เลยทีเดียว ตอบโจทย์การใช้งานในหลายๆ ด้าน ได้อย่างลงตัว

from:https://notebookspec.com/web/665992-asus-vivobook-16-ryzen5-5600h