คลังเก็บป้ายกำกับ: คอมช้า

คอมช้า คอมกระตุก จอฟ้า จบใน 7 ขั้นตอนฟรี! คอมลื่นเหมือนใหม่ 2023

คอมช้า คอมกระตุก 2023 รีสตาร์ท เปิดคอมใหม่ก็เป็น จบใน 7 ขั้นตอน มือใหม่ทำตามได้

solve pc slowly and crash 2023 cov

คอมช้า คอมกระตุกเกิดได้จากหลายสาเหตุ 7 วิธีนี้ช่วยลดปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นคอมเก่าใช้มานาน หรือคอมใหม่เพิ่งซื้อ ก็อาจเกิดอาการช้า หรือจอฟ้า BSOD ได้เช่นกัน แต่ถ้าหาต้นเหตุของอาการได้ ก็แก้ไขได้ไม่ยาก แต่อาจจะต้องมีขั้นตอนวิธีในการเช็ค ว่าเกิดจากฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ โดยในบางกรณีอาจเกิดจากปัญหาเล็กๆ เช่น ไดรเวอร์ หรือการติดตั้งฮาร์ดแวร์ผิดปกติเท่านั้น เมื่อแก้ไขก็กลับมาใช้ได้เหมือนเดิม อาการเหล่านั้นก็หายไป ดังนั้นมาลองดูกันครับว่า สิ่งที่เกิดขึ้นและทำให้คอมคุณช้า กระตุกหรือทำงานไม่ได้ตามปกติ ต้องทำอย่างไร กับวิธีง่ายๆ เหล่านี้

คอมช้า คอมกระตุกจบปัญหาใน 8 ขั้นตอน


แก้ปัญหาคอมช้า

ปัญหาคอมช้า คอมอืด กระตุกหรือหนักขึ้น จนเกิดอาการจอฟ้า BSOD สิ่งเหล่านี้ อาจจะต้องเริ่มที่การแก้ไขในแบบที่เราคุ้นเคย หรือสามารถทำได้ก่อน เช่น การใช้ฟีเจอร์จากบน Windows มาช่วยในการปรับปรุงแก้ไข และค่อยๆ ใช้ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์เข้ามาลองปรับเปลี่ยนตามลำดับ อย่างไรก็ดีการปรับลดหรือเพิ่มในฟังก์ชั่นบางอย่าง ก็มีส่วนช่วยลดอาการได้เช่นกัน ดังนั้นแล้วควรทำควบคู่กันไป ตามอาการที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การใช้วิธีต่างๆ เหล่านี้

Advertisementavw

โซลูชั่นแก้ปัญหาคอมช้า คอมกระตุก แบบเร่งด่วน

เริ่มจากการเช็ค สแกน > อัพเดต > ตรวจสอบระบบฮาร์ดแวร์ > อัพเกรดหรือเปลี่ยน


1.ปิดโปรแกรมที่ไม่ใช้บ้าง

หลานท่านชอบใช้งานคอมหลายอย่างพร้อมกัน เช่น ดูหุ้น พร้อมกับทำงานเอกสาร และเปิดเพลงฟัง หรือบางคนก็อาจจะแต่งภาพ ไปพร้อมๆ กับการดูหนัง ฟังเพลง รวมถึงเปิดเว็บไซต์หาข้อมูล หรือใช้ในการโอนถ่ายไฟล์งานต่างๆ สิ่งเหล่านี้ หากเป็นคอมที่สเปคกลางๆ ขึ้นไป เช่น ซีพียูระดับ Intel Core หรือ AMD Ryzen มีแรม 8GB หรือมากกว่า การทำงานระดับนี้ ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบมากนัก แต่ถ้าเป็นคอมที่สเปคไม่แรง หรือเป็นรุ่นเก่า ใช้งานมานาน ใช้งานระดับนี้ก็อาจกระตุกหรือค้างได้ในบางจังหวะ

คอมช้า

สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกก็คือ ลองเช็คดูว่าคุณใช้งานโปรแกรมเยอะเกินไปหรือไม่ รวมถึงเปิดใช้เว็บเบราว์เซอร์ ไม่ว่าจะเป็น Chrome หรือ Microsoft Edge มากเกินไปหรือเปล่า เพราะอย่าลืมว่า เมื่อเปิดแต่ละแท็ปหรือแต่ละหน้าต่าง ก็ใช้แรมเพิ่มมากขึ้น หากคุณมีแรมน้อย ก็ย่อมส่งผลทำให้คอมช้า คอมกระตุกได้เลย

วิธีการแก้ไข

คอมช้า
  1. ปิดโปรแกรม ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในขณะนั้น
  2. เข้าไปดูใน Startup program ด้วยการกด Ctrl+Shift+Del ปิดโปรแกรมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังออก
  3. ปิดแท็ปหรือหน้าต่างหรือเว็บไซต์บนเว็บเบราว์เซอร์ เหลือไว้เท่าที่ใช้งาน
  4. รีสตาร์ทระบบ เพื่อเคลียร์สิ่งต่างๆ ให้เหลือพื้นที่แรมเพิ่มขึ้น

2.ฮาร์ดดิสก์หรือ SSD เต็มหรือเปล่า

เรียกว่าเป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายคนก็ว่าได้ เก็บข้อมูลไฟล์ ลงเกม ติดตั้งโปรแกรมเพลิน จนลืมไปว่าแทบไม่เหลือพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์หรือ SSD แล้ว ยิ่งเป็นโน๊ตบุ๊คบางรุ่น มี SSD มาให้น้อยมาก ลงโปรแกรมที่จำเป็นกับเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้อีกหน่อย ก็เกือบจะเต็มพื้นที่อยู่แล้ว เป็นแบบนี้ใช้งานไม่นาน คอมหรือโน๊ตบุ๊คก็ช้าลงได้ เพราะไม่มีพื้นที่ให้จัดการไฟล์ ระบบไม่สามารถทำงานได้ตามปกตินั่นเอง

คอมช้า

สิ่งที่ต้องแก้ไข ก็คงต้องเริ่มจากการปรับพฤติกรรมของผู้ใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดสรรพื้นที่เก็บไฟล์ การเคลียร์ไฟล์ที่ไม่จำเป็น ลดโปรแกรมที่ไม่ใช้ รวมไปถึงเกม และยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยให้คุณได้พื้นที่เก็บข้อมูลกลับมา

วิธีการแก้ไข

  • เคลียร์ไฟล์ขยะและ Temporary file หรือไฟล์ตกค้างจากการทำงานของ Windows ที่ไม่ได้ลบทิ้ง
  • ให้เข้าไปที่ Disk Cleanup เลือกไดรฟ์ C: จากนั้นใส่เครื่องหมายหน้ารายการต่างๆ เลือก OK แล้ว Clean up ได้เลย จะลดไฟล์เหล่านั้นไปได้อีกหลาย GB เลยทีเดียว
  • ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ออกไป ด้วยการเข้าไปที่ Program & Feature จากนั้น Uninstall or change a program แล้วเลือกโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งาน หมดอายุ หรือเป็นโปรแกรมเก่า ที่ไม่ได้ใช้มาเนิ่นนานออกไป ด้วยการ Remove จะได้พื้นที่กลับมาในระดับ GB หรือมากกว่า 10GB เลยทีเดียว
  • เกมที่ไม่ได้เล่น ไม่ว่าจะติดตั้งโดยตรงหรือลงผ่าน Game Platform ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Steam, Origins หรือ EPIC เป็นต้น ลบโดยตรงจากโปรแกรมได้เลย ตรงนี้ใครที่เล่นเกมใหญ่ๆ จะได้คืนมาระดับ 100GB เลยทีเดียว
  • ลบไฟล์ซ้ำๆ ออกบ้าง เพราะบางคนเก็บไฟล์เดียวกัน แต่เอาไว้หลายที่ เพราะไม่ได้วางแผนจัดเก็บที่ดี ทำให้กลายเป็นไฟล์ขยะ เปลืองพื้นที่บน Storage อย่างมากเลย วิธีลบถ้าทำแบบ Manual ไม่ได้ ก็เลือกใช้โปรแกรมที่ใช้ลบไฟล์ซ้ำ เช่น Duplicate file Cleaner, AllDup หรืออื่นๆ ตามที่พอหาได้
  • แต่ถ้าสุดท้ายอั้นไม่ไหว ไม่อยากลบ เพราะมีแต่ไฟล์ที่จำเป็น ก็ลองขยายพื้นที่จัดเก็บ เช่น การเปลี่ยน SSD, เพิ่มความจุฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ หรือจะใช้แบบจัดเก็บข้อมูลต่อภายนอก และสุดท้ายคือ ใช้บริการ Cloud Storage ก็ได้เช่นกัน
อุปกรณ์ ค่าใช้จ่าย
SSD 1TB เริ่ม 2,900 บาท
ฮาร์ดดิสก์ 2.5″ SATA 1TB เริ่ม 1,000 บาท
External HDD 1TB เริ่ม 1,400 บาท
External SSD 1TB เริ่ม 3,300 บาท
Cloud storage MEGA ฟรี 20GB
Google One ฟรี 15GB
iCloud ฟรี 5GB
Dropbox ฟรี 2GB
Google One 2TB, 350 บาท/ด
iCloud 2TB, 349 บาท/ด
Dropbox 2TB, 350 บาท/ด
MEGA 2TB, 391 บาท/ด

3.แรมหาย คอมก็ช้าได้

แรมหายจากการที่ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเรียกใช้งาน อย่างเช่น บางโปรแกรมที่เปิดอยู่กำลังทำงาน อาจจะเรียกใช้อยู่ไม่กี่ MB แต่เมื่อรวมการใช้งานร่วมกับภาพไฟล์ข้อมูลเข้าไปด้วย ก็ยิ่งใช้แรมมากขึ้น หรือแม้กระทั่งเว็บเบราว์เซอร์เอง ก็มีการเรียกใช้แรม เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนหน้าหรือแท็ปที่เปิดใช้งานอยู่เวลานั้น ยิ่งทำให้คอมช้าลง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของแรมหาย จากความเสียหายทางกายภาพอีกด้วย มาดูสาเหตุกัน

คอมช้า

แรมไม่พอ: เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย และสังเกตได้ อาการจะมีหลายแบบ เช่น เปิดโปรแกรมช้า เปิดไฟล์ไม่ได้ หรือบางครั้งก็จะแฮงก์ค้างไปดื้อๆ

วิธีการแก้ไข

  1. เริ่มจากปิดหน้าเว็บเบราว์เซอร์ที่ไม่จำเป็น หรือปิดไปทั้งหมด แล้วจึงเปิดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ถ้าเป็น Chrome หรือ Edge สามารถกดปุ่ม Ctrl+Shift+ปุ่ม T พร้อมกัน ก็จะเรียกหน้าต่างที่เราปิดไป กลับคืนมาให้
  2. กดปุ่ม Ctrl+Shift+Esc แล้วเข้าไปใน Task manager เลือกปิดโปรแกรมที่ใช้ Memory มากผิดปกติ แล้วคลิ๊กที่ End Task
  3. Restart ระบบ แล้วกลับมาใช้งานอีกครั้ง เพื่อเป็นการ Clear พื้นที่การใช้งานแรม ให้เหลือมากขึ้น
คอมช้า

แรมเสีย: อาการนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ทันรู้ตัว จนกว่าจะมีอาการช้าจนผิดปกติ เพราะจากเดิมอาจมีแรม 8GB แบ่งเป็น 4GB จำนวน 2 ตัว ก็ยังทำงานได้ลื่น แต่พอแรมพังไป 1 ตัว เหลือแค่ 4GB เราทำงานแบบเดิม แต่ก็จะช้าลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ สำหรับคนที่ไม่ทราบข้อมูล หรือไม่ได้มีความรู้ด้านฮาร์ดแวร์มากนัก แต่ก็มีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ

คอมช้า
  • คุณอาจจะต้องหาข้อมูลที่แท้จริงว่า โน๊ตบุ๊คหรือพีซีที่คุณใช้อยู่นั้น มีแรมอยู่เท่าไร โดยดูจากโบรชัวร์ หรือสอบถามจากร้านหรือคนที่ซื้อมาให้คุณ
  • เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ให้เช็คจากในเครื่องคุณว่ามีแรมครบถูกต้องมั้ย ทำได้หลายวิธี เช่น ดูจาก Task manager, ฟังก์ชั่น System ของระบบ หรือจะใช้โปรแกรมเสริมก็ได้
  • ดูจาก Task Manager ไปที่แท็ป Performance แล้วดูที่ Memory จะบอกความจุแรมให้ชัดเจน
  • ดูจาก System สำหรับ Windows 11 ให้คลิ๊กขวาที่ปุ่ม Start จากนั้นเลือก System เข้าไปดูใน Device Specification ลงมาตรง Installed RAM ตรงนี้จะบอกความจุที่ระบบมองเห็น ครบหรือไม่ครบ ก็ทราบได้เลย
  • แต่ถ้ายังรู้สึกคลุมเครือ มีคนสามารถวางใจได้ หรือมีสกิลในการแกะอยู่บ้าง ก็แกะดูได้ เป็นพีซีจะมองได้ง่าย แต่โน๊ตบุ๊คอาจจะยากนิดหน่อย
  • หากเสีย ก็เช็คอีกทีว่าเสียจริงมั้ย หรือแค่สกปรก หรืออาจจะเสียจากสล็อตแรมก็เป็นได้ ถ้าเป็นแบบสุดท้าย ก็ต้องพึ่งพาช่างซ่อมแล้วครับ

4.อัพเดตไดรเวอร์หรือ Windows บ้าง

เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำและทำได้ง่ายมากที่สุด อาจจะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา คอมช้า คอมกระตุกโดยตรง แต่ก็มีส่วนช่วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะระบบจะได้รับการปรับปรุง แก้ไข หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ก็มาจากการ Update Windows หรือ Update Driver นั่นเอง วิธีการค่อนข้างง่าย

คอมช้า

Update Windows: ให้คลิ๊กขวาที่ปุ่ม Win จากนั้นเลือก System แล้วเลือก Windows Update ที่อยู่ทางซ้ายมือ คลิ๊กที่ Check for Updates จากนั้นเลือก Download & Install รอจนกว่าจะติดตั้งเสร็จ แล้วรีสตาร์ทระบบใหม่อีกครั้ง

คอมช้า

Update Driver: สามารถใช้วิธีการเดียวกับ Update Windows ได้ แต่ให้เลือกที่ Advance Options แล้วเลือกที่ Additional options ทางด้านขวา แล้วคลิ๊กที่ Optional Updates ใส่เครื่องหมายด้านหน้าอุปกรณ์ในช่อง แล้วเลือก Download & Install

วิธีที่ 2 ในการอัพเดตไดรเวอร์ ด้วยการดาวน์โหลดจากหน้าเว็บไซต์ผู้ผลิต เพียงแต่คุณต้องทราบว่าคุณใช้โน๊ตบุ๊คหรือฮาร์ดแวร์ ซีรีส์ใด รุ่นใด จากนั้นดาวน์โหลดไฟล์มาติดตั้งได้ทันที

วิธีที่ 3 เข้าไปใน Device Manager จากนั้นคลิ๊กขวาบนฮาร์ดแวร์ตัวที่คุณจะอัพเดต แล้วเลือก Update Driver ได้ทันที


5.ปิดการใช้แอนิเมชั่นบางอย่าง

เราเคยสังเกตหรือไม่ว่า ระบบสามารถแสดงผล มีหน้าตาที่สวย โปร่งแสงดูทันสมัย เพราะสิ่งเหล่านั้นได้มาจากฟังก์ชั่นของ Windows ที่เพิ่มความสวยงามในการใช้งาน แต่ก็มาพร้อมกับการใช้ทรัพยากรของระบบอยู่ด้วยเช่นกัน การปิดใช้งานสิ่งเหล่านี้ ก็มีส่วนช่วยลดปัญหาคอมช้าได้

คอมช้า

ผลที่ได้จากการปิดเอฟเฟกต์แอนิเมชั่นของระบบ ทำให้ลดภาระในการสร้างกราฟิกและเอฟเฟกต์ต่างๆ ลง โดยเฉพาะกับแรมและซีพียู แม้จะไม่มาก แต่ถ้าทำร่วมกับวิธีการอื่นๆ ก็ลดปัญหาคอมช้าได้เช่นกัน อย่างไรก็ดีการเปิดหน้าต่าง เลื่อน การแสดงผล เปลี่ยนหน้าอาจลื่นไหล แต่ก็ยังสบายตา รวมถึงเอฟเฟกต์โปร่งแสงจะหายไป แต่ได้ Process ที่ดีกลับมา ทำให้เครื่องลื่นขึ้น

วิธีการแก้ไข

ให้คลิ๊กขวาบนหน้าเดสก์ทอป > เลือก Personalize > เลือก Accessibility ทางด้านซ้าย > เลือก Visual ที่อยู่ด้านขวา > Transparency effects ให้เลือกเป็น Off และ Animation effectss ก็เป็น Off เช่นเดียวกัน

คอมช้า

นอกจากนี้คุณอาจจะเลือกการตั้งค่า Theme เป็นแบบสีพื้น ไม่ต้องมีการเปลี่ยนไปมาแบบ Slide พร้อมกันไปด้วย อาจดูเรียบง่ายธรรมดา แต่ก็ช่วยให้ไหลลื่นมากขึ้น


6.สแกนระบบอย่างสม่ำเสมอ

บางครั้งที่เราเจอกับปัญหาคอมช้า คอมกระตุก อาจจะไม่ได้เกิดจากฮาร์ดแวร์เสีย ทำงานบกพร่องหรือไดรฟ์เต็มเพียงเท่านั้น แต่บางครั้งอาจเกิดจากความบกพร่องของระบบหรือซอฟต์แวร์ ที่ทำงานผิดปกติ มีสิ่งที่รบกวนการทำงาน หลังจากที่คุณทำการอัพเดตไดรเวอร์หรือ Windows Updates ไปแล้ว ก็อยากให้เพิ่มในส่วนของ Windows Security, Internet Security หรือบรรดาป้องกันไวรัส มัลแวร์เอาไว้ด้วย และอย่าลืมสั่ง Scan ทั้งหมด

คอมช้า

Scan Virus: ไวรัส มัลแวร์ โทรจัน มีส่วนอย่างมากในการรบกวนระบบ ทำให้คอมช้า คอมกระตุกได้เช่นกัน ยิ่งบางครั้งแฝงตัวอยู่แอบทำงานเบื้องหลัง ไม่ให้เรารู้ กว่าจะไปไล่หาเจอว่าตัวไหน บางทีก็ช้าไป ใช้การสแกนหาง่ายกว่าเยอะ จะใช้ Windows Security หรือ Internet Security หรือ Anti Virus มาช่วยเสริมก็ดีไม่น้อย

เลือกใช้ Anti-Virus ที่เหมาะสมกับระบบของคุณ ซึ่งมีทั้งป้องกันไวรัส และแบบครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อต่างๆ เช่น Internet Security สำหรับผู้ใช้ที่มีธุรกรรมและการทำงานออนไลน์เต็มรูปแบบ เลือกที่มีการอัพเดตได้บ่อย เพื่อเพิ่มความทันสมัยในการตรวจจับภัยคุกคาม และหมั่นสแกนไวรัสแบบละเอียด หรือตั้งค่าการ Scan ให้ไม่กระทบต่อการใช้งานในแต่ละวันของคุณ

คอมช้า

Error checking: เพื่อ Scan ระบบเช็คความผิดปกติ เป็นตัวช่วยที่ดี ในการแก้ปัญหาจะซอฟต์แวร์ หรือระบบ เมื่อเกิดขึ้นในขณะที่ใช้งาน ซึ่งส่งผลต่อระบบ ทำให้คอมช้า คอมกระตุกได้เช่นกัน โดยวิธีใช้ตามขั้นตอนนี้ เปิด File Explorer (กดปุ่ม Win+E) จากนั้นคลิ๊กขวาที่ไดรฟ์ C: แล้วเลือก Properties > เข้าไปที่แท็ป Tools > คลิ๊กที่ Error checking แล้วคลิ๊กที่ Check รอจนกว่าระบบจะทำงานเสร็จสิ้น

คอมช้า

Optimize: เป็นการเสริมระบบการทำงานได้เช่นกัน ใช้วิธีเดียวกับการทำ Error checking เมื่อเข้าไปที่แท็ป Tools > ให้เลือกที่ Optimized and Defragment Drive แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Optimized

คอเกมที่อยากเล่นเกมลื่นๆ มาทางนี้เลยครับ ทิปเล่นเกมลื่น


7.เช็ค Error Code เมื่อเกิดจอฟ้า

ปัญหาจอฟ้า เป็นผลข้างเคียง เมื่อคอมช้า ซึ่งอาจเกิดจากไฟล์ระบบหรือฮาร์ดแวร์ทำงานไม่เข้ากัน หรือไฟล์ระบบบางตัวเสีย ซึ่งจะมีผลออกมาในแต่ละ Code ไม่เหมือนกัน เราสามารถสังเกตรหัสที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาได้ง่ายขึ้น

คอมช้า

แต่ก่อนที่จะไปเช็ค Code ของ BSOD ได้นั้น คุณต้องมองเห็น Code ได้ทัน แต่ส่วนใหญ่ ระบบมักจะรีสตาร์ท จนเรามองไม่ทัน ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำก็คือ ให้ระบบค้างหน้าจอ Stop Code ไม่ต้องรีสตาร์ท เมื่อเกิดปัญหากับระบบ ไม่ว่าจะเป็น Error หรือ BSOD ก็ตาม ให้ค้างหน้าจอเอาไว้นิ่งๆ วิธีการคือ

วิธีหยุดไม่ให้ระบบรีสตาร์ทอัตโนมัติ: เข้าไปที่ Control Panel จากนั้นเลือก System and Security จากนั้นเลือก System ไปที่ Advanced system settings คลิ๊กที่ Settings แล้วเลื่อนลงมาด้านล่าง ให้เอาเครื่องหมายหน้า Automatically restart แล้วคลิ๊ก Ok เพื่อบันทึกการตั้งค่า

วิธีการแก้ไข

สามารถหาข้อมูล Stop Code เพิ่มเติมมากกว่า 300 Code จากทาง Microsoft

สามารถเช็ค Stop Code ได้ตามข้อมูลในตารางนี้

Error Cause Solution
DATA_BUS_ERROR

Memory failure Check RAM stick function with MemTest, replace hardware if necessary
INACCESSIBLE_BOOT_DEVICE
 

 

Missing driver

Virus/Malware

Update or install driver

Antivirus scan, Switch from “IDE” to “AHCI” in BIOS under “SATA Mode Selection”

UNEXPECTED_KERNEL_MODE_TRAP Hardware error

Temperature too high

Uninstall and reinstall device driver (primarily for recently added devices)

Check fan performance, clean PC or check environment if necessary

NTFS_FILE_SYSTEM

High CPU memory usage Search for costly processes in the Task Manager; uninstall/reinstall programs in question if necessary; check hard drive on which Windows is installed for errors in Windows processes (Right-click, then “Properties”, “Tools”, and “Check”)
IRQL_NOT_LESS_OR_EQUAL

Incompatible or outdated device driver Deactivate drivers for recently installed devices via the device manager (search and run “mmc devmgmt.msc” command in Start menu); then obtain the newest version of the driver from the device manufacturer and install
BAD_POOL_CALLER

Unwanted memory access Deactivate drivers for recently installed devices (see above); then obtain the newest version of the driver from the device manufacturer and install
FAT_FILE_SYSTEM

Corrupt file system Check hard drive function; search and run “chkdsk” in Start menu
OUT_OF_MEMORY

Memory failure Check RAM stick function with MemTest, replace hardware if necessary
PAGE_FAULT_IN_NON_PAGED_AREA

Memory failure Check RAM stick function with MemTest, replace hardware if necessary
UNABLE_TO_LOAD_DEVICE_DRIVER

Defective device driver Deactivate drivers for recently installed devices (see above); then obtain the newest version of the driver from the device manufacturer and install
KMODE_EXCEPTION_NOT_HANDLED

 

Defective software

With .sys file: System file error

Uninstall/reinstall recently used software (newest or system-compatible version)

For system file error: Run Windows Repair Tool (see below: “Check and repair system files”)

ที่มา: ionos.com

Conclusion

สรุปส่งท้ายสำหรับคนที่เจอปัญหาคอมช้า คอมกระตุก ก็อย่าเพิ่งตระหนกไปว่าเจอกับปัญหาใหญ่ บางครั้งแค่รีสตาร์ทเครื่องใหม่ ก็กลับมาไหลลื่นได้เหมือนเดิมแล้ว เพียงแต่ขั้นตอนต่างๆ ที่เราแนะนำมานี้ บางอย่างก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำในภายหลัง และยังช่วยให้การทำงานไหลลื่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปิดหรือลบโปรแกรมบางอย่าง ที่แอบทำงานเบื้องหลัง หรือการป้องกันไวรัส และบรรดามัลแวร์ ที่มักจะสร้างความรำคาญ และเข้ามาล้วงตับข้อมูลของคุณได้ การอัพเดตและการสแกนบ่อยๆ จะช่วยให้เครื่องของคุณปลอดภัย ใช้งานได้อย่างอุ่นใจ สุดท้ายคือ การจัดเรียงไฟล์ ให้เป็นหมวดหมู่ จะช่วยให้คุณทราบว่า ไฟล์ไหนควรเก็บ ไฟล์ใดควรลบ จะได้ไม่รกพื้นที่ภายในเครื่อง และทำให้คอมช้าลงนั่นเองครับ

from:https://notebookspec.com/web/688897-7-tip-solve-problems-pc-slowdown

โปรแกรมเช็คคอมฟรี 9 รายการ ติดเครื่องไว้ เช็คสเปค ประสิทธิภาพ ความผิดปกติพีซี โน๊ตบุ๊ค 2021

โปรแกรมเช็คคอมฟรี 9 รายการ ติดเครื่องไว้ เช็คสเปค ประสิทธิภาพ ความผิดปกติพีซี โน๊ตบุ๊ค 2021

Free software check pc 2021 cov1

โปรแกรมเช็คคอมฟรี มีให้เลือกมากมายให้เลือกดาวน์โหลดมาใช้งานได้ แต่จะมีโปรแกรมหลักๆ ที่เป็นที่นิยมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนหนึ่งที่หลายคนชื่นชอบโปรแกรมเหล่านี้ก็เพราะ นอกจากจะฟรี ใช้งานง่ายแล้ว ก็ยังให้รายละเอียดในการตรวจเช็ค หรือทดสอบในเบื้องต้นได้อีกด้วย ซึ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องดาวน์โหลดโปรแกรมอื่นๆ มาให้เปลืองพื้นที่ของระบบ ซึ่งหลายคนอาจจะใช้ SSD ที่ไม่ได้มีพื้นที่มากนัก หากจะติดตั้งโปรแกรมจำนวนมาก ก็อาจจะไม่สะดวกมากนัก ดังนั้นแล้ววันนี้เราได้เลือก 10 โปรแกรมตรวจเช็คสเปคคอม และการตรวจสอบประสิทธิภาพฮาร์ดแวร์ มาเป็นทางเลือกกัน ที่สำคัญคือ ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่สามารถดูข้อมูล ซีพียู แรม การ์ดจอ SSD ไปจนถึงเรื่องของอุณหภูมิได้อีกด้วย ส่วนจะมีโปรแกรมใดบ้าง มาชมกันได้เลย

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

  1. CPU-z
  2. GPU-z
  3. OCCT
  4. CrystalDiskInfo
  5. DPT
  6. HWMonitor
  7. SidebarDiagnostics
  8. HWiNFO
  9. Task Manager

1.CPU-z

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

เรียกว่าเป็นโปรแกรมเช็คคอมฟรียอดฮิต ติดอันดับตลอดกาล สำหรับคนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์พีซี หรือโน๊ตบุ๊คก็ตาม เพราะเป็นโปรแกรมสามัญประจำบ้าน ใช้ได้ตั้งแต่การตรวจสอบสเปค ซีพียู เมนบอร์ด ชิปเซ็ต การ์ดจอและแรม ครอบจักรวาล และยังลงลึกในรายละเอียดตั้งแต่ความเร็ว แกนหลัก บัส หรือแม้กระทั่งการทดสอบประสิทธิภาพซีพียูแบบง่ายๆ ก็ตาม โดยจะประกอบไปด้วยแท็ปต่างๆ จำนวน 7 ฟังก์ชั่น อันได้แก่ CPU, Cache, Mainboard, Memory, SPD, Graphic และ Bench

  • CPU – แสดงรายการของสเปคซีพียูที่มีอยู่ในเครื่อง แยกย่อยออกเป็น ชื่อรุ่น โค๊ตเนม กระบวนการผลิต ความเร็วบัส ตัวคูณ และแคช
  • Cache – แจ้งรายการของ Cache ที่มีอยู่ในซีพียูแต่ละรุ่น ซึ่งสามารถใช้เป็นรายละเอียดอ้างอิงในการตรวจสอบซีพียูให้ตรงรุ่นได้
  • Mainboard – บอกชิปเซ็ต ชื่อเมนบอร์ด และรุ่น ซีรีส์ รวมถึง PCIe Interface
  • Memory – ขนาดความจุของแรม และความเร็วบัส โดยบอกลึกลงไปถึงสล็อตที่ติดตั้ง ผู้ผลิต วันเดือนปี
  • SPD – จะต่อเนื่องมาจากช่อง Memory แต่จะรายงานข้อมูลแรมที่ติดตั้งอยู่ในแต่ละสล็อตให้ชัดเจน และรายละเอียดมาตรฐาน JEDEC ที่ทำให้ตรวจเช็คข้อมูลได้แม่นยำมากขึ้น
  • Graphic – เป็นตัวช่วยเพื่อเช็คข้อมูลของกราฟิกที่ติดตั้งมาบนซีพียู หรือการ์ดจอแยก ที่ถือว่าให้ข้อมูลได้ดีพอสมควร ทำให้ผู้ใช้สามารถนำมาใช้ในการตรวจเช็คสเปค และการอัพเดตไดรเวอร์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น
  • Bench – การทดสอบความสามารถของซีพียู ซึ่งแบ่งออกเป็นการทดสอบความเร็วสัญญาณนาฬิกา มีฐานข้อมูลในการเปรียบเทียบกับซีพียูรุ่นต่างๆ มีทั้งแบบ Single-thread และ Multi-thread รวมถึงการทดสอบเสถียรภาพ ด้วยการรันซีพียูเป็นต่อเนื่อง เป็นเวลานานได้อีกด้วย

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ CPUz


2.GPU-z

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

โปรแกรมเช็คการ์ดจอของพีซีและโน๊ตบุ๊คว่าในเครื่องมีการ์ดจอรุ่นไหนบ้าง มีฟีเจอร์ Sensors สำหรับเช็คความเร็วและความร้อนของการ์ดจอโดยเฉพาะ ถ้าโน๊ตบุ๊คเครื่องไหนมีการ์ดจอแยกจะเลือกคลิกดูได้ที่แท็บล่างซ้ายเพื่อเลือกดูระหว่างการ์ดจอแยกและออนบอร์ดได้เลย ไม่ว่าจะเป็น ชิปกราฟิก กระบวนการผลิต ไปจนถึงข้อมูลเชิงลึกในสถาปัตยกรรมของ GPU ไม่ว่าจะเป็น Shader, Memory type, GPU clock หรือจะเป็นความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ GPU ได้ทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่า มีความแม่นยำสูง ด้วยฐานข้อมูลที่แน่น

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

ส่วนในหน้า Sensors จะแสดงค่า GPU Clock, Memory Clock รวมถึงความร้อนและความเร็วพัดลมระบายความร้อนการ์ดจอว่าสถานะปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งหน้า Sensors จะเปลี่ยนตามหน้า Graphic Card ที่เราเลือกเอาไว้ว่าจะดูการ์ดจอแยกหรือออนบอร์ด แต่ก็เลือกเปลี่ยนได้ สามารถบอกรายละเอียดสถานะของกราฟิกการ์ดแบบเรียลไทม์ ทั้งในเรื่องความเร็ว โหลดกราฟิกที่ใช้ไป อุณหภูมิ และการใช้หน่วยความจำ ซึ่งมีไม่กี่โปรแกรมเท่านั้น ที่จะบอกรายละเอียดได้ระดับนี้ และกรณีที่ผู้ใช้มีกราฟิกมากกว่า 1 ตัวขึ้นไป เช่น โน๊ตบุ๊คที่มีทั้งกราฟิกออนซีพียู และกราฟิกแยก ก็เลือกเช็คทีละตัวได้เลย มีความสะดวกต่อการใช้งานได้ไม่น้อย และยังเป็นโปรแกรมตัวเล็ก ไม่เปลืองทรัพยากรในการทำงาน


3.OCCT

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

โปรแกรมเช็คคอมฟรี ที่มีประโยชน์อย่างมาก นอกจากจะใช้ในการตรวจเช็คฮาร์ดแวร์ได้แบบฟรีๆ ใช้งานง่าย บอกรายละเอียดได้แบบลงลึกแล้ว ก็ยังทำหน้าที่ในการตรวจเช็คฮาร์ดแวร์ รวมถึงการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู การ์ดจอ แรมและอื่นๆ มาให้อีกด้วย วิธีง่ายๆ ก็คือ เข้าไปดาวน์โหลด OCCT เมื่อเริ่มการทำงาน หากต้องการดูสเปค เช็คฮาร์ดแวร์ ให้คลิ๊กที่แท็ป System แบบตัวอย่างหน้าจอ โปรแกรมจะรายงานบรรดาฮาร์ดแวร์หลักๆ มาให้เห็นเกือบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู เมนบอร์ด แรม การ์ดจอ และอื่นๆ เอามาใช้ทดสอบเพื่อเช็คปัญหาของระบบได้

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

โดยถือว่าเป็นอีกซอฟต์แวร์ ที่มีฐานข้อมูลค่อนข้างแน่นเลยทีเดียว สังเกตได้ว่า มีทั้งข้อมูลชิปเซ็ต เม็ดแรม และคอนโทรลเลอร์ต่างๆ มาให้ได้ทราบ แต่ที่น่าสนใจคือในแท็ป Test schedule ที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ ยังทดสอบความร้อนและเสถียรภาพให้กับซีพียู การ์ดจอที่อยู่ในโน๊ตบุ๊คหรือพีซีได้อีกด้วย รวมไปถึงการรายงานแรงดันไฟ และความเร็วสัญญาณนาฬิกาให้อีกด้วย แม้จะให้ใช้ฟรีๆ แต่ถ้าใครอยากจะได้ฟีเจอร์เพิ่มขึ้น เช่น การรายงานผลทดสอบและไม่ต้องรอเวลาก่อนเริ่มทดสอบ ก็สามารถสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายให้กับผู้พัฒนากันได้


4.CrystalDiskInfo

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

เป็นโปรแกรมเช็คการทำงานของ SSD ทำหน้าที่ตรวจสอบตรวจเช็ค ความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เป็น SSD เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งแบบภายในเครื่อง หรือจะต่อภายนอกในแบบ External SSD ก็ตาม แบบละเอียดยิบเลยทีเดียว ตั้งแต่ในเรื่องของเฟิร์มแวร์ อินเทอร์เฟสการเชื่อมต่อ รวมไปถึงบรรดาฟีเจอร์ตต่างๆ ของ Storage ที่คุณใช้ ซึ่งมีประโยชน์ในแง่ของการอัพเกรดหรือต้องการเปลี่ยนไดรฟ์ใหม่ จะได้ซื้อได้อย่างถูกต้อง รวมถึงนำมาใช้เช็คปัญหาเช่น บูตเครื่องไม่เข้าวินโดว์หรือจอดำ เป็นต้น

แต่ที่น่าสนใจก็คือ โปรแกรมเช็คคอมฟรีนี้สามารถที่จะดูข้อมูลถึงระบบภายใน ลึกเข้าไปในส่วนของ ชื่อรุ่นและซีรีส์, ขนาดความจุ, เวอร์ชันของ Firmware, Serial Number, ขนาดของ Buffer, จำนวนรอบที่หมุนต่อนาที, จำนวนชั่วโมงที่เปิดใช้งานต่อเนื่อง (Power on hours) ทั้งยังบอกอุณหภูมิแบบเรียลไทม์ ที่มุมด้านบนซ้าย พร้อมประเมินสถานะหรือสุขภาพทั่วไปในขณะเวลานั้น (Health Status) และค่าอื่นๆ

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

ถามว่าตรงจุดไหนที่โดดเด่น และเหมาะกับการใช้งานบ้าง ก็คงต้องเริ่มกันตั้งแต่ อุณหภูมิ ที่ให้เช็คว่าไดรฟ์ของเรายังอยู่ดีหรือไม่ การจัดวางและการระบายความร้อนทำได้ดีหรือเปล่า ไปจนถึง Power On Hours หรือใช้งานมานานเท่าไรแล้ว กี่ชั่วโมงอย่างน้อยเอาไปเทียบกับการใช้งาน เพื่อดูว่าเราอาจจะต้องเตรียมพร้อมสำรองข้อมูลเอาไว้ก่อนหรือไม่ จากการใช้งานไดรฟ์มายาวนานนั่นเอง และสุดท้ายคือ ในช่องด้านล่าง ที่จะมีบอกความผิดพลาดในการทำงาน เช่น การอ่าน/เขียนข้อมูล และความผิดปกติ ที่ระบบจะรายงานให้ทราบ เพื่อทำการแก้ไขต่อไป


5.DPT (Dead Pixel Test)

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

ซอฟต์แวร์เล็กๆ ที่มีติดเครื่องหรือแฟลชไดรฟ์ไว้ได้ ช่วยให้คุณตรวจเช็คความผิดปกติของหน้าจอแสดงผลหรือจอคอมได้ดีทีเดียว โดยหลักๆ จะเป็นการเช็ค Dead หรือ Hot/ Bright pixels หรือลักษณะของจุดสว่างหรือดับของเม็ดพิกเซล ที่บางทีเราอาจไม่แน่ใจว่า เกิดจากฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ผิดปกติ ซึ่งจะช่วยให้เราระวัง หรือเอาไปเคลมได้ ในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้นจริงๆ โดยในซอฟต์แวร์ DPT นี้ จะมีรายละเอียดในการตรวจเช็คหลายรูปแบบเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การปรับหน้าจอเป็นสีต่างๆ โดยเป็นแม่สีหลักๆ เพื่อดูว่าแสดงสีได้ตามปกติหรือไม่ หรือสีเพี้ยนในจุดใดจุดหนึ่ง รวมถึงความโค้ง การไล่สี การแสดงเฉดสี และการแสดงผลรูปวงกลม เส้นตรง

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

ถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีฟังก์ชั่นการตรวจเช็คหน้าจออยู่อย่างครบครัน แต่อย่างไรก็ดี โปรแกรมนี้ไม่ได้ใช้ในการคาลิเบรตหน้าจอ เพราะการทำงานคนละแบบกัน หากต้องการปรับแต่งหรือตรวจเช็ค การแสดงสีที่ถูกต้องแม่นยำ ก็ต้องใช้อุปกรณ์ในการตรวจเช็คโดยเฉพาะ เช่น Spyder คู่กับซอฟต์แวร์ในการทำงานนั่นเอง


6.HWMonitor

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

เป็นอีกโโปรแกรมเช็คคอมฟรีจาก CPUID ที่เรียกว่ามีประโยชน์ค่อนข้างมาก เพราะช่วยทั้งการเช็คฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบการทำงานของระบบไปพร้อมๆ กันกับอาการบางอย่างเช่น คอมดับเอง โดยที่ไม่ต้องมีอะไรซับซ้อน เพราะตัวโปรแกรมมีขนาดเล็ก และเมนูไม่กี่ชุดเท่านั้น หลักๆ จะอยู่ในส่วนของ Sensor ซึ่งจะใช้ในการตรวจเช็ค ความเร็ว ความร้อน แรงดันไฟ และบรรดา Core/ Thread ต่างๆ ให้เราได้ทราบถึงการทำงานของระบบปกติดีออยู่หรือไม่ โดยจะบอกเป็นค่า Min (ต่ำสุด), Max (สูงสุด) และ Value ซึ่งจะบอกเป็นแบบเรียลไทม์ แบ่งออกเป็น CPU Voltage, Temp, Power การใช้พลังงาน และ Utilization นั่นคือ การใช้พลังของซีพียูไปมากน้อยเพียงใด

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

นอกจากนี้ยังรายงานสัญญาณนาฬิกาของซีพียูไว้อีกด้วย หรือใครที่ใช้ SSD ก็จะมีแจ้งอุณหภูมิ และการใช้งานในช่วงนั้นๆ รวมไปถึงความเร็วของกราฟิกการ์ด หน่วยความจำ และอุณหภูมิการ์ดจอ เช่นเดียวกับแบตเตอรี่ก็มีบอกไว้บนโปรแกรมนี้ ซึ่งจะบอกถึงความจุแบต แรงดันไฟ และอื่นๆ เช่นเดียวกับเมนบอร์ดด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะไม่ได้บอกรายละเอียดของฮาร์ดแวร์ได้อย่างละเอียดก็ตาม แต่ถ้ามองในแง่ของสถานะในการทำงานของระบบ จัดว่าเป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่น่าสนใจ


โปรแกรมเช็คคอมฟรี

เป็นโปรแกรมเช็คคอมฟรี ที่ช่วยรายงานสถานะของคอมพิวเตอร์ได้ในแบบเรียลไทม์ และครบครัน ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม กราฟิกการ์ด และ Storage ซึ่งในแต่ละส่วนนั้น บอกรายละเอียดอย่างชัดเจน แต่ที่สำคัญคือ สามารถสแตนบายเป็นแบบ Gadget ปรากฏอยู่บนหน้าจอได้ตลอดเวลา โดยให้เราเลือกได้ว่า จะให้อยู่ทางซ้ายหรือขวาของหน้าจอ แต่ก็จะกินพื้นที่ของหน้าจอไปบ้าง แต่จะมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการตั้งค่า Width ของคุณ ว่าจะให้พื้นที่กว้างเพียงใด และใช้ฟอนต์ขนาดใหญ่แค่ไหน ซึ่งแน่นอนว่าหากต้องการจะให้เห็นภาพและข้อมูลที่ชัด ก็ต้องปรับให้ใหญ่ อาจทำให้เสียพื้นที่ใช้งานมากไปนั่นเอง

ส่วนรายละเอียดที่โปรแกรมนี้สามารถรายงานได้ ไม่เพียงแค่ ชื่อรุ่นและซีรีส์ของฮาร์ดแวร์ที่อยู่ในเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเร็วสัญญาณนาฬิกา บัสและการใช้งานในแบบเรียลไทม์ เรียกว่าถูกใช้ไปกี่เปอร์เซนต์ก็บอกได้หมด รวมถึงการใช้แรม ความจุถูกใช้เท่าไร เหลือเท่าไร ไปจนถึงความจุในไดรฟ์ จะมีกี่ไดรฟ์ ก็สามารถแจ้งให้เราทราบได้ ที่สำคัญการเชื่อมต่อเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น WiFi หรือ Ethernet ก็ตาม รวมไปถึงเรื่องของอุณหภูมิในอุปกรณ์แต่ละชิ้น ช่วยให้ผู้ใช้มอนิเตอร์ตรวจเช็คได้ง่ายขึ้น


8.HWiNFO

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

HWiNFO เป็นโปรแกรมในการ เช็คคอมพิวเตอร์ ดูฮาร์ดแวร์ หรือความร้อน โดยเป็นไฟล์ขนาดเล็ก ไม่ต้องติดตั้ง เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งซื้อคอม หรือมือเก่าที่ใช้คอมมานาน ให้คุณตรวจเช็คคอม ดูฮาร์ดแวร์ภายในเครื่อง และตรวจสอบอุณหภูมิ ล่าสุดออกเวอร์ชั่นใหม่แล้ว เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา จะมีให้เลือก 2 หัวข้อ คือ

  • System summary: บอกรายละเอียดของฮาร์ดแวร์สำคัญ อาทิ ซีพียู แรม เมนบอร์ด และกราฟิกการ์ด ว่ากันตั้งแต่ชื่อรุ่น สถาปัตยกรรม ฟีเจอร์ ไปจนถึงแคชและความเร็ว บอกชิปเซ็ตเมนอร์ด โมดูลแรมที่แจกแจงรายละเอียดไว้ครบครัน ไปจนถึงกราฟิกการ์ด ที่เรียกว่าเจาะลึกถึงรายละเอียด ในโมเดลต่างๆ ที่ปราฏขึ้นในเครื่องของคุณ บอกทุกอย่างครบจบในหน้าเดียว
  • Sensor: จะเจาะลึกลงในสถานะของฮาร์ดแวร์ ไม่ว่าจะเป็นระดับการทำงาน CPU usage, GPU, Memory timing, Drive และอื่นๆ นอกจากนี้ยังรายงานอุณหภูมิในการทำงานเวลานั้นๆ โหลดที่ใช้งานอยู่ และการเชื่อมต่อเครือข่าย รวมถึงการใช้แบตเตอรี่บนโน๊ตบุ๊คอีกด้วย เอาใจคนที่อยากได้สิ่งที่มากกว่าการบอกสเปคเพียงอย่างเดียว

หากต้องการเช็คฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งภายในเครื่อง เพื่อทำการอัพเกรดหรือเช็คว่ายังทำงานอยู่ตามปกติหรือไม่ รวมถึงเผื่อไว้สำหรับการซื้ออุปกรณ์มาเปลี่ยน จะได้ข้อมูลที่แม่นยำ เพราะในหน้านี้ จะบอกตั้งแต่ซีพียู รุ่น เทคโนโลยี และความเร็วบัส รวมไปถึงค่า CL ของแรม ที่สำคัญบอกกระทั่งกราฟิกบนซีพียู หรือที่เรียกกันว่าการ์ดจอออนบอร์ด และการ์ดจอแยก เรียกว่าละเอียดยิบ

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

จุดที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การรายงานค่าอุณหภูมิ แรงดันไฟ และความเร็วบัส แบบละเอียดยิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใครที่อยากตรวจเช็คว่า ความร้อนเกิดจากตรงไหน หรือเอามาช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุ เมื่อเครื่องเกิดปัญหา แฮงก์ ค้าง ดับ รวมถึงเมื่อเครื่องกระตุก อย่างเช่นในภาพแรกนี้ สามารถบอกอุณหภูมิของซีพียูในจุดต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ ว่ากันไปที่แรงดันไฟของซีพียู และกราฟิก รวมถึงระดับการ Process ของซีพียูในแต่ละคอร์ได้อีกด้วย

ระดับการทำงานของแรม ว่าใช้ไปเท่าไร กี่เปอร์เซนต์ เพื่อใช้ในการประเมินว่า แรมที่ใช้นั้นเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ และสุดท้ายแล้วจะต้องเพิ่มแรมด้วยหรือเปล่า จากนั้นจะเป็นสถานะสัญญาณนาฬิกา แรงดันไฟ และระดับการ Process ของซีพียู ค่อนข้างจะมีความสำคัญ เมื่อต้องการเช็คสถานะ ว่ามีสิ่งใดผิดปกติ หรือใช้ตรวจเช็คหลังจากที่โอเวอร์คล็อกได้เลย

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

และอีกส่วนหนึ่งจะใช้ในการตรวจเช็คระดับการทำงานของ GPU หรือชุดประมวลผลกราฟิก ในที่นี้จะรวมไปถึงการทำงานของ iGPU หรือ APU และกราฟิกแยกที่ใช้อยู่ในระบบอีกด้วย และที่น่าสนใจคือ บอกระดับของแบตเตอรี่ในเครื่อง ในกรณีที่ใช้โน๊ตบุ๊ค รวมไปถึงแบนด์วิทธิ์ในการดาวน์โหลดและอัพโหลดในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย


9.Task Manager

โปรแกรมเช็คคอมฟรี

ถ้าใครอยากจะตรวจเช็คทั้งสเปคและสถานะของระบบคอมไปด้วย Task Manager ช่วยคุณได้ และยังง่ายอีกด้วย แค่กดปุ่ม Ctrl+Shift+Esc พร้อมกันทั้ง 3 ปุ่มนี้ จากนั้นเลือกที่แท็บ Performance คุณก็จะได้เห็นรายละเอียดของฮาร์ดแวร์หลักๆ ที่มีอยู่ในฟีเจอร์นี้ได้เลย ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู, แรม, Storage ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์หรือ SSD, WiFi ไปจนถึงกราฟิกการ์ด ที่เรียกว่าเพิ่มถูกเพิ่มเติมเข้ามา จุดที่น่าสนใจของ Task Manager นี้ นอกจากจะให้คุณได้เห็นรายละเอียดของ ไม่ว่าจะเป็น ความเร็วสัญญาณนาฬิกา ความจุแรม ฮาร์ดดิสก์ หรือรุ่นของกราฟิกการ์ดแล้ว ก็ยังสามารถบอกสถานะการทำงานได้อีกด้วยในแต่ละหัวข้อ

  • CPU: บอกความเร็วสัญญาณนาฬิกาแบบเรียลไทม์ รวมถึง Core/ Thread และสถานะในปัจจุบัน
  • Memory: บอกความจุรวม ความจุที่ถูกใช้ไป ความเร็วในการทำงาน
  • Disk: บอกถึงฮาร์ดดิสก์หรือ SSD ที่คุณใช้ มีกี่ไดรฟ์ ก็รายงานให้ครบ รวมถึงสถานะในการทำงาน ความเร็วและอัตราการตอบสนอง เมื่อมีการโอนถ่ายข้อมูล
  • GPU: บอกความเร็วในการทำงาน สถานะการทำงาน โหลดข้อมูล และหน่วยความจำที่ใช้ไป นอกเหนือจากโมเดลที่รุ่นของกราฟิกการ์ด ไม่ว่าจะเป็นกราฟิกออนซีพียู หรือกราฟิกการ์ดแบบแยกก็ตาม
  • Performance ใน Task Manager นี้ ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่ครบเครื่องครบครัน สำหรับการตรวจเช็คฮาร์ดแวร์ และดูสเปคคอมได้ดีในระดับหนึ่ง แม้จะไม่ได้รายงานฮาร์ดแวร์ทุกตัวในเครื่อง แต่ก็ใช้ในการเช็คประสิทธิภาพและสถานะในการทำงานว่าปกติดีหรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้องไปหาโปรแกรมอื่นๆ มาติดตั้ง
โปรแกรมเช็คคอมฟรี

แต่ถ้าในกรณีที่ต้องการให้แสดงขึ้นมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม HDD WiFi หรือ GPU ก็ให้เลือก Always on top เช่นเดิม แต่ดับเบิลคลิ๊กที่แถบว่างๆ ด้านซ้ายมือแทน เมื่อดับเบิลคลิ๊กแล้ว ก็จะปรากฏหน้าต่างของอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมาให้เห็นทั้งหมด บนหน้าเดสก์ทอป ส่วนถ้าต้องการปิดหรือให้กลับเหมือนเดิม ก็แค่ดับเบิลคลิ๊กบนหน้าต่างนี้ แล้วเลือก Minimize on use แล้วเอาเครื่องหมายหน้า Always on top ออกเท่านั้น

ในกรณีที่ใช้งาน Normal mode แล้วจะเปลี่ยนไปใช้ Graph mode หรือในทางกลับกัน ก็สามารถดับเบิลคลิ๊กตรงพื้นที่วางในตาราง เพื่อสลับโหมดได้ง่ายยิ่งขึ้น


Conclusion

ASUS AiO V222FAK tie in 6

ของฟรีใครก็ชอบจริงมั้ยครับ? สำหรับ 9 โปรแกรมเช็คคอมฟรี ที่เอามานำเสนอนี้ ก็เรียกว่าแทบจะเช็คได้เกือบทุกฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ในเครื่อง แต่จะลึกมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ เพราะบางตัวอาจจะใช้ดูแบบง่ายๆ ทำงานแบบไม่ซับซ้อน เอาไว้สำหรับการตรวจเช็คทั่วไปได้ เช่น DPT, CPUz หรือจะเป็น Task Manager ก็ตาม แต่ถ้าต้องการลงลึกไปในรายละเอียด หรือว่ามีการรายงานข้อมูลกันแบบเรียลไทม์ เช่น ดูข้อมูลฮาร์ดแวร์ ความเร็ว บัส หรือแรงดันไฟ ก็มีทั้ง HWMonitor, SidebarDiagnostics หรือ HWiNFO ก็บอกได้ค่อนข้างละเอียดเลยทีเดียว สำหรับใช้แก้ปัญหาคอม ได้สะดวกยิ่งขึ้น

แต่ถ้าต้องการใช้ทดสอบเรื่องประสิทธิภาพ อุณหภูมิ ต้องการเช็คชัวร์ ด้วยการ Stress Test ก็จะมี OCCT ที่ใช้ได้ดีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หรือกราฟิกก็ตาม อีกทั้งรายงานข้อมูลให้เห็นอย่างชัดเจน เลือกเป็น ตัวเลขหรือกราฟก็ได้ แต่โปรแกรมนี้ผู้พัฒนาให้ใช้งานฟรีก็จริง แต่ถ้าคุณใช้แล้วถูกใจ สามารถ Donate หรือบริจาคเพื่อเป็นกำลังใจให้กับคนผลิตได้ครับ ทั้งหมดนี้เป็นโปรแกรมเช็คคอมฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เหมาะกับการติดตั้งไว้ในคอมหรือใส่ไว้ในแฟลชไดรฟ์ ในการใช้งานให้กับคุณได้สะดวก


Notebook 2hand tumb

from:https://notebookspec.com/web/610143-9-free-software-check-pc-2021

คอมช้า เล่นเกมกระตุก Windows 10 แก้ได้ใน 7 ขั้นตอน เพิ่มความเร็ว เกมไหนก็ลื่น!

คอมช้า เล่นเกมกระตุก Windows 10 แก้ได้ใน 7 ขั้นตอน เกมไหนก็ลื่น!

pc notebook lag slow 2021 cov

อาการคอมช้า เกิดขึ้นได้กับคอมทำงานหรือคอมเล่นเกมที่ใช้ในทุกๆ วันนี้อยู่แล้ว แม้ว่าหลายคนไม่อยากจะเจอปัญหานี้ เล่นเกมกระตุก หรือมีปัญหาระหว่างการใช้งาน โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานอย่างเร่งรีบ ลงดันตีกิลล์หรือดวลกับทีมโหดๆ ใน DOTA2, CS:GO หรือจะเป็น Valorant ก็ตาม บางอาการมาตอนที่เลื่อนเมาส์ กระตุกจนโดนเป่าไปหลายรอบ เอาเป็นว่าใครมีปัญหาเหล่านี้ ในช่วงของการใช้งานคอม โน๊ตบุ๊ควันนี้แอดมีวิธีมาช่วยแก้ปัญหาใน 5 ขั้นตอน รับรองว่าจะเป็นแนวทางแก้ไข ที่คุณตรวจเช็คเองได้ และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว เพียงแต่บางช่วงอาจจะต้องปรับปรุงให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ

แก้คอมช้า เล่นเกมกระตุก Windows 10

  1. เช็ค Windows Update
  2. อัพเดตไดรเวอร์
  3. ปรับแต่งซอฟต์แวร์การ์ดจอ
  4. เช็คการทำงานของแรม
  5. ตรวจดูความร้อนซีพียู
  6. ฮาร์ดดิสก์ SSD ทำงานปกติ?
  7. Optimize PC โดยด่วน

1.เช็ค Windows Update

คอมช้า

ข้อแรกนี้ง่ายสุดแล้ว เมื่อคอมช้าเช็คก่อนได้เลย การดูที่ Windows Update นั้น หมายถึงให้เช็คการอัพเดตล่าสุดของวินโดวส์ ที่มีส่วนช่วยแก้ไขอาการผิดปกติต่างๆ ได้มากทีเดียว โดยเข้าไปที่ Settings  > Update & Security   > Windows Update นอกจากนี้แล้ว ที่ต้องสังเกตก็คือ ในหลายครั้ง ผู้ใช้ตั้งการอัพเดตอัตโนมัติ ก็ทำให้ระบบทำงานตาม Schedule เวลา ที่ถูกตั้งเอาไว้เป็นค่า Default ก็มีส่วนทำให้ ระบบอืดหรือกระตุกอยู่บ้าง ในกรณีที่เครื่องมีแรมน้อย หรือใช้ฮาร์ดดิสก์จนตลอดเวลานั่นเอง แก้ไขง่ายๆ คือ รอให้ระบบ Update Windows จนเสร็จสิ้น รีสตาร์ท แล้วจึงกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง


2.อัพเดตไดรเวอร์

ในการเพิ่มประสิทธิภาพลดอาการคอมช้าให้กับพีซีหรือโน๊ตบุ๊ค ไม่ได้มีแค่การอัพเกรดฮาร์ดแวร์ แต่ยังต้องรวมไดรเวอร์เข้าไปด้วย ซึ่งหลายคนอาจเคยประสบปัญหาในการใช้งาน หรืออุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นซีพียู เมนบอร์ด การ์ดจอ ไม่สามารถแสดงศักยภาพได้เต็มที่ เพราะแค่การติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ หรือใช้อุปกรณ์เดิม แต่ถ้าไม่อัพเดตไดรเวอร์ ก็คงจะไม่พอ ส่วนคำถามที่ว่าถ้าไม่อัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอได้หรือไม่ คำตอบคือใช้งานได้ แต่ถ้าไม่ได้อัพเดตนานๆ หรือเป็นเวอร์ชั่นที่เก่ามากๆ บางครั้งอาจมีต่อการเล่นเกมใหม่ๆ หรือเกมเก่าๆ บางเกม ก็อาจกระตุก ไม่ไหลลื่นเท่าที่ควร เพราะฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และไดรเวอร์ทำงานไม่สอดคล้องกัน ระบบจึงจะสามารถ Optimize ให้สามารถขับเคลื่อนการ์ดจอได้อย่างเต็มที่

คอมช้า

นอกจากนี้หากสังเกตข้อมูลในการอัพเดตแต่ละครั้ง ไดรเวอร์จะมาพร้อมการแก้ไขบั๊กหรือความผิดปกติบางอย่าง ที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานซอฟต์แวร์หรือตัวเกม ซึ่งส่งผลให้ระบบทำงานได้ตามปกติ หรือบางครั้งก็เป็นการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามาให้กับคอเกมได้ใช้ รวมไปถึงการปรับแต่งฟีเจอร์ สำหรับการใช้งานที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของภาพในเกม และประสิทธิภาพในการประมวลผล ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การอัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอ มีความสำคัญทั้งในแง่ของการทำให้การ์ดจอตัวเดิมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และการ์ดจอใหม่ ก็ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพนั่นเอง

สำหรับคนที่เริ่มต้นการใช้งานเซ็ตคอมประกอบ พีซีสำเร็จรูปหรือโน๊ตบุ๊คจาก AMD ก็ตาม สามารถเข้าไปดาวน์โหลดไดรเวอร์จาก AMD Driver มาใช้ได้ทันที โดยเข้าไปที่ https://www.amd.com/en/support ตามลิงก์ดังกล่าวนี้ หรือจะใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการค้นหาบน Google ด้วยคำว่า “AMD Driver” ซึ่งจะมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ Radeon Adrenalin 2020 สำหรับใช้ในการปรับแต่ง ตรวจสอบ เช็คข้อผิดพลาด แนวทางแก้ไข รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเล่นเกม ไปจนถึงการใช้งานฟีเจอร์ ที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาให้ใช้งานกันอย่างครบครัน

ส่วนการอัพเดตไดรเวอร์ NVidia Driver 2021 พร้อมวิธีใช้งานต่างๆ เริ่มต้นให้เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์สำหรับดาวน์โหลดไดรเวอร์ nVIDIA แล้วเข้าสู่การเริ่มต้นดาวน์โหลดไดรเวอร์ได้ทันที


3.ปรับแต่งซอฟต์แวร์การ์ดจอ

ส่วนใครที่เป็นแฟนตัวยงของการ์ดจอจาก nVIDIA GeForce และอยากให้กราฟิกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือให้เหมาะกับการใช้งานมากขึ้น ก็ยังมีวิธีในการปรับแต่งแบบง่ายๆ บนไดรเวอร์ ไม่ว่าจะเป็นพีซีเดสก์ทอปหรือโน๊ตบุ๊คก็ตาม ด้วยวิธีการง่ายๆ ในเบื้องต้นดังนี้

คอมช้า

ไปที่ nVIDIA Control Panel เมื่อหน้าต่างนี้ปรากฏขึ้น ให้เลือกเมนู Adjust Image settings with preview ให้หน้านี้จะเป็นการเปลี่ยนการทำงานของ Hardware-accelerated 3D ที่ใช้งานบน Direct3D หรือ OpenGL มีให้เลือกว่าจะเน้น Quality สำหรับความสวยงาม หรือเลือก Performance ถ้าต้องการประสิทธิภาพ

คอมช้า

Manage 3D settings ในส่วนนี้จะให้ผู้ใช้ เลือกการทำงานของกราฟิกการ์ด โดยเฉพาะเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่อาจมีการ์ดจอบนซีพียูและการ์ดจอแยก nVIDIA ซึ่งหากต้องการให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเกมหรือแอพฯ นั้นๆ ดีขึ้น ด้วยการระบุไปเลยว่า หากเปิดแอพฯ นี้ ให้ใช้การ์ดจอแยก ก็สามารถทำได้เช่นกัน

ซึ่งโดยปกติระบบจะมีให้เลือกทั้ง Integrate graphic หรือออนซีพียู, High Performance nVIDIA Processor รวมไปถึง Auto select ซึ่งหากคุณใช้งานโน๊ตบุ๊ค ขณะที่เสียบชาร์จไฟอยู่ ก็สามารถเลือกการ์ดจอแยก nVIDIA ได้เลย แต่ถ้าใช้ข้างนอก ต้องการประหยัดแบตด้วย ก็เลือก Integrate graphic ได้ ส่วนถ้าไม่อยากยุ่งยาก ก็ให้เลือก Auto select ได้เลย

คอมช้า

ส่วนค่าย AMD ก็จะมี Radeon Software Adrenalin 2020 Edition มาพร้อมฟีเจอร์ใหม่ที่ทันสมัย พร้อมแอพพลิเคชั่นด้านเกมมิ่งที่ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมด รวม AMD Driver 2021 ให้ผู้ใช้ควบคุมการใช้งานได้ง่ายขึ้น ทั้งด้านฟีเจอร์และการตั้งค่าการเล่นเกม การสตรีมมิ่ง และอื่นๆ อีกมากมาย เกมเมอร์สามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นการทำงาน ของซอฟต์แวร์โดยตรงแบบเต็มรูปแบบโดยใช้หน้าอินเทอร์เฟซเดียวกันบนคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีหน้าโปรไฟล์ผู้ใช้ใหม่สำหรับผู้ใช้มือใหม่ที่สามารถตั้งค่าการทำงานล่วงหน้าด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว ทำให้เป็นเรื่องง่าย และรวดเร็ว

Radeon Boost จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 23% ลดอาการคอมช้าในระหว่างการเล่นเกมแบบ Fast-Motion โดยลดความละเอียดของภาพแบบไดนามิก เพิ่มเฟรมเรตและความลื่นไหลในการเล่น และเพิ่มการตอบสนองด้วยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของภาพเพียงเล็กน้อย[v] โดยฟีเจอร์ Radoen™ Boost จะเข้าไปรองรับในเกมชั้นนำมากมายเมื่อเปิดตัว และจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

Game Center จะช่วยให้เกมเมอร์สามารถเล่นเกมได้จากศูนย์กลาง โดยไม่ต้องเข้าร้านค้าเกมออนไลน์ สามารถปรับการตั้งค่าซอฟต์แวร์ Radeon Software ในแต่ละเกมได้ และติดตามข้อมูลการเล่นเกม และประสิทธิภาพในการเล่นของคุณได้ นอกจากนี้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ใหม่ จะช่วยให้ผู้ใช้เรียกดูข้อมูลเกม, การแนะนำการใช้งานต่างๆ, วิดีโอสาธิตการใช้งานกราฟิกการ์ด Radeon และอื่นๆ อีกมากมายผ่านทางออนไลน์ได้ โดยที่ไม่ต้องออกจากเกม


4.เช็คการทำงานของแรม

คอมช้า

ข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะบางครั้งใช้ๆ อยู่แรมเสียไม่รู้ตัว จากเดิมมี 8GB แถวละ 4GB จำนวน 2 แถว ใช้ไปแรมพัง เหลือแถวเดียวคือ 4GB สำหรับ Windows 10 แค่ใช้งานเล่นเว็บหรือเปิด Word, Excel อาจจะเริ่มตึงๆ แล้วกับแรมขนาดนี้ ยิ่งพอเข้าเกมหรือเปิดโปรแกรมใหญ่ๆ ก็กระตุกได้อย่างชัดเจน

Task Manager 2

วิธีง่ายๆ ในการเช็คแรม แบบยังไม่ต้องเปิดเครื่องคือ คลิ๊กขวาที่ Menu Start มุมซ้ายของหน้าจอ จากนั้นเลือกที่ System ระบบจะบอกข้อมูลให้คุณได้ทราบว่า แรมยังทำงานปกติหรือไม่ นอกจากนี้ให้เข้าไปดูใน Process Memory ด้วยการกด Ctrl+Shift+Del จากนั้นเลือกที่แท็ป Performance เพื่อดูว่า มีโปรแกรมใดใช้แรมเยอะผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีและโปรแกรมนั้นไม่คุ้นเคย ก็อาจเลือก End task เพื่อปิดการทำงาน และคืนพื้นที่แรมกลับมา (เช็คให้มั่นใจก่อนที่จะ End task)


5.ตรวจดูซีพียูอาจร้อน!

คอมช้า

ความร้อนก็ทำให้คอมช้า คอมกระตุก ได้เช่นกัน เพราะเมื่อความร้อนขึ้นถึงระดับที่สูงผิดปกติ ระบบภายในของซีพียูจะจัดการลด Clock หรือปรับการทำงานใน Stage ของซีพียูใหม่ ใหสอดคล้องกับอุณหภูมิที่เกิดขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้ มักจะเกิดก็ต่อเมื่อ ชุดระบายความร้อนผิดปกติ เช่น พัดลมเสีย ไม่หมุน หมุนช้า ใบพัดลมหัก หรือซิลิโคนที่อยู่ระหว่างฮีตซิงก์กับซีพียูเริ่มเสื่อม และที่เป็นไปได้อีกก็คือ การโอเวอร์คล็อกซีพียู จนเกินขีดจำกัด เมื่ออากาศภายในเคส ไม่สามารถถ่ายเทลมเย็นได้ดี ก็มีส่วนทำให้เกิดอาการแปลกๆ ได้เช่นกัน วิธีการแก้ไขง่ายๆ ใช้โปรแกรม HWMonitor ตรวจเช็คอุณภูมิการทำงาน และเปลี่ยนพัดลมระบายความร้อน เท่าที่จำเป็น เปลี่ยนซิลิโคนใหม่บ้าง เพื่อการถ่ายเทความร้อนได้ดีขึ้น รวมถึงจัดทิศทางการระบายอากาศภายในเคสให้เหมาะสม มีการดึงอากาศเย็นเข้าไปในจุดต่างๆ และนำเอาอากาศร้อนออกไปในปริมาณมากพอ ไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสม


6.ฮาร์ดดิสก์ SSD ทำงานปกติ?

คอมช้า

อาการ คอมช้า คอมกระตุก ก็อาจเกิดจากการทำงานของระบบ Storage ที่ผิดปกติได้เช่นกัน โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานมานาน หรือมีพื้นที่จัดเก็บน้อยมากๆ รวมถึงการใช้งานแบบมัลติทาส์กบ่อย อย่างเช่น เปิดคอมแต่งภาพอยู่ ต้องดึงไฟล์มาใช้ระหว่างนั้นก็ Save file ยังเปิดดูหนัง ฟังเพลง Streaming ไปด้วยพร้อมกัน บางคนยัง Copy file เพิ่มไปอีก ธรรมดาฮาร์ดดิสก์จะต้องลำดับงาน การเลื่อนหัวอ่าน ค้นหาไฟล์แล้ว ต้องมาเจอโหลดแบบบัฟเฟอร์ทำงานไม่ทันกันเลยทีเดียว บางรายก็จัดเก็บข้อมูลเกือบเต็มแล้ว ระบบไม่มีพื้นที่ Swap file แบบนี้อย่างไร ก็ต้องกระตุกขณะที่ใช้

คอมช้า

แต่อีกเคสหนึ่งที่ทำให้คอมช้าได้ก็คือ ฮาร์ดดิสก์อาจใกล้เสีย จึงอ่านเขียนแล้วกระตุก เพราะไม่สามารถอ่านไฟล์จากไดรฟ์ได้ตามปกติ รวมถึงการเคลื่อนย้ายระหว่างที่เครื่องทำงานบ่อย มีการกระแทกหรือเกิดจากอุบัติเหตุ เช่นทำหล่นหรือใช้งานโน๊ตบุ๊คด้วยการ ถอดแบตฯ ออก แล้วต่อไฟตรง เมื่อปลั๊กหลุดก็อาจทำให้ฮาร์ดดิสก์ที่กำลังทำงานอยู่เกิดปัญหาได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊คมีปัญหา จนนำมาสู่อาการ เครื่องค้าง วิธีแก้ ก็มีตั้งแต่ให้ทำ Disk Cleanup เพื่อลบไฟล์ที่ไม่ได้ใช้, การสั่ง Uninstall program และการ Defragment ก็คือ การจัดเรียงไฟล์ให้เป็นระบบ สำหรับการเข้าถึงได้ง่าย และที่สำคัญคือ อย่าลืม Check Disk หรือใช้โปรแกรมอย่าง HDTune ในการเช็คว่ามี Bad Sector บนฮาร์ดดิสก์หรือไม่ ถ้ามีก็ควรหาฮาร์ดดิสก์ใหม่สักลูก หรืออยากได้แบบทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า SSD ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย


7.Optimize PC โดยด่วน

การทำงานในส่วนของการอ่านและบันทึกข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ ในช่วงแรกจะเป็นการบันทึกในลักษณะเรียงกันไปตลอดที่มีพื้นที่ว่างไฟล์ต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์ก็จะเรียงต่อเนื่อง แต่เมื่อใช้งานนานเข้า การลบและบันทึกไฟล์หลายครั้ง ก็จะทำให้เกิดช่องว่างในฮาร์ดดิสก์ Windows ก็จะเขียนข้อมูลเรียงกันไปในพื้นที่ที่ไม่ต่อเนื่องกันตามพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะทำให้หลายครั้งข้อมูลในไฟล์เดียวกันไม่ได้ถูกบันทึกต่อเนื่อง การอ่านและการเขียนในครั้งต่อไปช้าลง ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเรียงข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์ของเรา หรือที่เรียกว่า Disk Defragmenters เพื่อให้สามารถอ่านเขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิสค์ได้เร็วขึ้น วิธีการก็ง่ายๆ คลิ๊กขวาบนไดร์ฟที่เราต้องการ > Properties > Tools > Optimize จากนั้นเลือกไดร์ฟที่เราต้องการ เลือก Optimize อีกครั้ง จากนั้นก็นั่งรอไปครับ จะช้าเร็วขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีและความจุฮาร์ดดิสค์ด้วย (SSD ไม่จำเป็นต้องทำ)

Windows10 Optimize 2021

ปิด Visual Effect ของ Windows: Windows 10 มาพร้อมกับ Visual Effects มากมาย เพื่อเพิ่มความสวยงาม และทำให้ระบบดูทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นแอนิเมชั่น แสงเงาหรือภาพที่ดูหวือหวา เช่น การเบลอ วัตถุโปร่งแสง หรือการแสดงไฮไลต์ และอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Fluent Design แม้ว่าเอฟเฟกต์เหล่านี้ ดูแล้วทำให้น่าสนใจ แต่ก็ต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้น และทำให้ฮาร์ดแวร์ทำงานช้าลง ยิ่งเป็นเครื่องรุ่นเก่า ก็จะเห็นผลได้ชัด การปิดการทำงานของ Visual Effect นี้ ก็จะช่วยเพิ่มความเร็วโน๊ตบุ๊ค พีซีได้อีกทางหนึ่ง มีส่วนช่วยลดปัญหาเกมกระตุกได้อีกด้วย

คอมช้า

เข้าไปที่ Control Panel > System and Security > System เลือกที่ Advance system settings ที่เมนูด้านซ้าย จากนั้นไปที่แท็ป Advanced และคลิ๊กที่ Settings… ในหน้า Visual Effects ให้ใส่เครื่องหมายหน้า Adjust for best performance หรือเลือก Custom แล้วปิด Effect ที่เป็นแอนิเมชั่นของ Windows ให้หมด สิ่งที่ได้ก็คือ ประสิทธิภาพของระบบจะดีขึ้น แต่ก็แลกมาด้วย เอฟเฟกต์สวยๆ ของ Windows จะหายไป แต่เมื่อเลิกเล่นเกม ก็กลับมาเปิดใช้งานใหม่ได้ ใช้ได้ทั้งโน๊ตบุ๊ค พีซีเกมมิ่ง และบางเบา

คอมช้า

ใช้ซอฟต์แวร์ 3rd Party มาช่วยในการจัดการปัญหาได้ เช่น RAZER CORTEX เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการ Boost performance หรือเพิ่มประสิทธิภาพ เร่งความเร็วให้กับระบบ และลดปัญหาเล่นเกมกระตุกได้ จุดเด่นน่าจะอยู่ที่เป็นซอฟต์แวร์จากค่ายเกมมิ่งที่ได้รับการพัฒนามาสำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ ความซับซ้อนน้อย และอินเทอร์เฟสที่ดูเป็นกันเอง ฟังก์ชั่นของ CORTEX ประกอบด้วย Game Booster, System Booster และ RAZER Game Deals การปรับแต่งเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับการเล่นเกม


สุดท้าย ถ้าคอมเก่ามาก ไม่ไหวก็อัพเกรดเถอะ!

Unbox KIOXIA SSD 44

สิ่งสุดท้ายที่อยากให้ทำก็คือ การอัพเกรด เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ยิ่งถ้าคุณใช้งานคอมตัวโปรดมานานพอสมควร และมีการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น จากเดิมเป็นเพียงคนดูวีดีโอบน Youtube แต่ปัจจุบันคุณกลายเป็น ยูทูปเบอร์แบบเต็มตัว แน่นอนว่าจะต้องดึงทรัพยากรเครื่องคุณมาใช้อย่างเต็มพิกัด การเปลี่ยนเครื่องใหม่ ก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ถ้างบน้อย การอัพเกรดบางชิ้นส่วน ก็ช่วยให้เครื่องคุณเร็วขึ้นได้ เช่น แรมหรือ SSD ก็ตาม และยิ่งถ้าเกิดปัญหาขึ้นกับระบบ Storage ไม่ว่าจะเป็น HDD หรือ SSD ก็อย่านิ่งนอนใจ รีบหาฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่มาสำรองข้อมูลไว้โดยด่วน เพราะถ้าปล่อยไว้ จนเกิดความเสียหายใหญ่ การกู้ข้อมูลสำคัญของคุณ แพงกว่าซื้อฮาร์ดดิสก์หรือ SSD ลูกใหม่หลายเท่านัก


Related Topics

8 วิธีแก้ปัญหา คอมช้า เพิ่มความเร็ว เกมไม่กระตุก

Game crash

รวม NVidia Driver 2020 วิธีดาวน์โหลด ติดตั้งและปรับแต่ง

nVIDIA Driver

AMD Driver 2021 อัพเดตไดรเวอร์ เล่นเกมลื่น เพิ่มความเร็ว

AMD Driver 2021 1

เลือก SSD ราคา คุ้มค่า ฉบับเกมเมอร์มือโปร อินเทอร์เฟส ความจุ

Choose SSD

from:https://notebookspec.com/web/511988-computer-crash-hang-over-slower

5 วิธี แก้คอมช้า Windows 10 เพิ่มความเร็ว จัดการปัญหาเครื่องหน่วง

แก้คอมช้า

ใครที่ใช้งาน Windows 10 ไปนานสักระยะแล้วเกิดอาการคอมช้า เครื่องหน่วง โดยเฉพาะกับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ได้อัพเกรดมาใช้งาน Windows 10 ก็มักจะเกิดอาการเช่นนี้ ทีมงาน Notebookspec นำวิธีดี ๆ ในการแก้ปัญหาคอมช้า เพิ่มความเร็วให้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน Windows 10 ทั้งทำได้ฟรี จะมีอะไรบ้างนั้นมาดูกันเลย

จัดการคอมช้า: ปิดค่าความโปร่งใสของ Menu

สำหรับความโปร่งใสของ Menu นั้น ใน Windows 10 นั้นจะมีลูกเล่นที่จะทำให้หน้าตาของเมนูดูสวยงามและน่าใช้งาน โดยเมื่อเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ ในแถบของเมนูจะมีความโปร่งใสขึ้น ดูกลืนไปกับพื้นหลัง แต่การเปิดใช้งานความโปร่งแสงนี้ก็ทำให้มีการใช้งานทรัพยากรเบื้องหลังของระบบอยู่เช่นกัน ซึ่งในคอมพิวเตอร์ที่มีกราฟฟิกต่ำ หรือทรัพยากรเครื่องที่จำกัดก็อาจจะส่งผลให้ระบบทำงานหนักขึ้น และทำให้คอมช้าลงได้เช่นกัน

วิธีปิดค่าความโปร่งแสงของ Menu สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 

เริ่มต้นให้ไปที่ Settings >> เลือก Personalization

แก้คอมช้า

จากนั้นไปที่ Colors >> กดปิด Transparency Effect

แก้คอมช้า

เพียงเท่านี้ก็ปิดความโปร่งใสของ Menu เรียบร้อยแล้ว ช่วงให้คอมทำงานหนักน้อยลง ไวและลื่นขึ้น

ปิด Animations จัดการปัญหาเครื่องหน่วง

Windows 10 ในปัจจุบันนั้นจะมีการเพิ่มลูกเล่นด้านกราฟฟิกขึ้นมาเพื่อให้ Windows 10 นั้นดูทันสมัยและน่าใช้มากยิ่งขึ้น แต่กระนั้นในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ หรือ Notebook สำหรับการใช้ทำงานเป็นหลักนั้นก็อาจจะมีการประมวลผลด้านกราฟฟิกที่ต่ำ ก็จะทำให้ Windows ของเราดูหน่วง เพราะส่วนหนึ่งใช้ไปกับการประมวลด้านกราฟฟิกของตัว Windows เองการปิด Animations (Animations จะส่งผลเกี่ยวกับการเปิด-ปิดหน้าต่างโปรแกรมต่าง ๆ ขึ้นมา หรือเวลาขยาย-ลดหน้าต่างลงไปไว้ที่ Taskbar โดยฟีเจอร์นี้จะทำให้การกระทำเหล่านี้ใน Windows มีความนุ่มนวล ดูสบายตามากขึ้น แต่ก็กินทรัพยากรของเครื่องเช่นกัน) ที่จะทำให้ Notebook หรือคอมพิวเตอร์ของเราเร็วและลื่นขึ้น

เข้าไปที่ Windows Settings >> เลือก Ease of Access 

แก้คอมช้า

เลื่อนลงมาที่ส่วนของ Simplify and Personalize Windows >> กดปิด Show Animations in Windows

แก้คอมช้า

เพียงเท่านี้ก็ปิดฟีเจอร์ Animations ใน Windows 10 ได้เรียบร้อยแล้ว ทีนี้การเรียกโปรแกรมขึ้นมาก็จะไม่มีเอฟเฟ็กที่ที่จะมากินทรัพยากรในเครื่องเราแล้ว ทำให้การเปิด-ปิด, ย่อ-ขยาย โปรแกรมทำได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ Windows ของเราทำงานได้เร็วและลื่นขึ้นนั่นเอง

การปิด Special Effects

นอกจากความโปร่งใสของเมนูแล้ว Windows 10 ยังมีเอฟเฟคและลูกเล่นอื่น ๆ ที่เข้ามาทำให้ตัววินโดวส์นั้นน่าใช้งานอีกเพียบ โดย Effects เหล่านี้จะทำให้การเปิด-ปิด, ย่อ-ขยาย หน้าต่างของโปรแกรมต่าง ๆ ทำได้สมูทและลื่นไหลมากขึ้น แต่กระนั้นการเปิดเอฟเฟคเหล่านี้ก็กินทรัพยากรของเครื่องอยู่เช่นกัน 

สำหรับวิธีการปิด Special Effects ใน Windows 10 ทำได้ดังนี้

คลิกขวาที่ This PC >> เลือก Properties >> จากนั้นเลือก Advanced System Settings หรือจะพิมพ์ข้อความ ‘Advanced System Settings’ ในช่อง Search ของ Windows ก็ได้เช่นกัน

แก้คอมช้า

 
จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง System Properties ขึ้นมา >> เลือก Advanced ที่แถบเมนู >> จากนั้นดูในช่อง Performance >> เลือก Settings

ในหน้า Performance Options >> คลิก Visual Effect >> จากนั้นดูในช่อง Effects ต่าง ๆ ให้เราเอาเครื่องหมายถูกออกจาก Effects ต่าง ๆ (หรือะเลือกปิดเฉพาะบางเอฟเฟคก็ได้ตามต้องการ)
 
แก้คอมช้า

เพียงเท่านี้เราก็จะปิด Special Effects ช่วยให้ระบบไม่ต้องคอยใช้ทรัพยากรไปกับเอฟเฟคต่าง ๆ ที่เพียงทำให้ดูสวยงามสบายตาและดูสมูทเท่านั้น ซึ่งการปิดเอฟเฟคก็อาจจะทำให้การเปิด-ปิดโปรแกรม, ย่อ-ขยายหน้าต่างโปรแกรมดูแข็งกระด้างขึ้น ไม่สมูทเหมือนเก่า แต่นั่นก็ช่วยลดการใช้ทรัพยากรเครื่องไปได้เช่นกันและไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ Windows 10 ด้วย

ปิดการทำงานของโปรแกรมที่เปิดอัตโนมัติ

เวลาที่เราเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมานั้น เมื่อเข้าสู่หน้า Windows โดยปกติมักจะมีโปรแกรมทำงานเองโดยอัตโนมัติซึ่งก็ทำให้ระบบเริ่มทำงานและใช้ทรัพยากรไปตั้งแต่เริ่มทำงาน ส่งผลให้คอมช้า อืดและหน่วงได้ โดยเฉพาะในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีแรมต่ำ ดังนั้นการปิดโปรแกรมที่ทำงานอัติโนมัติเวลาที่เปิดคอมพิวเตอร์จึงเป็นอีกทีวิธีที่จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ของเราทำงานได้เร็วขึ้น ไม่เสียทรัพยากรไปกับโปรแกรมเปิดอัติโนมัติที่เราอาจไม่ได้ใช้งาน

สำหรับวิธีการปิดการทำงานของโปรแกรมที่เปิดอัตโนมัติมีดังนี้

ไปที่ Task Manager ด้วยการกด Ctrl + Alt + Del หรือ พิมพ์ Task Manager ลงในช่อง Search ของ Windows

เมื่อปรากฏหน้าต่าง Task Manager >> เลือก Startup >> จากนั้นให้ คลิกขวาที่โปรแกรมที่ไม่ต้องการให้ทำงานอัตโนมัติ >> เลือก Disable

แก้คอมช้า

ลบ Bloatware ที่มากับ Windows

สำหรับวิธีนี้นั้นจะเป็นการลบโปรแกรมที่ติดมากับ Windows 10 เช่น เกมจาก Microsoft Store หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ซึ่งหลายครั้งเราก็ไม่ได้ใช้งานพวกโปรแกรมหรือแอพฯ ที่ติดมากับ Windows แต่อย่างใด แถมยังสิ้นเปลืองพื้นที่ในคอมพิวเตอร์ของเราด้วย การลบโปรแกรมจำพวก Bloatware นี้จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ของเราทำงานได้เร็วขึ้น ไม่เปลืองทรัพยากรไปกับโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งาน

เราสามารถเข้าไปดูแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้โดยไปที่ Settings >> System >> Apps & Features จากนั้นก็เลือกแอพฯ ที่ไม่ต้องการหรือไม่ได้ใช้แล้วเลือก Uninstall ได้เลย

แก้คอมช้า

อ่านบทความเพิ่มเติม/เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

from:https://notebookspec.com/5-ways-windows-10-faster/538223/

ปิดการทำงานเบื้องหลังใน Google Chrome ลดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ให้คอมกลับมาลื่นปรื๊ด ไม่อืด ไม่ช้า

ปัญหาที่ผู้ใช้เบราวร์เซอร์ Chrome พบกันบ่อย ๆ ก็คือ การที่เบราว์เซอร์ใช้ทรัพยากรในเครื่องของเรามากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่เราเปิดใช้งานแท็บหลาย ๆ แท็บพร้อมกัน ยิ่งกับผู้ใช้ที่มีอุปกรณ์ที่สเปกไม่แรงหรือเร็วนักก็จะยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์ของเราทำงานช้าลงเป็นอย่างมาก

โดยปกตินั้น ค่าเริ่มต้นในการใช้งาน Chrome จะมีแอพพลิเคชั่นและส่วนขยาย (Extension) ที่ช่วยเพิ่มการทำงานและประสิทธิภาพให้กับระบบ และบางส่วนก็ทำงานอยู่เบื้องหลัง เพื่อช่วยในการปรับปรุง แก้ไขและแจ้งเตือนให้กับผู้ใช้ ซึ่งถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมากในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น การเตือนบน Facebook หรือมีอีเมลใหม่ใน Gmail แต่กระนั้นสิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้มีการใช้ทรัพยากรในเครื่องของเรามากขึ้น โดยเฉพาะกับการทำงานเบื้องหลังที่ช่วยอัพเดตข้อมูลและการแจ้งเตือนใหม่ ๆ อยู่เสมอ แม้ในขณะที่ Chrome ปิดการทำงานไปแล้วก็ตาม

สำหรับผู้ใช้ที่คิดว่าไม่จำเป็นเพราะโดยปกติก็เข้าไปเช็คการแจ้งเตือนด้วยตนเองอยู่แล้ว หรือมีการแจ้งเตือนผ่านมาร์ทโฟนอยู่แล้ว การเปิดการทำงานเบื้องหลังนี้ก็อาจไม่จำเป็น

ทีมงาน Notebookspec จึงนำเสนอวิธีการปิดการทำงานเบื้องหลังเหล่านี้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์เตอร์ของเราทำงานได้ดีขึ้น ใช้ทรัพยากรน้อยลง เป็นทางเลือกให้โดยเฉพาะกับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์ที่มีทรัพยากรน้อย สเปคไม่แรง

 

วิธีการ Disable ปิดการทำงานเบื้องหลังที่อยู่ใน Google Chrome ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

**สำหรับตัวอย่างวิธการนี้เป็น Google Chrome เวอร์ชั่น 81.0.4044.122 **

เมื่อเปิดเบราว์เซอร์ Google Chrome ขึ้นมา >> ให้คลิกที่สัญลักษณ์ จุด 3 จุด มุมขวาด้านบนของ Google Chrome >> เลือก Settings

สังเกตที่แถบเครื่องมือด้านซ้ายมือ เลื่อนลงมาด้านล่าง แล้วคลิกที่ Advanced >> เลือก System

จะปรากฏเมนูคำสั่งต่าง ๆ ในหัวข้อ System ที่ช่องทางด้านขวามือ ให้ดูที่ “Continue running background apps when Google Chrome is closed” >> ให้กดเลือกปิด

 

เพียงทำตามขั้นตอนที่แสนง่ายนี้ ก็จะสามารถปิดการทำงานของแอพที่อยู่เบื้องหลังของ Google Chrome แต่ถ้าหากใครที่ต้องการกลับไปเปิดใหม่ ก็เพียงแค่ทำตามขั้นตอนเดิม แต่กลับไปเปิดการทำงานเท่านั้นเอง

from:https://notebookspec.com/disable-google-chrome-running-in-the-background/518120/