คลังเก็บป้ายกำกับ: โน้ตบุ๊ก_เปิดไม่ติด

SSD โน๊ตบุ๊ค 1TB งบ 3,000 บาท 8 รุ่นเด็ด M.2 PCIe เร็ว เก็บข้อมูลเยอะ เปิดเครื่องไว ทนทาน

SSD โน๊ตบุ๊ค 8 รุ่นเด็ดงบ 3,000 บาท เร่งความเร็ว เกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค M.2 PCIe รุ่นใหม่ ติดตั้งเกม ลงโปรแกรม เก็บข้อมูลเหลือๆ

SSD โน๊ตบุ๊ค

SSD โน๊ตบุ๊คก็ถือว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ ที่ทำให้โน๊ตบุ๊คสามารถทำงานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเครื่อง เปิดโปรแกรม เข้าสู่ระบบ เปิดไฟล์ และโอนถ่ายไฟล์ รวมถึงมีส่วนต่อการเล่นเกมอยู่ไม่น้อยเลย ซึ่งการเลือกใช้ SSD ก็มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงการเลือกซื้อ และข้อพิจารณาในการใช้งานให้เหมาะสม พร้อมทั้งนำ SSD 8 รุ่นที่น่าสนใจในงบ 3,000 บาท ที่เป็นแบบ M.2 NVMe PCIe มาฝากกัน ส่วนจะมีรุ่นใดบ้าง ไปชมกันเลยครับ


SSD โน๊ตบุ๊ค 1TB ลงเกม ติดตั้งโปรแกรม งบ 3,000


SSD โน๊ตบุ๊ค เลือกอย่างไร?

การเลือก SSD ที่นำมาใช้กับโน๊ตบุ๊คเงื่อนไขแทบไม่ได้ต่างไปจากการใช้บนพีซีมากนัก จะมีเพียง 1-2 เรื่องที่ต้องพิจารณา และต้องดูตามการสนับสนุนของโน๊ตบุ๊คแต่ละรุ่นด้วยว่าจะรองรับมาตรฐานใด หรือความจุเท่าใดได้บ้าง การเลือก SSD ให้ตรงกับความเหมาะสมในการใช้งาน และราคาที่คุ้มค่า จะทำให้คุณสามารถใช้งานโน๊ตบุ๊คได้เร็วขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนโน๊ตบุ๊คตัวเก่าของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

Advertisementavw
Unbox KIOXIA SSD 40

อินเทอร์เฟส: ตรงนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะโน๊ตบุ๊คเวลานี้ผ่านมาหลายเจนเนอเรชั่นแล้ว สิ่งที่ต้องสังเกตก็คือ โน๊ตบุ๊คที่ใช้อยู่นั้น มีพอร์ตหรือสล็อตรองรับ SSD แบบใดได้บ้าง หากเป็นโน๊ตบุ๊คที่ย้อนไปสัก 5-6 ปีก่อน อาจจะมีเพียง SATA ที่รองรับ HDD ในแบบ 2.5″ ก็ต้องเลือกใช้ SSD แบบ 2.5″ SATA III แม้ว่าจะไม่ค่อยสะดวกนัก แต่ข้อดีคือ ให้ความเร็วได้มากกว่า HDD ปกติถึง 3-4 เท่าตัวเลย อีกทั้งปัจจุบันก็มีให้เลือกมากกว่า 1TB อีกด้วย

ถัดมาโน๊ตบุ๊คบางรุ่นอาจจะมีสล็อตแบบ M.2 มาให้ แต่จะเป็น M.2 SATA ซึ่งจะใช้ร่วมกับ SSD SATA ในแบบ M.2 สังเกตง่ายๆ จะมีรอยบาก 2 จุดบนหน้าสัมผัส ประสิทธิภาพแทบไม่ต่างไปจาก SSD 2.5″ แต่สะดวกกว่า เพราะไม่ต้องต่อสายไฟเลี้ยงให้วุ่นวาย อีกทั้งขนาดเล็กกว่าเยอะ

Kingston NVq SSD

และในแบบปัจจุบัน จะมีเป็นแบบ M.2 NVMe PCIe รูปแบบนี้จะมีสล็อตคล้ายกับ M.2 SATA แต่จะมีรอยบากเพียงจุดเดียวบนหน้าสัมผัส ข้อดีคือ ให้ความเร็วสูง ทั้งการอ่านและเขียนข้อมูล เพราะมีการเชื่อมต่อกับช่องทาง PCI-Express กับซีพียูโดยตรง โดยเวลานี้จะมีทั้งแบบ PCIe Gen3, Gen4 และที่กำลังจะมาก็เป็น PCIe Gen5 ซึ่งความเร็วจะสูงขึ้นตามลำดับ และล่าสุดความเร็วมีให้เห็นมากกว่า 7,000MB/s แล้ว ซึ่งหากเทียบกับ Gen3 ที่มีความเร็วประมาณแค่ 3,000-4,000MB/s เท่านั้น และถือว่าเร็วกว่า HDD แบบ SATA อยู่หลายสิบเท่าอีกด้วย แต่ถ้าต้องการจะใช้มาตรฐานใหม่นี้ ก็ต้องเช็คด้วยว่าโน๊ตบุ๊คที่ใช้อยู่ เป็น PCIe ในเจนเนอเรชั่นใด

Gigabyte SSD P7000s 1TB 34

ความจุ: ให้มองที่การใช้งานเป็นหลัก หากเป็นโน๊ตบุ๊คทั่วไป ไม่ได้เก็บไฟล์เยอะ โปรแกรมไม่มาก และใช้ร่วมกับ Clou storage 480-500GB ก็เพียงพอต่อการใช้งาน เหลือพื้นที่จัดเก็บไฟล์ใช้บ่อยอีกพอสมควร ลงโปรแกรมเพิ่มได้ แต่ถ้าเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค และมีเกมมากกว่า 3 เกมใหญ่ขึ้นไป ความจุที่มากกว่า 500GB หรือทางเลือกอย่าง 960GB และ 1TB เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เพราะช่วยให้คุณสามารถติดตั้งเกม ลงโปรแกรม และเก็บไฟล์ข้อมูลได้ แบบที่ไม่อึดอัดมากไปนัก

ความเร็ว: ความเร็วที่ดี ก็บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของ SSD รุ่นนั้นๆ ได้ดี อย่างตัวเลข Sequential Read/ Write มีหน่วยเป็น MB/s (เมกะไบต์ต่อวินาที) ตรงนี้ให้ดูจากตัวเลขที่ยิ่งมาก ก็จะหมายถึง การเปิดไฟล์ โอนถ่ายไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการ Copy file และเข้าสู่ระบบด้วย ขึ้นอยู่กับอินเทอร์เฟสและ NAND Flash ที่มีอยู่บน SSD รวมถึงคอนโทรลเลอร์บนโมดูล SSD ด้วย อย่างไรก็ดียิ่งตัวเลขที่สูง ราคาก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่ใช้โน๊ตบุ๊ค ถ้าเป็น PCIe Gen4 ก็แนะนำให้เลือกใช้ SSD PCIe 4.0 คุณจะได้ความเร็วที่มากขึ้นกว่าเดิมไม่น้อยเลย

ความทนทาน: MTBF (Mean Time Between Failures): เป็นตัวเลขที่มีอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ และอยู่ใน SSD ซึ่งเป็นค่าที่บอกถึงอัตราเฉลี่ยของระยะเวลาในการทำงานจนกว่าจะเกิดความเสียหายหรือบกพร่อง จะมีหน่วยคำนวณเป็นชั่วโมง คล้ายกับค่า BTW คือตัวเลขยิ่งมาก ก็ยิ่งหมายถึงมีสมรรถนะที่ดี มั่นใจได้ ตัวเลขจะนับเป็นล้านชั่วโมงขึ้นไป อย่างเช่น SSD รุ่นกลางๆเวลานี้ ตัวเลขก็มีให้เห็นมากกว่า 1-2 ล้านชั่วโมง นั่น แต่ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ย อาจมากหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน การเลือก SSD ยี่ห้อไหนดี ก็อาจจะต้องใช้ค่านี้มาใช้ในการตัดสินใจด้วยเช่นกัน


1.ADATA LEGEND 710 1TB ราคา 2,590 บาท

SSD โน๊ตบุ๊ค

เริ่มจาก SSD น้องเล็กสุดในงบไม่ถึง 3 พันบาท จาก ADATA ที่มาพร้อมความจุ 1TB รุ่นนี้เหมาะกับผู้ใช้ที่เน้นเรื่องของความจุ หาซื้อง่าย ราคาค่อนข้างประหยัด เบียดบี้กับรุ่น 512GB ได้อย่างสูสี แต่ยังเป็นอินเทอร์เฟส PCIe 3.0 x4 จึงให้ความเร็วในการอ่าน/เขียน ในแบบมาตรฐาน คือประมาณ 2,400MB/s (Read) กับดีไซน์ที่ดูเรียบง่าย ความทนทานจากค่า MTBF อยู่ที่ 1.5 ล้านชั่วโมง และการเขียนซ้ำทำได้ที่ 520TB การรับประกัน 3 ปี

จุดเด่น ข้อสังเกต
เขียนซ้ำได้ถึง 520TB เป็นแบบ PCIe 3.0 x4
ราคาประหยัด

ข้อมูลเพิ่มเติม: ADATA


2.PNY CS1031 1TB ราคา 2,890 บาท

SSD โน๊ตบุ๊ค

เป็น SSD ในระดับเริ่มต้น สำหรับผู้ที่ต้องการอัพเกรดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนโน๊ตบุ๊ค หรือเป็นตัวเก็บข้อมูลสำรอง กรณีที่มีสล็อต M.2 ว่างอีกหนึ่งช่อง ราคาประหยัด โดยรุ่นนี้มีให้เลือกตั้งแต่ 256GB จนถึง 2TB เชื่อมต่อบนอินเทอร์เฟส PCIe 3.0 x4 เช่นเดียวกัน และให้ความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 2,400MB/s สำหรับรุ่น 1TB และค่า Endurance 240TB (TBW) และ MTBF 2 ล้านชั่วโมง แต่ที่น่าสนใจก็คือ ให้ระยะการรับประกันถึง 5 ปีเลยทีเดียว ราคา 2,890 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
ราคาไม่ถึง 3 พันบาท การอ่านระดับมาตรฐาน
รับประกัน 5 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม: PNY


3.Kingston NV2 1TB ราคา 2,890 บาท

SSD โน๊ตบุ๊ค

จัดว่าเป็น SSD ความจุ 1TB ในแบบ PCIe 4.0 x4 รุ่นใหม่ ที่ทำราคาได้ดีที่สุดในเวลานี้ ขยับต่อยอดจาก NV1 ที่ได้รับความนิยมไม่น้อยเลย กับดีไซน์ที่ดูเรียบง่าย เป็นแบบ Single-side M.2 2280 มาตรฐาน เหมาะทั้งการเป็นตัวบูตหลักภายในโน๊ตบุ๊ค และสำรองไฟล์ได้ในตัว เพราะให้ความเร็วได้ถึง 3,500MB/s (Read) ให้ค่า Endurance อยู่ที่ 1.5 ล้านชั่วโมง MTBF และการเขียนซ้ำอยู่ที่ 320TB เลยทีเดียว จัดว่าตัวเลขค่อนข้างสูง และให้การรับประกัน 3 ปี ราคา 2,890 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
PCIe 4.0 x4 รุ่นใหม่ รับประกัน 3 ปี
3,500MB/s (Read)

ข้อมูลเพิ่มเติม: Kingston


4.Crucial P2 1TB ราคา 2,900 บาท

SSD โน๊ตบุ๊ค

ถ้าใครเคยได้ใช้งาน SSD ในช่วงแรกๆ Crucial ต้องถือว่าเป็นค่ายหลักๆ ที่เข้ามาในบ้านเรา ให้ได้ใช้งานกันก่อน กับความโดดเด่นในเรื่องเมมโมรีและเทคโนโลยี เช่นเดียวกับในรุ่น P2 นี้ ที่เป็นซีรีส์ต่อมา ซึ่งพัฒนามาเพื่อผู้ใช้โน๊ตบุ๊คด้วยเช่นกัน บนอินเทอร์เฟสแบบ PCIe 3.0 x4 ให้ความเร็วอยู่ที่ระดับ 2,400MB/s (Read) ตามมาตรฐาน พร้อมค่า Endurance อยู่ที่ 300TBW ซึ่งจุดเด่นอยู่ที่การรับประกันถึง 5 ปี ก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเลย ราคา 2,900 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
รับประกัน 5 ปี เป็นแบบ PCIe 3.0 x4

ข้อมูลเพิ่มเติม: Crucial


5.HIKVISION E3000 1TB ราคา 2,990 บาท

SSD โน๊ตบุ๊ค

สำหรับค่ายนี้ ก็จัดว่าเป็น SSD ที่มีตัวเลือกค่อนข้างเยอะทีเดียว และยังเคาะราคาได้ถูกใจผู้บริโภค ทำให้ผู้ใช้ที่กำลังมองหา SSD สำหรับโน๊ตบุ๊ค จะเอามาเป็นตัวบูตหรือเพิ่มเติมสำหรับเก็บข้อมูล ก็น่าสนใจมาในอินเทอร์เฟส PCIe 3.0 x4 แต่ให้ความเร็วได้มากถึง 3,400MB/s (Read) และเขียนอยู่ที่ประมาณ 3,100MB/s ใช้ NAND ในแบบ 3D TLC ให้ค่า Endurance อยู่ที่ 1.5 ล้านชั่วโมง และ 448TBW แต่ที่น่าสนใจคือ รับประกันถึง 5 ปีเลยทีเดียว กับราคา 2,990 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
3,400MB/s (Read) Endurance 1.5 ล้านชั่วโมง
เขียนซ้ำได้ 448TBW

ข้อมูลเพิ่มเติม: HIKVISION


6.Apacer AS2280P4U PRO ราคา 3,090 บาท

SSD โน๊ตบุ๊ค

กับทาง Apacer เชื่อว่าหลายคนจะคุ้นหูคุ้นตากันดีอยู่แล้ว กับผลิตภัณฑ์หลายๆ โมเดล ซึ่งก็รวมถึง SSD ที่ออกมาใหม่ กับความจุ 1TB ออกแบบลวดลายมาได้อย่างล้ำสมัยทีเดียว เหมาะกับคนที่ใช้โน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ที่ต้องการทั้งความเร็วและความจุ โดยมากับอินเทอร์เฟส PCIe 3.0 x4 ให้ความเร็ว 3,500MB/s (Read) และจุดเด่นคือ เขียนได้เร็วสุดในครั้งนี้คือ 3,000MB/s อีกด้วย รวมถึงค่า MTBF 1.8 ล้านชั่วโมง และการรับประกันอีก 5 ปี อีกด้วย ราคา 3,090 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
3,500MB/s (Read) เป็นแบบ PCIe 3.0 x4
รับประกัน 5 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม: Apacer


7.WD GREEN SN350 1TB ราคา 3,090 บาท

SSD โน๊ตบุ๊ค

ต้องถือว่าเป็น SSD ในใจใครหลายคน กับค่าย WD นี้ ที่มีให้เลือกกันหลายซีรีส์ และปัจจุบัน WD Green ก็ดูน่าสนใจไม่น้อย เพราะได้รับการปรับปรุงด้านความเร็ว และราคาที่จับต้องง่าย พร้อมฟีเจอร์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น อินเทอร์เฟสการเชื่อมต่อ PCIe 3.0 x4 และ NAND ในแบบ QLC มีความเร็วในการอ่านระดับ 3,200MB/s และค่า Endurance 100TBW ส่วนค่า MTTF 1 ล้านชั่วโมง พร้อมการรับประกันอีก 3 ปี ราคา 3,090 บาท

จุดเด่น ข้อสังเกต
3,200MB/s (Read) MTTF 1 ล้านชั่วโมง

ข้อมูลเพิ่มเติม: WD


8.TEAM CARDEA Z44L 1TB ราคา 3,150 บาท

SSD โน๊ตบุ๊ค

เป็น SSD โน๊ตบุ๊คความเร็วสูงรุ่นใหม่ เหมาะกับโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน ที่จะใช้เป็นตัวบูตระบบ ลงโปรแกรมก็ได้ หรือจะเน้นที่เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คก็ลงตัว เพราะมาพร้อมอินเทอร์เฟส PCIe 4.0 x4 รุ่นใหม่ พร้อมใช้กับแพลตฟอร์มโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ได้ดี ค่า Endurance สูงถึง 600TBW เรียกว่าทำตัวเลขได้ดีมาก และประสิทธิภาพทำได้ที่ 3,500MB/s (Read) และความทนทานระดับ 3 ล้านชั่วโมงเลยทีเดียว พร้อมกับการรับประกันอีก 5 ปี แม้ราคา 3,150 บาท จะสูงที่สุดในการรวม SSD โน๊ตบุ๊คในครั้งนี้ แต่ก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเลย

จุดเด่น ข้อสังเกต
เป็นแบบ PCIe Gen4 x4 ความเร็วในการอ่านมาตรฐาน
ค่า Endurance สูงถึง 600TBW

ข้อมูลเพิ่มเติม: TEAM


Conclusion

Interface Read/Write (MB/s) MTBF
(Hours)
TBW (TB) Warranty
(Year)
Price (Baht)
1.ADATA LEGEND 710 PCIe Gen3 x4 2,400/1,800 1,500,000 520 3 2,590
2.PNY CS1031 PCIe Gen3 x4 2,400/1,750 2,000,000 240 5 2,890
3.KINGSTON NV2 PCIe Gen4 x4 3,500/2,100 1,500,000 320 3 2,890
4.CRUCIAL P2 PCIe Gen3 x4 2,400/1,800 300 5 2,900
5.HIKVISION E3000 PCIe Gen3 x4 3,500/3,150 1,500,000 448 5 2,990
6.APACER AS2280P4U PRO PCIe Gen3 x4 3,500/3,000 1,800,000 760 3 3,090
7.WD GREEN SN350 PCIe Gen3 x4 3,200/2,500 1,000,000 100 3 3,090
8.TEAM CARDEA Z44L PCIe Gen4 x4 3,500/3,000 3,000,000 600 5 3,150

SSD โน๊ตบุ๊คทั้ง 8 รุ่นจากตารางข้อมูลด้านบนนี้ ก็น่าจะเป็นทางเลือกให้กับลายๆ คนที่กำลังมองหา SSD มาอัพเกรดให้กับโน๊ตบุ๊ค ไม่ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คทำงาน หรือเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คก็ตาม สำหรับ ADATA ก็ค่อนข้างโดดเด่น ในเรื่องของราคา และการเขียนซ้ำได้ถึง 520TBW บนความเร็วพื้นฐาน แต่มองที่ความเร็วเป็นหลัก TEAMGROUP, WD และ HIKVISION ก็น่าสนใจ ได้ทั้งอินเทอร์เฟสใหม่ และ Read/ Write สูง รวมถึง MTBF ทะลุ 3 ล้านไปแล้ว ส่วน APACER ก็น่าสนใจในแง่ของความเร็วและค่า TBW สูงสุด ส่วนจะเลือกใช้รุ่นไหน ก็สามารถพิจารณาจากข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ในลิงก์ของแต่ละรุ่นที่เราจัดวางไว้ให้ และเรื่องของราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนถ้าต้องการจะเช็คอุปกรณ์ และจัดสเปคคอม สามารถเข้าไปลองจัดสเปคได้ที่ Notebookspec.com/pc/spec กันได้เลยครับ

from:https://notebookspec.com/web/679768-8-ssd-1tb-3000-m2-pcie

Advertisement

[Tips]โน้ตบุ๊กเข้า Sleep mode ทีไร ปลุกไม่ตื่น เปิดไม่ติด ปิด Sleep ง่ายกว่า

มันเป็นเรื่องที่ดูน่ารำคาญอยู่ไม่น้อย สำหรับคนที่ใช้คอมแล้วพอเข้าโหมด Sleep ที่ไร เปิดเครื่องไม่ค่อยติดสักที เหมือนบางครั้งมีปัญหาในการออกจากโหมด Sleep หรือกว่าจะปลุกตื่นแล้วใช้เวลานานมาก วิธีที่ง่ายที่สุดในการแก้ไข เอาแบบที่รวดเร็ว ไม่ต้องยุ่งยาก ก็เพียงทำให้คอมของคุณไม่ต้องเข้าโหมด Sleep หรือปิดการใช้งาน Sleep mode บน Windows 10 ไปเลย

1.เปิด Control panel ในวินโดวส์ 10 เปลี่ยนรูปแบบการมองเป็น Large icons หรือ Small icons จากให้นั้นให้คลิกที่ Power Options

2.จากนั้นคุณจะเข้าสู่หน้า Power options ให้เลือกที่ Power plan จากทางด้านซ้ายของหน้าต่าง ให้เลือก Change when the computer sleeps

3.ในส่วนของหน้าต่างดรอปดาวน์ ให้ไปที่ Put the computer to sleep โดยเลือกระยะเวลาที่คุณต้องการให้ Windows 10 รอก่อนเข้าสู่โหมด Sleep ถ้าต้องการยกเลิก ไม่ให้ Windows 10 เข้าสู่โหมด Sleep ให้เลือก Never ที่อยู่ในรายการ จากนั้นคุณสามารถดูตัวเลือกสำหรับการทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณไม่ต้องปิดจอแสดงผลได้อีกด้วย

4.เมื่อเสร็จเรียบร้อย ให้เลือกคลิกที่ Save changes เพื่อออกจากการตั้งค่า

ที่มา : top-password

from:https://notebookspec.com/ways-to-set-windows-10-pc-to-never-sleep/406502/

7 วิธีแก้ปัญหาโน้ตบุ๊กบูตไม่ขึ้น เปิดไม่ติด ติดแล้วดับ

หลายครั้งที่เราใช้โน้ตบุ๊ก แล้วเกิดปัญหา ซึ่งบางทีก็ไม่รู้ว่าเกิดสาเหตุใด โดยส่วนใหญ่ที่มักจะพบกันก็คือ บูตเครื่องไม่ขึ้นหรือเปิดไม่ติด ซึ่งต้องถือว่าเป็นอาการเริ่มต้นของความผิดปกติจากแบตเตอรี่และสิ่งอื่นๆ ที่อยู่โดยรอบ เช่น ความร้อนและการลัดวงจร ดังนั้นถ้าเกิดปัญหาขึ้น ก็คงต้องเริ่มสังเกตจากอาการ และลองปรับแก้ในแต่ละส่วนไป ซึ่งการเช็คจากจุดเล็กๆ ไปเรื่อยๆ แม้จะแก้ไขไม่ได้ครบถ้วน แต่อย่างน้อยเราก็สามารถบอกอาการและข้อสังเกตแบบคร่าวๆ ให้กับช่างได้ทราบ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างเต็มรูปแบบต่อไป


MSI GT72S Gaming Notebook Review-71

ซึ่งการเช็คและแก้ไขโน้ตบุ๊กบูตไม่ขึ้นในเบื้องต้นนี้ ก็ยังดีกว่าไม่เช็คอะไรเลย แล้วยกไปบอกช่าง ซึ่งบางครั้งมันอาจจะเสียเวลานานมากกว่า เหมือนเราไปบอกหมอว่ามีอาการอย่างไรให้ได้ทราบ จะได้วินิจฉัยโรคได้ดียิ่งขึ้น ทีนี้เราลองมาดูกันว่าปัญหาโน้ตบุ๊กบูตไม่ขึ้น เปิดไม่ติด ติดแล้วดับ เราจะทำอย่างไรกันได้บ้าง

Notebook-Batt-3

1.แบตเตอรี่ไม่แน่น แบตหลวม
เป็นอาการพื้นฐานสำหรับคนที่มักพกพาโน้ตบุ๊กไปใช้งานนอกบ้านบ่อยๆ และโน้ตบุ๊กที่มีการใช้งานมานาน เพราะบางครั้งการวางหรือกระแทก ก็ส่งผลให้เขี้ยวล็อคของแบตกับตัวโน้ตบุ๊กแตกหรือร้าวได้ ทำให้หน้าสัมผัสมีการเคลื่อนตัวได้ สังเกตได้ว่าเมื่อถอดแบตและเสียบไฟเข้าโดยตรงกับตัวเครื่องมักไม่มีปัญหา แต่เมื่อต่อแบตเข้าไปตามเดิม มักจะติดๆ ดับๆ หรือบางทีก็บูตไม่ขึ้น ให้ลองเช็คด้วยการขยับแบตดู ถ้าไม่แน่นอาจใช้วัสดุชิ้นเล็กๆ มาเสียบไว้ให้แน่นหรือหาจุดล็อคที่หัก แล้วเชื่อมและซ่อมให้กลับมาล็อคได้ตามปกติต่อไป

iphone-low batt

2.แบตไม่เก็บไฟ แบตเสื่อม
อาการบูตเครื่องไม่ขึ้น มีโอกาสที่จะเกิดจากแบตเสื่อมได้ ซึ่งถ้าไม่แน่ใจก็มีวิธีเช็คได้ง่ายๆ คือ ชาร์จแบตด้วยการต่อไฟทิ้งเอาไว้ จนกว่าจะเต็ม ให้คลิกขวาที่รูปแบตใน System tray แล้วดูว่าเต็มาหรือไม่ ส่วนใหญ่ถ้าแบตเริ่มเสื่อมมักจะชาร์จไม่เต็ม ต่อมาให้เปิดเครื่องในหน้า Windows ทิ้งไว้ ไม่ต้องใช้งาน แล้วสังเกตว่าแบตลดลงเร็วเกินไปหรือไม่ ซึ่งโดยปกติ ก็จะค่อยๆ ลดลงนิดหน่อย กรณีที่ Idle แต่ถ้าอยู่ๆ ลดลงไปครึ่งหนึ่งในช่วงไม่กี่นาที หรืออยู่ดีๆ เครื่องดับไปเลยก็แสดงว่าแบตไม่เก็บไฟแล้ว ก็มีทางเลือกสำหรับการแก้ไข 2 ทางคือ ต่อไฟขณะใช้งานตลอดเวลา อาจจะไม่เหมาะกับการใช้งานนอกบ้านนัก หรือจะเปลี่ยนแบตลูกใหม่ ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะสนนราคาของแบตรุ่นใหม่ๆ ก็ไม่ได้แพงมาก จะเลือกแบบของแท้หรือของเทียบ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมตามงบประมาณในกระเป๋า

MSI GT72S Gaming Notebook Review-54

3.ความร้อนสะสมในเครื่อง เครื่องดับ บูตไม่ขึ้น
เป็นปัญหาที่พูดถึงกันมากทีเดียวในปัจจุบัน มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งโน้ตบุ๊กเก่าและใหม่ ขึ้นอยู่กับว่าจะเจอในรูปแบบใด บางคนใช้งานหรือเล่นเกมอยู่ เครื่องวูบดับไปเฉยๆ หรือมีอาการกระตุกเกิดขึ้น ต้องแยกออกเป็น 2 ลักษณะคือ โน้ตบุ๊กเก่า ความร้อนอาจเกิดได้จาก มีฝุ่นเกาะที่พัดลมมากเกินไป หรือซิลิโคนที่ใช้อยู่นานหายไปจนไม่สามารถระบายความร้อนจากซีพียูได้ดีเหมือนเดิม พอความร้อนสูงเครื่องก็ดับ การแก้ไขก็ให้ลองแกะพัดลมและซิงก์ออกมาทำความสะอาดและทาซิลิโคนเข้าไปใหม่ บางรุ่นอาจจะแกะยาก ก็คงต้องปรึกษาช่างอีกทีหรือถ้าจะทดลองทำเองก็ไม่ยากนัก ส่วนถ้าเป็นโน้ตบุ๊กใหม่ แล้วเครื่องดับบ่อยขณะใช้งาน ให้ลองใช้โปรแกรมในการเช็คอุณหภูมิ ถ้าร้อนเกินกว่าปกติ อาจจะต้องใช้ตัวช่วยในการระบายความร้อน เช่น Cooling pad หรืออุปกรณ์ช่วยลดความร้อนอื่นๆ แต่ถ้าอาการยังหนักมาก ให้ปรึกษาศูนย์ให้บริการน่าจะดีที่สุด เพราะเครื่องยังอยู่ในประกัน

How-to-Save-Your-Laptop-Battery

4.อแดปเตอร์มีปัญหา ชาร์จไฟไม่ได้
หากปัญหาโน้ตบุ๊กดับขณะที่ใช้อแดปเตอร์ชาร์จไฟอยู่นั้น อาจเกิดความผิดปกติจากอแดปเตอร์ได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อใช้งานมายาวนานหรืออยู่ในบริเวณที่กระแสไฟไม่คงที่ รวมถึงการจัดเก็บที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้อุปกรณ์เหล่านี้เกิดความเสียหายได้ เมื่อนำมาชาร์จไฟอาจจะชาร์จเข้าบ้าง ไม่เข้าบ้าง วิธีเช็คก็คือ ให้ลองนำไปเสียบกับเครื่องอื่นดูว่าเป็นเหมือนกันหรือไม่ และถ้ามีสาย AC ที่นำมาใช้กับอแดปเตอร์ได้ก็ควรลองดู หากเกิดความเสียหาย ควรรีบทำการเปลี่ยนหรือแก้ไข ไม่ให้เกิดการลัดวงจรหรือสร้างความเสียหายถาวรกับโน้ตบุ๊ก

Battery Test

5.ฮาร์ดดิสก์เสีย บูตไม่เข้าระบบ
อาการที่บูตไม่ขึ้น ต้องสังเกตด้วยว่ามีสิ่งใดปรากฏบนหน้าจอหรือไม่ บางครั้งถ้ามีแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ Storage หรือ Can not boot system ก็อาจเป็นไปได้ว่าเกิดปัญหาจากฮาร์ดดิสก์ เพราะบางทีการใช้งานมานานหรือความเสียหายจากอุบัติเหตุ ก็ทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เลยไม่สามารถบูตเข้าระบบได้ แต่อย่าเพิ่งตกใจ เพราะเรายังพอตรวจสอบได้ในเบื้องต้นคือ ให้เปิดดูจุดที่ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ภายในเครื่อง ว่ามีการเชื่อมต่อกับพอร์ตตามปกติหรือไม่ ลองกดให้แน่นและไขข็อตยึดกลับเข้าไปใหม่ จากนั้นลองบูตเครื่องดูอีกครั้ง

lenovo-y700-inside (10)

แต่ถ้าเกิดปัญหาไม่บูต ให้ใช้วิธี Repair Startup ด้วยการใช้แผ่นบูตวินโดวส์หรือแฟลชไดรฟ์เป็นตัวบูต เมื่อบูตเข้าสู่การติดตั้ง ให้เลือก Repair Startup แล้วทำตามขั้นตอนจนกว่าจะจบ หากไม่ได้เกิดความเสียหายขึ้นบนฮาร์ดแวร์แล้ว ก็มีโอกาสแก้ไขและบูตเข้าสู่ระบบได้ตามปกติแบบไม่ยาก

lenovo-y700-inside (7)

6.ติดไวรัส
โอกาสที่บูตเครื่องไม่ขึ้นจากการติดไวรัสก็มีเช่นกัน แต่ทุกวันนี้โอกาสที่จะเจอน้อยมาก เพราะไวรัสที่โจมตีระบบให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลต่อฮาร์ดแวร์หาได้น้อย แต่ถ้าเกิดมักจะพบกันบน Boot sector ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมสแกนจากระบบบูตในเบื้องต้นได้ อย่างไรก็ดีควรเช็คให้แน่ใจก่อนว่าเกิดจากไวรัสขณะใช้งานบนวินโดวส์หรือเกิดความผิดปกติจากระบบปฏิบัติการ ยกเว้นจะไปเจอ Killer USB ที่มีข่าวให้เราได้เห็นเมื่อช่วงเดือนก่อน ซึ่งในบ้านเราคงไม่มีใครคิดจะโจมตีกันขนาดนั้น

lenovo-y700-inside (3)

7.สายแพสัญญาณหน้าจอหลวม
บางปัญหาเช่น เปิดเครื่องแล้ว บูตระบบแต่หน้าจอยังดำมืดหรือไม่ปรากฏสัญญาณอื่นใด ทั้งที่ไฟสถานะยังกระพริบ ทั้งไฟระบบและไฟฮาร์ดดิสก์ ตรงนี้ให้เช็คความผิดปกติจากหน้าจอเป็นอันดับแรก ด้วยการดูว่าปรับหงายหน้าจอในองศาที่ต่างกัน เพื่อดูว่าสายสัญญาณจากภายในหลวมหรือเสียหายหรือไม่ ซึ่งบางทีองศาหน้าจอแต่ละระดับอาจทำให้จอสว่างหรือติดขึ้นได้ แต่ถ้าให้มั่นใจก็อาจจะต้องลองแกะเครื่อง เพื่อรื้อดูสายแพ เพราะบางครั้งแค่หลุดหรือหลวมออกมาจากพอร์ต แค่เสียบกลับเข้าไปใหม่ ก็สามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว

MSI GT72S Gaming Notebook Review-39

อย่างไรก็ดี อาการโน้ตบุ๊กเปิดไม่ติดหรือติดแล้วดับ ก็ยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ชิปเซ็ตเสียหรือเมนบอร์ดมีปัญหา แต่ส่วนใหญ่จะไม่บูตหรือเงียบสนิท ถ้าเป็นในรูปแบบนี้ก็คงต้องส่งศูนย์หรือหาช่างที่ร้าน เพื่อซ่อมและเปลี่ยนอะไหล่ น่าจะเหมาะที่สุด หรือไม่ถ้าใช้มานานแล้วอยากหาโน้ตบุ๊กเครื่องใหม่ ก็ลองเข้ามาดูที่ Notebookspec.com กันได้เลยนะครับ รับรองข้อมูลโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ มีมาให้เลือกกันแบบครบๆ เลยทีเดียว

from:https://notebookspec.com/7-step-notebook-crash-no-boot/370066/